“วีระศักดิ์” ไขก๊อกตั้ง “พรศิริ” นั่งที่ปรึกษาบอร์ด ททท.แบบไม่มีค่าตอบแทน หวังลดกระแสต้านจ้างนั่งตำแหน่งที่ปรึกษาพิเศษฯ ททท.ด้วยเงิน 5 ล้านบาท ขณะที่ความคืบหน้าค่าตอบแทนพิเศษพนักงาน ททท.ขอเวลาอีก 1 เดือน เคลียร์ สคร.และเลขาธิการครม.
นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานคณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (บอร์ด ททท.) เปิดเผยว่า บอร์ด ททท.เห็นชอบตามที่ตนเองได้ยื่นเสนอให้แต่งตั้ง นางพรศิริ มโนหาญ ผู้ว่าการ ททท.เป็นที่ปรึกษาบอร์ด ททท.ภายหลังการพ้นตำแหน่งผู้ว่าการ ททท.ในวันที่ 29 มี.ค.นี้ ซึ่งตำแหน่งนี้จะไม่มีค่าตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งเหมือนกับตำแหน่งที่ปรึกษาของ นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา
โดยการพิจารณาจะเลือกจากผู้ที่มีความรู้ความชำนาญด้านการท่องเที่ยว โดยจะไม่มีค่าตอบแทน และสิทธิพิเศษใดๆ ไม่สามารถร่วมโหวตได้ อย่างไรก็ตาม หากเป็นเรื่องของค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เพื่อไปดำเนินการที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวให้เป็นอำนาจของผู้ว่าการ ททท.ที่จะเป็นผู้อนุมัติค่าใช้จ่ายเป็นครั้งคราวไป ส่วนกรณีที่กรรมการในบอร์ดจะมีภาระกิจต้องเดินทางให้ประธานบอร์ด ททท.เป็นผู้อนุมัติ
“ตำแหน่งนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับมติบอร์ด ททท.เดิมที่เห็นชอบให้ มีตำแหน่งที่ปรึกษาพิเศษด้านตลาดต่างประเทศ ของ ททท.ด้วยวงเงินว่าจ้างปีละ 5 ล้านบาท และในการประชุมครั้งนี้ก็ไม่ได้มีการยกเลิกมติบอร์ดดังกล่าวด้วย ทำให้มตินั้นยังมีผลบังคับใช้ได้เพียงแต่วันนี้เรายังไม่ได้หยิบมาใช้”
ทั้งนี้ มีรายงานข่าวระบุว่า ที่ นายวีระศักดิ์ เสนอแต่งตั้ง นางพรศิริ ในครั้งนี้ เพราะต้องการลดกระแสการต่อต้านจาก สหภาพแรงงาน ททท., สหพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย (เฟสต้า) เป็นต้น เพราะทุกคนรู้ดีว่า การตั้งตำแหน่งที่ปรึกษาพิเศษด้านตลาดต่างประเทศ เพราะต้องการเปิดทางไว้จ้างให้ นางพรศิริ มานั่งภายหลังการพ้นตำแหน่งผู้ว่าการ ททท.เพื่อจะได้ต่อยอดไปนั่งเป็นประธานคณะกรรมการสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (พาต้า) ได้ตามเงื่อนไข เพราะตำแหน่งประธานพาต้า จะต้องเป็นบุคคลที่เป็นตัวแทนจากหน่วยงานรัฐ หรือเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เท่านั้น แต่สหภาพ และ เฟสต้า เห็นว่า เป็นตำแหน่งที่ซ้ำซ้อน สิ้นเปลืองงบประมาณโดยไม่จำเป็น
นายวีระศักดิ์ ยังกล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินการจ่ายค่าตอบแทนพิเศษแก่พนักงาน ททท.ประจำปี 2549-2551 ว่า ที่ประชุมได้เปิดโอกาสให้ตัวแทนสหภาพรัฐวิสาหกิจ ททท.เข้ามาร่วมประชุมด้วย เกี่ยวกับเรื่องการจ่ายค่าตอบแทนพิเศษ ปี 2549-2551 ให้พนักงาน ททท.ซึ่งได้ข้อสรุปว่า ททท.จะทำหนังสือไปยังอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (สคร.) เพื่อขอให้วินิจฉัยตามความเห็นที่ ททท.ส่งไปให้ว่าคณะกรรมการ ททท.มีอำนาจสั่งให้จ่ายค่าตอบแทน และจะส่งหนังสือไปยังเลขาธิการ ครม.ให้ตัดสินว่า เรื่องการจ่ายค่าตอบแทนนี้ ไม่จำเป็นต้องส่งกลับเข้า ครม.พิจารณาแล้วใช่หรือไม่ โดยคาดว่าจะได้คำตอบทั้งหมดภายใน 1 เดือน หลังจากนั้น คณะกรรมการ ททท.จะได้อนุมัติจ่ายค่าตอบแทนพิเศษปี 2549-2551 ให้พนักงานได้ทันที ในอัตราขั้นต่ำ 2 เดือน ตามกฎหมายแรงงานรัฐวิสาหกิจ รวม 3 ปี เป็นเงิน ประมาณ 150 ล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละ 50 ล้านบาท
ด้านกิจกรรมเทศกาล “เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์” ประจำปี 2552 ททท.ใช้งบ 40 ล้านบาท จัดงานใน 13 พื้นที่ทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 6-19 เม.ย.2552 ได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ สุพรรณบุรี สงขลา ภูเก็ต และเชียงใหม่ เป็นต้น โดยมุ่งหวังว่า เทศกาลนี้จะรณรงค์ให้คนไทยออกมาท่องเที่ยวกันอย่างครึกครื้น โดยรูปแบบการจัดงานจะคงไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรม
นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานคณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (บอร์ด ททท.) เปิดเผยว่า บอร์ด ททท.เห็นชอบตามที่ตนเองได้ยื่นเสนอให้แต่งตั้ง นางพรศิริ มโนหาญ ผู้ว่าการ ททท.เป็นที่ปรึกษาบอร์ด ททท.ภายหลังการพ้นตำแหน่งผู้ว่าการ ททท.ในวันที่ 29 มี.ค.นี้ ซึ่งตำแหน่งนี้จะไม่มีค่าตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งเหมือนกับตำแหน่งที่ปรึกษาของ นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา
โดยการพิจารณาจะเลือกจากผู้ที่มีความรู้ความชำนาญด้านการท่องเที่ยว โดยจะไม่มีค่าตอบแทน และสิทธิพิเศษใดๆ ไม่สามารถร่วมโหวตได้ อย่างไรก็ตาม หากเป็นเรื่องของค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เพื่อไปดำเนินการที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวให้เป็นอำนาจของผู้ว่าการ ททท.ที่จะเป็นผู้อนุมัติค่าใช้จ่ายเป็นครั้งคราวไป ส่วนกรณีที่กรรมการในบอร์ดจะมีภาระกิจต้องเดินทางให้ประธานบอร์ด ททท.เป็นผู้อนุมัติ
“ตำแหน่งนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับมติบอร์ด ททท.เดิมที่เห็นชอบให้ มีตำแหน่งที่ปรึกษาพิเศษด้านตลาดต่างประเทศ ของ ททท.ด้วยวงเงินว่าจ้างปีละ 5 ล้านบาท และในการประชุมครั้งนี้ก็ไม่ได้มีการยกเลิกมติบอร์ดดังกล่าวด้วย ทำให้มตินั้นยังมีผลบังคับใช้ได้เพียงแต่วันนี้เรายังไม่ได้หยิบมาใช้”
ทั้งนี้ มีรายงานข่าวระบุว่า ที่ นายวีระศักดิ์ เสนอแต่งตั้ง นางพรศิริ ในครั้งนี้ เพราะต้องการลดกระแสการต่อต้านจาก สหภาพแรงงาน ททท., สหพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย (เฟสต้า) เป็นต้น เพราะทุกคนรู้ดีว่า การตั้งตำแหน่งที่ปรึกษาพิเศษด้านตลาดต่างประเทศ เพราะต้องการเปิดทางไว้จ้างให้ นางพรศิริ มานั่งภายหลังการพ้นตำแหน่งผู้ว่าการ ททท.เพื่อจะได้ต่อยอดไปนั่งเป็นประธานคณะกรรมการสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (พาต้า) ได้ตามเงื่อนไข เพราะตำแหน่งประธานพาต้า จะต้องเป็นบุคคลที่เป็นตัวแทนจากหน่วยงานรัฐ หรือเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เท่านั้น แต่สหภาพ และ เฟสต้า เห็นว่า เป็นตำแหน่งที่ซ้ำซ้อน สิ้นเปลืองงบประมาณโดยไม่จำเป็น
นายวีระศักดิ์ ยังกล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินการจ่ายค่าตอบแทนพิเศษแก่พนักงาน ททท.ประจำปี 2549-2551 ว่า ที่ประชุมได้เปิดโอกาสให้ตัวแทนสหภาพรัฐวิสาหกิจ ททท.เข้ามาร่วมประชุมด้วย เกี่ยวกับเรื่องการจ่ายค่าตอบแทนพิเศษ ปี 2549-2551 ให้พนักงาน ททท.ซึ่งได้ข้อสรุปว่า ททท.จะทำหนังสือไปยังอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (สคร.) เพื่อขอให้วินิจฉัยตามความเห็นที่ ททท.ส่งไปให้ว่าคณะกรรมการ ททท.มีอำนาจสั่งให้จ่ายค่าตอบแทน และจะส่งหนังสือไปยังเลขาธิการ ครม.ให้ตัดสินว่า เรื่องการจ่ายค่าตอบแทนนี้ ไม่จำเป็นต้องส่งกลับเข้า ครม.พิจารณาแล้วใช่หรือไม่ โดยคาดว่าจะได้คำตอบทั้งหมดภายใน 1 เดือน หลังจากนั้น คณะกรรมการ ททท.จะได้อนุมัติจ่ายค่าตอบแทนพิเศษปี 2549-2551 ให้พนักงานได้ทันที ในอัตราขั้นต่ำ 2 เดือน ตามกฎหมายแรงงานรัฐวิสาหกิจ รวม 3 ปี เป็นเงิน ประมาณ 150 ล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละ 50 ล้านบาท
ด้านกิจกรรมเทศกาล “เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์” ประจำปี 2552 ททท.ใช้งบ 40 ล้านบาท จัดงานใน 13 พื้นที่ทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 6-19 เม.ย.2552 ได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ สุพรรณบุรี สงขลา ภูเก็ต และเชียงใหม่ เป็นต้น โดยมุ่งหวังว่า เทศกาลนี้จะรณรงค์ให้คนไทยออกมาท่องเที่ยวกันอย่างครึกครื้น โดยรูปแบบการจัดงานจะคงไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรม