ความไม่โปร่งใสในการบริหารงานของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ได้ก่อผลกระทบเป็นวงกว้างต่อสมาชิกซึ่งเป็นข้าราชการทั่วประเทศ ที่ถูกหักเงินจากบัญชี อันเกิดจากการบริหารงานที่ผิดพลาดของผู้บริหารกบข.นำเงินข้าราชการไปลงทุนในหุ้น จนเกิดผลขาดทุนจำนวนมหาศาล นำไปสู่การยื่นฟ้องต่อศาลปกครองของนายประวิทย์ สิทธิถาวร อัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลแขวง 5 สำนักงานอัยการสูงสุด เมื่อวันที่ 17 มี.ค. ให้ดำเนินการกับ กองทุนบำเหน็จบำนาญ (กบข.) นายวิสิฐ ตันติสุนทร คณะกรรมการ (กบข.) และนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1-4 ตามลำดับ ตามคำฟ้องดังต่อไปนี้...
คำฟ้อง คดีหมายเลขดำที่ 0395/2552 ศาลปกครองกลาง วันที่ 17 มีนาคม 2552
ข้าพเจ้านายประวิทย์ สิทธิถาวร ผู้ฟ้องคดี อายุ 67 ปี รับราชการอยู่ที่สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลแขวง 5 สำนักงานอัยการสูงสุด หมู่ที่ 9 ถนนติวานนท์ ซอยเทพพนม ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
(1)กองทุนบำเหน็จบำนาญ (กบข.) ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 (2) นายวิสิฐ ตันติสุนทร ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 (3) คณะกรรมการ (กบข.) ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 (4) นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 อยู่ที่ (1-3) 990 ถนนพระราม 4 (4) พระพราม 6 แขวง (1-3)สีลม (4) สามเสนใน เขต (1-3)บางรัก (4) พญาไท จังหวัด (1-4) กรุงเทพฯ ข้อหาขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
รายละเอียดของการกระทำ ข้อเท็จจริง หรือพฤติการณ์ เกี่ยวกับการกระทำที่เป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายที่พอเข้าใจได้
ข้อ 1 ผู้ฟ้องคดีเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หมายเลขประจำตัวสมาชิก 3100200371413 มาตั้งแต่ พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน และเป็นผู้เสียหายในคดีนี้ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญ พ.ศ. 2539 มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกองทุน ตามมาตรา 5 มาตรา 9 เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญ และให้ประโยชน์ตอบแทนการรับราชการแก่ข้าราชการเมื่อออกจากราชการ โดยการนำเงินของกองทุนไปลงทุนหาผลประโยชน์เพื่อเกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่สมาชิก มีผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เป็นเลขาธิการผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เป็นเลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญ เป็นผู้มีอำนาจกระทำแทนผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 (กบข.) มีหน้าที่ผู้บริหารกิจการของกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และตามกฎหมายตามนโยบายที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 กำหนด
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 เป็นคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญ โดยมีอำนาจหน้าที่ควบคุมและบริหารงานของกองทุนบำเหน็จบำนาญ (กบข.) ให้เป็นตามวัตถุประสงค์ ,นโยบายและกฎหมายตาม มาตรา 26 ของพระราชบัญญัติกองทุนบำนาญ
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รักษาการตามพระราชบัญญัติและมีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ หรือดูแลกำกับการบริหารงานของกองทุนตาม มาตรา 5 และมาตรา 84 ข้อ 2
****เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2552 ผู้ฟ้องคดีได้รับใบแจ้งยอดเงินสมาชิกกบข. สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 ว่า ผู้ฟ้องคดีมีส่วนของเงินต้น 67,593 บาท ผลประโยชน์ติดลบ หรือ ขาดทุน คือ 69,943.81 บาท ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ถึง 3 จึงนำผลประโยชน์ที่ติดลบหรือขาดทุน จำนวน 69,943.81 บาท ของปี 2551 ไปหักออกจากเงินผลประโยชน์ของผู้ฟ้องคดีปี 2550 ซึ่งมีจำนวน 575,406.27 บาท ทำให้เงินผลประโยชน์ของผู้ฟ้องคดีปี 2550 ลดลงเหลือเพียง 505,462.46 บาท ตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 1 รวมเงินที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1-3 หักออกจากบัญชีสะสมของผู้ฟ้องคดี พ.ศ. 2550 เป็นเงิน 69,943.81 บาท เมื่อรวมกับเงินต้น พ.ศ. 2551 ของผู้ฟ้องคดี จำนวนเงิน 67,593 บาท รวม 2 ปี เป็นเงินทั้งสิ้น 137,537.08 บาท ***
***โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1-3 อ้างว่า เหตุที่ต้องหักเงินผลประโยชน์ของผู้ฟ้องคดีทั้ง 2 ปี ดังกล่าว เพราะผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1-3 นำเงินของกองทุนไปลงทุนหาผลประโยชน์ในต่างประเทศขาดทุนเป็นเงินหลายหมื่นล้านบาท ทำให้ต้องเฉลี่ยผลการขาดทุนไปให้กับสมาชิกกองทุนทุกคน รวมจำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 1.17 ล้านคน ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามอ้างว่า ในปี 2551 เป็นปีที่เกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลกรวมถึงเหตุการณ์ในประเทศไทย ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนในการลงทุน กบข. ขาดทุนเป็นจำนวนมาก***
ข้อ 3 ผู้ฟ้องคดีไม่เห็นด้วยกับข้ออ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายดังต่อไปนี้
**3.1 เนื่องจาก กบข. เป็นสถาบันการเงินขนาดใหญ่มีสินทรัพย์เป็นจำนวนมากถึง 3.91 แสนล้านบาทเศษ มีสมาชิกซึ่งเป็นข้าราชการทั่วประเทศ 1 ล้านคนเศษ การบริหารเงินของสมาชิกที่กองทุนจะนำไปลงทุนเพื่อหาผลประโยชน์ตอบแทนคืนสมาชิก จะต้องเป็นไปด้วยความสุจริต โปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ แต่จากการให้ข่าว หรือข้อมูลแก่สมาชิกหรือสื่อมวลชน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1-3 ไม่สามารถตอบได้ว่า เหตุที่ขาดทุนในการลงทุนปี 2551 เป็นเพราะเหตุใด มีจำนวนเงินทั้งสิ้นเท่าไร เพียงแต่อ้างว่าขาดทุนจาการลงทุนในต่างประเทศ*** เนื่องจากเกิดวิกฤตการเงินทั่วโลกเท่านั้น จำนวนเงินที่ กบข. ไปลงทุนต่างประเทศ หรือ***จำนวนเงินที่ขาดทุนประจำปี 2551 ก็ชี้แจงไม่ตรงกันเลย เช่น เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2552 พนักงานของกบข.ไปชี้แจงที่ทำงานผู้ฟ้องคดี เรื่องขาดทุนว่าขาดทุนในการลงทุนต่างประเทศเป็นเงิน 1.7 หมื่นล้านบาท แต่วันที่ 4 มีนาคม 2552 พนักงาน กบข. สำนักงานใหญ่แจ้งว่า กบข. ขาดทุนต่างประเทศ 3 หมื่นล้านบาทเศษ**** ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ให้ข่าวต่อหนังสือพิมพ์มติชน ประจำวันที่ 12 มีนาคม 2552 (เอกสารหมายเลข 2) ว่า กบข.บริหารงานในปี 2551 ขาดทุน 5.12% หรือคิดเป็นมูลค่าเพียง 4,216.18 ล้านบาทเท่านั้น มิใช่ขาดทุนกว่า 7.4 หมื่นล้านบาท ตามที่มีข้าราชการกระทรวงยุติธรรมบางส่วนร้องเรียนต่อนายธาริต เพ็งดิษฐ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการกระทำทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท)
จากข้อเท็จจริงข้างต้น เห็นชัดเจนว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ให้ข้อมูลขัดแย้งกับพนักงานของตนเอง ทำให้เงินของกองทุนที่ไปลงทุนในต่างประเทศขาดทุนเท่าใด ไม่เป็นที่แน่ชัดเป็นการปกปิดอำพรางข้อเท็จจริง**ชี้ให้เห็นว่า การบริหารงาน หรือบริหารเงินกองทุนที่ไม่โปร่งใส ไม่สุจริต ไม่น่าเชื่อถือ ไม่สมกับที่เป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นที่พึ่งสุดท้ายในด้านการออมเงินของมวลสมาชิก จำนวน 1 ล้านคนเศษได้เลย***
