สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สำคัญของประเทศไทย เนื่องด้วยเราเป็น “เจ้าภาพ” ของ “การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 14 (Asean Summit)” ที่จะเริ่มต้นอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ และ 1 มีนาคม ที่จะถึงนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “พิธีลงนามกฎบัตรอาเซียน” หรือ “Asean Charter” ในวันที่ 1 มีนาคม ซึ่ง “ผู้นำ” ทั้ง 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนจะมาอยู่ที่ประเทศไทยหมด!
อย่างไรก็ตาม การประชุมอย่างต่อเนื่องกับระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ที่เรียกว่า SOM : Senior Officer Ministry ที่เตรียมการประชุม จัดวาระการประชุม ตลอดจน “ข้อตกลง” ต่างๆ ซึ่งเป็น “การประสาน-การประชุม” ร่วมกันทั้งระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (SOM) และเจ้าหน้าที่ด้านเศรษฐกิจอาวุโส (SEOM) มาโดยตลอดหนึ่งปี หรือแทบทั้งปี ซึ่งว่ากันตามความเป็นจริงแล้ว ได้รับการคืบหน้ามาทุกปีของการรวมตัวของสมาชิกอาเซียน
ก่อนที่จะไปกล่าวถึงความสำคัญของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 14 นี้ ว่ามีความสำคัญอย่างไร ทำไม “กฎบัตรอาเซียน” ถึงต้องมาลงนามที่ประเทศไทย ผลได้ ผลเสีย ตลอดจน “ประโยชน์” ของ “กฎบัตรอาเซียน” ที่มีต่ออาเซียนและประเทศไทยอย่างไร จะมาสาธยายกันในช่วงสุดท้าย
อาเซียน (Asean) เป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีความใกล้ชิดกับไทยมากที่สุด และจัดเป็นตลาดที่สำคัญของไทยตลาดหนึ่ง ด้วยจำนวนประชากรกว่า 560 ล้านคน ทั้งนี้ปัจจุบัน อาเซียนให้ความสำคัญกับการจัดตั้ง “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC : Asean Economic Community)” ภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015)
วัตถุประสงค์สำคัญ คือ การเร่งรัดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจภายในอาเซียนให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมืออย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีมากขึ้น สมดังเจตนารมณ์ที่ผู้นำอาเซียนได้ประกาศไว้ตาม “ปฏิญญาเซบู (Sebu)” ประเทศฟิลิปปินส์ ว่าด้วยการเร่งรัดการจัดตั้งประชาคมอาเซียน เมื่อเดือนมกราคม 2550
การศึกษาแนวทางการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับพัฒนาการด้านเศรษฐกิจของอาเซียน และแผนงานสำคัญของอาเซียนที่จะต้องดำเนินการเพื่อไปสู่เป้าหมายการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งจะช่วยให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อม และสามารถใช้ประโยชน์จากโอกาสที่มีอยู่เดิมและที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ได้อย่างเต็มที่ รวมทั้งสามารถปรับตัวเพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความคืบหน้าของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 14 นี้ สืบเนื่องจากการประชุม ครั้งที่ 13 ที่ประเทศสิงคโปร์ ในการกำหนด “กรอบกฎบัตรอาเซียน” เพื่อเตรียมการให้มีการลงนามและจบกระบวนการให้ได้กับการประชุมครั้งนี้ที่ประเทศไทย
