ASTV ผู้จัดการรายวัน – สมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ เผยผลสำรวจนักวิเคราะห์หั่นเป้าจีดีพี-ดัชนีตลาดหุ้นไทย ระบุปีนี้จีดีพีติดลบเฉลี่ย 1.8% จากเป้าหมายเดิมโตเฉลี่ย 0.7% ส่วนดัชนีตลาดหุ้นปรับลดอีกกว่า 50 จุด เหลือ 495 จุด เหตุเศรษฐกิจโลกถดถอยกระทบไทย-การลงทุน พร้อมคาดการณ์เศรษฐกิจโลกแตะจุดต่ำสุดครึ่งปีหลัง ก่อนจะเริ่มฟื้นตัวปี 53 ขณะเดียวกันแนะรัฐเร่งแก้ปัญหาใหญ่คนว่างงาน-โครงการลงทุนกระตุ้นท่องเที่ยว
นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ เปิดเผยถึง ผลสำรวจความเห็นนักวิเคราะห์ครั้งที่ 1/2552 เมื่อวันที่ 16 มีนาคมนี้ ที่ฝ่ายวิจัยของบริษัทหลักทรัพย์แสดงความเห็นรวม 23 แห่ง ว่า นักวิเคราะห์ได้ปรับลดอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ปี 52 เฉลี่ยติดลบ 1.8% เทียบกับการสำรวจครั้งก่อน (19 ธ.ค.) เฉลี่ยอยู่ที่ 0.7% โดยนักวิเคราะห์ให้จุดสูงสุดอยู่ที่ 0.5% ต่ำสุดติดลบ 3.95 %
ขณะที่มีนักวิเคราะห์คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 65% คาดว่าจีดีพีของไทยติดลบมากที่สุดจะเป็นช่วงไตรมาสแรกปีนี้ โดยประเมินเฉลี่ยลบ 4.8% และอีก 29% เชื่อว่าจะหดตัวมากสุดไตรมาสที่ 2 ที่เฉลี่ย 5.2%
ด้านภาวะเศรษฐกิจโลกนั้น นักวิเคราะห์ 57% คาดเศรษฐกิจโลกจะถึงจุดต่ำสุดในช่วงครึ่งปีหลังของปี 52 ส่วนอีก 26% และ 9% คาดว่าจุดต่ำสุดจะเป็นช่วงครึ่งแรกปี 52 และในปี 53 ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่ในสัดส่วน 70% มองว่าเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวได้ในปี 2553 ขณะที่มีนักวิเคราะห์ 17 % มองว่าเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวในครึ่งหลังของปี 2552 และ 4% ฟื้นตัวในปี 2554
สำหรับผลสำรวจเรื่องของดัชนีตลาดหุ้นไทยนั้น นักวิเคราะห์ประเมินว่าดัชนีตลาดหุ้นไทย ณ ปลายปี 52 เฉลี่ยอยู่ที่ 495 จุด จุดสุงสุดที่ 527 จุด และจุดต่ำสุดจ 348 จุด ลดลงจากครั้งก่อนที่คาดการณ์ดัชนีเฉลี่ยไว้ที่ 547 จุด จุดสูงสุด 620 จุด และจุดต่ำสุด 348 จุด ซึ่งนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่กว่า 62 คาดการณ์ดัชนีจะแตะจุดต่ำสุดในไตรมาส 2/52 ขณะที่นักวิเคราะห์ 70% คาดจุดสูงสุดจะเป็นไตรมาส 4/52
**กลุ่มวัสดุฯกำไรโตสุดปีนี้
ส่วนผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ที่มีอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) มากที่สุด คือ กลุ่มวัสดุก่อสร้าง คาดว่าจะโตเฉลี่ย 24.7% เพิ่มขึ้นจากการสำรวจครั้งก่อนที่จะติดลบ 3.4% หลังจากที่ไม่มีผลขาดทุนสต๊อกมากเหมือนกับไตรมาส 4 ปีที่ผ่านมา อันดับ 2 คือ กลุ่มพลังงานโตเฉลี่ย 23.1% จากเดิมคาดติดลบ 1.2% และกลุ่มที่มี EPS ลดลงมากที่สุดคือ กลุ่มธุรกิจเดินเรือ ติดลบ 51.4%