3.2 ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ยังให้ข่าวกับหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับดังกล่าวต่อไปว่า การขาดทุนจำนวน 4,216.18 ล้านบาท เป็นการขาดทุนในส่วนของกำไร หรือยอดผลประโยชน์ที่สะสมมาเท่านั้น ไม่ได้กระทบกับเงินต้น หรือเงินสะสมของสมาชิกเงินต้นยังอยู่ครบทุกบาทไม่ได้หายไปไหน ในข้อนี้ ผู้ฟ้องคดีขอโต้แย้งว่าไม่เป็นความจริง โดยเฉพาะตามเอกสารหมายเลข 1 ใบแจ้งยอดเงินสมาชิกของผู้ฟ้องคดี ปี 2551 มีเงินสะสม 25,346.50 บาท เงินชดเชย 16,900 บาท รวมทั้งสิ้น 67,593.00 บาท ซึ่งเป็นเงินต้นของผู้ฟ้องคดีปี 2551 ได้ถูกผู้ฟ้องคดีที่ 1-3 หักออกจากบัญชี หรือรายได้ของผู้ฟ้องคดีทั้งหมดแล้วอย่างนี้ ผู้ฟ้องคดีที่ 2 จะมาพูดเท็จได้อย่างไรว่า เงินต้นยังอยู่ครบทุกบาทไม่ได้หายไปไหน เป็นการให้ข้อเท็จจริงที่ขัดต่อเอกสารของผู้ถูกฟ้องที่ 2 จึงเชื่อถือไม่ได้ ส่อไปในทางไม่สุจริต เพราะนอกจากกบข. หักเงินต้นจำนวน 67,593 บาท ของผู้ฟ้องคดีแล้ว ยังนำเอาเงินขาดทุน กบข. จำนวน 69,943.81 บาท มาหักออกเป็นผลประโยชน์ปี 2550 ผู้ฟ้องคดีอีกด้วย
****3.3 เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ซึ่งเป็นเลขาธิการของกบข. เป็นผู้ยืนยันตัวเลขขาดทุน ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 4,216.48 ล้านบาท การขาดทุนจึงต้องเฉลี่ยไปยังจำนวนเงินของสมาชิก กบข. ทั้งหมด จำนวน 1.17 ล้านคน เมื่อเอาจำนวนเงินตามบัญชีของผู้ฟ้องคดีปี 2550 และปี 2551 ที่ถูก กบข. หักไป จำนวน 137,537.08 บาท มาคำนวณโดยประมาณ เช่น สมาชิกถูกหักไปคนละ 130,000 บาท จำนวน 40,000 คน เป็นเงิน 130,000 คูณ 40,000 บาท จะเป็นเงินทั้งสิ้น 5,200 ล้านบาทแล้ว เกินจำนวนที่ กบข. ขาดทุน 1,000 ล้านบาท ทั้ง ๆ ที่ยังเหลือสมาชิกที่จะต้องนำเอาเงินมาเฉลี่ยการขาดทุนอีกเป็นจำนวนสมาชิกถึงเกือบ 8 ล้านคน จริงอยู่รายได้หรือเงินเดือนของสมาชิกไม่เท่ากันแต่ กบข. ก็ไม่มีเหตุผลที่อธิบายได้ว่าทำไมจึงหักเงินจากบัญชีสมาชิกตามจำนวนดังกล่าว การเฉลี่ยเงินขาดทุนให้กับผู้ฟ้องคดี จึงไม่ชอบด้วยข้อเท็จจริง ไม่เป็นธรรมและคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามที่ให้หักเงินออกจากบัญชีของผู้ฟ้องคดี เพื่อเฉลี่ยการขาดทุนของ กบข. จึงไม่ชอบ ไม่สามารถใช้บังคับได้ ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสาม จึงต้องคืนเงินของผู้ฟ้องคดีทั้งสองปีดังกล่าวให้แก่ผู้ฟ้องคดี***
3.4 กบข. มีสัดส่วนการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวม 6 ช่องทาง (ตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 ) โดยเฉพาะตราสารทุนต่างประเทศ จำนวน 8.36% เพิ่มเป็น 9.07% เมื่อเดือนธันวาคม 2551 ตราสารหนี้ต่างประเทศ จำนวน 4.08% เพิ่มเป็น 4.36% เมื่อเดือนธันวาคม 2551 เมื่อ กบข. มีการขาดทุนหลักมาจากการลงทุนในต่างประเทศและภายในประเทศเป็นจำนวนสูงมากถึงหลายหมื่นล้าน กบข. จะต้องแจ้งตัวเลข หรือจำนวนที่นำไปลงทุนว่า ไปลงทุนในตราสารทุน หรือตราสารหนี้ลูกหนี้ของบริษัท หรือนิติบุคคลใด เป็นจำนวนเท่าไร ขาดทุนเท่าไร และกองทุนได้มอบหมายให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลใด ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการลงทุนต่างประเทศ เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนแทน กบข. ตามมาตรา 69 แต่ กบข.ก็ไม่มีคำชี้แจงใด ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้เลย เป็นการกระทำที่ไม่โปร่งใส ไม่สมกับที่เป็นสถาบันการเงินของรัฐ ตามมาตรา 77 กองทุนต้องจัดทำงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน เมื่อกบข.มีหน้าที่ดังกล่าว กบข. ต้องทราบผลการขาดทุนตั้งแต่เดือนมกราคม 2552 แล้ว จนบัดนี้เดือนมีนาคม 2552 แล้ว ยังไม่มีการแถลงรายละเอียดของการลงทุนแต่อย่างใด ****ทำให้เชื่อว่า เหตุมีการขาดทุนหลายหมื่นล้านครั้งนี้ มาจากการลงทุนในหุ้นภาคเอกชนทั้งในและนอกประเทศที่ส่อไปในทางไม่สุจริต โดยอาจจะมีการไซฟอนเงินหรือถ่ายเทเงินลงทุนของกองทุนไปลงทุนในบริษัท หรือนิติบุคคลที่ใกล้ชิด หรือมีผลประโยชน์เกี่ยวกับผู้บริหารกบข.*** จึงไม่มีการแถลงถึงสาเหตุของการขาดทุนหลายหมื่นล้านครั้งนี้อย่างชัดแจ้ง
อีกทั้ง กบข.ไม่ยอมให้สำนักงานปปท. ซึ่งมีภารกิจด้านการตรวจสอบเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐทุกประเภท เข้าตรวจสอบเรื่องอื้ออฉาว จำนวนเงินมากครั้งนี้ ก็เป็นพิรุธอย่างยิ่งไม่ดปร่งใส
เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2552 นายธาริต เพ็งดิษฐ์ เลขาธิการสำนักงานคIะกรรมการป้องกันและปราบปรามการกระทำทุจริตในภาครัฐ(ป.ป.ท.) แถลงผลตรวจสอบการดำเนินงานของกบข.ที่เผยแพร่ต่อสาธารณะ พบว่า การลงทุนในปี 2551 จำนวน 4 กลุ่ม จากทั้งสิ้น 6 กลุ่ม เฉพาะส่วนที่ร่วมลงทุนกับภาคเอกชน มีผลประกอบการขาดทุนถึง 54,991 ล้านบาท แยกเป็นตราสารหนี้ในประเทศที่มีมูลค่าลดลง คือตราสารหนี้สถาบันการเงิน มูลค่าลดลง 12,620 ล้านบาท ตราสารหนี้บริษัทลดลง 5,943 ล้านบาท ส่วนตราสารหนี้ต่างประเทศในส่วนหน่วยลงทุนตราสารหนี้ลดลง 3,102 ล้านบาท สำหรับตราสารทุนในประเทศมูลค่าลดลง 28,151 ล้านบาท และตราสารทุนต่างประเทศมูลค่าลดลง 8,277 ล้านบาท
นายธาริตกล่าวว่า ในส่วนการลงทุนตราสารทุนทั้งในปละต่างประเทศ ที่มูลค่าลดลง 28,150 และ 8,276 ล้านบาทตามลำดับนั้น ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าเหตุใด กบข.ยังคงสัดส่วนการถือหุ้นในระดับที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก และบางกลุ่มมีการซื้อเพิ่มในปี 2551 ทั้งที่ข้อมูลในปี 2549 และปี 2550 เริ่มพบว่า มีปัญหาจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองภายในประเทศ
ด้านพ.ต.ท.เฉลิมชนม์ อุณหเสรี ผู้อำนวยการกลุ่มงานการข่าว กล่าวว่า จากการตรวจสอบพบว่า กบข.เข้าไปลงทุนซื้อหุ้นในหลายกลุ่ม แต่มีการลงทุนใน 2 กลุ่มที่เป็นพิรุธน่าสงสัย เนื่องจากเป็นการซื้อหุ้นที่ขาดทุน แต่กลับมีการลงทุนซื้อหุ้นเพิ่มอีก ได้แก่ การซื้อหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ โดยในปี 2550 กบข.เข้าไปซื้อหุ้นจำนวน 70 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้น 150 ล้านบาท ต่อมาในปี 2551 มีการลงทุนเพิ่มอีก 32 ล้านหุ้น แต่มูลค่ากลับติดลบ 56 ล้านบาท หรือติดลบ 36.4 % และการลง ทุนซื้อในธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในปี 2550 จำนวน 18 ล้านหุ้น มูลค่า 2,100 ล้านบาท ต่อมาในปี 2551 ได้มีการอัดฉีดซื้อหุ้นเพิ่มอีก 9 แสนหุ้น แต่มูลค่าหุ้นกลับติดลบ 800 ล้านบาท หรือติดลบ 38% เมื่อดูยอดรวมจะพบว่า กบข.ถือครองหุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์ ในปี 2550 ทั้งหมดประมาณ 54,000 ล้านบาท ต่อมาในปี 2551 มูลค่าหุ้นลดลง 27,447 ล้านบาท หรือลดลงไป 49 %
มีรายงานว่า ในเว็บไซด์ กบข.ได้รายงานสัดส่วนการลงทุนปี 2551 แยกตามประเภทตราสาร ณ เดือนธันวาคม 2551 ว่า เป็นการลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศ 66.95% ลงทุนในตราสารทุน (หุ้น) 16.07 % แยกเป็นหุ้นในประเทศ 7 % ต่างประเทศ 9.07 % ลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ 4.06 % ลงทุนในกองทุนอหังสาริมทรัพย์ 4.74 % และลงทุนทางเลือก 7.88 %
