คอลัมน์ “สาระน่ารู้ คู่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ”
กลุ่มธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
สมาคมบริษัทจัดการลงทุน”
Association of Investment Management Companies
www.aimc.or.th
หลังจากที่ทุกท่านได้ทราบเกี่ยวกับประโยชน์ต่างๆซึ่งนายจ้างและลูกจ้างจะได้รับจากกองทุนไปแล้วนั้น ในตอนนี้จะขอกล่าวถึงผู้ที่เกี่ยวข้องในการดูแลกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยบุคคลเหล่านี้ต่างเป็นส่วนประกอบสำคัญ ในการดูแลและควบคุมการบริหารงานกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน ซึ่งมีส่วนทำให้สมาชิกได้รับผลประโยชน์อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ผู้ที่มีบทบาทในการดูแลกองทุนประกอบด้วยบุคคลหลายกลุ่ม...ดังต่อไปนี้
คณะกรรมการกองทุน : เป็นกลุ่มบุคคลผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการบริหารกองทุนและดูแลเงินของสมาชิกกองทุนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในกรณีที่สมาชิกต้องการข้อมูลเกี่ยวกับกองทุน คณะกรรมการกองทุนจะเป็นที่พึ่งด่านแรกในการให้ความกระจ่างแก่สมาชิก นอกจากนี้คณะกรรมการกองทุนจะเป็นบุคคลที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการเป็นปากเสียงให้กับสมาชิก อีกด้วย
โดยทั่วไปแล้ว งานในความรับผิดชอบของคณะกรรมการกองทุน จะประกอบด้วยงานหลัก ๆ 5 ด้าน ด้วยกัน ได้แก่ งานด้านทะเบียนสมาชิก โดยคณะกรรมการกองทุนจะเป็นผู้พิจารณาใบสมัครและอนุมัติการเข้าเป็นสมาชิกกองทุน ตรวจสอบคุณสมบัติการเป็นสมาชิกกองทุน แจ้งการหักงินสะสม รวมทั้งการได้รับเงินสมทบจากนายจ้างตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในข้อบังคับกองทุนแก่สมาชิก รับแก้ไข/เปลี่ยนแปลงประวัติของสมาชิก จัดส่งใบแจ้งการสิ้นสมาชิกภาพของสมาชิกให้บริษัทจัดการ รวมทั้งติดตามให้สมาชิกได้รับเงินภายใน 30 วันตามที่กฎหมายกำหนด งานด้านบริหารกองทุน คณะกรรมการกองทุนจะทำหน้าที่ในการ ดูแลเงินของสมาชิก
โดยจะทำการกำหนดเงื่อนไขในการวัดความสามารถของบริษัทจัดการที่จะเข้ามาบริหารเงินกองทุน พิจารณากลั่นกรองนโยบายการลงทุนที่บริษัทจัดการนำเสนอ รวมทั้งติดตามและกำกับดูแล เพื่อให้มั่นใจได้ว่าบริษัทจัดการจะลงทุนไปในแนวทางที่กำหนดไว้ ทั้งนี้หากบริษัทจัดการไม่ได้ลงทุนให้เป็นไปตามนโยบายการลงทุนที่กำหนดไว้ คณะกรรมการกองทุนก็จะทำหน้าที่เรียกร้องความเสียหายที่เกิดขึ้นแทนสมาชิกกองทุน งานด้านบัญชีและการเงิน เนื่องจากกฎหมายกำหนดว่า นายจ้างจะต้องนำส่งเงินเข้ากองทุนภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่มีการจ่ายค่าจ้าง คณะกรรมการกองทุนจึงมีหน้าที่ในการติดตามการนำส่งเงินสะสมเงินสมทบของนายจ้าง เพื่อไม่ให้เพื่อนสมาชิกเสียประโยชน์จากการนำเงินไปลงทุนล่าช้า รวมทั้งติดตามให้นายจ้างมีการจ่ายค่าปรับที่เกิดจากการนำส่งเงินล่าช้าเข้ากองทุนด้วย
งานด้านข้อบังคับกองทุน คณะกรรมการกองทุนจะเป็นผู้ยื่นขอจดทะเบียนแก้ไขข้อบังคับกองทุนกับสำนักงาน ก.ล.ต. ซึ่งคณะกรรมการกองทุนจะประชุมร่วมกันก่อนในประเด็นที่จะแก้ไข งานด้านสมาชิกสัมพันธ์ คณะกรรมการกองทุนมีหน้าที่ในการเปิดเผยข้อบังคับกองทุนให้สมาชิกทราบ รวมทั้งถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับกองทุน เพื่อให้สมาชิกสามารถพิทักษ์ผลประโยชน์ของตนเองได้ ตลอดจนแจ้งข่าวสารที่สำคัญให้เพื่อนสมาชิกทราบโดยทั่วกัน
