รมว.พลังงานสั่ง กฟผ.ไม่ให้อุทธรณ์คดีแม่เมาะ ขณะที่ผู้ป่วยเตรียมยื่นอุทธรณ์หลังศาลตัดสินจ่าย 2.4 แสนบาทแค่ 91 คน อีก 40 คนได้แค่หมื่นกว่าเท่านั้น แฉ กฟผ.-จังหวัดอมเงินกองทุนชุมชน 300 กว่าล้าน พร้อมเข้ายื่นหนังสือ “อภิสิทธิ์” ด้านเครือข่าย ปชช.ภาคตะวันออกจี้ปลดอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ หากปล่อยให้กรมควบคุมมลพิษอุทธรณ์จะเดินเท้าจากระยองเข้ากรุงร้องนายกฯ หวั่นการเร่งเดินหน้าขยายลงทุนปิโตรเคมีมูลค่า 3 แสนล้านก่อมลพิษหนัก เหตุรัฐไม่บังคับใช้กม. ปล่อยโรงงานลักลอบทิ้งของเสียอันตราย
นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน กล่าวถึงกรณีที่ศาลปกครองเชียงใหม่สั่งให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จ่ายชดเชยผลกระทบโรงไฟฟ้าแม่เมาะและให้อพยพชาวบ้านออกนอกรัศมีผลกระทบ 5 กิโลเมตร (กม.) ว่า ส่วนตัวแล้วเห็นว่า กฟผ.ไม่ควรจะยื่นอุทธรณ์คำพิพากษา เพราะจะทำให้ระยะเวลาในการแก้ไขปัญหาต้องนานออกไป ประกอบกับวงเงินที่จะใช้เยียวยาและแก้ไขปัญหากับประชาชนที่ได้รับผลกระทบเป็นเงินเพียง 20-30 ล้านบาทเท่านั้น
“ส่วนตัวรู้สึกเห็นใจประชาชนที่ได้รับผลกระทบเรื่องนี้คงจะต้องคุยกับผู้บริหารกฟผ.ในรายละเอียดอีกครั้งก่อนว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไรแต่ที่ทราบทางกฟผ.ก็ได้มีการติดตั้งเครื่องกำจัดมลพิษหรือ เอฟจีดี ไปแล้วอาจจะเป็นเรื่องในอดีตซึ่งนโยบายกระทรวงพลังงานชัดเจนในการดูแลการสร้างโรงไฟฟ้าที่ต้องอยู่คู่กับชุมชน”รมว.พลังงาน กล่าว
กฟผ.พร้อมปฏิบัติตามคำสั่งศาล
ด้านนายวิรัช กาญจนพิบูลย์ รองผู้ว่าการกิจการสังคมและสิ่งแวดล้อม ในฐานะโฆษกการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า กฟผ.พิจารณาในเบื้องต้นแล้วจะไม่อุทธรณ์ โดยจะน้อมรับคำสั่งศาลปกครองเชียงใหม่ที่ตัดสินให้ กฟผ. ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ฟ้องคดีโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ที่วินิจฉัยว่าระหว่างปี 2535-2541 การดำเนินงานของโรงไฟฟ้าแม่เมาะได้ส่งผลกระทบต่อผู้ฟ้องคดี แต่หลังจากปี 2541 เป็นต้นมา โรงไฟฟ้าไม่ได้ปล่อยสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดอีกแล้ว โดยจะดำเนินการชดใช้ค่าสินไหมตามคำสั่งของศาลปกครองเชียงใหม่ต่อไป
ในส่วนของคดีกลุ่มเหมืองแม่เมาะนั้น กฟผ. จะดำเนินการปรึกษากับอัยการผู้รับมอบอำนาจแก้ต่างคดีให้ กฟผ. อีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้เกิดความชัดเจนของคำพิพากษาที่สั่งให้ กฟผ. ปฏิบัติในกรณีที่เกี่ยวกับมาตรการแนบท้ายประทานบัตรเหมืองได้อย่างครบถ้วนถูกต้อง ก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป
“กฟผ. มีความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ด้วยข้อเท็จจริงที่ว่า ระหว่าง ปี 2535-2541 ได้เกิดปัญหาคุณภาพอากาศบริเวณรอบๆ โรงไฟฟ้าแม่เมาะในบางขณะ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของราษฎร เนื่องจากขณะนั้นอยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงติดตั้งเครื่องกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ แต่หลังจาก กฟผ.ได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องกำจัดก๊าซฯ แล้ว ก็สามารถควบคุมคุณภาพอากาศให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ตั้งแต่ปี 2541 ถึงปัจจุบัน” โฆษก กฟผ. กล่าว
ผู้ป่วยแม่เมาะเตรียมยื่นอุทธรณ์
