ASTVผู้จัดการรายวัน - ทูตอังกฤษชี้รัฐบาลมาร์คแก้ปัญหาถูกทาง เผยเหตุผลที่ผู้นำอังกฤษเชิญผู้นำไทยในฐานะประธานอาเซียนเข้าร่วมประชุม G-20 ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ เพราะให้ความสำคัญประเทศในกลุ่มอาเซียนที่จะร่วมมือกันแก้ปัญหาเศรษฐกิจ แนะอย่าต่างคนต่างทำ เสื้อแดงฟังไว้ ข่าวเปลี่ยนสัญชาติเพื่อขอวีซ่าเข้าอังกฤษแค่ข่าวลือ!! "กษิต" แสดงความห่วงใยกับทูตอังกฤษต่อการเคลื่อนไหวของ "ใจ อึ๊งภากรณ์" ที่เข้าข่ายหมิ่นเบื้องสูง ขณะที่อัยการบอกคาดหวังยากที่จะได้ตัวทักษิณกลับมาดำเนินคดี นายกฯ นำทีม ศก.สวนแม้วกรณีโฟนอินโจมตีการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ยันกู้เงินโปร่งใส ใช้กระตุ้นเศรษฐกิจไม่ใช่สร้างหนี้รากหญ้าจนมีปัญหาเรื้อรัง "เทพเทือก" ชี้แม้วเป็นข่าวเพราะสื่อไปให้ราคา
นายควินตัน เควลย์ เอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการรายวัน ถึงการประชุมสุดยอดลอนดอน เพื่อความมั่นคง การเติบโต และการสร้างงาน ( THE LONDON SUMMIT 2009 STABILITY GROWTH JOBS) หรือ G-20 ว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ของไทย จะเดินทางไปร่วมประชุม ระหว่างวันที่ 1-3 เม.ย. 2552 ในฐานะที่ไทยเป็นประธานอาเซียน โดยจะหารือกันถึงผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ที่ไทยเป็นเจ้าภาพเมื่อวันที่ 27 ก.พ.-1 มี.ค.ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ระหว่างวันที่ 12-14 มี.ค.นี้ นายอภิสิทธิ์ ได้รับเชิญในฐานะแขกของรัฐบาลอังกฤษ โดยนายกอร์ดอน บราวน์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ อยากจะฟังผลสรุปในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ซึ่งการหารือกันครั้งนี้นายอภิสิทธิ์ สามารถนำมาหารือกับประเทศในกลุ่มอาเซียนได้รับทราบ และนำข้อเสนอของกลุ่มประเทศอาเซียนกลับไปเสนอต่อที่ประชุมG-20 ได้
นายเควลย์ กล่าวว่า เรายินดีมากที่ประเทศอาเซียนได้ออกแถลงการณ์ต่อต้าน การกีดกันทางการค้าและการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งเราแน่ใจว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ หากทุกประเทศมีส่วนร่วม เราต้องประสานงานกัน ไม่ใช่แต่ละประเทศพยายามแก้ไขปัญหาของประเทศตัวเอง ถึงเวลาเราต้องมาร่วมมือกัน
นายเควลย์ กล่าวว่า ในการเยือนอังกฤษของนายกรัฐมนตรีไทย ในวันที่ 13 มี.ค.จะมีการจัดงานเลี้ยงที่พระราชวังบั๊กกิ้งแฮม ซึ่งเจ้าฟ้าชายแอนดรู ทรงเป็นเจ้าภาพ มีนักธุรกิจชั้นนำของอังกฤษหลายท่านมาร่วม โดยเฉพาะบริษัทที่มาลงทุนในประเทศไทย บริษัทหนึ่งประมาณ 5 พันล้านเหรียญ อย่างเช่น เทสโก้ฯ ซึ่งมีสาขาประมาณ 500 แห่งในประเทศไทย มีพนักงานมากถึง 36,000 คน ซึ่งจะตรงตามเป้าหมาย ที่นายอภิสิทธิ์ พูดไว้ คือประเทศไทยต้องการให้นักธุรกิจมาลงทุนมากขึ้นและวันนี้ตลาดใหญ่ของไทยคือยุโรป หากเศรษฐกิจถดถอยการส่งออกของไทยจะน้อยลง
เวลานี้ทุกประเทศได้ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก แม้แต่ประเทศไทย ซึ่งในปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยได้ขยายตัวอย่างดี แต่ต่อไปมั่นใจว่าจะได้รับผลกระทบเช่นกัน เพราะการส่งสินค้าออกมีส่วนรั่วไหลของจีดีพีถึงร้อยละ 10 การท่องเที่ยว ร้อยละ 8 ฉะนั้นหากเศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะถดถอยจะมีนักท่องเที่ยวน้อยลง การลงทุนจะน้อยลง ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบมากหรือน้อยแล้วแต่การประชุมสุดยอดลอนดอน ถ้าประสบความล้มเหลววิกฤติเศรษฐกิจจะแย่ลงในทุกประเทศ แต่ถ้าประสบความสำเร็จ เชื่อว่า วิกฤติเศรษฐกิจจะอยู่ไม่นาน อาจจะ 1-2 ปี จะดีขึ้น
***EUสนใจอาเซียนเชิญมาร์คร่วมG-20
นายเควลย์ กล่าวว่า ประเด็นการหารือการประชุมสุดยอดลอนดอนจะมุ่งเน้นถึง แผนงานในระดับโลกเพื่อดำเนินการต่างๆ ที่ประสานสอดคล้องกันของนานาประเทศ เพื่อฟื้นฟูเสถียรภาพ และทำให้เกิดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ซึ่งรวมถึง แผนปฎิบัติการในด้านต่างๆ ได้แก่ การกระตุ้นเศรษฐกิจโลกและช่วยลดความรุนแรง และลดระยะเวลาของภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่โลกกำลังเผชิญอยู่ ขับเคลื่อนกลไก การปล่อยเงินกู้ สินเชื่อธนาคาร เพื่อให้ภาคธุรกิจและภาคประชาชนสามารถกู้เงิน ได้อีกครั้งและเพื่อให้ธุรกิจมีเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการลงทุนในอนาคต ต่อต้านการกีดกันทางการค้าโดยให้มีกลไกที่โปร่งใส ในกรอบการตรวจสอบและมีมาตรการเพื่อให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงแหล่งเงินเพื่อสนับสนุนการค้าระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น ปฎิรูปกฎระเบียบระหว่างประเทศต่างๆ เพื่อจัดช่องว่าง หรือความเหลื่อมล้ำเกี่ยวกับกฎระเบียบต่างๆ ปฎิรูปสถาบันการเงินระหว่างประเทศ รวมทั้งสร้างระบบเตือนภัยระหว่างประเทศที่ดี ด้วยการเสริมบทบาทกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ให้แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น ประสานการดำเนินการระหว่างประเทศ ในอันที่จะหลอมโลกของวันพรุ่งนี้ ตั้งแต่วันนี้บนพื้นฐานของความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้โลกเติบโตอย่างมั่นคงและส่งผลดีต่อผู้ยากไร้ ในสังคมอีกด้วย