เป็นกรณีที่น่าแปลกใจอย่างมาก ที่การก่อตั้งและการจัดการประชุมครั้งแรกของ “อาเซียน” นั้น ได้คลอดจากกรุงเทพฯ ประเทศไทยเรานี่เอง เมื่อ 41 ปีที่แล้ว เมื่อปี 2510 (1967) และการลงนามใน “กฎบัตรอาเซียน” เพื่อ “ผนึก-รวม” ให้อาเซียน “แข็งแกร่ง-ปึกแผ่น” สำทับกับในปี 2009 ที่บ้านเมืองเราอีกครั้ง นับว่า “ประเทศไทย” เป็นประเทศ “ก่อตั้ง-ก่อกำเนิด” ให้กับ “อาเซียน” และ “ประชาคมอาเซียน (Asean Economic Community)”
ความสำคัญของ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)” จะรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) หรือในอีกประมาณ 6 ปีข้างหน้า โดยมี “ตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน (Single Market and Production Base)” และมีการเคลื่อนย้าย สินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานฝีมืออย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีมากขึ้น
เป้าหมายของ “กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ” ของอาเซียน ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ได้มีการพัฒนาอย่างคืบหน้ามาโดยตลอด เริ่มต้นจากการริเริ่ม “เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA)” ในปี 2536 ตามมาด้วย “กรอบความตกลงด้านการค้าการบริการ (AFAS)” ในปี 2539 ต่อมาด้วย “ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน (AICO)” เมื่อปี 2539 ที่เริ่มใช้อย่างจริงจัง และ “เขตการลงทุนอาเซียน (AIA)” ในปี 2541
จากความคืบหน้าของความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของอาเซียน ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อมุ่งสู่การเป็น “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)” โดยเริ่มเมื่อปี 2546 ผู้นำอาเซียนลงนามใน “ปฏิญญาบาหลี” ที่แสดงเจตนารมณ์การนำอาเซียนสู่ “ประชาคมอาเซียน” ในปี 2020 (2563)
ต่อมาปี 2550 ผู้นำอาเซียนลงนามใน “ปฏิญญาเซบู” เร่งรัดการเป็น “ประชาคมอาเซียน” ให้เร็วขึ้นอีก 5 ปี เป็นปี 2015 (2558) และล่าสุด เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2550 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามใน “ปฏิญญาว่าด้วยแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” ซึ่งกำหนด “AEC Blueprint and Strategic Schedule” เป็นเอกสารประกอบเพื่อยืนยันเจตนารมณ์ร่วมกันดำเนินการให้สำเร็จตามกำหนดในปี 2558
“กฎบัตรอาเซียน (Asean Charter)” และ “AEC” ที่กำลังจะเกิดขึ้นนับตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป ถือว่าเป็น “มิติใหม่ของอาเซียน” ที่เราคนไทยทุกคนจะต้องตระหนักและให้ความสนใจ เนื่องด้วยเป็น “การสร้างปึกแผ่น” ให้เกิดขึ้นกับหมู่มวลสมาชิกอาเซียน ที่ขอย้ำว่าเป็น “ประชาคม (Community)” หรือ “กลุ่มสหประเทศ” ที่ผนึกกำลังกันเพื่อสร้าง “อำนาจเจรจาต่อรอง” กับ “ประชาคมโลก” ที่โลกเรานับวัน “การแข่งขันด้านเศรษฐกิจ” จะเป็น “เวที (Forum)” ใหม่ ที่ “ต่อสู้” กันอย่างดุเดือด เลือดพล่าน พูดง่ายๆ คือ “ชิงไหว ชิงพริบ-เอารัดเอาเปรียบ” กับ “สงครามเศรษฐกิจ” ในยุค “โลกาภิวัตน์”
