ASTVผู้จัดการรายวัน - บอร์ด กบข.มีความเห็นตั้งคณะอนุกรรมการสอบความเสียหาย กบข. ตามที่ ป.ป.ท.ต้องการ วางกรอบหลัก "เป็นไปตามกฎหมายหรือไม่-ดูแลรักษาผลประโยชน์ของสมาชิกอย่างเต็มที่หรือไม่ภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจ" ปลัดคลังเชื่อสมาชิก กบข.มีมาก อาจไม่เข้าใจการทำงาน ต้องชี้แจง พร้อมดึง ป.ป.ท.ร่วมคณะอนุฯ ขณะที่ฝ่ายบริหาร กบข.แจงซ้ำโปร่งใสซื้อหุ้นตามปัจจัยตลาด ส่วนงบการเงินรอ สตง.สอบทาน ด้าน นายกฯ บลจ.หนุนตรวจสอบเรียกความเชื่อมั่น
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการนัดพิเศษ วานนี้ (16 มี.ค.) ว่า คณะกรรมการ กบข.ได้หารือนอกรอบเพื่อรับฟังข้อมูลจากฝ่ายจัดการของ กบข.ก่อนได้ข้อสรุปความเห็นร่วมกันว่าควรมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อตรวจสอบกรณีความเสียหายจากการลงทุนของ กบข.ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ (ป.ป.ท.) หยิบยกขึ้นมาเป็นกระเด็นตรวจสอบการทำงานของ กบข.หลังจากได้รับข้อร้องเรียนจากสมาชิก กบข.ในช่วงที่ผ่านมา
คณะอนุกรรมการชุดดังกล่าวจะมีกรอบการทำงานใน 3 มิติ คือ ตรวจสอบการลงทุนของ กบข.ว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ กติกาตามกรอบกฎหมายหรือไม่, พิจารณาว่าที่ผ่านมากบข.ได้ดูแลรักษาผลประโยชน์ของสมาชิกอย่างเต็มที่หรือไม่ภายใต้สภาวะทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อการลงทุนในช่วงที่ผ่านมา และสุดท้ายคือการชี้แจงทำความเข้าใจต่อสมาชิกของ กบข.ซึ่งถือเป็นงานที่ท้ายทายเพราะสมาชิกกบข.มีนับล้านคนและยังมีความเข้าใจเรื่องการลงทุนแตกต่างกันออกไป
ที่ประชุมยังนำข้อสังเกตของ ป.ป.ท.เกี่ยวกับการลงทุนในหุ้นต่างๆ ทีเกิดความเสียหายมาร่วมพิจารณาด้วย เพราะเข้าใจดีว่า ป.ป.ท.ทำงานไปตามหน้าที่เพื่อประโยชน์ของสมาชิกกองทุน แต่ที่ประชุมวันนี้ไม่ได้มีมติอย่างเป็นทางการ เนื่องจากต้องรอการประชุมบอร์ดตามวาระปกติในวันที่ 20 มี.ค.อีกทั้งรวมทั้งการแต่งตังคณะอนุกรรมการด้วย
"กบข.ต้องพยายามจะทำความเข้าใจ และสร้างความเชื่อมั่นให้สมาชิก รวมทั้งต้องสื่อความออกไปให้ปรากฎข้อเท็จจริงมากที่สุด โดยต้องแยกแยะสิ่งที่เกิดขึ้นจริงตามกฎกติกากับสิ่งที่กระทบกับผลประโยชน์จากการลงทุนของสมาชิก ซึ่งจะเป็นหน้าที่ของคณะอนุกรรมการต่อไป ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างทาบทามบุคคลที่เหมาะสม โดยประธานอาจมาจากกรรมการของ กบข.เอง ส่วนกรรมการอื่นๆ มาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและต้องมีความรู้ความเข้าใจด้านการลงทุนและมีความเป็นกลาง รวมทั้งจะเชิญตัวแทนจาก ป.ป.ท.ให้เข้ามาร่วมด้วย ซึ่งในการประชุมบอร์ดจะกำหนดกรอบเวลาการทำงานที่ชัดเจนด้วยคิดว่าคงใช้เวลาไม่นาน”นายศุภรัตน์กล่าว
นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้อำนวยการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ในฐานะคณะกรรมการกบข. กล่าวว่า คณะอนุกรรมการที่จะแต่งตั้งขึ้นมาต้องมาจากหน่วยงานที่เป็นกลางและได้รับความเชื่อถือจากประชาชน และหากจะเป็นตัวแทนจาก ป.ป.ท.ด้วยก็ได้ เพื่อให้ความกระจ่างและชี้แจงถึงผลการดำเนินงานของ กบข.แก่สมาชิกได้ ทั้งนี้ จากกรณี ป.ป.ท.มีสิทธิ์เข้ามาตรวจสอบการทำงานของ กบข.หรือไม่ ขณะนี้คณะกรรมการ กบข.ยังสงสัยในอำนาจตรวจสอบ เนื่องจากหนังสือที่ ปปท.ส่งถึง กบข.เป็นเพียงการตั้งข้อสงสัยเท่านั้น จึงจะได้หารือเพื่อหาข้อสรุปในเรื่องดังกล่าวต่อไป
