วานนี้(22 ก.พ.)ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า นางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทย ออกมาระบุว่า การตัดสินของกกต.ใช้ 2 มาตรฐาน และจะเอาพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้าเป็นสมาชิกพรรคว่า การวินิจฉัยของกกต.ไม่ได้มี 2 มาตรฐาน ไม่ได้เห็นว่าพรรคนั้นเป็นรัฐบาล พรรคนี้ไม่ได้เป็นรัฐบาล เราวินิจฉัยตามหลักฐานและข้อเท็จจริงที่มีอยู่
ดังนั้นการที่ กกต.วินิจฉัยเรื่องเกี่ยวกับกรณีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ถ่ายรูปคู่กับนายเนวิน ชิดชอบ ที่ถูกตัดสิทธิ์เลือกตั้ง ไม่มีหลักฐานอะไรที่จะมาพิสูจน์ได้ว่า เขาร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลจริง เพราะหลักฐานที่นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ส.ส.พรรคเพื่อไทย ร้องมานั้น ไม่มีหลักฐานอะไรที่ยืนยันได้ชัดเจนว่า นายเนวิน เข้าไปช่วยนายอภิสิทธิ์ จัดตั้งรัฐบาลจริง และมีข้อแลกเปลี่ยนในการที่จะให้ตำแหน่งรัฐมนตรี หรืออะไร มีแต่ภาพเพียงการพบปะกัน และกอดกันในโรงแรมแห่งหนึ่งเท่านั้น และมีการพูดในเชิงที่ว่า จะสนับสนุนท่านนายกฯ ถ้อยคำต่างๆ เหล่านี้ ก็ยังไม่ได้มีอะไรยื่นยันได้ว่ามีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกัน
"เมื่อหลักฐานต่างๆไม่ชัดเจน แล้วเราจะไปบอกว่าผู้ที่ถูกตัดสิทธิ์การเลือกตั้งเป็นผู้บริหารในรัฐบาลชุดนี้ หรือเกี่ยวข้องอะไรในลักษณะที่เป็นเหมือนฝ่ายบริหารพรรคประชาธิปัตย์ เราคงมองไปขั้นนั้นไม่ได้ เพราะจากการไต่สวนมีพยานเพียง 2 ปากเท่านั้น กับผู้ที่ร้องเรียนเท่านั้น ส่วนที่มีข้อตกลงอะไรกันหรือไม่ ระหว่างนายอภิสิทธิ์ และผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง ไม่มีหลักฐาน และเมื่อพิจารณาแล้วก็ไม่มีการกระทำอะไรของพรรคประชาธิปัตย์ที่ผิดรัฐธรรมนูญ" นางสดศรีกล่าว
ส่วนกรณีที่จะให้ กกต.คืนสิทธิให้กับ 111 คนนั้น คงเป็นไม่ได้ จะทำได้ก็คือ รัฐบาลต้องเสนอออกเป็น พ.ร.บ.นิรโทษกรรม หรือของพระราชทานอภัยโทษจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพราะมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ไม่มีอะไรมาลบล้างได้ ก็ต้องให้ผลสิ้นสุดไปตามคำสั่งศาล
