ASTVผู้จัดการรายวัน –ปี 2551 บริษัทจดทะเบียนจ่ายปันผลรวมเกือบสองแสนล้านบาท Dividend Yieldอยู่ที่ร้อยละ 6.65 กลุ่มวัตถุดิบและสินค้าอุตสาหกรรม-อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง และกลุ่มบริการ มีอัตราผลตอบแทนสูงสุด ด้านเอ็ม เอ ไอ Dividend Yield ที่ร้อยละ6.88 โบรกเกอร์ชวนลงทุนหุ้นขนาดกลาง-เล็ก เน้นมีเงินสดสูง ปันผลต่อเนื่อง หนี้สินต่อทุนต่ำ ภาพรวมทั้งปีกำไรบริษัทจดทะเบียนโตเพิ่ม10% จีดีพีติดลบ3% แต่การลงทุนในหุ้นยังให้ยิลด์6% สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) เปิดเผยว่า ณ วันที่ 2 มีนาคม 2552 บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) รวม 272 บริษัท หรือร้อยละ 52 ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด 521 บริษัท ไม่รวมบริษัทจดทะเบียนกลุ่มที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน (Non-Compliance:NC) และกลุ่มที่แก้ไขการดำเนินงานไม่ได้ตามกำหนด (Non-Performing Group : NPG) ] ได้ประกาศจ่ายปันผลประจำปี 2551 โดยมีมูลค่ารวมกันสูงถึง186,764 ล้านบาท หรือร้อยละ56 ของกำไรสุทธิรวมของบริษัท ทำให้มีอัตราผลตอบแทนจากปันผลเฉลี่ย (Average Dividend Yield) อยู่ที่ร้อยละ 6.65
แต่หากแยกเป็น บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ( SET)จะมีบริษัทที่ประกาศจ่ายปันผลจำนวน 240 บริษัท มูลค่าปันผลรวมกันสูงถึง 185,725 ล้านบาท และมีอัตราผลตอบแทนจากปันผลเฉลี่ย อยู่ที่ร้อยละ 6.65
โชว์3กลุ่มDividend Yieldสูงสุด
ทั้งนี้ เมื่อแบ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มี Dividend Yield สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับ1 กลุ่มวัตถุดิบและสินค้าอุตสาหกรรม มี Dividend Yield ร้อยละ 12.65 โดยหมวดวัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักรมี Dividend Yield สูงสุดร้อยละ 14.41 และรองลงมาคือ หมวดปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ ร้อยละ 13.43
ขณะที่อันดับ 2 คือกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง มีDividend Yield ร้อยละ 8.09 โดยกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์มี Dividend Yield สูงสุดร้อยละ 9.67 และรองลงมาคือหมวดวัสดุก่อสร้างร้อยละ 7.85 และอันดับ3 กลุ่มบริการ มี Dividend Yield ร้อยละ 7.36 โดยหมวดขนส่งและโลจิสติกส์มี Dividend Yield สูงสุดร้อยละ 16.95 รองลงมาคือหมวดพาณิชย์ร้อยละ 6.51
สำหรับบริษัทจดทะเบียนใน mai มีการประกาศจ่ายปันผลจำนวน 32 บริษัท จากทั้งหมด 51 บริษัท รวมมูลค่า 1,039 ล้านบาท หรือร้อยละ 47 ของกำไรสุทธิรวม และคิดเป็น Dividend Yield เฉลี่ยร้อยละ 6.88 ซึ่งบริษัทที่มีอัตราส่วนปันผลตอบแทนสูงสุด 3 อันดับแรกคือ บมจ. สตีล อินเตอร์เทค (STEEL) ร้อยละ 18.12 บมจ. ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส (UMS) ร้อยละ 15.23 และ บมจ.ปิโก (ไทยแลนด์) (PICO) ร้อยละ 15.20 ตามลำดับ
ขณะเดียวกัน กลุ่มอุตสาหกรรมใน SET ที่มีมูลค่าการจ่ายปันผลรวมสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) กลุ่มทรัพยากร จ่ายปันผลรวม 65,768 ล้านบาท ซึ่งPTT มีมูลค่าปันผลจ่ายสูงสุด 22,562.43 ล้านบาท และมี Dividend Yield ร้อยละ 5.29
