ASTVผู้จัดการรายวัน - สบน.รับลูกรัฐมนตรีเศรษฐกิจเดินหน้าโครงการ Public Private Partnerships : PPPs ผลักดัน โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐตั้งกรอบการศึกษา 3-6 เดือน เตรียมเปิดโครงการ นำร่องรถไฟฟ้า 3 สาย ม่วง เขียว แดง และมอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราช วงเงินรวม 1.3 แสนล้านบาท ระบุ กฟผ.-กปภ. เคยทำโครงการรูปแบบนี้มาก่อนหากปรับใช้เมกะโปรเจกต์ทุกโครงการเดินหน้าฉลุยไม่จำเป็นต้องแก้ พ.ร.บ.ร่วมทุน
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ (รศก.) ได้เห็นชอบข้อเสนอของกระทรวงการคลังเรื่องแนวทางการดำเนินโครงการลงทุนภาครัฐในรูปแบบ Public Private Partnerships (PPPs) ซึ่งจะเป็น การปรับรูปแบบและแนวทางในการจัดซื้อจัดจ้างโครงการลงทุนภาครัฐจากเดิมที่รัฐบาลดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อซื้อทรัพย์สินของโครงการ (Asset Based Contract) มาเป็นการที่รัฐบาลเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนและเป็นผู้บริหารจัดการโครงการลงทุนของภาครัฐ
โดยรัฐบาลจะเป็นผู้รับซื้อบริการจากภาคเอกชนตามปริมาณและคุณภาพงานที่กำหนด (Output Performance Based Contract) ทำให้ภาครัฐสามารถลดปัญหาต้นทุนของโครงการที่เพิ่มขึ้นและแก้ปัญหา ความล่าช้าในการดำเนินโครงการ (Project Cost/Time Overrun) ทั้งนี้ภาครัฐจะ ชำระเงินเป็นค่าบริการจากภาคเอกชนเมื่อโครงการแล้วเสร็จและสามารถเปิดให้บริการ ได้ตามข้อตกลงเท่านั้น (Payment Against Service Delivery) ซึ่งจะช่วยให้การบริหาร งบประมาณของภาครัฐมีประสิทธิภาพและเป็นการลดภาระการลงทุนของภาครัฐโดยเฉพาะในช่วงระหว่างการก่อสร้างโครงการ และทำให้รัฐบาลสามารถขยายการลงทุนในโครงการพื้นฐานต่างๆ ได้ทันต่อความต้องการของประชาชนผู้รับบริการภายใต้กรอบงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด
โดยมติที่ประชุมคณะกรรมการ รศก. ได้เห็นชอบในประเด็นการแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำและปรับปรุงประกาศ กฎกระทรวง และระเบียบ รวมทั้งหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการลงทุนภาครัฐในรูปแบบ PPPs เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2552 และฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการ รศก. ได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเรื่องดังกล่าวเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2552 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรอบแนวทางการระดมทุนในรูปแบบ Public Private Partnership (PPPs) ตามที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการ รศก. เสนอ โดยเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาแนวทางการเพิ่มบทบาทภาคเอกชน ในรูปแบบ PPPs โดยนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา อัยการสูงสุด และผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ โดยมีสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะเป็นฝ่ายเลขานุการ โดยมีหน้าที่ ดังนี้
1. พิจารณาแนวนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการลงทุนภาครัฐใน รูปแบบ PPPs 2. กำหนดขั้นตอนและกระบวนการทำงานในการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกับพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 3. ศึกษาแนวทางการปรับปรุงระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยให้นำผลการพิจารณาเสนอให้คณะกรรมการ รศก. และคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้คณะทำงานได้ศึกษาความเป็นไปได้และดำเนินโครงการนำร่อง(Pilot Project) ที่จะดำเนินการลงทุนในรูปแบบ PPPs โดยดำเนินโครงการที่มีผลตอบแทนสูงและมีการกระจายความเสี่ยงร่วมกันระหว่างภาครัฐกับเอกชน ได้แก่โครงการระบบขนส่งมวลชนระบบราง เส้นทางสายสีม่วง สายสีน้ำเงิน และสายสีเขียว โดยวงเงินลงทุน โครงการนี้มูลค่า 8 หมื่นล้านบาท และโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายบางปะอิน-นครราชสีมา มูลค่าโครงการ 5 หมื่นล้านบาท