นายทะเบียนกองทุน ซึ่งก็คือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) จะทำหน้าที่ในการรับจดทะเบียนจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จดทะเบียนแก้ไขข้อบังคับกองทุน ตลอดจนดูแลการปฏิบัติงานของของคณะกรรมการกองทุน รวมทั้งหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทจัดการ ผู้รับฝากทรัพย์สิน ผู้สอบบัญชี ทั้งนี้การกำกับดูแลกองทุนของสำนักงาน ก.ล.ต. นั้น สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ การกำกับดูแลบริษัทจัดการ และการกำกับดูแลการดำเนินงานของกองทุน ในส่วนของการกำกับดูแลบริษัทจัดการ สำนักงาน ก.ล.ต. ได้กำหนดให้บริษัทจัดการต้องมีความพร้อมทั้งด้านบุคลากรและระบบงาน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการลงทุนให้กับผู้ลงทุน และป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อทรัพย์สินของกองทุน และในส่วนของการกำกับดูแลการดำเนินงานของกองทุน สำนักงาน ก.ล.ต. ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะทำหน้าที่รับจดทะเบียนข้อบังคับกองทุน โดยมีหลักในการพิจารณาคือ สมาชิกกองทุนควรได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม
บริษัทจัดการ : มีหน้าที่ในการบริหารจัดการเงินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดยนำเงินไปลงทุนในตราสารการเงินประเภทต่างๆ ที่มีระดับความเสี่ยงและผลตอบแทนที่แตกต่างกันตามประเภทหลักทรัพย์และสัดส่วนที่กำหนดไว้ในนโยบายการลงทุนที่ได้ตกลงไว้กับคณะกรรมการกองทุน ในการจัดการเงินลงทุนของกองทุน บริษัทจัดการต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการที่สำหนักงาน ก.ล.ต. ประกาศกำหนด บริษัทจัดการจะบริหารจัดการลงทุนด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของลูกค้า โดยใช้ความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพอย่างเหมาะสม (fiduciary duty) และมีความพร้อมทั้งด้านบุคคลากรและระบบงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนด นอกจากนี้ บริษัทจัดการยังเป็นผู้ที่อำนวยความสะดวกแก่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพในการติดต่อกับสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับกองทุน เช่น การจดทะเบียนจัดตั้งกองทุน การจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับกองทุน เป็นต้น
ผู้รับฝากทรัพย์สิน : จะเป็นผู้ดูแลและเก็บรักษาทรัพย์สินของกองทุนให้ปลอดภัย โดยจะทำการจัดเก็บทรัพย์สินของกองทุนแยกต่างหากจากทรัพย์สินของนายจ้างและบริษัทจัดการ โดยผู้รับฝากทรัพย์สินจะติดตามสิทธิประโยชน์ในเรื่องเงินปันผลและสิทธิต่าง ๆ ที่ได้จากการถือหุ้นในบริษัทที่กองทุนไปลงทุนให้แก่กองทุน ผู้สอบบัญชี เป็นอีกกลุ่มบุคคลหนึ่งซึ่งมีบทบาทในการดูแลกองทุน เนื่องจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีสถานะเป็นนิติบุคคลจึงจำเป็นที่จะต้องมีผู้ตวจสอบบัญชีเข้ามาทำหน้าที่ในการตรวจสอบงบการเงินของกองทุน รวมทั้งรับรองความถูกต้องของข้อมูลในงบการเงิน เพื่อให้เกิดความถูกต้องและโปร่งใส และสมาชิกเกิดความไว้วางใจในการมีคนเข้ามาช่วยตรวจสอบให้กับกองทุน
