หลายท่านคงได้ชมภาพยนต์เรื่อง The Inconvenience Truth ที่ได้นำเสนอผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศต่อการดำรงชีวิตของมวลมนุษย์ และความพยายามของอัลกอร์ในการชี้ให้สังคมได้ตระหนักถึงและการเตรียมการรองรับ อันที่จริงในขณะนี้ก็มีความพยายามระดับสากลเพื่อจัดการเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่เรียกว่า พิธีสารเกียวโต หรือ Kyoto Protocol พิธีสารเกียวโตนี้ถือเป็นกฎหมายลูกของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change) หรือ UFFCCC เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศ ภายใต้กรอบเจรจาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และมีเป้าหมายสูงสุดในการรักษาระดับความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศให้อยู่ระดับที่ไม่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารและการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของมนุษยชาติ อนุสัญญานี้ให้ความสำคัญกับเรื่องต่างๆ เช่น ความมั่นคงด้านการเกษตร หลักความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน ประเทศที่พัฒนาแล้วต้องเป็นผู้นำในการต่อสู้ปัญหานี้ ขณะที่ประเทศที่กำลังพัฒนาให้ดำเนินการตามกำลังและความสามารถ การกำหนดให้ประเทศอุตสาหกรรมที่พัฒนาแล้ว มีหน้าที่ต้องลดการปล่ายก๊าซเรือนกระจกก่อน อย่างไรก็ตามในระยะยาวแล้ว ทุกประเทศจะต้องช่วยกันรับภาระในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากให้ขึ้น
พิธีสารเกียวโตเกิดขึ้นเพราะอนุสัญญสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งระบุว่าประเทศพัฒนาแล้วต้องลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้อยู่ในระดับไม่เกินร้อย 5.2 ของปี พ.ศ. 2533 ผลปรากฏว่าประเทศที่พัฒนาแล้วเหล่านั้นไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากอนุสัญญาฯ ดังกล่าวเป็นเพียงกรอบและไม่มีข้อผูกพันทางกฎหมาย ทำให้ประเทศพัฒนาต่าง ๆ ละเลยไม่ปฏิบัติตาม ดังนั้นจึงแก้ปัญหาด้วยการร่างข้อตกลงขึ้นมาใหม่เพื่อให้ประเทศที่พัฒนาแล้วดำเนินการตามพันธกรณีในอนุสัญญานี้ให้ได้ เพื่อให้มีผลใช้บังคับได้จริงและมีข้อผูกมัดในการดำเนินการตามพันธกรณี ซึ่งได้พัฒนามาเป็นพิธีสารเกียวโตนั่นเอง
สาระสำคัญของพิธีสารเกียวโตกำหนดให้ประเทศประเทศที่พัฒนาแล้ว (ที่มีรายชื่อในภาคผนวก I.) มีหน้าที่ต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้มากที่สุด ตามที่กำหนดไว้ในพิธีสารร้อยละ 5.2 ของปีฐาน (พ.ศ. 2533) ภายในปี พ.ศ. 2551 – 2555 และจะได้รับจัดสรรปริมาณก๊าซที่แต่ละประเทศสามารถปล่อยได้แต่ละปี (AAUs: Assigned Amount Units) และจะต้องควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้อยู่ภายในจำนวน AAUs ที่ได้รับ จำนวน AAUs นี้สามารถคำนวนเป็น “คาร์บอนเครดิต” ประเภทหนึ่งที่สามารถซื้อขายกันได้ระหว่างประเทศพัฒนาแล้ว สำหรับประเทศสมาชิกที่เป็นประเทศกำลังพัฒนา เช่น ประเทศไทยนั้นพิธีสารเกียวโตไม่ได้บังคับให้ต้องลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแต่อย่างใด เพียงแต่กำหนดให้รายงานปริมาณการปล่อยก๊าซของแต่ละประเทศในแต่ละปี ทั้งพยายามหาแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกก็พอเพียงแล้ว ดังนั้นประเทศที่กำลังพัฒนา จะไม่มีคาร์บอนเครดิตประเภทปริมาณก๊าซที่ได้รับจัดสรร (AAUs carbon credit) ซึ่งจะนำไปซื้อขายได้ในตลาดคาร์บอนได้