**กบข.ย้ำโปร่งใสซื้อหุ้นตามปัจจัยตลาด**
ด้าน กบข. ชี้แจงเพิ่มเติมว่า ตามที่ได้มีข้อมูลปรากฏทางหนังสือพิมพ์หลายฉบับว่า มูลค่าเงินลงทุนของกองทุนบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการในระหว่างปี 2550-2551 ลดลงจำนวน 58,093 ล้านบาทนั้น เป็นตัวเลขที่มีความเข้าใจคาดเคลื่อนจากความเป็นจริง โดยในข้อเท็จจริงนั้น มูลค่าเงินลงทุนของสมาชิกลดลงจำนวน 16,832 ล้านบาท หรือคิดเป็น 5.12% สอดคล้องตามที่ กบข. ได้เผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวผ่านสื่อสวลชน และ www.gpf.or.th รวมทั้งสื่อต่างๆ ของ กบข. ไปแล้วก่อนหน้านี้ และขณะนี้งบการเงินประจำปี 2551 อยู่ในระหว่างการสอบทานของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง. )
จากการลงทุนในปี 2551 กบข. มีรายได้จากเงินปันผลรวม 2,900 ล้านบาท ดอกเบี้ยรับและส่วนลดรับ 9,693 ล้านบาท กำไร (ขาดทุน) สุทธิที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการปรับมูลค่า -29,411 ล้านบาท รวมรายได้ และ ค่าใช่จ่ายอื่นๆ -14 ล้านบาทรวมกำไร(ขาดทุน)สุทธิที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการปรับมูลค่า -16,832 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม เมื่อรวมถึงเงินลงทุนที่ กบข. บริหารทั้งหมดทั้งในส่วนของเงินกองทุนสมาชิกและส่วนเงินสำรอง (เงินสำรอง ตาม พ.ร.บ. กบข. มาตรา 72 ให้รัฐตั้งงบประมาณรายจ่ายเป็นรายปีเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า ร้อยละยี่สิบของงบประมาณรายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการประจำปีเข้าบัญชีเงินสำรองทุกปี) ผลตอบแทนลดลง 4,216 ล้านบาท หรือคิดเป็นผลตอบแทนติดลบ 1.12%
สำหรับมูลค่าเงินลงทุนของ กบข. ที่มีการตั้งข้อสังเกตุปรากฎตามหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ ว่าลดลงเป็นจำนวนมากนั้น กบข. ขอชี้แจงว่ามีการลดลงดังกล่าวมีสาเหตุเกิดจากการขาย และไถ่ถอนตามกำหนดอายุของตราสารหนี้สถาบันการเงิน ตราสารหนี้บริษัทเอกชน และการขายหุ้นทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงในช่วงที่เศรษฐกิจมีสภาวะชะลอตัว โดยนำเงินจำนวนดังกล่าวไปซื้อตราสารหนี้ภาครัฐเพิ่มขึ้น และการที่ราคาหลักทรัพย์ที่ถือครองอยู่ปรับลดลงตามภาวะตลาดที่เกิดขึ้น ซึ่งยังมิได้มีการขายออกแต่อย่างใด เนื่องจาก กบข เห็นว่าหลักทรัพย์ดังกล่าวยังคงมีปัจจัย พื้นฐานที่ดี และมีแนวโน้มที่ราคาหลักทรัพย์นั้น ๆ จะปรับตัวสูงขึ้น หากภาวะเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นในอนาคต
ส่วนประเด็นที่ได้มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการลงทุนในหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทแห่งหนึ่งในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์นั้น กบข. ชี้แจงว่า ในการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์ตราสารทุนนั้น กบข. จะพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐานของหลักทรัพย์แต่ละตัวประกอบกับราคาหลักทรัพย์ในขณะนั้น กล่าวคือ กบข. จะทำการขายหลักทรัพย์เมื่อเห็นว่าราคาหลักทรัพย์นั้นสูงกว่าราคาปัจจัยพื้นฐานที่ควรจะเป็น ในทางกลับกัน กบข. จะซื้อหลักทรัพย์เมื่อ เห็นว่า ราคาหลักทรัพย์นั้นต่ำกว่าราคาพื้นฐาน ดังจะเห็นได้จากการที่ กบข. ได้ทำการซื้อขายหุ้นธนาคารพาณิชย์ และหุ้นอสังหาริมทรัพย์ ในปี 2551 โดยมีราคาซื้อเฉลี่ยที่ต่ำกว่าราคาขายโดยเฉลี่ย
