ในที่สุด “การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน (Asean Summit) ครั้งที่ 14” ก็ผ่านพ้นไปเรียบร้อยแล้วเมื่อสุดสัปดาห์ที่แล้ว โดยมีผู้นำของ 10 ประเทศสมาชิกเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง ไม่มีขาดตกบกพร่องไปแม้แต่คนเดียว ดังที่เคยกังวลกันว่าจะมาไม่ครบด้วยการส่งตัวแทน
น่าเสียดายที่กลุ่มประเทศเจรจาร่วมด้านเอเชียตะวันออก จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นไม่ได้เข้าร่วมประชุมด้วย แม้กระทั่ง อินเดีย แต่ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ได้ส่งคณะผู้แทนด้านต่างประเทศและการพาณิชย์เข้าร่วมเจรจาทวิภาคี (Bilateral) ด้วย
“แสงแดด” ได้มีโอกาสไปเข้าร่วม “สะเออะ” สังเกตการณ์กับเขาด้วย จึงนับว่าเป็นโอกาสอันดีที่จะสามารถทำตัวเป็น “ผู้สื่อข่าว” ของ “ผู้จัดการ” เราในการรายงานบรรยากาศ ตลอดจนซอกมุมของการประชุมทั้งระดับพหุภาคี (Multilateral) และระดับทวิภาคี
บังเอิญโชคดีที่ “แสงแดด” มีสมัครพรรคพวกเพื่อนฝูงอยู่หลายวงการ ทั้งวงการวิชาการ สื่อสารมวลชน นักการเมือง และขอแถมด้วยว่า แม้กระทั่ง “นักธุรกิจ-นักการเมือง” ระดับนานาชาติ ก็ยังสะเออะมีโอกาสได้ทักทายกันด้วย หลังจากที่ไม่ได้เจอกันนาน
แม้กระทั่ง “เลขาธิการอาเซียน : ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ” ที่เพิ่งเจอกันที่กรุงเทพฯ ก็ได้ไปสัมผัสมือพร้อมได้ฟังคำกล่าวบนเวทีที่ “กระทรวงพาณิชย์” และ “สำนักงานเลขาธิการอาเซียน” ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดเลี้ยงบรรดาอดีตเลขาธิการและอุปทูตอาเซียนในอดีต ตลอดจนรัฐมนตรีพาณิชย์ทั้ง 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน และทูตพาณิชย์จากกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปจำนวนเกือบ 10 คน “แสงแดด” ยังได้มีโอกาสสนทนาพูดคุยกับ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ
แต่ที่ดีใจที่สุด คือได้เจอเพื่อนเก่า Mr.Rajahratnum ชาวอินเดีย-สิงคโปร์ ที่ไม่ได้พบกันมาเกือบ 18-20 ปี แต่ปัจจุบันมีตำแหน่งใหญ่โตเป็นถึง “ที่ปรึกษาพิเศษ” ของ “เลขาธิการอาเซียน” เรียกว่า แทบจะกอดกันกลมเลยทีเดียว เนื่องด้วย Mr.Rajah คุ้นเคยกับทุกคนในสมาชิกครอบครัว “แสงแดด” ตั้งแต่บุพการีและลูกๆ ทุกคน
“การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน” ที่ไทยเป็นเจ้าภาพในครั้งนี้ จากการเข้าร่วมฟังการประชุม และบรรยากาศทั้งภายในสถานที่จัดประชุมและทั่วเมืองของชะอำและหัวหิน ต้องบอกตามตรงว่า “ประสบความสำเร็จ (Successful)” อย่างมาก แทบทุกกรณี
กล่าวคือ หนึ่ง กรณีความเชื่อมั่นและศรัทธาที่เกิดขึ้นระหว่าง 10 ประเทศสมาชิกกันเองแล้ว ยังมีกลุ่มประเทศนอกกรอบเจรจามาร่วมสังเกตการณ์จากทั่วโลกด้วย แม้กระทั่งสหรัฐอเมริกา ว่าปัจจุบันนี้ ประเทศไทยเรากำลังเดินหน้า คืบหน้าไปสู่ “เสถียรภาพ” ทั้งทางด้านการเมือง และเศรษฐกิจ ทั้งนี้ “เสถียรภาพ” ที่กล่าวถึงนี้ มิใช่ว่า จะปราศจากอุปสรรค ปัญหา แต่ก็ยังมีสัญญาณในเชิงบวกมากกว่าเชิงลบ โดยเฉพาะปัญหาด้านเศรษฐกิจนั้น ทุกประเทศทั่วโลกต่างประสบ “เคราะห์กรรม” เดียวกัน!
