ASTVผู้จัดการรายวัน – ผลพวงเศรษฐกิจปลายปีพ่นพิษ 4 เดือนแรกปีงบประมาณ 52 รัฐบาลจัดเก็บรายได้ต่ำเป้า 7 หมื่นล้าน บิ๊กคลังคาดทั้งปีต่ำกว่าประมาณการ 1.3 แสนล้าน ขณะที่เงินคงคลังปรับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ส่วนการเบิกจ่ายงบฯ รสก.ขนาดใหญ่ 15 ราย เบิกแค่ 1.8 หมื่นล้าน ชี้ปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบันการลดภาษีไม่ใช่ทางออก แต่รัฐบาลต้องอัดฉีดงบประมาณเข้าระบบ ครม.เศรษฐกิจไฟเขียวแผนกู้วิกฤตชุด 2 อนุมัติกรอบกู้เงิน 7 หมื่นล้าน เริ่มเจรจา เม.ย.นี้ มาร์คฝันอยู่ยาวถึงปี 2558 สั่งจัดมหกรรมเฉลิมฉลอง 777 ปีประเทศไทย
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า วานนี้ (4 มี.ค.) ได้รายงานฐานะทางการคลังต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เศรษฐกิจ ถึงยอดการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลโดยในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552 (ต.ค.51-ม.ค.52) ว่า รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าประมาณการถึง 7 หมื่นล้านบาท เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว หากสถานการณ์ยังคงอยู่ในลักษณะนี้จะทำให้อัตราการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลทั้งปีงบประมาณ 2552 ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้สูงถึง 1.1-1.3 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของเงินคงคลังที่หลายฝ่ายต่างมีความวิตกกังวลว่ามีเงินคงคลังในปริมาณที่น้อยนั้นยอดเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมามีจำนวนเงินเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 5 หมื่นล้านบาทถือว่ามีความเหมาะสมกับปริมาณการใช้จ่ายของรัฐบาล
“ตอนนี้เงินคงคลังยังไม่มีปัญหาแต่อย่างใดเดือนที่แล้วอยู่ที่ระดับ 5 หมื่นล้านบาทและในเดือนมีนาคมนี้หลังจากที่มีการยื่นแบบเสียภาษีบุคคลธรรมดาเข้ามาก็จะทำให้เงินคงคลังเพิ่มขึ้น รวมไปถึงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนเป็นช่วงที่ยื่นแบบเสียภาษีนิติบุคคลก็จะมีเงินเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน” นายสมชัยกล่าวและว่า เงินที่เข้ามาเหล่านี้ไม่ได้เข้ามากองอยู่ในเงินคงคลังแต่จะต้องมีการใช้จ่ายออกไปตามโครงการต่างๆ เพื่อให้เศรษฐกิจสามารถเดินหน้าต่อไปได้และทำให้เงินคงคลังอยู่ในระดับปกติที่ 3-6 หมื่นล้านบาท
สำหรับในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจของประเทศและเศรษฐกิจโลกกำลังชะลอตัวมาตรการที่เหมาะสมที่จะนำมากระตุ้นเศรษฐกิจคือการใช้จ่ายเงินของภาครัฐซึ่งจะเป็นวิธีที่ดีกว่าการปรับลดมาตรการทางด้านภาษีให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ และประชาชนในภาคส่วนต่างๆ เพราะที่ผ่านมารัฐบาลได้ออกมาตรการทางด้านภาษีเพื่อช่วยมากแล้ว ทั้งนี้ หากลดภาษีให้อีกจะกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลเอง
“ส่วนข้อเสนอของกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ต้องการให้กระทรวงการคลังลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์ลงเหลือ 3% นั้นเห็นว่าการปรับลดภาษีลงไม่ว่าจะในส่วนไหนก็ตามนั้นไม่ใช่นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่เหมาะสมในช่วงนี้ แต่แนวทางที่เหมาะสมคือการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ที่ 94% ของวงเงินงบประมาณปี 2552 จำนวน 1.83 ล้านล้านบาท” นายสมชัยกล่าว
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า กระทรวงการคลัง ได้รายงานการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2552 (ต.ค.51-ก.พ.52) สามารถเบิกจ่ายได้แล้ว 706,889.63 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 38.52 สูงกว่าเป้าหมายคิดเป็นร้อยละ 0.35 และสูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.57 การเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนคิดเป็นร้อยละ 32.20 สูงกว่าเป้าหมาย ร้อยละ 2.36 แต่ต่ำกว่าการเบิกจ่ายในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.37
