บอร์ด ททท.สวนกระแสให้โบนัสผู้ว่า ททท. พร้อมปรับเงินเดือนอีก 9.15% อ้างสถานการณ์ท่องเที่ยวไม่ปกติจึงต้องทำงานหนัก แต่เงินเดือนน้อย แถมยังไฟเขียวให้ททท.ว่าจ้างที่ปรึกษาพิเศษฝ่ายการตลาด เปิดทาง “พรศิริ” นั่งแท่นหลังเกษียณอายุปูทางสู่ประธานพาต้า พร้อมเปิดโครงการร่วมใจจาก เออลี่พนักงานรีดไขมัน รับคนรุ่นใหม่นั่งทำงาน
วานนี้(18 ม.ค.52) นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานคณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(บอร์ดททท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามคณะกรรมการประเมินผลงานนางพรศิริ มโนหาญ ผู้ว่าการ ททท. ที่ให้คะแนนการประเมินที่ 91.52% จากผลคะแนนดังกล่าวจึงให้มีการปรับขึ้นค่าตอบแทนแก่นางพรศิริ ในอัตรา 9.15% ของเงินเดือนที่ว่าจ้างไว้เดือนละ 2 แสนบาท และอนุมัติให้ค่าตอบแทนพิเศษ(โบนัส)เป็นรางวัลแก่การปฎิบัติงานเป็นเงิน 1 ล้านบาท หรือประมาณ 5 เท่าของอัตราจ้างต่อเดือน โดยเป็นไปตามเงื่อนไขสัญญาว่าจ้างทั้งสิ้น โดยบอร์ดมีอำนาจตัดสินใจได้เอง
“ที่ประชุมเห็นตรงกันว่าค่าตอบแทนของผู้ว่าการ ททท.เมื่อเทียบกับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจอื่นๆยังต่ำกว่าเขามาก เช่น ผู้อำวนยการ สสปน.ได้ 4 แสนบาท ผู้จัดการใหญ่อีลิทการ์ดได้ 3 แสนบาท ผู้ว่าการบมจ.ท่าอากาศยานไทยได้ 7 แสนบาท ดีดีการบินไทยได้ 7 แสนบาทเป็นต้น ซึ่งค่าตอบแทนที่กล่าวมายังไม่นับรวมสวัสดิการที่ได้รับจากหน่วยงานนั้นๆ เช่น นั่งเครื่องบินฟรี หรืออื่นๆ ขณะที่ผู้ว่า ททท.ไม่มีสวัสดิการเหล่านั้นเลย แต่การทำงานกลับหนักมากเพราะต้องทำงานอยู่ในสถานการณ์การท่องเที่ยวที่ไม่ปกติ”
ทั้งนี้แหล่งข่าวจาก ททท.เปิดเผยว่า ในการประชุมบอร์ดครั้งหน้าจะมีวาระการพิจารณาจ่ายโบนัสให้แก่พนักงาน ททท.เข้าสู่การพิจาณาด้วย
ไฟเขียวตำแหน่งทีปรึกษาพิเศษการตลาด
สำหรับเรื่องการว่าจ้างตำแหน่งที่ปรึกษาพิเศษฝ่ายการตลาด ที่ประชุมบอร์ดเห็นชอบตามมติของคณะกรรมการพิจารณา ซึ่งมีนายธงชัย ศรีดามา กรรมการบอร์ดททท.เป็นประธาน โดยเห็นสมควรให้มีการว่าจ้างบุคคลที่จะเข้ามารับตำแหน่งดังกล่าวได้ แต่จะต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถมาก เป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษ เพื่อมาช่วยแก้ไขสถานการณ์ท่องเที่ยวในภาวะที่ไม่ปกติเช่นขณะนี้ด้วย
โดยค่าตอบแทนในตำแหน่งดังกล่าวให้ผู้บริหาร ททท.ไปพิจารณาตามที่เห็นสมควรเพราะถือเป็นที่ปรึกษาระดับสูง ส่วนข้อเสนอที่เคยระบุไว้ว่าจะได้รับค่าตอบแทนไม่เกิน 5 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเงินจำนวนนี้รวมค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าใช้จ่ายอื่นๆ นายธงชัย ให้ความเห็นว่า เป็นตัวเลขที่เพียงพอกับภาระหน้าที่ที่คนระดับนี้จำเป็นต้องใช้ เช่น ค่าตั๋วเครื่องบินชั้นเฟิร์สคลาส เพื่อไปประชุมในต่างประเทศเฉลี่ยปีละ 4 ครั้ง รวมเป็นเงิน 2 ล้านบาท เป็นต้น