หากพิจารณาเปรียบเทียบผลการเจริญเติบโตของ กบข. ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ( 49-51 ) จะพบว่าในปี 2549 กบข. มีสินทรัพย์สุทธิในส่วนของสมาชิกทั้งสิ้น 275,315.89 ล้านบาท ในปี 2550 กบข. มีสินทรัพย์สุทธิในส่วนของสมาชิกทั้งสิ้น 315,926.30 ล้านบาท และในปี 2551 มีสินทรัพย์สุทธิในส่วนของสมาชิกทั้งสิ้น 308,240.94 ล้านบาท จะเห็นได้ว่าตัวเลขดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงได้ทั้งในทางที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในแต่ละปี และขึ้นอยู่กับการจ่ายเงินคืนสมาชิกพ้นสมาชิกภาพในแต่ละปี ซึ่งในปี 2551 นอกจากการเกษียณอายุราชการตามเกณฑ์ปกติแล้ว ยังมีผู้เกษียณอายุก่อนกำหนดอีกด้วย
อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาผลประโยชน์สะสมตั้งแต่ปี 2540 จนถึงปัจจุบัน กบข. ยังสามารถสร้างผลตอบแทนให้สมาชิกได้อย่างต่อเนื่องและแข็งแกร่ง เห็นได้จากตัวเลขอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนสุทธิย้อนหลังสำหรับสมาชิกแต่ละคนตั้งแต่ตั้งกองทุนเท่ากับ 7.04 %ต่อปี ซึ่งยังสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยที่ 3.26 % ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์เฉลี่ยที่ 2.06 % ต่อปี
**นายกฯบลจ.หนุนสอบเรียกความเชื่อมั่น**
นางวรวรรณ ธาราภูมิ นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน (สมาคม บลจ.) และกรรมการผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บัวหลวง จำกัด เปิดเผยถึงกรณีของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ที่มีกระแสข่าวการบริหารกองทุนติดลบว่า ตามกฎหมายในการลงทุนตามพระราชบัญญัติ กบข. และกฎกระทรวงที่กำหนดไว้ให้ กบข. ต้องลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงอย่างน้อยร้อยละ 60 ของมูลค่าสินทรัพย์ ซึ่งสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงในที่นี้อาจจะเป็นพันธบัตร หรือตราสารหนี้ภาครัฐที่รัฐบาลค้ำประกันทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย กับเงินฝากธนาคารต่างๆ เป็นต้น ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าในช่วงอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนี้ยังไม่พบว่า กบข. นั้น ลงทุนน้อยกว่าที่กฏหมายได้กำหนดเอาไว้ โดยล่าสุด กบข. เองได้ออกมาชี้แจงว่าลงทุนในหลักทรัพย์ความมั่นคงสูงดังกล่าวเกิน 70% ดังนั้น กบข. จึงไม่ได้ผิดกฎหมายอะไรในข้อนี้
