นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน กล่าวว่า อาเซียนได้รับผลกระทบอย่างมาก จากการปรับขึ้นราคาอาหารของโลก โดยเฉพาะข้าว เนื่องจากพื้นที่ในหลายประเทศถูกแบ่งไปปลูกพืชพลังงาน ส่งผลให้เกิดวิกฤตขาดแคลนอาหาร อาเซียนจำเป็นต้องหายุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารให้กับภูมิภาคอาเซียน เพราะอาเซียนมีความพร้อมทั้งทรัพยากร เทคโนโลยี ความสามารถในการบริหารจัดการทรัพยากร และแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางอาหารได้ โดยอาเซียนจะมีการทำแผนสร้างความมั่นคงทางอาหารระยะ 5 ปี ระหว่างปี 2009-2013 ซึ่งจะเป็นแผนที่มีการประสานงานกันระหว่างภาครัฐ และภาคเอกชนมากขึ้น หลังจากนั้นภาคเอกชนจะเข้ามามีบทบาท ในการแก้ไขเรื่องการขาดแคลนอาหาร
ทั้งนี้เชื่อว่า ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ อาเซียน และเอกชน จะช่วยแก้วิกฤตอาหารโลกได้ ในขณะเดียวกันจะช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหารในระยะยาวด้วย รัฐบาลและอาเซียนจะเข้ามามีบทบาทในการกำหนดแนวนโยบาย และทิศทางการแก้ไขปัญหา แต่ผู้ปฏิบัติต้องเป็นภาคเอกชน ที่จะเข้ามาช่วยเหลือด้านเงินทุน เทคโนโลยีการผลิตอาหาร การวิจัยพันธุ์ข้าว เพื่อเพิ่มผลผลิต ระบบจัดการกระจายสินค้า การสร้างเครือข่าวต่างๆ ของเอกชน เนื่องจากอาเซียนมีศักยภาพด้านการผลิตอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่การเพาะปลูก และการชลประทาน
ทั้งนี้เชื่อว่า ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ อาเซียน และเอกชน จะช่วยแก้วิกฤตอาหารโลกได้ ในขณะเดียวกันจะช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหารในระยะยาวด้วย รัฐบาลและอาเซียนจะเข้ามามีบทบาทในการกำหนดแนวนโยบาย และทิศทางการแก้ไขปัญหา แต่ผู้ปฏิบัติต้องเป็นภาคเอกชน ที่จะเข้ามาช่วยเหลือด้านเงินทุน เทคโนโลยีการผลิตอาหาร การวิจัยพันธุ์ข้าว เพื่อเพิ่มผลผลิต ระบบจัดการกระจายสินค้า การสร้างเครือข่าวต่างๆ ของเอกชน เนื่องจากอาเซียนมีศักยภาพด้านการผลิตอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่การเพาะปลูก และการชลประทาน