อย่างไรก็ตามรายงานข่าวระบุว่า ตำแหน่งที่ปรึกษาพิเศษฝ่ายการตลาด เป็นตำแหน่งใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนใน ททท. โดยชงเรื่องเสนอเมื่อครั้งนายวันชัย ศารทูลทัต ดำรงตำแหน่งประธานบอร์ด ททท. โดยมีนัยสำคัญเพื่อเตรียมเสนอชื่อ นางพรศิริ มโนหาญ ผู้ว่าการ ททท. เข้ารับตำแหน่งนี้ภายหลังการหมดสัญญาว่าจ้างในวันที่ 29 มี.ค.52 เพื่อเป็นบันไดไปสู่การรับตำแหน่งประธานสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวประจำภูมิเอเชียแปซิฟิก (พาต้า) เพราะผู้ที่ดำรงตำแหน่งนี้ต้องมีตำแหน่งเป็นระดับผู้บริหารในองค์กรด้านการท่องเที่ยว และบอร์ด ททท.ยังหวังว่าตำแหน่งประธานบอร์ด พาต้า ให้ประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวของประเทศไทย
ขณะที่หลายฝ่ายรวมถึงพนักงาน ททท. กลับมองว่าตำแหน่งดังกล่าวเป็นการใช้เงินสิ้นเปลืองได้ประโยชน์ไม่คุ้มค่า เป็นการตั้งคนมาทำงานทับซ้อนกับการทำงานของพนักงาน ททท.และผู้ว่าการททท. ซึ่งจะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดอยู่แล้ว จึงผ่านการคัดเลือกว่าจ้างให้มาปฎิบัติงาน
เปิดเออลี่รับเด็กใหม่ทำงาน
นายวีระศักดิ์ กล่าวอีกว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้ ททท.ดำเนินโครงการ”ร่วมใจจากองค์กร” เพื่อเชิญชวนพนักงานเข้าสู่โครงการ เออลี่ รีไทร์ โดยเป็นโครงกาต่อเนื่อง 3 ปี ตั้งแต่ปี 2552-2555 โดยจะรับสมัครพนักงาน ททท.ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ เฉลี่ยปีละ 10 คน ใช้งบประมาณ 3 ปีรวม 93 ล้านบาท โดยคุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ ต้องเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของ ททท. มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป แต่ต้องมีอายุงานคงเหลือจนถึงวันเกษียณอายุไม่น้อยกว่า 12 เดือน และ มีอายุการทำงานรวมแล้วไม่น้อยกว่า 15 ปีขึ้นไป ไม่อยู่ระหว่างการถูกสอบสวนความผิดทางวินัย เป็นต้น
ทั้งนี้นายวีระศักดิ์ ยอมรับว่า การจัดโครงการนี้จะช่วยให้ ททท.ประหยัดเงินได้ใน 3 ปี กว่า 90 ล้านบาท เพราะหากไม่มีโครงการนี้ ใน 3 ปี ททท.จะต้องจ่ายเงินเดือนให้แก่พนักงานในกลุ่มนี้เป็นจำนวนเงินรวม 183 ล้านบาท ประกอบกับททท.ต้องการรับคนรุ่นใหม่เข้ามาร่วมทำงาน เพื่อได้มุมมองและแนวคิดที่แปลกใหม่ทันสมัยและเสียค่าจ้างถูกกว่าพนักงานที่ทำงานมาแล้วหลายปี
จ่ายค่าตอบแทนพนักงานไม่ผิดก.ม.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะกรรมการททท. ครั้งนี้ ใช้เวลานานกว่า 5 ชั่วโมง เนื่องจากมีวาระสำคัญมาก โดยในช่วงต้นมีการหารือถึงเรื่องการจ่ายผลตอบแทนผลงานของททท. ที่ไม่ใช่โบนัส ซึ่งใช้เวลาสำหรับเรื่องนี้นานกว่า 2 ชั่วโมง เนื่องจากสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจททท. ต้องการทราบแน่ชัดว่าคณะกรรมการททท. มีอำนาจสั่งการจ่ายได้ ทำให้การประชุมวาระต่างๆ ล่าช้าออกไป โดยผลการประชุมสรุปว่า ผลตอบแทนที่จ่ายไปแล้วเมื่อปี 46-48 แล้วมีปัญหาที่กระทรวงการคลังจะขอคืนนั้น จะให้น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ไปประชุมปรึกษากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้จ่ายผลตอบแทนดังกล่าวได้ ไม่ต้องขอคืน
ส่วนผลตอบแทนปี 49-51 ทางคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(ครส.) มีหนังสือตอบมาชัดเจนว่า บอร์ดททท. มีอำนาจสั่งจ่ายได้โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย และถือเป็นคำพิจารณาชี้ขาดเพราะมี พ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2543 ในขณะนั้นมารองรับอย่างถูกต้อง ซึ่งจะต้องชี้แจงให้กระทรวงการคลังและรัฐบาลได้รับทราบในลำดับต่อไป