สมาชิกกองทุน : การเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่ใช่แค่เพียงสมัครเข้าเป็นสมาชิกและอนุญาตให้หักเงินเดือนบางส่วนเพื่อเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนเท่านั้น ในฐานะสมาชิกกองทุนควรให้ความใส่ใจในเรื่องต่าง ๆ เพื่อดูแลรักษาผลประโยชน์ของตนเองด้วย นอกจาหจะไว้วางใจให้กลุ่มบุคคลต่างๆ ข้างต้นดูแลกองทุนให้กับท่านแล้ว สมาชิกกองทุนควรต้องติดตามดูแลผลการดำเนินงานของกองทุนเองด้วยว่ามีกำไร-ขาดทุนมากน้อยเพียงใด โดยสมาชิกที่อยู่ในกองทุนที่จัดทำ employee's choice สมาชิกควรทราบว่านโยบายการลงทุนแต่ละนโยบายแตกต่างกันอย่างไร มีระดับความเสี่ยงและผลตอบแทนที่คาดหวังแตกต่างกันอย่างไร เพื่อจะได้จัดสรรการลงทุนได้อย่างเหมาะสม
นอกจากนี้สมาชิกควรตรวจสอบเงินที่ถูกหักในแต่ละเดือนด้วยว่าถูกต้องหรือไม่ โดยเช็คยอดเงินสะสมซึ่งถูกหักจากค่าจ้างงวดนั้นตามที่ระบุไว้ในใบแจ้งเงินเดือน และควรต้องตรวจสอบยอดเงินสะสมระหว่างปีว่าตรงกับยอดเงินที่เราถูกหักไปในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาหรือไม่ จำนวนหน่วยคงเหลือและมูลค่าต่อหน่วยด้วย ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องดูแล โดยตราบที่เรายังถูกหักเงินทุกเดือน จำนวนหน่วยคงเหลือของเราก็ควรจะเพิ่มขึ้น ส่วนมูลค่าต่อหน่วยจะขึ้นกับการบริหารเงินของบริษัทจัดการ หากมูลค่าต่อหน่วยเพิ่มขึ้น แสดงว่าผลประกอบการดี แต่หากลดลง แสดงว่าผลประกอบการแย่ลง ซึ่งถ้าสมาชิกมีข้อสงสัย ก็สามารถสอบถามจากคณะกรรมการกองทุนหรือบริษัทจัดการที่ดูแลกองทุนท่านได้
คราวนี้ทุกท่านคงจะทราบแล้วใช่ไหมค่ะว่ามีใครบ้างที่เป็นผู้ที่ช่วยดูแลกองทุนบ้าง โดยจะเห็นได้ว่ามีบุคคลและและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ช่วยในการควบคุมและกำกับดูแลกองทุน ซึ่งสร้างความมั่นใจให้กับทั้งนายจ้างและสมาชิกได้ว่ามีผู้ที่ช่วยท่านในการดูแลกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแทนท่านอยู่ตลอดเวลา
กลุ่มธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
สมาคมบริษัทจัดการลงทุน”
Association of Investment Management Companies
www.aimc.or.th
หลังจากที่ทุกท่านได้ทราบเกี่ยวกับประโยชน์ต่างๆซึ่งนายจ้างและลูกจ้างจะได้รับจากกองทุนไปแล้วนั้น ในตอนนี้จะขอกล่าวถึงผู้ที่เกี่ยวข้องในการดูแลกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยบุคคลเหล่านี้ต่างเป็นส่วนประกอบสำคัญ ในการดูแลและควบคุมการบริหารงานกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน ซึ่งมีส่วนทำให้สมาชิกได้รับผลประโยชน์อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ผู้ที่มีบทบาทในการดูแลกองทุนประกอบด้วยบุคคลหลายกลุ่ม...ดังต่อไปนี้
คณะกรรมการกองทุน : เป็นกลุ่มบุคคลผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการบริหารกองทุนและดูแลเงินของสมาชิกกองทุนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในกรณีที่สมาชิกต้องการข้อมูลเกี่ยวกับกองทุน คณะกรรมการกองทุนจะเป็นที่พึ่งด่านแรกในการให้ความกระจ่างแก่สมาชิก นอกจากนี้คณะกรรมการกองทุนจะเป็นบุคคลที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการเป็นปากเสียงให้กับสมาชิก อีกด้วย
โดยทั่วไปแล้ว งานในความรับผิดชอบของคณะกรรมการกองทุน จะประกอบด้วยงานหลัก ๆ 5 ด้าน ด้วยกัน ได้แก่ งานด้านทะเบียนสมาชิก โดยคณะกรรมการกองทุนจะเป็นผู้พิจารณาใบสมัครและอนุมัติการเข้าเป็นสมาชิกกองทุน ตรวจสอบคุณสมบัติการเป็นสมาชิกกองทุน แจ้งการหักงินสะสม รวมทั้งการได้รับเงินสมทบจากนายจ้างตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในข้อบังคับกองทุนแก่สมาชิก รับแก้ไข/เปลี่ยนแปลงประวัติของสมาชิก จัดส่งใบแจ้งการสิ้นสมาชิกภาพของสมาชิกให้บริษัทจัดการ รวมทั้งติดตามให้สมาชิกได้รับเงินภายใน 30 วันตามที่กฎหมายกำหนด งานด้านบริหารกองทุน คณะกรรมการกองทุนจะทำหน้าที่ในการ ดูแลเงินของสมาชิก
