ASTVผู้จัดการรายวัน-“พาณิชย์”เตรียมระบายข้าวในสต๊อก 5 ล้านตัน เน้นขายจีทูจี และเปิดประมูลโดยมีเงื่อนไขต้องส่งออกเท่านั้น คาดเริ่มปลายมี.ค.นี้ ผู้ส่งออกเห็นดีด้วย เหตุเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม แต่ดักคออย่าให้ซ้ำรอยเดิมเอื้อรายใหญ่แค่ไม่กี่ราย “อภิรดี”เตรียมบุกญี่ปุ่นโปรโมตข้าวไทย 5-12 มี.ค.นี้ ส่วนแนวคิดตั้งกองทุนข้าวสำรองอาเซียน ทุกชาติเห็นดีเห็นงาม แต่ไม่มีใครเอาด้วย
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงฯ ได้ทำหนังสือไปยังกลุ่มประเทศที่ต้องการซื้อข้าวจากไทยแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) เพื่อขอคำยืนยันว่าต้องการซื้อข้าวไทยอีกหรือไม่ ตามประเทศที่ได้เคยมีการติดต่อเข้ามาก่อนหน้านี้ เช่น แองโกลา ไอบีเรีย จิบูติ รวมปริมาณ 5-6 แสนตัน โดยกำหนดให้ส่งหนังสือตอบรับกลับมาภายในเดือนมี.ค. เพราะรัฐบาลมีแผนจะระบายออกข้าวจากสต๊อกที่ขณะนี้มีมากถึง 5 ล้านตัน และกำลังเตรียมเปิดโครงการรับจำนำข้าวนาปรัง ปีการผลิต 2552 ที่กำหนดเป้าหมายรับจำนำข้าว 2.5 ล้านตัน
“การระบายข้าวในสต๊อกรัฐบาล เป้าหมายแรก จะระบายสต๊อกข้าวผ่านจีทูจีก่อน ตั้งเป้าไว้ว่าจะระบายผ่านจีทูจีในปีนี้ประมาณ 1 ล้านตัน ที่เหลือจะเปิดให้เอกชนเข้ามาประมูล ภายใต้เงื่อนไขต้องระบายออกนอกประเทศเพียงอย่างเดียว”แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ การเปิดให้เอกชนเข้ามาประมูลข้าวสต๊อกรัฐบาล คาดว่าจะเริ่มเปิดระบายได้ในช่วงปลายมี.ค. เพราะเป็นระยะเวลาที่เหมาะสม และไม่น่าจะกระทบต่อราคาข้าวให้ลดลง เนื่องจากรัฐบาลจะทยอยระบายครั้งละ 2-3 แสนตันเท่านั้น เพื่อไม่ให้มีผลต่อราคาข้าวในตลาด
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า หากรัฐบาลจะระบายข้าวช่วงปลายเดือนมี.ค. ถือว่าเป็นระยะเวลาที่เหมาะสม แต่รัฐบาลจะต้องกำหนดเงื่อนไขการประมูลให้โปร่งใส ชัดเจน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ส่งออกทุกรายมีสิทธิ์เข้าร่วมประมูลและได้ข้าวอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ใช่การกระจุกตัวอยู่แค่ 2-3 รายใหญ่เหมือนที่ผ่านมา เพราะการกระจายข้าวอย่างทั่วถึงจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งออกข้าวไทยมากกว่า
“ต้องระบายอย่างทั่วถึง อย่ากระจุกตัวเพียงไม่กี่ราย ซึ่งจะช่วยให้รัฐบาลสามารถระบายสต๊อกข้าวออกไปได้เร็ว เพราะขณะนี้มีข้าวเหลือในสต๊อกจำนวนมากถึง 4-5 ล้านตัน” นายชูเกียรติ กล่าว
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า ระหว่างวันที่ 5-12 มี.ค.นี้ กรมฯจะพาคณะผู้ส่งออกข้าวไทยเดินทางไปไปประเทศญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมการส่งออกข้าวไทยในตลาดญี่ปุ่น โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ ซึ่งจะมีการร่วมกิจกรรมในงานแสดงสินค้าอาหารของญี่ปุ่น และจะพบกับผู้นำเข้าของญี่ปุ่นรวมถึงหน่วยงานตรวจสอบข้าวของญี่ปุ่น ที่จะหารือเรื่องการดูแลคุณภาพข้าว เพื่อสร้างความมั่นใจว่าข้าวไทยไม่มีสารตกค้าง
