นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าว วานนี้ (10 มี.ค.) ถึงความคืบหน้าในการ ปฏิรูปการเมืองว่า เมื่อวันที่ 9มี.ค.สภาสถาบันพระปกเกล้า ประชุมรับเป็นเจ้าภาพแล้วโดยเตรียมเสนอเรื่องการตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อศึกษา รับฟังความคิดเห็นและเสนอแนะการพัฒนาประชาธิปไตยและการเมืองการปกครอง มาถึงตน ซึ่งไม่มีข้อขัดข้องในการตั้งคณะกรรมการฯชุดนี้ รวมถึงกรอบเวลา ตัวบุคคล แต่ต้องปรึกษากับฝ่ายค้านด้วย
ส่วนที่นายสุจิต บุญบงการ ที่จะมาเป็นประธานคณะกรรมการอิสระฯ ต้องการเลือกคณะทำงานเองนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า จริงๆ ยังเปิดกว้างอยู่ ถ้าหากเสนอมาก็ตั้งข้อสังเกตได้ แต่ส่วนตัวไม่ติดใจ เมื่อถามว่า ส่วนเวลาที่ตั้งไว้ 19 เดือนนั้น เข้าใจว่าทุกอย่างคงไมต้องรอถึง 19 เดือน โดยจะแบ่งเป็นเรื่องๆ บางเรื่อง 8 เดือน บางเรื่อง 3 เดือน
ส่วนที่มองกันว่าเป็นการซื้อเวลาของรัฐบาล นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่แน่ใจว่า คำว่าซื้อเวลาในที่นี้หมายความว่าถ้าไม่ทำแล้วจะให้ทำอะไร และถ้าให้ทำแล้วจะให้ทำอย่างไร รัฐบาลต้องการให้บ้านเมืองสงบ และต้องการให้การปฏิรูปการเมือง เกิดขึ้นได้จริง มากกว่าเป็นเงื่อนไขการทะเลาะเบาะแว้งกัน และไม่เกี่ยวกับเวลาของรัฐบาล
ผู้สื่อข่าวถามว่ากลุ่มเสื้อแดงไม่เห็นด้วยจะเป็นประเด็นขัดแย้งหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ทุกคนหรอก วันนี้ตนได้พูดคุยกับบางท่านที่อยู่ในพรรคเพื่อไทยอฃ่ง ต่อข้อถามว่า ทางโฆษกพรรคเพื่อไทย ก็ไม่เห็นด้วย นายอภิสิทธิ์ ตอบว่า ไม่เป็นไร ให้โอกาสได้เข้ามาเป็นกรรมการ คงไม่ไปตั้งคำถามอย่างนั้น เพราะได้คุยกับพรรคฝ่ายค้านไปแล้ว แต่ถ้าติดใจเรื่องตัวบุคคล กรอบเวลา ก็มาพิจารณากันใหม่
ส่วนทางฝ่านค้านอ้างว่าสถาบันพระปกเกล้าไม่มีความเป็นกลางพอนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ต้องมานั่งคุยกัน เมื่อได้ข้อเสนอมาแล้วก็ต้องคุยกัน ต้องรอว่าส่งเรื่องมายังตนเมื่อไหร่ เมื่อส่งมาแล้วจะดำเนินการให้เจอกันที่สภา เมื่อถามว่า จะมีฝ่ายการเมืองเข้าไปมีส่วนร่วมหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ความเห็นส่วนตัวอยากให้มีแต่ยังไม่ทราบว่าจะมีหรือไม่ ต้องเข้ามาดูร่วมกับทางฝ่ายค้าน
นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ในฐานะประธานสภากรรมการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่า ยังไม่ได้ส่งหนังสือมติสภาสถาบันพระปกเกล้าไปให้ ครม. คงต้องใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์จึงจะส่งหนังสือไปได้ส่วนที่ฝ่ายค้านจะไม่ส่งตัวแทนเข้าไปเป็นกรรมการด้วยนั้น ต้องหารือร่วมกันกับทุกฝ่าย เพราะการทำงานครั้งนี้จะใช้คำว่าปฎิรูปไม่ได้เพราะไม่เกิดผล เราใช้คำนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 แต่มาถึงวันนี้ก็ไม่สามารถปฏิรูปได้ ดังนั้นต้องใช้คำว่าพัฒนาประชาธิปไตย โดยต้องศึกษาระบบการเมือง สภาพปัญหาโดยละเอียด
นายสุจิต บุญบงการ ว่าที่ประธานคณะกรรมการอิสระฯกล่าวแถลงว่า ขณะนี้กรรมการสภาสถาบันพระปกเกล้าได้ส่งหนังสือแจ้งมติ รับเป็นเจ้าภาพปฏิรูปการเมือง และตั้งคณะกรรมการอิสระฯที่มีตนเป็นประธานไปยังรัฐบาลแล้ว รอรัฐบาลตอบกลับมาว่าจะยอมรับหรือไม่ ถ้าตอบรับ กรรมการสภาสถาบันฯก็จะประชุมเพื่อมีมติยืนยันให้คณะกรรมการฯดำเนินการ จากนั้น ตนก็จะดำเนินการให้มีกรรมการฯให้ครบตามกรอบ จำนวนไม่เกิน 50 คน ซึ่งจะมีผู้แทนจากหลากหลายเพื่อให้คณะกรรมการอิสระฯมีความสมบูรณ์ ให้เป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่าย ซึ่งตอนนี้ก็เริ่มคิดแล้วคร่าวๆว่า จะมีจากองค์กรใดบ้าง ส่วนใหญจะให้องค์กรต่างๆส่งผู้แทนมา กับอีกส่วนหนึ่งจะเป็น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่สถาบันกำหนด
ส่วนที่นายโคทม อารียา ทักท้วงว่า มีตัวแทนจากภาครัฐมากไปและภาคการเมืองน้อย เรื่องนี้ต้องดูที่องค์ประกอบอื่นๆ ด้วย เพราะคณะกรรมการชุดนี้ ไม่ใช่คณะกรรมการสมานฉันท์ระหว่างกลุ่มคนสองกลุ่ม แต่มาศึกษาประเด็นการปฏิรูปการเมือง ซึ่งต้องศึกษาหลายภาคส่วนของประเทศ
ส่วนที่มีปัญหาว่า พรรคฝ่ายค้าน และนปช. หรือกลุ่มคนเสื้อแดงไม่ยอมรับคณะกรรมการอิสระฯชุดนี้ ก็ต้องรอรัฐบาล และกรรมการสภาสถาบันพระปกเกล้า พิจารณาว่า จะทำอย่างไร ถ้ายังยืนยันว่าให้คณะกรรมการฯอิสระดำเนินการ ก็จะเดินหน้า เพราะการทำงาน จะฟังความเห็นจากทุกฝ่าย ทั้งที่อยู่ในคณะกรรมการอิสระฯและอยู่ภายนอก คงต้องพูดกันในวงกว้างว่า ที่ไม่เห็นด้วยมีกี่กลุ่ม เป็นแค่เฉพาะฝ่ายค้านหรือนปช.หรือไม่ ที่ต้องทำความเข้าใจคือ คณะกรรมการอิสระฯ ไม่ได้เป็นผู้ปฏิรูป ไม่ได้เป็นบุรุษไปรษณีย์ แต่เป็นผู้รวบรวมสังเคราะห์ปัญหา และเสนอข้อคิดเห็นที่เหมาะสมที่สุดกับสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยในอนาคต
ส่วนคนที่จะมีอำนาจดำเนินการปฏิรูปจากนั้นต่อไปคือ รัฐบาล รัฐสภา ดังนั้น วันนี้ถ้าฝ่ายค้านมาอยู่ในคณะกรรมการอิสระฯจะดีมาก แต่ถ้าไม่มา คณะกรรมการอิสระฯก็ต้องดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมติกรรมการสภาสถาบันพระปกเกล้า
ถ้า นปช.หรือฝ่ายค้านไม่ยอมรับที่ผมมาเป็นประธาน แต่ถ้ารัฐบาบและสภาบันพระปกเกล้าให้เดินหน้า ผมก็ต้องเดินหน้า ทั้งนี้ ผมไม่ใช่ผู้วิเศษ ที่จะดลบันดาลให้ทุกคนยอมรับได้ แต่ยืนยันว่า ผมตั้งใจทำงานเพื่อบ้านเมือง