เมื่อถามว่าทางพรรคเพื่อไทย จะเชิญพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มาเป็นสมาชิกพรรค ร่วมกันทำงานกับพรรค สามารถทำได้หรือไม่ นางสดศรี กล่าวว่า ไม่น่าจะได้ เพราะผู้ที่ถูกตัดสิทธิ์เลือกตั้งก็ได้มีข้อกำหนดห้ามไม่ให้ไปจัดตั้งพรรคการเมือง หรือไปเป็นกรรมการบริหารพรรค หรือเข้าไปเป็นหัวหน้าพรรคนั้นๆ ซึ่งก็รวมถึงการเป็นสมาชิกพรรคด้วย การที่เชิญเข้าไปเป็นสมาชิกก็จะทำไม่ได้ ส่วนจะให้มาเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ หรือเป็นประธานที่ปรึกษาพรรคนั้น ยังไม่ได้มีอะไรยืนยันว่าสามารถทำได้ เพราะเรื่องดังกล่าว ก็เคยได้ตอบข้อหารือไปแล้วว่า คนที่ถูกเพิกถอนสิทธิ์ไม่ควรที่จะเข้ามาทำหน้าที่นี้ ควรที่จะเว้นวรรคตามที่กำหนดไว้
"ถ้ามีการตั้งกันจริงแล้ว และมีคนร้องเรียนเข้ามากกต.ก็ต้องมาวินิจฉัยกันให้ชัดเจนว่า ตำแหน่งที่ปรึกษาในที่นี้ หมายถึงกรรมการบริหาร หรือเป็นตำแหน่งอื่นในคณะกรรมการบริหารหรือไม่ ถ้าวินิจฉัยว่าเป็น ก็ต้องส่งไปศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย และถ้าวินิจฉัยว่าเป็น ก็อาจจะต้องยุบพรรคที่ไปตั้งผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิ์การเลือกตั้งไป ผู้ที่เดือดร้อนคือพรรคที่เอาท่านมาเป็นที่ปรึกษา ในความเห็นของตัวเองเห็นว่าพ.ต.ท.ทักษิณ น่าที่จะเว้นวรรคในครั้งนี้ไปก่อน แต่ถ้าท่านคิดว่าสามารถเป็นได้ ก็จะนำไปสู่การวินิจฉัยและอาจเป็นเหตุให้พรรคที่ตั้งท่านมาถูกยุบก็ได้" นางสดศรี กล่าว และขอฝากไปยังพรรคที่เกิดขึ้นมาใหม่ว่า จะทำอะไรก็อย่าให้ตายน้ำตื้น ตนอยากเห็นการเมืองไปได้ด้วยดี ไม่อยากให้สะดุด
**รอดีเอสไอยื่นตรวจสอบการใช้เงินปชป.
นางสดศรี ยังกล่าวถึงกรณีที่ ดีเอสไอ จะส่งหลักฐานเรื่องการใช้เงินของของพรรคประชาธิปัตย์มาให้ กกต.ตรวจสอบว่า เราก็รออยู่ว่า ดีเอสไอ จะแจ้งข้อกล่าวหาอย่างไร เป็นความผิดที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยพรรคการเมืองหรือไม่ เช่น ในเรื่องของงบดุลมีข้อผิดพลาดหรือไม่ หรือมีการแจ้งเท็จในเรืองของการใช้เงินกองทุน หากมีหลักฐานก็สามารถส่งมาให้กกต.ตรวจสอบได้ แม้วว่าจะเป็นเรื่องตั้งแต่ปี 48 กกต.ก็สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ หากมีการใช้เงินไม่ชอบแล้ว ก็ต้องมีการตรวจสอบ ซึ่งเป็นความผิดอาญาส่วนจะถึงยุบพรรคหรือไม่ ก็ต้องดูว่าผู้ร้องนั้นได้ร้องให้ไปถึงการยุบพรรคด้วยหรือไม่
"จากหลักฐานที่ดีเอสไอส่งมาให้ เป็นภาพถ่ายของเช็ค 8 ฉบับ ของพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อปี 2548 และมีการว่าจ้างให้บริษัทแมสไซอะ ทำโฆษณาไม่ได้ทำสัญญาทีโออาร์ นอกจากนี้ทางดีเอสไอ ยังพูดกับกกต. อีกว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้เงินจากกองทุนพัฒนาพรรคการเมืองไปใช้เพียงเล็กน้อย ทั้งที่ได้ไปถึง 23 ล้าน ดังนั้นเราก็ต้องรอดูว่าทาง ดีเอสไอ เขาจะส่งหลักฐานมาให้กกต.ตรวจสอบเมื่อไร หากส่งมา กกต.ก็พร้องมี่จะตรวจสอบทันที เมื่อพรรคการเมืองมีการใช้เงินไม่ชอบก็ต้องมีการตรวจสอบ และจะเป็นจริงตามที่ทางดีเอสไอ กล่าวหาหรือไม่" นางสดศรีกล่าว