โดยจะทำการกำหนดเงื่อนไขในการวัดความสามารถของบริษัทจัดการที่จะเข้ามาบริหารเงินกองทุน พิจารณากลั่นกรองนโยบายการลงทุนที่บริษัทจัดการนำเสนอ รวมทั้งติดตามและกำกับดูแล เพื่อให้มั่นใจได้ว่าบริษัทจัดการจะลงทุนไปในแนวทางที่กำหนดไว้ ทั้งนี้หากบริษัทจัดการไม่ได้ลงทุนให้เป็นไปตามนโยบายการลงทุนที่กำหนดไว้ คณะกรรมการกองทุนก็จะทำหน้าที่เรียกร้องความเสียหายที่เกิดขึ้นแทนสมาชิกกองทุน งานด้านบัญชีและการเงิน เนื่องจากกฎหมายกำหนดว่า นายจ้างจะต้องนำส่งเงินเข้ากองทุนภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่มีการจ่ายค่าจ้าง คณะกรรมการกองทุนจึงมีหน้าที่ในการติดตามการนำส่งเงินสะสมเงินสมทบของนายจ้าง เพื่อไม่ให้เพื่อนสมาชิกเสียประโยชน์จากการนำเงินไปลงทุนล่าช้า รวมทั้งติดตามให้นายจ้างมีการจ่ายค่าปรับที่เกิดจากการนำส่งเงินล่าช้าเข้ากองทุนด้วย
งานด้านข้อบังคับกองทุน คณะกรรมการกองทุนจะเป็นผู้ยื่นขอจดทะเบียนแก้ไขข้อบังคับกองทุนกับสำนักงาน ก.ล.ต. ซึ่งคณะกรรมการกองทุนจะประชุมร่วมกันก่อนในประเด็นที่จะแก้ไข งานด้านสมาชิกสัมพันธ์ คณะกรรมการกองทุนมีหน้าที่ในการเปิดเผยข้อบังคับกองทุนให้สมาชิกทราบ รวมทั้งถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับกองทุน เพื่อให้สมาชิกสามารถพิทักษ์ผลประโยชน์ของตนเองได้ ตลอดจนแจ้งข่าวสารที่สำคัญให้เพื่อนสมาชิกทราบโดยทั่วกัน
นายทะเบียนกองทุน ซึ่งก็คือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) จะทำหน้าที่ในการรับจดทะเบียนจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จดทะเบียนแก้ไขข้อบังคับกองทุน ตลอดจนดูแลการปฏิบัติงานของของคณะกรรมการกองทุน รวมทั้งหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทจัดการ ผู้รับฝากทรัพย์สิน ผู้สอบบัญชี ทั้งนี้การกำกับดูแลกองทุนของสำนักงาน ก.ล.ต. นั้น สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ การกำกับดูแลบริษัทจัดการ และการกำกับดูแลการดำเนินงานของกองทุน ในส่วนของการกำกับดูแลบริษัทจัดการ สำนักงาน ก.ล.ต. ได้กำหนดให้บริษัทจัดการต้องมีความพร้อมทั้งด้านบุคลากรและระบบงาน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการลงทุนให้กับผู้ลงทุน และป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อทรัพย์สินของกองทุน และในส่วนของการกำกับดูแลการดำเนินงานของกองทุน สำนักงาน ก.ล.ต. ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะทำหน้าที่รับจดทะเบียนข้อบังคับกองทุน โดยมีหลักในการพิจารณาคือ สมาชิกกองทุนควรได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม
บริษัทจัดการ : มีหน้าที่ในการบริหารจัดการเงินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดยนำเงินไปลงทุนในตราสารการเงินประเภทต่างๆ ที่มีระดับความเสี่ยงและผลตอบแทนที่แตกต่างกันตามประเภทหลักทรัพย์และสัดส่วนที่กำหนดไว้ในนโยบายการลงทุนที่ได้ตกลงไว้กับคณะกรรมการกองทุน ในการจัดการเงินลงทุนของกองทุน บริษัทจัดการต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการที่สำหนักงาน ก.ล.