ASTV ผู้จัดการรายวัน - กบข. เปิดทางสมาชิก เลือกลงทุนเองตามความเสี่ยง ชู 3 แนวทาง ตั้งแต่ไม่มีหุ้นเลย ไปถึงหุ้นมาก ดีเดย์ 1 เม.ย.นี้ "วิสิฐ" ย้ำ อย่ามองผลตอบแทนติดลบเพียงปีเดียว ระบุหากห่วงว่าเงินจะอยู่ไม่ครบ ให้ลงทุนตราสารหนี้หรือเงินฝาก แล้วรับผลตอบแทน 1-2% ต่อปี แต่ต้องอดผลตอบแทนเฉลี่ย 7% ต่อปีที่ทำมา พร้อมประเมินเศรษฐกิจโลกซึมยาว เหตุยังไม่มีวี่แววการฟื้นตัว เช่นเดียวกับเศรษฐกิจไทย ที่ต้องรอดีมานด์ในตลาดโลกเป็นหลัก ชี้มาตรการกระตุ้นของรัฐ พยุงไม่ให้แย่ไปกว่านี้เท่านั้น อัดรัฐบาลชุดเก่า ห่วงตัวเองจะอยู่หรือไป จนลืมเหลียวแลเศรษฐกิจ ทำประเทศเสียหายกว่าที่ควรจะเป็น
นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลาขาธิการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 1 เมษายนนี้ กบข.จะเปิดโอกาสให้สมาชิก สามารถเลือกลงทุนได้เอง หรือ employee's choice ซึ่งขณะนี้ได้กำหนดรูปแบบการลงทุนในสมาชิกเลือกไว้ทั้งหมด 3 แนวทาง แนวทางแรกคือ เน้นลงทุนในตราสารหนี้ โดยไม่มีการลงทุนในหุ้นเลย แนวทางที่สองคือ มีหุ้นมากกว่าสัดส่วนปกติที่กบข.ลงทุนอยู่ นั่นคือ มากกว่า 15% และแนวทางที่สาม คือ รูปแบบการลงทุนของกบข.ที่ลงทุนอยู่ในปัจจุบัน นั่นคือ มีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นประมาณ 15-17% ซึ่งแนวทางทั้ง 3 แนวทางดังกล่าว สมาชิกสามารถเลือกลงทุนได้ตามความเสี่ยงของตัวเอง โดยกบข.จะเปิดโอกาสให้มีการปรับเปลี่ยนแนวทางการลงทุนได้ปีละครั้ง
ทั้งนี้ แนวทางการลงทุนแบบ employee's choice เป็นแนวทางที่อยู่ในแผนเดิมอยู่แล้ว และต่อเนื่องจากการออมเพิ่ม ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้ลูกค้าเลือกลงทุนตาความเสี่ยงของตัวเองได้ เช่นหากต้องการให้เงินอยู่ครบ ก็ลงทุนในแบบที่ไม่มีหุ้นเลย หรือถ้าอายุยังน้อย ก็เลือกลงทุนในหุ้น แต่ก็ต้องรับความเสี่ยงในระยะสั้นที่อาจจะได้รับผลกระทบบ้าง
นายวิสิฐ ย้ำว่า ผลการดำเนินงานที่ติดลบไปประมาณ 5% ในช่วงปี 2551 ที่ผ่านมา การลงทุนในต่างประเทศไม่ใช้ปัจจัยหลัก ซึ่งน้ำหนักการลงทุนของกบข. อยู่ในสหรัฐอเมริกาเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งหุ้นสหรัฐฯเอง ปรับตัวลดลงไป 35% ในขณะที่หุ้นไทยปรับลดลงไปถึง 49% ดังนั้น จึงไม่อยากให้สมาชิกมองผลตอบแทนเพียงปีเดียว เพราะหากมองย้อนกลับไปตั้งแต่จัดตั้ง กองทุนให้ผลตอบแทนเฉลี่ยถึง 7% ต่อปี ซึ่งหากลงทุนในตราสารหนี้หรือเงินฝากเพียงอย่างเดียว ผลตอบแทนที่ได้ก็จะอยู่แค่ 1-2% ต่อปีเท่านั้น
"การกระจายความเสี่ยงเป็นแนวทางในการสร้างผลตอบแทนที่ดี หากสมาชิกไม่ต้องการเทคความเสี่ยงเลย โดยเลือกลงทุนในตราสารหนี้หรือเงินฝากเพียงอย่างเดียว ผลตอบแทนที่ได้ก็จะไม่ติดลบ แต่ก็จะอยู่ที่ระดับ 1-2% ต่อปีเท่านั้น ซึ่งหากเทียบกับเงินเฟ้อที่ระดับ 3% แล้วแทบจะไม่เหลืออะไรเลย ขณะเดียวกัน ก็จะไม่มีโอกาสได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 7% ต่อปีด้วย"นายวิสิฐกล่าว
