เอเอสทีวีผู้จัดการ 0 ศาลฎีกา พิพากษากลับ “ กทพ ” ชนะคดี ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยกว่า 360 ล้าน การปรับขึ้นทางด่วนแจ้งวัฒนะ – บางโคล่ ตามคำวินิจฉัยอนุญาโต ฯ ชุด "มีชัย ฤชุพันธ์" ชี้ขาดปี 44 หลัง “ บริษัท ทางด่วน ” ฟ้องศาลบังคับคดี กทพ.
วานนี้ (18 ก.พ.) ที่ศาลฎีกา สนามหลวง ศาลอ่านคำพิพากษาฎีกา คดีที่ บริษัท ทางด่วน กรุงเทพ จำกัด ( มหาชน) ในฐานะ ผู้ร้อง ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่ง ให้ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ในฐานะผู้คัดค้าน ซึ่งเป็นคู่สัญญาโครงการทางด่วนขั้นที่ 2 ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยชี้ขาดคณะอนุญาโตตุลาการ จากกรณีที่มีเรียกค่าชดเชยในการปรับอัตราค่าผ่านทางค่าทางด่วน
โดยศาลฎีกาองค์คณะคดีปกครอง ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า บ.ทางด่วนกรุงเทพฯ ผู้ร้อง ลงนามในสัญญาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 กับ กทพ.ผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2531 ต่อมาเมื่อเปิดใช้โครงการแล้ว กทพ. เสนอ รมว.มหาดไทยกำหนดค่าผ่านทางซึ่งวันที่ 27 ส.ค. 2536 รมว.มหาดไทยกำหนดค่าผ่านทางเป็น 2 บัญชี บัญชีหนึ่ง กำหนดค่าผ่านทางพิเศษสายแจ้งวัฒนะ – บางโคล่ (เขตในเมือง) รถไม่เกิน 4 ล้อ อัตรา 30 บาท รถเกิน 4 ล้อแต่ไม่เกิน 10 ล้อ อัตรา 50 บาท รถเกิน 10ล้อ อัตรา 70 บาท บัญชีสอง กำหนดค่าผ่านทางพิเศษสายแจ้งวัฒนะ-บางโคล่ (นอกเขตเมือง) รถไม่เกิน 4 ล้ออัตรา 15 บาท รถเกิน 4 ล้อแต่ไม่เกิน 10 ล้ออัตรา 20 บาท รถเกิน 10 ล้ออัตรา 30 บาท ซึ่งในกรณีที่ใช้ทางพิเศษทั้งสองบัญชีค่าผ่านทางจะลดลง 5 บาท โดยประกาศนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 28 ส.ค. 2536 และเนื่องจากตามสัญญากำหนดให้มีการปรับอัตราค่าผ่านทางทุก 5 ปีตามดัชนีสินค้าผู้บริโภคและอัตราเงินเฟ้อ โดยปัดเศษเป็นจำนวนเงิน 5 บาท แต่ต้องไม่เกิน 10 บาทภายในระยะเวลา 15 ปีแรกของการให้สัมปทาน กทพ.เสนอ รมว.มหาดไทย ปรับอัตราเพิ่มขึ้นสำหรับในเขตเมือง รถไม่เกิน 4 ล้อเป็น 40 บาท รถเกิน 4 ล้อแต่ไม่เกิน 10 ล้อเป็น 70 บาท รถเกิน 10 ล้อเป็น 90 บาท ส่วนเขตนอกเมือง รถไม่เกิน 4 ล้อ เป็น 20 บาท รถเกิน 4 ล้อแต่ไม่เกิน 10 ล้อเป็น 30 บาท รถเกิน 10 ล้อเป็น 40 บาท และรถที่ใช้ทางพิเศษทั้งสองโครงข่ายจะมีส่วนลด 5 บาทต่อเที่ยว มีผลใช้ตั้งแต่ 1 ก.ย. 2541
ต่อมาประธานคณะกรรมาธิการคมนาคมสภาผู้แทนราษฎร มีหนังสือถึง รมว.มหาดไทยให้ทบทวนการปรับค่าผ่านทางดังกล่าว รมว.มหาดไทยจึงให้ กทพ.พิจารณา แล้วต่อมา รมว.มหาดไทยออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงมหาดไทยที่ขึ้นค่าผ่านทาง และกำหนดค่าผ่านทางใหม่เป็น ในเขตเมือง รถไม่เกิน 4 ล้ออัตรา 40 บาท รถเกิน 4 ล้อแต่ไม่เกิน 10 ล้ออัตรา 60 บาท รถเกิน 10 ล้ออัตรา 80 บาท ส่วนนอกเขตเมือง รถไม่เกิน 4 ล้ออัตรา 15 บาท รถเกิน 4 ล้อแต่ไม่เกิน 10 ล้ออัตรา 20 บาท รถเกิน 10 ล้ออัตรา 30 บาท และรถที่ใช้ทางพิเศษทั้งสองโครงข่ายจะมีส่วนลด 5 บาท ทำให้บ.ทางด่วนฯ เสนอเรื่อง รมว.มหาดไทยยกเลิกการเก็บค่าผ่านทางตามสัญญาเดิม ต่อคณะผู้พิจารณาตามสัญญาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 เพื่อเรียกค่าชดเชยรายได้ แต่ไม่สามารถตกลงทำความเห็นเป็นเอกฉันท์ได้ จึงเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการชี้ขาดประกาศกระทรวงมหาดไทยยกเลิกเก็บค่าผ่านทางตามสัญญานั้นถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง
