ASTVผู้จัดการรายวัน - ไฟเขียวสารพัดอัดเงินกู้แสนล้าน ครม.มาร์คตีตราอัดฉีดรัฐวิสาหกิจ อนุมัติกรอบเงินกู้ต่างประเทศ 2,000 ล้านเหรียญ "ขสมก.-รถไฟฟ้า-แอร์พอร์ตลิงค์" ได้เฮถ้วนหน้า ยังไม่พอ ธอส.ได้ 5 พันล้านเสริมสภาพคล่อง อ้างโครงการบ้านหลังแรก แถม กฟภ.เอี่ยวขอกู้ใช้หนี้ 4.5 พันล้าน ชี้กลุ่มเพื่อนเนวินรับเละ
การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (10 มี.ค.) เห็นชอบในหลักการกรอบเงินกู้ต่างประเทศจำนวน 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 70,000 ล้านบาท เพื่อเสนอต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยการขอกู้เงินจากธนาคารโลกจำนวน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จาก ธนาคารพัฒนาเอเชีย และ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของประเทศญี่ปุ่น อีกแห่งละ 500 ล้านเหรียญสหรัฐ วัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า กรอบวงเงินกู้ดังกล่าว คาดว่า ครึ่งหนึ่งจำนวน 1,000 ล้านดอลลาร์ จะมาจากธนาคารโลก โดยกระทรวงการคลังจะเริ่มเจรจาขอกู้เงินในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2552 เพื่อนำรายละเอียดกลับมาเสนอขออนุมัติต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) และรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ก่อนที่จะรวบรวมรายละเอียดเสนอให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาได้ ในช่วงก่อนสิ้นเดือนพฤษภาคม 2552 โดยคาดว่า สภาผู้แทนราษฎรจะผ่านการพิจารณาได้ในเดือนมิถุนายน 2552 หลังจากนั้น คาดว่า จะสามารถดำเนินการกู้เงินได้ในเดือนกันยายน 2552 ส่วนการกู้เงินจากเอดีบี และ ไจก้า แห่งละ 500 ล้านดอลลาร์ จะดำเนินการในเวลาใกล้เคียงกัน โดยเริ่มการเจรจาขอกู้เงินในเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกรกฎาคม 2552 หลังจากนั้น จะนำรายละเอียดกลับมาเสนอขออนุมัติต่อที่ประชุม ครม.และรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ซึ่งคาดว่าจะเสนอให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาได้ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2552 โดยคาดว่าจะผ่านการพิจารณาภายในเดือนสิงหาคม 2552 และจะสามารถเบิกจ่ายเงินกู้ได้ในเดือนกันยายน 2552
อัดเพิ่มแอร์พอร์ตลิงต์ 519 ล้าน
นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว ครม.อนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมรวมทั้งสิ้น 519 ล้านบาท ในโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมืองของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) หรือแอร์พอร์ตลิงก์ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ แยกเป็นงบประมาณเพิ่มเติม 115 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้ในในงานบริการที่ปรึกษาเพื่อควบคุมงานก่อสร้างที่ได้ขยายระยะเวลาออกไป และงบเพิ่มเติม 195 ล้านบาท เพื่อจ้างที่ปรึกษาวิศวกรอิสระมาทำหน้าที่ตรวจสอบรับรองประกันความมั่นคงและความปลอดภัยของระบบไฟฟ้า ซึ่งรัฐบาลจะเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่าย ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ตั้งแต่ปี 51-54
นอกจากนี้ยังเป็นวงเงินเพิ่มเติม 98 ล้านบาทเพื่อก่อสร้างทางเดินยกระดับเชื่อมต่อระหว่างสถานีพญาไท ของกทม.วงเงิน 11 ล้านบาท และสถานีเพชรบุรีของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) วงเงิน 87 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่าย ระยะเวลาดำเนินการ 15 เดือน