นอกจากนี้ จากการรวบรวมการถือหุ้นของ กบข.ในปี 2551 จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พบว่า กบข.ถือครองหุ้นรวม 29 บริษัท มูลค่ารวม ณ ต้นปี 2551 อยู่ที่ 3.6 หมื่นล้านบาท หรือลดลง 51.61% ***โดยหุ้นที่มีมูลค่าการถือครองปรับลดลงมากที่สุด คือ หุ้นของบริษัท ยานภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) หรือ YNP ราคาหุ้นปรับลดลง 93.19 % มี กบข.เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 จำนวน 16 ล้านหุ้น มูลค่า ณ สิ้นปีอยู่ที่ 4.18 ล้านบาท จากต้นปีที่มีมูลค่า 61.46 ล้านบาท และในอดีตเคยมีผู้บริหารของบริษัทนี้ถูก ก.ล.ต.สั่งเปรียบเทียบปรับในการสร้างราคาหุ้นบริษัทด้วย**** สำหรับการถือครองหุ้นของ กบข. ที่มีมูลค่าลดลงรองลงมาถือหุ้นบริษัทเอกชนอีก 16 บริษัท ซึ่งมีผลขาดทุนทั้งสิ้นตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4 ตาม พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญ มาตรา 70 กำหนดให้มีการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง ไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของเงินกองทุน เช่น ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลตั๋วเงินคงคลัง หรือ พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ตามกฏกระทรวง พ.ศ.2546 ที่กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุน กบข.ต้องเป็นไปตามนโยบายของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ซึ่งต้องปฏิบัติตามกฏกระทรวงเดียวกับการลงทุนที่ออกโดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 ซึ่งมีอำนาจกำกับดูแลการลงทุนหรือการปฏิบัติงานของ กบข. ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งตาม มาตรา 5 (1) (2) (3)
จากข้อเท็จจริงและข้อกฏหมายข้างต้น จะเห็นได้ชัดเจนว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 - 3 มิได้ปฏิบัติตามข้อกฏหมายในการลงทุนเพื่อหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของกองทุน ตาม มาตรา 9 (4) ที่กำหนดให้กองทุนมีอำนาจกระทำการต่างๆ ภายในของวัตถุประสงค์ตามมาตรา 5 หมายความว่าการลงทุนเพื่อหาผลประโยชน์ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศนั้น ต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง กบข.ว่า เงินของกองทุนประมาณ 3.91 ล้านบาทนั้น มีไว้เพื่อเป็นหลักประกันในเงินบำเหน็จบำนาญ และให้ประโยชน์ตอบแทนแก่ สมาชิกเมื่อออกจากราชการเท่านั้น ***แต่เหตุที่มีการขาดทุนจำนวนมากมายในปี 2551 ของ กบข.นั้น เป็นเพราะ กบข. มิได้กระทำตามข้อกฏหมายดังกล่าว โดยเฉพาะกรณีตัวอย่างที่ กบข.นำเงินไปลงทุนในหุ้นของบริษัทยานภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) ที่หุ้นมีการปรับราคาลดลงถึง 93.19 % และในอดีตผู้บริหารของบรษัทนี้ถูก กลต.ส่งเปรียบเทียบปรับในการสร้างราคาหุ้นบริษัท หรือข้อหาปั่นหุ้นด้วยนั้น****
ในกรณีนี้เห็นได้ว่า กบข.เป็นกองทุนขนาดใหญ่ที่นำเงินออมของสมาชิกไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กบข.ย่อมทราบดีอยู่แล้ว ก่อนที่ผู้บริหารของบริษัทดังกล่าวจะถูก กลต.เปรียบเทียบปรับข้อหาปั่นหุ้น เพราะก่อนมีการปรับเป็นเงินกับบริษัท กลต.ต้องมีตั้งกรรมการขึ้นมาสอบสวนว่ามีการปั่นหุ้นจริงหรือไม่ ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่ กบข.ต้องทำการขายหุ้นของบริษัท ยานภัณฑ์ จำกัด ออกไปทันทีที่มีข่าวหรือมีการลงโทษโดยการเปรียบเทียบปรับ เพราะการลงทุนในหุ้นต้องพิจารณาปัจจัยพื้นฐานเสมอ หนึ่งในปัจจัยพื้นฐาน คือ คุณสมบัติของผู้บริหารบริษัทนี้ หากมีพฤติกรรมในการฉ้อโกง หลอกลวง ผู้ลงทุนในตลาดหุ้นโดยมีพยานหลักฐานแน่ชัดจาก กลต. เช่นนี้แล้ว การที่ กบข.ยังคงถือหุ้นบริษัท ยานภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) ไว้จนถึงปัจจุบัน จึงรับฟังไม่ได้ไม่มีเหตุผล อีกทั้งข้ออ้างที่ กบข.แจ้งว่า บริษัทนี้มีการประกอบธุรกิจที่มีอนาคตเพราะผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์รถยนต์ก็ไม่มีน้ำหนัก หากเป็นจริง ราคาหุ้นของบริษัทคงไม่ตงลงมากจนถึงเกือบเลขศูนย์เช่นนี้ และ กบข.ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปั่นหุ้นของบริษัทแต่อย่างใด แต่การที่ กบข.ทราบว่าผู้บริหารบริษัทที่เกี่ยวข้องเป็นตัวการในการทุจริตปั่นหุ้นแล้ว ไม่รีบเทขายหุ้นที่ กบข.ลงทุนไว้ออกไปทันทีทั้งหมด ย่อมชี้ชัดว่า กบข.ลงทุนโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายของสมาชิก
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ชี้แจงเหตุที่ กบข.เฉลี่ยการลงทุนในหุ้นที่มีความเสี่ยงด้วยก็เพราะ อยากให้ผลตอบแทนชนะเงินเฟ้อ ไม่เช่นนั้นสมาชิกก็จะเสียประโยชน์นั้น การชี้แจงของผู้ฟ้องคดีที่ 2 ดังกล่าว เท่ากับยอมรับว่า กบข.ได้นำเงินลงทุนจำนวนมหาศาลไปลงทุนในหุ้นทั้งในและต่างประเทศ ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าการลงทุนดังกล่าวมีความเสี่ยง เป็นการกระทำที่ขัดต่อมาตรา 70 และกฏกระทรวง ซึ่งกำหนดว่า อย่างน้อยให้ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงไม่ต่ำกว่าร้อยละหกสิบ และเมื่อถูกฟ้องที่ 3 เป็นคณะกรรมการที่เป็นผู้กำหนดนโยบายในการลงทุนในหุ้นที่มีความเสี่ยง จึงต้องรับผิดด้วย
ข้อ 5. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีหน้าที่กำกับดูแลการนำเงินของสมาชิกไปลงทุนหาผลประโยชน์ของ กบข.ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง กบข.ตามมาตรา 5 (1) เพื่อเป็นหลักประกันในการจ่ายบำเหน็จบำนาญและให้ประโยชน์ตอบแทนแก่ข้าราชการเมื่อออกจากราชการ และมาตรา 5 (2) เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิกและตามมาตรา 9 (4) การลงทุนหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของกองทุนต้องกระทำตามวัตถุประสงค์ตามมาตรา 5 หมายความการกฏหมาย กฏหมายกำหนดให้ กบข.ต้องลงทุนในสินทรัพย์ที่มั่นคงสูง มีความเสี่ยงน้อยที่สุด หรือไม่มีความเสี่ยงเลย มิฉะนั้นแล้ววัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง กบข.ตามมาตรา 5 ก็จะไร้ผลโดยสิ้นเชิง ดังนั้น เมื่อผลการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ มีผลขาดทุนจำนวนมากหลายหมื่นล้านบาท สร้างความเสียหายแก่สมาชิก กบข.จำนวน 1.17 ล้านคน เนื่องมาจากผู้ถูกฟ้องที่ 1 - 3 มิได้ปฏิบัติตาม มาตรา 9,9 อย่างเคร่งครัด ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 - 3 จึงต้องรับผิดชอบ หรือต้องชี้แจงข้อเท็จจริงที่มีการตรวจสอบแล้วว่า ถูกต้องตามความเป็นจริง ไม่มีการหมกเม็ด หรือ ให้ข้อเท็จจริง อันเป็นเท็จ แถลงให้มวลสมาชิกจำนวนล้านคนเศษทราบ เพื่อจะได้มีความเข้าใจในการลงทุนของ กบข.ว่า ชอบด้วยกฏหมายหรือไม่ และจะเป็นหลักประกันหรือเป็นสถาบันที่ส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิกหรือไม่ หรือจะเป็นสถาบันที่ละลายทรัพย์ หรือ ถ่ายเททรัพย์ของมวลสมาชิกออกไปให้กับบริษัท หรือนิติบุคคลหรือให้กับพรรคพวกของผู้มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับผู้บริหารของ กบข. โดยมิชอบ ซึ่งเรื่องการบริหารการลงทุนของ กบข.ปี 2551 ที่มีผลการขาดทุนหลายหมื่นล้านบาท เป็นที่อื้อฉาว ส่งผลให้มวลสมาชิกหรือผู้ฟ้องข้องใจในความบริสุทธิ์ ซื่อสัตย์ของผู้บริหาร กบข.อย่างยิ่ง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 ย่อมทราบผลการขาดทุนนี้อย่างดีแล้ว เพราะตาม มาตรา 75 กองทุนต้องยื่นรายงานแสดงการจัดการกองทุนต่อรัฐมนตรีอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง และตาม มาตรา 84 ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 มีอำนาจหน้าที่กำกับและดูแลโดยทั่วไป ซึ่งการจัดการกองทุน โดยจะสั่งแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการกองทุน หรือแจ้งให้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงรายงานให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 ทราบด้วย