ส่วนกรณีเรื่องเกี่ยวกับการเข้าไปลงทุนในหุ้น รวมถึงการเข้าไปลงทุนในต่างประเทศ จนทำให้ขาดทุนในช่วงปีที่ผ่านมานั้น เท่าที่ได้อ่านนโยบายของ กบข. พบว่า กบข. เองมีแนวทางที่จะบริหารเงินสมาชิกให้ได้รับผลตอบแทนสูงสุดภายใต้กรอบความเสี่ยงที่กำหนด เพื่อให้สมาชิกได้มีเงินออมเพียงพอสำหรับดำรงชีวิตภายหลังเกษียณ ซึ่งเมื่อเป็นดังนี้ กบข. เองคงไม่สามารถลงทุนแต่ในสินทรัพย์เสี่ยงต่ำดังกล่าว 100% ได้ เพราะผลตอบแทนจะต่ำ ดังนั้น กบข. จึงได้จัดสัดส่วนการลงทุนที่สอดคล้องกับเป้าหมายของการออมระยะยาว โดยการกระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์ที่มีความหลากหลาย เพื่อลดความเสี่ยงในการกระจุกตัวของการลงทุน และเพื่อเพิ่มโอกาสของการได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่าฝากเงินและลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลอย่างเดียว ซึ่งจะไม่สามารถรับมือกับอัตราเงินเฟ้อในระยะยาวได้ดังนั้น พอร์ตการลงทุนของ กบข. จึงมีการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นได้บ้าง ก็เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการมีเงินออมไว้ใช้เพียงพอในยามเกษียณ
“เมื่อพิจารณาข้อมูลสัดส่วนการลงทุนกับผลตอบแทนของ กบข. พบว่าอัตราผลตอบแทนอยู่ในเกณฑ์ดีทีเดียว สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยฝากประจำ 1 ปี ในทุกปี ยกเว้นปี 2551 เพียงปีเดียวที่ กบข. บริหารแล้วติดลบไป 5.12% ซึ่งเกิดจากภาวะเศรษฐกิจการลงทุนทั่วโลกนั่นเอง” นางวรวรรณ กล่าว
นางวรวรรณ กล่าวต่อว่า เมื่อเทียบอัตราค่าเฉลี่ยดอกเบี้ยเงินฝากในรอบ 12 ปี ตั้งแต่จัดตั้ง กบข. ในปี 2540 จนถึง ปี 2551 จะเท่ากับ 3.81% ต่อปีเท่านั้น แต่ กบข. เขาบริหารเงินสมาชิกได้ผลตอบแทนในช่วงเดียวกันโดยเฉลี่ย 7.04% ต่อปี แม้จะขาดทุนในปี 2551 ไปปีเดียว แต่โดยเฉลี่ยมันก็ยังดีกว่าฝากเงินมาก
นอกจากนี้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วงเดียวกันนั้นก็เท่ากับ 3.21% ต่อปี ดังนั้นผลตอบแทนสุทธิของการฝากเงินอย่างเดียวหักเงินเฟ้อแล้วจะเหลือเพียง 0.60% ต่อปีเท่านั้น ในขณะที่ กบข. เองบริหารได้ผลตอบแทน 7.04% ต่อปี หักเงินเฟ้อแล้วยังได้ผลตอบแทนสุทธิถึง 3.83% ต่อปี ซึ่งก็สอดคล้องกับเป้าหมายการออมเงินระยะยาวเพื่อการเกษียณของสมาชิก กบข. ในส่วนที่ว่าต้องให้เงินส่วนนี้สามารถรับมือกับอัตราเงินเฟ้อในระยะยาวได้
นางวรวรรณกล่าวว่า ส่วนการเข้าไปลงทุนในหุ้นช่วงที่มีราคาตกนั้น โดยปกติแล้วผู้จัดการกองทุนจะซื้อหุ้นดีในยามที่ราคาหุ้นถูก แล้วพยายามขายหุ้นในราคาแพงเมื่อคิดว่าราคาตลาดของหุ้นนั้นขึ้นไปเต็มที่แล้ว หรือว่าผู้จัดการกองทุนพอใจกับระดับราคานั้นแล้ว หุ้นดีราคาถูกเป็นสิ่งที่ผู้จัดการกองทุนแสวงหากันทั้งนั้น แต่ถ้าการซื้อหุ้นไม่ว่าจะซื้อถูกหรือซื้อแพงนั้นเป็นการซื้อที่ไม่มีการวิเคราะห์ไว้อย่างถี่ถ้วนสมเหตุสมผล เป็นการซื้อเพื่อช่วยเหลือใคร หรือเพื่อประโยชน์ส่วนตน ต่อให้ได้กำไรก็ถือว่าผิด ซึ่งเรื่องรายละเอียดในการตัดสินใจลงทุนของ กบข. ครั้งนี้ที่ทำให้บริหารกองทุนขาดทุนไปนั้น จึงต้องมีการตรวจสอบแล้วรายงานผลตามความจริง ซึ่งน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับทั้งสมาชิกกองทุน กับ กบข. เอง เพราะ กบข. ก็มีสิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมหากสิ่งที่พูดกันไปนั้นเป็นความเข้าใจผิด และสมาชิกเขาก็มีสิทธิที่จะได้ข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อมั่นใจได้ว่าเงินของเขามีการบริหารจัดการที่โปร่งใสหรือไม่.
