ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ – ศาลปกครองเชียงใหม่พิพากษาคดีชาวบ้านแม่เมาะ สั่ง กฟผ.จ่ายค่าเสียหายรายละ 2.4 แสนบาท พร้อมอพยพชาวบ้านออกนอกรัศมีผลกระทบ 5 กิโลเมตร เลขาธิการเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะเผย รู้สึกดีใจหลังต่อสู้ยืดเยื้อมายาวนาน วอน กฟผ.เห็นใจชาวบ้านไม่ยื่นอุทธรณ์คดี
วานนี้ (4 มี.ค.) ที่ศาลปกครองเชียงใหม่ ชาวบ้านเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ ประมาณ 300 คน จากอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ซึ่งได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้องการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ฐานกระทำละเมิดอันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด
พร้อมเรียกค่าเสียหาย ตั้งแต่ปี 2546 และปี 2547 ที่แบ่งเป็น 2 คดี คือ คดีฟ้องเรียกค่าชดเชยให้กับผู้ได้รับผลกระทบและคดีขอให้ กฟผ.ปฏิบัติตามเงื่อนไขประทานบัตรการขุดเหมืองลิกไนต์ และกฎหมายสิ่งแวดล้อม ได้เดินทางมารับฟังการอ่านคำพิพากษาคดีดังกล่าวของศาลปกครองเชียงใหม่
ทั้งนี้ ในคดีฟ้องเรียกค่าชดเชยให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากมลพิษ ศาลวินิจฉัยว่า ตามรายงานการตรวจวัดอากาศของกรมควบคุมมลพิษระหว่างเดือน พ.ย.2535 ถึง ส.ค.2541 วัดค่าก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ในพื้นที่แม่เมาะเกินกว่า 1,300 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เป็นเวลา 50 เดือน จากระยะเวลา 70 เดือน (ซึ่งค่าที่กฎหมายกำหนด ตั้งแต่ ก.ค.2538 คือ ไม่เกิน 1,300 ลูกบาศก์ไมโครกรัมต่อลูกบาศ์เมตร เฉพาะในพื้นที่แม่เมาะ ส่วนพื้นที่อื่นไม่เกิน 780 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และต่อมายกเลิกการกำหนดเป็นค่าเดียวกันหมดทุกพื้นที่คือไม่เกิน 780ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ส่วนที่เหลืออีก 20 เดือน พบค่าซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เกินกว่า 780 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เป็นเวลา 17 เดือน
เมื่อ กฟผ.เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษในพื้นที่ และถูกกำหนดให้ถูกควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสีย โดยไม่ปรากฏว่าก๊าซดังกล่าวเกิดจากสาเหตุอื่น อีกทั้ง กฟผ.เคยรับว่าเมื่อวันที่ 17-18 ส.ค.2541 เครื่องดักก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ใช้การได้เพียง 2 เครื่อง ในจำนวน 10 เครื่อง ทำให้ราษฎรเจ็ป่วย 868 คน ดังนั้นการที่ กฟผ.ปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์เกินกว่า 1,300 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตั้งแต่เดือน ก.ค.2538 เป็นการผิดกฎหมายจึงเป็นละเมิด
ส่วนการปล่อยก๊าซเกิน 1,300 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในเวลาก่อนเดือน ก.ค.2538 หรือปล่อยก๊าซเกินกว่า 780 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร แม้ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติไม่ได้ห้าม แต่ศาลเห็นว่าคนแม่เมาะก็ไม่ต่างกับคนในพื้นที่อื่น จึงต้องใช้มาตรฐานเดียวกัน เมื่อ กฟผ.ปล่อยก๊าซเกินจึงต้องรับผิดตามมาตรา 96 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535