**วิกฤตเศรษฐกิจโลกซึมยาว**
นายวิสิ ฐกล่าวถึงแนวโน้มเศรษฐกิจโลกว่า วิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ยังมองไม่เห็นว่าจะสามารถฟื้นตัวขึ้นมาได้ในช่วง 6 เดือนหข้างหน้านี้ เพราะผลกระทบจากวิกฤตการเงินเริ่มระบาดไปสู้สถาบันการเงินในยุโรป รวมถึงเอเชีย และถึงแม้ในเอเชียเองจะไม่ใช่ต้นตอของปัญหาโดยตรง แต่ก็ได้รับผลกระทบทางด้านการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศเหล่านี้ เพราะเมื่อดีมานด์ลดลง จากการที่คนลดการใช้จ่ายทำให้สินค้าต่างๆ ขายไม่ออก ในขณะที่สินค้าบางส่วนซื้อขายกันก่อนหน้านี้ ก็ประสบกับปัญหาคตกค้าง เนื่องจากความต้องการทั่วโลกลดลง ซึ่งปัญหาความไม่มั่นใจในดีมานด์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั้น กำลังเกิดขึ้นในกลุ่มประเทศเอเชีย รวมถึงไทยด้วย
ทั้งนี้ จากผลกระทบที่เกิดขึ้นดังกล่าว ทำให้กลุ่มประเทศในเอเชียต้องลดกำลังการผลิตลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยตัวเลขล่าสุดพบว่ากำลังการผลิตลดลงมาอยู่ที่ 58% จากเดิมที่เคยอยู่ถึง 75% ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการว่างงานที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ธรุกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ก็ไม่มีสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากธนาคารพานิชย์เข้มงวดการปล่อยกู้ ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ กลายเป็นลูกโซ่ที่ส่งผลต่อเนื่องให้เศรษฐกิจเกิดภาวะถดถอยและจีดีพีของประเทศติดลบ
สำหรับประเทศไทยเอง เชื่อว่าเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรกจะอยู่ในภาวะถอถอยและจีดีพีติดลบเช่นกัน เพราะยังไม่เห็นสัญญาณว่าเมื่อไหร่จะฟื้นตัวได้ ซึ่งเรื่องนี้ไทยเองคงไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศได้ทั้งหมด เพราะในต่างประเทศเองยังไม่เห็นสัญญาณการฟื้นตัวแต่อย่างใด ส่วนมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพจำนวน 2,000 บาทของรัฐบาลเอง อาจจะไม่ช่วยอะไรมาก ตราบใดที่ยังไม่มีดีมานด์ในตลาดโลกเข้ามาหนุน แต่ก็จะเป็นการกระตุ้นในเงินในระบบหมุนเวียนได้มากขึ้น
**ศก.ขาดการเหลียวแลจากรัฐบาลชุดเก่า**
นายวิสิฐ กล่าวว่า หากมองย้อนหลับไป ภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ถือว่าเกินความคาดหมายของทุกคน ซึ่งไทยเองเราไม่ได้มีการเตรียมความพร้อมรับมือผลกระทบที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะในช่วงของรัฐบาลก่อนหน้านี้ ทำให้ไม่มีความต่อเนื่องของนโยบายในการแก้ปัญหา ในขณะที่รัฐบาลชุดปัจจุบันเอง ก็เข้ามาทำหน้าที่ในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดปัญหาแล้ว