ในกรณีที่หนึ่งที่กล่าวนี้ “ความเชื่อมั่น-ศรัทธา” เกิดขึ้นแน่นอน เพราะ “ความสำเร็จ” ในการเป็นเจ้าภาพที่ผ่านไปอย่างราบรื่น โดยไม่มีการประท้วงชุมนุมของกลุ่มต่อต้านมากมายนัก อาจมีประปรายเป็น “สีสัน” บ้างเท่านั้นของ “กลุ่มเสื้อแดง” ที่ถูก “โห่ฮาป่า!” ขับไล่ให้ออกนอกพื้นที่ จนต้อง “เผ่น!” อย่างรวดเร็ว ส่วน “กลุ่มสิทธิมนุษยชน” และ “ภาคประชาพลเมือง” ซึ่งเป็น “องค์กรเอกชน (NGO)” ที่เป็นเหตุการณ์ปกติธรรมดาที่ต้องแสดงพลังของ “สภาพแวดล้อมใหม่” ของสังคมโลกาภิวัตน์กับ “ปัญหาพม่า-ปัญหาโรฮิงญา” และการยอมรับ “ภาคประชาชน” ที่ต้องมีบทบาทในเวทีโลกมากยิ่งขึ้น ซึ่ง “แสงแดด” สนับสนุนพร้อมเห็นด้วยเต็มประตู!
สอง ประเด็นและวาระต่างๆ กรณี “ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ” ที่แน่นอนอยู่แล้วว่าเป็น “วาระสำคัญ” ของการประชุมในครั้งนี้ ที่กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนจำต้อง “ผนึกกำลัง” เป็น “หนึ่งเดียว” ในการเดินหน้าฟันฝ่า “วิกฤตเศรษฐกิจโลก” ไปพร้อมๆ กัน ทั้งนี้ กลุ่มประเทศสมาชิกต่างกำหนดถกเป็น “ปฏิญญาชะอำ-หัวหิน” ว่าจะร่วมมือแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจร่วมกัน และฟันฝ่าให้ผ่านไปจนได้ ด้วยการสนับสนุน “กองทุน 120,000 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ” ที่จะสนับสนุนซึ่งกันและกัน ในกรณีนี้นับว่า “เป้าหมายทะลุเป้า!”
สาม “กฎบัตรอาเซียน” ที่ได้ดำเนินการปฏิบัติไปแล้วประมาณเกือบสองเดือนกว่า ได้ผนึกกำลังกันเดินหน้า แน่นอนว่าปัจจุบัน “อาเซียน” ได้มี “ธรรมนูญ” เรียบร้อย และพร้อมเป็น “สหนิติรัฐ” ที่รองรับ “ความหนักแน่น-ความมั่นคง” เสมือน “สหประชาชาติ” และ “สหภาพยุโรป” โดยมุ่งเจตนารมณ์สำคัญกับ “การผนึกกำลัง” เพื่อ “การเจรจาต่อรอง” กับ “การแข่งขันเศรษฐกิจ” ภายใน 1-2 ปี ข้างหน้านี้ ที่จะเข้มข้น ดุเดือด มากกว่าเดิม
สี่ “การส่งออก” และ “การค้าขาย” ภายในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนกันเอง ที่จะเริ่มเป็น “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC : Asean Economic Community)” ภายในปีพ.ศ.2558 (2015) หรือภายใน 6 ปี นับจากนี้ โดยมี “กฎบัตรอาเซียน” รองรับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “เขตการค้าเสรี” และ “ระบบขนส่ง-เดินทาง (Logistics)” ระหว่าง 10 ประเทศในอนาคต ที่สำคัญที่สุดคือ “ระบบภาษีการค้าที่ร้อยละ 0”