ขณะที่การเบิกจ่ายของรัฐวิสาหกิจ ที่ได้รับอนุมัติงบลงทุนปี 52 จำนวน 308,199.93 ล้านบาท โดยเป็นวงเงินเบิกจ่ายลงทุนที่พร้อมให้เบิกจ่าย จำนวน 275,153.74 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนมกราคม 2552 รัฐวิสาหกิจ ขนาดใหญ่ 15 แห่งสามารถเบิกจ่ายได้จริงเพียง 18,477.11 ล้านบาท หรือร้อยละ 57.41 จากเป้าหมายการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมทั้งสิ้น 32,182.38 ล้านบาท โดยมีโครงการที่ต้องเร่งรัด เช่น โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน เป็นต้น ขณะเดียวกัน ครม.เศรษฐกิจ ยังมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการประสานกับ บมจ.ทีโอที ให้รายงานความก้าวหน้าของการดำเนินโครงการ 3G ให้ครม.เศรษฐกิจรับทราบด้วย
***ไฟเขียวกรอบกู้เงิน 7 หมื่นล้าน
นายพุทธิพงษ์กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจวานนี้ ได้อนุมัติกรอบการดำเนินการกู้จากต่างประเทศ ตามมาตรการเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานจำนวน 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 7 หมื่นล้านบาท โดยจะยื่นเรื่องขอกู้จากสถาบันการเงินต่างประเทศ 3 แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (เอดีบี) และไจก้า ซึ่งรัฐบาลจะต้องดำเนินการตามกรอบรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ที่กำหนดให้ต้องผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรก่อน
โดยกรอบวงเงินกู้ดังกล่าว คาดว่า ครึ่งหนึ่งจำนวน 1,000 ล้านดอลลาร์ จะมาจากธนาคารโลก โดยกระทรวงการคลังจะเริ่มเจรจาขอกู้เงินในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2552 เพื่อนำรายละเอียดกลับมาเสนอขออนุมัติต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) และรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ก่อนที่จะรวบรวมรายละเอียดเสนอให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาได้ ในช่วงก่อนสิ้นเดือนพฤษภาคม 2552 โดยคาดว่า สภาผู้แทนราษฎรจะผ่านการพิจารณาได้ในเดือนมิถุนายน 2552 หลังจากนั้น คาดว่า จะสามารถดำเนินการกู้เงินได้ในเดือนกันยายน 2552
ส่วนการกู้เงินจากเอดีบี และ ไจก้า แห่งละ 500 ล้านดอลลาร์ จะดำเนินการในเวลาใกล้เคียงกัน โดยเริ่มการเจรจาขอกู้เงินในเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกรกฎาคม 2552 หลังจากนั้น จะนำรายละเอียดกลับมาเสนอขออนุมัติต่อที่ประชุม ครม.และรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ซึ่งคาดว่าจะเสนอให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาได้ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2552 โดยคาดว่าจะผ่านการพิจารณาภายในเดือนสิงหาคม 2552 และจะสามารถเบิกจ่ายเงินกู้ได้ในเดือนกันยายน 2552 ทั้งนี้ มอบหมายให้กระทรวงการคลัง รายงานสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีของประเทศอังกฤษ สหรัฐ ญี่ปุ่น เยอรมัน และประเทศต่าง ๆให้ที่ประชุมรับทราบทุกระยะ
นายพุทธิพงษ์กล่าวว่า กระทรวงแรงงานยังรายงานด้านแรงงานสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2552 มีผู้ว่างงาน 100,599 คน ขณะที่ยังไม่มีรายงานว่า แรงงานที่ทำงานอยู่ต่างประเทศมีการถูกเลิกจ้าง ขณะที่ช่วงเดือน พ.ย.51-ท.ค.52 ชดเชยเงินช่วยเหลือผู้ว่างงานไปแล้ว 600 ล้านบาท
***จัดมหกรรมเฉลิมฉลอง 777 ปีประเทศ
นายพุทธิพงษ์กล่าวว่า ที่ประชุมรับทราบข้อเสนอคณะที่ปรึกษาเศรษฐกิจ โดยมอบหมายให้นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ และนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ปรึกษาฯ จัดตั้งศูนย์ประสานงานเร่งรัดทางธุรกิจ หรือ One-Start Serviice และจัดทำแผนดำเนินการในการฟื้นฟูภาพลักษณ์ของประเทศ นอกจากนั้นยังเห็นชอบและมอบหมายให้จัดทำเวปไซต์ “Thailand Portal” เพื่อให้นักลงทุนผู้ดำเนินธุรกิจสามารถติดต่อผ่านจุดเดียวกัน และมอบหมายให้นายกอร์ปศักดิ์ สภาวุ รองนายกฯ เร่งรัดการลงทุนโครงการที่สำคัญเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างรากฐานสำหรับอนาคต รวมทั้งให้นักนายกรัฐมนตรีร่วมกับกระทรวงท่องเที่ยวฯ จัดทำแนวคิดจัดงามเฉลิมฉลอง 777 ปีของประเทศไทยในปี 2558 เสนอให้กระทรวงพาณิชย์ไปหารือสำนักงบประมาณจัดงาน “ไทยรวมพลัง กู้เศรษฐกิจชาติ” ในการจัดงานแสดงสินค้าเกษตรที่ประเทศจีนอีกด้วย.