***ตามข้อกฏหมายดังกล่าว เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฏหมาย แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 ยังมิได้ดำเนินการใดๆ เลย ทั้ง ๆ ที่เป็นรู้กันทุกมุมเมืองว่า การขาดทุนในการลงทุนของ กบข.ในปี 2551 นับหมื่นล้านบาท เป็นสิ่งผิดปกติ ส่อพิรุธว่าจะมีการลงทุนที่ขัดต่อกฏหมาย มีเหตุการณ์ไม่น่าไว้วางใจ ควรที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 จะต้องดำเนินการตรวจสอบตามข้อกฏหมายดังกล่าว ****และเนื่องจากขณะนี้เศรษฐกิจทั่วโลกรวมทั้งไทยด้วยมีปัญหาการเงินทำให้รัฐบาลต้องใช้นโยบายประชานิยม โดยแจกเงินผู้ประกันตนคนละ 2,000 บาท หรือช่วยเหลือคนชราคนละ 500 บาท และรัฐบาลต้องกู้เงินจากต่างประเทศเพื่อใช้จ่ายในการบริหารประเทสในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ ควรที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 จะต้องออกกฏกระทรวงเพื่อแก้ไขกฏกระทรวงฉบับที่ 4 พ.ศ.2551 ที่กำหนดให้การลงทุนในหุ้น เมื่อรวมกันทุกบริษัทต้องไม่เกินร้อยละ 35 ของเงินกองทุนและการลงทุนในต่างประเทศ ลงทุนได้ไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินกองทุน เพราะกฏกระทรวงฉบับนี้ กำหนดให้กองทุน ลงทุนเป็นร้อยละมากเกินไป ไม่เหมาะสม กับเหตุการณ์วิกฤตในปัจจุบัน ควรมีการแก้ไขลดร้อยละลงมาจาก 35 เหลือ 15 หรือจาก 25 เหลือ 10 เป็นต้น เพื่อสกัดเส้นทางการลงทุนของกบข.ให้ลดความเสี่ยงให้มากที่สุด แต่ก็ไม่มีการดำเนินการดังกล่าว
ข้อ 6 ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และคณะอนุกรรมการชี้แจงต่อสื่อมวลชนว่า การลงทุนมีความเสี่ยง เพราะไม่มีใครทราบว่า หุ้นที่มีผลประกอบการดีหรือหุ้นที่กบข.เข้าไปซื้อ เพื่อการลงทุนจะมีราคาลดลงมากจนกบข.ขาดทุน จะเกิดขึ้น และเป็นสิ่งธรรมดาในการลงทุนนั้น เป็นคำชี้แจงที่ผิดอย่างไม่น่าให้อภัย ***เพราะการจัดตั้งกบข.ขึ้นมา เพื่อเป็นแหล่งออมเงินของข้าราชการ และเพื่อเป็นหลักประกันให้แก่ข้าราชการ หรือสมาชิกกบข.ว่า เมื่อพ้นจากราชการแล้ว จะมีเงินบำเหน็จบำนาญก้อนสุดท้ายไว้ใช้จ่ายในวัยชราอย่างแน่นอน ดังนั้น กฏหมายจึงกำหนดให้การลงทุนของกบข.ต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันเงินในอนาคตของมวลสมาชิก การลงทุนของกบข.ในทรัพย์สินต่างๆทั้งในและต่างประเทศจึงมีลัษณะพิเศษที่เน้นถึงหลักประกันของเงินกองทุนว่า จะไม่ลดน้อยลง ***หากผู้ถูกฟ้องคดีที 1-4 ดำเนินการตามที่กฏหมายกำหนด เมื่อการลงทุนของกบข.มีลักษณะพิเศษที่เน้นการออมมากกว่าการลงทุน การชี้แจงว่า การลงทุนเป็นความเสี่ยง จึงใช้กับกบข.ไม่ได้ เพราะการลงทุน เป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งของการออมเท่านั้น กฏหมายจึงเน้นให้มีการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงเป็นหลัก โดยเน้นการออมทรัพย์มิใช่การลงทุนในหลักทรัพย์ตามปกติในตลาดหลักทรัพย์
**ดังนั้น การลงทุนในทรัพย์สินของกบข.ที่มีการขาดทุนมาในปี 2551 จึงขัดต่อกฏหมาย***
ข้อ 7. เมื่อลงทุนในทรัพย์สินของผู้ถูกฟ้องที่ 1-3 ในปี 2551 ไม่ชอบด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฏหมาย คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ให้เฉลี่ยผลการขาดทุนไปยังสมาชิก รวมทั้งผู้ฟ้องคดีต้องถูกหักเงินผลประโยชน์ในปี 2550 เป็นเงิน 69,943.81 บาท และเงินต้น ปี 2551 เป็นเงิน 67,593 บาท และตามฟ้องข้อ 3.3 การคิดคำนวนอัตราเฉลี่ยขาดทุนไม่ชอบด้วยข้อเท็จจริง ไม่เป็นธรรม คำสั่งเฉลี่ยเงินขาดทุนจึงไม่มีผลบังคับ ผู้ถูกฟ้องคดีต้องคืนเงินดังกล่าวทั้ง 2 ปี ให้ผู้ฟ้องคดีพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี
เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 -4 ได้กระทำโดยไม่ชอบด้วยกฏหมาย เป็นการไม่สุจริต หรือเป็นการใช้ดุลยพินิจในการลงทุนในการหักเอาเงินทุน และเงินผลประโยชน์ของผู้ฟ้องคดีไปเฉลี่ยผลการลงทุนที่มิชอบด้วยกฏหมายของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสาม จึงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต ซึ่งผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย จึงมีสิทธิตามมาตรา 42 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและพิจารณาคดีปกครองพ.ศ.2542 และมาตรา 9 วรรค 9 วรรค หนึ่ง(1) ฟ้องผู้ถุกฟ้องคดีที่ 1-4 ได้ ขอศาลได้โปรดมีคำพิพากษา หรือคำสั่งให้ผู้ถุกฟ้องคดีที่ 1-4 ตามคำขอท้ายฟ้องด้วย
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
** คำขอของผู้ฟ้องคดี (ระบุวัตถุประสงค์หรือความต้องการของผู้ฟ้องคดี)***
**1.สั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่มิชอบด้วยกฏหมายของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสาม ที่สั่งให้เฉลี่ยผลการขาดทุนกับเงินผลประโยชน์ปี 2550 และเงินต้นของปี 2551 ของผู้ฟ้องคดี
**2.สั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสาม คืนเงินของผู้ถูกฟ้องคดีที่ผู้ฟ้องคดีที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามหักไปจากบัญชีของผู้ฟ้องคดีตามข้อ 1 คืนพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5ต่อปี จนกว่าจะชำระเสร็จ
**3.สั่งให้การลงทุนในทรัพย์สินของกบข.ในปี 2551 เป็นการลงทุนที่มิชอบด้วยกฏหมาย ผลการขาดทุนจึงไม่ผูกพันผู้ฟ้องคดี
**4.สั่งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกะบการจัดการกองทุนที่มิชอบด้วยกฏหมาย ปี 2551
**5. สั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 ออกกฏกระทรวงแก้ไขกฏกระทรวงฉบับที่ 4 พ.ศ. 2551 โดยกำหนดให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1-3 มีการลงทุนในสัดส่วนลดลงเป็นร้อยละตามความเหมาะสมของสภาพเศรษฐกิจ
ลงชื่อ นายประวิทย์ สิทธิถาวร ผู้ฟ้องคดี
+++++++++++++++++++
******(ล้อมกรอบ)
กฏกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการพ.ศ.2539 และมาตรา 69 วรรคสี่ และมาตรา 70 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2550 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกกฏกระทรวงไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 3 แห่งกฏกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2546 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย กฏกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"การลงทุนในหุ้น หุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ หรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นตามวรรคหนึ่ง เมื่อรวมกันทุกบริษัทต้องไม่เกินร้อยละ สามสิบห้าของเงินของกองทุน"
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งกฏกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2546 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฏกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการ เงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 6 การจัดการเงินของกองทุนที่ กบข. ดำเนินการจัดการเอง ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) การลงทุนในประเทศ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามข้อ 5