"เราเองเกิดสูญญากาศทางการเมืองมาระยะหนึ่งแล้ว ทำให้ไม่มีใครเข้ามาดูแลเศรษฐกิจของประเทศ ห่วงแต่จะว่ารัฐบาลจะอยู่หรือไม่อยู่ หรือจะไปยังไง ทำให้ไม่ได้เตรียมมาตรการเพื่อรับมือผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจ ถามว่าในช่วงรัฐบาลก่อนหน้านี้ ควรออกมาทำอะไรหรือไม่ ต้องบอกว่าควรออกมาแล้ว ซึ่งเหตุการณ์ปิดสนามบินเองไม่ใช่เหตุผลของผลกระทบที่เกิดขึ้น แต่เป็นเรื่องของความวุ่นวายทางการเมือง ทำให้ไม่ใครเข้ามาแก้ไข แต่หากมีความต่อเนื่องและมีการเตรียมความพร้อมรับมือแก้ปัญหา อาจจะทำให้ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่เป็นเช่นนี้ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลก ไม่มีใครคิดว่าจะรุนแรงขนาดนี้"นายวิสิฐกล่าว
เขากล่าวต่อว่า สรุปแล้วทั้งปีนี้ เศรษฐกิจโลกยังอยู่ในแนวทางที่ไม่มีการฟื้นตัว ดังนั้น การที่เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวก่อนเศรษฐกิจโลกจึงเป็นไปไม่ได้ และไม่มีเหตุผลที่จะเป็นไปได้ ซึ่งการใช้นโยบานกระตุ้นจากภาครัฐ ก็เป็นเพียงกับทำให้ปัญหาคงที่ ไม่แย่ไปมากกว่านี้ แต่ก็ไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นมาได้ เพราะไทยเองยังต้องพึ่งการส่งออกค่อนข้างเยอะ
**เน้นการลงทุนที่มีกระแสเงินสด**
นายวิสิฐกล่าวว่า นโยบายการลงทุนของ กบข. ในปีนี้เอง จะให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจโลกเป็นหลักว่าจะฟื้นตัวหรือไม่ ซึ่งหากเศรษฐกิจยังไม่เห็นสัญญาณการฟื้นตัว กลยุทธ์การลงทุนต้องให้ความสำคัญกับการลงทุนที่ได้กระแสเงินสดและสร้างผลตอบแทนให้ได้ ดังนั้น สัดส่วนการลงทุนของกบข.เอง จะให้ความสำคัญกับการลงทุนในตราสารหนี้มากขึ้น ซึ่งในช่วงนี้เองรัฐบาลก็มีนโยบายออกพันธบัตรเข้ามาในตลาดมากขึ้นอยู่แล้ว
โดยกลยุทธ์ในการลงทุนตราสารหนี้เอง เราเฝ้าดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และในช่วงที่ผ่านมา Yield Curve มีการปรับตัวชันขึ้น ซึ่งส่งกระทบต่อการลงทุนของเรา ดังนั้น เราจึงลดอายุของตราสารหนี้ที่เราเข้าไปลงทุน โดยในส่วนนี้ เราเองมีการปรับเปลี่ยนนโยบายทุกสัปดาห์อยู่แล้ว ตราบใดที่ตลาดยังมีความผันผวน เพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้งกล่าว ทั้งนี้ กบข.มีสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ทั้งหมด 72%
สำหรับการลงทุนในหุ้น ยังเป็นกลยุทธ์ที่กบข. จะยังทำต่อเนื่อง แต่จะไม่เข้าไปลงทุนอย่างเร่งด่วนในตอนนี้ ตราบใดที่เรายังไม่เห็นความชัดเจนว่าเศรษฐกิจจะคงที่หรือไม่แย่ไปกว่านี้ อย่างไรก็ตาม หากราคาหุ้นในตลาดปรับขึ้นไปแล้ว 5-10% เราก็มองว่ายังไม่สายเกินไปสำหรับการลงทุนของเรา เพราะหากเราลงทุนไปแล้ว ก็มีโอกาสที่ดัชนีจะปรับลงไปได้อีก แต่อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ กบข.มีแผนที่จะลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน โดยปัจจุบัน (สิ้นสุดเดือนมกราคม) กบข.มีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นอยู่ประมาณ 6.88% ซึ่งลดลงจากช่วงปลายปีที่แล้ว ที่มีสัดส่วนการลงทุนประมาณ 7% เพราะเรามองว่าโอกาสที่เศรษฐกิจโลกจะฟื้นยังอีกไกล ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ คงยังไม่มีการปรับสัดส่วนการลงทุนในหุ้นจากระดับเดิมที่เป็นอยู่