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า วานนี้ (4 มี.ค.) ได้รายงานฐานะทางการคลังต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เศรษฐกิจ ถึงยอดการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลโดยในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552 (ต.ค.51-ม.ค.52) ว่า รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าประมาณการถึง 7 หมื่นล้านบาท เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว หากสถานการณ์ยังคงอยู่ในลักษณะนี้จะทำให้อัตราการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลทั้งปีงบประมาณ 2552 ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้สูงถึง 1.1-1.3 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของเงินคงคลังที่หลายฝ่ายต่างมีความวิตกกังวลว่ามีเงินคงคลังในปริมาณที่น้อยนั้นยอดเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมามีจำนวนเงินเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 5 หมื่นล้านบาทถือว่ามีความเหมาะสมกับปริมาณการใช้จ่ายของรัฐบาล
“ตอนนี้เงินคงคลังยังไม่มีปัญหาแต่อย่างใดเดือนที่แล้วอยู่ที่ระดับ 5 หมื่นล้านบาทและในเดือนมีนาคมนี้หลังจากที่มีการยื่นแบบเสียภาษีบุคคลธรรมดาเข้ามาก็จะทำให้เงินคงคลังเพิ่มขึ้น รวมไปถึงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนเป็นช่วงที่ยื่นแบบเสียภาษีนิติบุคคลก็จะมีเงินเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน” นายสมชัยกล่าวและว่า เงินที่เข้ามาเหล่านี้ไม่ได้เข้ามากองอยู่ในเงินคงคลังแต่จะต้องมีการใช้จ่ายออกไปตามโครงการต่างๆ เพื่อให้เศรษฐกิจสามารถเดินหน้าต่อไปได้และทำให้เงินคงคลังอยู่ในระดับปกติที่ 3-6 หมื่นล้านบาท
สำหรับในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจของประเทศและเศรษฐกิจโลกกำลังชะลอตัวมาตรการที่เหมาะสมที่จะนำมากระตุ้นเศรษฐกิจคือการใช้จ่ายเงินของภาครัฐซึ่งจะเป็นวิธีที่ดีกว่าการปรับลดมาตรการทางด้านภาษีให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ และประชาชนในภาคส่วนต่างๆ เพราะที่ผ่านมารัฐบาลได้ออกมาตรการทางด้านภาษีเพื่อช่วยมากแล้ว ทั้งนี้ หากลดภาษีให้อีกจะกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลเอง
“ส่วนข้อเสนอของกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ต้องการให้กระทรวงการคลังลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์ลงเหลือ 3% นั้นเห็นว่าการปรับลดภาษีลงไม่ว่าจะในส่วนไหนก็ตามนั้นไม่ใช่นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่เหมาะสมในช่วงนี้ แต่แนวทางที่เหมาะสมคือการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ที่ 94% ของวงเงินงบประมาณปี 2552 จำนวน 1.83 ล้านล้านบาท” นายสมชัยกล่าว
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า กระทรวงการคลัง ได้รายงานการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2552 (ต.ค.51-ก.พ.52) สามารถเบิกจ่ายได้แล้ว 706,889.63 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 38.52 สูงกว่าเป้าหมายคิดเป็นร้อยละ 0.35 และสูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.57 การเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนคิดเป็นร้อยละ 32.20 สูงกว่าเป้าหมาย ร้อยละ 2.36 แต่ต่ำกว่าการเบิกจ่ายในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.37
ขณะที่การเบิกจ่ายของรัฐวิสาหกิจ ที่ได้รับอนุมัติงบลงทุนปี 52 จำนวน 308,199.93 ล้านบาท โดยเป็นวงเงินเบิกจ่ายลงทุนที่พร้อมให้เบิกจ่าย จำนวน 275,153.74 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนมกราคม 2552 รัฐวิสาหกิจ ขนาดใหญ่ 15 แห่งสามารถเบิกจ่ายได้จริงเพียง 18,477.11 ล้านบาท หรือร้อยละ 57.41 จากเป้าหมายการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมทั้งสิ้น 32,182.38 ล้านบาท โดยมีโครงการที่ต้องเร่งรัด เช่น โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน เป็นต้น ขณะเดียวกัน ครม.เศรษฐกิจ ยังมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการประสานกับ บมจ.ทีโอที ให้รายงานความก้าวหน้าของการดำเนินโครงการ 3G ให้ครม.เศรษฐกิจรับทราบด้วย
