ยามวิกฤตเศรษฐกิจถดถอย การกระตุ้นการท่องเที่ยวถือเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจพลิกฟื้นได้เสมอ ความลงตัวของทรัพยากรธรรมชาติบวกกับประวัติศาสตร์ที่มีมาอย่างยาวนาน ศิลปวัฒนธรรมอันล้ำค่าทำให้แต่ละปีประเทศไทยมีรายได้มหาศาลจากการท่องเที่ยว
ปี 2551 แม้จะอยู่ในห้วงมรสุม ‘Hamburger Crisis’ ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก ดัชนีเศรษฐกิจหลายตัวตกต่ำแต่รายได้จากการท่องเที่ยวก็ยังคงเป็นรายได้หลักเข้าประเทศในอันดับต้นๆ
จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปีที่ผ่านมาพบว่า มีเข้ามาไทยสูงถึง 14 ล้าน ทำรายได้กว่า 5 แสนล้านบาท ขณะที่ปีนี้รัฐบาลคาดการณ์ไว้ว่าจะไม่น้อยไปกว่ากัน
แต่ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่แย่เหมือนๆ กันทั่วโลก รัฐบาลจึงคาดว่านักท่องเที่ยวต่างชาติน่าจะหดตัว ททท.การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่มีหน้าที่รับผิดชอบได้ชูแคมเปญ “เที่ยวไทยครึกครื้น เศรษฐกิจไทยคึกคัก” ขึ้นมา
นัยว่าเมื่อกระตุ้นให้คนไทยเที่ยวไทยแล้ว รายได้ที่อาจจะขาดหายไปจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศลดลงจะถูกชดเชยด้วยตลาดนักท่องเที่ยวในประเทศ โดยตั้งเป้าไว้ว่าจะมีคนไทยคิดเป็น 87.06 ล้านคน/ครั้งเที่ยวไทย โดยคาดว่าสามารถสร้างรายได้ 407,600 ล้านบาท
สี่แสนกว่าล้าน! ดูเป็นตัวเลขที่สวยหรูเอาการ...
เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายนี้ ททท.มีทั้งเข็นแคมเปญสารพัด โฆษณาประชาสัมพันธ์ หรือกระทั่งมีเหตุผลที่จะเสนอของบประมาณเพิ่มขึ้นจากปีก่อนๆ รวมกว่าหมื่นล้าน
นี่ไม่นับว่า น่าแปลกใจอะไร เรื่องเชิญชวน เรื่องกระตุ้น และตอกย้ำให้คนไทยเที่ยวไทยเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เงินงบประมาณหมื่นล้านหากสามารถแปรเปลี่ยนกลับมาเป็นรายได้แก่รัฐ และหมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจ 4-5 แสนล้านย่อมนับว่าคุ้มค่า!
ทว่า..ช่วงเวลาใกล้เคียงกันนี้กลับมีข่าวเล็กๆ ที่ทำให้ประหลาดใจ
เรื่องมีอยู่ว่า บอร์ด ททท.ประเมินผลงานของผู้บริหารแล้วอนุมัติให้ปรับขึ้นค่าตอบแทน พร้อมกับให้โบนัสเป็นรางวัล 5 เท่าของอัตราจ้าง
บอร์ดให้เหตุผลว่า ค่าตอบแทนของผู้บริหารของ ททท.เมื่อเทียบกับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจอื่นๆ ยังต่ำกว่ามาก เช่น ผู้บริหารท่าอากาศยานไทย ดีดีการบินไทย ที่ได้อยู่เดือนละกว่า 7 แสนบาท ไม่นับรวมสวัสดิการอื่นๆ เช่น นั่งเครื่องบินฟรี หรืออื่นๆ ขณะที่ผู้บริหารของ ททท.ไม่มีสวัสดิการเหล่านี้เลย แต่การทำงานกลับหนักมากเพราะ “สถานการณ์ท่องเที่ยวที่ไม่ปกติ”
นอกจากนี้ บอร์ดยังเห็นสมควรให้ว่าจ้างบุคคลที่จะเข้ามารับตำแหน่ง “ที่ปรึกษาพิเศษฝ่ายการตลาด” ซึ่ง ททท.ไม่เคยมีตำแหน่งนี้มาก่อนให้เข้ามาช่วยเสกเป่ารายได้จากการท่องเที่ยว ด้วยอัตราผลตอบแทนไม่เกิน 5 ล้านบาทต่อปี
พูดตามตรงว่า ไม่อาจเข้าใจในวิธีคิดของบอร์ด ททท.อย่าว่าแต่คนนอกอย่างผมเลย คนในซึ่งเป็นพนักงาของ ททท.เองก็ไม่เข้าใจ
ข้อหนึ่งนั้น รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งย่อมมีลักษณะงานและการทำงานที่แตกต่างกัน เกณฑ์การเปรียบเทียบบอร์ดน่าจะมีเหตุผลมากกว่าจะบอกว่า ที่นั่นที่นี่เงินเดือนมากกว่า สวัสดิการมากกว่าแล้วเราจะต้องได้เท่านั้นเท่านี้มีเหมือนเขา
ข้อสองกับตำแหน่งที่ปรึกษาพิเศษ พนักงานมองว่า เป็นการใช้เงินสิ้นเปลืองได้ประโยชน์ไม่คุ้มค่า ตั้งคนขึ้นมาทับซ้อนกับการทำงานของพนักงาน ททท.และผู้ว่าการททท.ซึ่งก็ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดอยู่แล้ว
ตรงนี้เห็นด้วยกับพนักงาน ททท.อย่างยิ่ง ผมเชื่อมั่นว่าพนักงาน ททท.ทุกคนพร้อมจะทำงานอย่างเต็มกำลังความสามารถให้แก่องค์กร ให้แก่ประเทศ แต่ที่ต้องตำหนิ คือ ส่วนผู้บริหาร หรือบอร์ดต่างหาก
โดยเฉพาะที่ท่านบอกเหตุผลว่า ทำงานหนักมากเลยต้องตบรางวัลขึ้นเงินเดือนแจกโบนัสกันเอง ครื้นเครงกันใหญ่ ท่านแน่ใจแล้วหรือ?
ในฐานะประชาชนคนไทยที่ชอบเที่ยวไทยคนหนึ่งรู้สึกว่า ยังมีข้อสงสัยอยู่
อย่างน้อยๆ แคมเปญ ‘เที่ยวไทยครึกครื้น เศรษฐกิจไทยคึกคัก’ จะโหมกระพือไปกว่านี้ พวกท่านมีข้อมูลอัพเดท แหล่งท่องเที่ยว ความเปลี่ยนแปลงและเป็นไปของแต่ละที่อย่างไร หรือไม่?
ผมไม่ประสีประสา ทั้งวางแผน และอย่างไม่ได้ตั้งใจรอบ 2-3 เดือนที่ผ่านมามีเหตุชีพจรลงเท้าต้องเดินทางไปเหนือ-อีสาน-ตะวันออก-ตะวันตกอยู่หลายระลอกเรียกว่า เกือบจะสัปดาห์เว้นสัปดาห์ ในบางครั้งก็หนีบเอาแขกต่างประเทศไปด้วยในบางทริป พอจะแลกเปลี่ยนข้อมูลท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศกันอยู่บ้าง
จังหวัดที่ไปมาโดยมีโอกาสเที่ยวชมและสัมผัสมีตั้งแต่แบบธรรมดาสามัญไล่ไปจนถึงแบบสากลอย่าง ‘มรดกโลก’ ด้านหนึ่งที่เห็นก็เกิดความภูมิใจในความเป็นไทยที่มีของดีมากมาย ภูมิใจที่ได้จับจ่ายใช้สอยเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยชาติได้ส่วนหนึ่งตามนโยบาย แต่ก็ไม่วายอีกด้านหนึ่งก็นึกกังวลถึงอนาคตท่องเที่ยวไทย
บางสิ่งที่เห็นอดจะมีคำถาม ถามไปถึงผู้บริหาร ททท.ไม่ได้ว่า ท่านทำอะไรอยู่ นิ่งดูดายอยู่ได้อย่างไร?
หากไม่นับแหล่งเที่ยวทางธรรมชาติ ภูเขา ทะเล ยกตัวอย่างแค่สถานที่สำคัญ เช่น วัด ซึ่งมักจะขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งท่องเที่ยว และมีความศรัทธาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย คนเที่ยวไปเที่ยวเพื่อสักการะไหว้พระ ชมความงามของสถานที่ ที่สำคัญได้กำไรศึกษาประวัติศาสตร์ ปลูกฝังให้มีจิตใจรักความเป็นไทยไปด้วย แต่ปัจจุบันกลายเป็นพุทธพาณิชย์เป็นส่วนใหญ่
บางวัดมีประวัติศาสตร์เก่าแก่ มีโบราณวัตถุ แต่กลับถูกทิ้งไว้ราวของไร้ค่า ขาดการจัดการ การชี้แนะจากการท่องเที่ยว
โบสถ์เก่าอายุร่วมสองร้อยปี วันดีคืนดีโบกปูนทาทับทำใหม่ จำของเดิมแทบไม่ได้
วิหารสร้างใหม่อยู่คู่กับเจดีย์โบราณโดยไม่ลงตัว
อุทยานประวัติศาสตร์บางแห่งที่เป็นมรดกโลก เพียงเพื่อต้องการขายของ ต้องการค่าเช่าจากพ่อค้า-แม่ค้า ก็เปลี่ยนเส้นทางการเดินชมของทัวร์ ปิดทางเข้าที่ควรเป็น ทำให้ไกด์จับต้นชนปลายอธิบายเรื่องราวประวัติศาสตร์ให้ลูกทัวร์ไม่ถูก
การโปรโมตให้คนไทยเที่ยวไทย โดยเน้นการสร้างภาพลักษณ์ที่สวยงาม เน้นแต่รายได้ก้อนโต แล้วลำเลิกบอกว่าตัวเองจะต้องทำงานหนักมาก เหนื่อยมาก ขอเงินเดือนแพงๆ โบนัสงามๆ ทั้งที่รู้ๆ กันอยู่ ‘ของจริง’ ไม่ได้เป็นอย่างคำโฆษณา
สงสัย และคงจะสงสัยไปอีกนานว่า ที่สุดแล้ว เที่ยวไทยครึกครื้น เศรษฐกิจไทย หรือใครกันแน่ที่คึกคัก!
ปี 2551 แม้จะอยู่ในห้วงมรสุม ‘Hamburger Crisis’ ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก ดัชนีเศรษฐกิจหลายตัวตกต่ำแต่รายได้จากการท่องเที่ยวก็ยังคงเป็นรายได้หลักเข้าประเทศในอันดับต้นๆ
จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปีที่ผ่านมาพบว่า มีเข้ามาไทยสูงถึง 14 ล้าน ทำรายได้กว่า 5 แสนล้านบาท ขณะที่ปีนี้รัฐบาลคาดการณ์ไว้ว่าจะไม่น้อยไปกว่ากัน
แต่ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่แย่เหมือนๆ กันทั่วโลก รัฐบาลจึงคาดว่านักท่องเที่ยวต่างชาติน่าจะหดตัว ททท.การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่มีหน้าที่รับผิดชอบได้ชูแคมเปญ “เที่ยวไทยครึกครื้น เศรษฐกิจไทยคึกคัก” ขึ้นมา
นัยว่าเมื่อกระตุ้นให้คนไทยเที่ยวไทยแล้ว รายได้ที่อาจจะขาดหายไปจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศลดลงจะถูกชดเชยด้วยตลาดนักท่องเที่ยวในประเทศ โดยตั้งเป้าไว้ว่าจะมีคนไทยคิดเป็น 87.06 ล้านคน/ครั้งเที่ยวไทย โดยคาดว่าสามารถสร้างรายได้ 407,600 ล้านบาท
สี่แสนกว่าล้าน! ดูเป็นตัวเลขที่สวยหรูเอาการ...
เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายนี้ ททท.มีทั้งเข็นแคมเปญสารพัด โฆษณาประชาสัมพันธ์ หรือกระทั่งมีเหตุผลที่จะเสนอของบประมาณเพิ่มขึ้นจากปีก่อนๆ รวมกว่าหมื่นล้าน
นี่ไม่นับว่า น่าแปลกใจอะไร เรื่องเชิญชวน เรื่องกระตุ้น และตอกย้ำให้คนไทยเที่ยวไทยเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เงินงบประมาณหมื่นล้านหากสามารถแปรเปลี่ยนกลับมาเป็นรายได้แก่รัฐ และหมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจ 4-5 แสนล้านย่อมนับว่าคุ้มค่า!
ทว่า..ช่วงเวลาใกล้เคียงกันนี้กลับมีข่าวเล็กๆ ที่ทำให้ประหลาดใจ
เรื่องมีอยู่ว่า บอร์ด ททท.ประเมินผลงานของผู้บริหารแล้วอนุมัติให้ปรับขึ้นค่าตอบแทน พร้อมกับให้โบนัสเป็นรางวัล 5 เท่าของอัตราจ้าง
บอร์ดให้เหตุผลว่า ค่าตอบแทนของผู้บริหารของ ททท.เมื่อเทียบกับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจอื่นๆ ยังต่ำกว่ามาก เช่น ผู้บริหารท่าอากาศยานไทย ดีดีการบินไทย ที่ได้อยู่เดือนละกว่า 7 แสนบาท ไม่นับรวมสวัสดิการอื่นๆ เช่น นั่งเครื่องบินฟรี หรืออื่นๆ ขณะที่ผู้บริหารของ ททท.ไม่มีสวัสดิการเหล่านี้เลย แต่การทำงานกลับหนักมากเพราะ “สถานการณ์ท่องเที่ยวที่ไม่ปกติ”
นอกจากนี้ บอร์ดยังเห็นสมควรให้ว่าจ้างบุคคลที่จะเข้ามารับตำแหน่ง “ที่ปรึกษาพิเศษฝ่ายการตลาด” ซึ่ง ททท.ไม่เคยมีตำแหน่งนี้มาก่อนให้เข้ามาช่วยเสกเป่ารายได้จากการท่องเที่ยว ด้วยอัตราผลตอบแทนไม่เกิน 5 ล้านบาทต่อปี
พูดตามตรงว่า ไม่อาจเข้าใจในวิธีคิดของบอร์ด ททท.อย่าว่าแต่คนนอกอย่างผมเลย คนในซึ่งเป็นพนักงาของ ททท.เองก็ไม่เข้าใจ
ข้อหนึ่งนั้น รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งย่อมมีลักษณะงานและการทำงานที่แตกต่างกัน เกณฑ์การเปรียบเทียบบอร์ดน่าจะมีเหตุผลมากกว่าจะบอกว่า ที่นั่นที่นี่เงินเดือนมากกว่า สวัสดิการมากกว่าแล้วเราจะต้องได้เท่านั้นเท่านี้มีเหมือนเขา
ข้อสองกับตำแหน่งที่ปรึกษาพิเศษ พนักงานมองว่า เป็นการใช้เงินสิ้นเปลืองได้ประโยชน์ไม่คุ้มค่า ตั้งคนขึ้นมาทับซ้อนกับการทำงานของพนักงาน ททท.และผู้ว่าการททท.ซึ่งก็ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดอยู่แล้ว
ตรงนี้เห็นด้วยกับพนักงาน ททท.อย่างยิ่ง ผมเชื่อมั่นว่าพนักงาน ททท.ทุกคนพร้อมจะทำงานอย่างเต็มกำลังความสามารถให้แก่องค์กร ให้แก่ประเทศ แต่ที่ต้องตำหนิ คือ ส่วนผู้บริหาร หรือบอร์ดต่างหาก
โดยเฉพาะที่ท่านบอกเหตุผลว่า ทำงานหนักมากเลยต้องตบรางวัลขึ้นเงินเดือนแจกโบนัสกันเอง ครื้นเครงกันใหญ่ ท่านแน่ใจแล้วหรือ?