หนึ่งในกลไกภายใต้พิธีสารเกียวโตก็คือ การพัฒนาที่สะอาด Clean Development Mechanism หรือโครงการ CDM เป็นการดำเนินการร่วมกันระหว่างประเทศในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่เป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งมีพันธในการลดการปล่อยกับประเทศกลุ่มกำลังพัฒนาที่ไม่ค่อยได้ปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยประเทศในกลุ่มหลังสามารถขายสิทธิในการปล่อยให้กับกลุ่มแรก ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มเติมจากวิธีปฏิบัติที่ทำอยู่แล้วในสภาวะธุรกิจปกติ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้และผ่านการตรวจวัดแล้วเรียกว่า Certified Emission Reductions (CERs) สำหรับประเทศไทยก็เข้าร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ เป็นต้นว่าอาจจัดทำโครงการปลูกป่าพื้นที่จำนวน 20 ไร่ ได้สามารถกำจัดก๊าซคาร์บอนเทียบเท่ากับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หนัก 2 ตัน ดังนั้นหากไทยจัดทำโครงการ CDM โครงการจะได้รับ CERs จำนวน 2 ตันเช่นเดียวกัน แต่หากไม่มีแรงจูงใจจากกลไก CDM ประเทศที่กำลังพัฒนาก็จะไม่ให้ความสนใจพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ และยังคงปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมากเช่นเดิม
ในกรณีของประเทศไทย สิ่งที่เอกชนผู้ดำเนินโครงการ CDM จะได้รับคือการ “ขาย” CDM หรือเครดิตที่ได้รับมาจากโครงการ CDM และประเทศจะได้รับประโยชน์ทางอ้อมคือการยกระดับมาตรฐานสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาเทคโนโลยีที่สะอาดมากขึ้น ตลอดจนการจัดเก็บรายได้ในรูปของภาษีเงินได้นิติบุคคลมากขึ้น (เนื่องจากถือว่ามีรายได้เกิดขึ้น) หากประเทศไทยมีจำนวนโครงการ CDM มากขึ้น ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยในประเทศก็จะลดลงมากเท่านั้น ทำให้ตัวเลขปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปลดปล่อยในประเทศไทยที่จะต้องนำเสนอต่อประเทศภาคีอื่นๆ ก็ลดลง และในอนาคตหากประเทศไทยต้องปฏิบัติตามพันธกรณีอย่างจริงจัง การลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกนั้นย่อมสามารถปฏิบัติตามพันธกรณีได้ง่ายขึ้น เพราะมีการเตรียมตัวก่อนล่วงหน้าและพัฒนาเทคโนโลยีไปในระดับหนึ่งแล้ว กระนั้นก็ดีพื้นฐานของการพัฒนาโครงการ CDM จะนำประเทศไปสู่การพัฒนาประเทศ 3 ด้าน ด้วยกันคือ 1. ด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรม และสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2. ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ การลงทุนจากการดำเนินธุรกิจและมีการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม และ 3. ด้านสังคม ได้แก่ การให้สังคมหรือชุมชนที่ตั้งโครงการได้รับประโยชน์หรือไม่ถูกกระทบในด้านของสิ่งแวดล้อมและสังคม
ประโยชน์ของโครงการ CDM ด้านต่างๆ
ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม
ระดับท้องถิ่น - มีการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมระดับชุมชนในพื้นที่โครงการ
- ลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้น โดยการนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงพลังงาน
- ลดการใช้ทรัพยากรเชื้อเพลิงที่ไม่สามารถทดแทนได้ - กรณีที่เป็นโครงการ ด้านพลังงานทดแทนจะช่วยให้นำผลิตผลทางการเกษตร เช่น ปาล์ม มะพร้าว ทานตะวัน ผลสบู่ดำ ฯลฯ มาเป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงาน
- เกษตรกรสามารถนำวัสดุเหลือใช้ เช่น แกลบ ใบอ้อย เศษไม้ ฯลฯ ไปขายเพื่อเป็นวัตถุดิบในการดำเนินโครงการ CDM
- กระตุ้นเศรษฐกิจในระดับชุมชนให้เกิดการจ้างงานมากขึ้น
- มีการผลิตสินค้าด้วยวิธีการที่สะอาดขึ้น - ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยเฉพาะด้านสุขภาพอนามัยจากคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น
- เพิ่มทางเลือกในการประกอบกิจการที่เป็นประโยชน์ต่อสภาวะแวดล้อม
ระดับประเทศ -คุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยรวมของประเทศดีขึ้น
- มีการถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยีที่สะอาดทั้งจากต่างประเทศและภายในประเทศ - ลดการพึ่งพาการนำเข้าเชื้อเพลิงพลังงาน
- กระตุ้นเศรษฐกิจระดับชาติและเพิ่มความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
- มีรายได้จากภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการซื้อขาย CERs ลดภาระของประเทศที่ภาครัฐจะต้องลงทุนในการรักษาสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์พลังงาน - มีบทบาทในเวทีโลกในการแก้ไขปัญหาระดับนานาชาติ
- ทำให้เพิ่มอำนาจต่อรองในการเจรจาระหว่างประเทศ
หมายเหตุ : ผู้เขียนขอขอบคุณ คุณวรกาญจน์ โกศลพิศิษฐ์กุล สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ในการอนุเคราะห์ข้อมูล
พิธีสารเกียวโตเกิดขึ้นเพราะอนุสัญญสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งระบุว่าประเทศพัฒนาแล้วต้องลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้อยู่ในระดับไม่เกินร้อย 5.2 ของปี พ.ศ. 2533 ผลปรากฏว่าประเทศที่พัฒนาแล้วเหล่านั้นไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากอนุสัญญาฯ ดังกล่าวเป็นเพียงกรอบและไม่มีข้อผูกพันทางกฎหมาย ทำให้ประเทศพัฒนาต่าง ๆ ละเลยไม่ปฏิบัติตาม ดังนั้นจึงแก้ปัญหาด้วยการร่างข้อตกลงขึ้นมาใหม่เพื่อให้ประเทศที่พัฒนาแล้วดำเนินการตามพันธกรณีในอนุสัญญานี้ให้ได้ เพื่อให้มีผลใช้บังคับได้จริงและมีข้อผูกมัดในการดำเนินการตามพันธกรณี ซึ่งได้พัฒนามาเป็นพิธีสารเกียวโตนั่นเอง
สาระสำคัญของพิธีสารเกียวโตกำหนดให้ประเทศประเทศที่พัฒนาแล้ว (ที่มีรายชื่อในภาคผนวก I.) มีหน้าที่ต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้มากที่สุด ตามที่กำหนดไว้ในพิธีสารร้อยละ 5.2 ของปีฐาน (พ.ศ. 2533) ภายในปี พ.ศ. 2551 – 2555 และจะได้รับจัดสรรปริมาณก๊าซที่แต่ละประเทศสามารถปล่อยได้แต่ละปี (AAUs: Assigned Amount Units) และจะต้องควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้อยู่ภายในจำนวน AAUs ที่ได้รับ จำนวน AAUs นี้สามารถคำนวนเป็น “คาร์บอนเครดิต” ประเภทหนึ่งที่สามารถซื้อขายกันได้ระหว่างประเทศพัฒนาแล้ว สำหรับประเทศสมาชิกที่เป็นประเทศกำลังพัฒนา เช่น ประเทศไทยนั้นพิธีสารเกียวโตไม่ได้บังคับให้ต้องลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแต่อย่างใด เพียงแต่กำหนดให้รายงานปริมาณการปล่อยก๊าซของแต่ละประเทศในแต่ละปี ทั้งพยายามหาแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกก็พอเพียงแล้ว ดังนั้นประเทศที่กำลังพัฒนา จะไม่มีคาร์บอนเครดิตประเภทปริมาณก๊าซที่ได้รับจัดสรร (AAUs carbon credit) ซึ่งจะนำไปซื้อขายได้ในตลาดคาร์บอนได้
หนึ่งในกลไกภายใต้พิธีสารเกียวโตก็คือ การพัฒนาที่สะอาด Clean Development Mechanism หรือโครงการ CDM เป็นการดำเนินการร่วมกันระหว่างประเทศในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่เป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งมีพันธในการลดการปล่อยกับประเทศกลุ่มกำลังพัฒนาที่ไม่ค่อยได้ปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยประเทศในกลุ่มหลังสามารถขายสิทธิในการปล่อยให้กับกลุ่มแรก ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มเติมจากวิธีปฏิบัติที่ทำอยู่แล้วในสภาวะธุรกิจปกติ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้และผ่านการตรวจวัดแล้วเรียกว่า Certified Emission Reductions (CERs) สำหรับประเทศไทยก็เข้าร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ เป็นต้นว่าอาจจัดทำโครงการปลูกป่าพื้นที่จำนวน 20 ไร่ ได้สามารถกำจัดก๊าซคาร์บอนเทียบเท่ากับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หนัก 2 ตัน ดังนั้นหากไทยจัดทำโครงการ CDM โครงการจะได้รับ CERs จำนวน 2 ตันเช่นเดียวกัน แต่หากไม่มีแรงจูงใจจากกลไก CDM ประเทศที่กำลังพัฒนาก็จะไม่ให้ความสนใจพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ และยังคงปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมากเช่นเดิม