(2) การลงทุนในต่างประเทศ ให้ลงทุนได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของเงินกองทุน ทั้งนี้ การกำหนดประเภทหลักทรัพย์ที่ลงทุนได้และการแยกประเภทหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงและหลักทรัพย์อื่น ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด"
ให้ไว้ ณ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2551
ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
คำฟ้อง คดีหมายเลขดำที่ 0395/2552 ศาลปกครองกลาง วันที่ 17 มีนาคม 2552
ข้าพเจ้านายประวิทย์ สิทธิถาวร ผู้ฟ้องคดี อายุ 67 ปี รับราชการอยู่ที่สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลแขวง 5 สำนักงานอัยการสูงสุด หมู่ที่ 9 ถนนติวานนท์ ซอยเทพพนม ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
(1)กองทุนบำเหน็จบำนาญ (กบข.) ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 (2) นายวิสิฐ ตันติสุนทร ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 (3) คณะกรรมการ (กบข.) ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 (4) นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 อยู่ที่ (1-3) 990 ถนนพระราม 4 (4) พระพราม 6 แขวง (1-3)สีลม (4) สามเสนใน เขต (1-3)บางรัก (4) พญาไท จังหวัด (1-4) กรุงเทพฯ ข้อหาขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
รายละเอียดของการกระทำ ข้อเท็จจริง หรือพฤติการณ์ เกี่ยวกับการกระทำที่เป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายที่พอเข้าใจได้
ข้อ 1 ผู้ฟ้องคดีเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หมายเลขประจำตัวสมาชิก 3100200371413 มาตั้งแต่ พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน และเป็นผู้เสียหายในคดีนี้ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญ พ.ศ. 2539 มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกองทุน ตามมาตรา 5 มาตรา 9 เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญ และให้ประโยชน์ตอบแทนการรับราชการแก่ข้าราชการเมื่อออกจากราชการ โดยการนำเงินของกองทุนไปลงทุนหาผลประโยชน์เพื่อเกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่สมาชิก มีผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เป็นเลขาธิการผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เป็นเลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญ เป็นผู้มีอำนาจกระทำแทนผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 (กบข.) มีหน้าที่ผู้บริหารกิจการของกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และตามกฎหมายตามนโยบายที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 กำหนด
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 เป็นคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญ โดยมีอำนาจหน้าที่ควบคุมและบริหารงานของกองทุนบำเหน็จบำนาญ (กบข.) ให้เป็นตามวัตถุประสงค์ ,นโยบายและกฎหมายตาม มาตรา 26 ของพระราชบัญญัติกองทุนบำนาญ
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รักษาการตามพระราชบัญญัติและมีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ หรือดูแลกำกับการบริหารงานของกองทุนตาม มาตรา 5 และมาตรา 84 ข้อ 2
****เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2552 ผู้ฟ้องคดีได้รับใบแจ้งยอดเงินสมาชิกกบข. สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 ว่า ผู้ฟ้องคดีมีส่วนของเงินต้น 67,593 บาท ผลประโยชน์ติดลบ หรือ ขาดทุน คือ 69,943.81 บาท ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ถึง 3 จึงนำผลประโยชน์ที่ติดลบหรือขาดทุน จำนวน 69,943.81 บาท ของปี 2551 ไปหักออกจากเงินผลประโยชน์ของผู้ฟ้องคดีปี 2550 ซึ่งมีจำนวน 575,406.27 บาท ทำให้เงินผลประโยชน์ของผู้ฟ้องคดีปี 2550 ลดลงเหลือเพียง 505,462.46 บาท ตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 1 รวมเงินที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1-3 หักออกจากบัญชีสะสมของผู้ฟ้องคดี พ.ศ. 2550 เป็นเงิน 69,943.81 บาท เมื่อรวมกับเงินต้น พ.ศ. 2551 ของผู้ฟ้องคดี จำนวนเงิน 67,593 บาท รวม 2 ปี เป็นเงินทั้งสิ้น 137,537.08 บาท ***
***โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1-3 อ้างว่า เหตุที่ต้องหักเงินผลประโยชน์ของผู้ฟ้องคดีทั้ง 2 ปี ดังกล่าว เพราะผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1-3 นำเงินของกองทุนไปลงทุนหาผลประโยชน์ในต่างประเทศขาดทุนเป็นเงินหลายหมื่นล้านบาท ทำให้ต้องเฉลี่ยผลการขาดทุนไปให้กับสมาชิกกองทุนทุกคน รวมจำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 1.17 ล้านคน ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามอ้างว่า ในปี 2551 เป็นปีที่เกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลกรวมถึงเหตุการณ์ในประเทศไทย ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนในการลงทุน กบข. ขาดทุนเป็นจำนวนมาก***
ข้อ 3 ผู้ฟ้องคดีไม่เห็นด้วยกับข้ออ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายดังต่อไปนี้
**3.1 เนื่องจาก กบข. เป็นสถาบันการเงินขนาดใหญ่มีสินทรัพย์เป็นจำนวนมากถึง 3.91 แสนล้านบาทเศษ มีสมาชิกซึ่งเป็นข้าราชการทั่วประเทศ 1 ล้านคนเศษ การบริหารเงินของสมาชิกที่กองทุนจะนำไปลงทุนเพื่อหาผลประโยชน์ตอบแทนคืนสมาชิก จะต้องเป็นไปด้วยความสุจริต โปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ แต่จากการให้ข่าว หรือข้อมูลแก่สมาชิกหรือสื่อมวลชน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1-3 ไม่สามารถตอบได้ว่า เหตุที่ขาดทุนในการลงทุนปี 2551 เป็นเพราะเหตุใด มีจำนวนเงินทั้งสิ้นเท่าไร เพียงแต่อ้างว่าขาดทุนจาการลงทุนในต่างประเทศ*** เนื่องจากเกิดวิกฤตการเงินทั่วโลกเท่านั้น จำนวนเงินที่ กบข. ไปลงทุนต่างประเทศ หรือ***จำนวนเงินที่ขาดทุนประจำปี 2551 ก็ชี้แจงไม่ตรงกันเลย เช่น เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2552 พนักงานของกบข.ไปชี้แจงที่ทำงานผู้ฟ้องคดี เรื่องขาดทุนว่าขาดทุนในการลงทุนต่างประเทศเป็นเงิน 1.7 หมื่นล้านบาท แต่วันที่ 4 มีนาคม 2552 พนักงาน กบข. สำนักงานใหญ่แจ้งว่า กบข. ขาดทุนต่างประเทศ 3 หมื่นล้านบาทเศษ**** ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ให้ข่าวต่อหนังสือพิมพ์มติชน ประจำวันที่ 12 มีนาคม 2552 (เอกสารหมายเลข 2) ว่า กบข.บริหารงานในปี 2551 ขาดทุน 5.12% หรือคิดเป็นมูลค่าเพียง 4,216.18 ล้านบาทเท่านั้น มิใช่ขาดทุนกว่า 7.4 หมื่นล้านบาท ตามที่มีข้าราชการกระทรวงยุติธรรมบางส่วนร้องเรียนต่อนายธาริต เพ็งดิษฐ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการกระทำทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท)
จากข้อเท็จจริงข้างต้น เห็นชัดเจนว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ให้ข้อมูลขัดแย้งกับพนักงานของตนเอง ทำให้เงินของกองทุนที่ไปลงทุนในต่างประเทศขาดทุนเท่าใด ไม่เป็นที่แน่ชัดเป็นการปกปิดอำพรางข้อเท็จจริง**ชี้ให้เห็นว่า การบริหารงาน หรือบริหารเงินกองทุนที่ไม่โปร่งใส ไม่สุจริต ไม่น่าเชื่อถือ ไม่สมกับที่เป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นที่พึ่งสุดท้ายในด้านการออมเงินของมวลสมาชิก จำนวน 1 ล้านคนเศษได้เลย***