2) กลุ่มเทคโนโลยี จ่ายปันผลรวม 30,112 ล้านบาท โดยADVANC มีมูลค่าปันผลจ่ายสูงสุด 18,658.96 ล้านบาท มี Dividend Yield ร้อยละ 7.73 3) กลุ่มธุรกิจการเงิน มีมูลค่าปันผลรวม 24,122 ล้านบาท โดยมี BBL ปันผลจ่ายสูงสุด 5,726.53 ล้านบาท จึงมี Dividend Yield เท่ากับร้อยละ 4.26
4) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง มีมูลค่ารวม 23,528 ล้านบาท โดยSCC มีมูลค่าปันผลจ่ายสูงสุด 9,000 ล้านบาท Dividend Yield เท่ากับร้อยละ 7.58 และ 5) กลุ่มบริการ ปันผลมูลค่ารวม 21,482 ล้านบาท โดย AOT มีมูลค่าปันผลจ่ายสูงสุด 3,685.71 ล้านบาท Dividend Yield เท่ากับร้อยละ 17.09
ชวนเบนเข็มลุยหุ้นกลาง-เล็ก
ด้านนายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ไทย บริษัทหลักทรัพย์(บล.)เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน)หรือ ASP กล่าวว่า กำไรบริษัทจดทะเบียน (บจ.)ในไตรมาส1/52คาดว่าจะอยู่ที่ 5-7 หมื่นล้านบาท ซึ่งปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาส4/51ที่ขาดทุน 9.8 หมื่นล้านบาท แต่ถือว่าปรับตัวลดลงกว่าที่ผ่านมาที่มีกำไรเฉลี่ยไตรมาสละ 1แสนล้านบาท จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว แต่ในไตรมาส4/52 กำไรบจ.จะดีและเป็นไตรมาสที่จะดันให้กำไรทั้งปีนี้เติบโตได้10%จากปี 51 เพราะ บจ.กลุ่มพลังงานจะไม่มีผลขาดทุนสต๊อกน้ำมันเหมือนกับ ไตรมาส4/51
ส่วนอัตรากำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS)ปีนี้จากผลกำไรที่ลดลงของบจ.นั้นทำให้ค่าP/Eตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่10เท่า จากปลายปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 6 เท่า โดยบริษัทคาดว่าหากP/Eของบจ.ในช่วงเดือนมิถุนายนอยู่ที่ 9 เท่าดัชนีอยู่ที่ 392 จุด แต่หากP/Eอยู่ที่ 10 เท่า ดัชนีจะอยู่ที่ 430 จุด
อย่างไรก็ตามดัชนีตลาดหุ้นไทยมีโอกาสที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นไม่มากจากปัจจัยลบที่ยังคงกดดัน จึงส่งผลให้ราคาหุ้นที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวม (มาร์เกตแคป)ใหญ่ ปรับตัวเพิ่มขึ้นลำบาก เพราะ มูลค่าการซื้อขายที่เบาบางจึงไม่สามารถผลักดันให้หุ้นขนาดใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ ดังนั้นนักลงทุนไม่ควรเข้าไปลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ แต่ควรหันไปลงทุนในหุ้นขนาดกลางและเล็กจะให้ผลตอบแทนที่ดี อีกทั้งควรเลือกลงทุนในหุ้นที่มีกระแสเงินสดสูง มีหนี้สินต่อทุนต่ำ มีการจ่ายเงินปันผลต่อเนื่อง
นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า ทางสมาคมนักวิเคราะห์ให้มีการส่งแบบสอบถามความคิดเห็นนักวิเคราะห์เกี่ยวกับดัชนีตลาดหุ้นไทยและเศรษฐกิจจากนี้ถึงสิ้นปีซึ่งจะมีการรวบรวมเสร็จและมีการแถลงผลสำรวจในสัปดาห์หน้า ซึ่งคาดว่านักวิเคราะห์จะมีการปรับลดประมาณการดัชนีตลาดหุ้นไทยปีนี้ลดลง เบื้องต้นคาดว่านักวิเคราะห์จะประเมินดัชนีอยู่ที่ระดับ 360 จุด ซึ่งต่ำกว่าจุดต่ำสุดเดิมในปีก่อนที่ 380 จุด เนื่องจาก เหตุการณ์แย่กว่าที่คาดไว้ในช่วงปลายปี ตัวเลขเศรษฐกิจที่ถดถอย และความเสียหายของสถาบันการเงินโลกมีผลเสียหายมากขึ้นและยังไม่ทราบว่าผลเสียหายจะจบเมื่อใด
