วานนี้ ( 2 มี.ค.) นางสดศรี สัตยธรรม กกต. ด้านกิจการพรรคการเมืองเปิดเผยว่า ขณะนี้กกต.ได้รับการติดต่อจากดีเอสไอ ว่าจะให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องการบริจาคเงิน 258 ล้านบาท และเงินกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง 23 ล้านบาท ที่มีการใช้ผิดวัตถุประสงค์ของพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อปี 2548 รวมทั้งข้อมูลเรื่องเงินกองทุนพัฒนาพรรคการเมือง ที่นำไปให้บริษัทเมซไซอะ บิซิเนส แอนด์ ครีเอชั่น จำกัด ด้วย โดยเรื่องอยู่ระหว่างที่พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง อธิบดี ดีเอสไอ ลงนามอยู่ ก่อนจะส่งมายังกกต. ซึ่งทางดีเอสไอ เห็นว่าเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.พรรคการเมือง จึงเป็นเรื่องที่กกต.พิจารณาโดยตรง ไม่ใช่ดีเอสไอจะสอบ
ส่วนเส้นทางการเงินที่เกี่ยวกับบริษัทเมซไซอะฯ หรือไม่ ดีเอสไอจะส่งสำนวนมาให้กกต.ได้ในสัปดาห์หน้า ซึ่ง กกต.จะต้องตั้งอนุกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริง และขอพยานหลักฐานจากดีเอสไอ เพื่อจะได้รู้ว่ามีเส้นทางการเงินอย่างไร คาดว่าการพิจารณาคงใช้เวลาไม่นาน
"กกต.จะต้องดูหลักฐานจากดีเอสไอที่สอบไปแล้ว ว่าบุคคลเกี่ยวข้องเป็นกรรมการบริษัท เมซไซอะฯ ด้วยว่าเกี่ยวข้องอะไรกับการนำเงินกองทุนพัฒนาพรรคการเมืองไปใช้ค่าโฆษณาเป็นไปตามจำนวนเงิน 23 ล้านบาทหรือไม่ ซึ่งกกต.จะพิจารณาแค่ว่า มีการใช้เงินผิดประเภทหรือไม่ เป็นไปตามโครงการของกกต.หรือไม่"
นางสดศรี กล่าวด้วยว่า บทลงโทษ หากนำเงินกองทุนพัฒนาพรรคการเมืองไปใช้ผิดวัตถุประสงค์นั้น หัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคในขณะนั้น อาจจะต้องถูกลงโทษทางอาญา จำคุก และปรับ ส่วนจะถึงขั้นยุบพรรคหรือไม่ เรื่องนี้คงต้องมาดูข้อเท็จจริงอีกครั้ง เพราะในช่วงปี 48 ยังใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 อยู่ และโทษในมาตรา 237 ของรัฐธรรมนูญปี 50 ที่เกี่ยวกับยุบพรรค และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง แต่ในรัฐธรรมนูญปี 2540 กลับไม่มี ดังนั้น จึงมีปัญหาว่าจะยุบพรรคได้หรือไม่ คงต้องเป็นเรื่องศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาว่า จะย้อนหลังได้หรือไม่ และเรื่องนี้หากพบว่ามีความผิดจริง กรรมการบริหารพรรคในขณะนั้นจะถูกโทษตามกฎหมาย
"กฎหมายปกติจะไม่มีการย้อนหลัง แต่ถ้ามองคดียุบพรรคไทยรักไทยก็ไม่แน่ใจว่าย้อนหลังได้หรือไม่ ส่วนกกต.จะส่งศาลรัฐธรรมนูญเองหรือไม่ ก็คงต้องดูข้อเท็จจริงก่อนว่ามีการใช้เงินผิดประเภท และเป็นไปตามแผนการที่พรรคประชาธิปัตย์ได้เสนอมายังกกต.เมื่อปี 48 หรือไม่ ยืนยันเรื่องนี้ กกต.ตรวจสอบไม่ยาก เพราะดีเอสไอได้สอบสวนมาแล้ว กกต.คงนำเอาสำนวนสอบของดีเอสไอ มาสอบเป็นประเด็นหลัก รวมทั้งสอบพยานบุคคลตามที่ได้ระบุว่า มีการใช้จ่ายเงินดังกล่าวผิดวัตถุประสงค์ด้วย ทั้งนี้การนำเงินกองทุนไปใช้ผิดประเภทจะเข้า พ.ร.บ พรรคการเมือง โดย พ.ร.บ.พรรคการเมืองปี 41 และ ปี50 ก็มีบทบัญญัติใกล้เคียงกันอยู่แล้วโทษก็คล้ายกัน"