ส่วนการลงทุนในต่างประเทศ สัดส่วนปัจจุบันอยู่ที่ 11% จากเพดานการลงทุนทั้งหมด 25% ซึ่งในขณะนี้สัดส่วนการลงทุนในหุ้นมีอยู่สูงกว่าที่ 6.8% ในขณะที่ตราสารหนี้อยู่ที่ 4.4% ทั้งนี้ กลยุทธ์การลงทุนในต่างประเทศเอง ก็จะเน้นรอดูจังหวะที่เหมาะสม โดยเราจะไม่ลงทุนในหุ้นถึงแม้เราจะพลาดโอกาสที่ดัชนีขยับขึ้นไปเช่นเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตาม สัดส่วนการลงทุนในหุ้นต่างประเทศเอง ยังไงก็จะยังสูงกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ แต่หากจะมีการลงทุนเพิ่มในช่วงนี้ จะพิจารณาการลงทุนในตราสารหนี้ก่อน โดยจะเน้นลงทุนในทั้งในพันธบัตรรัฐบาลต่างประเทศ และหุ้นกู้เอกชนที่มีอันดับเครดิตสูงและจะเข้มงวดในการตัดสินใจก่อนลงทุนมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันหุ้นกู้เอกชนที่ลงทุนอยู่ มีเฉลี่ยอยู่ที่ AA
ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานของ กบข. ในปี 2551 ที่ผ่านมา ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่เริ่มก่อตั้งกองทุน (2540-2551) อยู่ที่ 7.04% ผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปี (2547-2551) อยู่ที่ 3.16% และผลตอบแทนสุทธิย้อนหลัง 3 ปี (2549-2551) อยู่ที่ 2.34% ส่วนผลการดำเนินงานของ กบข. ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2551 กบข. มีสินทรัพย์สุทธิทั้งสิ้น 391,882.24 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนการลงทุนย้อนหลัง 12 เดือน (ม.ค.-ธ.ค.51) - 5.1%
นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลาขาธิการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 1 เมษายนนี้ กบข.จะเปิดโอกาสให้สมาชิก สามารถเลือกลงทุนได้เอง หรือ employee's choice ซึ่งขณะนี้ได้กำหนดรูปแบบการลงทุนในสมาชิกเลือกไว้ทั้งหมด 3 แนวทาง แนวทางแรกคือ เน้นลงทุนในตราสารหนี้ โดยไม่มีการลงทุนในหุ้นเลย แนวทางที่สองคือ มีหุ้นมากกว่าสัดส่วนปกติที่กบข.ลงทุนอยู่ นั่นคือ มากกว่า 15% และแนวทางที่สาม คือ รูปแบบการลงทุนของกบข.ที่ลงทุนอยู่ในปัจจุบัน นั่นคือ มีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นประมาณ 15-17% ซึ่งแนวทางทั้ง 3 แนวทางดังกล่าว สมาชิกสามารถเลือกลงทุนได้ตามความเสี่ยงของตัวเอง โดยกบข.จะเปิดโอกาสให้มีการปรับเปลี่ยนแนวทางการลงทุนได้ปีละครั้ง
ทั้งนี้ แนวทางการลงทุนแบบ employee's choice เป็นแนวทางที่อยู่ในแผนเดิมอยู่แล้ว และต่อเนื่องจากการออมเพิ่ม ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้ลูกค้าเลือกลงทุนตาความเสี่ยงของตัวเองได้ เช่นหากต้องการให้เงินอยู่ครบ ก็ลงทุนในแบบที่ไม่มีหุ้นเลย หรือถ้าอายุยังน้อย ก็เลือกลงทุนในหุ้น แต่ก็ต้องรับความเสี่ยงในระยะสั้นที่อาจจะได้รับผลกระทบบ้าง