นางมะลิวรรณ นาควิโรจน์ เลขาธิการเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ เผยว่า จากการประชุมของเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ ได้มีมติเตรียมยื่นอุทธรณ์ต่อศาลเพื่อขอความเป็นธรรมในกรณีผู้ป่วยได้รับเงินชดเชยไม่เท่ากันภายหลังศาลปกครองเชียงใหม่ ตัดสินใจให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตจ่ายเงินชดเชยให้คนละ 240,000 บาท โดยมีผู้ป่วยได้รับเงินชดเชยจำนวน 240,000 คนเพียง 91 คนเท่านั้น ขณะที่ผู้ป่วยอีก 40 คนได้รับเงินชดเชย 10,000-20,000 บาทเท่านั้น ซึ่งมองว่าไม่เป็นธรรมกับผู้ป่วยเนื่องจากได้รับผลกระทบเหมือนกัน ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่เดียวกัน รวมทั้งมีอาการเดียวกันด้วย
"จำนวนเงินที่ได้รับมาผู้ป่วยมองว่าไม่เพียงพอต่อความสูญเสียที่เกิดขึ้น ทั้งๆ ที่ป่วยด้วยโรคเดียวกัน ดังนั้น ในวันนี้ (6 มี.ค.) จะเดินทางไปกรุงเทพฯเพื่อปรึกษากับสภาทนายความ เพื่อหารือเกี่ยวกับข้อกฎหมาย และนำหลักฐานเพิ่มเติมไปให้ก่อนยื่นอุทธรณ์ต่อไป" นางมะลิวรรณ กล่าว
นอกจากนี้จะเข้าไปยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อให้เครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะมีสิทธิในกองทุนรวมชุมชมรอบโรงไฟฟ้า ที่ได้จากการเก็บจากโรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วประเทศ 2% ในการดูแลชุมชนที่อยู่รอบโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งจังหวัดลำปางได้รับการจัดสรรทั้งสิ้น 300 กว่าล้านบาท แต่ชุมชนรอบโรงไฟฟ้ากลับไม่ได้มีส่วนร่วมหรือได้รับการช่วยเหลือจากกองทุนเหล่านั้น
"จังหวัดได้ 30% ส่วนโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะได้ 70% ซึ่งที่ผ่านมาเงินจำนวนนี้ชุมชนไม่เคยได้จากประโยชน์จากเงินเหล่านี้ ซึ่งจุดประสงค์ที่แท้จริงเพื่อนำมาเยียวยา และช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ หรือชุมชนที่อยู่รอบข้าง ทั้งที่เครือข่ายฯเป็นคนเรียกร้องจนได้เงินมา แต่จังหวัดและแม่เมาะกลับไม่นำมาแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง" นางมะลิวรรณ กล่าว
สั่ง ปตท.ศึกษาข้อมูล
สำหรับกรณีศาลปกครองมีคำพิพากษาให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประกาศให้พื้นที่มาบตาพุดและบ้านฉาง เป็นเขตควบคุมมลพิษนั้น รมว. พลังงาน กล่าวว่า ล่าสุดได้มอบหมายให้ทางฝ่ายผู้บริหารปตท.ไปศึกษาดูผลกระทบต่อการลงทุนว่าจะมีมากน้อย อย่างไร เพื่อที่จะนำมาหารือและแก้ไขปัญหาร่วมกัน แต่ทั้งนี้หลักการแล้วที่ผ่านมาทุกโรงงานได้มีการดูแลในเรื่องสิ่งแวดล้อมตามที่กฏหมายกำหนดอยู่แล้ว
ชี้กระทบ3เรื่องต้องชัดเจน
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า กรณีมาบตาพุดนั้นที่ผ่านมาภาคเอกชนได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแลผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดี มีการจัดตั้งกองทุนในการดูแลชุมชนตั้งแต่รัฐบาลสรยุทธ์ จุลานนท์แต่อาจจะขาดการประชาสัมพันธ์ ดังนั้นข่าวที่ออกไปยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับแนวทางในการปฏิบัติซึ่งจะมีผลกระทบใน 3 เรื่องสำคัญ คือ
1.การท่องเที่ยวในแถบจังหวัดระยอง เพราะนักท่องเที่ยวอาจจะไม่มั่นใจในปัญหามลพิษ และควรจะต้องชี้ชัดว่าจุดใดกันแน่ที่เป็นปัญหาและอย่างไร
2. ภาคการเกษตรในจังหวัดระยองและแถบนั้นอาจได้รับผลกระทบว่าไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และ 3. การลงทุนใหม่ๆ อาจต้องมีการคิดให้รอบคอบมากขึ้นซึ่งในที่สุดหากไม่ชัดเจนอาจจะชะลอได้เช่นกันหรือหาที่อื่นที่เหมาะสมแทนก็เป็นไปได้ ดังนั้นรัฐบาลและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องเร่งสร้างความชัดเจนในเรื่องนี้ไม่เช่นนั้นจะสร้างความสับสนกับนักลงทุนและประชาชนทั่วไปได้