อย่างไรก็ตาม กลุ่มธุรกิจที่จะให้ผลตอบแทนเงินปันผลต่อหุ้น (DPS) คือ กลุ่มธนาคาร เป็นกลุ่มเดียวที่นักวิเคราะห์คาดการณ์จะมีการจ่ายเงินปันผลต่อหุ้นเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีค่าเฉลี่ย DPS ปีนี้ที่ 3.3% ส่วนกลุ่มธุรกิจอื่นๆ จะมีอัตราเงินปันผลต่อหุ้นหดตัวลง โดยกลุ่มพลังงานจะจ่ายเงินปันผลติดลบ 9.9% อสังหาริมทรัพย์ติดลยบ9.3% กลุ่มอาหารติดลบ 4.7% โดยกลุ่มเดินเรื่อ ติดลบมากสุด 49.4% ตามด้วยกลุ่มปิโตรเคมี ติดลบ 37.4%
นายสมบัติ กล่าวว่า ผลการสำรวจครั้งนี้นักวิเคราะห์มีการปรับลดประมาณการจีดีพีและดัชนีตลาดหุ้นไทยต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ หลังจากนักวิเคราะห์ได้ให้น้ำหนักกับประแด็นต่างๆ ดังนี้ คือ ประเด็นแรก มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลไทย ที่รวมถึงโครงการลงทุนและเร่งการเบิกจ่ายภาครัฐ มาตรการส่งเสริมภาคธุรกิจต่างๆ มาตรการทางการเงินและการคลัง เช่น นโยบายอัตราดอกเบี้ย การดูแลค่าเงินบาทให้อ่อนค่าเพื่อช่วยภาคส่งออก เป็นต้น
ประเด็นที่ 2. การแก้ปัญหาวิกฤตและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย เช่น จีน สหรัฐฯ เป็นต้น ประเด็นที่ 3. ราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับต่ำมี ประเด็นที่ 4 สถานการณ์ทางการเมืองที่ผ่อนคลายมากขึ้น และผลประกอบการที่ปรับตัวดีขึ้นของบริษัทจดทะเบียน
ด้านปัจจัยลบ ที่มีผลต่อการประมาณการณ์นักวิเคราะห์คือ 1.สถานการณ์เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย ที่ยังคงอยู่ในภาวะวิกฤต และอาจถดถอยมากกว่าที่คาด และส่งผลให้การส่งออกของไทยดิ่งลง 2.ปัจจัยทางเศรษฐกิจภายในประเทศ ประกอบด้วยอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยที่หดตัวลง บริษัทมีการปรับลดปริมาณการผลิต ทำให้แนวโน้มอัตราการว่างงานในประเทศปรับตัวสูงขึ้น กระทบต่ออุปสงค์และการบริโภคภายในประเทศให้ลดลง
นอกจากนี้ ยังรวมถึงประมาณการรายได้ของบริษัทจดทะเบียนปรับลดลง ความไม่แน่นอนทางการเมืองและเสถียรภาพรัฐบาล แนวโน้มของลูกหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ที่เพิ่มขึ้น และปริมาณการซื้อขายหุ้นที่เบาบาง รวมถึงการเทขายหุ้นอย่างต่อเนื่องของนักลงทุนต่างชาติ
***แนะรัฐแก้ปัญหาคนว่างงาน
พร้อมกันนี้ นักวิเคราะห์ได้ให้น้ำหนักกับปัญหาต่างๆ ที่รัฐบาลต้องเตรียมมาตรการไว้รองรับ คือ ปัญหาการว่างงาน ที่คาดว่าจะมีการปรับตัวสูงขึ้น นักวิเคราะห์ให้น้ำหนักมากถึง 61 % อันดับ 2 ปัญหาการส่งออกที่หดตัว 26% อันดับ 3 ปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศที่ชะลอตัวและอาจรุนแรงกว่าที่คาด 22%
ขณะที่ นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลที่นักวิเคราะห์เห็นด้วยมากที่สุด คือ โครงการลงทุนภาครัฐ ในโครงสร้างพื้นฐาน เช่น รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน การก่อสร้างสาธารณูปโภคต่าง ๆ และโครงการชลประทาน 83%