นายวิสิฐ ย้ำว่า ผลการดำเนินงานที่ติดลบไปประมาณ 5% ในช่วงปี 2551 ที่ผ่านมา การลงทุนในต่างประเทศไม่ใช้ปัจจัยหลัก ซึ่งน้ำหนักการลงทุนของกบข. อยู่ในสหรัฐอเมริกาเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งหุ้นสหรัฐฯเอง ปรับตัวลดลงไป 35% ในขณะที่หุ้นไทยปรับลดลงไปถึง 49% ดังนั้น จึงไม่อยากให้สมาชิกมองผลตอบแทนเพียงปีเดียว เพราะหากมองย้อนกลับไปตั้งแต่จัดตั้ง กองทุนให้ผลตอบแทนเฉลี่ยถึง 7% ต่อปี ซึ่งหากลงทุนในตราสารหนี้หรือเงินฝากเพียงอย่างเดียว ผลตอบแทนที่ได้ก็จะอยู่แค่ 1-2% ต่อปีเท่านั้น
"การกระจายความเสี่ยงเป็นแนวทางในการสร้างผลตอบแทนที่ดี หากสมาชิกไม่ต้องการเทคความเสี่ยงเลย โดยเลือกลงทุนในตราสารหนี้หรือเงินฝากเพียงอย่างเดียว ผลตอบแทนที่ได้ก็จะไม่ติดลบ แต่ก็จะอยู่ที่ระดับ 1-2% ต่อปีเท่านั้น ซึ่งหากเทียบกับเงินเฟ้อที่ระดับ 3% แล้วแทบจะไม่เหลืออะไรเลย ขณะเดียวกัน ก็จะไม่มีโอกาสได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 7% ต่อปีด้วย"นายวิสิฐกล่าว
**วิกฤตเศรษฐกิจโลกซึมยาว**
นายวิสิ ฐกล่าวถึงแนวโน้มเศรษฐกิจโลกว่า วิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ยังมองไม่เห็นว่าจะสามารถฟื้นตัวขึ้นมาได้ในช่วง 6 เดือนหข้างหน้านี้ เพราะผลกระทบจากวิกฤตการเงินเริ่มระบาดไปสู้สถาบันการเงินในยุโรป รวมถึงเอเชีย และถึงแม้ในเอเชียเองจะไม่ใช่ต้นตอของปัญหาโดยตรง แต่ก็ได้รับผลกระทบทางด้านการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศเหล่านี้ เพราะเมื่อดีมานด์ลดลง จากการที่คนลดการใช้จ่ายทำให้สินค้าต่างๆ ขายไม่ออก ในขณะที่สินค้าบางส่วนซื้อขายกันก่อนหน้านี้ ก็ประสบกับปัญหาคตกค้าง เนื่องจากความต้องการทั่วโลกลดลง ซึ่งปัญหาความไม่มั่นใจในดีมานด์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั้น กำลังเกิดขึ้นในกลุ่มประเทศเอเชีย รวมถึงไทยด้วย
ทั้งนี้ จากผลกระทบที่เกิดขึ้นดังกล่าว ทำให้กลุ่มประเทศในเอเชียต้องลดกำลังการผลิตลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยตัวเลขล่าสุดพบว่ากำลังการผลิตลดลงมาอยู่ที่ 58% จากเดิมที่เคยอยู่ถึง 75% ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการว่างงานที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ธรุกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ก็ไม่มีสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากธนาคารพานิชย์เข้มงวดการปล่อยกู้ ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ กลายเป็นลูกโซ่ที่ส่งผลต่อเนื่องให้เศรษฐกิจเกิดภาวะถดถอยและจีดีพีของประเทศติดลบ