“จะใช้โอกาสในงานแสดงสินค้าอาหารของญี่ปุ่น ด้วยการเปิดบูธ เพื่อนำเสนอการบริโภคข้าวไทยแบบใหม่ๆ เช่น นำข้าวไทยมาแปรรูปเป็นอาหารว่าง โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ ที่ถือว่ามีโอกาสในตลาดญี่ปุ่นมาก แม้ปัจจุบันจะนำเข้าไปไม่มาก แต่ก็ได้กลุ่มคนรุ่นใหม่ของญี่ปุ่นที่เดินทางมาเที่ยวไทยและรู้จักข้าวหอมมะลิ จึงเชื่อว่าจะเพิ่มปริมาณส่งออกได้ไม่ยาก” นางอภิรดี กล่าว
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน บวก 3 ประเทศ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ไทยได้หยิบยกประเด็นความร่วมมือการก่อตั้งกองทุนข้าวสำรองอาเซียน บวก 3 ประเทศ เข้าไปหารือ ซึ่งหลายๆ ประเทศรู้สึกชื่นชมถึงแนวทางดังกล่าว เพราะจะช่วยเพิ่มความมั่นคงทางด้านอาหารแก่ประเทศสมาชิกมากขึ้น หลังจากที่ผ่านมา เกิดปัญหาราคาผันผวนและภัยธรรมชาติจนทำให้เกิดการขาดแคลน โดยการจัดตั้งกองทุนนี้เป็นส่วนหนึ่งในกรอบความร่วมมือของอาหารและพลังงานอาเซียนด้วย
อย่างไรก็ตาม ในการหารือไม่มีความชัดเจนถึงรายละเอียดว่าจะผลักดันสำเร็จเมื่อใด หรือกำหนดเพิ่มปริมาณสำรองข้าวอาเซียนเป็นเท่าไร โดยที่ผ่านมา แม้ไทยจะพยายามเป็นผู้ผลักดันให้ใช้ข้าวของรัฐบาลไทย เพิ่มเป็นสต๊อกสำรอง แต่หลายชาติไม่ตอบรับ โดยเห็นว่าไม่จำเป็นต้องเสียเงินมาซื้อข้าวของไทยเพื่อสต็อกไว้ล่วงหน้า เพราะหลายประเทศในภูมิภาคสามารถปลูกข้าวบริโภคภายในประเทศเองได้
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงฯ ได้ทำหนังสือไปยังกลุ่มประเทศที่ต้องการซื้อข้าวจากไทยแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) เพื่อขอคำยืนยันว่าต้องการซื้อข้าวไทยอีกหรือไม่ ตามประเทศที่ได้เคยมีการติดต่อเข้ามาก่อนหน้านี้ เช่น แองโกลา ไอบีเรีย จิบูติ รวมปริมาณ 5-6 แสนตัน โดยกำหนดให้ส่งหนังสือตอบรับกลับมาภายในเดือนมี.ค. เพราะรัฐบาลมีแผนจะระบายออกข้าวจากสต๊อกที่ขณะนี้มีมากถึง 5 ล้านตัน และกำลังเตรียมเปิดโครงการรับจำนำข้าวนาปรัง ปีการผลิต 2552 ที่กำหนดเป้าหมายรับจำนำข้าว 2.5 ล้านตัน
“การระบายข้าวในสต๊อกรัฐบาล เป้าหมายแรก จะระบายสต๊อกข้าวผ่านจีทูจีก่อน ตั้งเป้าไว้ว่าจะระบายผ่านจีทูจีในปีนี้ประมาณ 1 ล้านตัน ที่เหลือจะเปิดให้เอกชนเข้ามาประมูล ภายใต้เงื่อนไขต้องระบายออกนอกประเทศเพียงอย่างเดียว”แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ การเปิดให้เอกชนเข้ามาประมูลข้าวสต๊อกรัฐบาล คาดว่าจะเริ่มเปิดระบายได้ในช่วงปลายมี.ค. เพราะเป็นระยะเวลาที่เหมาะสม และไม่น่าจะกระทบต่อราคาข้าวให้ลดลง เนื่องจากรัฐบาลจะทยอยระบายครั้งละ 2-3 แสนตันเท่านั้น เพื่อไม่ให้มีผลต่อราคาข้าวในตลาด