ในฐานะประชาชนคนไทยที่ชอบเที่ยวไทยคนหนึ่งรู้สึกว่า ยังมีข้อสงสัยอยู่
อย่างน้อยๆ แคมเปญ ‘เที่ยวไทยครึกครื้น เศรษฐกิจไทยคึกคัก’ จะโหมกระพือไปกว่านี้ พวกท่านมีข้อมูลอัพเดท แหล่งท่องเที่ยว ความเปลี่ยนแปลงและเป็นไปของแต่ละที่อย่างไร หรือไม่?
ผมไม่ประสีประสา ทั้งวางแผน และอย่างไม่ได้ตั้งใจรอบ 2-3 เดือนที่ผ่านมามีเหตุชีพจรลงเท้าต้องเดินทางไปเหนือ-อีสาน-ตะวันออก-ตะวันตกอยู่หลายระลอกเรียกว่า เกือบจะสัปดาห์เว้นสัปดาห์ ในบางครั้งก็หนีบเอาแขกต่างประเทศไปด้วยในบางทริป พอจะแลกเปลี่ยนข้อมูลท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศกันอยู่บ้าง
จังหวัดที่ไปมาโดยมีโอกาสเที่ยวชมและสัมผัสมีตั้งแต่แบบธรรมดาสามัญไล่ไปจนถึงแบบสากลอย่าง ‘มรดกโลก’ ด้านหนึ่งที่เห็นก็เกิดความภูมิใจในความเป็นไทยที่มีของดีมากมาย ภูมิใจที่ได้จับจ่ายใช้สอยเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยชาติได้ส่วนหนึ่งตามนโยบาย แต่ก็ไม่วายอีกด้านหนึ่งก็นึกกังวลถึงอนาคตท่องเที่ยวไทย
บางสิ่งที่เห็นอดจะมีคำถาม ถามไปถึงผู้บริหาร ททท.ไม่ได้ว่า ท่านทำอะไรอยู่ นิ่งดูดายอยู่ได้อย่างไร?
หากไม่นับแหล่งเที่ยวทางธรรมชาติ ภูเขา ทะเล ยกตัวอย่างแค่สถานที่สำคัญ เช่น วัด ซึ่งมักจะขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งท่องเที่ยว และมีความศรัทธาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย คนเที่ยวไปเที่ยวเพื่อสักการะไหว้พระ ชมความงามของสถานที่ ที่สำคัญได้กำไรศึกษาประวัติศาสตร์ ปลูกฝังให้มีจิตใจรักความเป็นไทยไปด้วย แต่ปัจจุบันกลายเป็นพุทธพาณิชย์เป็นส่วนใหญ่
บางวัดมีประวัติศาสตร์เก่าแก่ มีโบราณวัตถุ แต่กลับถูกทิ้งไว้ราวของไร้ค่า ขาดการจัดการ การชี้แนะจากการท่องเที่ยว
โบสถ์เก่าอายุร่วมสองร้อยปี วันดีคืนดีโบกปูนทาทับทำใหม่ จำของเดิมแทบไม่ได้
วิหารสร้างใหม่อยู่คู่กับเจดีย์โบราณโดยไม่ลงตัว
อุทยานประวัติศาสตร์บางแห่งที่เป็นมรดกโลก เพียงเพื่อต้องการขายของ ต้องการค่าเช่าจากพ่อค้า-แม่ค้า ก็เปลี่ยนเส้นทางการเดินชมของทัวร์ ปิดทางเข้าที่ควรเป็น ทำให้ไกด์จับต้นชนปลายอธิบายเรื่องราวประวัติศาสตร์ให้ลูกทัวร์ไม่ถูก
การโปรโมตให้คนไทยเที่ยวไทย โดยเน้นการสร้างภาพลักษณ์ที่สวยงาม เน้นแต่รายได้ก้อนโต แล้วลำเลิกบอกว่าตัวเองจะต้องทำงานหนักมาก เหนื่อยมาก ขอเงินเดือนแพงๆ โบนัสงามๆ ทั้งที่รู้ๆ กันอยู่ ‘ของจริง’ ไม่ได้เป็นอย่างคำโฆษณา
สงสัย และคงจะสงสัยไปอีกนานว่า ที่สุดแล้ว เที่ยวไทยครึกครื้น เศรษฐกิจไทย หรือใครกันแน่ที่คึกคัก!