สำหรับประเทศไทยเอง เชื่อว่าเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรกจะอยู่ในภาวะถอถอยและจีดีพีติดลบเช่นกัน เพราะยังไม่เห็นสัญญาณว่าเมื่อไหร่จะฟื้นตัวได้ ซึ่งเรื่องนี้ไทยเองคงไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศได้ทั้งหมด เพราะในต่างประเทศเองยังไม่เห็นสัญญาณการฟื้นตัวแต่อย่างใด ส่วนมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพจำนวน 2,000 บาทของรัฐบาลเอง อาจจะไม่ช่วยอะไรมาก ตราบใดที่ยังไม่มีดีมานด์ในตลาดโลกเข้ามาหนุน แต่ก็จะเป็นการกระตุ้นในเงินในระบบหมุนเวียนได้มากขึ้น
**ศก.ขาดการเหลียวแลจากรัฐบาลชุดเก่า**
นายวิสิฐ กล่าวว่า หากมองย้อนหลับไป ภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ถือว่าเกินความคาดหมายของทุกคน ซึ่งไทยเองเราไม่ได้มีการเตรียมความพร้อมรับมือผลกระทบที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะในช่วงของรัฐบาลก่อนหน้านี้ ทำให้ไม่มีความต่อเนื่องของนโยบายในการแก้ปัญหา ในขณะที่รัฐบาลชุดปัจจุบันเอง ก็เข้ามาทำหน้าที่ในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดปัญหาแล้ว
"เราเองเกิดสูญญากาศทางการเมืองมาระยะหนึ่งแล้ว ทำให้ไม่มีใครเข้ามาดูแลเศรษฐกิจของประเทศ ห่วงแต่จะว่ารัฐบาลจะอยู่หรือไม่อยู่ หรือจะไปยังไง ทำให้ไม่ได้เตรียมมาตรการเพื่อรับมือผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจ ถามว่าในช่วงรัฐบาลก่อนหน้านี้ ควรออกมาทำอะไรหรือไม่ ต้องบอกว่าควรออกมาแล้ว ซึ่งเหตุการณ์ปิดสนามบินเองไม่ใช่เหตุผลของผลกระทบที่เกิดขึ้น แต่เป็นเรื่องของความวุ่นวายทางการเมือง ทำให้ไม่ใครเข้ามาแก้ไข แต่หากมีความต่อเนื่องและมีการเตรียมความพร้อมรับมือแก้ปัญหา อาจจะทำให้ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่เป็นเช่นนี้ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลก ไม่มีใครคิดว่าจะรุนแรงขนาดนี้"นายวิสิฐกล่าว
เขากล่าวต่อว่า สรุปแล้วทั้งปีนี้ เศรษฐกิจโลกยังอยู่ในแนวทางที่ไม่มีการฟื้นตัว ดังนั้น การที่เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวก่อนเศรษฐกิจโลกจึงเป็นไปไม่ได้ และไม่มีเหตุผลที่จะเป็นไปได้ ซึ่งการใช้นโยบานกระตุ้นจากภาครัฐ ก็เป็นเพียงกับทำให้ปัญหาคงที่ ไม่แย่ไปมากกว่านี้ แต่ก็ไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นมาได้ เพราะไทยเองยังต้องพึ่งการส่งออกค่อนข้างเยอะ
**เน้นการลงทุนที่มีกระแสเงินสด**
นายวิสิฐกล่าวว่า นโยบายการลงทุนของ กบข. ในปีนี้เอง จะให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจโลกเป็นหลักว่าจะฟื้นตัวหรือไม่ ซึ่งหากเศรษฐกิจยังไม่เห็นสัญญาณการฟื้นตัว กลยุทธ์การลงทุนต้องให้ความสำคัญกับการลงทุนที่ได้กระแสเงินสดและสร้างผลตอบแทนให้ได้ ดังนั้น สัดส่วนการลงทุนของกบข.เอง จะให้ความสำคัญกับการลงทุนในตราสารหนี้มากขึ้น ซึ่งในช่วงนี้เองรัฐบาลก็มีนโยบายออกพันธบัตรเข้ามาในตลาดมากขึ้นอยู่แล้ว