“ ภาคอุตสาหกรรมที่ลงทุนก็จะต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอ เมื่อผ่านมาตั้งโรงงานแล้วก็จะต้องปฏิบัติตามระเบียบของรัฐในเรื่องของการดูแลปัญหามลพิษต่างๆ เมื่อประกาศมาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษก็จะต้องติดตามว่าจะมีการอุทธรณ์หรือไม่และหลังจากนั้นแผนด้านสิ่งแวดล้อมจะเปลี่ยนไหมหากเปลี่ยนแปลงจะไปในลักษณะใดเชื่อว่านักลงทุนเองก็ต้องการคำตอบเพื่อประกอบกับตัดสินใจลงทุนเช่นกัน”นายสันติกล่าว
เครือข่ายปชช.จี้ปลดอธิบดี คพ.
ที่ จ.ระยอง วานนี้ (5 มี.ค.) นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก 1 ใน 27 ตัวแทนชาวบ้านมาบตาพุด จ.ระยอง เปิดแถลงข่าวว่า ขณะนี้แกนนำชาวบ้านมาบตาพุด มีความเห็นตรงกันว่า จะดำเนินการเอาผิดกับนายสุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) และเป็นเลขาคณะทำงานสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เนื่องจากเป็นผู้หนึ่งที่ละเลยการปฏิบัติหน้าที่หลังศาลปกครองระยอง ประกาศพื้นที่มาบตาพุด และใกล้เคียง เป็นเขตควบคุมมลพิษภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ 3 มี.ค. ที่ผ่านมา
ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนฯ กล่าวต่อว่า ในวันจันทร์ที่ 9 มี.ค. นี้ แกนนำชาวบ้านมาบตาพุด จ.ระยอง จะเข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.เพื่อให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ และขอเรียกร้องให้นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พิจารณาความไม่เหมาะสมในตำแหน่งอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ และให้ปลดออกจากตำแหน่ง หรือให้มีการตรวจสอบวินัยอีกทางหนึ่ง แกนนำฯ ยังเตรียมที่จะดำเนินการเอาผิดผู้เกี่ยวข้องอีกหลายบุคคลด้วย นอกจากนี้ในเวลา 10.00 น.ของวันเดียวกัน ก็จะเดินทางไปวางหรีดที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเพื่อเป็นการประจานให้คนเหล่านี้ให้สังคมรับทราบอีกด้วย
นายสุทธิ กล่าวอีกว่า ชาวระยองได้รับผลกระทบสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด ศาลได้ประทับรับฟ้องและอ่านคำพิจารณาเป็นบทพิสูจน์แล้วว่ามีมลพิษเกิดขึ้นจริง พี่น้องประชาชนได้รับปัญหาจริง หากรัฐบาลยังไม่เข้าใจ และจะมีการอุทธรณ์ในวันที่ 13 หรือ 14 มี.ค. นี้ เราก็จะเดินเท้านำคำพิพากษาจาก จ.ระยอง โดยจะแบกคำพิพากษา มีการปราศรัย มีการพูดไปตลอดทาง จนถึงกรุงเทพฯไปให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้เห็นว่า ประชาชนระยองมีความต้องการและอยากเห็นการประกาศเขตควบคุมมลพิษ นำไปสู่การดูแล ลด และขจัดมลพิษ อย่างเป็นระบบ
นอกเหนือจากข้อกังวลเรื่องการอุทธรณ์คดีของกรมควบคุมมลพิษแล้ว เครือข่ายประชาชนฯ ยังหวั่นเกรงต่อการเร่งเดินหน้าขยายโครงการลงทุนปิโตรเคมี เฟส 3 มูลค่ากว่า 200,000 – 300,000 ล้านบาท ซึ่งจะซ้ำเติมให้ปัญหามลพิษในเขตมาบตาพุด-บ้านฉาง รุนแรงยิ่งขึ้นจากปัจจุบันอยู่ในสภาวะวิกฤตจนศาลฯมีคำพิพากษาให้ประกาศเป็นเขตควบคุมมลพิษแล้ว
ในปี 2550 รัฐบาลประกาศขยายการลงทุนอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ 3 (2007-2012) ในพื้นที่มาบตาพุด บนพื้นที่อุตสาหกรรมอีกประมาณ 4,000 ไร่ โดยมีการก่อสร้างโรงงานปิโตรเคมีใหม่เพิ่มอีก 18 โรง บนพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมเดิมทั้ง 4 แห่ง และบนนิคมอุตสาหกรรมที่กำลังสร้างใหม่ ซึ่งอยู่ทางตอนบนของเขตมาบตาพุด