อันดับ 2. นโยบายกระตุ้นธุรกิจรายกลุ่ม เช่น มาตรการกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กระตุ้นการท่องเที่ยว ส่งเสริมการส่งออก เป็นต้น 48% อันดับ 3. มาตรการเรียนฟรี 15 ปี ซึ่งจะส่งผลดีในระยะยาว 39% ส่วนนโยบายที่ไม่เห็นด้วย คือ มีนักวิเคราะห์ตอบในข้อนี้ 78 % โดย 56 % แสดงความไม่เห็นด้วยกับนโยบายแจกเงินสองพันบาทต่อคน ให้กับผู้มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท และนักวิเคราะห์ที่เหลือมีความเห็นที่หลากหลาย
ส่วนข้อแนะนำสำหรับรัฐบาลที่เป็นประโยชน์ต่อภาวะเศรษฐกิจ สังคม และตลาดทุนไทย คือ เร่งโครงการลงทุนและการใช้จ่ายภาครัฐ ผ่านโครงการขนาดใหญ่ กระตุ้นและฟื้นฟูการท่องเที่ยว และการส่งออก รวมถึงหาตลาดส่งออกใหม่ ๆ และพัฒนาคุณภาพสินค้า และการแก้ปัญหาการว่างงาน และดูแลผู้ตกงาน รวมถึงสนับสนุนทุนให้นักศึกษาที่เพิ่งจบมีโอกาสเรียนต่อ เพื่อลดจำนวนผู้ว่างงาน
***ล้างพอร์ตหุ้นเน่า
นอกจากนี้ แนะนำนักลงทุนควรใช้ความระมัดระวังในการพิจารณาลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะสั้น ส่วนการลงทุนระยะยาว ยังถือเป็นโอกาสดีในการเลือกซื้อของดี ราคาถูก แต่ต้องใช้วิธีทยอยซื้อสะสมหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีฐานะการเงินแข็งแกร่ง มีกระแสเงินสดมั่นคง จ่ายเงินปันผลได้สม่ำเสมอ ได้รับผลดีจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยพิจารณาจังหวะราคาในการเข้าซื้อหุ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ลงทุนอยู่แล้ว ให้พิจารณาคุณภาพของหุ้นในพอร์ต โดยเปลี่ยนเป็นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี และอาจป้องกันความเสี่ยงโดยการลงทุนในตราสารอนุพันธ์บางส่วน โดยนักลงทุนควรมีความรู้เกี่ยวกับตราสารอนุพันธ์ก่อนลงทุน โดยหุ้นเด่นที่นักวิเคราะห์แนะนำให้ลงทุนตรงกันหลายสำนักวิจัย ได้แก่ ADVANC, BEC, CPALL, SCB เป็นต้น
นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ เปิดเผยถึง ผลสำรวจความเห็นนักวิเคราะห์ครั้งที่ 1/2552 เมื่อวันที่ 16 มีนาคมนี้ ที่ฝ่ายวิจัยของบริษัทหลักทรัพย์แสดงความเห็นรวม 23 แห่ง ว่า นักวิเคราะห์ได้ปรับลดอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ปี 52 เฉลี่ยติดลบ 1.8% เทียบกับการสำรวจครั้งก่อน (19 ธ.ค.) เฉลี่ยอยู่ที่ 0.7% โดยนักวิเคราะห์ให้จุดสูงสุดอยู่ที่ 0.5% ต่ำสุดติดลบ 3.95 %
ขณะที่มีนักวิเคราะห์คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 65% คาดว่าจีดีพีของไทยติดลบมากที่สุดจะเป็นช่วงไตรมาสแรกปีนี้ โดยประเมินเฉลี่ยลบ 4.8% และอีก 29% เชื่อว่าจะหดตัวมากสุดไตรมาสที่ 2 ที่เฉลี่ย 5.2%
ด้านภาวะเศรษฐกิจโลกนั้น นักวิเคราะห์ 57% คาดเศรษฐกิจโลกจะถึงจุดต่ำสุดในช่วงครึ่งปีหลังของปี 52 ส่วนอีก 26% และ 9% คาดว่าจุดต่ำสุดจะเป็นช่วงครึ่งแรกปี 52 และในปี 53 ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่ในสัดส่วน 70% มองว่าเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวได้ในปี 2553 ขณะที่มีนักวิเคราะห์ 17 % มองว่าเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวในครึ่งหลังของปี 2552 และ 4% ฟื้นตัวในปี 2554