นายควินทัน เควลย์ กล่าวว่า เหตุผลที่เชิญผู้นำประเทศไทยไปนั้น เป็นเพราะต้องการจะรับฟังความคิดเห็นของประเทศในกลุ่มอาเซียน ซึ่งในอดีต ไม่มีการเชิญมาก่อน นอกจากประเทศอินโดนีเซียน ประธานอาเซียนจะไม่เคยได้รับการเชิญจากเวทีนี้ แต่นายอภิสิทธิ์ ได้ไปถึงสองครั้งน่าจับตามองมาก ที่สำคัญมันสะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มประเทศยุโรปเริ่มให้ความสำคัญกับประเทศอาเซียนมากขึ้น ซึ่งอาเซียนมีประชาชนมากถึง 550 ล้านคนและอาเซียนมีความร่วมมือกันมากขึ้น น่าจับตามองของเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ ฉะนั้นเพื่อที่จะหาทางออกที่ดีอาเซียน ต้องมีส่วนร่วมด้วย เราจึงอยากจะฟังไอเดียของอาเซียนที่ผ่านมาทางประธานอาเซียนคือนายอภิสิทธิ์
***ระบุแก้ ศก.โลกต้องมีหลักสูตรโลก
นายควินทัน เควลย์ มองแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ ว่า ดำเนินไปด้วยดีแล้ว แต่การจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จากปัญหาที่เกิดขึ้น ในไทยและทุกๆ ประเทศ แต่ละประเทศใช้หลักสูตรของเขาเองไม่มีการประสานงานกัน แนวทางการแก้ไขปัญหาไม่เหมือนกัน หากเรามีการวางแผน เชื่อว่าเศรษฐกิจ นานาชาติจะดีขึ้น เราได้แก้ปัญหาเฉพาะเศรษฐกิจในไทย แต่มันคือปัญหาเศรษฐกิจโลก ฉะนั้นต้องมีหลักสูตรโลก
ในฐานะที่ผมเป็นคนรักเมืองไทย อยู่ในหน้าที่นี้มารอบที่สอง ผมเชื่อมั่นในความมั่นคงของประเทศไทย ผมรู้สึกเสียใจมากที่มีปัญหาความวุ่นวายเกิดขึ้นเมื่อ 1-2 ปีทีแล้วในกรณีที่ใช้ความรุนแรง แต่ตอนนี้รู้สึกดีใจมากขึ้นที่สถานการณ์สงบ ดีขึ้น และหวังว่าทุกฝ่าย ทุกท่านจะร่วมมือ เพื่อช่วยประเทศชาติหาทางออกที่ดีและผมมั่นใจว่าประเทศไทยจะประสบปัญหาทางเศรษฐกิจในช่วงเวลาที่กำลังจะมา โดยเฉพาะปัญหาการว่างงานและการท่องเที่ยวจะได้รับผลกระทบ แต่จะมากน้อยอยู่ที่รัฐบาลจะหาทางออกที่ดี
สำหรับกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่จะเปลี่ยนสัญชาติไทยไปเป็นสัญชาติอื่น รัฐบาลอังกฤษจะทบทวนการขอวิซ่าเข้าอังกฤษหรือไม่นั้น นายเควลย์ กล่าวว่า หลายคนถามมากในเรื่องนี้ ตนก็บอกว่าอย่าไปเชื่อถือข่าวลือ ถ้าเป็นข่าวลือ ไม่ต้องไปเชื่อถือ และผมเองก็คงไม่มีสิทธิ์ที่จะออกความคิดเห็นเรื่องการขอวีซ่า ของแต่ละคน เพราะเป็นเรื่องส่วนตัวของแต่ละคน แต่ถ้าถามว่าจริงหรือไม่ในเรื่องนี้ บอกได้อย่างเดียวเป็นข่าวลือ
***ไทยแจงทูตอังกฤษห่วงใจหมิ่นฯ
นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ภายหลัง นายควินตัน เควลย์ เอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย เข้าพบถึงความเคลื่อนไหวของ นายใจ อึ๊งภากรณ์ นักวิชาการ ที่เคลื่อนไหวในอังกฤษ โดยออกแถลงการณ์ ที่มีเนื้อหา โจมตีสถาบันเบื้องสูงว่า หลังจากที่ได้อ่านถ้อยแถลงของนายใจ แล้ว เห็นว่านายใจ ต้องการให้ประเทศไทยเป็นสาธารณรัฐ ก็ไม่ว่ากัน แต่ถ้านายใจ ดำเนินการใดๆ ที่มีนัยล้มล้างสังคมประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ก็ต้องต่อสู้กัน
ถ้าใช้เวทีที่อังกฤษ มาปฏิบัติการที่ไม่ค่อยงามต่อสังคมไทย ผมก็ได้แสดงความห่วงใยไปกับทูตอังกฤษ ให้นำไปพิจารณาว่า การดำเนินการของนายใจ มีความเหมาะสมหรือไม่ เพราะถือเป็นเรื่องภายในของอังกฤษ ที่จะดำเนินการ แต่ด้วยความเป็นมิตรประเทศ มีอะไรที่เป็นความในใจ ก็ต้องปรึกษาหารือกัน ส่วนจะได้ผลหรือไม่เป็นเรื่องของอังกฤษ เพราะเชื่อว่า อ่านสิ่งที่นายใจ เขียนรู้เรื่อง และอังกฤษมีนักการเมือง สามารถตีความได้ว่า สิ่งที่ นายใจ พูด จะพยายามหาแนวร่วมที่มีพฤติกรรมบ่งบอกทางการเมืองได้หรือไม่
ส่วนจะต้องทำหนังสือชี้แจงต่ออังกฤษ กรณีการเคลื่อนไหวของนายใจหรือไม่นั้น นายกษิต กล่าวว่า ไม่ต้องชี้แจง เพราะพบกับคณะทูตเป็นระยะ ๆ บอกได้ว่าอะไรเป็นอะไร ไม่ว่าจะเป็นกรณีของนายใจ หรือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เราพูดกันอยู่ เพราะทั้ง 2 คนนี้ ยังหนีคดีกันอยู่
ส่วนกรณีที่สื่อฮ่องกง รายงานข่าวเรื่องสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่าง สองประเทศใกล้บรรลุแล้ว ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรนั้น นายกษิต กล่าวว่า เราเริ่มเจรจา สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนมาหลายปีแล้ว และเริ่มกันใหม่ต่อเนื่องกับสิ่งที่คั่งค้างอยู่ ซึ่งเรื่องนี้อยู่ที่ฝ่ายกฎหมาย อย่างไรก็ตาม การดำเนินการเรื่องสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน ไม่ได้เลือกปฏิบัติ ผู้ร้ายหนีไปที่ไหนก็ต้องไปตามจับมา
หากฮ่องกงจับตัว พ.ต.ท.ทักษิณมาให้ไทยถือเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ไม่ได้เป็นการกลั่นแกล้ง แต่เป็นการทำตามหน้าที่
ด้านนายเควลย์ กล่าวว่า ารเยือนอังกฤษของนายอภิสิทธิ์ ซึ่งจะได้เข้าพบ นายกอร์ดอน พราวน์ นายกรัฐมนตีอังกฤษ คงไม่พูดถึงคนที่ที่ต้องคดีมาเคลื่อนไหว ในอังกฤษ และส่วนตัวก็ไม่เห็นว่ามีอะไรที่ยิ่งใหญ่
ผู้สื่อข่าวถามว่าอังกฤษจะควบคุมดูแลการเคลื่อนไหวนี้อย่างไร เพราะการเคลื่อนไหวของนายใจ ในอังกฤษ สร้างความหนักใจให้กับรัฐบาลไทย นายควินตัน เควลย์ กล่าวว่า เราเป็นประเทศที่เปิดประตูกว้าง มีนักเคลื่อนไหวหลายคน จากหลายประเทศ ถ้าไม่มีอะไรที่ผิดกฎหมายอังกฤษ เราก็ไม่ขัดข้อง ทุกคนมีอิสรภาพ ที่จะแสดงความเห็นของตัวเอง