ครม.ยังรับทราบการปรับแบบฐานรากโครงการรถไฟยกระดับ เพื่อหลบหลีกระบบสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ ซึ่งมีค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นจากการปรับแบบฐานรากโครงการอีก 140.32 ล้านบาท โดยการประปานครหลวง (กปน.) เป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่าย 57.678 ล้านบาท และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เป็นผู้รับภารค่าใช้จ่าย 82.644 ล้านบาทด้วย
ครม.ยังขอให้รับข้อสังเกตของสำนักงบประมาณ ที่ได้ตั้งข้อสังเกตการของบประมาณเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น ควรสอดคล้องกับปริมาณงานตามสัญญาที่ดำเนินการได้จริง และแผนงานที่ปรับตามระยะเวลาที่ขยายออกไป ซึ่งเห็นว่าควรมอบให้รฟท.หารือร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาเพื่อให้ได้ข้อสรุปก่อนดำเนินการต่อไป รวมถึงค่าก่อสร้างทางเดินยกระดับเชื่อมต่อระหว่างสถานีพญาไทของ กทม. และสถานีเพชรบุรี ของรฟม. ที่เห็นว่าควรเป็นการลงทุนร่วมกันของผู้ประกอบการรถไฟฟ้า ที่ได้รับสัมปทานจากรฟท. รฟม.และกทม. ซึ่งเป็นผู้ได้รับประโยชน์ร่วมกัน
ขสมก.กู้ใช้หนี้น้ำมัน-ซ่อม 4 พันล้าน
ครม.เห็นชอบให้องค์การขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (ขสมก.) กู้เงินเพื่อชำระหนี้ค่าน้ำมันพร้อมดอกเบี้ยและหนี้ค่าเหมาซ่อมพร้อมดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจริงในปีงบประมาณ 2551 (กุมภาพันธ์-กันยายน 2551) ประกอบด้วยหนี้ค่าน้ำมันพร้อมดอกเบี้ย วงเงินไม่เกิน 3,073.740 ล้านบาท หนี้ค่าเหมาซ่อมพร้อมดอกเบี้ย วงเงินไม่เกิน 1,118.971 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นวงเงินไม่เกิน 4,192.711 ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ ขณะที่ ขสมก.รายงานผลการดำเนินงานและแบบเอกสารภาวะหนี้จนถึงวันที่ 30 มิ.ย.2551 วงเงินหนี้ 55,431.46 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นหนี้ระยะยาว ที่ประกอบด้วย หนี้หมุนเวียนค่าบริหารจัดการค่าซ่อมแซมอันเนื่องจากอุบัติเหตุฯลฯ ขณะเดียวกันนายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม ระบุว่า จะนำแผนการปฏิรูป ขสมก.ที่ดำเนินการเสร็จแล้ว เสนอ ครม.ในอีก 2 สัปดาห์ต่อไป
เพิ่มวงเงินกู้รถไฟฟ้าสีแดงหมื่นล้าน
ครม.เห็นชอบปรับกรอบวงเงินกู้โครงการระบบรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต)ตามความรับผิดชอบของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟม.) จาก 59,888 ล้านบาท เป็น 65,148 ล้านบาท ทั้งนี้ ในส่วนที่หนึ่ง (บางซื่อ-รังสิต) เป็นการเพิ่มค่างานโยธา งานไฟฟ้าและเครื่องกล งานรื้อย้าย งานจ้างที่ปรึกษา ภาษีมูลค่าเพิ่มโดยรัฐบาลจะรับผิดชอบในการดำเนินงาน วงเงิน 62,745 ล้านบาท และ (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) เพื่อเชื่อมรถเป็นระบบเดียวกัน ประกอบด้วยเครื่องไฟฟ้าและเครื่องจักรกล ค่าจ้างที่ปรึกษา ภาษมูลค่าเพิ่ม รวมกรอบวงเงิน 2,403 ล้านบาท โดยรัฐรับภาระค่าใช้จ่าย
โดยอนุมัติกรอบวงเงินอีก 10,400 ล้านบาทเพื่อให้ รฟท. ดำเนินการจัดหาตู้รถไฟฟ้าเพื่อใช้ในโครงการสายสีแดง ในการเดินรถสามารถเชื่อมเป็นระบบเดียวกันได้ ในช่วงบางซื่อ-รังสิต กรอบวงเงิน 6,560 ล้านบาท บางซื่อ-ตลิ่งชัน 3,840 ล้านบาท ขณะที่มอบให้กระทรวงคมนาคมไปดำเนินการกำหนดกรอบวงเงินจัดหาหัวรถจักรไฟฟ้าต่อไป