3.2 ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ยังให้ข่าวกับหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับดังกล่าวต่อไปว่า การขาดทุนจำนวน 4,216.18 ล้านบาท เป็นการขาดทุนในส่วนของกำไร หรือยอดผลประโยชน์ที่สะสมมาเท่านั้น ไม่ได้กระทบกับเงินต้น หรือเงินสะสมของสมาชิกเงินต้นยังอยู่ครบทุกบาทไม่ได้หายไปไหน ในข้อนี้ ผู้ฟ้องคดีขอโต้แย้งว่าไม่เป็นความจริง โดยเฉพาะตามเอกสารหมายเลข 1 ใบแจ้งยอดเงินสมาชิกของผู้ฟ้องคดี ปี 2551 มีเงินสะสม 25,346.50 บาท เงินชดเชย 16,900 บาท รวมทั้งสิ้น 67,593.00 บาท ซึ่งเป็นเงินต้นของผู้ฟ้องคดีปี 2551 ได้ถูกผู้ฟ้องคดีที่ 1-3 หักออกจากบัญชี หรือรายได้ของผู้ฟ้องคดีทั้งหมดแล้วอย่างนี้ ผู้ฟ้องคดีที่ 2 จะมาพูดเท็จได้อย่างไรว่า เงินต้นยังอยู่ครบทุกบาทไม่ได้หายไปไหน เป็นการให้ข้อเท็จจริงที่ขัดต่อเอกสารของผู้ถูกฟ้องที่ 2 จึงเชื่อถือไม่ได้ ส่อไปในทางไม่สุจริต เพราะนอกจากกบข. หักเงินต้นจำนวน 67,593 บาท ของผู้ฟ้องคดีแล้ว ยังนำเอาเงินขาดทุน กบข. จำนวน 69,943.81 บาท มาหักออกเป็นผลประโยชน์ปี 2550 ผู้ฟ้องคดีอีกด้วย
****3.3 เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ซึ่งเป็นเลขาธิการของกบข. เป็นผู้ยืนยันตัวเลขขาดทุน ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 4,216.48 ล้านบาท การขาดทุนจึงต้องเฉลี่ยไปยังจำนวนเงินของสมาชิก กบข. ทั้งหมด จำนวน 1.17 ล้านคน เมื่อเอาจำนวนเงินตามบัญชีของผู้ฟ้องคดีปี 2550 และปี 2551 ที่ถูก กบข. หักไป จำนวน 137,537.08 บาท มาคำนวณโดยประมาณ เช่น สมาชิกถูกหักไปคนละ 130,000 บาท จำนวน 40,000 คน เป็นเงิน 130,000 คูณ 40,000 บาท จะเป็นเงินทั้งสิ้น 5,200 ล้านบาทแล้ว เกินจำนวนที่ กบข. ขาดทุน 1,000 ล้านบาท ทั้ง ๆ ที่ยังเหลือสมาชิกที่จะต้องนำเอาเงินมาเฉลี่ยการขาดทุนอีกเป็นจำนวนสมาชิกถึงเกือบ 8 ล้านคน จริงอยู่รายได้หรือเงินเดือนของสมาชิกไม่เท่ากันแต่ กบข. ก็ไม่มีเหตุผลที่อธิบายได้ว่าทำไมจึงหักเงินจากบัญชีสมาชิกตามจำนวนดังกล่าว การเฉลี่ยเงินขาดทุนให้กับผู้ฟ้องคดี จึงไม่ชอบด้วยข้อเท็จจริง ไม่เป็นธรรมและคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามที่ให้หักเงินออกจากบัญชีของผู้ฟ้องคดี เพื่อเฉลี่ยการขาดทุนของ กบข. จึงไม่ชอบ ไม่สามารถใช้บังคับได้ ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสาม จึงต้องคืนเงินของผู้ฟ้องคดีทั้งสองปีดังกล่าวให้แก่ผู้ฟ้องคดี***
3.4 กบข. มีสัดส่วนการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวม 6 ช่องทาง (ตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 ) โดยเฉพาะตราสารทุนต่างประเทศ จำนวน 8.36% เพิ่มเป็น 9.07% เมื่อเดือนธันวาคม 2551 ตราสารหนี้ต่างประเทศ จำนวน 4.08% เพิ่มเป็น 4.36% เมื่อเดือนธันวาคม 2551 เมื่อ กบข. มีการขาดทุนหลักมาจากการลงทุนในต่างประเทศและภายในประเทศเป็นจำนวนสูงมากถึงหลายหมื่นล้าน กบข. จะต้องแจ้งตัวเลข หรือจำนวนที่นำไปลงทุนว่า ไปลงทุนในตราสารทุน หรือตราสารหนี้ลูกหนี้ของบริษัท หรือนิติบุคคลใด เป็นจำนวนเท่าไร ขาดทุนเท่าไร และกองทุนได้มอบหมายให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลใด ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการลงทุนต่างประเทศ เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนแทน กบข. ตามมาตรา 69 แต่ กบข.ก็ไม่มีคำชี้แจงใด ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้เลย เป็นการกระทำที่ไม่โปร่งใส ไม่สมกับที่เป็นสถาบันการเงินของรัฐ ตามมาตรา 77 กองทุนต้องจัดทำงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน เมื่อกบข.มีหน้าที่ดังกล่าว กบข. ต้องทราบผลการขาดทุนตั้งแต่เดือนมกราคม 2552 แล้ว จนบัดนี้เดือนมีนาคม 2552 แล้ว ยังไม่มีการแถลงรายละเอียดของการลงทุนแต่อย่างใด ****ทำให้เชื่อว่า เหตุมีการขาดทุนหลายหมื่นล้านครั้งนี้ มาจากการลงทุนในหุ้นภาคเอกชนทั้งในและนอกประเทศที่ส่อไปในทางไม่สุจริต โดยอาจจะมีการไซฟอนเงินหรือถ่ายเทเงินลงทุนของกองทุนไปลงทุนในบริษัท หรือนิติบุคคลที่ใกล้ชิด หรือมีผลประโยชน์เกี่ยวกับผู้บริหารกบข.*** จึงไม่มีการแถลงถึงสาเหตุของการขาดทุนหลายหมื่นล้านครั้งนี้อย่างชัดแจ้ง
อีกทั้ง กบข.ไม่ยอมให้สำนักงานปปท. ซึ่งมีภารกิจด้านการตรวจสอบเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐทุกประเภท เข้าตรวจสอบเรื่องอื้ออฉาว จำนวนเงินมากครั้งนี้ ก็เป็นพิรุธอย่างยิ่งไม่ดปร่งใส
เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2552 นายธาริต เพ็งดิษฐ์ เลขาธิการสำนักงานคIะกรรมการป้องกันและปราบปรามการกระทำทุจริตในภาครัฐ(ป.ป.ท.) แถลงผลตรวจสอบการดำเนินงานของกบข.ที่เผยแพร่ต่อสาธารณะ พบว่า การลงทุนในปี 2551 จำนวน 4 กลุ่ม จากทั้งสิ้น 6 กลุ่ม เฉพาะส่วนที่ร่วมลงทุนกับภาคเอกชน มีผลประกอบการขาดทุนถึง 54,991 ล้านบาท แยกเป็นตราสารหนี้ในประเทศที่มีมูลค่าลดลง คือตราสารหนี้สถาบันการเงิน มูลค่าลดลง 12,620 ล้านบาท ตราสารหนี้บริษัทลดลง 5,943 ล้านบาท ส่วนตราสารหนี้ต่างประเทศในส่วนหน่วยลงทุนตราสารหนี้ลดลง 3,102 ล้านบาท สำหรับตราสารทุนในประเทศมูลค่าลดลง 28,151 ล้านบาท และตราสารทุนต่างประเทศมูลค่าลดลง 8,277 ล้านบาท
นายธาริตกล่าวว่า ในส่วนการลงทุนตราสารทุนทั้งในปละต่างประเทศ ที่มูลค่าลดลง 28,150 และ 8,276 ล้านบาทตามลำดับนั้น ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าเหตุใด กบข.ยังคงสัดส่วนการถือหุ้นในระดับที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก และบางกลุ่มมีการซื้อเพิ่มในปี 2551 ทั้งที่ข้อมูลในปี 2549 และปี 2550 เริ่มพบว่า มีปัญหาจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองภายในประเทศ
ด้านพ.ต.ท.เฉลิมชนม์ อุณหเสรี ผู้อำนวยการกลุ่มงานการข่าว กล่าวว่า จากการตรวจสอบพบว่า กบข.เข้าไปลงทุนซื้อหุ้นในหลายกลุ่ม แต่มีการลงทุนใน 2 กลุ่มที่เป็นพิรุธน่าสงสัย เนื่องจากเป็นการซื้อหุ้นที่ขาดทุน แต่กลับมีการลงทุนซื้อหุ้นเพิ่มอีก ได้แก่ การซื้อหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ โดยในปี 2550 กบข.เข้าไปซื้อหุ้นจำนวน 70 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้น 150 ล้านบาท ต่อมาในปี 2551 มีการลงทุนเพิ่มอีก 32 ล้านหุ้น แต่มูลค่ากลับติดลบ 56 ล้านบาท หรือติดลบ 36.4 % และการลง ทุนซื้อในธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในปี 2550 จำนวน 18 ล้านหุ้น มูลค่า 2,100 ล้านบาท ต่อมาในปี 2551 ได้มีการอัดฉีดซื้อหุ้นเพิ่มอีก 9 แสนหุ้น แต่มูลค่าหุ้นกลับติดลบ 800 ล้านบาท หรือติดลบ 38% เมื่อดูยอดรวมจะพบว่า กบข.ถือครองหุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์ ในปี 2550 ทั้งหมดประมาณ 54,000 ล้านบาท ต่อมาในปี 2551 มูลค่าหุ้นลดลง 27,447 ล้านบาท หรือลดลงไป 49 %
มีรายงานว่า ในเว็บไซด์ กบข.ได้รายงานสัดส่วนการลงทุนปี 2551 แยกตามประเภทตราสาร ณ เดือนธันวาคม 2551 ว่า เป็นการลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศ 66.95% ลงทุนในตราสารทุน (หุ้น) 16.07 % แยกเป็นหุ้นในประเทศ 7 % ต่างประเทศ 9.07 % ลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ 4.06 % ลงทุนในกองทุนอหังสาริมทรัพย์ 4.74 % และลงทุนทางเลือก 7.88 %
