ASTVผู้จัดการรายวัน – รมช.คลังสั่งการกรมบัญชีกลางเร่งรัดหน่วยงานราชการเบิกจ่ายงบประมาณปี 52 ตั้งเป้าหมาย 2 ไตรมาสแรกของปีให้สูงกว่า 46% หรือ 8.44 แสนล้าน ส่วนทั้งปี 52 อยู่ที่ 94% หรือ 1.72 ล้านล้าน ขู่หน่วยงานใดไม่สามารถทำสัญญาก่อหนี้ได้ภายในเดือนกรกฎาคมจะตัดงบที่ขอปี 53 ทั้งหมด
นายพฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รมช.คลัง เปิดเผยภายหลังการเปิดการประชุม/สัมมนาผู้บริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาคของกรมบัญชีกลางว่า ได้สั่งการให้เร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณของหน่วยงานราชการปีงบประมาณ 2552 โดย ตั้งเป้าหมายเร่งเบิกจ่าย สำหรับ 2 ไตรมาสแรกของปี ให้สูงกว่า 46% หรือ 8.44 แสนล้านบาท ล่าสุดการเบิกจ่ายถึงวันที่ 28 ก.พ.ทั้งสิ้น 7.06 แสนล้านบาท หรือ 38.5% ของงบประมาณปี 52 สำหรับเป้าหมายปี 52 อยู่ที่ 94% หรือ 1.72 ล้านล้านบาท โดยไม่รวมงบประมาณเพิ่มเติมกลางปี 1.16 แสนล้านบาท
สำหรับส่วนราชการที่มีงบประมาณรายจ่ายลงทุนเกิน 1 พันล้านบาท มี 21 แห่ง และเบิกจ่ายช้าคือ กรมราชทัณฑ์ กรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีผลเบิกจ่าย 0.35% 0.97% 1.44% และ 2.90% ตามลำดับ สำหรับรัฐวิสาหกิจที่มีงบประมาณรายจ่ายลงทุนเกิน 1 พันล้านบาท มี 4 แห่ง และเบิกจ่ายช้าคือ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และการรถไฟแห่งประเทศไทย โดย 2 หน่วยงานยังไม่มีการเบิกจ่ายเลย
ส่วนการเบิกจ่ายงบประมาณเพิ่มเติมกลางปีงบประมาณ 2552 จำนวน 1.16 แสนล้านบาท ที่สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ดี โดยเฉพาะเงินช่วยเหลือ 2 พันบาทสำหรับผู้มีรายได้ต่ำกว่า 1.5 หมื่นบาทต่อเดือนในระบบประกันสังคมและภาคราชการ ที่มีผู้มีสิทธิประมาณ 9.4 ล้านคน โดยล่าสุดกรมบัญชีกลางได้ออกหลักเกณฑ์รองรับการออกเช็ค 2 พันบาทดังกล่าว และเตรียมเบิกจ่ายงบประมาณ 9 พันล้านบาท สำหรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 60 ที่จะได้รับเงิน 500 บาทต่อเดือน โดยผู้มีสิทธิประมาณ 5 ล้านคน ตลอดจนงบประมาณ 3 พันล้านบาท สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 9.8 แสนคน
ในขณะที่การเบิกจ่ายงบประมาณปี 2553 โดยเมื่อวันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ 2552 คณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้อนุมัติหลักการใช้วงเงิน 1.9 ล้านล้านบาท สำหรับงบประมาณปี 2553 โดยกระทรวงการคลังมีนโยบายเร่งรัดการเบิกจ่ายที่สำคัญคือ เมื่อเริ่มปีงบประมาณใหม่ 1 ตุลาคม 2552 ขอให้ส่วนราชการต่าง ๆ มีการเซ็นสัญญาหรือเริ่มดำเนินโครงการหรือจัดซื้อจัดจ้าง ส่วนราชการต่างๆ ต้องเตรียมโครงการก่อนเริ่มปีงบประมาณ เพื่อมิให้เกิดปัญหาการเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้าเหมือนเช่นที่ผ่านมาทุกปี และการพิจารณายกเลิกการตั้งงบเหลื่อมปี หากหน่วยงานต่าง ๆ ที่ไม่สามารถทำสัญญา/ก่อหนี้ได้ทันภายในเดือนกรกฎาคม รัฐบาลจะตัดงบปี 2553 ที่ขอไว้ทั้งหมด.
นายพฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รมช.คลัง เปิดเผยภายหลังการเปิดการประชุม/สัมมนาผู้บริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาคของกรมบัญชีกลางว่า ได้สั่งการให้เร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณของหน่วยงานราชการปีงบประมาณ 2552 โดย ตั้งเป้าหมายเร่งเบิกจ่าย สำหรับ 2 ไตรมาสแรกของปี ให้สูงกว่า 46% หรือ 8.44 แสนล้านบาท ล่าสุดการเบิกจ่ายถึงวันที่ 28 ก.พ.ทั้งสิ้น 7.06 แสนล้านบาท หรือ 38.5% ของงบประมาณปี 52 สำหรับเป้าหมายปี 52 อยู่ที่ 94% หรือ 1.72 ล้านล้านบาท โดยไม่รวมงบประมาณเพิ่มเติมกลางปี 1.16 แสนล้านบาท
สำหรับส่วนราชการที่มีงบประมาณรายจ่ายลงทุนเกิน 1 พันล้านบาท มี 21 แห่ง และเบิกจ่ายช้าคือ กรมราชทัณฑ์ กรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีผลเบิกจ่าย 0.35% 0.97% 1.44% และ 2.90% ตามลำดับ สำหรับรัฐวิสาหกิจที่มีงบประมาณรายจ่ายลงทุนเกิน 1 พันล้านบาท มี 4 แห่ง และเบิกจ่ายช้าคือ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และการรถไฟแห่งประเทศไทย โดย 2 หน่วยงานยังไม่มีการเบิกจ่ายเลย
ส่วนการเบิกจ่ายงบประมาณเพิ่มเติมกลางปีงบประมาณ 2552 จำนวน 1.16 แสนล้านบาท ที่สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ดี โดยเฉพาะเงินช่วยเหลือ 2 พันบาทสำหรับผู้มีรายได้ต่ำกว่า 1.5 หมื่นบาทต่อเดือนในระบบประกันสังคมและภาคราชการ ที่มีผู้มีสิทธิประมาณ 9.4 ล้านคน โดยล่าสุดกรมบัญชีกลางได้ออกหลักเกณฑ์รองรับการออกเช็ค 2 พันบาทดังกล่าว และเตรียมเบิกจ่ายงบประมาณ 9 พันล้านบาท สำหรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 60 ที่จะได้รับเงิน 500 บาทต่อเดือน โดยผู้มีสิทธิประมาณ 5 ล้านคน ตลอดจนงบประมาณ 3 พันล้านบาท สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 9.8 แสนคน
ในขณะที่การเบิกจ่ายงบประมาณปี 2553 โดยเมื่อวันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ 2552 คณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้อนุมัติหลักการใช้วงเงิน 1.9 ล้านล้านบาท สำหรับงบประมาณปี 2553 โดยกระทรวงการคลังมีนโยบายเร่งรัดการเบิกจ่ายที่สำคัญคือ เมื่อเริ่มปีงบประมาณใหม่ 1 ตุลาคม 2552 ขอให้ส่วนราชการต่าง ๆ มีการเซ็นสัญญาหรือเริ่มดำเนินโครงการหรือจัดซื้อจัดจ้าง ส่วนราชการต่างๆ ต้องเตรียมโครงการก่อนเริ่มปีงบประมาณ เพื่อมิให้เกิดปัญหาการเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้าเหมือนเช่นที่ผ่านมาทุกปี และการพิจารณายกเลิกการตั้งงบเหลื่อมปี หากหน่วยงานต่าง ๆ ที่ไม่สามารถทำสัญญา/ก่อหนี้ได้ทันภายในเดือนกรกฎาคม รัฐบาลจะตัดงบปี 2553 ที่ขอไว้ทั้งหมด.