ต. ประกาศกำหนด บริษัทจัดการจะบริหารจัดการลงทุนด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของลูกค้า โดยใช้ความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพอย่างเหมาะสม (fiduciary duty) และมีความพร้อมทั้งด้านบุคคลากรและระบบงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนด นอกจากนี้ บริษัทจัดการยังเป็นผู้ที่อำนวยความสะดวกแก่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพในการติดต่อกับสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับกองทุน เช่น การจดทะเบียนจัดตั้งกองทุน การจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับกองทุน เป็นต้น
ผู้รับฝากทรัพย์สิน : จะเป็นผู้ดูแลและเก็บรักษาทรัพย์สินของกองทุนให้ปลอดภัย โดยจะทำการจัดเก็บทรัพย์สินของกองทุนแยกต่างหากจากทรัพย์สินของนายจ้างและบริษัทจัดการ โดยผู้รับฝากทรัพย์สินจะติดตามสิทธิประโยชน์ในเรื่องเงินปันผลและสิทธิต่าง ๆ ที่ได้จากการถือหุ้นในบริษัทที่กองทุนไปลงทุนให้แก่กองทุน ผู้สอบบัญชี เป็นอีกกลุ่มบุคคลหนึ่งซึ่งมีบทบาทในการดูแลกองทุน เนื่องจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีสถานะเป็นนิติบุคคลจึงจำเป็นที่จะต้องมีผู้ตวจสอบบัญชีเข้ามาทำหน้าที่ในการตรวจสอบงบการเงินของกองทุน รวมทั้งรับรองความถูกต้องของข้อมูลในงบการเงิน เพื่อให้เกิดความถูกต้องและโปร่งใส และสมาชิกเกิดความไว้วางใจในการมีคนเข้ามาช่วยตรวจสอบให้กับกองทุน
สมาชิกกองทุน : การเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่ใช่แค่เพียงสมัครเข้าเป็นสมาชิกและอนุญาตให้หักเงินเดือนบางส่วนเพื่อเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนเท่านั้น ในฐานะสมาชิกกองทุนควรให้ความใส่ใจในเรื่องต่าง ๆ เพื่อดูแลรักษาผลประโยชน์ของตนเองด้วย นอกจาหจะไว้วางใจให้กลุ่มบุคคลต่างๆ ข้างต้นดูแลกองทุนให้กับท่านแล้ว สมาชิกกองทุนควรต้องติดตามดูแลผลการดำเนินงานของกองทุนเองด้วยว่ามีกำไร-ขาดทุนมากน้อยเพียงใด โดยสมาชิกที่อยู่ในกองทุนที่จัดทำ employee's choice สมาชิกควรทราบว่านโยบายการลงทุนแต่ละนโยบายแตกต่างกันอย่างไร มีระดับความเสี่ยงและผลตอบแทนที่คาดหวังแตกต่างกันอย่างไร เพื่อจะได้จัดสรรการลงทุนได้อย่างเหมาะสม
นอกจากนี้สมาชิกควรตรวจสอบเงินที่ถูกหักในแต่ละเดือนด้วยว่าถูกต้องหรือไม่ โดยเช็คยอดเงินสะสมซึ่งถูกหักจากค่าจ้างงวดนั้นตามที่ระบุไว้ในใบแจ้งเงินเดือน และควรต้องตรวจสอบยอดเงินสะสมระหว่างปีว่าตรงกับยอดเงินที่เราถูกหักไปในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาหรือไม่ จำนวนหน่วยคงเหลือและมูลค่าต่อหน่วยด้วย ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องดูแล โดยตราบที่เรายังถูกหักเงินทุกเดือน จำนวนหน่วยคงเหลือของเราก็ควรจะเพิ่มขึ้น ส่วนมูลค่าต่อหน่วยจะขึ้นกับการบริหารเงินของบริษัทจัดการ หากมูลค่าต่อหน่วยเพิ่มขึ้น แสดงว่าผลประกอบการดี แต่หากลดลง แสดงว่าผลประกอบการแย่ลง ซึ่งถ้าสมาชิกมีข้อสงสัย ก็สามารถสอบถามจากคณะกรรมการกองทุนหรือบริษัทจัดการที่ดูแลกองทุนท่านได้
คราวนี้ทุกท่านคงจะทราบแล้วใช่ไหมค่ะว่ามีใครบ้างที่เป็นผู้ที่ช่วยดูแลกองทุนบ้าง โดยจะเห็นได้ว่ามีบุคคลและและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ช่วยในการควบคุมและกำกับดูแลกองทุน ซึ่งสร้างความมั่นใจให้กับทั้งนายจ้างและสมาชิกได้ว่ามีผู้ที่ช่วยท่านในการดูแลกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแทนท่านอยู่ตลอดเวลา