นอกจากนี้ จากการรวบรวมการถือหุ้นของ กบข.ในปี 2551 จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พบว่า กบข.ถือครองหุ้นรวม 29 บริษัท มูลค่ารวม ณ ต้นปี 2551 อยู่ที่ 3.6 หมื่นล้านบาท หรือลดลง 51.61% ***โดยหุ้นที่มีมูลค่าการถือครองปรับลดลงมากที่สุด คือ หุ้นของบริษัท ยานภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) หรือ YNP ราคาหุ้นปรับลดลง 93.19 % มี กบข.เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 จำนวน 16 ล้านหุ้น มูลค่า ณ สิ้นปีอยู่ที่ 4.18 ล้านบาท จากต้นปีที่มีมูลค่า 61.46 ล้านบาท และในอดีตเคยมีผู้บริหารของบริษัทนี้ถูก ก.ล.ต.สั่งเปรียบเทียบปรับในการสร้างราคาหุ้นบริษัทด้วย**** สำหรับการถือครองหุ้นของ กบข. ที่มีมูลค่าลดลงรองลงมาถือหุ้นบริษัทเอกชนอีก 16 บริษัท ซึ่งมีผลขาดทุนทั้งสิ้นตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4 ตาม พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญ มาตรา 70 กำหนดให้มีการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง ไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของเงินกองทุน เช่น ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลตั๋วเงินคงคลัง หรือ พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ตามกฏกระทรวง พ.ศ.2546 ที่กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุน กบข.ต้องเป็นไปตามนโยบายของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ซึ่งต้องปฏิบัติตามกฏกระทรวงเดียวกับการลงทุนที่ออกโดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 ซึ่งมีอำนาจกำกับดูแลการลงทุนหรือการปฏิบัติงานของ กบข. ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งตาม มาตรา 5 (1) (2) (3)
จากข้อเท็จจริงและข้อกฏหมายข้างต้น จะเห็นได้ชัดเจนว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 - 3 มิได้ปฏิบัติตามข้อกฏหมายในการลงทุนเพื่อหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของกองทุน ตาม มาตรา 9 (4) ที่กำหนดให้กองทุนมีอำนาจกระทำการต่างๆ ภายในของวัตถุประสงค์ตามมาตรา 5 หมายความว่าการลงทุนเพื่อหาผลประโยชน์ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศนั้น ต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง กบข.ว่า เงินของกองทุนประมาณ 3.91 ล้านบาทนั้น มีไว้เพื่อเป็นหลักประกันในเงินบำเหน็จบำนาญ และให้ประโยชน์ตอบแทนแก่ สมาชิกเมื่อออกจากราชการเท่านั้น ***แต่เหตุที่มีการขาดทุนจำนวนมากมายในปี 2551 ของ กบข.นั้น เป็นเพราะ กบข. มิได้กระทำตามข้อกฏหมายดังกล่าว โดยเฉพาะกรณีตัวอย่างที่ กบข.นำเงินไปลงทุนในหุ้นของบริษัทยานภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) ที่หุ้นมีการปรับราคาลดลงถึง 93.19 % และในอดีตผู้บริหารของบรษัทนี้ถูก กลต.ส่งเปรียบเทียบปรับในการสร้างราคาหุ้นบริษัท หรือข้อหาปั่นหุ้นด้วยนั้น****
ในกรณีนี้เห็นได้ว่า กบข.เป็นกองทุนขนาดใหญ่ที่นำเงินออมของสมาชิกไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กบข.ย่อมทราบดีอยู่แล้ว ก่อนที่ผู้บริหารของบริษัทดังกล่าวจะถูก กลต.เปรียบเทียบปรับข้อหาปั่นหุ้น เพราะก่อนมีการปรับเป็นเงินกับบริษัท กลต.ต้องมีตั้งกรรมการขึ้นมาสอบสวนว่ามีการปั่นหุ้นจริงหรือไม่ ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่ กบข.ต้องทำการขายหุ้นของบริษัท ยานภัณฑ์ จำกัด ออกไปทันทีที่มีข่าวหรือมีการลงโทษโดยการเปรียบเทียบปรับ เพราะการลงทุนในหุ้นต้องพิจารณาปัจจัยพื้นฐานเสมอ หนึ่งในปัจจัยพื้นฐาน คือ คุณสมบัติของผู้บริหารบริษัทนี้ หากมีพฤติกรรมในการฉ้อโกง หลอกลวง ผู้ลงทุนในตลาดหุ้นโดยมีพยานหลักฐานแน่ชัดจาก กลต. เช่นนี้แล้ว การที่ กบข.ยังคงถือหุ้นบริษัท ยานภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) ไว้จนถึงปัจจุบัน จึงรับฟังไม่ได้ไม่มีเหตุผล อีกทั้งข้ออ้างที่ กบข.แจ้งว่า บริษัทนี้มีการประกอบธุรกิจที่มีอนาคตเพราะผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์รถยนต์ก็ไม่มีน้ำหนัก หากเป็นจริง ราคาหุ้นของบริษัทคงไม่ตงลงมากจนถึงเกือบเลขศูนย์เช่นนี้ และ กบข.ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปั่นหุ้นของบริษัทแต่อย่างใด แต่การที่ กบข.ทราบว่าผู้บริหารบริษัทที่เกี่ยวข้องเป็นตัวการในการทุจริตปั่นหุ้นแล้ว ไม่รีบเทขายหุ้นที่ กบข.ลงทุนไว้ออกไปทันทีทั้งหมด ย่อมชี้ชัดว่า กบข.ลงทุนโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายของสมาชิก
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ชี้แจงเหตุที่ กบข.เฉลี่ยการลงทุนในหุ้นที่มีความเสี่ยงด้วยก็เพราะ อยากให้ผลตอบแทนชนะเงินเฟ้อ ไม่เช่นนั้นสมาชิกก็จะเสียประโยชน์นั้น การชี้แจงของผู้ฟ้องคดีที่ 2 ดังกล่าว เท่ากับยอมรับว่า กบข.ได้นำเงินลงทุนจำนวนมหาศาลไปลงทุนในหุ้นทั้งในและต่างประเทศ ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าการลงทุนดังกล่าวมีความเสี่ยง เป็นการกระทำที่ขัดต่อมาตรา 70 และกฏกระทรวง ซึ่งกำหนดว่า อย่างน้อยให้ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงไม่ต่ำกว่าร้อยละหกสิบ และเมื่อถูกฟ้องที่ 3 เป็นคณะกรรมการที่เป็นผู้กำหนดนโยบายในการลงทุนในหุ้นที่มีความเสี่ยง จึงต้องรับผิดด้วย
ข้อ 5. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีหน้าที่กำกับดูแลการนำเงินของสมาชิกไปลงทุนหาผลประโยชน์ของ กบข.ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง กบข.ตามมาตรา 5 (1) เพื่อเป็นหลักประกันในการจ่ายบำเหน็จบำนาญและให้ประโยชน์ตอบแทนแก่ข้าราชการเมื่อออกจากราชการ และมาตรา 5 (2) เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิกและตามมาตรา 9 (4) การลงทุนหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของกองทุนต้องกระทำตามวัตถุประสงค์ตามมาตรา 5 หมายความการกฏหมาย กฏหมายกำหนดให้ กบข.ต้องลงทุนในสินทรัพย์ที่มั่นคงสูง มีความเสี่ยงน้อยที่สุด หรือไม่มีความเสี่ยงเลย มิฉะนั้นแล้ววัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง กบข.ตามมาตรา 5 ก็จะไร้ผลโดยสิ้นเชิง ดังนั้น เมื่อผลการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ มีผลขาดทุนจำนวนมากหลายหมื่นล้านบาท สร้างความเสียหายแก่สมาชิก กบข.จำนวน 1.17 ล้านคน เนื่องมาจากผู้ถูกฟ้องที่ 1 - 3 มิได้ปฏิบัติตาม มาตรา 9,9 อย่างเคร่งครัด ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 - 3 จึงต้องรับผิดชอบ หรือต้องชี้แจงข้อเท็จจริงที่มีการตรวจสอบแล้วว่า ถูกต้องตามความเป็นจริง ไม่มีการหมกเม็ด หรือ ให้ข้อเท็จจริง อันเป็นเท็จ แถลงให้มวลสมาชิกจำนวนล้านคนเศษทราบ เพื่อจะได้มีความเข้าใจในการลงทุนของ กบข.ว่า ชอบด้วยกฏหมายหรือไม่ และจะเป็นหลักประกันหรือเป็นสถาบันที่ส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิกหรือไม่ หรือจะเป็นสถาบันที่ละลายทรัพย์ หรือ ถ่ายเททรัพย์ของมวลสมาชิกออกไปให้กับบริษัท หรือนิติบุคคลหรือให้กับพรรคพวกของผู้มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับผู้บริหารของ กบข. โดยมิชอบ ซึ่งเรื่องการบริหารการลงทุนของ กบข.ปี 2551 ที่มีผลการขาดทุนหลายหมื่นล้านบาท เป็นที่อื้อฉาว ส่งผลให้มวลสมาชิกหรือผู้ฟ้องข้องใจในความบริสุทธิ์ ซื่อสัตย์ของผู้บริหาร กบข.อย่างยิ่ง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 ย่อมทราบผลการขาดทุนนี้อย่างดีแล้ว เพราะตาม มาตรา 75 กองทุนต้องยื่นรายงานแสดงการจัดการกองทุนต่อรัฐมนตรีอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง และตาม มาตรา 84 ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 มีอำนาจหน้าที่กำกับและดูแลโดยทั่วไป ซึ่งการจัดการกองทุน โดยจะสั่งแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการกองทุน หรือแจ้งให้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงรายงานให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 ทราบด้วย