ส่วนที่มีผู้ทักท้วงว่าเวลา 8 เดือนในการศึกษานั้นนานเกินไป นายสุจิต กล่าวว่า สามารถยืดหยุนได้ จะขายหรือลดเวลาขึ้นอยู่กับการทำงานของคณะกรรมการอิสระฯ ว่า ศึกษาเรื่องต่างๆลึกซึ้งแค่ไหน ถ้าลึกก็ทำเร็วไม่ได้ ทำลวกๆอาจทำให้โดนมองว่า ไม่ตั้งใจทำงาน แต่ถ้าทำช้าไป อาจโดนมองว่า เตะถ่วง สรุปคือ คณะกรรมการอิสระฯ จะไม่ลากยาวจนหาจุดจบไม่ได้ หรือจะไม่ทำเร็วไปเพราะจะไม่รอบคอบ
รายงานรายงานว่า ในการประชุมพรรคเพื่อไทย ซึ่งมีนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรค ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ส.ส.สัดส่วน และประธานส.ส.พรรค และนายวิทยา บุรณศิริ ประธานวิปฝ่ายค้าน ร่วมกันเป็นประธานในที่ประชุม ได้หยิบยก กรณีที่รัฐบาลมอบหมายให้สถาบันพระปกเกล้า เป็นเจ้าภาพในการปฎิรูปการเมือง ซึ่งส.ส.อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ส.ส.ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของรัฐบาลโดยเห็นว่าบุคคลที่เข้ามาดำเนินการนั้นไม่มีความเป็นกลางเพียงพอ ดังนั้นพรรคเพื่อไทยในฐานะฝ่ายค้านจะไม่ให้ความร่วมมือกับเรื่องนี้
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่าการปฏิรูปการเมือง เป็นการดำเนินการที่ลับลวงพราง เนื่องจากมีบุคคล 3 กลุ่มได้แก่ คนใหญ่โตในรัฐบาล กลุ่มคนสีเขียว และกลุ่มคนในสถาบันพระปกเกล้ ฯบางคนไปนัดหารือกันในโรงแรมแห่งหนึ่ง ซึ่งทั้งหมดแสดงให้เห็นว่าเป็นการเริ่มละครบทที่หนึ่งของละครน้ำเน่าเพื่อตบตาประชาชน จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลแสดงความจริงใจที่จะปฏิรูปการเมืองอย่างแท้จริง และขอให้นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าฯ เลิกทำพฤติกรรมที่เป็นเนติบริกร เลิกรับใช้เอาใจรัฐบาล แต่ขอให้นึกถึงประโยชน์ของประเทศมากกว่า
ด้านนางฐิติมา ฉายแสง ส.ส.ฉะเชิงเทรา พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ในฐานะที่ตนเป็นสิทธิ์เก่าสถาบันพระปกเกล้ารู้สึกไม่เห็นด้วยที่สถาบันพระปกเกล้า รับเป็นเจ้าภาพ เพราะที่ผ่านมาก่อนการรัฐประหาร19 ก.ย. 2549 สถาบันแห่งนี้ยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตยมาโดยตลอด แต่หลังการยึดอำนาจปรากฏว่า บุคคลกรบางคนในสถาบันกลับทำตัวคอยแต่รับใช้การเมืองโดยขาดความเป็นกลาง และยังไม่เป็นอิสระจาก คมช. จึงคิดว่าจะรวบรวมรายชื่อศิษย์เก่าของสถาบันเพื่อแสดงออกว่ายังมีคนที่ไม่เห็นด้วยกับพฤติกรรมเช่นนี้