ส่วนกรณีที่มีข่าวระบุว่า อังกฤษให้วีซ่าแก่ พ.ต.ท.ทักษิณ นั้น นายควินตัน เควลย์ กล่าวว่า เคยพูดไปชัดเจนแล้วว่าอย่าเชื่อถือข่าวลือ
***อัยการนัดร่างสนธิสัญญาขอตัวแม้ว
นายศิริศักดิ์ ติยะพรรณ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีต่างประเทศ เปิดเผยถึงการ ติดตามตัว พ.ต.ท.ทักษิณ มารับโทษในประเทศไทยว่า คณะทำงานร่วมของกระทรวงการต่างประเทศ และอัยการ กำลังเร่งประสานกับทางการฮ่องกง โดยเตรียมนัดวันเพื่อเจรจาเบื้องต้นเรื่องการร่างสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างกันในเร็วๆ นี้
การเร่งเจรจาสนธิสัญญาผู้ร้ายข้ามแดนกับทางการฮ่องกงในช่วงนี้ ไม่ได้มุ่งกลั่นแกล้ง หรือมีเป้าหมายจับกุมตัว พ.ต.ท.ทักษิณ เท่านั้น เพราะก่อนหน้านี้ รัฐบาลไทย และฮ่องกง เคยมีการประสานงานกันเรื่องการร่างสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน มาแล้ว เมื่อหลายปีก่อนแต่เรื่องต้องระงับไป เพราะขาดกฎหมายรองรับ จนเมื่อ พ.ร.บ. ผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้ จึงทำให้สามารถประสานความร่วมมือ กันได้อีกครั้ง อีกทั้งจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีการยืนยันจาก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ อยู่ที่ไหนมีเพียงกระแสข่าวว่าพักอาศัยอยู่ในฮ่องกงเท่านั้น
นายศิริศักดิ์ กล่าวว่า สำหรับสาระสำคัญในร่างสนธิสัญญาความร่วมมือ การส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับฮ่องกงนั้น น่าจะเหมือนกับหลายๆประเทศที่ประเทศไทย เคยทำไว้ เช่น ความผิดที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยได้กระทำความผิดจะต้องเป็นมูลฐานความผิดที่มีโทษจำคุกทั้ง 2 ประเทศ และหากเป็นคดีการเมืองจะไม่อนุญาตให้ส่งผู้ต้องหาหรือจำเลยกลับประเทศ ซึ่งเป็นไปตามหลักการสากล
ส่วนภายหน้าหากร่างสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายระหว่างไทยกับฮ่องกงเสร็จสิ้นแล้วจะมีผลบังคับใช้ย้อนหลังในการติดตามจับกุม พ.ต.ท.ทักษิณ ที่กระทำความผิด ก่อนที่สนธิสัญญามีผลบังคับใช้นั้น จะต้องเจรจาตกลงกับฮ่องกงก่อนว่าจะกระทำได้หรือไม่ และยังมีอีกหลายประเด็นที่สองฝ่ายจะเจรจากัน
***ยอมรับคาดหวังยากได้ตัวทักษิณ
ถามว่ามีหวังแค่ไหนที่จะได้ตัว พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาดำเนินคดี คงตอบไม่ได้ และคาดหวังยาก การทำงานเรื่องนี้จะต้องทำไปตามขั้นตอนหลักเกณฑ์ และมีปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ หลายปัจจัย ที่สำคัญสิทธิขาดในการส่งตัวยังขึ้นอยู่กับประเทศที่เราร้องขอ
นายศิริศักดิ์ กล่าวว่า ขณะนี้ไทยมีสนธิสัญญาความร่วมมือการส่งผู้ร้าย ข้ามแดนกับประเทศต่างๆ หลายสิบประเทศ แต่คงไม่สามารถดำเนินงานแบบเชิงรุก โดยการประสานกับทุกๆ ประเทศที่มีข่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางไปได้ ถึงแม้ประเทศเหล่านั้นจะมีภาระความผูกพันที่จะต้องพิจารณาหนังสือคำร้องของไทยก็ตาม เนื่องจากยังไม่ทราบที่อยู่ที่เป็นหลักแหล่งของบุคคลที่ต้องการตัว แต่ถ้าอัยการได้ที่อยู่อย่างเป็นทางการแล้วก็สามารถดำเนินการได้ และประเทศคู่สัญญาจะต้องพิจารณาดำเนินการให้
**ซัดแม้วตัวกู้สร้างหนี้คนจน
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า แม้ใน อดีต พ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้ใช้วิธีกู้เงินในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ แต่ก็ใช้วิธีกูเงินนอกระบบ ไม่เปิดเผยให้ประชาชนรู้ ใช้วิธีให้ประชาชนเป็นผู้แบกภาระหนี้ ด้วยการออก โครงการต่างๆ ให้ประชาชนเป็นผู้กู้กับธนาคารพานิชย์ ธนาคารออมสิน และอื่นๆ ทำให้ภาคประชาชนมีตัวเลขหนี้ มีภาระหนี้สินสูงมาก ต่างกับรัฐบาลชุดนี้ ทำงานเปิดเผยโปร่งใส มีกรอบแผนชัดเจนทั้งการตั้งงบประมาณปี 2553 แนวทางการกู้เงิน และการใช้เงินกระตุ้นเศรษฐกิจ รัฐบาลดูแลเงินส่งถึงมือประชาชน และไม่มีแนวทางผลักภาระให้ประชาชน ฉะนั้นสิ่งที่พ.ต.ท.ทักษิณพูดไม่เป็นความจริงทั้งหมด
ส่วนที่พ.ต.ท.ทักษิณ ระบุว่าสามารถหาเงิน 2.5 แสนล้านได้โดยไม่ต้องกู้เงินนั้น ท่านจากประเทศไทยไปเกือบ 2 ปี คงลืมไปว่าจะไปทำอะไรที่ผูกพันกับประเทศต้องผ่านรัฐสภา ต้องขอกรอบจากสภาก่อนไปเจรจา แม้จะไปใช้คอนเนกชั่นส่วนตัว และแบบนั้นอาจแย่กว่าการกู้จากไอเอ็มเอฟ เพราะไม่รู้ว่าเราต้องไปชดใช้อะไรให้เขา
*** มาร์คนำทีม ศก.ยันกู้เงินโปร่งใส
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวตอบโต้กรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กรณีโฟนอินโจมตีพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ว่า สถานการณ์เศรษฐกิจในขณะนี้เกิดวิกฤตขึ้นทั่วโลก ดังนั้นรัฐบาลจึงจำเป็นต้องจัดทำงบประมาณขาดดุล และจำเป็นต้องกู้เงินมาช่วยเหลือประชาชน แม้การจัดเก็บรายได้ของรัฐจะต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ แต่รัฐบาลจะพยายามรักษากำลังซื้อภายในประเทศไม่ให้หดตัวลง ผมยืนยันว่าเราจะทำงานด้วยความรับผิดชอบ ตัวเลขทุกอย่างต้องเป็นไปด้วยความโปร่งใส และอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง
"สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป เกิดวิกฤตเศรษฐกิจรุนแรงในปีนี้ โดยมีผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก ทุกประเทศต่างเร่งแก้ปัญหาเหมือนกัน จึงไม่สามารถเปรียบเทียบกับช่วงที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เข้ามาบริหารประเทศได้ และไม่เชื่อว่าถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ เข้ามาเป็นรัฐบาลในช่วงนี้จะไม่ต้องกู้เงินเช่นกัน"
ทั้งนี้ การที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะไปขอกู้เงินจากต่างประเทศจำนวน 7 หมื่นล้านบาทนั้น ถือเป็นความจำเป็น เพื่อนำมาใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศไม่ให้ชะลอตัวลง และไม่ว่าใครเข้ามาเป็นรัฐบาลก็ต้องกู้เงินจากต่างประเทศเช่นกัน
"สมัยท่าน (ทักษิณ) อยู่ไม่ได้กู้เงินก็จริง แต่สิ่งที่ท่านทำไว้ให้ประชาชนกู้เยอะ ทำให้ประชาชนเป็นหนี้ สิ่งที่รัฐบาลกำลังทำอยู่คือการกู้เงินมาช่วยเหลือประชาชน และผมไม่เชื่อ (ว่าท่านจะไม่กู้เงิน) สิ่งที่ท่านทำไม่ได้เก็บเงินไว้ให้ผมมีใช้"
นายกรัฐมนตรียังเชื่อว่า ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจะไม่ส่งผลกระทบไปจนถึงไตรมาส 3 ของปีนี้ แม้ตัวเลขที่ออกมาจะดูแย่ในทุกเรื่อง โดยมั่นใจรัฐบาลจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ นอกจากนี้ การขยายฐานภาษีก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการหารายได้ แต่จะไม่ให้เกิดผลกระทบกับประชาชน
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ที่ผ่านมารัฐบาลแก้ไขปัญหาอย่างเต็มที่ ซึ่งการใช้งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจ ถือว่าถูกจุดแล้ว การที่อดีตนายกฯ ออกมากล่าวหารัฐบาลว่า แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจไม่ตรงจุดนั้น ก็ถือเป็นเรื่องที่สามารถกระทำได้ ในการแสดงความคิดเห็น และยินดีที่จะรับฟัง แต่หากผู้พูดมีเจตนาที่ดี ก็ถือเป็นเรื่องที่ดำเนินการได้ แต่หากมีเจตนาที่ไม่ดี ก็ควรพิจารณาตนเอง
การทำงานที่ผ่านมา รัฐบาลได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างเต็มที่ และเป็นแนวทางเดียวที่ทำได้ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้น เกิดจากกำลังซื้อในต่างประเทศที่ลดลง และการใช้งบประมาณในการกระตุ้นเศรษฐกิจก็ถือเป็นเรื่องที่จำเป็น และถูกต้องมากที่สุดแล้ว ทั้งในส่วนของโครงการแจกเช็ค 2,000 บาท แบ่งเบาภาระค่าครองชีพให้กับประชาชน และเบี้ยผู้สูงอายุ ต่างเป็นโครงการที่รัฐบาลให้ความสำคัญ ที่จะเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศให้สูงขึ้น และทั้ง 2 โครงการในขณะนี้ ก็กำลังเร่งดำเนินการให้เห็นผลเป็นรูปธรรม
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ มั่นใจว่า วิธีการกู้เงินต่างประเทศของรัฐบาล เป็นแนวทางแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ โดยเห็นว่าสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ใช้วิธีเดียวกัน
***เทพเทือกไม่ให้ราคาแม้วโฟนอิน
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าตนจะไม่พูดถึงการ เคลื่อนไหวของ พ.ต.ท.ทักษิณอีกแล้ว เพราะไม่สนใจ แม้ พ.ต.ท.ทักษิณ จะโฟนอินทุกครั้งที่มีการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ตนก็จะทำงานในส่วนที่รับผิดชอบ ไม่สนใจ เราเป็นประเทศเสรีประชาธิปไตย จะเคลื่อนไหวโดยไม่ผิดกฎหมายก็ไม่เป็นไร ส่วนการนำเสนอข่าวของพ.ต.ท.ทักษิณจะเป็นการบั่นทอนเสถียรภาพความมั่นใจต่อการทำงานของรัฐบาลก็เป็นเรื่องของสื่อ
"คงไม่สร้างแรงกระเพื่อมต่อการทำงานของรัฐบาล ผมก็ทำงานได้ตามปกติ รัฐมนตรีทุกคนก็ทำงานได้เป็นปกติพี่น้องประชาชนก็จะได้เห็นความตั้งใจของเรา ในการที่จะทำงานแก้ไขปัญหาให้ประชาชน"
ผู้สื่อข่าวถามว่าเห็นบอกว่าไม่หวั่นไหวแต่ก็ให้นายเทพไท เสนพงษ์ โฆษกส่วนตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาตอบโต้ตลอดเวลา นายสุเทพ กล่าวว่า ตนไม่ได้สั่งการ แต่ว่าการพูดจาในทางการเมืองเป็นเรื่องปกติ และเขาก็มีความคิดความเห็น ถ้าเห็นว่าอะไรถูกต้องไม่ถูกต้องอย่างไรก็แสดงความคิดเห็นได้
"รัฐบาลไม่มีนโยบายตอบโต้ พ.ต.ท.ทักษิณ ผมเองยังคิดว่าผมไม่เสียเวลากับเรื่องนี้ ผมอยากจะรีบทำงานที่รับผิดชอบมากกว่า"
ผู้สื่อข่าวถามว่าหากฮ่องกงส่งตัว พ.ต.ท.ทักษิณกลับมา นายสุเทพ กล่าวว่าเราก็ต้องรับอยู่แล้ว ขอให้ส่งมา
นายชวรัตน์ ชาญวีรกุล รมว.มหาดไทย กล่าวว่าการโฟนอินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็เหมือนอย่างที่นายกรัฐมนตรีได้พูดไปแล้วว่า การโฟนอินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็เป็น หน้าที่ รัฐบาลก็มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งเป็นเรื่องที่ขนานกันจึงไม่เกี่ยวกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่าการโฟนอินครั้งล่าสุดอยู่ในจังหวัดหลักๆ ที่เป็นฐานของกลุ่มคนเสื้อแดง กระทรวงมหาดไทยได้ทำความเข้าใจกับผู้ว่าราชการจังหวัดนั้นอย่างไร นายชวรัตน์ กล่าวว่า ได้มีการบอกให้ผู้ว่าฯพยายามอย่าทำเรื่องเล็ก ให้เป็นเรื่องใหญ่ ให้ดูแลอย่างใกล้ชิด มีการตักเตือนเสื้อแดงในท้องที่ ซึ่งทางผู้ว่าฯ เองก็รู้ว่าเสื้อแดงในพื้นที่มีใครบ้าง นอกจากมาจากจังหวัดอื่นก็เป็นเรื่องที่สุดวิสัย.