ห้า ในกรณีเร่งด่วนกับการกอบกู้วิกฤตเศรษฐกิจขณะนี้ หนีไม่พ้นที่จะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนกับ “อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว” เนื่องด้วย เป็นมาตรการที่สามารถระดมเงินได้อย่างรวดเร็วจาก “นักท่องเที่ยว” ภายในกลุ่มสมาชิกอาเซียนเองและแน่นอนจากทั่วโลก โดยมีการกำหนด “ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวอาเซียน 2554-2558” ที่คาดว่าจากการเร่ง “โครงการขนส่ง-เดินทาง” ที่จำต้องรีบเร่งเพื่อก่อให้เกิดการกระตุ้นในการเดินทางในภูมิภาคอาเซียน
ทั้งนี้ ประเทศไทยน่าจะเป็น “ศูนย์กลาง (HUB)” ในการกระจายนักท่องเที่ยวต่างชาติให้สามารถเดินทางสู่ภูมิภาคอินโดจีนได้อย่างสะดวกสบาย ไม่ว่าทางรถยนต์ รถไฟ และสายการบิน เชื่อมสู่พม่า กัมพูชา มาเลเซีย ลาว เวียดนาม ได้รวดเร็วที่สุดมากกว่ากลุ่มประเทศที่อยู่ตอนล่างของประเทศไทย
“ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว” ที่รัฐบาลไทยร่วมกับกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนได้กำหนดขึ้นนั้น เป็นเจตนารมณ์ของรัฐบาลไทย โดยเฉพาะ “การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)” ที่ปฏิบัติภารกิจอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เกิด “วิกฤตการเมือง-วิกฤตเศรษฐกิจ” ทั้งภายในประเทศและจากสถานการณ์โลก โดยการกำหนดยุทธศาสตร์ดังกล่าว แน่นอนจะช่วยกระตุ้นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้ค่อยๆ คืบคลานสู่ภาวะปกติก่อนที่จะเกิดวิกฤตการเมืองในประเทศไทยและวิกฤตเศรษฐกิจโลก
อย่างไรก็ตาม “การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 14” นี้ การเป็นเจ้าภาพของประเทศไทย เท่าที่ประมวลและประเมิน “ข้อมูล” และ “การตอบรับ” จากประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก เราถือว่า “ประสบความสำเร็จ” อย่างมาก โดยเฉพาะสื่อต่างประเทศที่ได้รายงานไปทั่วโลก
นอกเหนือจากนั้น ประเด็นสำคัญที่สุดคือ “ความเชื่อมั่น-ศรัทธา” ที่ไทยได้กลับคืนมา จากการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ผ่านพ้นไปได้อย่างราบรื่นเรียบร้อย แม้กระทั่ง บรรดาผู้นำกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนยังเอ่ยปากกล่าวชมเชยรัฐบาลไทย คนไทย และโดยเฉพาะต่อนายกรัฐมนตรีไทย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ถึงแม้ว่า นายกรัฐมนตรียังมีอายุน้อยเหมือน “นักเรียน-นักศึกษา” ดังที่ผู้สื่อข่าวต่างประเทศวิพากษ์วิจารณ์กัน แต่ก็ยังให้กำลังใจว่า “พัฒนาได้ดี!” ในอนาคตอย่างแน่นอน แต่ที่ “แสงแดด” ประทับใจ คือ “วาทะ” และ “ภาษาอังกฤษ” ที่คุณอภิสิทธิ์ แสดงบทบาทเหมาะสมกับสภาวการณ์ “ผู้นำ” ประเทศกับ “เวทีโลก”