โดยกลยุทธ์ในการลงทุนตราสารหนี้เอง เราเฝ้าดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และในช่วงที่ผ่านมา Yield Curve มีการปรับตัวชันขึ้น ซึ่งส่งกระทบต่อการลงทุนของเรา ดังนั้น เราจึงลดอายุของตราสารหนี้ที่เราเข้าไปลงทุน โดยในส่วนนี้ เราเองมีการปรับเปลี่ยนนโยบายทุกสัปดาห์อยู่แล้ว ตราบใดที่ตลาดยังมีความผันผวน เพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้งกล่าว ทั้งนี้ กบข.มีสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ทั้งหมด 72%
สำหรับการลงทุนในหุ้น ยังเป็นกลยุทธ์ที่กบข. จะยังทำต่อเนื่อง แต่จะไม่เข้าไปลงทุนอย่างเร่งด่วนในตอนนี้ ตราบใดที่เรายังไม่เห็นความชัดเจนว่าเศรษฐกิจจะคงที่หรือไม่แย่ไปกว่านี้ อย่างไรก็ตาม หากราคาหุ้นในตลาดปรับขึ้นไปแล้ว 5-10% เราก็มองว่ายังไม่สายเกินไปสำหรับการลงทุนของเรา เพราะหากเราลงทุนไปแล้ว ก็มีโอกาสที่ดัชนีจะปรับลงไปได้อีก แต่อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ กบข.มีแผนที่จะลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน โดยปัจจุบัน (สิ้นสุดเดือนมกราคม) กบข.มีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นอยู่ประมาณ 6.88% ซึ่งลดลงจากช่วงปลายปีที่แล้ว ที่มีสัดส่วนการลงทุนประมาณ 7% เพราะเรามองว่าโอกาสที่เศรษฐกิจโลกจะฟื้นยังอีกไกล ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ คงยังไม่มีการปรับสัดส่วนการลงทุนในหุ้นจากระดับเดิมที่เป็นอยู่
ส่วนการลงทุนในต่างประเทศ สัดส่วนปัจจุบันอยู่ที่ 11% จากเพดานการลงทุนทั้งหมด 25% ซึ่งในขณะนี้สัดส่วนการลงทุนในหุ้นมีอยู่สูงกว่าที่ 6.8% ในขณะที่ตราสารหนี้อยู่ที่ 4.4% ทั้งนี้ กลยุทธ์การลงทุนในต่างประเทศเอง ก็จะเน้นรอดูจังหวะที่เหมาะสม โดยเราจะไม่ลงทุนในหุ้นถึงแม้เราจะพลาดโอกาสที่ดัชนีขยับขึ้นไปเช่นเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตาม สัดส่วนการลงทุนในหุ้นต่างประเทศเอง ยังไงก็จะยังสูงกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ แต่หากจะมีการลงทุนเพิ่มในช่วงนี้ จะพิจารณาการลงทุนในตราสารหนี้ก่อน โดยจะเน้นลงทุนในทั้งในพันธบัตรรัฐบาลต่างประเทศ และหุ้นกู้เอกชนที่มีอันดับเครดิตสูงและจะเข้มงวดในการตัดสินใจก่อนลงทุนมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันหุ้นกู้เอกชนที่ลงทุนอยู่ มีเฉลี่ยอยู่ที่ AA
ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานของ กบข. ในปี 2551 ที่ผ่านมา ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่เริ่มก่อตั้งกองทุน (2540-2551) อยู่ที่ 7.04% ผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปี (2547-2551) อยู่ที่ 3.16% และผลตอบแทนสุทธิย้อนหลัง 3 ปี (2549-2551) อยู่ที่ 2.34% ส่วนผลการดำเนินงานของ กบข. ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2551 กบข. มีสินทรัพย์สุทธิทั้งสิ้น 391,882.24 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนการลงทุนย้อนหลัง 12 เดือน (ม.ค.-ธ.ค.51) - 5.1%