รายงานข่าวแจ้งว่า การลงนามเมื่อวันที่ 4 ก.ค.2551 มีหลักการสำคัญดังนี้ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่นหรือ ไจก้า เห็นว่า รฟท.ควรรวมค่างานการจัดซื้อตู้รถไฟฟ้าในการขอกู้เงินครั้งนี้ไว้ด้วย เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า เมื่อโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จจะมีขบวนรถไฟฟ้าเปิดให้บริการแก่ประชาชน อีกทั้งการออกแบบ การควบคุมเดินรถ ระบบการจ่ายไฟ และอื่นๆที่เกี่ยวข้องจะได้สอดคล้องกัน เป็นระบบที่สัมพันธ์กับผู้ผลิตตู้รถไฟฟ้า ซึ่งไจก้าได้กำหนดเงื่อนไขเป้นความสำคัญลำดับต้นๆในการพิจารณากู้เงินโครงการฯ ทั้งนี้ไจก้า ยังพิจารณาตัดค่างานไฟฟ้าและเครื่องกล ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ออกจากการกู้เงินด้วย
ทั้งนี้ มีแผนการดำเนินงาน โดยในเดือนมีนาคม 52 รัฐบาลและไจก้าจะลงนามในประกาศการกู้เงิน เม.ย.-มิ.ย.52 ขายเอกสารประกวดราคา ส.ค.-ต.ค.52 ยื่นซองประกวดราคา เชื่อว่าจะสามารถลงนามสัญญาว่าจ้างในเดือนก.ค.53 และเร่มก่อสร้างในเดือนกันยายน 2553
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรียังเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาและร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อดำเนินกิจการขนส่งมวลชน โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง เส้นทางบางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ และบางใหญ่-บางซื่อ จำนวน 4 ฉบับ
ธอส.กู้ 5 พันล้านเพิ่มสภาพคล่อง
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ครม.อนุมัติให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์กู้เงินในประเทศปีงบประมาณ 2552 จำนวน 5 พันล้านบาท โดยให้กระทรวงการคลังพิจารณาการวิธีการกู้เงิน และเงื่อนต่าง ๆเพื่อเป็นไปตามนโยบายสนับสนุนสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำให้แก่ผู้มีรายได้น้อย-ปานกลาง (โครงการบ้านหลังแรก) ทั้งนี้ ธอส.มีแผนให้กู้เงินบ้านหลังแรก 8,000 ล้านบาท และให้กู้ตามโครงการปกติ 5,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามระยะที่ผ่านมา ธอส.มีแนวทางติดตามเงินสินเชื่อและกำหนดเงินฝากตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ดังนั้นเพื่อเป็นการเสริมสภาพคล่องจึงขออนุมัติกู้เงินในประเทศเพื่อสนับสนุนโครงการบานหลังแรก
กฟภ.เอี่ยวกู้ใช้หนี้ 4.5 พันล้าน
นายศุภรัตน์ ควรหา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ครม.เห็นชอบให้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) กู้เงินระยะสั้นจากธนาคารทหารไทย วงเงิน 4,500 ล้านบาท เพื่อสำรองไว้เป็นเงินทุนในการเสริมสภาพคล่องในกรณีที่มีความจำเป็น เป็นระยะเวลา 1 ปี (มกราคม-ธันวาคม 2552) โดยกระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน ทั้งนี้ กฟภ.มีหนี้สะสมกว่า 2,000 ล้านบาท โดนเป็นหนี้ที่จะต้องชำระให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
ครม.ยังอนุมัติให้ กอ.รมน.เบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 งบกลาง รายงานเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินการจัดหาระบบเรือเหาะพร้อมกล้องตรวจการณ์กลางวัน/กลางคืน ในวงเงิน 350 ล้านบาท
นอกจากนี้ได้อนุมัติงบประมาณ 1,286,002,000 บาท ให้ กอ.รมน.เพื่อเป็นรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นรายการค่าตอบแทนพิเศษรายเดือนให้แก่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้เพิ่มอีก 1,500 บาทต่อคนต่อเดือน เป็น 2,500 บาทต่อคนต่อเดือน.
การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (10 มี.ค.) เห็นชอบในหลักการกรอบเงินกู้ต่างประเทศจำนวน 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 70,000 ล้านบาท เพื่อเสนอต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยการขอกู้เงินจากธนาคารโลกจำนวน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จาก ธนาคารพัฒนาเอเชีย และ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของประเทศญี่ปุ่น อีกแห่งละ 500 ล้านเหรียญสหรัฐ วัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า กรอบวงเงินกู้ดังกล่าว คาดว่า ครึ่งหนึ่งจำนวน 1,000 ล้านดอลลาร์ จะมาจากธนาคารโลก โดยกระทรวงการคลังจะเริ่มเจรจาขอกู้เงินในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2552 เพื่อนำรายละเอียดกลับมาเสนอขออนุมัติต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) และรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ก่อนที่จะรวบรวมรายละเอียดเสนอให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาได้ ในช่วงก่อนสิ้นเดือนพฤษภาคม 2552 โดยคาดว่า สภาผู้แทนราษฎรจะผ่านการพิจารณาได้ในเดือนมิถุนายน 2552 หลังจากนั้น คาดว่า จะสามารถดำเนินการกู้เงินได้ในเดือนกันยายน 2552 ส่วนการกู้เงินจากเอดีบี และ ไจก้า แห่งละ 500 ล้านดอลลาร์ จะดำเนินการในเวลาใกล้เคียงกัน โดยเริ่มการเจรจาขอกู้เงินในเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกรกฎาคม 2552 หลังจากนั้น จะนำรายละเอียดกลับมาเสนอขออนุมัติต่อที่ประชุม ครม.และรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ซึ่งคาดว่าจะเสนอให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาได้ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2552 โดยคาดว่าจะผ่านการพิจารณาภายในเดือนสิงหาคม 2552 และจะสามารถเบิกจ่ายเงินกู้ได้ในเดือนกันยายน 2552
อัดเพิ่มแอร์พอร์ตลิงต์ 519 ล้าน
นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว ครม.อนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมรวมทั้งสิ้น 519 ล้านบาท ในโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมืองของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) หรือแอร์พอร์ตลิงก์ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ แยกเป็นงบประมาณเพิ่มเติม 115 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้ในในงานบริการที่ปรึกษาเพื่อควบคุมงานก่อสร้างที่ได้ขยายระยะเวลาออกไป และงบเพิ่มเติม 195 ล้านบาท เพื่อจ้างที่ปรึกษาวิศวกรอิสระมาทำหน้าที่ตรวจสอบรับรองประกันความมั่นคงและความปลอดภัยของระบบไฟฟ้า ซึ่งรัฐบาลจะเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่าย ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ตั้งแต่ปี 51-54
นอกจากนี้ยังเป็นวงเงินเพิ่มเติม 98 ล้านบาทเพื่อก่อสร้างทางเดินยกระดับเชื่อมต่อระหว่างสถานีพญาไท ของกทม.วงเงิน 11 ล้านบาท และสถานีเพชรบุรีของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) วงเงิน 87 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่าย ระยะเวลาดำเนินการ 15 เดือน