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการนัดพิเศษ วานนี้ (16 มี.ค.) ว่า คณะกรรมการ กบข.ได้หารือนอกรอบเพื่อรับฟังข้อมูลจากฝ่ายจัดการของ กบข.ก่อนได้ข้อสรุปความเห็นร่วมกันว่าควรมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อตรวจสอบกรณีความเสียหายจากการลงทุนของ กบข.ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ (ป.ป.ท.) หยิบยกขึ้นมาเป็นกระเด็นตรวจสอบการทำงานของ กบข.หลังจากได้รับข้อร้องเรียนจากสมาชิก กบข.ในช่วงที่ผ่านมา
คณะอนุกรรมการชุดดังกล่าวจะมีกรอบการทำงานใน 3 มิติ คือ ตรวจสอบการลงทุนของ กบข.ว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ กติกาตามกรอบกฎหมายหรือไม่, พิจารณาว่าที่ผ่านมากบข.ได้ดูแลรักษาผลประโยชน์ของสมาชิกอย่างเต็มที่หรือไม่ภายใต้สภาวะทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อการลงทุนในช่วงที่ผ่านมา และสุดท้ายคือการชี้แจงทำความเข้าใจต่อสมาชิกของ กบข.ซึ่งถือเป็นงานที่ท้ายทายเพราะสมาชิกกบข.มีนับล้านคนและยังมีความเข้าใจเรื่องการลงทุนแตกต่างกันออกไป
ที่ประชุมยังนำข้อสังเกตของ ป.ป.ท.เกี่ยวกับการลงทุนในหุ้นต่างๆ ทีเกิดความเสียหายมาร่วมพิจารณาด้วย เพราะเข้าใจดีว่า ป.ป.ท.ทำงานไปตามหน้าที่เพื่อประโยชน์ของสมาชิกกองทุน แต่ที่ประชุมวันนี้ไม่ได้มีมติอย่างเป็นทางการ เนื่องจากต้องรอการประชุมบอร์ดตามวาระปกติในวันที่ 20 มี.ค.อีกทั้งรวมทั้งการแต่งตังคณะอนุกรรมการด้วย
"กบข.ต้องพยายามจะทำความเข้าใจ และสร้างความเชื่อมั่นให้สมาชิก รวมทั้งต้องสื่อความออกไปให้ปรากฎข้อเท็จจริงมากที่สุด โดยต้องแยกแยะสิ่งที่เกิดขึ้นจริงตามกฎกติกากับสิ่งที่กระทบกับผลประโยชน์จากการลงทุนของสมาชิก ซึ่งจะเป็นหน้าที่ของคณะอนุกรรมการต่อไป ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างทาบทามบุคคลที่เหมาะสม โดยประธานอาจมาจากกรรมการของ กบข.เอง ส่วนกรรมการอื่นๆ มาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและต้องมีความรู้ความเข้าใจด้านการลงทุนและมีความเป็นกลาง รวมทั้งจะเชิญตัวแทนจาก ป.ป.ท.ให้เข้ามาร่วมด้วย ซึ่งในการประชุมบอร์ดจะกำหนดกรอบเวลาการทำงานที่ชัดเจนด้วยคิดว่าคงใช้เวลาไม่นาน”นายศุภรัตน์กล่าว
นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้อำนวยการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ในฐานะคณะกรรมการกบข. กล่าวว่า คณะอนุกรรมการที่จะแต่งตั้งขึ้นมาต้องมาจากหน่วยงานที่เป็นกลางและได้รับความเชื่อถือจากประชาชน และหากจะเป็นตัวแทนจาก ป.ป.ท.ด้วยก็ได้ เพื่อให้ความกระจ่างและชี้แจงถึงผลการดำเนินงานของ กบข.แก่สมาชิกได้ ทั้งนี้ จากกรณี ป.ป.ท.มีสิทธิ์เข้ามาตรวจสอบการทำงานของ กบข.หรือไม่ ขณะนี้คณะกรรมการ กบข.ยังสงสัยในอำนาจตรวจสอบ เนื่องจากหนังสือที่ ปปท.ส่งถึง กบข.เป็นเพียงการตั้งข้อสงสัยเท่านั้น จึงจะได้หารือเพื่อหาข้อสรุปในเรื่องดังกล่าวต่อไป