การต่อต้านแผนการขยายการลงทุนอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของประชาชนชาวระยองขยายวงเป็นการประท้วงที่ใหญ่ขึ้นตลอดช่วงปี 2550-2551 เนื่องจากรัฐบาลยืนยันให้มีการขยายอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในพื้นที่มาบตาพุด โดยมีแผนที่จะให้สร้างโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและอุตสาหกรรมต่อเนื่องเพิ่มอีก 34 โรงเพื่อผลิต 29 ผลิตภัณฑ์ ป้อนตลาด ในระหว่างปี 2548 – 2551
โดยมีโครงการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เคมี และพลาสติก รวมถึงโครงการก่อสร้างและขยายโรงไฟฟ้า โรงแยกก๊าซธรรมชาติ และการขยายนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมผาแดง นิคมอุตสาหกรรมตะวันออก และนิคมอุตสาหกรรมเอเชีย ที่ยื่นขอการอนุมัติรายงานการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) รวม 35 โครงการ ในจำนวนนี้ได้ผ่านการอนุมัติ EIA ไปแล้ว 34 โครงการ
นอกจากนี้ ในระหว่างปี 2550-2551 มีการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล ซึ่งเป็นนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีแห่งใหม่เพิ่มขึ้นมาอีกแห่งในพื้นที่มาบตาพุดเพื่อรองรับการก่อสร้างโรงงานปิโตรเคมีต่าง ๆ ที่ผ่านการอนุมัติรายงาน EIA ไปแล้ว
เผยรัฐฯ ละเมิด กม.-ปกปิดข้อมูล
นางสาวเพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาและรณรงค์มลภาวะอุตสาหกรรม กล่าวว่า ประเด็นที่สร้างความกังวลจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ก็คือ การขาดกฎหมายควบคุมและไม่บังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่ให้เข้มแข็ง ซึ่งที่ผ่านมามีหลายครั้งที่รัฐหรือหน่วยงานของรัฐเองเป็นผู้ละเมิดบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ กฎหมายคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และระเบียบปฏิบัติต่างๆ เสียเอง เช่น การพิจารณารายงานการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ตามข้อบังคับทางกฎหมาย โรงงานจะก่อสร้างได้ต้องผ่านการอนุมัติรายงาน EIA และได้รับใบอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม แต่โรงงานบางแห่งในพื้นที่มาบตาพุดที่สร้างไปแล้วและกำลังขยายอยู่ในเวลานี้ดำเนินการก่อสร้างโดยที่ EIA ยังอยู่ในกระบวนการพิจารณา และปัจจุบันรัฐธรรมนูญไทยกำหนดให้โครงการขนาดใหญ่ที่มีผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพต้องทำการศึกษาผลกระทบทางสุขภาพด้วย แต่โรงงานทุกแห่งในพื้นที่นี้ไม่มีการศึกษาผลกระทบทางสุขภาพเลย
นอกจากนี้รายงาน EIA ยังมีข้อจำกัดตรงที่ว่า เป็น EIA ของโรงงานแต่ละโรง ซึ่งไม่สามารถสะท้อนภาพรวมของปริมาณมลพิษและระดับรวมถึงขนาดของผลกระทบที่เกิดขึ้นจริง เพราะในแต่ละนิคมอุตสาหกรรมมีโรงงานขนาดใหญ่ตั้งอยู่รวมกันหลายสิบโรง อีกทั้งยังมีกรณีการลักลอบทิ้งของเสียอันตรายซึ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้งในพื้นที่นี้หรือพื้นที่ใกล้เคียง แต่หน่วยงานรัฐไม่เคยสอบสวนหรือดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดแต่อย่างใด
“นี่ยังไม่นับปัญหาสำคัญอีกข้อหนึ่งคือการปิดกั้นข้อมูลข่าวสาร พื้นที่มาบตาพุดขึ้นชื่อว่ามีการปกปิดและปิดกั้นข้อมูลรุนแรงที่สุดแห่งหนึ่งในทุกด้าน โดยเฉพาะเมื่อเหตุการณ์หรือเกิดปัญหาขึ้น ข้าราชการระดับสูงของหน่วยงางานด้านสิ่งแวดลอ้มและสาธารณสุขยังไม่สามารถชี้แจงข้อมูลแก่ประชาชนได้ หลายครั้งที่ข้าราชการได้รับคำสั่งให้ปิดปาก” ผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาและรณรงค์มลภาวะอุตสาหกรรม กล่าว.
นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน กล่าวถึงกรณีที่ศาลปกครองเชียงใหม่สั่งให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จ่ายชดเชยผลกระทบโรงไฟฟ้าแม่เมาะและให้อพยพชาวบ้านออกนอกรัศมีผลกระทบ 5 กิโลเมตร (กม.) ว่า ส่วนตัวแล้วเห็นว่า กฟผ.ไม่ควรจะยื่นอุทธรณ์คำพิพากษา เพราะจะทำให้ระยะเวลาในการแก้ไขปัญหาต้องนานออกไป ประกอบกับวงเงินที่จะใช้เยียวยาและแก้ไขปัญหากับประชาชนที่ได้รับผลกระทบเป็นเงินเพียง 20-30 ล้านบาทเท่านั้น
“ส่วนตัวรู้สึกเห็นใจประชาชนที่ได้รับผลกระทบเรื่องนี้คงจะต้องคุยกับผู้บริหารกฟผ.ในรายละเอียดอีกครั้งก่อนว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไรแต่ที่ทราบทางกฟผ.ก็ได้มีการติดตั้งเครื่องกำจัดมลพิษหรือ เอฟจีดี ไปแล้วอาจจะเป็นเรื่องในอดีตซึ่งนโยบายกระทรวงพลังงานชัดเจนในการดูแลการสร้างโรงไฟฟ้าที่ต้องอยู่คู่กับชุมชน”รมว.พลังงาน กล่าว
กฟผ.พร้อมปฏิบัติตามคำสั่งศาล
ด้านนายวิรัช กาญจนพิบูลย์ รองผู้ว่าการกิจการสังคมและสิ่งแวดล้อม ในฐานะโฆษกการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า กฟผ.พิจารณาในเบื้องต้นแล้วจะไม่อุทธรณ์ โดยจะน้อมรับคำสั่งศาลปกครองเชียงใหม่ที่ตัดสินให้ กฟผ. ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ฟ้องคดีโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ที่วินิจฉัยว่าระหว่างปี 2535-2541 การดำเนินงานของโรงไฟฟ้าแม่เมาะได้ส่งผลกระทบต่อผู้ฟ้องคดี แต่หลังจากปี 2541 เป็นต้นมา โรงไฟฟ้าไม่ได้ปล่อยสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดอีกแล้ว โดยจะดำเนินการชดใช้ค่าสินไหมตามคำสั่งของศาลปกครองเชียงใหม่ต่อไป
ในส่วนของคดีกลุ่มเหมืองแม่เมาะนั้น กฟผ. จะดำเนินการปรึกษากับอัยการผู้รับมอบอำนาจแก้ต่างคดีให้ กฟผ. อีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้เกิดความชัดเจนของคำพิพากษาที่สั่งให้ กฟผ. ปฏิบัติในกรณีที่เกี่ยวกับมาตรการแนบท้ายประทานบัตรเหมืองได้อย่างครบถ้วนถูกต้อง ก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป
“กฟผ. มีความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ด้วยข้อเท็จจริงที่ว่า ระหว่าง ปี 2535-2541 ได้เกิดปัญหาคุณภาพอากาศบริเวณรอบๆ โรงไฟฟ้าแม่เมาะในบางขณะ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของราษฎร เนื่องจากขณะนั้นอยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงติดตั้งเครื่องกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ แต่หลังจาก กฟผ.ได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องกำจัดก๊าซฯ แล้ว ก็สามารถควบคุมคุณภาพอากาศให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ตั้งแต่ปี 2541 ถึงปัจจุบัน” โฆษก กฟผ. กล่าว
ผู้ป่วยแม่เมาะเตรียมยื่นอุทธรณ์
นางมะลิวรรณ นาควิโรจน์ เลขาธิการเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ เผยว่า จากการประชุมของเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ ได้มีมติเตรียมยื่นอุทธรณ์ต่อศาลเพื่อขอความเป็นธรรมในกรณีผู้ป่วยได้รับเงินชดเชยไม่เท่ากันภายหลังศาลปกครองเชียงใหม่ ตัดสินใจให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตจ่ายเงินชดเชยให้คนละ 240,000 บาท โดยมีผู้ป่วยได้รับเงินชดเชยจำนวน 240,000 คนเพียง 91 คนเท่านั้น ขณะที่ผู้ป่วยอีก 40 คนได้รับเงินชดเชย 10,000-20,000 บาทเท่านั้น ซึ่งมองว่าไม่เป็นธรรมกับผู้ป่วยเนื่องจากได้รับผลกระทบเหมือนกัน ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่เดียวกัน รวมทั้งมีอาการเดียวกันด้วย