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า หากรัฐบาลจะระบายข้าวช่วงปลายเดือนมี.ค. ถือว่าเป็นระยะเวลาที่เหมาะสม แต่รัฐบาลจะต้องกำหนดเงื่อนไขการประมูลให้โปร่งใส ชัดเจน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ส่งออกทุกรายมีสิทธิ์เข้าร่วมประมูลและได้ข้าวอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ใช่การกระจุกตัวอยู่แค่ 2-3 รายใหญ่เหมือนที่ผ่านมา เพราะการกระจายข้าวอย่างทั่วถึงจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งออกข้าวไทยมากกว่า
“ต้องระบายอย่างทั่วถึง อย่ากระจุกตัวเพียงไม่กี่ราย ซึ่งจะช่วยให้รัฐบาลสามารถระบายสต๊อกข้าวออกไปได้เร็ว เพราะขณะนี้มีข้าวเหลือในสต๊อกจำนวนมากถึง 4-5 ล้านตัน” นายชูเกียรติ กล่าว
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า ระหว่างวันที่ 5-12 มี.ค.นี้ กรมฯจะพาคณะผู้ส่งออกข้าวไทยเดินทางไปไปประเทศญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมการส่งออกข้าวไทยในตลาดญี่ปุ่น โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ ซึ่งจะมีการร่วมกิจกรรมในงานแสดงสินค้าอาหารของญี่ปุ่น และจะพบกับผู้นำเข้าของญี่ปุ่นรวมถึงหน่วยงานตรวจสอบข้าวของญี่ปุ่น ที่จะหารือเรื่องการดูแลคุณภาพข้าว เพื่อสร้างความมั่นใจว่าข้าวไทยไม่มีสารตกค้าง
“จะใช้โอกาสในงานแสดงสินค้าอาหารของญี่ปุ่น ด้วยการเปิดบูธ เพื่อนำเสนอการบริโภคข้าวไทยแบบใหม่ๆ เช่น นำข้าวไทยมาแปรรูปเป็นอาหารว่าง โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ ที่ถือว่ามีโอกาสในตลาดญี่ปุ่นมาก แม้ปัจจุบันจะนำเข้าไปไม่มาก แต่ก็ได้กลุ่มคนรุ่นใหม่ของญี่ปุ่นที่เดินทางมาเที่ยวไทยและรู้จักข้าวหอมมะลิ จึงเชื่อว่าจะเพิ่มปริมาณส่งออกได้ไม่ยาก” นางอภิรดี กล่าว
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน บวก 3 ประเทศ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ไทยได้หยิบยกประเด็นความร่วมมือการก่อตั้งกองทุนข้าวสำรองอาเซียน บวก 3 ประเทศ เข้าไปหารือ ซึ่งหลายๆ ประเทศรู้สึกชื่นชมถึงแนวทางดังกล่าว เพราะจะช่วยเพิ่มความมั่นคงทางด้านอาหารแก่ประเทศสมาชิกมากขึ้น หลังจากที่ผ่านมา เกิดปัญหาราคาผันผวนและภัยธรรมชาติจนทำให้เกิดการขาดแคลน โดยการจัดตั้งกองทุนนี้เป็นส่วนหนึ่งในกรอบความร่วมมือของอาหารและพลังงานอาเซียนด้วย
อย่างไรก็ตาม ในการหารือไม่มีความชัดเจนถึงรายละเอียดว่าจะผลักดันสำเร็จเมื่อใด หรือกำหนดเพิ่มปริมาณสำรองข้าวอาเซียนเป็นเท่าไร โดยที่ผ่านมา แม้ไทยจะพยายามเป็นผู้ผลักดันให้ใช้ข้าวของรัฐบาลไทย เพิ่มเป็นสต๊อกสำรอง แต่หลายชาติไม่ตอบรับ โดยเห็นว่าไม่จำเป็นต้องเสียเงินมาซื้อข้าวของไทยเพื่อสต็อกไว้ล่วงหน้า เพราะหลายประเทศในภูมิภาคสามารถปลูกข้าวบริโภคภายในประเทศเองได้