'รถไฟฟ้าทั้ง 3 โครงการนั้นรัฐบาลจะให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนในระบบการเดินรถและบริหารจัดการเดินรถทั้งหมดตามที่ระบุไว้ในสัญญาว่ารัฐบาลจะจ่ายค่าบริการให้กับเอกชนคู่สัญญาตามเงื่อนไขคุณภาพ บริการและมาตรฐานที่รัฐบาลต้องการตามที่ได้ตกลงกันไว้' นายพงษ์ภาณุกล่าวและว่า หากรูปแบบ PPPs สำเร็จจะถือเป็นการปฏิรูประบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐครั้งใหญ่และ สบน.จะกลายเป็นหน่วยงานหลักในการให้คำปรึกษาทางด้านการลงทุนของหน่วยงานต่างๆ ของรัฐเพื่อให้โครงการลงทุนเดินหน้าอย่างราบรื่นภายใต้ พ.ร.บ.ร่วมทุน ปี 35 ที่คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการไม่เกิน 6 เดือน
นายจักรกฤศฎิ์ พาราพันธกุล รองผู้อำนวยการ สบน. กล่าวว่า ที่ผ่านมาประเทศ ไทยได้ดำเนินโครงการในรูปแบบ PPPs มาแล้วตามโครงการซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายย่อยของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) และการรับซื้อรวมถึงการให้บริการน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาค ซึ่งโครงการรถไฟฟ้าก็เป็นการซื้อบริการเช่นเดียวกันรัฐบาลจึงน่าจะมีความสามารถในการกำหนดคุณภาพขั้นต่ำจากผู้ดำเนินการที่เป็นคู่สัญญาได้เพื่อจะได้มาคำนวณค่าบริการที่เป็นธรรมจากประชาชนผู้ใช้บริการ
'ไฟฟ้า ประปาก็ได้ดำเนินการเรื่องนี้มาแล้วน่าจะเป็นตัวอย่างที่รัฐบาลสามารถนำมาปรับใช้ได้เพราะรถไฟฟ้าก็อยู่ในรูปแบบ ของการให้บริการเช่นเดียวกัน หากนำโมเดลนี้มาเป็นต้นแบบในการดำเนินการได้ การร่วมลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชนในโครงการต่างๆ ก็จะสามารถทำได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายร่วมทุนปี 35 แต่อย่างใด' นายจักรกฤศฎิ์กล่าว
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ (รศก.) ได้เห็นชอบข้อเสนอของกระทรวงการคลังเรื่องแนวทางการดำเนินโครงการลงทุนภาครัฐในรูปแบบ Public Private Partnerships (PPPs) ซึ่งจะเป็น การปรับรูปแบบและแนวทางในการจัดซื้อจัดจ้างโครงการลงทุนภาครัฐจากเดิมที่รัฐบาลดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อซื้อทรัพย์สินของโครงการ (Asset Based Contract) มาเป็นการที่รัฐบาลเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนและเป็นผู้บริหารจัดการโครงการลงทุนของภาครัฐ
โดยรัฐบาลจะเป็นผู้รับซื้อบริการจากภาคเอกชนตามปริมาณและคุณภาพงานที่กำหนด (Output Performance Based Contract) ทำให้ภาครัฐสามารถลดปัญหาต้นทุนของโครงการที่เพิ่มขึ้นและแก้ปัญหา ความล่าช้าในการดำเนินโครงการ (Project Cost/Time Overrun) ทั้งนี้ภาครัฐจะ ชำระเงินเป็นค่าบริการจากภาคเอกชนเมื่อโครงการแล้วเสร็จและสามารถเปิดให้บริการ ได้ตามข้อตกลงเท่านั้น (Payment Against Service Delivery) ซึ่งจะช่วยให้การบริหาร งบประมาณของภาครัฐมีประสิทธิภาพและเป็นการลดภาระการลงทุนของภาครัฐโดยเฉพาะในช่วงระหว่างการก่อสร้างโครงการ และทำให้รัฐบาลสามารถขยายการลงทุนในโครงการพื้นฐานต่างๆ ได้ทันต่อความต้องการของประชาชนผู้รับบริการภายใต้กรอบงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด
โดยมติที่ประชุมคณะกรรมการ รศก. ได้เห็นชอบในประเด็นการแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำและปรับปรุงประกาศ กฎกระทรวง และระเบียบ รวมทั้งหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการลงทุนภาครัฐในรูปแบบ PPPs เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2552 และฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการ รศก. ได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเรื่องดังกล่าวเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2552 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรอบแนวทางการระดมทุนในรูปแบบ Public Private Partnership (PPPs) ตามที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการ รศก. เสนอ โดยเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาแนวทางการเพิ่มบทบาทภาคเอกชน ในรูปแบบ PPPs โดยนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา อัยการสูงสุด และผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ โดยมีสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะเป็นฝ่ายเลขานุการ โดยมีหน้าที่ ดังนี้
1. พิจารณาแนวนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการลงทุนภาครัฐใน รูปแบบ PPPs 2. กำหนดขั้นตอนและกระบวนการทำงานในการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกับพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 3. ศึกษาแนวทางการปรับปรุงระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยให้นำผลการพิจารณาเสนอให้คณะกรรมการ รศก. และคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้คณะทำงานได้ศึกษาความเป็นไปได้และดำเนินโครงการนำร่อง(Pilot Project) ที่จะดำเนินการลงทุนในรูปแบบ PPPs โดยดำเนินโครงการที่มีผลตอบแทนสูงและมีการกระจายความเสี่ยงร่วมกันระหว่างภาครัฐกับเอกชน ได้แก่โครงการระบบขนส่งมวลชนระบบราง เส้นทางสายสีม่วง สายสีน้ำเงิน และสายสีเขียว โดยวงเงินลงทุน โครงการนี้มูลค่า 8 หมื่นล้านบาท และโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายบางปะอิน-นครราชสีมา มูลค่าโครงการ 5 หมื่นล้านบาท
'รถไฟฟ้าทั้ง 3 โครงการนั้นรัฐบาลจะให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนในระบบการเดินรถและบริหารจัดการเดินรถทั้งหมดตามที่ระบุไว้ในสัญญาว่ารัฐบาลจะจ่ายค่าบริการให้กับเอกชนคู่สัญญาตามเงื่อนไขคุณภาพ บริการและมาตรฐานที่รัฐบาลต้องการตามที่ได้ตกลงกันไว้' นายพงษ์ภาณุกล่าวและว่า หากรูปแบบ PPPs สำเร็จจะถือเป็นการปฏิรูประบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐครั้งใหญ่และ สบน.จะกลายเป็นหน่วยงานหลักในการให้คำปรึกษาทางด้านการลงทุนของหน่วยงานต่างๆ ของรัฐเพื่อให้โครงการลงทุนเดินหน้าอย่างราบรื่นภายใต้ พ.ร.บ.ร่วมทุน ปี 35 ที่คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการไม่เกิน 6 เดือน
นายจักรกฤศฎิ์ พาราพันธกุล รองผู้อำนวยการ สบน. กล่าวว่า ที่ผ่านมาประเทศ ไทยได้ดำเนินโครงการในรูปแบบ PPPs มาแล้วตามโครงการซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายย่อยของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) และการรับซื้อรวมถึงการให้บริการน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาค ซึ่งโครงการรถไฟฟ้าก็เป็นการซื้อบริการเช่นเดียวกันรัฐบาลจึงน่าจะมีความสามารถในการกำหนดคุณภาพขั้นต่ำจากผู้ดำเนินการที่เป็นคู่สัญญาได้เพื่อจะได้มาคำนวณค่าบริการที่เป็นธรรมจากประชาชนผู้ใช้บริการ
'ไฟฟ้า ประปาก็ได้ดำเนินการเรื่องนี้มาแล้วน่าจะเป็นตัวอย่างที่รัฐบาลสามารถนำมาปรับใช้ได้เพราะรถไฟฟ้าก็อยู่ในรูปแบบ ของการให้บริการเช่นเดียวกัน หากนำโมเดลนี้มาเป็นต้นแบบในการดำเนินการได้ การร่วมลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชนในโครงการต่างๆ ก็จะสามารถทำได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายร่วมทุนปี 35 แต่อย่างใด' นายจักรกฤศฎิ์กล่าว