ลำปาง - โรงไฟฟ้าแม่เมาะออกโรงยัน ควบคุมมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมดีเยี่ยม ไม่ใช่ต้นเหตุหมอกควันที่เกิดขึ้น ณ เวลานี้พร้อมเชิญเข้าตรวจเยี่ยมการทำงานได้ทุกวัน
หลังจากมีกระแสข่าวออกมาว่า สาเหตุที่ทำให้ลำปาง มีปริมาณหมอกควันสูงเป็นอันดับหนึ่งของประเทศในเวลานี้เกิดจากการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ซึ่งก่อนหน้านี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ได้ออกโรงการันตีแล้วว่า สาเหตุจริงๆ ไม่ได้เกิดจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะแต่อย่างใด และได้ขอร้องให้ผู้ที่ต้องการโยงเรื่องดังกล่าวเข้าไปเกี่ยวกับโรงไฟฟ้ายุติการนำเสนอข่าวสารดังกล่าว เพราะจะทำให้เกิดความสับสนของประชาชน
ล่าสุด ฝ่ายประชาสัมพันธ์โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ได้ออกมาชี้แจงถึงวิธีการทำงานของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เพื่อให้ประชาชนสบายใจและยืนยันว่าโรงไฟฟ้าแม่เมาะมีมาตรการควบคุมมลพิษด้านสิ่งแวดล้อมดีเยี่ยม ไม่ใช่สาเหตุหลักของปัญหาหมอกควันแน่นอน
โดยการชี้แจงดังกล่าว ระบุว่า โรงไฟฟ้าแม่เมาะ มีกำลังการผลิตรวม 2,400 เมกะวัตต์ จากโรงไฟฟ้าทั้งหมด 10 โรง โดยใช้ถ่านหินลิกไนต์จากเหมืองแม่เมาะที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งต้องใช้ถ่านหินปีละ 16 ล้านตัน การขุดขนถ่านหินส่งให้โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ทำให้มีแหล่งกำเนิดฝุ่นที่สำคัญ คือเกิดจากรถขุด เครื่องโม่ สายพานลำเลียง และถนนที่ใช้ขนส่งดินและถ่าน ดังนั้นทางโรงไฟฟ้าจึงได้มีมาตรการให้ผู้รับเหมาจะต้องฉีดพ่นน้ำในดินและถ่านก่อนขุดและมีการให้ติดตั้งมาตรวัดน้ำสำหรับฉีดพ่นฝุ่นจากสายพานลำเลียง รวมทั้งฉีดพรมน้ำตลอดทั้งแนวบนถนนในบ่อและรอบบ่อเหมือง เพื่อลดปริมาณฝุ่น
นอกจากนี้ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จะต้องใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในการต้มน้ำ ให้ได้ไอน้ำอุณหภูมิสูง ซึ่งมีแรงดันสูง ไปหมุนเครื่องกังหันไอน้ำซึ่งเชื่อมต่อกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า กระบวนการเผาไหม้ถ่านหินภายในเตาจะทำให้เกิดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ฝุ่นละออง และเถ้าลอยลิกไนต์ที่จับเป็นก้อนจะตกสู่ก้นเตา
ส่วนฝุ่นละอองจะถูกพาลอยไปด้วยก๊าซร้อน ผ่านเข้าไปในเครื่องแยกฝุ่นละออง ซึ่งจะแยกฝุ่นด้วยเครื่องดักจับฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิตย์ โดยโรงไฟฟ้าทั้ง 10 โรงนั้นได้ติดตั้งเครื่องดังกล่าวครบทุกโรง มีประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่นสูงสุดถึง ร้อยละ 99.5-99.7 จะเหลือฝุ่นร้อยละ0.3-0.5 เท่านั้นที่ลอยออกจากปล่องสูง เพื่อเจือจางในอากาศ ส่วนเครื่องกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์มีประสิทธิภาพในการดักจับก๊าซสูงถึงร้อยละ 95-96
ส่วนการควบคุมคุณภาพฝุ่นภายในตัวโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จะมีการควบคุมฝุ่นจากแหล่งกำเนิด 2 แห่ง คือ ฝุ่นที่เกิดขึ้นขณะขนถ่ายเถ้าลอยลิกไนต์จากยุ้งกักเก็บ (Silo) ลงสู่รถบรรทุก การควบคุม คือ ขณะที่มีการขนถ่ายเถ้าลอยจากยุ้งกักเก็บ เถ้าลอยจะถูกลำเลียงผ่านท่อที่เชื่อมต่อระหว่างยุ้งกักเก็บกับรถบรรทุก ขั้นตอนนี้ท่อที่เชื่อมต่อ จะมีอุปกรณ์ป้องกันการฟุ้งกระจาย โดยท่อที่เชื่อมต่อจะมี 2 ชั้น ชั้นในสุดสำหรับลำเลียงเถ้าลอยให้เข้าสู่ถังเก็บของรถบรรทุกโดยตรง ส่วนชั้นนอกจะทำหน้าที่ดูดฝุ่นไม่ให้ฟุ้งกระจายขณะขนถ่ายเถ้าลอยและ รถบรรทุกจะต้องทำความสะอาด โดยการล้างรถก่อนออกนอกโรงไฟฟ้าแม่เมาะ
สำหรับในช่วงฤดูแล้งมาตรการป้องกันฝุ่นที่ใช้เป็นพิเศษ ก็คือ การเพิ่มความถี่ในการฉีดพรมน้ำบริเวณหน้างาน ได้แก่ บริเวณหน้างานขนถ่ายเถ้าลอย บ่อกักเก็บยิปซัม แนวสายพานลำเลียงยิปซัม และถนนบริเวณหน้างานขนถ่ายเถ้าลอยลิกไนต์และยิปซัม
และเพื่อเพิ่มความมั่นใจในความปลอดภัยทางโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ได้ติดตั้งจุดตรวจวัดคุณภาพอากาศในพื้นที่ปฏิบัติงานและชุมชนรอบโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เพื่อตรวจติดตามฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน โดยใช้วิธีการและเครื่องมือตามมาตรฐานที่กำหนดโดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติหรือวิธีการที่เทียบเท่า จะสามารถรายงานผลการตรวจวัดได้ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมกันที่ห้องควบคุมการผลิตโรงไฟฟ้าแม่เมาะ โรงพยาบาล แม่เมาะ และกรมควบคุมมลพิษ
อย่างไรก็ตาม จากการรายงานผลของฝ่ายสิ่งแวดล้อมการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในปี 2552 พบค่าเฉลี่ยของปริมาณฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอนในเวลา 24 ชั่วโมง ในเดือนมกราคม 2552 เกินค่ามาตรฐาน ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบได้สรุปสาเหตุหลักของการเกิดปัญหาหมอกควันว่าน่าจะเกิดจากการสัญจรของยานพาหนะบริเวณสถานีตรวจวัด อีกทั้งระยะนี้อยู่ในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งอากาศจะแห้งง่ายต่อการฟุ้งกระจายของฝุ่น มีการเผาป่า เผาขยะในที่โล่งแจ้งมากในหลายพื้นที่กระจายกันไป
หลังจากมีกระแสข่าวออกมาว่า สาเหตุที่ทำให้ลำปาง มีปริมาณหมอกควันสูงเป็นอันดับหนึ่งของประเทศในเวลานี้เกิดจากการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ซึ่งก่อนหน้านี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ได้ออกโรงการันตีแล้วว่า สาเหตุจริงๆ ไม่ได้เกิดจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะแต่อย่างใด และได้ขอร้องให้ผู้ที่ต้องการโยงเรื่องดังกล่าวเข้าไปเกี่ยวกับโรงไฟฟ้ายุติการนำเสนอข่าวสารดังกล่าว เพราะจะทำให้เกิดความสับสนของประชาชน
ล่าสุด ฝ่ายประชาสัมพันธ์โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ได้ออกมาชี้แจงถึงวิธีการทำงานของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เพื่อให้ประชาชนสบายใจและยืนยันว่าโรงไฟฟ้าแม่เมาะมีมาตรการควบคุมมลพิษด้านสิ่งแวดล้อมดีเยี่ยม ไม่ใช่สาเหตุหลักของปัญหาหมอกควันแน่นอน
โดยการชี้แจงดังกล่าว ระบุว่า โรงไฟฟ้าแม่เมาะ มีกำลังการผลิตรวม 2,400 เมกะวัตต์ จากโรงไฟฟ้าทั้งหมด 10 โรง โดยใช้ถ่านหินลิกไนต์จากเหมืองแม่เมาะที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งต้องใช้ถ่านหินปีละ 16 ล้านตัน การขุดขนถ่านหินส่งให้โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ทำให้มีแหล่งกำเนิดฝุ่นที่สำคัญ คือเกิดจากรถขุด เครื่องโม่ สายพานลำเลียง และถนนที่ใช้ขนส่งดินและถ่าน ดังนั้นทางโรงไฟฟ้าจึงได้มีมาตรการให้ผู้รับเหมาจะต้องฉีดพ่นน้ำในดินและถ่านก่อนขุดและมีการให้ติดตั้งมาตรวัดน้ำสำหรับฉีดพ่นฝุ่นจากสายพานลำเลียง รวมทั้งฉีดพรมน้ำตลอดทั้งแนวบนถนนในบ่อและรอบบ่อเหมือง เพื่อลดปริมาณฝุ่น
นอกจากนี้ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จะต้องใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในการต้มน้ำ ให้ได้ไอน้ำอุณหภูมิสูง ซึ่งมีแรงดันสูง ไปหมุนเครื่องกังหันไอน้ำซึ่งเชื่อมต่อกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า กระบวนการเผาไหม้ถ่านหินภายในเตาจะทำให้เกิดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ฝุ่นละออง และเถ้าลอยลิกไนต์ที่จับเป็นก้อนจะตกสู่ก้นเตา
ส่วนฝุ่นละอองจะถูกพาลอยไปด้วยก๊าซร้อน ผ่านเข้าไปในเครื่องแยกฝุ่นละออง ซึ่งจะแยกฝุ่นด้วยเครื่องดักจับฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิตย์ โดยโรงไฟฟ้าทั้ง 10 โรงนั้นได้ติดตั้งเครื่องดังกล่าวครบทุกโรง มีประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่นสูงสุดถึง ร้อยละ 99.5-99.7 จะเหลือฝุ่นร้อยละ0.3-0.5 เท่านั้นที่ลอยออกจากปล่องสูง เพื่อเจือจางในอากาศ ส่วนเครื่องกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์มีประสิทธิภาพในการดักจับก๊าซสูงถึงร้อยละ 95-96
ส่วนการควบคุมคุณภาพฝุ่นภายในตัวโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จะมีการควบคุมฝุ่นจากแหล่งกำเนิด 2 แห่ง คือ ฝุ่นที่เกิดขึ้นขณะขนถ่ายเถ้าลอยลิกไนต์จากยุ้งกักเก็บ (Silo) ลงสู่รถบรรทุก การควบคุม คือ ขณะที่มีการขนถ่ายเถ้าลอยจากยุ้งกักเก็บ เถ้าลอยจะถูกลำเลียงผ่านท่อที่เชื่อมต่อระหว่างยุ้งกักเก็บกับรถบรรทุก ขั้นตอนนี้ท่อที่เชื่อมต่อ จะมีอุปกรณ์ป้องกันการฟุ้งกระจาย โดยท่อที่เชื่อมต่อจะมี 2 ชั้น ชั้นในสุดสำหรับลำเลียงเถ้าลอยให้เข้าสู่ถังเก็บของรถบรรทุกโดยตรง ส่วนชั้นนอกจะทำหน้าที่ดูดฝุ่นไม่ให้ฟุ้งกระจายขณะขนถ่ายเถ้าลอยและ รถบรรทุกจะต้องทำความสะอาด โดยการล้างรถก่อนออกนอกโรงไฟฟ้าแม่เมาะ
สำหรับในช่วงฤดูแล้งมาตรการป้องกันฝุ่นที่ใช้เป็นพิเศษ ก็คือ การเพิ่มความถี่ในการฉีดพรมน้ำบริเวณหน้างาน ได้แก่ บริเวณหน้างานขนถ่ายเถ้าลอย บ่อกักเก็บยิปซัม แนวสายพานลำเลียงยิปซัม และถนนบริเวณหน้างานขนถ่ายเถ้าลอยลิกไนต์และยิปซัม
และเพื่อเพิ่มความมั่นใจในความปลอดภัยทางโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ได้ติดตั้งจุดตรวจวัดคุณภาพอากาศในพื้นที่ปฏิบัติงานและชุมชนรอบโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เพื่อตรวจติดตามฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน โดยใช้วิธีการและเครื่องมือตามมาตรฐานที่กำหนดโดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติหรือวิธีการที่เทียบเท่า จะสามารถรายงานผลการตรวจวัดได้ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมกันที่ห้องควบคุมการผลิตโรงไฟฟ้าแม่เมาะ โรงพยาบาล แม่เมาะ และกรมควบคุมมลพิษ
อย่างไรก็ตาม จากการรายงานผลของฝ่ายสิ่งแวดล้อมการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในปี 2552 พบค่าเฉลี่ยของปริมาณฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอนในเวลา 24 ชั่วโมง ในเดือนมกราคม 2552 เกินค่ามาตรฐาน ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบได้สรุปสาเหตุหลักของการเกิดปัญหาหมอกควันว่าน่าจะเกิดจากการสัญจรของยานพาหนะบริเวณสถานีตรวจวัด อีกทั้งระยะนี้อยู่ในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งอากาศจะแห้งง่ายต่อการฟุ้งกระจายของฝุ่น มีการเผาป่า เผาขยะในที่โล่งแจ้งมากในหลายพื้นที่กระจายกันไป