ทั้งนี้โจทย์ใหญ่ขณะนี้คือเศรษฐกิจโลกเศรษฐกิจไทยจะแย่กว่าปี 2551 ซึ่งคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะติดลบติดต่อกัน4 ไตรมาส นับจากไตรมาส4/51 จนถึงไตรมาส3/52 โดยไตรมาส 1/52 จีดีพี จะติดลบมากกว่า 4.3%เพราะภาวะวิกฤติเศรษฐกิจปีนี้รุนแรงมากกว่าปีที่ผ่านมา และสถาบันวิจัยต่างๆทั่วโลกทยอยปรับลดจีดีพี การส่งออลดลง และอัตราการว่างงานเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งคาดว่าในช่วง 1-2 เดือนจากนี้ไปดัชนีตลาดหุ้นไทยจะมีความผันผวนสูง ส่วนแนวโน้มกำไรของบริษัทจดทะเบียน ( บจ.) ในปีนี้ จะเพิ่มขึ้น 10-15% จากปี 2551 แม้ไตรมาส 1และไตรมาส2 กำไรบจ.จะลดลง แต่กำไรในไตรมาส4/52 จะเป็นแรงหนุนทำให้กำไรทั้งปีดีขึ้น จากหุ้นกลุ่มพลังงานจะไม่ขาดทุนหนักเหมือนปีที่ผ่านมา
เชื่อดัชนีหุ้นไทยยังร่วงไม่แรง
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ นายกสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยจะไม่ปรับตัวลดลงรุนแรงเหมือนกับต่างประเทศ เพราะ ไทยยังไม่มีสถาบันการเงินใดต้องมีการเพิ่มทุนเพื่อลดความเสียหาย อย่างมากสุดดัชนีจะทรงตัวหรือไม่ซึมเท่านั้น นอกจากนี้การลงทุนในตลาดหุ้นไทยถือว่ามีผลตอบแทนการลงทุนที่สูงถึง 6% ดีกว่าการลงทุนในเงินฝาก โดยหุ้นที่น่าสนใจคือหุ้นกลุ่ม ค้าปลีก และสื่อสาร ซึ่งถือว่าเป็นหุ้นเด่นที่น่าลงทุนในปีนี้
สำหรับสัญญาณที่จะบอกว่าดัชนีตลาดหุ้นจะปรับตัวดีขึ้นได้ คือ นักลงทุนมีการชินกับข่าวร้ายในต่างประเทศ ปัจจัยลบยังคงเป็นปัจจัยเดิมๆและปัจจัยในประเทศมีเสถียรภาพมากขึ้น กำไรบจ.ดีขึ้น ส่วนการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปีนี้คาดว่าจะติดลบ 3% จากเดิมที่ประเมินในปลายปีที่ผ่านมาว่าจะติดลบ1-4%
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) เปิดเผยว่า ณ วันที่ 2 มีนาคม 2552 บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) รวม 272 บริษัท หรือร้อยละ 52 ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด 521 บริษัท ไม่รวมบริษัทจดทะเบียนกลุ่มที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน (Non-Compliance:NC) และกลุ่มที่แก้ไขการดำเนินงานไม่ได้ตามกำหนด (Non-Performing Group : NPG) ] ได้ประกาศจ่ายปันผลประจำปี 2551 โดยมีมูลค่ารวมกันสูงถึง186,764 ล้านบาท หรือร้อยละ56 ของกำไรสุทธิรวมของบริษัท ทำให้มีอัตราผลตอบแทนจากปันผลเฉลี่ย (Average Dividend Yield) อยู่ที่ร้อยละ 6.65
แต่หากแยกเป็น บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ( SET)จะมีบริษัทที่ประกาศจ่ายปันผลจำนวน 240 บริษัท มูลค่าปันผลรวมกันสูงถึง 185,725 ล้านบาท และมีอัตราผลตอบแทนจากปันผลเฉลี่ย อยู่ที่ร้อยละ 6.65
โชว์3กลุ่มDividend Yieldสูงสุด
ทั้งนี้ เมื่อแบ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มี Dividend Yield สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับ1 กลุ่มวัตถุดิบและสินค้าอุตสาหกรรม มี Dividend Yield ร้อยละ 12.65 โดยหมวดวัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักรมี Dividend Yield สูงสุดร้อยละ 14.41 และรองลงมาคือ หมวดปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ ร้อยละ 13.43