สำหรับโรคจากก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ จะมีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจและทำให้เยื่อบุจมูก เยื่อบุคอ เยื่อบุตาอักเสบ ประกอบกับราษฎรดังกล่าวได้รับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นเวล 67 เดือน ใน 70 เดือน แม้โรคจะไม่ปรากฏว่าสะสมในร่างกาย แต่ร่องรอยขอโรค คือ เยื่อบุจมูก เยื่อบุคอ เยื่อบุตา ซึ่งอักเสบเป็นเวลานานอาจปรากฏอยู่ เมื่อแพทย์ระบุว่าเป็นโรคพิษซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ประกอบกับค่าซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในอากาศเกิน 248 ครั้ง เป็นเวลา 67 เดือน ใน 70 เดือน
จึงเชื่อว่าผู้ฟ้องคดีเฉพาะที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวป่วยเป็นโรคดังกล่าวจริง แต่จากอาการโรคดังกล่าว ราษฎรที่ทนไม่ได้จะไปหาแพทย์ บางรายที่ทนได้ก็จำต้องทำมาหาเลี้ยงชีพต่อไปหรือบางรายก็ต้องอยู่แต่ในบ้านเรือนไม่ออกไปข้างนอก
ศาลจึงกำหนดค่าเสียหายเป็นค่าเสื่อมสุขภาพอนามัยและจิตใจแก่ราษฎรที่อยู่ในพื้นที่จริงตามพฤติการณ์และความร้ายแรงของการกระทำ ตามปริมาณและจำนวนครั้งที่ กฟผ.ปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โดยส่วนใหญ่จะได้รายละ 246,900 บาท พร้อมดอกเบี้ย
ส่วนคดีที่สองเรื่องการทำเหมืองถ่านหินของ กฟผ.ที่ราษฎรฟ้องว่าไม่ทำตามเงื่อนไขประทานบัตรและมาตรการป้องกันแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมนั้น ศาลวินิจฉัยในประเด็นเนื้อหาของคดี ข้อเท็จจริงปรากฏว่ามีการตรวจสอบจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะจากรายงานการตรวจร่วมและรายงานของ กฟผ.เองว่า ไม่ปฏิบัติตามาตรการหลายประการและพิพากษาให้ กฟผ.ดำเนินการ ดังนี้
1.อพยพหมู่บ้านออกนอกรัศมีผลกระทบ 5 กิโลเมตร 2.กรณีนำที่ดินปลูกป่าไปสร้างสนามกอล์ฟนั้น ตามมาตรการระบุชัดเจนว่าให้ปลูกป่าทดแทน จึงให้ กฟผ.ปลูกป่าทดแทนในพื้นที่ที่ทำสนามกอล์ฟ 3.กรณีจุดปล่อยดิน ให้กำหนดพื้นที่ปล่อยดินกับชุมชนและทำ Bunker โดยในจุดปล่อยดินต่ำกว่า Bunker เพื่อลดปัญหาฝุ่นละออง และ 4.กรณีทำรายงานการตรวจสภาพสิ่งแวดล้อมทุก 2 ปี กฟผ.ยอมรับว่าอยู่ระหว่างดำเนินการ ศาลจึงให้ กฟผ.จัดทำและนำเสนอต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณา หาก กฟผ.มีมาตรการที่ดีกว่าให้ยื่นแก้ไข
นางมะลิวรรณ นาควิโรจน์ เลขาธิการเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ กล่าวภายหลังศาลอ่านคำพิพากษาว่า รู้สึกดีใจหลังจากที่ชาวบ้านต้องต่อสู้มายาวนานนับสิบปีเพื่อรักษาสิทธิของตัวเอง ทั้งในส่วนของการให้ กฟผ.อพยพชาวบ้านออกจากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบรัศมี 5 กิโลเมตร และการจ่ายค่าเสียหายเป็นค่าเสื่อมสุขภาพให้กับชาวบ้าน แม้จะได้รับเพียง 131 ราย จากที่ร่วมกันยื่นฟ้องทั้งหมด 477 ราย เฉพาะรายที่มีใบรับรองแพทย์ และได้รับค่าเสียหายเพียงรายละไม่มากก็ตาม