นางฐิติมา กล่าวว่า การล่ารายชื่อนั้นเราไม่ได้หวังที่จะยื่นถอดถอนคณะกรรมการชุดนี้เพราะกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจไว้ แต่ต้องการแสดงให้สังคมเห็นว่า พรรคเพื่อไทยมีความเป็นประชาธิปไตย และเป็นการกดดันให้สถาบันเห็นว่า มีคนไม่เห็นด้วยกับพฤติกรรมอย่างนี้ และไม่ต้องการให้สถาบันตกเป็นเครื่องมือทางการเมือง
ส่วนที่นายสุจิต บุญบงการ ที่จะมาเป็นประธานคณะกรรมการอิสระฯ ต้องการเลือกคณะทำงานเองนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า จริงๆ ยังเปิดกว้างอยู่ ถ้าหากเสนอมาก็ตั้งข้อสังเกตได้ แต่ส่วนตัวไม่ติดใจ เมื่อถามว่า ส่วนเวลาที่ตั้งไว้ 19 เดือนนั้น เข้าใจว่าทุกอย่างคงไมต้องรอถึง 19 เดือน โดยจะแบ่งเป็นเรื่องๆ บางเรื่อง 8 เดือน บางเรื่อง 3 เดือน
ส่วนที่มองกันว่าเป็นการซื้อเวลาของรัฐบาล นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่แน่ใจว่า คำว่าซื้อเวลาในที่นี้หมายความว่าถ้าไม่ทำแล้วจะให้ทำอะไร และถ้าให้ทำแล้วจะให้ทำอย่างไร รัฐบาลต้องการให้บ้านเมืองสงบ และต้องการให้การปฏิรูปการเมือง เกิดขึ้นได้จริง มากกว่าเป็นเงื่อนไขการทะเลาะเบาะแว้งกัน และไม่เกี่ยวกับเวลาของรัฐบาล
ผู้สื่อข่าวถามว่ากลุ่มเสื้อแดงไม่เห็นด้วยจะเป็นประเด็นขัดแย้งหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ทุกคนหรอก วันนี้ตนได้พูดคุยกับบางท่านที่อยู่ในพรรคเพื่อไทยอฃ่ง ต่อข้อถามว่า ทางโฆษกพรรคเพื่อไทย ก็ไม่เห็นด้วย นายอภิสิทธิ์ ตอบว่า ไม่เป็นไร ให้โอกาสได้เข้ามาเป็นกรรมการ คงไม่ไปตั้งคำถามอย่างนั้น เพราะได้คุยกับพรรคฝ่ายค้านไปแล้ว แต่ถ้าติดใจเรื่องตัวบุคคล กรอบเวลา ก็มาพิจารณากันใหม่
ส่วนทางฝ่านค้านอ้างว่าสถาบันพระปกเกล้าไม่มีความเป็นกลางพอนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ต้องมานั่งคุยกัน เมื่อได้ข้อเสนอมาแล้วก็ต้องคุยกัน ต้องรอว่าส่งเรื่องมายังตนเมื่อไหร่ เมื่อส่งมาแล้วจะดำเนินการให้เจอกันที่สภา เมื่อถามว่า จะมีฝ่ายการเมืองเข้าไปมีส่วนร่วมหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ความเห็นส่วนตัวอยากให้มีแต่ยังไม่ทราบว่าจะมีหรือไม่ ต้องเข้ามาดูร่วมกับทางฝ่ายค้าน
นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ในฐานะประธานสภากรรมการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่า ยังไม่ได้ส่งหนังสือมติสภาสถาบันพระปกเกล้าไปให้ ครม. คงต้องใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์จึงจะส่งหนังสือไปได้ส่วนที่ฝ่ายค้านจะไม่ส่งตัวแทนเข้าไปเป็นกรรมการด้วยนั้น ต้องหารือร่วมกันกับทุกฝ่าย เพราะการทำงานครั้งนี้จะใช้คำว่าปฎิรูปไม่ได้เพราะไม่เกิดผล เราใช้คำนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 แต่มาถึงวันนี้ก็ไม่สามารถปฏิรูปได้ ดังนั้นต้องใช้คำว่าพัฒนาประชาธิปไตย โดยต้องศึกษาระบบการเมือง สภาพปัญหาโดยละเอียด