ดังนั้นการที่ กกต.วินิจฉัยเรื่องเกี่ยวกับกรณีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ถ่ายรูปคู่กับนายเนวิน ชิดชอบ ที่ถูกตัดสิทธิ์เลือกตั้ง ไม่มีหลักฐานอะไรที่จะมาพิสูจน์ได้ว่า เขาร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลจริง เพราะหลักฐานที่นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ส.ส.พรรคเพื่อไทย ร้องมานั้น ไม่มีหลักฐานอะไรที่ยืนยันได้ชัดเจนว่า นายเนวิน เข้าไปช่วยนายอภิสิทธิ์ จัดตั้งรัฐบาลจริง และมีข้อแลกเปลี่ยนในการที่จะให้ตำแหน่งรัฐมนตรี หรืออะไร มีแต่ภาพเพียงการพบปะกัน และกอดกันในโรงแรมแห่งหนึ่งเท่านั้น และมีการพูดในเชิงที่ว่า จะสนับสนุนท่านนายกฯ ถ้อยคำต่างๆ เหล่านี้ ก็ยังไม่ได้มีอะไรยื่นยันได้ว่ามีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกัน
"เมื่อหลักฐานต่างๆไม่ชัดเจน แล้วเราจะไปบอกว่าผู้ที่ถูกตัดสิทธิ์การเลือกตั้งเป็นผู้บริหารในรัฐบาลชุดนี้ หรือเกี่ยวข้องอะไรในลักษณะที่เป็นเหมือนฝ่ายบริหารพรรคประชาธิปัตย์ เราคงมองไปขั้นนั้นไม่ได้ เพราะจากการไต่สวนมีพยานเพียง 2 ปากเท่านั้น กับผู้ที่ร้องเรียนเท่านั้น ส่วนที่มีข้อตกลงอะไรกันหรือไม่ ระหว่างนายอภิสิทธิ์ และผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง ไม่มีหลักฐาน และเมื่อพิจารณาแล้วก็ไม่มีการกระทำอะไรของพรรคประชาธิปัตย์ที่ผิดรัฐธรรมนูญ" นางสดศรีกล่าว
ส่วนกรณีที่จะให้ กกต.คืนสิทธิให้กับ 111 คนนั้น คงเป็นไม่ได้ จะทำได้ก็คือ รัฐบาลต้องเสนอออกเป็น พ.ร.บ.นิรโทษกรรม หรือของพระราชทานอภัยโทษจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพราะมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ไม่มีอะไรมาลบล้างได้ ก็ต้องให้ผลสิ้นสุดไปตามคำสั่งศาล
เมื่อถามว่าทางพรรคเพื่อไทย จะเชิญพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มาเป็นสมาชิกพรรค ร่วมกันทำงานกับพรรค สามารถทำได้หรือไม่ นางสดศรี กล่าวว่า ไม่น่าจะได้ เพราะผู้ที่ถูกตัดสิทธิ์เลือกตั้งก็ได้มีข้อกำหนดห้ามไม่ให้ไปจัดตั้งพรรคการเมือง หรือไปเป็นกรรมการบริหารพรรค หรือเข้าไปเป็นหัวหน้าพรรคนั้นๆ ซึ่งก็รวมถึงการเป็นสมาชิกพรรคด้วย การที่เชิญเข้าไปเป็นสมาชิกก็จะทำไม่ได้ ส่วนจะให้มาเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ หรือเป็นประธานที่ปรึกษาพรรคนั้น ยังไม่ได้มีอะไรยืนยันว่าสามารถทำได้ เพราะเรื่องดังกล่าว ก็เคยได้ตอบข้อหารือไปแล้วว่า คนที่ถูกเพิกถอนสิทธิ์ไม่ควรที่จะเข้ามาทำหน้าที่นี้ ควรที่จะเว้นวรรคตามที่กำหนดไว้