ครม.ยังรับทราบการปรับแบบฐานรากโครงการรถไฟยกระดับ เพื่อหลบหลีกระบบสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ ซึ่งมีค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นจากการปรับแบบฐานรากโครงการอีก 140.32 ล้านบาท โดยการประปานครหลวง (กปน.) เป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่าย 57.678 ล้านบาท และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เป็นผู้รับภารค่าใช้จ่าย 82.644 ล้านบาทด้วย
ครม.ยังขอให้รับข้อสังเกตของสำนักงบประมาณ ที่ได้ตั้งข้อสังเกตการของบประมาณเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น ควรสอดคล้องกับปริมาณงานตามสัญญาที่ดำเนินการได้จริง และแผนงานที่ปรับตามระยะเวลาที่ขยายออกไป ซึ่งเห็นว่าควรมอบให้รฟท.หารือร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาเพื่อให้ได้ข้อสรุปก่อนดำเนินการต่อไป รวมถึงค่าก่อสร้างทางเดินยกระดับเชื่อมต่อระหว่างสถานีพญาไทของ กทม. และสถานีเพชรบุรี ของรฟม. ที่เห็นว่าควรเป็นการลงทุนร่วมกันของผู้ประกอบการรถไฟฟ้า ที่ได้รับสัมปทานจากรฟท. รฟม.และกทม. ซึ่งเป็นผู้ได้รับประโยชน์ร่วมกัน
ขสมก.กู้ใช้หนี้น้ำมัน-ซ่อม 4 พันล้าน
ครม.เห็นชอบให้องค์การขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (ขสมก.) กู้เงินเพื่อชำระหนี้ค่าน้ำมันพร้อมดอกเบี้ยและหนี้ค่าเหมาซ่อมพร้อมดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจริงในปีงบประมาณ 2551 (กุมภาพันธ์-กันยายน 2551) ประกอบด้วยหนี้ค่าน้ำมันพร้อมดอกเบี้ย วงเงินไม่เกิน 3,073.740 ล้านบาท หนี้ค่าเหมาซ่อมพร้อมดอกเบี้ย วงเงินไม่เกิน 1,118.971 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นวงเงินไม่เกิน 4,192.711 ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ ขณะที่ ขสมก.รายงานผลการดำเนินงานและแบบเอกสารภาวะหนี้จนถึงวันที่ 30 มิ.ย.2551 วงเงินหนี้ 55,431.46 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นหนี้ระยะยาว ที่ประกอบด้วย หนี้หมุนเวียนค่าบริหารจัดการค่าซ่อมแซมอันเนื่องจากอุบัติเหตุฯลฯ ขณะเดียวกันนายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม ระบุว่า จะนำแผนการปฏิรูป ขสมก.ที่ดำเนินการเสร็จแล้ว เสนอ ครม.ในอีก 2 สัปดาห์ต่อไป
เพิ่มวงเงินกู้รถไฟฟ้าสีแดงหมื่นล้าน
ครม.เห็นชอบปรับกรอบวงเงินกู้โครงการระบบรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต)ตามความรับผิดชอบของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟม.) จาก 59,888 ล้านบาท เป็น 65,148 ล้านบาท ทั้งนี้ ในส่วนที่หนึ่ง (บางซื่อ-รังสิต) เป็นการเพิ่มค่างานโยธา งานไฟฟ้าและเครื่องกล งานรื้อย้าย งานจ้างที่ปรึกษา ภาษีมูลค่าเพิ่มโดยรัฐบาลจะรับผิดชอบในการดำเนินงาน วงเงิน 62,745 ล้านบาท และ (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) เพื่อเชื่อมรถเป็นระบบเดียวกัน ประกอบด้วยเครื่องไฟฟ้าและเครื่องจักรกล ค่าจ้างที่ปรึกษา ภาษมูลค่าเพิ่ม รวมกรอบวงเงิน 2,403 ล้านบาท โดยรัฐรับภาระค่าใช้จ่าย
โดยอนุมัติกรอบวงเงินอีก 10,400 ล้านบาทเพื่อให้ รฟท. ดำเนินการจัดหาตู้รถไฟฟ้าเพื่อใช้ในโครงการสายสีแดง ในการเดินรถสามารถเชื่อมเป็นระบบเดียวกันได้ ในช่วงบางซื่อ-รังสิต กรอบวงเงิน 6,560 ล้านบาท บางซื่อ-ตลิ่งชัน 3,840 ล้านบาท ขณะที่มอบให้กระทรวงคมนาคมไปดำเนินการกำหนดกรอบวงเงินจัดหาหัวรถจักรไฟฟ้าต่อไป