ขณะที่อันดับ 2 คือกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง มีDividend Yield ร้อยละ 8.09 โดยกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์มี Dividend Yield สูงสุดร้อยละ 9.67 และรองลงมาคือหมวดวัสดุก่อสร้างร้อยละ 7.85 และอันดับ3 กลุ่มบริการ มี Dividend Yield ร้อยละ 7.36 โดยหมวดขนส่งและโลจิสติกส์มี Dividend Yield สูงสุดร้อยละ 16.95 รองลงมาคือหมวดพาณิชย์ร้อยละ 6.51
สำหรับบริษัทจดทะเบียนใน mai มีการประกาศจ่ายปันผลจำนวน 32 บริษัท จากทั้งหมด 51 บริษัท รวมมูลค่า 1,039 ล้านบาท หรือร้อยละ 47 ของกำไรสุทธิรวม และคิดเป็น Dividend Yield เฉลี่ยร้อยละ 6.88 ซึ่งบริษัทที่มีอัตราส่วนปันผลตอบแทนสูงสุด 3 อันดับแรกคือ บมจ. สตีล อินเตอร์เทค (STEEL) ร้อยละ 18.12 บมจ. ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส (UMS) ร้อยละ 15.23 และ บมจ.ปิโก (ไทยแลนด์) (PICO) ร้อยละ 15.20 ตามลำดับ
ขณะเดียวกัน กลุ่มอุตสาหกรรมใน SET ที่มีมูลค่าการจ่ายปันผลรวมสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) กลุ่มทรัพยากร จ่ายปันผลรวม 65,768 ล้านบาท ซึ่งPTT มีมูลค่าปันผลจ่ายสูงสุด 22,562.43 ล้านบาท และมี Dividend Yield ร้อยละ 5.29
2) กลุ่มเทคโนโลยี จ่ายปันผลรวม 30,112 ล้านบาท โดยADVANC มีมูลค่าปันผลจ่ายสูงสุด 18,658.96 ล้านบาท มี Dividend Yield ร้อยละ 7.73 3) กลุ่มธุรกิจการเงิน มีมูลค่าปันผลรวม 24,122 ล้านบาท โดยมี BBL ปันผลจ่ายสูงสุด 5,726.53 ล้านบาท จึงมี Dividend Yield เท่ากับร้อยละ 4.26
4) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง มีมูลค่ารวม 23,528 ล้านบาท โดยSCC มีมูลค่าปันผลจ่ายสูงสุด 9,000 ล้านบาท Dividend Yield เท่ากับร้อยละ 7.58 และ 5) กลุ่มบริการ ปันผลมูลค่ารวม 21,482 ล้านบาท โดย AOT มีมูลค่าปันผลจ่ายสูงสุด 3,685.71 ล้านบาท Dividend Yield เท่ากับร้อยละ 17.09
ชวนเบนเข็มลุยหุ้นกลาง-เล็ก
ด้านนายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ไทย บริษัทหลักทรัพย์(บล.)เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน)หรือ ASP กล่าวว่า กำไรบริษัทจดทะเบียน (บจ.)ในไตรมาส1/52คาดว่าจะอยู่ที่ 5-7 หมื่นล้านบาท ซึ่งปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาส4/51ที่ขาดทุน 9.8 หมื่นล้านบาท แต่ถือว่าปรับตัวลดลงกว่าที่ผ่านมาที่มีกำไรเฉลี่ยไตรมาสละ 1แสนล้านบาท จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว แต่ในไตรมาส4/52 กำไรบจ.จะดีและเป็นไตรมาสที่จะดันให้กำไรทั้งปีนี้เติบโตได้10%จากปี 51 เพราะ บจ.กลุ่มพลังงานจะไม่มีผลขาดทุนสต๊อกน้ำมันเหมือนกับ ไตรมาส4/51
ส่วนอัตรากำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS)ปีนี้จากผลกำไรที่ลดลงของบจ.นั้นทำให้ค่าP/Eตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่10เท่า จากปลายปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 6 เท่า โดยบริษัทคาดว่าหากP/Eของบจ.ในช่วงเดือนมิถุนายนอยู่ที่ 9 เท่าดัชนีอยู่ที่ 392 จุด แต่หากP/Eอยู่ที่ 10 เท่า ดัชนีจะอยู่ที่ 430 จุด