ผลสำเร็จของการประชุมอาเซียนซัมมิตในครั้งนี้ แน่นอนที่ประเทศไทยยังจะต้องจัดการประชุมอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี 2009 นี้ โดยจะมีการจัดประชุม 10 บวก 3 และ 10 บวก 6 ภายในเดือนเมษายน กล่าวคือ การประชุมอาเซียนกับ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และอินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ “ระดับผู้นำ” จะต้องเกิดขึ้นอีก
“การตกลงด้านการค้าเสรี” และ “มาตรการยกเลิกการกีดกันทางการค้า” เป็นประเด็นหลักที่จะมีการเจรจาอย่างต่อเนื่องต่อไป และพร้อมสนับสนุนช่วยเหลือกันกับการฟันฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจโลกไปด้วยกัน
“อุตสาหกรรมการส่งออก” ที่กระทรวงพาณิชย์พยายามเจรจาผนึกกำลังร่วมกัน โดยรัฐมนตรีพาณิชย์ พรทิวา นาคาศัย ได้เจรจาทวิภาคีกับกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด ตลอดจน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ที่จะ “อุ้มชู” และ “ผนึกกำลัง” ในการค้าขายระหว่างกัน ตลอดจนร่วมมือกันค้าขายกับประเทศคู่ค้าทั้งเก่าและใหม่ ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตทั้งระยะสั้นและระยะปานกลาง
ในขณะเดียวกัน ทางรัฐบาล กระทรวงพาณิชย์ และ ททท. ยังพร้อมสนับสนุนให้ “อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว” สามารถสร้างรายได้ที่รวดเร็วมากกว่าอุตสาหกรรมส่งออกไปสู่ตลาดเดิม ด้วยการ “ท่องเที่ยวเชิงพาณิชย์” กล่าวคือ การเดินทางมาร่วมประชุมปรึกษาหารือทางการค้า พร้อมเสนอ “แพ็กเกจท่องเที่ยว” แบบลด แลก แจก แถม ด้วย หรือพูดง่ายๆ ก็คือ “นักธุรกิจ-นักท่องเที่ยว” เพียง 3-5 วัน จะทำให้มีการหมุนเวียนของเม็ดเงินไปโดยปริยายกับการขายสินค้าและบริการ
สรุปว่า “การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน” ครั้งนี้ ประสบความสำเร็จอย่างมาก พร้อมได้รับการชมเชยจากสังคมเอเชียและสังคมโลก ก็ต้องยกเครดิตให้กับรัฐบาล โดยมีนายกรัฐมนตรี กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ร่วมสร้างความสำเร็จในครั้งนี้
น่าเสียดายที่กลุ่มประเทศเจรจาร่วมด้านเอเชียตะวันออก จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นไม่ได้เข้าร่วมประชุมด้วย แม้กระทั่ง อินเดีย แต่ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ได้ส่งคณะผู้แทนด้านต่างประเทศและการพาณิชย์เข้าร่วมเจรจาทวิภาคี (Bilateral) ด้วย
“แสงแดด” ได้มีโอกาสไปเข้าร่วม “สะเออะ” สังเกตการณ์กับเขาด้วย จึงนับว่าเป็นโอกาสอันดีที่จะสามารถทำตัวเป็น “ผู้สื่อข่าว” ของ “ผู้จัดการ” เราในการรายงานบรรยากาศ ตลอดจนซอกมุมของการประชุมทั้งระดับพหุภาคี (Multilateral) และระดับทวิภาคี
บังเอิญโชคดีที่ “แสงแดด” มีสมัครพรรคพวกเพื่อนฝูงอยู่หลายวงการ ทั้งวงการวิชาการ สื่อสารมวลชน นักการเมือง และขอแถมด้วยว่า แม้กระทั่ง “นักธุรกิจ-นักการเมือง” ระดับนานาชาติ ก็ยังสะเออะมีโอกาสได้ทักทายกันด้วย หลังจากที่ไม่ได้เจอกันนาน
