วานนี้ (23 มี.ค.) นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา เลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาติดตามการบังคับใช้กฎหมายและมาตรการเกี่ยวกับการพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ วุฒิสภา ได้ทำหนังสือถึงประธานวุฒิสภา เพื่อยื่นกระทู้ถามด่วนนายกรัฐมนตรี เรื่อง การกระทำอันเป็นการให้ร้ายประเทศไทยและสถาบันพระมหากษัตริย์ของนายใจ อึ๊งภากรณ์
กระทู้ถามด่วนระบุว่า ตามที่นายใจ อึ๊งภากรณ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ต้องหาในคดีดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ พระราชินี และรัชทายาท ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ได้ดำเนินการเผยแพร่ ข้อเขียนเรื่อง แถลงการณ์สยามแดง หรือ Red Siam Manifesto อันมีลักษณะผิดประมวลกฎหมายอาญาหลายบทหลายมาตรา ไปทั่วประเทศ ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 9 ก.พ. 2552 ก่อนที่จะเดินทางไปยังประเทศอังกฤษ
และยังได้ดำเนินการเผยแพร่ความคิดอันมีลักษณะให้ร้ายประเทศไทยและสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างต่อเนื่องในประเทศอังกฤษ โดยการให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ The Guardian ซึ่งตีพิมพ์ในประเทศอังกฤษ ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวต่าง ๆ เผยแพร่ทางเว็บไซต์ไปทั่วโลก เขียนบทความส่งเข้าเผยแพร่ในประเทศไทย และล่าสุดเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2552 ไปบรรยายพิเศษที่วิทยาลัยอาฟริกันและบูรพศึกษา (SOAS) มหาวิทยาลัยลอนดอน มีลักษณะให้ร้ายประเทศไทยและสถาบันพระมหากษัตริย์ และอาจเข้าข่ายความผิดฐานความมั่นคงต่อรัฐ เนื้อหาคำบรรยายดังกล่าวยังได้รับการเผยแพร่ต่อทางระบบอินเตอร์เน็ตไปทั่วโลก แต่จวบจนบัดนี้ไม่ปรากฏว่ารัฐบาล ได้ดำเนินการแก้ไขเยียวยาโดยมาตรการทางกฎหมายและมาตรการทางการเมือง แต่ประการใด จึงขอถามนายกรัฐมนตรีรวม 3 ข้อ
1. นอกเหนือจากข้อหาเดิม (ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112) แล้ว รัฐบาล โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มีการพิจารณาตั้งข้อหาใหม่แก่นายใจ กรณีเผยแพร่ข้อเขียนเรื่อง แถลงการณ์สยามแดง และการกระทำอื่นในประเทศอังกฤษหรือไม่
2. รัฐบาลมีแนวทางในการชี้แจงความจริงตอบโต้การให้ข้อมูลเท็จของนายใจ อย่างไร ทั้งในขอบเขตประเทศไทย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในต่างประเทศ และ3. รัฐบาลมีความคืบหน้าเป็นรูปธรรมอย่างไรในการปฏิบัตินโยบายพิทักษ์ปกป้องสถาบันพระมหา กษัตริย์ อันเป็นทั้งนโยบายสำคัญข้อแรกของรัฐบาล และคำประกาศแรกหลังรับพระบรมราชโองการให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรี
นายคำนูณเปิดเผยว่า ยังไม่เป็นที่แน่ชัด ว่ากระทู้นี้จะได้รับการบรรจุเมื่อไร แต่มีกระทู้ทำนองเดียวกันนี้ของ นายอโณทัย ฤทธิปัญญาวงศ์ ส.ว.สรรหา ได้รับการบรรจุในระเบียบวาระการประชุมวันที่ 6 มี.ค. 2552 นี้แล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานในวันเดียวกัน ได้มีการประชุมของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาติดตามการบังคับใช้กฎหมายและมาตรการเกี่ยวกับการพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ วุฒิสภา โดยได้พิจารณารายงานความคืบหน้าของคณะอนุกรรมาธิการ 3 คณะ โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้มีมติเห็นด้วยกับมติของคณะอนุกรรมาธิการติดตาม คดีความที่เสนอว่ากรณีของนายใจ อึ๊งภากรณ์และขบวนการเกี่ยวเนื่องที่เริ่มต้นมาจาก กรณี แถลงการณ์สยามแดง เป็นคดีที่เกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ ไม่ใช่แต่เพียง คดีดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เท่านั้น เพราะเป็นการเสนอให้เปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทยไปเป็นระบบสาธารณรัฐ โดยมีข้อเสนอให้จัดตั้งพรรคการเมือง มีการระบุยุทธศาสตร์และยุทธวิธีการเคลื่อนไหวอย่างชัดเจน
ขณะเดียวกัน ที่ประชุมให้ตั้งข้อสังเกตให้จับตาการตัดสินสั่งคดีของเจ้าพนักงานอัยการในคดีที่นายจักรภพ เพ็ญแข ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จากการไปปาฐกถาเป็นภาษาอังกฤษที่สโมสร ผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจสั่งฟ้องเมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2551 และส่งเรื่องไปยังเจ้าพนักงานอัยการเมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2552 และเชื่อว่าจะมีการสั่งคดีโดยเจ้าพนักงานอัยการภายในวันที่ 5 มี.ค.2552 นี้