ทั้งนี้ อยากวิงวอนไปยัง กฟผ.ว่าไม่น่าจะมีการยื่นอุทธรณ์ในคดีนี้อีกต่อไป และปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองเชียงใหม่ โดยอยากให้เห็นใจชาวบ้านที่ต้องทนทุกข์และต่อสู้มานานจนมีผู้ที่ต้องจากไปแล้วหลายราย ซึ่งไม่อยากให้มีการสูญเสียมากไปกว่านี้อีก แต่หาก กฟผ.จะยื่นอุทธรณ์ ชาวบ้านก็คงต้องยืนหยัดต่อสู้ต่อไป เพื่อเรียกร้องรักษาสิทธิของตัวเองให้ถึงที่สุด
ส่วนนายธีระ พลวงศ์ศรี อายุ 77 ปี ชาวบ้านบ้านหัวฝาย หมู่ 1 ตำบล ตำบลบ้านดง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นหนึ่งในชาวบ้านที่ยื่นฟ้อง กล่าวว่า ดีใจที่ศาลมีคำพิพากษา อย่างไรก็ตามรู้สึกว่าค่าเสียหายที่ได้รับ ค่อนข้างน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับผลกระทบต่างๆ โดยเฉพาะผลกระทบสุขภาพที่ชาวบ้านแม่เมาะได้รับและต้องทนทุกข์มานานนับสิบปี แต่เมื่อศาลมีคำตัดสินออกมาเช่นนี้ก็พร้อมน้อมรับ
นายพรชัย มนัสเพ็ญศิริ รองอธิบดีศาลปกครองเชียงใหม่ ซึ่งเป็นตุลาการเจ้าของสำนวนคดนี้ กล่าวว่า คู่กรณีทั้งสองฝ่ายมีสิทธิที่จะยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน ส่วนการจ่ายค่าเสียหายให้กับผู้ฟ้องนั้น จะต้องจ่ายเงินภายใน 30 วันนับตั้งแต่คดีสิ้นสุด ขณะที่การที่ศาลสั่งให้ กฟผ.ดำเนินการต่างๆ นั้น ไม่ได้กำหนดเวลาไว้เพราะการดำเนินการปรับปรุงใดๆ จำเป็นต้องใช้เวลา อย่างไรก็ตามหากการดำเนินการล่าช้า คู่กรณีก็สามารถยื่นคำร้องต่อศาลให้เร่งรัดการดำเนินการได้
นอกจากนี้นายพรชัย กล่าวถึงการกำหนดค่าซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ที่แม่เมาะสูงกว่าพื้นที่อื่นว่า โดยส่วนตัวเห็นว่าไม่ว่าจะเป็นผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใดก็ตามควรมีสิทธิที่จะใช้ค่าอากาศที่เท่าเทียมกัน เพราะมนุษย์ทุกคนต่างมีร่างกายที่เหมือนกัน เช่นเดียวกับชาวบ้านแม่เมาะที่ควรจะได้รับอากาศที่ดีเหมือนกัน
วานนี้ (4 มี.ค.) ที่ศาลปกครองเชียงใหม่ ชาวบ้านเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ ประมาณ 300 คน จากอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ซึ่งได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้องการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ฐานกระทำละเมิดอันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด
พร้อมเรียกค่าเสียหาย ตั้งแต่ปี 2546 และปี 2547 ที่แบ่งเป็น 2 คดี คือ คดีฟ้องเรียกค่าชดเชยให้กับผู้ได้รับผลกระทบและคดีขอให้ กฟผ.ปฏิบัติตามเงื่อนไขประทานบัตรการขุดเหมืองลิกไนต์ และกฎหมายสิ่งแวดล้อม ได้เดินทางมารับฟังการอ่านคำพิพากษาคดีดังกล่าวของศาลปกครองเชียงใหม่
ทั้งนี้ ในคดีฟ้องเรียกค่าชดเชยให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากมลพิษ ศาลวินิจฉัยว่า ตามรายงานการตรวจวัดอากาศของกรมควบคุมมลพิษระหว่างเดือน พ.ย.2535 ถึง ส.ค.2541 วัดค่าก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ในพื้นที่แม่เมาะเกินกว่า 1,300 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เป็นเวลา 50 เดือน จากระยะเวลา 70 เดือน (ซึ่งค่าที่กฎหมายกำหนด ตั้งแต่ ก.ค.2538 คือ ไม่เกิน 1,300 ลูกบาศก์ไมโครกรัมต่อลูกบาศ์เมตร เฉพาะในพื้นที่แม่เมาะ ส่วนพื้นที่อื่นไม่เกิน 780 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และต่อมายกเลิกการกำหนดเป็นค่าเดียวกันหมดทุกพื้นที่คือไม่เกิน 780ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ส่วนที่เหลืออีก 20 เดือน พบค่าซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เกินกว่า 780 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เป็นเวลา 17 เดือน