นายควินตัน เควลย์ เอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการรายวัน ถึงการประชุมสุดยอดลอนดอน เพื่อความมั่นคง การเติบโต และการสร้างงาน ( THE LONDON SUMMIT 2009 STABILITY GROWTH JOBS) หรือ G-20 ว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ของไทย จะเดินทางไปร่วมประชุม ระหว่างวันที่ 1-3 เม.ย. 2552 ในฐานะที่ไทยเป็นประธานอาเซียน โดยจะหารือกันถึงผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ที่ไทยเป็นเจ้าภาพเมื่อวันที่ 27 ก.พ.-1 มี.ค.ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ระหว่างวันที่ 12-14 มี.ค.นี้ นายอภิสิทธิ์ ได้รับเชิญในฐานะแขกของรัฐบาลอังกฤษ โดยนายกอร์ดอน บราวน์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ อยากจะฟังผลสรุปในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ซึ่งการหารือกันครั้งนี้นายอภิสิทธิ์ สามารถนำมาหารือกับประเทศในกลุ่มอาเซียนได้รับทราบ และนำข้อเสนอของกลุ่มประเทศอาเซียนกลับไปเสนอต่อที่ประชุมG-20 ได้
นายเควลย์ กล่าวว่า เรายินดีมากที่ประเทศอาเซียนได้ออกแถลงการณ์ต่อต้าน การกีดกันทางการค้าและการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งเราแน่ใจว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ หากทุกประเทศมีส่วนร่วม เราต้องประสานงานกัน ไม่ใช่แต่ละประเทศพยายามแก้ไขปัญหาของประเทศตัวเอง ถึงเวลาเราต้องมาร่วมมือกัน
นายเควลย์ กล่าวว่า ในการเยือนอังกฤษของนายกรัฐมนตรีไทย ในวันที่ 13 มี.ค.จะมีการจัดงานเลี้ยงที่พระราชวังบั๊กกิ้งแฮม ซึ่งเจ้าฟ้าชายแอนดรู ทรงเป็นเจ้าภาพ มีนักธุรกิจชั้นนำของอังกฤษหลายท่านมาร่วม โดยเฉพาะบริษัทที่มาลงทุนในประเทศไทย บริษัทหนึ่งประมาณ 5 พันล้านเหรียญ อย่างเช่น เทสโก้ฯ ซึ่งมีสาขาประมาณ 500 แห่งในประเทศไทย มีพนักงานมากถึง 36,000 คน ซึ่งจะตรงตามเป้าหมาย ที่นายอภิสิทธิ์ พูดไว้ คือประเทศไทยต้องการให้นักธุรกิจมาลงทุนมากขึ้นและวันนี้ตลาดใหญ่ของไทยคือยุโรป หากเศรษฐกิจถดถอยการส่งออกของไทยจะน้อยลง
เวลานี้ทุกประเทศได้ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก แม้แต่ประเทศไทย ซึ่งในปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยได้ขยายตัวอย่างดี แต่ต่อไปมั่นใจว่าจะได้รับผลกระทบเช่นกัน เพราะการส่งสินค้าออกมีส่วนรั่วไหลของจีดีพีถึงร้อยละ 10 การท่องเที่ยว ร้อยละ 8 ฉะนั้นหากเศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะถดถอยจะมีนักท่องเที่ยวน้อยลง การลงทุนจะน้อยลง ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบมากหรือน้อยแล้วแต่การประชุมสุดยอดลอนดอน ถ้าประสบความล้มเหลววิกฤติเศรษฐกิจจะแย่ลงในทุกประเทศ แต่ถ้าประสบความสำเร็จ เชื่อว่า วิกฤติเศรษฐกิจจะอยู่ไม่นาน อาจจะ 1-2 ปี จะดีขึ้น
***EUสนใจอาเซียนเชิญมาร์คร่วมG-20
นายเควลย์ กล่าวว่า ประเด็นการหารือการประชุมสุดยอดลอนดอนจะมุ่งเน้นถึง แผนงานในระดับโลกเพื่อดำเนินการต่างๆ ที่ประสานสอดคล้องกันของนานาประเทศ เพื่อฟื้นฟูเสถียรภาพ และทำให้เกิดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ซึ่งรวมถึง แผนปฎิบัติการในด้านต่างๆ ได้แก่ การกระตุ้นเศรษฐกิจโลกและช่วยลดความรุนแรง และลดระยะเวลาของภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่โลกกำลังเผชิญอยู่ ขับเคลื่อนกลไก การปล่อยเงินกู้ สินเชื่อธนาคาร เพื่อให้ภาคธุรกิจและภาคประชาชนสามารถกู้เงิน ได้อีกครั้งและเพื่อให้ธุรกิจมีเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการลงทุนในอนาคต ต่อต้านการกีดกันทางการค้าโดยให้มีกลไกที่โปร่งใส ในกรอบการตรวจสอบและมีมาตรการเพื่อให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงแหล่งเงินเพื่อสนับสนุนการค้าระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น ปฎิรูปกฎระเบียบระหว่างประเทศต่างๆ เพื่อจัดช่องว่าง หรือความเหลื่อมล้ำเกี่ยวกับกฎระเบียบต่างๆ ปฎิรูปสถาบันการเงินระหว่างประเทศ รวมทั้งสร้างระบบเตือนภัยระหว่างประเทศที่ดี ด้วยการเสริมบทบาทกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ให้แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น ประสานการดำเนินการระหว่างประเทศ ในอันที่จะหลอมโลกของวันพรุ่งนี้ ตั้งแต่วันนี้บนพื้นฐานของความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้โลกเติบโตอย่างมั่นคงและส่งผลดีต่อผู้ยากไร้ ในสังคมอีกด้วย
นายควินทัน เควลย์ กล่าวว่า เหตุผลที่เชิญผู้นำประเทศไทยไปนั้น เป็นเพราะต้องการจะรับฟังความคิดเห็นของประเทศในกลุ่มอาเซียน ซึ่งในอดีต ไม่มีการเชิญมาก่อน นอกจากประเทศอินโดนีเซียน ประธานอาเซียนจะไม่เคยได้รับการเชิญจากเวทีนี้ แต่นายอภิสิทธิ์ ได้ไปถึงสองครั้งน่าจับตามองมาก ที่สำคัญมันสะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มประเทศยุโรปเริ่มให้ความสำคัญกับประเทศอาเซียนมากขึ้น ซึ่งอาเซียนมีประชาชนมากถึง 550 ล้านคนและอาเซียนมีความร่วมมือกันมากขึ้น น่าจับตามองของเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ ฉะนั้นเพื่อที่จะหาทางออกที่ดีอาเซียน ต้องมีส่วนร่วมด้วย เราจึงอยากจะฟังไอเดียของอาเซียนที่ผ่านมาทางประธานอาเซียนคือนายอภิสิทธิ์