มีอนุกรรมาธิการบางท่านเชื่อว่าเจ้าพนักงานอัยการจะสั่งไม่ฟ้อง หลังจาก ได้พูดคุยกับเจ้าพนักงานอัยการระดับสูงหลายคน แต่กรรมาธิการส่วนใหญ่ไม่เชื่อ เพราะยังเชื่อในการทำงานที่บริสุทธิ์ ยุติธรรม เคร่งครัดต่อกฎหมาย รวมถึง การมองเห็นภาพรวมของประเทศ ของเจ้าพนักงานอัยการ แต่ก็ขอให้ กรรมาธิการทุกท่านช่วยกันจับตาดู
กระทู้ถามด่วนระบุว่า ตามที่นายใจ อึ๊งภากรณ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ต้องหาในคดีดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ พระราชินี และรัชทายาท ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ได้ดำเนินการเผยแพร่ ข้อเขียนเรื่อง แถลงการณ์สยามแดง หรือ Red Siam Manifesto อันมีลักษณะผิดประมวลกฎหมายอาญาหลายบทหลายมาตรา ไปทั่วประเทศ ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 9 ก.พ. 2552 ก่อนที่จะเดินทางไปยังประเทศอังกฤษ
และยังได้ดำเนินการเผยแพร่ความคิดอันมีลักษณะให้ร้ายประเทศไทยและสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างต่อเนื่องในประเทศอังกฤษ โดยการให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ The Guardian ซึ่งตีพิมพ์ในประเทศอังกฤษ ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวต่าง ๆ เผยแพร่ทางเว็บไซต์ไปทั่วโลก เขียนบทความส่งเข้าเผยแพร่ในประเทศไทย และล่าสุดเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2552 ไปบรรยายพิเศษที่วิทยาลัยอาฟริกันและบูรพศึกษา (SOAS) มหาวิทยาลัยลอนดอน มีลักษณะให้ร้ายประเทศไทยและสถาบันพระมหากษัตริย์ และอาจเข้าข่ายความผิดฐานความมั่นคงต่อรัฐ เนื้อหาคำบรรยายดังกล่าวยังได้รับการเผยแพร่ต่อทางระบบอินเตอร์เน็ตไปทั่วโลก แต่จวบจนบัดนี้ไม่ปรากฏว่ารัฐบาล ได้ดำเนินการแก้ไขเยียวยาโดยมาตรการทางกฎหมายและมาตรการทางการเมือง แต่ประการใด จึงขอถามนายกรัฐมนตรีรวม 3 ข้อ
1. นอกเหนือจากข้อหาเดิม (ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112) แล้ว รัฐบาล โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มีการพิจารณาตั้งข้อหาใหม่แก่นายใจ กรณีเผยแพร่ข้อเขียนเรื่อง แถลงการณ์สยามแดง และการกระทำอื่นในประเทศอังกฤษหรือไม่
2. รัฐบาลมีแนวทางในการชี้แจงความจริงตอบโต้การให้ข้อมูลเท็จของนายใจ อย่างไร ทั้งในขอบเขตประเทศไทย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในต่างประเทศ และ3. รัฐบาลมีความคืบหน้าเป็นรูปธรรมอย่างไรในการปฏิบัตินโยบายพิทักษ์ปกป้องสถาบันพระมหา กษัตริย์ อันเป็นทั้งนโยบายสำคัญข้อแรกของรัฐบาล และคำประกาศแรกหลังรับพระบรมราชโองการให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรี
นายคำนูณเปิดเผยว่า ยังไม่เป็นที่แน่ชัด ว่ากระทู้นี้จะได้รับการบรรจุเมื่อไร แต่มีกระทู้ทำนองเดียวกันนี้ของ นายอโณทัย ฤทธิปัญญาวงศ์ ส.ว.สรรหา ได้รับการบรรจุในระเบียบวาระการประชุมวันที่ 6 มี.ค. 2552 นี้แล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานในวันเดียวกัน ได้มีการประชุมของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาติดตามการบังคับใช้กฎหมายและมาตรการเกี่ยวกับการพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ วุฒิสภา โดยได้พิจารณารายงานความคืบหน้าของคณะอนุกรรมาธิการ 3 คณะ โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้มีมติเห็นด้วยกับมติของคณะอนุกรรมาธิการติดตาม คดีความที่เสนอว่ากรณีของนายใจ อึ๊งภากรณ์และขบวนการเกี่ยวเนื่องที่เริ่มต้นมาจาก กรณี แถลงการณ์สยามแดง เป็นคดีที่เกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ ไม่ใช่แต่เพียง คดีดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เท่านั้น เพราะเป็นการเสนอให้เปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทยไปเป็นระบบสาธารณรัฐ โดยมีข้อเสนอให้จัดตั้งพรรคการเมือง มีการระบุยุทธศาสตร์และยุทธวิธีการเคลื่อนไหวอย่างชัดเจน
ขณะเดียวกัน ที่ประชุมให้ตั้งข้อสังเกตให้จับตาการตัดสินสั่งคดีของเจ้าพนักงานอัยการในคดีที่นายจักรภพ เพ็ญแข ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จากการไปปาฐกถาเป็นภาษาอังกฤษที่สโมสร ผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจสั่งฟ้องเมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2551 และส่งเรื่องไปยังเจ้าพนักงานอัยการเมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2552 และเชื่อว่าจะมีการสั่งคดีโดยเจ้าพนักงานอัยการภายในวันที่ 5 มี.ค.2552 นี้
มีอนุกรรมาธิการบางท่านเชื่อว่าเจ้าพนักงานอัยการจะสั่งไม่ฟ้อง หลังจาก ได้พูดคุยกับเจ้าพนักงานอัยการระดับสูงหลายคน แต่กรรมาธิการส่วนใหญ่ไม่เชื่อ เพราะยังเชื่อในการทำงานที่บริสุทธิ์ ยุติธรรม เคร่งครัดต่อกฎหมาย รวมถึง การมองเห็นภาพรวมของประเทศ ของเจ้าพนักงานอัยการ แต่ก็ขอให้ กรรมาธิการทุกท่านช่วยกันจับตาดู