สำหรับผลสำรวจเรื่องของดัชนีตลาดหุ้นไทยนั้น นักวิเคราะห์ประเมินว่าดัชนีตลาดหุ้นไทย ณ ปลายปี 52 เฉลี่ยอยู่ที่ 495 จุด จุดสุงสุดที่ 527 จุด และจุดต่ำสุดจ 348 จุด ลดลงจากครั้งก่อนที่คาดการณ์ดัชนีเฉลี่ยไว้ที่ 547 จุด จุดสูงสุด 620 จุด และจุดต่ำสุด 348 จุด ซึ่งนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่กว่า 62 คาดการณ์ดัชนีจะแตะจุดต่ำสุดในไตรมาส 2/52 ขณะที่นักวิเคราะห์ 70% คาดจุดสูงสุดจะเป็นไตรมาส 4/52
**กลุ่มวัสดุฯกำไรโตสุดปีนี้
ส่วนผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ที่มีอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) มากที่สุด คือ กลุ่มวัสดุก่อสร้าง คาดว่าจะโตเฉลี่ย 24.7% เพิ่มขึ้นจากการสำรวจครั้งก่อนที่จะติดลบ 3.4% หลังจากที่ไม่มีผลขาดทุนสต๊อกมากเหมือนกับไตรมาส 4 ปีที่ผ่านมา อันดับ 2 คือ กลุ่มพลังงานโตเฉลี่ย 23.1% จากเดิมคาดติดลบ 1.2% และกลุ่มที่มี EPS ลดลงมากที่สุดคือ กลุ่มธุรกิจเดินเรือ ติดลบ 51.4%
อย่างไรก็ตาม กลุ่มธุรกิจที่จะให้ผลตอบแทนเงินปันผลต่อหุ้น (DPS) คือ กลุ่มธนาคาร เป็นกลุ่มเดียวที่นักวิเคราะห์คาดการณ์จะมีการจ่ายเงินปันผลต่อหุ้นเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีค่าเฉลี่ย DPS ปีนี้ที่ 3.3% ส่วนกลุ่มธุรกิจอื่นๆ จะมีอัตราเงินปันผลต่อหุ้นหดตัวลง โดยกลุ่มพลังงานจะจ่ายเงินปันผลติดลบ 9.9% อสังหาริมทรัพย์ติดลยบ9.3% กลุ่มอาหารติดลบ 4.7% โดยกลุ่มเดินเรื่อ ติดลบมากสุด 49.4% ตามด้วยกลุ่มปิโตรเคมี ติดลบ 37.4%
นายสมบัติ กล่าวว่า ผลการสำรวจครั้งนี้นักวิเคราะห์มีการปรับลดประมาณการจีดีพีและดัชนีตลาดหุ้นไทยต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ หลังจากนักวิเคราะห์ได้ให้น้ำหนักกับประแด็นต่างๆ ดังนี้ คือ ประเด็นแรก มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลไทย ที่รวมถึงโครงการลงทุนและเร่งการเบิกจ่ายภาครัฐ มาตรการส่งเสริมภาคธุรกิจต่างๆ มาตรการทางการเงินและการคลัง เช่น นโยบายอัตราดอกเบี้ย การดูแลค่าเงินบาทให้อ่อนค่าเพื่อช่วยภาคส่งออก เป็นต้น
ประเด็นที่ 2. การแก้ปัญหาวิกฤตและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย เช่น จีน สหรัฐฯ เป็นต้น ประเด็นที่ 3. ราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับต่ำมี ประเด็นที่ 4 สถานการณ์ทางการเมืองที่ผ่อนคลายมากขึ้น และผลประกอบการที่ปรับตัวดีขึ้นของบริษัทจดทะเบียน
ด้านปัจจัยลบ ที่มีผลต่อการประมาณการณ์นักวิเคราะห์คือ 1.สถานการณ์เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย ที่ยังคงอยู่ในภาวะวิกฤต และอาจถดถอยมากกว่าที่คาด และส่งผลให้การส่งออกของไทยดิ่งลง 2.ปัจจัยทางเศรษฐกิจภายในประเทศ ประกอบด้วยอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยที่หดตัวลง บริษัทมีการปรับลดปริมาณการผลิต ทำให้แนวโน้มอัตราการว่างงานในประเทศปรับตัวสูงขึ้น กระทบต่ออุปสงค์และการบริโภคภายในประเทศให้ลดลง