***ระบุแก้ ศก.โลกต้องมีหลักสูตรโลก
นายควินทัน เควลย์ มองแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ ว่า ดำเนินไปด้วยดีแล้ว แต่การจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จากปัญหาที่เกิดขึ้น ในไทยและทุกๆ ประเทศ แต่ละประเทศใช้หลักสูตรของเขาเองไม่มีการประสานงานกัน แนวทางการแก้ไขปัญหาไม่เหมือนกัน หากเรามีการวางแผน เชื่อว่าเศรษฐกิจ นานาชาติจะดีขึ้น เราได้แก้ปัญหาเฉพาะเศรษฐกิจในไทย แต่มันคือปัญหาเศรษฐกิจโลก ฉะนั้นต้องมีหลักสูตรโลก
ในฐานะที่ผมเป็นคนรักเมืองไทย อยู่ในหน้าที่นี้มารอบที่สอง ผมเชื่อมั่นในความมั่นคงของประเทศไทย ผมรู้สึกเสียใจมากที่มีปัญหาความวุ่นวายเกิดขึ้นเมื่อ 1-2 ปีทีแล้วในกรณีที่ใช้ความรุนแรง แต่ตอนนี้รู้สึกดีใจมากขึ้นที่สถานการณ์สงบ ดีขึ้น และหวังว่าทุกฝ่าย ทุกท่านจะร่วมมือ เพื่อช่วยประเทศชาติหาทางออกที่ดีและผมมั่นใจว่าประเทศไทยจะประสบปัญหาทางเศรษฐกิจในช่วงเวลาที่กำลังจะมา โดยเฉพาะปัญหาการว่างงานและการท่องเที่ยวจะได้รับผลกระทบ แต่จะมากน้อยอยู่ที่รัฐบาลจะหาทางออกที่ดี
สำหรับกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่จะเปลี่ยนสัญชาติไทยไปเป็นสัญชาติอื่น รัฐบาลอังกฤษจะทบทวนการขอวิซ่าเข้าอังกฤษหรือไม่นั้น นายเควลย์ กล่าวว่า หลายคนถามมากในเรื่องนี้ ตนก็บอกว่าอย่าไปเชื่อถือข่าวลือ ถ้าเป็นข่าวลือ ไม่ต้องไปเชื่อถือ และผมเองก็คงไม่มีสิทธิ์ที่จะออกความคิดเห็นเรื่องการขอวีซ่า ของแต่ละคน เพราะเป็นเรื่องส่วนตัวของแต่ละคน แต่ถ้าถามว่าจริงหรือไม่ในเรื่องนี้ บอกได้อย่างเดียวเป็นข่าวลือ
***ไทยแจงทูตอังกฤษห่วงใจหมิ่นฯ
นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ภายหลัง นายควินตัน เควลย์ เอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย เข้าพบถึงความเคลื่อนไหวของ นายใจ อึ๊งภากรณ์ นักวิชาการ ที่เคลื่อนไหวในอังกฤษ โดยออกแถลงการณ์ ที่มีเนื้อหา โจมตีสถาบันเบื้องสูงว่า หลังจากที่ได้อ่านถ้อยแถลงของนายใจ แล้ว เห็นว่านายใจ ต้องการให้ประเทศไทยเป็นสาธารณรัฐ ก็ไม่ว่ากัน แต่ถ้านายใจ ดำเนินการใดๆ ที่มีนัยล้มล้างสังคมประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ก็ต้องต่อสู้กัน
ถ้าใช้เวทีที่อังกฤษ มาปฏิบัติการที่ไม่ค่อยงามต่อสังคมไทย ผมก็ได้แสดงความห่วงใยไปกับทูตอังกฤษ ให้นำไปพิจารณาว่า การดำเนินการของนายใจ มีความเหมาะสมหรือไม่ เพราะถือเป็นเรื่องภายในของอังกฤษ ที่จะดำเนินการ แต่ด้วยความเป็นมิตรประเทศ มีอะไรที่เป็นความในใจ ก็ต้องปรึกษาหารือกัน ส่วนจะได้ผลหรือไม่เป็นเรื่องของอังกฤษ เพราะเชื่อว่า อ่านสิ่งที่นายใจ เขียนรู้เรื่อง และอังกฤษมีนักการเมือง สามารถตีความได้ว่า สิ่งที่ นายใจ พูด จะพยายามหาแนวร่วมที่มีพฤติกรรมบ่งบอกทางการเมืองได้หรือไม่
ส่วนจะต้องทำหนังสือชี้แจงต่ออังกฤษ กรณีการเคลื่อนไหวของนายใจหรือไม่นั้น นายกษิต กล่าวว่า ไม่ต้องชี้แจง เพราะพบกับคณะทูตเป็นระยะ ๆ บอกได้ว่าอะไรเป็นอะไร ไม่ว่าจะเป็นกรณีของนายใจ หรือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เราพูดกันอยู่ เพราะทั้ง 2 คนนี้ ยังหนีคดีกันอยู่
ส่วนกรณีที่สื่อฮ่องกง รายงานข่าวเรื่องสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่าง สองประเทศใกล้บรรลุแล้ว ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรนั้น นายกษิต กล่าวว่า เราเริ่มเจรจา สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนมาหลายปีแล้ว และเริ่มกันใหม่ต่อเนื่องกับสิ่งที่คั่งค้างอยู่ ซึ่งเรื่องนี้อยู่ที่ฝ่ายกฎหมาย อย่างไรก็ตาม การดำเนินการเรื่องสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน ไม่ได้เลือกปฏิบัติ ผู้ร้ายหนีไปที่ไหนก็ต้องไปตามจับมา
หากฮ่องกงจับตัว พ.ต.ท.ทักษิณมาให้ไทยถือเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ไม่ได้เป็นการกลั่นแกล้ง แต่เป็นการทำตามหน้าที่
ด้านนายเควลย์ กล่าวว่า ารเยือนอังกฤษของนายอภิสิทธิ์ ซึ่งจะได้เข้าพบ นายกอร์ดอน พราวน์ นายกรัฐมนตีอังกฤษ คงไม่พูดถึงคนที่ที่ต้องคดีมาเคลื่อนไหว ในอังกฤษ และส่วนตัวก็ไม่เห็นว่ามีอะไรที่ยิ่งใหญ่
ผู้สื่อข่าวถามว่าอังกฤษจะควบคุมดูแลการเคลื่อนไหวนี้อย่างไร เพราะการเคลื่อนไหวของนายใจ ในอังกฤษ สร้างความหนักใจให้กับรัฐบาลไทย นายควินตัน เควลย์ กล่าวว่า เราเป็นประเทศที่เปิดประตูกว้าง มีนักเคลื่อนไหวหลายคน จากหลายประเทศ ถ้าไม่มีอะไรที่ผิดกฎหมายอังกฤษ เราก็ไม่ขัดข้อง ทุกคนมีอิสรภาพ ที่จะแสดงความเห็นของตัวเอง
ส่วนกรณีที่มีข่าวระบุว่า อังกฤษให้วีซ่าแก่ พ.ต.ท.ทักษิณ นั้น นายควินตัน เควลย์ กล่าวว่า เคยพูดไปชัดเจนแล้วว่าอย่าเชื่อถือข่าวลือ