***ไฟเขียวกรอบกู้เงิน 7 หมื่นล้าน
นายพุทธิพงษ์กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจวานนี้ ได้อนุมัติกรอบการดำเนินการกู้จากต่างประเทศ ตามมาตรการเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานจำนวน 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 7 หมื่นล้านบาท โดยจะยื่นเรื่องขอกู้จากสถาบันการเงินต่างประเทศ 3 แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (เอดีบี) และไจก้า ซึ่งรัฐบาลจะต้องดำเนินการตามกรอบรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ที่กำหนดให้ต้องผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรก่อน
โดยกรอบวงเงินกู้ดังกล่าว คาดว่า ครึ่งหนึ่งจำนวน 1,000 ล้านดอลลาร์ จะมาจากธนาคารโลก โดยกระทรวงการคลังจะเริ่มเจรจาขอกู้เงินในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2552 เพื่อนำรายละเอียดกลับมาเสนอขออนุมัติต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) และรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ก่อนที่จะรวบรวมรายละเอียดเสนอให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาได้ ในช่วงก่อนสิ้นเดือนพฤษภาคม 2552 โดยคาดว่า สภาผู้แทนราษฎรจะผ่านการพิจารณาได้ในเดือนมิถุนายน 2552 หลังจากนั้น คาดว่า จะสามารถดำเนินการกู้เงินได้ในเดือนกันยายน 2552
ส่วนการกู้เงินจากเอดีบี และ ไจก้า แห่งละ 500 ล้านดอลลาร์ จะดำเนินการในเวลาใกล้เคียงกัน โดยเริ่มการเจรจาขอกู้เงินในเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกรกฎาคม 2552 หลังจากนั้น จะนำรายละเอียดกลับมาเสนอขออนุมัติต่อที่ประชุม ครม.และรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ซึ่งคาดว่าจะเสนอให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาได้ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2552 โดยคาดว่าจะผ่านการพิจารณาภายในเดือนสิงหาคม 2552 และจะสามารถเบิกจ่ายเงินกู้ได้ในเดือนกันยายน 2552 ทั้งนี้ มอบหมายให้กระทรวงการคลัง รายงานสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีของประเทศอังกฤษ สหรัฐ ญี่ปุ่น เยอรมัน และประเทศต่าง ๆให้ที่ประชุมรับทราบทุกระยะ
นายพุทธิพงษ์กล่าวว่า กระทรวงแรงงานยังรายงานด้านแรงงานสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2552 มีผู้ว่างงาน 100,599 คน ขณะที่ยังไม่มีรายงานว่า แรงงานที่ทำงานอยู่ต่างประเทศมีการถูกเลิกจ้าง ขณะที่ช่วงเดือน พ.ย.51-ท.ค.52 ชดเชยเงินช่วยเหลือผู้ว่างงานไปแล้ว 600 ล้านบาท
***จัดมหกรรมเฉลิมฉลอง 777 ปีประเทศ
นายพุทธิพงษ์กล่าวว่า ที่ประชุมรับทราบข้อเสนอคณะที่ปรึกษาเศรษฐกิจ โดยมอบหมายให้นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ และนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ปรึกษาฯ จัดตั้งศูนย์ประสานงานเร่งรัดทางธุรกิจ หรือ One-Start Serviice และจัดทำแผนดำเนินการในการฟื้นฟูภาพลักษณ์ของประเทศ นอกจากนั้นยังเห็นชอบและมอบหมายให้จัดทำเวปไซต์ “Thailand Portal” เพื่อให้นักลงทุนผู้ดำเนินธุรกิจสามารถติดต่อผ่านจุดเดียวกัน และมอบหมายให้นายกอร์ปศักดิ์ สภาวุ รองนายกฯ เร่งรัดการลงทุนโครงการที่สำคัญเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างรากฐานสำหรับอนาคต รวมทั้งให้นักนายกรัฐมนตรีร่วมกับกระทรวงท่องเที่ยวฯ จัดทำแนวคิดจัดงามเฉลิมฉลอง 777 ปีของประเทศไทยในปี 2558 เสนอให้กระทรวงพาณิชย์ไปหารือสำนักงบประมาณจัดงาน “ไทยรวมพลัง กู้เศรษฐกิจชาติ” ในการจัดงานแสดงสินค้าเกษตรที่ประเทศจีนอีกด้วย.