"ถ้ามีการตั้งกันจริงแล้ว และมีคนร้องเรียนเข้ามากกต.ก็ต้องมาวินิจฉัยกันให้ชัดเจนว่า ตำแหน่งที่ปรึกษาในที่นี้ หมายถึงกรรมการบริหาร หรือเป็นตำแหน่งอื่นในคณะกรรมการบริหารหรือไม่ ถ้าวินิจฉัยว่าเป็น ก็ต้องส่งไปศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย และถ้าวินิจฉัยว่าเป็น ก็อาจจะต้องยุบพรรคที่ไปตั้งผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิ์การเลือกตั้งไป ผู้ที่เดือดร้อนคือพรรคที่เอาท่านมาเป็นที่ปรึกษา ในความเห็นของตัวเองเห็นว่าพ.ต.ท.ทักษิณ น่าที่จะเว้นวรรคในครั้งนี้ไปก่อน แต่ถ้าท่านคิดว่าสามารถเป็นได้ ก็จะนำไปสู่การวินิจฉัยและอาจเป็นเหตุให้พรรคที่ตั้งท่านมาถูกยุบก็ได้" นางสดศรี กล่าว และขอฝากไปยังพรรคที่เกิดขึ้นมาใหม่ว่า จะทำอะไรก็อย่าให้ตายน้ำตื้น ตนอยากเห็นการเมืองไปได้ด้วยดี ไม่อยากให้สะดุด
**รอดีเอสไอยื่นตรวจสอบการใช้เงินปชป.
นางสดศรี ยังกล่าวถึงกรณีที่ ดีเอสไอ จะส่งหลักฐานเรื่องการใช้เงินของของพรรคประชาธิปัตย์มาให้ กกต.ตรวจสอบว่า เราก็รออยู่ว่า ดีเอสไอ จะแจ้งข้อกล่าวหาอย่างไร เป็นความผิดที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยพรรคการเมืองหรือไม่ เช่น ในเรื่องของงบดุลมีข้อผิดพลาดหรือไม่ หรือมีการแจ้งเท็จในเรืองของการใช้เงินกองทุน หากมีหลักฐานก็สามารถส่งมาให้กกต.ตรวจสอบได้ แม้วว่าจะเป็นเรื่องตั้งแต่ปี 48 กกต.ก็สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ หากมีการใช้เงินไม่ชอบแล้ว ก็ต้องมีการตรวจสอบ ซึ่งเป็นความผิดอาญาส่วนจะถึงยุบพรรคหรือไม่ ก็ต้องดูว่าผู้ร้องนั้นได้ร้องให้ไปถึงการยุบพรรคด้วยหรือไม่
"จากหลักฐานที่ดีเอสไอส่งมาให้ เป็นภาพถ่ายของเช็ค 8 ฉบับ ของพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อปี 2548 และมีการว่าจ้างให้บริษัทแมสไซอะ ทำโฆษณาไม่ได้ทำสัญญาทีโออาร์ นอกจากนี้ทางดีเอสไอ ยังพูดกับกกต. อีกว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้เงินจากกองทุนพัฒนาพรรคการเมืองไปใช้เพียงเล็กน้อย ทั้งที่ได้ไปถึง 23 ล้าน ดังนั้นเราก็ต้องรอดูว่าทาง ดีเอสไอ เขาจะส่งหลักฐานมาให้กกต.ตรวจสอบเมื่อไร หากส่งมา กกต.ก็พร้องมี่จะตรวจสอบทันที เมื่อพรรคการเมืองมีการใช้เงินไม่ชอบก็ต้องมีการตรวจสอบ และจะเป็นจริงตามที่ทางดีเอสไอ กล่าวหาหรือไม่" นางสดศรีกล่าว