***อัยการนัดร่างสนธิสัญญาขอตัวแม้ว
นายศิริศักดิ์ ติยะพรรณ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีต่างประเทศ เปิดเผยถึงการ ติดตามตัว พ.ต.ท.ทักษิณ มารับโทษในประเทศไทยว่า คณะทำงานร่วมของกระทรวงการต่างประเทศ และอัยการ กำลังเร่งประสานกับทางการฮ่องกง โดยเตรียมนัดวันเพื่อเจรจาเบื้องต้นเรื่องการร่างสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างกันในเร็วๆ นี้
การเร่งเจรจาสนธิสัญญาผู้ร้ายข้ามแดนกับทางการฮ่องกงในช่วงนี้ ไม่ได้มุ่งกลั่นแกล้ง หรือมีเป้าหมายจับกุมตัว พ.ต.ท.ทักษิณ เท่านั้น เพราะก่อนหน้านี้ รัฐบาลไทย และฮ่องกง เคยมีการประสานงานกันเรื่องการร่างสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน มาแล้ว เมื่อหลายปีก่อนแต่เรื่องต้องระงับไป เพราะขาดกฎหมายรองรับ จนเมื่อ พ.ร.บ. ผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้ จึงทำให้สามารถประสานความร่วมมือ กันได้อีกครั้ง อีกทั้งจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีการยืนยันจาก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ อยู่ที่ไหนมีเพียงกระแสข่าวว่าพักอาศัยอยู่ในฮ่องกงเท่านั้น
นายศิริศักดิ์ กล่าวว่า สำหรับสาระสำคัญในร่างสนธิสัญญาความร่วมมือ การส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับฮ่องกงนั้น น่าจะเหมือนกับหลายๆประเทศที่ประเทศไทย เคยทำไว้ เช่น ความผิดที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยได้กระทำความผิดจะต้องเป็นมูลฐานความผิดที่มีโทษจำคุกทั้ง 2 ประเทศ และหากเป็นคดีการเมืองจะไม่อนุญาตให้ส่งผู้ต้องหาหรือจำเลยกลับประเทศ ซึ่งเป็นไปตามหลักการสากล
ส่วนภายหน้าหากร่างสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายระหว่างไทยกับฮ่องกงเสร็จสิ้นแล้วจะมีผลบังคับใช้ย้อนหลังในการติดตามจับกุม พ.ต.ท.ทักษิณ ที่กระทำความผิด ก่อนที่สนธิสัญญามีผลบังคับใช้นั้น จะต้องเจรจาตกลงกับฮ่องกงก่อนว่าจะกระทำได้หรือไม่ และยังมีอีกหลายประเด็นที่สองฝ่ายจะเจรจากัน
***ยอมรับคาดหวังยากได้ตัวทักษิณ
ถามว่ามีหวังแค่ไหนที่จะได้ตัว พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาดำเนินคดี คงตอบไม่ได้ และคาดหวังยาก การทำงานเรื่องนี้จะต้องทำไปตามขั้นตอนหลักเกณฑ์ และมีปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ หลายปัจจัย ที่สำคัญสิทธิขาดในการส่งตัวยังขึ้นอยู่กับประเทศที่เราร้องขอ
นายศิริศักดิ์ กล่าวว่า ขณะนี้ไทยมีสนธิสัญญาความร่วมมือการส่งผู้ร้าย ข้ามแดนกับประเทศต่างๆ หลายสิบประเทศ แต่คงไม่สามารถดำเนินงานแบบเชิงรุก โดยการประสานกับทุกๆ ประเทศที่มีข่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางไปได้ ถึงแม้ประเทศเหล่านั้นจะมีภาระความผูกพันที่จะต้องพิจารณาหนังสือคำร้องของไทยก็ตาม เนื่องจากยังไม่ทราบที่อยู่ที่เป็นหลักแหล่งของบุคคลที่ต้องการตัว แต่ถ้าอัยการได้ที่อยู่อย่างเป็นทางการแล้วก็สามารถดำเนินการได้ และประเทศคู่สัญญาจะต้องพิจารณาดำเนินการให้
**ซัดแม้วตัวกู้สร้างหนี้คนจน
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า แม้ใน อดีต พ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้ใช้วิธีกู้เงินในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ แต่ก็ใช้วิธีกูเงินนอกระบบ ไม่เปิดเผยให้ประชาชนรู้ ใช้วิธีให้ประชาชนเป็นผู้แบกภาระหนี้ ด้วยการออก โครงการต่างๆ ให้ประชาชนเป็นผู้กู้กับธนาคารพานิชย์ ธนาคารออมสิน และอื่นๆ ทำให้ภาคประชาชนมีตัวเลขหนี้ มีภาระหนี้สินสูงมาก ต่างกับรัฐบาลชุดนี้ ทำงานเปิดเผยโปร่งใส มีกรอบแผนชัดเจนทั้งการตั้งงบประมาณปี 2553 แนวทางการกู้เงิน และการใช้เงินกระตุ้นเศรษฐกิจ รัฐบาลดูแลเงินส่งถึงมือประชาชน และไม่มีแนวทางผลักภาระให้ประชาชน ฉะนั้นสิ่งที่พ.ต.ท.ทักษิณพูดไม่เป็นความจริงทั้งหมด
ส่วนที่พ.ต.ท.ทักษิณ ระบุว่าสามารถหาเงิน 2.5 แสนล้านได้โดยไม่ต้องกู้เงินนั้น ท่านจากประเทศไทยไปเกือบ 2 ปี คงลืมไปว่าจะไปทำอะไรที่ผูกพันกับประเทศต้องผ่านรัฐสภา ต้องขอกรอบจากสภาก่อนไปเจรจา แม้จะไปใช้คอนเนกชั่นส่วนตัว และแบบนั้นอาจแย่กว่าการกู้จากไอเอ็มเอฟ เพราะไม่รู้ว่าเราต้องไปชดใช้อะไรให้เขา
*** มาร์คนำทีม ศก.ยันกู้เงินโปร่งใส
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวตอบโต้กรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กรณีโฟนอินโจมตีพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ว่า สถานการณ์เศรษฐกิจในขณะนี้เกิดวิกฤตขึ้นทั่วโลก ดังนั้นรัฐบาลจึงจำเป็นต้องจัดทำงบประมาณขาดดุล และจำเป็นต้องกู้เงินมาช่วยเหลือประชาชน แม้การจัดเก็บรายได้ของรัฐจะต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ แต่รัฐบาลจะพยายามรักษากำลังซื้อภายในประเทศไม่ให้หดตัวลง ผมยืนยันว่าเราจะทำงานด้วยความรับผิดชอบ ตัวเลขทุกอย่างต้องเป็นไปด้วยความโปร่งใส และอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง
"สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป เกิดวิกฤตเศรษฐกิจรุนแรงในปีนี้ โดยมีผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก ทุกประเทศต่างเร่งแก้ปัญหาเหมือนกัน จึงไม่สามารถเปรียบเทียบกับช่วงที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เข้ามาบริหารประเทศได้ และไม่เชื่อว่าถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ เข้ามาเป็นรัฐบาลในช่วงนี้จะไม่ต้องกู้เงินเช่นกัน"