"จำนวนเงินที่ได้รับมาผู้ป่วยมองว่าไม่เพียงพอต่อความสูญเสียที่เกิดขึ้น ทั้งๆ ที่ป่วยด้วยโรคเดียวกัน ดังนั้น ในวันนี้ (6 มี.ค.) จะเดินทางไปกรุงเทพฯเพื่อปรึกษากับสภาทนายความ เพื่อหารือเกี่ยวกับข้อกฎหมาย และนำหลักฐานเพิ่มเติมไปให้ก่อนยื่นอุทธรณ์ต่อไป" นางมะลิวรรณ กล่าว
นอกจากนี้จะเข้าไปยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อให้เครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะมีสิทธิในกองทุนรวมชุมชมรอบโรงไฟฟ้า ที่ได้จากการเก็บจากโรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วประเทศ 2% ในการดูแลชุมชนที่อยู่รอบโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งจังหวัดลำปางได้รับการจัดสรรทั้งสิ้น 300 กว่าล้านบาท แต่ชุมชนรอบโรงไฟฟ้ากลับไม่ได้มีส่วนร่วมหรือได้รับการช่วยเหลือจากกองทุนเหล่านั้น
"จังหวัดได้ 30% ส่วนโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะได้ 70% ซึ่งที่ผ่านมาเงินจำนวนนี้ชุมชนไม่เคยได้จากประโยชน์จากเงินเหล่านี้ ซึ่งจุดประสงค์ที่แท้จริงเพื่อนำมาเยียวยา และช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ หรือชุมชนที่อยู่รอบข้าง ทั้งที่เครือข่ายฯเป็นคนเรียกร้องจนได้เงินมา แต่จังหวัดและแม่เมาะกลับไม่นำมาแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง" นางมะลิวรรณ กล่าว
สั่ง ปตท.ศึกษาข้อมูล
สำหรับกรณีศาลปกครองมีคำพิพากษาให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประกาศให้พื้นที่มาบตาพุดและบ้านฉาง เป็นเขตควบคุมมลพิษนั้น รมว. พลังงาน กล่าวว่า ล่าสุดได้มอบหมายให้ทางฝ่ายผู้บริหารปตท.ไปศึกษาดูผลกระทบต่อการลงทุนว่าจะมีมากน้อย อย่างไร เพื่อที่จะนำมาหารือและแก้ไขปัญหาร่วมกัน แต่ทั้งนี้หลักการแล้วที่ผ่านมาทุกโรงงานได้มีการดูแลในเรื่องสิ่งแวดล้อมตามที่กฏหมายกำหนดอยู่แล้ว
ชี้กระทบ3เรื่องต้องชัดเจน
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า กรณีมาบตาพุดนั้นที่ผ่านมาภาคเอกชนได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแลผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดี มีการจัดตั้งกองทุนในการดูแลชุมชนตั้งแต่รัฐบาลสรยุทธ์ จุลานนท์แต่อาจจะขาดการประชาสัมพันธ์ ดังนั้นข่าวที่ออกไปยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับแนวทางในการปฏิบัติซึ่งจะมีผลกระทบใน 3 เรื่องสำคัญ คือ
1.การท่องเที่ยวในแถบจังหวัดระยอง เพราะนักท่องเที่ยวอาจจะไม่มั่นใจในปัญหามลพิษ และควรจะต้องชี้ชัดว่าจุดใดกันแน่ที่เป็นปัญหาและอย่างไร
2. ภาคการเกษตรในจังหวัดระยองและแถบนั้นอาจได้รับผลกระทบว่าไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และ 3. การลงทุนใหม่ๆ อาจต้องมีการคิดให้รอบคอบมากขึ้นซึ่งในที่สุดหากไม่ชัดเจนอาจจะชะลอได้เช่นกันหรือหาที่อื่นที่เหมาะสมแทนก็เป็นไปได้ ดังนั้นรัฐบาลและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องเร่งสร้างความชัดเจนในเรื่องนี้ไม่เช่นนั้นจะสร้างความสับสนกับนักลงทุนและประชาชนทั่วไปได้
“ ภาคอุตสาหกรรมที่ลงทุนก็จะต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอ เมื่อผ่านมาตั้งโรงงานแล้วก็จะต้องปฏิบัติตามระเบียบของรัฐในเรื่องของการดูแลปัญหามลพิษต่างๆ เมื่อประกาศมาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษก็จะต้องติดตามว่าจะมีการอุทธรณ์หรือไม่และหลังจากนั้นแผนด้านสิ่งแวดล้อมจะเปลี่ยนไหมหากเปลี่ยนแปลงจะไปในลักษณะใดเชื่อว่านักลงทุนเองก็ต้องการคำตอบเพื่อประกอบกับตัดสินใจลงทุนเช่นกัน”นายสันติกล่าว
เครือข่ายปชช.จี้ปลดอธิบดี คพ.
ที่ จ.ระยอง วานนี้ (5 มี.ค.) นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก 1 ใน 27 ตัวแทนชาวบ้านมาบตาพุด จ.ระยอง เปิดแถลงข่าวว่า ขณะนี้แกนนำชาวบ้านมาบตาพุด มีความเห็นตรงกันว่า จะดำเนินการเอาผิดกับนายสุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) และเป็นเลขาคณะทำงานสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เนื่องจากเป็นผู้หนึ่งที่ละเลยการปฏิบัติหน้าที่หลังศาลปกครองระยอง ประกาศพื้นที่มาบตาพุด และใกล้เคียง เป็นเขตควบคุมมลพิษภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ 3 มี.ค. ที่ผ่านมา
ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนฯ กล่าวต่อว่า ในวันจันทร์ที่ 9 มี.ค. นี้ แกนนำชาวบ้านมาบตาพุด จ.ระยอง จะเข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.เพื่อให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ และขอเรียกร้องให้นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พิจารณาความไม่เหมาะสมในตำแหน่งอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ และให้ปลดออกจากตำแหน่ง หรือให้มีการตรวจสอบวินัยอีกทางหนึ่ง แกนนำฯ ยังเตรียมที่จะดำเนินการเอาผิดผู้เกี่ยวข้องอีกหลายบุคคลด้วย นอกจากนี้ในเวลา 10.00 น.ของวันเดียวกัน ก็จะเดินทางไปวางหรีดที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเพื่อเป็นการประจานให้คนเหล่านี้ให้สังคมรับทราบอีกด้วย
นายสุทธิ กล่าวอีกว่า ชาวระยองได้รับผลกระทบสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด ศาลได้ประทับรับฟ้องและอ่านคำพิจารณาเป็นบทพิสูจน์แล้วว่ามีมลพิษเกิดขึ้นจริง พี่น้องประชาชนได้รับปัญหาจริง หากรัฐบาลยังไม่เข้าใจ และจะมีการอุทธรณ์ในวันที่ 13 หรือ 14 มี.ค. นี้ เราก็จะเดินเท้านำคำพิพากษาจาก จ.ระยอง โดยจะแบกคำพิพากษา มีการปราศรัย มีการพูดไปตลอดทาง จนถึงกรุงเทพฯไปให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้เห็นว่า ประชาชนระยองมีความต้องการและอยากเห็นการประกาศเขตควบคุมมลพิษ นำไปสู่การดูแล ลด และขจัดมลพิษ อย่างเป็นระบบ
นอกเหนือจากข้อกังวลเรื่องการอุทธรณ์คดีของกรมควบคุมมลพิษแล้ว เครือข่ายประชาชนฯ ยังหวั่นเกรงต่อการเร่งเดินหน้าขยายโครงการลงทุนปิโตรเคมี เฟส 3 มูลค่ากว่า 200,000 – 300,000 ล้านบาท ซึ่งจะซ้ำเติมให้ปัญหามลพิษในเขตมาบตาพุด-บ้านฉาง รุนแรงยิ่งขึ้นจากปัจจุบันอยู่ในสภาวะวิกฤตจนศาลฯมีคำพิพากษาให้ประกาศเป็นเขตควบคุมมลพิษแล้ว
ในปี 2550 รัฐบาลประกาศขยายการลงทุนอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ 3 (2007-2012) ในพื้นที่มาบตาพุด บนพื้นที่อุตสาหกรรมอีกประมาณ 4,000 ไร่ โดยมีการก่อสร้างโรงงานปิโตรเคมีใหม่เพิ่มอีก 18 โรง บนพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมเดิมทั้ง 4 แห่ง และบนนิคมอุตสาหกรรมที่กำลังสร้างใหม่ ซึ่งอยู่ทางตอนบนของเขตมาบตาพุด
การต่อต้านแผนการขยายการลงทุนอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของประชาชนชาวระยองขยายวงเป็นการประท้วงที่ใหญ่ขึ้นตลอดช่วงปี 2550-2551 เนื่องจากรัฐบาลยืนยันให้มีการขยายอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในพื้นที่มาบตาพุด โดยมีแผนที่จะให้สร้างโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและอุตสาหกรรมต่อเนื่องเพิ่มอีก 34 โรงเพื่อผลิต 29 ผลิตภัณฑ์ ป้อนตลาด ในระหว่างปี 2548 – 2551
โดยมีโครงการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เคมี และพลาสติก รวมถึงโครงการก่อสร้างและขยายโรงไฟฟ้า โรงแยกก๊าซธรรมชาติ และการขยายนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมผาแดง นิคมอุตสาหกรรมตะวันออก และนิคมอุตสาหกรรมเอเชีย ที่ยื่นขอการอนุมัติรายงานการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) รวม 35 โครงการ ในจำนวนนี้ได้ผ่านการอนุมัติ EIA ไปแล้ว 34 โครงการ
นอกจากนี้ ในระหว่างปี 2550-2551 มีการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล ซึ่งเป็นนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีแห่งใหม่เพิ่มขึ้นมาอีกแห่งในพื้นที่มาบตาพุดเพื่อรองรับการก่อสร้างโรงงานปิโตรเคมีต่าง ๆ ที่ผ่านการอนุมัติรายงาน EIA ไปแล้ว
เผยรัฐฯ ละเมิด กม.-ปกปิดข้อมูล
นางสาวเพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาและรณรงค์มลภาวะอุตสาหกรรม กล่าวว่า ประเด็นที่สร้างความกังวลจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ก็คือ การขาดกฎหมายควบคุมและไม่บังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่ให้เข้มแข็ง ซึ่งที่ผ่านมามีหลายครั้งที่รัฐหรือหน่วยงานของรัฐเองเป็นผู้ละเมิดบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ กฎหมายคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และระเบียบปฏิบัติต่างๆ เสียเอง เช่น การพิจารณารายงานการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ตามข้อบังคับทางกฎหมาย โรงงานจะก่อสร้างได้ต้องผ่านการอนุมัติรายงาน EIA และได้รับใบอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม แต่โรงงานบางแห่งในพื้นที่มาบตาพุดที่สร้างไปแล้วและกำลังขยายอยู่ในเวลานี้ดำเนินการก่อสร้างโดยที่ EIA ยังอยู่ในกระบวนการพิจารณา และปัจจุบันรัฐธรรมนูญไทยกำหนดให้โครงการขนาดใหญ่ที่มีผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพต้องทำการศึกษาผลกระทบทางสุขภาพด้วย แต่โรงงานทุกแห่งในพื้นที่นี้ไม่มีการศึกษาผลกระทบทางสุขภาพเลย
นอกจากนี้รายงาน EIA ยังมีข้อจำกัดตรงที่ว่า เป็น EIA ของโรงงานแต่ละโรง ซึ่งไม่สามารถสะท้อนภาพรวมของปริมาณมลพิษและระดับรวมถึงขนาดของผลกระทบที่เกิดขึ้นจริง เพราะในแต่ละนิคมอุตสาหกรรมมีโรงงานขนาดใหญ่ตั้งอยู่รวมกันหลายสิบโรง อีกทั้งยังมีกรณีการลักลอบทิ้งของเสียอันตรายซึ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้งในพื้นที่นี้หรือพื้นที่ใกล้เคียง แต่หน่วยงานรัฐไม่เคยสอบสวนหรือดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดแต่อย่างใด
“นี่ยังไม่นับปัญหาสำคัญอีกข้อหนึ่งคือการปิดกั้นข้อมูลข่าวสาร พื้นที่มาบตาพุดขึ้นชื่อว่ามีการปกปิดและปิดกั้นข้อมูลรุนแรงที่สุดแห่งหนึ่งในทุกด้าน โดยเฉพาะเมื่อเหตุการณ์หรือเกิดปัญหาขึ้น ข้าราชการระดับสูงของหน่วยงางานด้านสิ่งแวดลอ้มและสาธารณสุขยังไม่สามารถชี้แจงข้อมูลแก่ประชาชนได้ หลายครั้งที่ข้าราชการได้รับคำสั่งให้ปิดปาก” ผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาและรณรงค์มลภาวะอุตสาหกรรม กล่าว.