วานนี้(18 ม.ค.52) นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานคณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(บอร์ดททท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามคณะกรรมการประเมินผลงานนางพรศิริ มโนหาญ ผู้ว่าการ ททท. ที่ให้คะแนนการประเมินที่ 91.52% จากผลคะแนนดังกล่าวจึงให้มีการปรับขึ้นค่าตอบแทนแก่นางพรศิริ ในอัตรา 9.15% ของเงินเดือนที่ว่าจ้างไว้เดือนละ 2 แสนบาท และอนุมัติให้ค่าตอบแทนพิเศษ(โบนัส)เป็นรางวัลแก่การปฎิบัติงานเป็นเงิน 1 ล้านบาท หรือประมาณ 5 เท่าของอัตราจ้างต่อเดือน โดยเป็นไปตามเงื่อนไขสัญญาว่าจ้างทั้งสิ้น โดยบอร์ดมีอำนาจตัดสินใจได้เอง
“ที่ประชุมเห็นตรงกันว่าค่าตอบแทนของผู้ว่าการ ททท.เมื่อเทียบกับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจอื่นๆยังต่ำกว่าเขามาก เช่น ผู้อำวนยการ สสปน.ได้ 4 แสนบาท ผู้จัดการใหญ่อีลิทการ์ดได้ 3 แสนบาท ผู้ว่าการบมจ.ท่าอากาศยานไทยได้ 7 แสนบาท ดีดีการบินไทยได้ 7 แสนบาทเป็นต้น ซึ่งค่าตอบแทนที่กล่าวมายังไม่นับรวมสวัสดิการที่ได้รับจากหน่วยงานนั้นๆ เช่น นั่งเครื่องบินฟรี หรืออื่นๆ ขณะที่ผู้ว่า ททท.ไม่มีสวัสดิการเหล่านั้นเลย แต่การทำงานกลับหนักมากเพราะต้องทำงานอยู่ในสถานการณ์การท่องเที่ยวที่ไม่ปกติ”
ทั้งนี้แหล่งข่าวจาก ททท.เปิดเผยว่า ในการประชุมบอร์ดครั้งหน้าจะมีวาระการพิจารณาจ่ายโบนัสให้แก่พนักงาน ททท.เข้าสู่การพิจาณาด้วย
ไฟเขียวตำแหน่งทีปรึกษาพิเศษการตลาด
สำหรับเรื่องการว่าจ้างตำแหน่งที่ปรึกษาพิเศษฝ่ายการตลาด ที่ประชุมบอร์ดเห็นชอบตามมติของคณะกรรมการพิจารณา ซึ่งมีนายธงชัย ศรีดามา กรรมการบอร์ดททท.เป็นประธาน โดยเห็นสมควรให้มีการว่าจ้างบุคคลที่จะเข้ามารับตำแหน่งดังกล่าวได้ แต่จะต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถมาก เป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษ เพื่อมาช่วยแก้ไขสถานการณ์ท่องเที่ยวในภาวะที่ไม่ปกติเช่นขณะนี้ด้วย
โดยค่าตอบแทนในตำแหน่งดังกล่าวให้ผู้บริหาร ททท.ไปพิจารณาตามที่เห็นสมควรเพราะถือเป็นที่ปรึกษาระดับสูง ส่วนข้อเสนอที่เคยระบุไว้ว่าจะได้รับค่าตอบแทนไม่เกิน 5 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเงินจำนวนนี้รวมค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าใช้จ่ายอื่นๆ นายธงชัย ให้ความเห็นว่า เป็นตัวเลขที่เพียงพอกับภาระหน้าที่ที่คนระดับนี้จำเป็นต้องใช้ เช่น ค่าตั๋วเครื่องบินชั้นเฟิร์สคลาส เพื่อไปประชุมในต่างประเทศเฉลี่ยปีละ 4 ครั้ง รวมเป็นเงิน 2 ล้านบาท เป็นต้น
อย่างไรก็ตามรายงานข่าวระบุว่า ตำแหน่งที่ปรึกษาพิเศษฝ่ายการตลาด เป็นตำแหน่งใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนใน ททท. โดยชงเรื่องเสนอเมื่อครั้งนายวันชัย ศารทูลทัต ดำรงตำแหน่งประธานบอร์ด ททท. โดยมีนัยสำคัญเพื่อเตรียมเสนอชื่อ นางพรศิริ มโนหาญ ผู้ว่าการ ททท. เข้ารับตำแหน่งนี้ภายหลังการหมดสัญญาว่าจ้างในวันที่ 29 มี.ค.52 เพื่อเป็นบันไดไปสู่การรับตำแหน่งประธานสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวประจำภูมิเอเชียแปซิฟิก (พาต้า) เพราะผู้ที่ดำรงตำแหน่งนี้ต้องมีตำแหน่งเป็นระดับผู้บริหารในองค์กรด้านการท่องเที่ยว และบอร์ด ททท.ยังหวังว่าตำแหน่งประธานบอร์ด พาต้า ให้ประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวของประเทศไทย
ขณะที่หลายฝ่ายรวมถึงพนักงาน ททท. กลับมองว่าตำแหน่งดังกล่าวเป็นการใช้เงินสิ้นเปลืองได้ประโยชน์ไม่คุ้มค่า เป็นการตั้งคนมาทำงานทับซ้อนกับการทำงานของพนักงาน ททท.และผู้ว่าการททท. ซึ่งจะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดอยู่แล้ว จึงผ่านการคัดเลือกว่าจ้างให้มาปฎิบัติงาน
เปิดเออลี่รับเด็กใหม่ทำงาน
นายวีระศักดิ์ กล่าวอีกว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้ ททท.ดำเนินโครงการ”ร่วมใจจากองค์กร” เพื่อเชิญชวนพนักงานเข้าสู่โครงการ เออลี่ รีไทร์ โดยเป็นโครงกาต่อเนื่อง 3 ปี ตั้งแต่ปี 2552-2555 โดยจะรับสมัครพนักงาน ททท.ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ เฉลี่ยปีละ 10 คน ใช้งบประมาณ 3 ปีรวม 93 ล้านบาท โดยคุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ ต้องเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของ ททท. มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป แต่ต้องมีอายุงานคงเหลือจนถึงวันเกษียณอายุไม่น้อยกว่า 12 เดือน และ มีอายุการทำงานรวมแล้วไม่น้อยกว่า 15 ปีขึ้นไป ไม่อยู่ระหว่างการถูกสอบสวนความผิดทางวินัย เป็นต้น
ทั้งนี้นายวีระศักดิ์ ยอมรับว่า การจัดโครงการนี้จะช่วยให้ ททท.ประหยัดเงินได้ใน 3 ปี กว่า 90 ล้านบาท เพราะหากไม่มีโครงการนี้ ใน 3 ปี ททท.จะต้องจ่ายเงินเดือนให้แก่พนักงานในกลุ่มนี้เป็นจำนวนเงินรวม 183 ล้านบาท ประกอบกับททท.ต้องการรับคนรุ่นใหม่เข้ามาร่วมทำงาน เพื่อได้มุมมองและแนวคิดที่แปลกใหม่ทันสมัยและเสียค่าจ้างถูกกว่าพนักงานที่ทำงานมาแล้วหลายปี
จ่ายค่าตอบแทนพนักงานไม่ผิดก.ม.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะกรรมการททท. ครั้งนี้ ใช้เวลานานกว่า 5 ชั่วโมง เนื่องจากมีวาระสำคัญมาก โดยในช่วงต้นมีการหารือถึงเรื่องการจ่ายผลตอบแทนผลงานของททท. ที่ไม่ใช่โบนัส ซึ่งใช้เวลาสำหรับเรื่องนี้นานกว่า 2 ชั่วโมง เนื่องจากสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจททท. ต้องการทราบแน่ชัดว่าคณะกรรมการททท. มีอำนาจสั่งการจ่ายได้ ทำให้การประชุมวาระต่างๆ ล่าช้าออกไป โดยผลการประชุมสรุปว่า ผลตอบแทนที่จ่ายไปแล้วเมื่อปี 46-48 แล้วมีปัญหาที่กระทรวงการคลังจะขอคืนนั้น จะให้น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ไปประชุมปรึกษากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้จ่ายผลตอบแทนดังกล่าวได้ ไม่ต้องขอคืน
ส่วนผลตอบแทนปี 49-51 ทางคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(ครส.) มีหนังสือตอบมาชัดเจนว่า บอร์ดททท. มีอำนาจสั่งจ่ายได้โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย และถือเป็นคำพิจารณาชี้ขาดเพราะมี พ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2543 ในขณะนั้นมารองรับอย่างถูกต้อง ซึ่งจะต้องชี้แจงให้กระทรวงการคลังและรัฐบาลได้รับทราบในลำดับต่อไป