แม้กระทั่ง “เลขาธิการอาเซียน : ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ” ที่เพิ่งเจอกันที่กรุงเทพฯ ก็ได้ไปสัมผัสมือพร้อมได้ฟังคำกล่าวบนเวทีที่ “กระทรวงพาณิชย์” และ “สำนักงานเลขาธิการอาเซียน” ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดเลี้ยงบรรดาอดีตเลขาธิการและอุปทูตอาเซียนในอดีต ตลอดจนรัฐมนตรีพาณิชย์ทั้ง 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน และทูตพาณิชย์จากกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปจำนวนเกือบ 10 คน “แสงแดด” ยังได้มีโอกาสสนทนาพูดคุยกับ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ
แต่ที่ดีใจที่สุด คือได้เจอเพื่อนเก่า Mr.Rajahratnum ชาวอินเดีย-สิงคโปร์ ที่ไม่ได้พบกันมาเกือบ 18-20 ปี แต่ปัจจุบันมีตำแหน่งใหญ่โตเป็นถึง “ที่ปรึกษาพิเศษ” ของ “เลขาธิการอาเซียน” เรียกว่า แทบจะกอดกันกลมเลยทีเดียว เนื่องด้วย Mr.Rajah คุ้นเคยกับทุกคนในสมาชิกครอบครัว “แสงแดด” ตั้งแต่บุพการีและลูกๆ ทุกคน
“การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน” ที่ไทยเป็นเจ้าภาพในครั้งนี้ จากการเข้าร่วมฟังการประชุม และบรรยากาศทั้งภายในสถานที่จัดประชุมและทั่วเมืองของชะอำและหัวหิน ต้องบอกตามตรงว่า “ประสบความสำเร็จ (Successful)” อย่างมาก แทบทุกกรณี
กล่าวคือ หนึ่ง กรณีความเชื่อมั่นและศรัทธาที่เกิดขึ้นระหว่าง 10 ประเทศสมาชิกกันเองแล้ว ยังมีกลุ่มประเทศนอกกรอบเจรจามาร่วมสังเกตการณ์จากทั่วโลกด้วย แม้กระทั่งสหรัฐอเมริกา ว่าปัจจุบันนี้ ประเทศไทยเรากำลังเดินหน้า คืบหน้าไปสู่ “เสถียรภาพ” ทั้งทางด้านการเมือง และเศรษฐกิจ ทั้งนี้ “เสถียรภาพ” ที่กล่าวถึงนี้ มิใช่ว่า จะปราศจากอุปสรรค ปัญหา แต่ก็ยังมีสัญญาณในเชิงบวกมากกว่าเชิงลบ โดยเฉพาะปัญหาด้านเศรษฐกิจนั้น ทุกประเทศทั่วโลกต่างประสบ “เคราะห์กรรม” เดียวกัน!
ในกรณีที่หนึ่งที่กล่าวนี้ “ความเชื่อมั่น-ศรัทธา” เกิดขึ้นแน่นอน เพราะ “ความสำเร็จ” ในการเป็นเจ้าภาพที่ผ่านไปอย่างราบรื่น โดยไม่มีการประท้วงชุมนุมของกลุ่มต่อต้านมากมายนัก อาจมีประปรายเป็น “สีสัน” บ้างเท่านั้นของ “กลุ่มเสื้อแดง” ที่ถูก “โห่ฮาป่า!” ขับไล่ให้ออกนอกพื้นที่ จนต้อง “เผ่น!” อย่างรวดเร็ว ส่วน “กลุ่มสิทธิมนุษยชน” และ “ภาคประชาพลเมือง” ซึ่งเป็น “องค์กรเอกชน (NGO)” ที่เป็นเหตุการณ์ปกติธรรมดาที่ต้องแสดงพลังของ “สภาพแวดล้อมใหม่” ของสังคมโลกาภิวัตน์กับ “ปัญหาพม่า-ปัญหาโรฮิงญา” และการยอมรับ “ภาคประชาชน” ที่ต้องมีบทบาทในเวทีโลกมากยิ่งขึ้น ซึ่ง “แสงแดด” สนับสนุนพร้อมเห็นด้วยเต็มประตู!