**กบข.ย้ำโปร่งใสซื้อหุ้นตามปัจจัยตลาด**
ด้าน กบข. ชี้แจงเพิ่มเติมว่า ตามที่ได้มีข้อมูลปรากฏทางหนังสือพิมพ์หลายฉบับว่า มูลค่าเงินลงทุนของกองทุนบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการในระหว่างปี 2550-2551 ลดลงจำนวน 58,093 ล้านบาทนั้น เป็นตัวเลขที่มีความเข้าใจคาดเคลื่อนจากความเป็นจริง โดยในข้อเท็จจริงนั้น มูลค่าเงินลงทุนของสมาชิกลดลงจำนวน 16,832 ล้านบาท หรือคิดเป็น 5.12% สอดคล้องตามที่ กบข. ได้เผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวผ่านสื่อสวลชน และ www.gpf.or.th รวมทั้งสื่อต่างๆ ของ กบข. ไปแล้วก่อนหน้านี้ และขณะนี้งบการเงินประจำปี 2551 อยู่ในระหว่างการสอบทานของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง. )
จากการลงทุนในปี 2551 กบข. มีรายได้จากเงินปันผลรวม 2,900 ล้านบาท ดอกเบี้ยรับและส่วนลดรับ 9,693 ล้านบาท กำไร (ขาดทุน) สุทธิที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการปรับมูลค่า -29,411 ล้านบาท รวมรายได้ และ ค่าใช่จ่ายอื่นๆ -14 ล้านบาทรวมกำไร(ขาดทุน)สุทธิที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการปรับมูลค่า -16,832 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม เมื่อรวมถึงเงินลงทุนที่ กบข. บริหารทั้งหมดทั้งในส่วนของเงินกองทุนสมาชิกและส่วนเงินสำรอง (เงินสำรอง ตาม พ.ร.บ. กบข. มาตรา 72 ให้รัฐตั้งงบประมาณรายจ่ายเป็นรายปีเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า ร้อยละยี่สิบของงบประมาณรายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการประจำปีเข้าบัญชีเงินสำรองทุกปี) ผลตอบแทนลดลง 4,216 ล้านบาท หรือคิดเป็นผลตอบแทนติดลบ 1.12%
สำหรับมูลค่าเงินลงทุนของ กบข. ที่มีการตั้งข้อสังเกตุปรากฎตามหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ ว่าลดลงเป็นจำนวนมากนั้น กบข. ขอชี้แจงว่ามีการลดลงดังกล่าวมีสาเหตุเกิดจากการขาย และไถ่ถอนตามกำหนดอายุของตราสารหนี้สถาบันการเงิน ตราสารหนี้บริษัทเอกชน และการขายหุ้นทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงในช่วงที่เศรษฐกิจมีสภาวะชะลอตัว โดยนำเงินจำนวนดังกล่าวไปซื้อตราสารหนี้ภาครัฐเพิ่มขึ้น และการที่ราคาหลักทรัพย์ที่ถือครองอยู่ปรับลดลงตามภาวะตลาดที่เกิดขึ้น ซึ่งยังมิได้มีการขายออกแต่อย่างใด เนื่องจาก กบข เห็นว่าหลักทรัพย์ดังกล่าวยังคงมีปัจจัย พื้นฐานที่ดี และมีแนวโน้มที่ราคาหลักทรัพย์นั้น ๆ จะปรับตัวสูงขึ้น หากภาวะเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นในอนาคต
ส่วนประเด็นที่ได้มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการลงทุนในหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทแห่งหนึ่งในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์นั้น กบข. ชี้แจงว่า ในการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์ตราสารทุนนั้น กบข. จะพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐานของหลักทรัพย์แต่ละตัวประกอบกับราคาหลักทรัพย์ในขณะนั้น กล่าวคือ กบข. จะทำการขายหลักทรัพย์เมื่อเห็นว่าราคาหลักทรัพย์นั้นสูงกว่าราคาปัจจัยพื้นฐานที่ควรจะเป็น ในทางกลับกัน กบข. จะซื้อหลักทรัพย์เมื่อ เห็นว่า ราคาหลักทรัพย์นั้นต่ำกว่าราคาพื้นฐาน ดังจะเห็นได้จากการที่ กบข. ได้ทำการซื้อขายหุ้นธนาคารพาณิชย์ และหุ้นอสังหาริมทรัพย์ ในปี 2551 โดยมีราคาซื้อเฉลี่ยที่ต่ำกว่าราคาขายโดยเฉลี่ย