อย่างไรก็ตามดัชนีตลาดหุ้นไทยมีโอกาสที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นไม่มากจากปัจจัยลบที่ยังคงกดดัน จึงส่งผลให้ราคาหุ้นที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวม (มาร์เกตแคป)ใหญ่ ปรับตัวเพิ่มขึ้นลำบาก เพราะ มูลค่าการซื้อขายที่เบาบางจึงไม่สามารถผลักดันให้หุ้นขนาดใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ ดังนั้นนักลงทุนไม่ควรเข้าไปลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ แต่ควรหันไปลงทุนในหุ้นขนาดกลางและเล็กจะให้ผลตอบแทนที่ดี อีกทั้งควรเลือกลงทุนในหุ้นที่มีกระแสเงินสดสูง มีหนี้สินต่อทุนต่ำ มีการจ่ายเงินปันผลต่อเนื่อง
นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า ทางสมาคมนักวิเคราะห์ให้มีการส่งแบบสอบถามความคิดเห็นนักวิเคราะห์เกี่ยวกับดัชนีตลาดหุ้นไทยและเศรษฐกิจจากนี้ถึงสิ้นปีซึ่งจะมีการรวบรวมเสร็จและมีการแถลงผลสำรวจในสัปดาห์หน้า ซึ่งคาดว่านักวิเคราะห์จะมีการปรับลดประมาณการดัชนีตลาดหุ้นไทยปีนี้ลดลง เบื้องต้นคาดว่านักวิเคราะห์จะประเมินดัชนีอยู่ที่ระดับ 360 จุด ซึ่งต่ำกว่าจุดต่ำสุดเดิมในปีก่อนที่ 380 จุด เนื่องจาก เหตุการณ์แย่กว่าที่คาดไว้ในช่วงปลายปี ตัวเลขเศรษฐกิจที่ถดถอย และความเสียหายของสถาบันการเงินโลกมีผลเสียหายมากขึ้นและยังไม่ทราบว่าผลเสียหายจะจบเมื่อใด
ทั้งนี้โจทย์ใหญ่ขณะนี้คือเศรษฐกิจโลกเศรษฐกิจไทยจะแย่กว่าปี 2551 ซึ่งคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะติดลบติดต่อกัน4 ไตรมาส นับจากไตรมาส4/51 จนถึงไตรมาส3/52 โดยไตรมาส 1/52 จีดีพี จะติดลบมากกว่า 4.3%เพราะภาวะวิกฤติเศรษฐกิจปีนี้รุนแรงมากกว่าปีที่ผ่านมา และสถาบันวิจัยต่างๆทั่วโลกทยอยปรับลดจีดีพี การส่งออลดลง และอัตราการว่างงานเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งคาดว่าในช่วง 1-2 เดือนจากนี้ไปดัชนีตลาดหุ้นไทยจะมีความผันผวนสูง ส่วนแนวโน้มกำไรของบริษัทจดทะเบียน ( บจ.) ในปีนี้ จะเพิ่มขึ้น 10-15% จากปี 2551 แม้ไตรมาส 1และไตรมาส2 กำไรบจ.จะลดลง แต่กำไรในไตรมาส4/52 จะเป็นแรงหนุนทำให้กำไรทั้งปีดีขึ้น จากหุ้นกลุ่มพลังงานจะไม่ขาดทุนหนักเหมือนปีที่ผ่านมา
เชื่อดัชนีหุ้นไทยยังร่วงไม่แรง
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ นายกสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยจะไม่ปรับตัวลดลงรุนแรงเหมือนกับต่างประเทศ เพราะ ไทยยังไม่มีสถาบันการเงินใดต้องมีการเพิ่มทุนเพื่อลดความเสียหาย อย่างมากสุดดัชนีจะทรงตัวหรือไม่ซึมเท่านั้น นอกจากนี้การลงทุนในตลาดหุ้นไทยถือว่ามีผลตอบแทนการลงทุนที่สูงถึง 6% ดีกว่าการลงทุนในเงินฝาก โดยหุ้นที่น่าสนใจคือหุ้นกลุ่ม ค้าปลีก และสื่อสาร ซึ่งถือว่าเป็นหุ้นเด่นที่น่าลงทุนในปีนี้
สำหรับสัญญาณที่จะบอกว่าดัชนีตลาดหุ้นจะปรับตัวดีขึ้นได้ คือ นักลงทุนมีการชินกับข่าวร้ายในต่างประเทศ ปัจจัยลบยังคงเป็นปัจจัยเดิมๆและปัจจัยในประเทศมีเสถียรภาพมากขึ้น กำไรบจ.ดีขึ้น ส่วนการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปีนี้คาดว่าจะติดลบ 3% จากเดิมที่ประเมินในปลายปีที่ผ่านมาว่าจะติดลบ1-4%