เมื่อ กฟผ.เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษในพื้นที่ และถูกกำหนดให้ถูกควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสีย โดยไม่ปรากฏว่าก๊าซดังกล่าวเกิดจากสาเหตุอื่น อีกทั้ง กฟผ.เคยรับว่าเมื่อวันที่ 17-18 ส.ค.2541 เครื่องดักก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ใช้การได้เพียง 2 เครื่อง ในจำนวน 10 เครื่อง ทำให้ราษฎรเจ็ป่วย 868 คน ดังนั้นการที่ กฟผ.ปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์เกินกว่า 1,300 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตั้งแต่เดือน ก.ค.2538 เป็นการผิดกฎหมายจึงเป็นละเมิด
ส่วนการปล่อยก๊าซเกิน 1,300 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในเวลาก่อนเดือน ก.ค.2538 หรือปล่อยก๊าซเกินกว่า 780 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร แม้ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติไม่ได้ห้าม แต่ศาลเห็นว่าคนแม่เมาะก็ไม่ต่างกับคนในพื้นที่อื่น จึงต้องใช้มาตรฐานเดียวกัน เมื่อ กฟผ.ปล่อยก๊าซเกินจึงต้องรับผิดตามมาตรา 96 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535
สำหรับโรคจากก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ จะมีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจและทำให้เยื่อบุจมูก เยื่อบุคอ เยื่อบุตาอักเสบ ประกอบกับราษฎรดังกล่าวได้รับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นเวล 67 เดือน ใน 70 เดือน แม้โรคจะไม่ปรากฏว่าสะสมในร่างกาย แต่ร่องรอยขอโรค คือ เยื่อบุจมูก เยื่อบุคอ เยื่อบุตา ซึ่งอักเสบเป็นเวลานานอาจปรากฏอยู่ เมื่อแพทย์ระบุว่าเป็นโรคพิษซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ประกอบกับค่าซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในอากาศเกิน 248 ครั้ง เป็นเวลา 67 เดือน ใน 70 เดือน
จึงเชื่อว่าผู้ฟ้องคดีเฉพาะที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวป่วยเป็นโรคดังกล่าวจริง แต่จากอาการโรคดังกล่าว ราษฎรที่ทนไม่ได้จะไปหาแพทย์ บางรายที่ทนได้ก็จำต้องทำมาหาเลี้ยงชีพต่อไปหรือบางรายก็ต้องอยู่แต่ในบ้านเรือนไม่ออกไปข้างนอก
ศาลจึงกำหนดค่าเสียหายเป็นค่าเสื่อมสุขภาพอนามัยและจิตใจแก่ราษฎรที่อยู่ในพื้นที่จริงตามพฤติการณ์และความร้ายแรงของการกระทำ ตามปริมาณและจำนวนครั้งที่ กฟผ.ปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โดยส่วนใหญ่จะได้รายละ 246,900 บาท พร้อมดอกเบี้ย
ส่วนคดีที่สองเรื่องการทำเหมืองถ่านหินของ กฟผ.ที่ราษฎรฟ้องว่าไม่ทำตามเงื่อนไขประทานบัตรและมาตรการป้องกันแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมนั้น ศาลวินิจฉัยในประเด็นเนื้อหาของคดี ข้อเท็จจริงปรากฏว่ามีการตรวจสอบจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะจากรายงานการตรวจร่วมและรายงานของ กฟผ.เองว่า ไม่ปฏิบัติตามาตรการหลายประการและพิพากษาให้ กฟผ.ดำเนินการ ดังนี้