***ตามข้อกฏหมายดังกล่าว เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฏหมาย แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 ยังมิได้ดำเนินการใดๆ เลย ทั้ง ๆ ที่เป็นรู้กันทุกมุมเมืองว่า การขาดทุนในการลงทุนของ กบข.ในปี 2551 นับหมื่นล้านบาท เป็นสิ่งผิดปกติ ส่อพิรุธว่าจะมีการลงทุนที่ขัดต่อกฏหมาย มีเหตุการณ์ไม่น่าไว้วางใจ ควรที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 จะต้องดำเนินการตรวจสอบตามข้อกฏหมายดังกล่าว ****และเนื่องจากขณะนี้เศรษฐกิจทั่วโลกรวมทั้งไทยด้วยมีปัญหาการเงินทำให้รัฐบาลต้องใช้นโยบายประชานิยม โดยแจกเงินผู้ประกันตนคนละ 2,000 บาท หรือช่วยเหลือคนชราคนละ 500 บาท และรัฐบาลต้องกู้เงินจากต่างประเทศเพื่อใช้จ่ายในการบริหารประเทสในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ ควรที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 จะต้องออกกฏกระทรวงเพื่อแก้ไขกฏกระทรวงฉบับที่ 4 พ.ศ.2551 ที่กำหนดให้การลงทุนในหุ้น เมื่อรวมกันทุกบริษัทต้องไม่เกินร้อยละ 35 ของเงินกองทุนและการลงทุนในต่างประเทศ ลงทุนได้ไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินกองทุน เพราะกฏกระทรวงฉบับนี้ กำหนดให้กองทุน ลงทุนเป็นร้อยละมากเกินไป ไม่เหมาะสม กับเหตุการณ์วิกฤตในปัจจุบัน ควรมีการแก้ไขลดร้อยละลงมาจาก 35 เหลือ 15 หรือจาก 25 เหลือ 10 เป็นต้น เพื่อสกัดเส้นทางการลงทุนของกบข.ให้ลดความเสี่ยงให้มากที่สุด แต่ก็ไม่มีการดำเนินการดังกล่าว
ข้อ 6 ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และคณะอนุกรรมการชี้แจงต่อสื่อมวลชนว่า การลงทุนมีความเสี่ยง เพราะไม่มีใครทราบว่า หุ้นที่มีผลประกอบการดีหรือหุ้นที่กบข.เข้าไปซื้อ เพื่อการลงทุนจะมีราคาลดลงมากจนกบข.ขาดทุน จะเกิดขึ้น และเป็นสิ่งธรรมดาในการลงทุนนั้น เป็นคำชี้แจงที่ผิดอย่างไม่น่าให้อภัย ***เพราะการจัดตั้งกบข.ขึ้นมา เพื่อเป็นแหล่งออมเงินของข้าราชการ และเพื่อเป็นหลักประกันให้แก่ข้าราชการ หรือสมาชิกกบข.ว่า เมื่อพ้นจากราชการแล้ว จะมีเงินบำเหน็จบำนาญก้อนสุดท้ายไว้ใช้จ่ายในวัยชราอย่างแน่นอน ดังนั้น กฏหมายจึงกำหนดให้การลงทุนของกบข.ต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันเงินในอนาคตของมวลสมาชิก การลงทุนของกบข.ในทรัพย์สินต่างๆทั้งในและต่างประเทศจึงมีลัษณะพิเศษที่เน้นถึงหลักประกันของเงินกองทุนว่า จะไม่ลดน้อยลง ***หากผู้ถูกฟ้องคดีที 1-4 ดำเนินการตามที่กฏหมายกำหนด เมื่อการลงทุนของกบข.มีลักษณะพิเศษที่เน้นการออมมากกว่าการลงทุน การชี้แจงว่า การลงทุนเป็นความเสี่ยง จึงใช้กับกบข.ไม่ได้ เพราะการลงทุน เป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งของการออมเท่านั้น กฏหมายจึงเน้นให้มีการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงเป็นหลัก โดยเน้นการออมทรัพย์มิใช่การลงทุนในหลักทรัพย์ตามปกติในตลาดหลักทรัพย์
**ดังนั้น การลงทุนในทรัพย์สินของกบข.ที่มีการขาดทุนมาในปี 2551 จึงขัดต่อกฏหมาย***
ข้อ 7. เมื่อลงทุนในทรัพย์สินของผู้ถูกฟ้องที่ 1-3 ในปี 2551 ไม่ชอบด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฏหมาย คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ให้เฉลี่ยผลการขาดทุนไปยังสมาชิก รวมทั้งผู้ฟ้องคดีต้องถูกหักเงินผลประโยชน์ในปี 2550 เป็นเงิน 69,943.81 บาท และเงินต้น ปี 2551 เป็นเงิน 67,593 บาท และตามฟ้องข้อ 3.3 การคิดคำนวนอัตราเฉลี่ยขาดทุนไม่ชอบด้วยข้อเท็จจริง ไม่เป็นธรรม คำสั่งเฉลี่ยเงินขาดทุนจึงไม่มีผลบังคับ ผู้ถูกฟ้องคดีต้องคืนเงินดังกล่าวทั้ง 2 ปี ให้ผู้ฟ้องคดีพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี
เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 -4 ได้กระทำโดยไม่ชอบด้วยกฏหมาย เป็นการไม่สุจริต หรือเป็นการใช้ดุลยพินิจในการลงทุนในการหักเอาเงินทุน และเงินผลประโยชน์ของผู้ฟ้องคดีไปเฉลี่ยผลการลงทุนที่มิชอบด้วยกฏหมายของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสาม จึงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต ซึ่งผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย จึงมีสิทธิตามมาตรา 42 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและพิจารณาคดีปกครองพ.ศ.2542 และมาตรา 9 วรรค 9 วรรค หนึ่ง(1) ฟ้องผู้ถุกฟ้องคดีที่ 1-4 ได้ ขอศาลได้โปรดมีคำพิพากษา หรือคำสั่งให้ผู้ถุกฟ้องคดีที่ 1-4 ตามคำขอท้ายฟ้องด้วย
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
** คำขอของผู้ฟ้องคดี (ระบุวัตถุประสงค์หรือความต้องการของผู้ฟ้องคดี)***
**1.สั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่มิชอบด้วยกฏหมายของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสาม ที่สั่งให้เฉลี่ยผลการขาดทุนกับเงินผลประโยชน์ปี 2550 และเงินต้นของปี 2551 ของผู้ฟ้องคดี
**2.สั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสาม คืนเงินของผู้ถูกฟ้องคดีที่ผู้ฟ้องคดีที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามหักไปจากบัญชีของผู้ฟ้องคดีตามข้อ 1 คืนพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5ต่อปี จนกว่าจะชำระเสร็จ
**3.สั่งให้การลงทุนในทรัพย์สินของกบข.ในปี 2551 เป็นการลงทุนที่มิชอบด้วยกฏหมาย ผลการขาดทุนจึงไม่ผูกพันผู้ฟ้องคดี
**4.สั่งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกะบการจัดการกองทุนที่มิชอบด้วยกฏหมาย ปี 2551
**5. สั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 ออกกฏกระทรวงแก้ไขกฏกระทรวงฉบับที่ 4 พ.ศ. 2551 โดยกำหนดให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1-3 มีการลงทุนในสัดส่วนลดลงเป็นร้อยละตามความเหมาะสมของสภาพเศรษฐกิจ
ลงชื่อ นายประวิทย์ สิทธิถาวร ผู้ฟ้องคดี
+++++++++++++++++++
******(ล้อมกรอบ)
กฏกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการพ.ศ.2539 และมาตรา 69 วรรคสี่ และมาตรา 70 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2550 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกกฏกระทรวงไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 3 แห่งกฏกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2546 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย กฏกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"การลงทุนในหุ้น หุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ หรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นตามวรรคหนึ่ง เมื่อรวมกันทุกบริษัทต้องไม่เกินร้อยละ สามสิบห้าของเงินของกองทุน"
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งกฏกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2546 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฏกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการ เงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 6 การจัดการเงินของกองทุนที่ กบข. ดำเนินการจัดการเอง ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) การลงทุนในประเทศ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามข้อ 5
(2) การลงทุนในต่างประเทศ ให้ลงทุนได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของเงินกองทุน ทั้งนี้ การกำหนดประเภทหลักทรัพย์ที่ลงทุนได้และการแยกประเภทหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงและหลักทรัพย์อื่น ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด"
ให้ไว้ ณ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2551
ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง