ASTVผู้จัดการรายวัน-เศรษฐกิจโลกทรุดหนัก กระทบเศรษฐกิจไทยปีนี้อาจโตติดลบ 4% ต่ำสุดในรอบ 10 ปี หลังเกิดวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 41 ทำส่งออกลบ 15-20% ว่างงานพุ่งทะลุ 1.5 ล้านคน นักวิชาการแนะรัฐบาลอัดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2 เน้นการลงทุนเพื่อให้เกิดการจ้างงาน
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสรุปภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคไตรมาส 1 ปี 2552 และแนวโน้มปี 2552 ว่า มีโอกาสที่เศรษฐกิจไทยทั้งปี 2552 จะขยายตัวติดลบ 4% หรือต่ำสุดในรอบ 10 ปี นับจากปี 2541 ที่เศรษฐกิจขยายตัวติดลบ10.4% ซึ่งเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวรุนแรงกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ ทำให้การส่งออกสินค้าไทยปีนี้ คาดว่าจะขยายตัวติดลบ 15-20% ส่งผลให้อัตราการว่างงานอาจพุ่งถึง 1.5 ล้านคน
“เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างแท้จริง โดยประเมินว่าเศรษฐกิจโลกปีนี้อาจขยายตัวติดลบ 1-2% โดยเฉพาะตลาดสหรัฐฯ มีแนวโน้มเศรษฐกิจติดลบ กว่าจะฟื้นตัวคงเป็นช่วงปลายปีหรือต้นปีหน้า ขณะที่ตลาดยุโรปและญี่ปุ่น มีแนวโน้มเศรษฐกิจหดตัวหนักเช่นกัน ส่งผลต่อการส่งออกไทยคาดว่าจะติดลบและมีปัญหาเรื่องการว่างงานตามมา” นายธนวรรธน์กล่าว
นายธนวรรธน์กล่าวว่า รัฐบาลได้มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบแรกออกมาแล้ว โดยอัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจไทย 1.13 แสนล้านบาท ผ่านมาตรการ เช่น แจกเงินให้กับผู้มีรายได้ไม่เกิน 1.5 หมื่นบาท คนละ 2,000 บาท การดูแลสินค้าเกษตร เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม ใช้งบ 1 แสนล้านบาท แต่ยังไม่เพียงพอ เพราะเศรษฐกิจโลกรุนแรงกว่าที่คิด จึงจำเป็นต้องมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบสองเข้ามาช่วย ด้วยการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณขององค์กรส่วนปกครองท้องถิ่น (อปท.) และเร่งรัดโครงการลงทุนในส่วนรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานรัฐบาล ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ต้องใช้การตั้งงบประมาณขาดดุลเพิ่มเติม เพียงแต่รัฐบาลค้ำประกันให้กับหน่วยงานที่มีการลงทุน
“การกระตุ้นเศรษฐกิจรอบแรก ไม่ได้หมายความว่าล้มเหลว ถือว่าทำถูกวิธีในการพยุงเศรษฐกิจเอาไว้ เพียงแต่เศรษฐกิจโลกรุนแรงกว่าที่คาดการณ์เอาไว้เยอะ ทำให้การพยุงเอาไม่อยู่ ต้องมีมาตรการรอบสองเข้ามาช่วย และต้องเน้นการกระตุ้นให้ตรงจุดผ่านการลงทุน เพิ่มช่วยให้คนตกงานมีรายได้” นายธนวรรธน์ กล่าว
นายธนวรรธน์กล่าวว่า หากรัฐบาลมีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจรอบสองออกมา คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับมาขยายตัวได้ดีขึ้น โดยทั้งปีคาดว่าจะขยายตัวติดลบ 1% หรือไม่ขยายตัวเลย อัตราการว่างงานจะลดลงเหลือ 1.3 ล้านคน หรือน้อยกว่า ซึ่งขึ้นอยู่กับมาตรการช่วยเหลือด้านแรงงานของรัฐบาลที่จะมีการอบรมสร้างอาชีพให้กับผู้ตกงาน โดยต้องทำให้เร็ว เพราะไตรมาส 2 หรือเดือนพ.ค.-มิ.ย. จะเป็นช่วงที่มีคนตกงานมากสุดถึง 1.3 ล้านคน จากแรงงานว่างงานอยู่แล้วที่ 7 แสนคน และนักศึกษาจบใหม่อีก 6-7 แสนคน
สำหรับวิธีการแก้ไขปัญหาคนตกงาน รัฐบาลจะต้องเข้ามาอบรมอาชีพสร้างงาน ซึ่งขณะนี้รัฐบาลมีโครงการรองรับแรงงานว่างงาน 5 แสนราย และจะต้องเร่งให้เกิดการลงทุนในไตรมาส 3 จะทำให้แรงงานว่างงานลดลงเหลือประมาณ 1 ล้านคนได้
นายธนวรรธน์กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยรายภูมิภาค จากการสำรวจพบว่า เศรษฐกิจทุกภูมิภาคในช่วงไตรมาส 1 ปีนี้ ชะลอตัวหมด โดยภูมิภาคที่เป็นปัญหามากสุด คือ ภาคกลาง กทม.และปริมณฑล เนื่องจากมีอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกมาก ซึ่งได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลก โดยทั้งปีคาดว่าเศรษฐกิจของภาคกลาง จะติดลบมากสุด คือ ลบ 1.9% รองลงมาเป็นกทม.และปริมณฑล ลบ 1.3% ภาคเหนือขยายตัว 0.2% ภาคใต้ 0.5% และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 0.6% และทุกภูมิภาคมีสัญญาณการฟื้นตัวเศรษฐกิจไตรมาส 4 หรือ ต้นปีหน้า
“แนวโน้มเศรษฐกิจไทยรายภูมิภาค พบว่าได้รับผลกระทบการชะลอตัวของภาคส่งออก หนักเบาขึ้นอยู่กับว่าภาคใดที่มีอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับการส่งออกมากกว่ากัน และยังเป็นผลจากยอดนักท่องเที่ยวที่ลดลง และความไม่แน่นอนทางการเมือง ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนและสัญญาณการบริโภคยังชะลอตัวต่อไป” นายธนวรรธน์กล่าว
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสรุปภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคไตรมาส 1 ปี 2552 และแนวโน้มปี 2552 ว่า มีโอกาสที่เศรษฐกิจไทยทั้งปี 2552 จะขยายตัวติดลบ 4% หรือต่ำสุดในรอบ 10 ปี นับจากปี 2541 ที่เศรษฐกิจขยายตัวติดลบ10.4% ซึ่งเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวรุนแรงกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ ทำให้การส่งออกสินค้าไทยปีนี้ คาดว่าจะขยายตัวติดลบ 15-20% ส่งผลให้อัตราการว่างงานอาจพุ่งถึง 1.5 ล้านคน
“เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างแท้จริง โดยประเมินว่าเศรษฐกิจโลกปีนี้อาจขยายตัวติดลบ 1-2% โดยเฉพาะตลาดสหรัฐฯ มีแนวโน้มเศรษฐกิจติดลบ กว่าจะฟื้นตัวคงเป็นช่วงปลายปีหรือต้นปีหน้า ขณะที่ตลาดยุโรปและญี่ปุ่น มีแนวโน้มเศรษฐกิจหดตัวหนักเช่นกัน ส่งผลต่อการส่งออกไทยคาดว่าจะติดลบและมีปัญหาเรื่องการว่างงานตามมา” นายธนวรรธน์กล่าว
นายธนวรรธน์กล่าวว่า รัฐบาลได้มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบแรกออกมาแล้ว โดยอัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจไทย 1.13 แสนล้านบาท ผ่านมาตรการ เช่น แจกเงินให้กับผู้มีรายได้ไม่เกิน 1.5 หมื่นบาท คนละ 2,000 บาท การดูแลสินค้าเกษตร เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม ใช้งบ 1 แสนล้านบาท แต่ยังไม่เพียงพอ เพราะเศรษฐกิจโลกรุนแรงกว่าที่คิด จึงจำเป็นต้องมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบสองเข้ามาช่วย ด้วยการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณขององค์กรส่วนปกครองท้องถิ่น (อปท.) และเร่งรัดโครงการลงทุนในส่วนรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานรัฐบาล ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ต้องใช้การตั้งงบประมาณขาดดุลเพิ่มเติม เพียงแต่รัฐบาลค้ำประกันให้กับหน่วยงานที่มีการลงทุน
“การกระตุ้นเศรษฐกิจรอบแรก ไม่ได้หมายความว่าล้มเหลว ถือว่าทำถูกวิธีในการพยุงเศรษฐกิจเอาไว้ เพียงแต่เศรษฐกิจโลกรุนแรงกว่าที่คาดการณ์เอาไว้เยอะ ทำให้การพยุงเอาไม่อยู่ ต้องมีมาตรการรอบสองเข้ามาช่วย และต้องเน้นการกระตุ้นให้ตรงจุดผ่านการลงทุน เพิ่มช่วยให้คนตกงานมีรายได้” นายธนวรรธน์ กล่าว
นายธนวรรธน์กล่าวว่า หากรัฐบาลมีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจรอบสองออกมา คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับมาขยายตัวได้ดีขึ้น โดยทั้งปีคาดว่าจะขยายตัวติดลบ 1% หรือไม่ขยายตัวเลย อัตราการว่างงานจะลดลงเหลือ 1.3 ล้านคน หรือน้อยกว่า ซึ่งขึ้นอยู่กับมาตรการช่วยเหลือด้านแรงงานของรัฐบาลที่จะมีการอบรมสร้างอาชีพให้กับผู้ตกงาน โดยต้องทำให้เร็ว เพราะไตรมาส 2 หรือเดือนพ.ค.-มิ.ย. จะเป็นช่วงที่มีคนตกงานมากสุดถึง 1.3 ล้านคน จากแรงงานว่างงานอยู่แล้วที่ 7 แสนคน และนักศึกษาจบใหม่อีก 6-7 แสนคน
สำหรับวิธีการแก้ไขปัญหาคนตกงาน รัฐบาลจะต้องเข้ามาอบรมอาชีพสร้างงาน ซึ่งขณะนี้รัฐบาลมีโครงการรองรับแรงงานว่างงาน 5 แสนราย และจะต้องเร่งให้เกิดการลงทุนในไตรมาส 3 จะทำให้แรงงานว่างงานลดลงเหลือประมาณ 1 ล้านคนได้
นายธนวรรธน์กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยรายภูมิภาค จากการสำรวจพบว่า เศรษฐกิจทุกภูมิภาคในช่วงไตรมาส 1 ปีนี้ ชะลอตัวหมด โดยภูมิภาคที่เป็นปัญหามากสุด คือ ภาคกลาง กทม.และปริมณฑล เนื่องจากมีอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกมาก ซึ่งได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลก โดยทั้งปีคาดว่าเศรษฐกิจของภาคกลาง จะติดลบมากสุด คือ ลบ 1.9% รองลงมาเป็นกทม.และปริมณฑล ลบ 1.3% ภาคเหนือขยายตัว 0.2% ภาคใต้ 0.5% และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 0.6% และทุกภูมิภาคมีสัญญาณการฟื้นตัวเศรษฐกิจไตรมาส 4 หรือ ต้นปีหน้า
“แนวโน้มเศรษฐกิจไทยรายภูมิภาค พบว่าได้รับผลกระทบการชะลอตัวของภาคส่งออก หนักเบาขึ้นอยู่กับว่าภาคใดที่มีอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับการส่งออกมากกว่ากัน และยังเป็นผลจากยอดนักท่องเที่ยวที่ลดลง และความไม่แน่นอนทางการเมือง ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนและสัญญาณการบริโภคยังชะลอตัวต่อไป” นายธนวรรธน์กล่าว