สอง ประเด็นและวาระต่างๆ กรณี “ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ” ที่แน่นอนอยู่แล้วว่าเป็น “วาระสำคัญ” ของการประชุมในครั้งนี้ ที่กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนจำต้อง “ผนึกกำลัง” เป็น “หนึ่งเดียว” ในการเดินหน้าฟันฝ่า “วิกฤตเศรษฐกิจโลก” ไปพร้อมๆ กัน ทั้งนี้ กลุ่มประเทศสมาชิกต่างกำหนดถกเป็น “ปฏิญญาชะอำ-หัวหิน” ว่าจะร่วมมือแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจร่วมกัน และฟันฝ่าให้ผ่านไปจนได้ ด้วยการสนับสนุน “กองทุน 120,000 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ” ที่จะสนับสนุนซึ่งกันและกัน ในกรณีนี้นับว่า “เป้าหมายทะลุเป้า!”
สาม “กฎบัตรอาเซียน” ที่ได้ดำเนินการปฏิบัติไปแล้วประมาณเกือบสองเดือนกว่า ได้ผนึกกำลังกันเดินหน้า แน่นอนว่าปัจจุบัน “อาเซียน” ได้มี “ธรรมนูญ” เรียบร้อย และพร้อมเป็น “สหนิติรัฐ” ที่รองรับ “ความหนักแน่น-ความมั่นคง” เสมือน “สหประชาชาติ” และ “สหภาพยุโรป” โดยมุ่งเจตนารมณ์สำคัญกับ “การผนึกกำลัง” เพื่อ “การเจรจาต่อรอง” กับ “การแข่งขันเศรษฐกิจ” ภายใน 1-2 ปี ข้างหน้านี้ ที่จะเข้มข้น ดุเดือด มากกว่าเดิม
สี่ “การส่งออก” และ “การค้าขาย” ภายในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนกันเอง ที่จะเริ่มเป็น “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC : Asean Economic Community)” ภายในปีพ.ศ.2558 (2015) หรือภายใน 6 ปี นับจากนี้ โดยมี “กฎบัตรอาเซียน” รองรับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “เขตการค้าเสรี” และ “ระบบขนส่ง-เดินทาง (Logistics)” ระหว่าง 10 ประเทศในอนาคต ที่สำคัญที่สุดคือ “ระบบภาษีการค้าที่ร้อยละ 0”
ห้า ในกรณีเร่งด่วนกับการกอบกู้วิกฤตเศรษฐกิจขณะนี้ หนีไม่พ้นที่จะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนกับ “อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว” เนื่องด้วย เป็นมาตรการที่สามารถระดมเงินได้อย่างรวดเร็วจาก “นักท่องเที่ยว” ภายในกลุ่มสมาชิกอาเซียนเองและแน่นอนจากทั่วโลก โดยมีการกำหนด “ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวอาเซียน 2554-2558” ที่คาดว่าจากการเร่ง “โครงการขนส่ง-เดินทาง” ที่จำต้องรีบเร่งเพื่อก่อให้เกิดการกระตุ้นในการเดินทางในภูมิภาคอาเซียน
ทั้งนี้ ประเทศไทยน่าจะเป็น “ศูนย์กลาง (HUB)” ในการกระจายนักท่องเที่ยวต่างชาติให้สามารถเดินทางสู่ภูมิภาคอินโดจีนได้อย่างสะดวกสบาย ไม่ว่าทางรถยนต์ รถไฟ และสายการบิน เชื่อมสู่พม่า กัมพูชา มาเลเซีย ลาว เวียดนาม ได้รวดเร็วที่สุดมากกว่ากลุ่มประเทศที่อยู่ตอนล่างของประเทศไทย
“ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว” ที่รัฐบาลไทยร่วมกับกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนได้กำหนดขึ้นนั้น เป็นเจตนารมณ์ของรัฐบาลไทย โดยเฉพาะ “การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)” ที่ปฏิบัติภารกิจอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เกิด “วิกฤตการเมือง-วิกฤตเศรษฐกิจ” ทั้งภายในประเทศและจากสถานการณ์โลก โดยการกำหนดยุทธศาสตร์ดังกล่าว แน่นอนจะช่วยกระตุ้นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้ค่อยๆ คืบคลานสู่ภาวะปกติก่อนที่จะเกิดวิกฤตการเมืองในประเทศไทยและวิกฤตเศรษฐกิจโลก