ในกรณีของประเทศไทย สิ่งที่เอกชนผู้ดำเนินโครงการ CDM จะได้รับคือการ “ขาย” CDM หรือเครดิตที่ได้รับมาจากโครงการ CDM และประเทศจะได้รับประโยชน์ทางอ้อมคือการยกระดับมาตรฐานสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาเทคโนโลยีที่สะอาดมากขึ้น ตลอดจนการจัดเก็บรายได้ในรูปของภาษีเงินได้นิติบุคคลมากขึ้น (เนื่องจากถือว่ามีรายได้เกิดขึ้น) หากประเทศไทยมีจำนวนโครงการ CDM มากขึ้น ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยในประเทศก็จะลดลงมากเท่านั้น ทำให้ตัวเลขปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปลดปล่อยในประเทศไทยที่จะต้องนำเสนอต่อประเทศภาคีอื่นๆ ก็ลดลง และในอนาคตหากประเทศไทยต้องปฏิบัติตามพันธกรณีอย่างจริงจัง การลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกนั้นย่อมสามารถปฏิบัติตามพันธกรณีได้ง่ายขึ้น เพราะมีการเตรียมตัวก่อนล่วงหน้าและพัฒนาเทคโนโลยีไปในระดับหนึ่งแล้ว กระนั้นก็ดีพื้นฐานของการพัฒนาโครงการ CDM จะนำประเทศไปสู่การพัฒนาประเทศ 3 ด้าน ด้วยกันคือ 1. ด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรม และสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2. ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ การลงทุนจากการดำเนินธุรกิจและมีการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม และ 3. ด้านสังคม ได้แก่ การให้สังคมหรือชุมชนที่ตั้งโครงการได้รับประโยชน์หรือไม่ถูกกระทบในด้านของสิ่งแวดล้อมและสังคม
ประโยชน์ของโครงการ CDM ด้านต่างๆ
ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม
ระดับท้องถิ่น - มีการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมระดับชุมชนในพื้นที่โครงการ
- ลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้น โดยการนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงพลังงาน
- ลดการใช้ทรัพยากรเชื้อเพลิงที่ไม่สามารถทดแทนได้ - กรณีที่เป็นโครงการ ด้านพลังงานทดแทนจะช่วยให้นำผลิตผลทางการเกษตร เช่น ปาล์ม มะพร้าว ทานตะวัน ผลสบู่ดำ ฯลฯ มาเป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงาน
- เกษตรกรสามารถนำวัสดุเหลือใช้ เช่น แกลบ ใบอ้อย เศษไม้ ฯลฯ ไปขายเพื่อเป็นวัตถุดิบในการดำเนินโครงการ CDM
- กระตุ้นเศรษฐกิจในระดับชุมชนให้เกิดการจ้างงานมากขึ้น
- มีการผลิตสินค้าด้วยวิธีการที่สะอาดขึ้น - ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยเฉพาะด้านสุขภาพอนามัยจากคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น
- เพิ่มทางเลือกในการประกอบกิจการที่เป็นประโยชน์ต่อสภาวะแวดล้อม
ระดับประเทศ -คุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยรวมของประเทศดีขึ้น
- มีการถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยีที่สะอาดทั้งจากต่างประเทศและภายในประเทศ - ลดการพึ่งพาการนำเข้าเชื้อเพลิงพลังงาน
- กระตุ้นเศรษฐกิจระดับชาติและเพิ่มความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
- มีรายได้จากภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการซื้อขาย CERs ลดภาระของประเทศที่ภาครัฐจะต้องลงทุนในการรักษาสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์พลังงาน - มีบทบาทในเวทีโลกในการแก้ไขปัญหาระดับนานาชาติ
- ทำให้เพิ่มอำนาจต่อรองในการเจรจาระหว่างประเทศ
หมายเหตุ : ผู้เขียนขอขอบคุณ คุณวรกาญจน์ โกศลพิศิษฐ์กุล สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ในการอนุเคราะห์ข้อมูล