หากพิจารณาเปรียบเทียบผลการเจริญเติบโตของ กบข. ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ( 49-51 ) จะพบว่าในปี 2549 กบข. มีสินทรัพย์สุทธิในส่วนของสมาชิกทั้งสิ้น 275,315.89 ล้านบาท ในปี 2550 กบข. มีสินทรัพย์สุทธิในส่วนของสมาชิกทั้งสิ้น 315,926.30 ล้านบาท และในปี 2551 มีสินทรัพย์สุทธิในส่วนของสมาชิกทั้งสิ้น 308,240.94 ล้านบาท จะเห็นได้ว่าตัวเลขดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงได้ทั้งในทางที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในแต่ละปี และขึ้นอยู่กับการจ่ายเงินคืนสมาชิกพ้นสมาชิกภาพในแต่ละปี ซึ่งในปี 2551 นอกจากการเกษียณอายุราชการตามเกณฑ์ปกติแล้ว ยังมีผู้เกษียณอายุก่อนกำหนดอีกด้วย
อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาผลประโยชน์สะสมตั้งแต่ปี 2540 จนถึงปัจจุบัน กบข. ยังสามารถสร้างผลตอบแทนให้สมาชิกได้อย่างต่อเนื่องและแข็งแกร่ง เห็นได้จากตัวเลขอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนสุทธิย้อนหลังสำหรับสมาชิกแต่ละคนตั้งแต่ตั้งกองทุนเท่ากับ 7.04 %ต่อปี ซึ่งยังสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยที่ 3.26 % ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์เฉลี่ยที่ 2.06 % ต่อปี
**นายกฯบลจ.หนุนสอบเรียกความเชื่อมั่น**
นางวรวรรณ ธาราภูมิ นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน (สมาคม บลจ.) และกรรมการผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บัวหลวง จำกัด เปิดเผยถึงกรณีของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ที่มีกระแสข่าวการบริหารกองทุนติดลบว่า ตามกฎหมายในการลงทุนตามพระราชบัญญัติ กบข. และกฎกระทรวงที่กำหนดไว้ให้ กบข. ต้องลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงอย่างน้อยร้อยละ 60 ของมูลค่าสินทรัพย์ ซึ่งสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงในที่นี้อาจจะเป็นพันธบัตร หรือตราสารหนี้ภาครัฐที่รัฐบาลค้ำประกันทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย กับเงินฝากธนาคารต่างๆ เป็นต้น ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าในช่วงอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนี้ยังไม่พบว่า กบข. นั้น ลงทุนน้อยกว่าที่กฏหมายได้กำหนดเอาไว้ โดยล่าสุด กบข. เองได้ออกมาชี้แจงว่าลงทุนในหลักทรัพย์ความมั่นคงสูงดังกล่าวเกิน 70% ดังนั้น กบข. จึงไม่ได้ผิดกฎหมายอะไรในข้อนี้