อย่างไรก็ตาม “การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 14” นี้ การเป็นเจ้าภาพของประเทศไทย เท่าที่ประมวลและประเมิน “ข้อมูล” และ “การตอบรับ” จากประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก เราถือว่า “ประสบความสำเร็จ” อย่างมาก โดยเฉพาะสื่อต่างประเทศที่ได้รายงานไปทั่วโลก
นอกเหนือจากนั้น ประเด็นสำคัญที่สุดคือ “ความเชื่อมั่น-ศรัทธา” ที่ไทยได้กลับคืนมา จากการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ผ่านพ้นไปได้อย่างราบรื่นเรียบร้อย แม้กระทั่ง บรรดาผู้นำกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนยังเอ่ยปากกล่าวชมเชยรัฐบาลไทย คนไทย และโดยเฉพาะต่อนายกรัฐมนตรีไทย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ถึงแม้ว่า นายกรัฐมนตรียังมีอายุน้อยเหมือน “นักเรียน-นักศึกษา” ดังที่ผู้สื่อข่าวต่างประเทศวิพากษ์วิจารณ์กัน แต่ก็ยังให้กำลังใจว่า “พัฒนาได้ดี!” ในอนาคตอย่างแน่นอน แต่ที่ “แสงแดด” ประทับใจ คือ “วาทะ” และ “ภาษาอังกฤษ” ที่คุณอภิสิทธิ์ แสดงบทบาทเหมาะสมกับสภาวการณ์ “ผู้นำ” ประเทศกับ “เวทีโลก”
ผลสำเร็จของการประชุมอาเซียนซัมมิตในครั้งนี้ แน่นอนที่ประเทศไทยยังจะต้องจัดการประชุมอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี 2009 นี้ โดยจะมีการจัดประชุม 10 บวก 3 และ 10 บวก 6 ภายในเดือนเมษายน กล่าวคือ การประชุมอาเซียนกับ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และอินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ “ระดับผู้นำ” จะต้องเกิดขึ้นอีก
“การตกลงด้านการค้าเสรี” และ “มาตรการยกเลิกการกีดกันทางการค้า” เป็นประเด็นหลักที่จะมีการเจรจาอย่างต่อเนื่องต่อไป และพร้อมสนับสนุนช่วยเหลือกันกับการฟันฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจโลกไปด้วยกัน
“อุตสาหกรรมการส่งออก” ที่กระทรวงพาณิชย์พยายามเจรจาผนึกกำลังร่วมกัน โดยรัฐมนตรีพาณิชย์ พรทิวา นาคาศัย ได้เจรจาทวิภาคีกับกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด ตลอดจน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ที่จะ “อุ้มชู” และ “ผนึกกำลัง” ในการค้าขายระหว่างกัน ตลอดจนร่วมมือกันค้าขายกับประเทศคู่ค้าทั้งเก่าและใหม่ ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตทั้งระยะสั้นและระยะปานกลาง
ในขณะเดียวกัน ทางรัฐบาล กระทรวงพาณิชย์ และ ททท. ยังพร้อมสนับสนุนให้ “อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว” สามารถสร้างรายได้ที่รวดเร็วมากกว่าอุตสาหกรรมส่งออกไปสู่ตลาดเดิม ด้วยการ “ท่องเที่ยวเชิงพาณิชย์” กล่าวคือ การเดินทางมาร่วมประชุมปรึกษาหารือทางการค้า พร้อมเสนอ “แพ็กเกจท่องเที่ยว” แบบลด แลก แจก แถม ด้วย หรือพูดง่ายๆ ก็คือ “นักธุรกิจ-นักท่องเที่ยว” เพียง 3-5 วัน จะทำให้มีการหมุนเวียนของเม็ดเงินไปโดยปริยายกับการขายสินค้าและบริการ
สรุปว่า “การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน” ครั้งนี้ ประสบความสำเร็จอย่างมาก พร้อมได้รับการชมเชยจากสังคมเอเชียและสังคมโลก ก็ต้องยกเครดิตให้กับรัฐบาล โดยมีนายกรัฐมนตรี กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ร่วมสร้างความสำเร็จในครั้งนี้