นางสดศรี กล่าวด้วยว่า แม้ กกต.เคยตอบกลับไปทาง ดีเอสไอไปว่า ไม่พบการใช้เงินผิดแผนการในปี 48 แต่ที่ กกต.เคยตรวจสอบ ยังไม่พบการใช้เงินผิดวัตถุประสงค์ในช่วงเวลานั้น เพราะมีการตรวจสอบเฉพาะเอกสารเท่านั้นที่มีการว่าจ้าง แต่ก็ยังไม่ตรวจสอบลึกถึงว่า มีการทำป้ายโฆษณาหาเสียงจริงหรือไม่ แต่ถ้าดีเอสไอ มีหลักฐานลึกกว่านั้นก็เป็นเรื่องที่กกต.จะเข้าไปพิจารณา ว่าบริษัทที่ตรวจสอบบัญชีงบดุลขณะนั้นมีความผิดพลาดหรือไม่
ส่วนเส้นทางการเงินที่เกี่ยวกับบริษัทเมซไซอะฯ หรือไม่ ดีเอสไอจะส่งสำนวนมาให้กกต.ได้ในสัปดาห์หน้า ซึ่ง กกต.จะต้องตั้งอนุกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริง และขอพยานหลักฐานจากดีเอสไอ เพื่อจะได้รู้ว่ามีเส้นทางการเงินอย่างไร คาดว่าการพิจารณาคงใช้เวลาไม่นาน
"กกต.จะต้องดูหลักฐานจากดีเอสไอที่สอบไปแล้ว ว่าบุคคลเกี่ยวข้องเป็นกรรมการบริษัท เมซไซอะฯ ด้วยว่าเกี่ยวข้องอะไรกับการนำเงินกองทุนพัฒนาพรรคการเมืองไปใช้ค่าโฆษณาเป็นไปตามจำนวนเงิน 23 ล้านบาทหรือไม่ ซึ่งกกต.จะพิจารณาแค่ว่า มีการใช้เงินผิดประเภทหรือไม่ เป็นไปตามโครงการของกกต.หรือไม่"
นางสดศรี กล่าวด้วยว่า บทลงโทษ หากนำเงินกองทุนพัฒนาพรรคการเมืองไปใช้ผิดวัตถุประสงค์นั้น หัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคในขณะนั้น อาจจะต้องถูกลงโทษทางอาญา จำคุก และปรับ ส่วนจะถึงขั้นยุบพรรคหรือไม่ เรื่องนี้คงต้องมาดูข้อเท็จจริงอีกครั้ง เพราะในช่วงปี 48 ยังใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 อยู่ และโทษในมาตรา 237 ของรัฐธรรมนูญปี 50 ที่เกี่ยวกับยุบพรรค และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง แต่ในรัฐธรรมนูญปี 2540 กลับไม่มี ดังนั้น จึงมีปัญหาว่าจะยุบพรรคได้หรือไม่ คงต้องเป็นเรื่องศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาว่า จะย้อนหลังได้หรือไม่ และเรื่องนี้หากพบว่ามีความผิดจริง กรรมการบริหารพรรคในขณะนั้นจะถูกโทษตามกฎหมาย
"กฎหมายปกติจะไม่มีการย้อนหลัง แต่ถ้ามองคดียุบพรรคไทยรักไทยก็ไม่แน่ใจว่าย้อนหลังได้หรือไม่ ส่วนกกต.จะส่งศาลรัฐธรรมนูญเองหรือไม่ ก็คงต้องดูข้อเท็จจริงก่อนว่ามีการใช้เงินผิดประเภท และเป็นไปตามแผนการที่พรรคประชาธิปัตย์ได้เสนอมายังกกต.เมื่อปี 48 หรือไม่ ยืนยันเรื่องนี้ กกต.ตรวจสอบไม่ยาก เพราะดีเอสไอได้สอบสวนมาแล้ว กกต.คงนำเอาสำนวนสอบของดีเอสไอ มาสอบเป็นประเด็นหลัก รวมทั้งสอบพยานบุคคลตามที่ได้ระบุว่า มีการใช้จ่ายเงินดังกล่าวผิดวัตถุประสงค์ด้วย ทั้งนี้การนำเงินกองทุนไปใช้ผิดประเภทจะเข้า พ.ร.บ พรรคการเมือง โดย พ.ร.บ.พรรคการเมืองปี 41 และ ปี50 ก็มีบทบัญญัติใกล้เคียงกันอยู่แล้วโทษก็คล้ายกัน"
นางสดศรี กล่าวด้วยว่า แม้ กกต.เคยตอบกลับไปทาง ดีเอสไอไปว่า ไม่พบการใช้เงินผิดแผนการในปี 48 แต่ที่ กกต.เคยตรวจสอบ ยังไม่พบการใช้เงินผิดวัตถุประสงค์ในช่วงเวลานั้น เพราะมีการตรวจสอบเฉพาะเอกสารเท่านั้นที่มีการว่าจ้าง แต่ก็ยังไม่ตรวจสอบลึกถึงว่า มีการทำป้ายโฆษณาหาเสียงจริงหรือไม่ แต่ถ้าดีเอสไอ มีหลักฐานลึกกว่านั้นก็เป็นเรื่องที่กกต.จะเข้าไปพิจารณา ว่าบริษัทที่ตรวจสอบบัญชีงบดุลขณะนั้นมีความผิดพลาดหรือไม่