ประชากรที่มีจำนวน 560 ล้านคนนั้น ต้องยอมรับว่า เพียงแค่ “ตอบสนอง” ในเชิงอุปสงค์ อุปทาน (Demand-Supply) กันเองภายในกลุ่มประเทศสมาชิกที่นำมาค้าขาย เลยเถิดไปถึงภาคการลงทุน ภาคการบริโภค และภาคบริการ ก็น่าจะสร้างมูลค่าได้สูงถึงหลักแสนล้านล้านบาท ซึ่งก็ว่าไปแล้วก็เพียงพอที่จะบริหารจัดการกันเองภายในประชาคมอาเซียน เพียงแต่ว่า ถ้ามีการผนึกกำลังกันอย่างจริงจัง และสำคัญที่สุดคือ “ความจริงใจ” มิใช่ “แข่งขันกันเอง!” ก็สามารถที่จะ “ค้าขาย” กับกลุ่มประเทศคู่ค้ามหาอำนาจได้ทั่วโลก
ความสำคัญของ “กฎบัตรอาเซียน (Asean Charter)” คือ แนวคิดที่จะปฏิรูปอาเซียนเพื่อแก้ไขปัญหาสภาพนิติบุคคล และจัดโครงสร้างองค์กรเพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน โดยมุ่งเน้นการสร้างนิติฐานะ (Legal Status) ในเวทีระหว่างประเทศให้กับอาเซียน
พูดง่ายๆ คือ สร้างความมั่นคงและมีอำนาจทางกฎหมายในการที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการเจรจากับ “องค์กรนานาชาติ” ใน “เวทีโลก” ที่บทบาททางกฎหมายจะเป็นทั้ง “ฐาน” และ “กลไก” ในการ “ต่อสู้-แข่งขัน-ต่อรอง” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีของ “กฎหมายนานาชาติ” และ “กฎหมายธุรกิจ” หรือ “International-Business Law”
เป้าหมายหลักของกฎบัตรอาเซียน เพื่อก่อให้เกิดกระบวนการรวมกลุ่มของอาเซียน มีพื้นฐานทางกฎหมายรองรับ และมีพันธสัญญาต่อกันมากขึ้น และจะเป็นเสมือน “ธรรมนูญ” ของอาเซียนซึ่งจะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียน ในการรับมือกับ “ความท้าทายใหม่” พร้อมส่งเสริม “เอกภาพ” ในการรวมตัวกันของประเทศสมาชิก และเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับการรวมตัวของประเทศสมาชิกไปสู่การจัดตั้ง “ประชาคมอาเซียน” ในปี 2558 (2015) ซึ่งประกอบด้วย 3 ด้านหลัก ได้แก่ ด้านความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และวัฒนธรรม
ทั้งนี้ องค์ประกอบสำคัญของ “กฎบัตรอาเซียน” นอกจากโครงสร้างองค์กรและสถานะของอาเซียนแล้ว ประเด็นสำคัญขององค์ประกอบที่มีน้ำหนักอย่างมาก กล่าวคือ กระบวนการตัดสินใจ และกลไกการระงับ “ข้อพิพาท” ระหว่างประเทศสมาชิก รวมถึง เรื่องกองทุนและงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของอาเซียนด้วย
กลุ่มสมาชิกประเทศอาเซียน มีการดำเนินงานในลักษณะผสมผสานระหว่าง “ระบบสหภาพทางภาษี (Customs Union)” และ “ตลาดร่วม (Common Market)” ที่มุ่งการขจัดภาษีภายในภูมิภาค และขจัดปัญหาอุปสรรคทางการค้า ทั้งด้านภาษีและมิใช่ภาษี ตลอดจนการส่งเสริมการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ และการลงทุน
แต่การดำเนินการต่างๆ ของอาเซียนที่เพียรพยายามผลักดันนั้น ยังขาดหาย และ/หรือบกพร่อง คือ “สหภาพด้านเศรษฐกิจ (Economic Union)” โดยมีเป้าหมายการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ เงินทุน และปัจจัยการผลิตที่เสรี แต่ยังขาดนโยบายการเงิน การคลัง และระบบเงินสกุลเดียวกัน
ทั้งหลายทั้งปวงของ “การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน (Asean Summit) ครั้งที่ 14” นี้ มีความสำคัญในการลงนามใน “กฎบัตรอาเซียน” แต่คงไม่สำคัญเท่ากับว่า ต้องสามารถ “ปรับทิศทาง” และสามารถให้ “เดินหน้า” พร้อมทั้ง “พัฒนาประชาคมอาเซียน” ให้อย่างมีเอกภาพให้ได้ เพื่อก่อให้เกิด “อำนาจต่อรอง” กับ “การแข่งขันด้านเศรษฐกิจ” ในระดับโลกภายภาคอนาคตได้!