นอกจากนี้ ยังรวมถึงประมาณการรายได้ของบริษัทจดทะเบียนปรับลดลง ความไม่แน่นอนทางการเมืองและเสถียรภาพรัฐบาล แนวโน้มของลูกหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ที่เพิ่มขึ้น และปริมาณการซื้อขายหุ้นที่เบาบาง รวมถึงการเทขายหุ้นอย่างต่อเนื่องของนักลงทุนต่างชาติ
***แนะรัฐแก้ปัญหาคนว่างงาน
พร้อมกันนี้ นักวิเคราะห์ได้ให้น้ำหนักกับปัญหาต่างๆ ที่รัฐบาลต้องเตรียมมาตรการไว้รองรับ คือ ปัญหาการว่างงาน ที่คาดว่าจะมีการปรับตัวสูงขึ้น นักวิเคราะห์ให้น้ำหนักมากถึง 61 % อันดับ 2 ปัญหาการส่งออกที่หดตัว 26% อันดับ 3 ปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศที่ชะลอตัวและอาจรุนแรงกว่าที่คาด 22%
ขณะที่ นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลที่นักวิเคราะห์เห็นด้วยมากที่สุด คือ โครงการลงทุนภาครัฐ ในโครงสร้างพื้นฐาน เช่น รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน การก่อสร้างสาธารณูปโภคต่าง ๆ และโครงการชลประทาน 83%
อันดับ 2. นโยบายกระตุ้นธุรกิจรายกลุ่ม เช่น มาตรการกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กระตุ้นการท่องเที่ยว ส่งเสริมการส่งออก เป็นต้น 48% อันดับ 3. มาตรการเรียนฟรี 15 ปี ซึ่งจะส่งผลดีในระยะยาว 39% ส่วนนโยบายที่ไม่เห็นด้วย คือ มีนักวิเคราะห์ตอบในข้อนี้ 78 % โดย 56 % แสดงความไม่เห็นด้วยกับนโยบายแจกเงินสองพันบาทต่อคน ให้กับผู้มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท และนักวิเคราะห์ที่เหลือมีความเห็นที่หลากหลาย
ส่วนข้อแนะนำสำหรับรัฐบาลที่เป็นประโยชน์ต่อภาวะเศรษฐกิจ สังคม และตลาดทุนไทย คือ เร่งโครงการลงทุนและการใช้จ่ายภาครัฐ ผ่านโครงการขนาดใหญ่ กระตุ้นและฟื้นฟูการท่องเที่ยว และการส่งออก รวมถึงหาตลาดส่งออกใหม่ ๆ และพัฒนาคุณภาพสินค้า และการแก้ปัญหาการว่างงาน และดูแลผู้ตกงาน รวมถึงสนับสนุนทุนให้นักศึกษาที่เพิ่งจบมีโอกาสเรียนต่อ เพื่อลดจำนวนผู้ว่างงาน
***ล้างพอร์ตหุ้นเน่า
นอกจากนี้ แนะนำนักลงทุนควรใช้ความระมัดระวังในการพิจารณาลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะสั้น ส่วนการลงทุนระยะยาว ยังถือเป็นโอกาสดีในการเลือกซื้อของดี ราคาถูก แต่ต้องใช้วิธีทยอยซื้อสะสมหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีฐานะการเงินแข็งแกร่ง มีกระแสเงินสดมั่นคง จ่ายเงินปันผลได้สม่ำเสมอ ได้รับผลดีจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยพิจารณาจังหวะราคาในการเข้าซื้อหุ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ลงทุนอยู่แล้ว ให้พิจารณาคุณภาพของหุ้นในพอร์ต โดยเปลี่ยนเป็นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี และอาจป้องกันความเสี่ยงโดยการลงทุนในตราสารอนุพันธ์บางส่วน โดยนักลงทุนควรมีความรู้เกี่ยวกับตราสารอนุพันธ์ก่อนลงทุน โดยหุ้นเด่นที่นักวิเคราะห์แนะนำให้ลงทุนตรงกันหลายสำนักวิจัย ได้แก่ ADVANC, BEC, CPALL, SCB เป็นต้น