1.อพยพหมู่บ้านออกนอกรัศมีผลกระทบ 5 กิโลเมตร 2.กรณีนำที่ดินปลูกป่าไปสร้างสนามกอล์ฟนั้น ตามมาตรการระบุชัดเจนว่าให้ปลูกป่าทดแทน จึงให้ กฟผ.ปลูกป่าทดแทนในพื้นที่ที่ทำสนามกอล์ฟ 3.กรณีจุดปล่อยดิน ให้กำหนดพื้นที่ปล่อยดินกับชุมชนและทำ Bunker โดยในจุดปล่อยดินต่ำกว่า Bunker เพื่อลดปัญหาฝุ่นละออง และ 4.กรณีทำรายงานการตรวจสภาพสิ่งแวดล้อมทุก 2 ปี กฟผ.ยอมรับว่าอยู่ระหว่างดำเนินการ ศาลจึงให้ กฟผ.จัดทำและนำเสนอต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณา หาก กฟผ.มีมาตรการที่ดีกว่าให้ยื่นแก้ไข
นางมะลิวรรณ นาควิโรจน์ เลขาธิการเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ กล่าวภายหลังศาลอ่านคำพิพากษาว่า รู้สึกดีใจหลังจากที่ชาวบ้านต้องต่อสู้มายาวนานนับสิบปีเพื่อรักษาสิทธิของตัวเอง ทั้งในส่วนของการให้ กฟผ.อพยพชาวบ้านออกจากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบรัศมี 5 กิโลเมตร และการจ่ายค่าเสียหายเป็นค่าเสื่อมสุขภาพให้กับชาวบ้าน แม้จะได้รับเพียง 131 ราย จากที่ร่วมกันยื่นฟ้องทั้งหมด 477 ราย เฉพาะรายที่มีใบรับรองแพทย์ และได้รับค่าเสียหายเพียงรายละไม่มากก็ตาม
ทั้งนี้ อยากวิงวอนไปยัง กฟผ.ว่าไม่น่าจะมีการยื่นอุทธรณ์ในคดีนี้อีกต่อไป และปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองเชียงใหม่ โดยอยากให้เห็นใจชาวบ้านที่ต้องทนทุกข์และต่อสู้มานานจนมีผู้ที่ต้องจากไปแล้วหลายราย ซึ่งไม่อยากให้มีการสูญเสียมากไปกว่านี้อีก แต่หาก กฟผ.จะยื่นอุทธรณ์ ชาวบ้านก็คงต้องยืนหยัดต่อสู้ต่อไป เพื่อเรียกร้องรักษาสิทธิของตัวเองให้ถึงที่สุด
ส่วนนายธีระ พลวงศ์ศรี อายุ 77 ปี ชาวบ้านบ้านหัวฝาย หมู่ 1 ตำบล ตำบลบ้านดง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นหนึ่งในชาวบ้านที่ยื่นฟ้อง กล่าวว่า ดีใจที่ศาลมีคำพิพากษา อย่างไรก็ตามรู้สึกว่าค่าเสียหายที่ได้รับ ค่อนข้างน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับผลกระทบต่างๆ โดยเฉพาะผลกระทบสุขภาพที่ชาวบ้านแม่เมาะได้รับและต้องทนทุกข์มานานนับสิบปี แต่เมื่อศาลมีคำตัดสินออกมาเช่นนี้ก็พร้อมน้อมรับ
นายพรชัย มนัสเพ็ญศิริ รองอธิบดีศาลปกครองเชียงใหม่ ซึ่งเป็นตุลาการเจ้าของสำนวนคดนี้ กล่าวว่า คู่กรณีทั้งสองฝ่ายมีสิทธิที่จะยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน ส่วนการจ่ายค่าเสียหายให้กับผู้ฟ้องนั้น จะต้องจ่ายเงินภายใน 30 วันนับตั้งแต่คดีสิ้นสุด ขณะที่การที่ศาลสั่งให้ กฟผ.ดำเนินการต่างๆ นั้น ไม่ได้กำหนดเวลาไว้เพราะการดำเนินการปรับปรุงใดๆ จำเป็นต้องใช้เวลา อย่างไรก็ตามหากการดำเนินการล่าช้า คู่กรณีก็สามารถยื่นคำร้องต่อศาลให้เร่งรัดการดำเนินการได้
นอกจากนี้นายพรชัย กล่าวถึงการกำหนดค่าซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ที่แม่เมาะสูงกว่าพื้นที่อื่นว่า โดยส่วนตัวเห็นว่าไม่ว่าจะเป็นผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใดก็ตามควรมีสิทธิที่จะใช้ค่าอากาศที่เท่าเทียมกัน เพราะมนุษย์ทุกคนต่างมีร่างกายที่เหมือนกัน เช่นเดียวกับชาวบ้านแม่เมาะที่ควรจะได้รับอากาศที่ดีเหมือนกัน