อย่างไรก็ตาม การประชุมอย่างต่อเนื่องกับระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ที่เรียกว่า SOM : Senior Officer Ministry ที่เตรียมการประชุม จัดวาระการประชุม ตลอดจน “ข้อตกลง” ต่างๆ ซึ่งเป็น “การประสาน-การประชุม” ร่วมกันทั้งระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (SOM) และเจ้าหน้าที่ด้านเศรษฐกิจอาวุโส (SEOM) มาโดยตลอดหนึ่งปี หรือแทบทั้งปี ซึ่งว่ากันตามความเป็นจริงแล้ว ได้รับการคืบหน้ามาทุกปีของการรวมตัวของสมาชิกอาเซียน
ก่อนที่จะไปกล่าวถึงความสำคัญของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 14 นี้ ว่ามีความสำคัญอย่างไร ทำไม “กฎบัตรอาเซียน” ถึงต้องมาลงนามที่ประเทศไทย ผลได้ ผลเสีย ตลอดจน “ประโยชน์” ของ “กฎบัตรอาเซียน” ที่มีต่ออาเซียนและประเทศไทยอย่างไร จะมาสาธยายกันในช่วงสุดท้าย
อาเซียน (Asean) เป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีความใกล้ชิดกับไทยมากที่สุด และจัดเป็นตลาดที่สำคัญของไทยตลาดหนึ่ง ด้วยจำนวนประชากรกว่า 560 ล้านคน ทั้งนี้ปัจจุบัน อาเซียนให้ความสำคัญกับการจัดตั้ง “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC : Asean Economic Community)” ภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015)
วัตถุประสงค์สำคัญ คือ การเร่งรัดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจภายในอาเซียนให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมืออย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีมากขึ้น สมดังเจตนารมณ์ที่ผู้นำอาเซียนได้ประกาศไว้ตาม “ปฏิญญาเซบู (Sebu)” ประเทศฟิลิปปินส์ ว่าด้วยการเร่งรัดการจัดตั้งประชาคมอาเซียน เมื่อเดือนมกราคม 2550
การศึกษาแนวทางการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับพัฒนาการด้านเศรษฐกิจของอาเซียน และแผนงานสำคัญของอาเซียนที่จะต้องดำเนินการเพื่อไปสู่เป้าหมายการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งจะช่วยให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อม และสามารถใช้ประโยชน์จากโอกาสที่มีอยู่เดิมและที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ได้อย่างเต็มที่ รวมทั้งสามารถปรับตัวเพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความคืบหน้าของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 14 นี้ สืบเนื่องจากการประชุม ครั้งที่ 13 ที่ประเทศสิงคโปร์ ในการกำหนด “กรอบกฎบัตรอาเซียน” เพื่อเตรียมการให้มีการลงนามและจบกระบวนการให้ได้กับการประชุมครั้งนี้ที่ประเทศไทย
เป็นกรณีที่น่าแปลกใจอย่างมาก ที่การก่อตั้งและการจัดการประชุมครั้งแรกของ “อาเซียน” นั้น ได้คลอดจากกรุงเทพฯ ประเทศไทยเรานี่เอง เมื่อ 41 ปีที่แล้ว เมื่อปี 2510 (1967) และการลงนามใน “กฎบัตรอาเซียน” เพื่อ “ผนึก-รวม” ให้อาเซียน “แข็งแกร่ง-ปึกแผ่น” สำทับกับในปี 2009 ที่บ้านเมืองเราอีกครั้ง นับว่า “ประเทศไทย” เป็นประเทศ “ก่อตั้ง-ก่อกำเนิด” ให้กับ “อาเซียน” และ “ประชาคมอาเซียน (Asean Economic Community)”