นายสุจิต บุญบงการ ว่าที่ประธานคณะกรรมการอิสระฯกล่าวแถลงว่า ขณะนี้กรรมการสภาสถาบันพระปกเกล้าได้ส่งหนังสือแจ้งมติ รับเป็นเจ้าภาพปฏิรูปการเมือง และตั้งคณะกรรมการอิสระฯที่มีตนเป็นประธานไปยังรัฐบาลแล้ว รอรัฐบาลตอบกลับมาว่าจะยอมรับหรือไม่ ถ้าตอบรับ กรรมการสภาสถาบันฯก็จะประชุมเพื่อมีมติยืนยันให้คณะกรรมการฯดำเนินการ จากนั้น ตนก็จะดำเนินการให้มีกรรมการฯให้ครบตามกรอบ จำนวนไม่เกิน 50 คน ซึ่งจะมีผู้แทนจากหลากหลายเพื่อให้คณะกรรมการอิสระฯมีความสมบูรณ์ ให้เป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่าย ซึ่งตอนนี้ก็เริ่มคิดแล้วคร่าวๆว่า จะมีจากองค์กรใดบ้าง ส่วนใหญจะให้องค์กรต่างๆส่งผู้แทนมา กับอีกส่วนหนึ่งจะเป็น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่สถาบันกำหนด
ส่วนที่นายโคทม อารียา ทักท้วงว่า มีตัวแทนจากภาครัฐมากไปและภาคการเมืองน้อย เรื่องนี้ต้องดูที่องค์ประกอบอื่นๆ ด้วย เพราะคณะกรรมการชุดนี้ ไม่ใช่คณะกรรมการสมานฉันท์ระหว่างกลุ่มคนสองกลุ่ม แต่มาศึกษาประเด็นการปฏิรูปการเมือง ซึ่งต้องศึกษาหลายภาคส่วนของประเทศ
ส่วนที่มีปัญหาว่า พรรคฝ่ายค้าน และนปช. หรือกลุ่มคนเสื้อแดงไม่ยอมรับคณะกรรมการอิสระฯชุดนี้ ก็ต้องรอรัฐบาล และกรรมการสภาสถาบันพระปกเกล้า พิจารณาว่า จะทำอย่างไร ถ้ายังยืนยันว่าให้คณะกรรมการฯอิสระดำเนินการ ก็จะเดินหน้า เพราะการทำงาน จะฟังความเห็นจากทุกฝ่าย ทั้งที่อยู่ในคณะกรรมการอิสระฯและอยู่ภายนอก คงต้องพูดกันในวงกว้างว่า ที่ไม่เห็นด้วยมีกี่กลุ่ม เป็นแค่เฉพาะฝ่ายค้านหรือนปช.หรือไม่ ที่ต้องทำความเข้าใจคือ คณะกรรมการอิสระฯ ไม่ได้เป็นผู้ปฏิรูป ไม่ได้เป็นบุรุษไปรษณีย์ แต่เป็นผู้รวบรวมสังเคราะห์ปัญหา และเสนอข้อคิดเห็นที่เหมาะสมที่สุดกับสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยในอนาคต
ส่วนคนที่จะมีอำนาจดำเนินการปฏิรูปจากนั้นต่อไปคือ รัฐบาล รัฐสภา ดังนั้น วันนี้ถ้าฝ่ายค้านมาอยู่ในคณะกรรมการอิสระฯจะดีมาก แต่ถ้าไม่มา คณะกรรมการอิสระฯก็ต้องดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมติกรรมการสภาสถาบันพระปกเกล้า
ถ้า นปช.หรือฝ่ายค้านไม่ยอมรับที่ผมมาเป็นประธาน แต่ถ้ารัฐบาบและสภาบันพระปกเกล้าให้เดินหน้า ผมก็ต้องเดินหน้า ทั้งนี้ ผมไม่ใช่ผู้วิเศษ ที่จะดลบันดาลให้ทุกคนยอมรับได้ แต่ยืนยันว่า ผมตั้งใจทำงานเพื่อบ้านเมือง