รายงานข่าวแจ้งว่า การลงนามเมื่อวันที่ 4 ก.ค.2551 มีหลักการสำคัญดังนี้ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่นหรือ ไจก้า เห็นว่า รฟท.ควรรวมค่างานการจัดซื้อตู้รถไฟฟ้าในการขอกู้เงินครั้งนี้ไว้ด้วย เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า เมื่อโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จจะมีขบวนรถไฟฟ้าเปิดให้บริการแก่ประชาชน อีกทั้งการออกแบบ การควบคุมเดินรถ ระบบการจ่ายไฟ และอื่นๆที่เกี่ยวข้องจะได้สอดคล้องกัน เป็นระบบที่สัมพันธ์กับผู้ผลิตตู้รถไฟฟ้า ซึ่งไจก้าได้กำหนดเงื่อนไขเป้นความสำคัญลำดับต้นๆในการพิจารณากู้เงินโครงการฯ ทั้งนี้ไจก้า ยังพิจารณาตัดค่างานไฟฟ้าและเครื่องกล ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ออกจากการกู้เงินด้วย
ทั้งนี้ มีแผนการดำเนินงาน โดยในเดือนมีนาคม 52 รัฐบาลและไจก้าจะลงนามในประกาศการกู้เงิน เม.ย.-มิ.ย.52 ขายเอกสารประกวดราคา ส.ค.-ต.ค.52 ยื่นซองประกวดราคา เชื่อว่าจะสามารถลงนามสัญญาว่าจ้างในเดือนก.ค.53 และเร่มก่อสร้างในเดือนกันยายน 2553
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรียังเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาและร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อดำเนินกิจการขนส่งมวลชน โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง เส้นทางบางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ และบางใหญ่-บางซื่อ จำนวน 4 ฉบับ
ธอส.กู้ 5 พันล้านเพิ่มสภาพคล่อง
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ครม.อนุมัติให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์กู้เงินในประเทศปีงบประมาณ 2552 จำนวน 5 พันล้านบาท โดยให้กระทรวงการคลังพิจารณาการวิธีการกู้เงิน และเงื่อนต่าง ๆเพื่อเป็นไปตามนโยบายสนับสนุนสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำให้แก่ผู้มีรายได้น้อย-ปานกลาง (โครงการบ้านหลังแรก) ทั้งนี้ ธอส.มีแผนให้กู้เงินบ้านหลังแรก 8,000 ล้านบาท และให้กู้ตามโครงการปกติ 5,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามระยะที่ผ่านมา ธอส.มีแนวทางติดตามเงินสินเชื่อและกำหนดเงินฝากตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ดังนั้นเพื่อเป็นการเสริมสภาพคล่องจึงขออนุมัติกู้เงินในประเทศเพื่อสนับสนุนโครงการบานหลังแรก
กฟภ.เอี่ยวกู้ใช้หนี้ 4.5 พันล้าน
นายศุภรัตน์ ควรหา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ครม.เห็นชอบให้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) กู้เงินระยะสั้นจากธนาคารทหารไทย วงเงิน 4,500 ล้านบาท เพื่อสำรองไว้เป็นเงินทุนในการเสริมสภาพคล่องในกรณีที่มีความจำเป็น เป็นระยะเวลา 1 ปี (มกราคม-ธันวาคม 2552) โดยกระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน ทั้งนี้ กฟภ.มีหนี้สะสมกว่า 2,000 ล้านบาท โดนเป็นหนี้ที่จะต้องชำระให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
ครม.ยังอนุมัติให้ กอ.รมน.เบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 งบกลาง รายงานเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินการจัดหาระบบเรือเหาะพร้อมกล้องตรวจการณ์กลางวัน/กลางคืน ในวงเงิน 350 ล้านบาท
นอกจากนี้ได้อนุมัติงบประมาณ 1,286,002,000 บาท ให้ กอ.รมน.เพื่อเป็นรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นรายการค่าตอบแทนพิเศษรายเดือนให้แก่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้เพิ่มอีก 1,500 บาทต่อคนต่อเดือน เป็น 2,500 บาทต่อคนต่อเดือน.