ความสำคัญของ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)” จะรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) หรือในอีกประมาณ 6 ปีข้างหน้า โดยมี “ตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน (Single Market and Production Base)” และมีการเคลื่อนย้าย สินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานฝีมืออย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีมากขึ้น
เป้าหมายของ “กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ” ของอาเซียน ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ได้มีการพัฒนาอย่างคืบหน้ามาโดยตลอด เริ่มต้นจากการริเริ่ม “เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA)” ในปี 2536 ตามมาด้วย “กรอบความตกลงด้านการค้าการบริการ (AFAS)” ในปี 2539 ต่อมาด้วย “ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน (AICO)” เมื่อปี 2539 ที่เริ่มใช้อย่างจริงจัง และ “เขตการลงทุนอาเซียน (AIA)” ในปี 2541
จากความคืบหน้าของความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของอาเซียน ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อมุ่งสู่การเป็น “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)” โดยเริ่มเมื่อปี 2546 ผู้นำอาเซียนลงนามใน “ปฏิญญาบาหลี” ที่แสดงเจตนารมณ์การนำอาเซียนสู่ “ประชาคมอาเซียน” ในปี 2020 (2563)
ต่อมาปี 2550 ผู้นำอาเซียนลงนามใน “ปฏิญญาเซบู” เร่งรัดการเป็น “ประชาคมอาเซียน” ให้เร็วขึ้นอีก 5 ปี เป็นปี 2015 (2558) และล่าสุด เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2550 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามใน “ปฏิญญาว่าด้วยแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” ซึ่งกำหนด “AEC Blueprint and Strategic Schedule” เป็นเอกสารประกอบเพื่อยืนยันเจตนารมณ์ร่วมกันดำเนินการให้สำเร็จตามกำหนดในปี 2558
“กฎบัตรอาเซียน (Asean Charter)” และ “AEC” ที่กำลังจะเกิดขึ้นนับตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป ถือว่าเป็น “มิติใหม่ของอาเซียน” ที่เราคนไทยทุกคนจะต้องตระหนักและให้ความสนใจ เนื่องด้วยเป็น “การสร้างปึกแผ่น” ให้เกิดขึ้นกับหมู่มวลสมาชิกอาเซียน ที่ขอย้ำว่าเป็น “ประชาคม (Community)” หรือ “กลุ่มสหประเทศ” ที่ผนึกกำลังกันเพื่อสร้าง “อำนาจเจรจาต่อรอง” กับ “ประชาคมโลก” ที่โลกเรานับวัน “การแข่งขันด้านเศรษฐกิจ” จะเป็น “เวที (Forum)” ใหม่ ที่ “ต่อสู้” กันอย่างดุเดือด เลือดพล่าน พูดง่ายๆ คือ “ชิงไหว ชิงพริบ-เอารัดเอาเปรียบ” กับ “สงครามเศรษฐกิจ” ในยุค “โลกาภิวัตน์”
ประชากรที่มีจำนวน 560 ล้านคนนั้น ต้องยอมรับว่า เพียงแค่ “ตอบสนอง” ในเชิงอุปสงค์ อุปทาน (Demand-Supply) กันเองภายในกลุ่มประเทศสมาชิกที่นำมาค้าขาย เลยเถิดไปถึงภาคการลงทุน ภาคการบริโภค และภาคบริการ ก็น่าจะสร้างมูลค่าได้สูงถึงหลักแสนล้านล้านบาท ซึ่งก็ว่าไปแล้วก็เพียงพอที่จะบริหารจัดการกันเองภายในประชาคมอาเซียน เพียงแต่ว่า ถ้ามีการผนึกกำลังกันอย่างจริงจัง และสำคัญที่สุดคือ “ความจริงใจ” มิใช่ “แข่งขันกันเอง!” ก็สามารถที่จะ “ค้าขาย” กับกลุ่มประเทศคู่ค้ามหาอำนาจได้ทั่วโลก
ความสำคัญของ “กฎบัตรอาเซียน (Asean Charter)” คือ แนวคิดที่จะปฏิรูปอาเซียนเพื่อแก้ไขปัญหาสภาพนิติบุคคล และจัดโครงสร้างองค์กรเพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน โดยมุ่งเน้นการสร้างนิติฐานะ (Legal Status) ในเวทีระหว่างประเทศให้กับอาเซียน
พูดง่ายๆ คือ สร้างความมั่นคงและมีอำนาจทางกฎหมายในการที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการเจรจากับ “องค์กรนานาชาติ” ใน “เวทีโลก” ที่บทบาททางกฎหมายจะเป็นทั้ง “ฐาน” และ “กลไก” ในการ “ต่อสู้-แข่งขัน-ต่อรอง” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีของ “กฎหมายนานาชาติ” และ “กฎหมายธุรกิจ” หรือ “International-Business Law”
เป้าหมายหลักของกฎบัตรอาเซียน เพื่อก่อให้เกิดกระบวนการรวมกลุ่มของอาเซียน มีพื้นฐานทางกฎหมายรองรับ และมีพันธสัญญาต่อกันมากขึ้น และจะเป็นเสมือน “ธรรมนูญ” ของอาเซียนซึ่งจะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียน ในการรับมือกับ “ความท้าทายใหม่” พร้อมส่งเสริม “เอกภาพ” ในการรวมตัวกันของประเทศสมาชิก และเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับการรวมตัวของประเทศสมาชิกไปสู่การจัดตั้ง “ประชาคมอาเซียน” ในปี 2558 (2015) ซึ่งประกอบด้วย 3 ด้านหลัก ได้แก่ ด้านความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และวัฒนธรรม
ทั้งนี้ องค์ประกอบสำคัญของ “กฎบัตรอาเซียน” นอกจากโครงสร้างองค์กรและสถานะของอาเซียนแล้ว ประเด็นสำคัญขององค์ประกอบที่มีน้ำหนักอย่างมาก กล่าวคือ กระบวนการตัดสินใจ และกลไกการระงับ “ข้อพิพาท” ระหว่างประเทศสมาชิก รวมถึง เรื่องกองทุนและงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของอาเซียนด้วย
กลุ่มสมาชิกประเทศอาเซียน มีการดำเนินงานในลักษณะผสมผสานระหว่าง “ระบบสหภาพทางภาษี (Customs Union)” และ “ตลาดร่วม (Common Market)” ที่มุ่งการขจัดภาษีภายในภูมิภาค และขจัดปัญหาอุปสรรคทางการค้า ทั้งด้านภาษีและมิใช่ภาษี ตลอดจนการส่งเสริมการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ และการลงทุน
แต่การดำเนินการต่างๆ ของอาเซียนที่เพียรพยายามผลักดันนั้น ยังขาดหาย และ/หรือบกพร่อง คือ “สหภาพด้านเศรษฐกิจ (Economic Union)” โดยมีเป้าหมายการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ เงินทุน และปัจจัยการผลิตที่เสรี แต่ยังขาดนโยบายการเงิน การคลัง และระบบเงินสกุลเดียวกัน
ทั้งหลายทั้งปวงของ “การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน (Asean Summit) ครั้งที่ 14” นี้ มีความสำคัญในการลงนามใน “กฎบัตรอาเซียน” แต่คงไม่สำคัญเท่ากับว่า ต้องสามารถ “ปรับทิศทาง” และสามารถให้ “เดินหน้า” พร้อมทั้ง “พัฒนาประชาคมอาเซียน” ให้อย่างมีเอกภาพให้ได้ เพื่อก่อให้เกิด “อำนาจต่อรอง” กับ “การแข่งขันด้านเศรษฐกิจ” ในระดับโลกภายภาคอนาคตได้!