ส่วนที่มีผู้ทักท้วงว่าเวลา 8 เดือนในการศึกษานั้นนานเกินไป นายสุจิต กล่าวว่า สามารถยืดหยุนได้ จะขายหรือลดเวลาขึ้นอยู่กับการทำงานของคณะกรรมการอิสระฯ ว่า ศึกษาเรื่องต่างๆลึกซึ้งแค่ไหน ถ้าลึกก็ทำเร็วไม่ได้ ทำลวกๆอาจทำให้โดนมองว่า ไม่ตั้งใจทำงาน แต่ถ้าทำช้าไป อาจโดนมองว่า เตะถ่วง สรุปคือ คณะกรรมการอิสระฯ จะไม่ลากยาวจนหาจุดจบไม่ได้ หรือจะไม่ทำเร็วไปเพราะจะไม่รอบคอบ
รายงานรายงานว่า ในการประชุมพรรคเพื่อไทย ซึ่งมีนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรค ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ส.ส.สัดส่วน และประธานส.ส.พรรค และนายวิทยา บุรณศิริ ประธานวิปฝ่ายค้าน ร่วมกันเป็นประธานในที่ประชุม ได้หยิบยก กรณีที่รัฐบาลมอบหมายให้สถาบันพระปกเกล้า เป็นเจ้าภาพในการปฎิรูปการเมือง ซึ่งส.ส.อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ส.ส.ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของรัฐบาลโดยเห็นว่าบุคคลที่เข้ามาดำเนินการนั้นไม่มีความเป็นกลางเพียงพอ ดังนั้นพรรคเพื่อไทยในฐานะฝ่ายค้านจะไม่ให้ความร่วมมือกับเรื่องนี้
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่าการปฏิรูปการเมือง เป็นการดำเนินการที่ลับลวงพราง เนื่องจากมีบุคคล 3 กลุ่มได้แก่ คนใหญ่โตในรัฐบาล กลุ่มคนสีเขียว และกลุ่มคนในสถาบันพระปกเกล้ ฯบางคนไปนัดหารือกันในโรงแรมแห่งหนึ่ง ซึ่งทั้งหมดแสดงให้เห็นว่าเป็นการเริ่มละครบทที่หนึ่งของละครน้ำเน่าเพื่อตบตาประชาชน จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลแสดงความจริงใจที่จะปฏิรูปการเมืองอย่างแท้จริง และขอให้นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าฯ เลิกทำพฤติกรรมที่เป็นเนติบริกร เลิกรับใช้เอาใจรัฐบาล แต่ขอให้นึกถึงประโยชน์ของประเทศมากกว่า
ด้านนางฐิติมา ฉายแสง ส.ส.ฉะเชิงเทรา พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ในฐานะที่ตนเป็นสิทธิ์เก่าสถาบันพระปกเกล้ารู้สึกไม่เห็นด้วยที่สถาบันพระปกเกล้า รับเป็นเจ้าภาพ เพราะที่ผ่านมาก่อนการรัฐประหาร19 ก.ย. 2549 สถาบันแห่งนี้ยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตยมาโดยตลอด แต่หลังการยึดอำนาจปรากฏว่า บุคคลกรบางคนในสถาบันกลับทำตัวคอยแต่รับใช้การเมืองโดยขาดความเป็นกลาง และยังไม่เป็นอิสระจาก คมช. จึงคิดว่าจะรวบรวมรายชื่อศิษย์เก่าของสถาบันเพื่อแสดงออกว่ายังมีคนที่ไม่เห็นด้วยกับพฤติกรรมเช่นนี้
นางฐิติมา กล่าวว่า การล่ารายชื่อนั้นเราไม่ได้หวังที่จะยื่นถอดถอนคณะกรรมการชุดนี้เพราะกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจไว้ แต่ต้องการแสดงให้สังคมเห็นว่า พรรคเพื่อไทยมีความเป็นประชาธิปไตย และเป็นการกดดันให้สถาบันเห็นว่า มีคนไม่เห็นด้วยกับพฤติกรรมอย่างนี้ และไม่ต้องการให้สถาบันตกเป็นเครื่องมือทางการเมือง