ส่วนกรณีเรื่องเกี่ยวกับการเข้าไปลงทุนในหุ้น รวมถึงการเข้าไปลงทุนในต่างประเทศ จนทำให้ขาดทุนในช่วงปีที่ผ่านมานั้น เท่าที่ได้อ่านนโยบายของ กบข. พบว่า กบข. เองมีแนวทางที่จะบริหารเงินสมาชิกให้ได้รับผลตอบแทนสูงสุดภายใต้กรอบความเสี่ยงที่กำหนด เพื่อให้สมาชิกได้มีเงินออมเพียงพอสำหรับดำรงชีวิตภายหลังเกษียณ ซึ่งเมื่อเป็นดังนี้ กบข. เองคงไม่สามารถลงทุนแต่ในสินทรัพย์เสี่ยงต่ำดังกล่าว 100% ได้ เพราะผลตอบแทนจะต่ำ ดังนั้น กบข. จึงได้จัดสัดส่วนการลงทุนที่สอดคล้องกับเป้าหมายของการออมระยะยาว โดยการกระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์ที่มีความหลากหลาย เพื่อลดความเสี่ยงในการกระจุกตัวของการลงทุน และเพื่อเพิ่มโอกาสของการได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่าฝากเงินและลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลอย่างเดียว ซึ่งจะไม่สามารถรับมือกับอัตราเงินเฟ้อในระยะยาวได้ดังนั้น พอร์ตการลงทุนของ กบข. จึงมีการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นได้บ้าง ก็เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการมีเงินออมไว้ใช้เพียงพอในยามเกษียณ
“เมื่อพิจารณาข้อมูลสัดส่วนการลงทุนกับผลตอบแทนของ กบข. พบว่าอัตราผลตอบแทนอยู่ในเกณฑ์ดีทีเดียว สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยฝากประจำ 1 ปี ในทุกปี ยกเว้นปี 2551 เพียงปีเดียวที่ กบข. บริหารแล้วติดลบไป 5.12% ซึ่งเกิดจากภาวะเศรษฐกิจการลงทุนทั่วโลกนั่นเอง” นางวรวรรณ กล่าว
นางวรวรรณ กล่าวต่อว่า เมื่อเทียบอัตราค่าเฉลี่ยดอกเบี้ยเงินฝากในรอบ 12 ปี ตั้งแต่จัดตั้ง กบข. ในปี 2540 จนถึง ปี 2551 จะเท่ากับ 3.81% ต่อปีเท่านั้น แต่ กบข. เขาบริหารเงินสมาชิกได้ผลตอบแทนในช่วงเดียวกันโดยเฉลี่ย 7.04% ต่อปี แม้จะขาดทุนในปี 2551 ไปปีเดียว แต่โดยเฉลี่ยมันก็ยังดีกว่าฝากเงินมาก
นอกจากนี้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วงเดียวกันนั้นก็เท่ากับ 3.21% ต่อปี ดังนั้นผลตอบแทนสุทธิของการฝากเงินอย่างเดียวหักเงินเฟ้อแล้วจะเหลือเพียง 0.60% ต่อปีเท่านั้น ในขณะที่ กบข. เองบริหารได้ผลตอบแทน 7.04% ต่อปี หักเงินเฟ้อแล้วยังได้ผลตอบแทนสุทธิถึง 3.83% ต่อปี ซึ่งก็สอดคล้องกับเป้าหมายการออมเงินระยะยาวเพื่อการเกษียณของสมาชิก กบข. ในส่วนที่ว่าต้องให้เงินส่วนนี้สามารถรับมือกับอัตราเงินเฟ้อในระยะยาวได้
นางวรวรรณกล่าวว่า ส่วนการเข้าไปลงทุนในหุ้นช่วงที่มีราคาตกนั้น โดยปกติแล้วผู้จัดการกองทุนจะซื้อหุ้นดีในยามที่ราคาหุ้นถูก แล้วพยายามขายหุ้นในราคาแพงเมื่อคิดว่าราคาตลาดของหุ้นนั้นขึ้นไปเต็มที่แล้ว หรือว่าผู้จัดการกองทุนพอใจกับระดับราคานั้นแล้ว หุ้นดีราคาถูกเป็นสิ่งที่ผู้จัดการกองทุนแสวงหากันทั้งนั้น แต่ถ้าการซื้อหุ้นไม่ว่าจะซื้อถูกหรือซื้อแพงนั้นเป็นการซื้อที่ไม่มีการวิเคราะห์ไว้อย่างถี่ถ้วนสมเหตุสมผล เป็นการซื้อเพื่อช่วยเหลือใคร หรือเพื่อประโยชน์ส่วนตน ต่อให้ได้กำไรก็ถือว่าผิด ซึ่งเรื่องรายละเอียดในการตัดสินใจลงทุนของ กบข. ครั้งนี้ที่ทำให้บริหารกองทุนขาดทุนไปนั้น จึงต้องมีการตรวจสอบแล้วรายงานผลตามความจริง ซึ่งน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับทั้งสมาชิกกองทุน กับ กบข. เอง เพราะ กบข. ก็มีสิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมหากสิ่งที่พูดกันไปนั้นเป็นความเข้าใจผิด และสมาชิกเขาก็มีสิทธิที่จะได้ข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อมั่นใจได้ว่าเงินของเขามีการบริหารจัดการที่โปร่งใสหรือไม่.