ทั้งนี้ การที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะไปขอกู้เงินจากต่างประเทศจำนวน 7 หมื่นล้านบาทนั้น ถือเป็นความจำเป็น เพื่อนำมาใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศไม่ให้ชะลอตัวลง และไม่ว่าใครเข้ามาเป็นรัฐบาลก็ต้องกู้เงินจากต่างประเทศเช่นกัน
"สมัยท่าน (ทักษิณ) อยู่ไม่ได้กู้เงินก็จริง แต่สิ่งที่ท่านทำไว้ให้ประชาชนกู้เยอะ ทำให้ประชาชนเป็นหนี้ สิ่งที่รัฐบาลกำลังทำอยู่คือการกู้เงินมาช่วยเหลือประชาชน และผมไม่เชื่อ (ว่าท่านจะไม่กู้เงิน) สิ่งที่ท่านทำไม่ได้เก็บเงินไว้ให้ผมมีใช้"
นายกรัฐมนตรียังเชื่อว่า ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจะไม่ส่งผลกระทบไปจนถึงไตรมาส 3 ของปีนี้ แม้ตัวเลขที่ออกมาจะดูแย่ในทุกเรื่อง โดยมั่นใจรัฐบาลจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ นอกจากนี้ การขยายฐานภาษีก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการหารายได้ แต่จะไม่ให้เกิดผลกระทบกับประชาชน
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ที่ผ่านมารัฐบาลแก้ไขปัญหาอย่างเต็มที่ ซึ่งการใช้งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจ ถือว่าถูกจุดแล้ว การที่อดีตนายกฯ ออกมากล่าวหารัฐบาลว่า แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจไม่ตรงจุดนั้น ก็ถือเป็นเรื่องที่สามารถกระทำได้ ในการแสดงความคิดเห็น และยินดีที่จะรับฟัง แต่หากผู้พูดมีเจตนาที่ดี ก็ถือเป็นเรื่องที่ดำเนินการได้ แต่หากมีเจตนาที่ไม่ดี ก็ควรพิจารณาตนเอง
การทำงานที่ผ่านมา รัฐบาลได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างเต็มที่ และเป็นแนวทางเดียวที่ทำได้ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้น เกิดจากกำลังซื้อในต่างประเทศที่ลดลง และการใช้งบประมาณในการกระตุ้นเศรษฐกิจก็ถือเป็นเรื่องที่จำเป็น และถูกต้องมากที่สุดแล้ว ทั้งในส่วนของโครงการแจกเช็ค 2,000 บาท แบ่งเบาภาระค่าครองชีพให้กับประชาชน และเบี้ยผู้สูงอายุ ต่างเป็นโครงการที่รัฐบาลให้ความสำคัญ ที่จะเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศให้สูงขึ้น และทั้ง 2 โครงการในขณะนี้ ก็กำลังเร่งดำเนินการให้เห็นผลเป็นรูปธรรม
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ มั่นใจว่า วิธีการกู้เงินต่างประเทศของรัฐบาล เป็นแนวทางแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ โดยเห็นว่าสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ใช้วิธีเดียวกัน
***เทพเทือกไม่ให้ราคาแม้วโฟนอิน
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าตนจะไม่พูดถึงการ เคลื่อนไหวของ พ.ต.ท.ทักษิณอีกแล้ว เพราะไม่สนใจ แม้ พ.ต.ท.ทักษิณ จะโฟนอินทุกครั้งที่มีการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ตนก็จะทำงานในส่วนที่รับผิดชอบ ไม่สนใจ เราเป็นประเทศเสรีประชาธิปไตย จะเคลื่อนไหวโดยไม่ผิดกฎหมายก็ไม่เป็นไร ส่วนการนำเสนอข่าวของพ.ต.ท.ทักษิณจะเป็นการบั่นทอนเสถียรภาพความมั่นใจต่อการทำงานของรัฐบาลก็เป็นเรื่องของสื่อ
"คงไม่สร้างแรงกระเพื่อมต่อการทำงานของรัฐบาล ผมก็ทำงานได้ตามปกติ รัฐมนตรีทุกคนก็ทำงานได้เป็นปกติพี่น้องประชาชนก็จะได้เห็นความตั้งใจของเรา ในการที่จะทำงานแก้ไขปัญหาให้ประชาชน"
ผู้สื่อข่าวถามว่าเห็นบอกว่าไม่หวั่นไหวแต่ก็ให้นายเทพไท เสนพงษ์ โฆษกส่วนตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาตอบโต้ตลอดเวลา นายสุเทพ กล่าวว่า ตนไม่ได้สั่งการ แต่ว่าการพูดจาในทางการเมืองเป็นเรื่องปกติ และเขาก็มีความคิดความเห็น ถ้าเห็นว่าอะไรถูกต้องไม่ถูกต้องอย่างไรก็แสดงความคิดเห็นได้
"รัฐบาลไม่มีนโยบายตอบโต้ พ.ต.ท.ทักษิณ ผมเองยังคิดว่าผมไม่เสียเวลากับเรื่องนี้ ผมอยากจะรีบทำงานที่รับผิดชอบมากกว่า"
ผู้สื่อข่าวถามว่าหากฮ่องกงส่งตัว พ.ต.ท.ทักษิณกลับมา นายสุเทพ กล่าวว่าเราก็ต้องรับอยู่แล้ว ขอให้ส่งมา
นายชวรัตน์ ชาญวีรกุล รมว.มหาดไทย กล่าวว่าการโฟนอินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็เหมือนอย่างที่นายกรัฐมนตรีได้พูดไปแล้วว่า การโฟนอินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็เป็น หน้าที่ รัฐบาลก็มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งเป็นเรื่องที่ขนานกันจึงไม่เกี่ยวกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่าการโฟนอินครั้งล่าสุดอยู่ในจังหวัดหลักๆ ที่เป็นฐานของกลุ่มคนเสื้อแดง กระทรวงมหาดไทยได้ทำความเข้าใจกับผู้ว่าราชการจังหวัดนั้นอย่างไร นายชวรัตน์ กล่าวว่า ได้มีการบอกให้ผู้ว่าฯพยายามอย่าทำเรื่องเล็ก ให้เป็นเรื่องใหญ่ ให้ดูแลอย่างใกล้ชิด มีการตักเตือนเสื้อแดงในท้องที่ ซึ่งทางผู้ว่าฯ เองก็รู้ว่าเสื้อแดงในพื้นที่มีใครบ้าง นอกจากมาจากจังหวัดอื่นก็เป็นเรื่องที่สุดวิสัย.