ทั้งนี้ กทพ.ระบุว่า การปรับอัตราค่าผ่านทางนั้น สอดคล้องกับสัญญาแล้วขอให้ บ.ทางด่วนฯ คืนเงินค่าผ่านทางที่รับจากผู้ใช้ทางด่วนเกินไปตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. 2541 – 23 ต.ค. 2541 เป็นเงิน 29,240,041 บาท พร้อมดอกเบี้ย 11.75% ต่อปีนับจาก 24 ต.ค. 2541 ขณะที่ บ.ทางด่วนฯ ร้องแย้งว่า การเรียกค่าผ่านทางใหม่ ไม่สอดคล้องกับสัญญา ทำให้บริษัทเสียหาย จึงให้ กทพ.ชำระค่าเสียหายที่คำนวณจากอัตราค่าผ่านทางของรถยนต์แต่ละประเภทเป็นรายวันจากวันที่ 24 ต.ค. 2541 -15 ก.ค. 2543 เป็นเงิน 360,898,617 บาทพร้อมดอกเบี้ยตามสัญญา รวมทั้งค่าเสียหายที่จะเกิดขึ้นเป็นรายวันตั้งแต่วันที่ 16 ก.ค. 2543 เป็นต้นไปจนกว่า กทพ.จะออกประกาศกระทรวงมหาดไทยกลับไปใช้อัตราค่าผ่านทางให้สอดคล้องกับสัญญา
คณะอนุญาโตตุลาการชุดแรกซึ่งมีนายโสภณ รัตนากร อดีตประธานศาลฎีกาเป็นประธานทำคำชี้ขาดเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2542 เห็นว่า ประกาศกระทรวงมหาดไทยที่ยกเลิกการขึ้นค่าผ่านทางและเปลี่ยนแปลงลดอัตราค่าผ่านทางใหม่ชอบแล้วเพราะสอดคล้องกับสัญญาของการขึ้นค่าผ่านทาง แต่ บ.ทางด่วนฯ กลับขอเสนอตั้งคณะอนุญาโตตุลาการชุดที่สองขึ้นพิจารณาใหม่โดยมี นายมีชัย ฤชุพันธ์ อดีตประธานวุฒิสภาเป็นประธาน ปรากฎว่าคณะอนุญาโตตุลาการชุดนี้ซึ่งชี้ขาดเมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 2544 เป็นว่า ประกาศกระทรวงมหาดไทยที่ยกเลิกการขึ้นค่าผ่านทางและเปลี่ยนแปลงลดอัตราค่าผ่านทาง ใหม่นั้นไม่สอดคล้องกับสัญญา บ.ทางด่วนฯ จึงมีสิทธิได้รับชดเชยค่าเสียายตามที่เรียกร้อง และไม่ต้องคืนเงินค่าผ่านทางจำนวน 29,240,041 บาท ให้กับ กทพ.เพราะเป็นส่วนแบ่งโดยชอบตามสัญญา
ศาลฎีกาพิเคราะห์แล้วเห็นว่า การที่ บ.ทางด่วนฯ นำข้อพิพาทไปร้องแย้งต่อคณะอนุญาโตตุลาการชุดสองที่มีนายมีชัย เป็นประธานจนมีคำชี้ขาดซ้ำ เป็นการนำข้อพิพาทที่ได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดแล้วโดยอนุญาโตตุลาการชุดแรกที่มีนายโสภณ เป็นประธานซึ่งคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการชุดแรกมีผลผูกพันต่อคู่กรณีอยู่ การร้องตั้งอนุญาโตตุลาการซ้ำจึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเป็นการทำลายหลักการสำคัญของ พรบ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 23 วรรคหนึ่งที่บัญญัติว่า ให้คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการหรือผู้ชี้ขาดเป็นที่สุด และผูกพันคู่กรณีโดยสิ้นเชิง และย่อมส่งผลทำให้กระบวนการระงับข้อพิพาทโดยระบบอนุญาโตตุลาการไร้ประสิทธิผลไปโดยปริยาย เพราะหากคู่กรณีไม่ยอมรับผลต่อการเป็นที่สุดของอนุญาโตตุลาการชุดแรกแล้ว โดยใช้สิทธิร้องซ้ำอีก ก็จะทำให้มีการดำเนินการซ้ำซากต่อไปไม่มีวันจบสิ้น ซึ่งไม่ใช่เจตนารมณ์ที่แท้จริงของกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ
ดังนั้นการที่อนุญาโตตุลาการชุดสองได้รับคำเสนอข้อพิพาทของ บ.ทางด่วนฯ ไว้พิจารณาแล้วมีคำชี้ขาดใหม่ จึงเป็นคำชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เมื่อปรากฏว่า บ.ทางด่วนฯ ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ให้มีคำพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการชุดสองเมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 2545 อันเป็นเวลาภายหลังที่ พรบ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มีผลใช้บังคับแล้ว กรณีจึงต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่ให้อำนาจศาลจะทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดนั้นได้ และศาลฎีกาเห็นว่า ปัญหาเรื่องการนำข้อพิพาทที่อนุญาโตตุลาการชุดแรกไปร้องซ้ำต่ออนุญาโตตุลาการชุดใหม่พิจารณา ซึ่งเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังเช่นที่ว่าแล้วย่อมถือว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการชุดสอง ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ที่ศาลมีอำนาจและสมควรจะทำคำสั่งปฏิเสธการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
ดังนั้นที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้มีคำพิพากษาให้ กทพ.ปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการให้จ่ายเงินชดเชยค่าเสียหายให้แก่ บ.ทางด่วนฯ 360,898,617 บาท โดย บ.ทางด่วนฯ ไม่ต้องจ่ายเงินส่วนเกิน 29,240,041 บาทให้กับ กทพ.นั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของ กทพ.ฟังขึ้น และเมื่อผลการวินิจฉัยคดีเป็นดังนี้แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของ กทพ.ในประเด็นอื่นอีก พิพากษากลับให้ยกคำร้องของ บ.ทางด่วนฯ และให้ บ.ทางด่วนฯ ชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมศาลแทน กทพ. พร้อมค่าทนายความ 100,000 บาท
วานนี้ (18 ก.พ.) ที่ศาลฎีกา สนามหลวง ศาลอ่านคำพิพากษาฎีกา คดีที่ บริษัท ทางด่วน กรุงเทพ จำกัด ( มหาชน) ในฐานะ ผู้ร้อง ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่ง ให้ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ในฐานะผู้คัดค้าน ซึ่งเป็นคู่สัญญาโครงการทางด่วนขั้นที่ 2 ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยชี้ขาดคณะอนุญาโตตุลาการ จากกรณีที่มีเรียกค่าชดเชยในการปรับอัตราค่าผ่านทางค่าทางด่วน
โดยศาลฎีกาองค์คณะคดีปกครอง ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า บ.ทางด่วนกรุงเทพฯ ผู้ร้อง ลงนามในสัญญาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 กับ กทพ.ผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2531 ต่อมาเมื่อเปิดใช้โครงการแล้ว กทพ. เสนอ รมว.มหาดไทยกำหนดค่าผ่านทางซึ่งวันที่ 27 ส.ค. 2536 รมว.มหาดไทยกำหนดค่าผ่านทางเป็น 2 บัญชี บัญชีหนึ่ง กำหนดค่าผ่านทางพิเศษสายแจ้งวัฒนะ – บางโคล่ (เขตในเมือง) รถไม่เกิน 4 ล้อ อัตรา 30 บาท รถเกิน 4 ล้อแต่ไม่เกิน 10 ล้อ อัตรา 50 บาท รถเกิน 10ล้อ อัตรา 70 บาท บัญชีสอง กำหนดค่าผ่านทางพิเศษสายแจ้งวัฒนะ-บางโคล่ (นอกเขตเมือง) รถไม่เกิน 4 ล้ออัตรา 15 บาท รถเกิน 4 ล้อแต่ไม่เกิน 10 ล้ออัตรา 20 บาท รถเกิน 10 ล้ออัตรา 30 บาท ซึ่งในกรณีที่ใช้ทางพิเศษทั้งสองบัญชีค่าผ่านทางจะลดลง 5 บาท โดยประกาศนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 28 ส.ค. 2536 และเนื่องจากตามสัญญากำหนดให้มีการปรับอัตราค่าผ่านทางทุก 5 ปีตามดัชนีสินค้าผู้บริโภคและอัตราเงินเฟ้อ โดยปัดเศษเป็นจำนวนเงิน 5 บาท แต่ต้องไม่เกิน 10 บาทภายในระยะเวลา 15 ปีแรกของการให้สัมปทาน กทพ.เสนอ รมว.มหาดไทย ปรับอัตราเพิ่มขึ้นสำหรับในเขตเมือง รถไม่เกิน 4 ล้อเป็น 40 บาท รถเกิน 4 ล้อแต่ไม่เกิน 10 ล้อเป็น 70 บาท รถเกิน 10 ล้อเป็น 90 บาท ส่วนเขตนอกเมือง รถไม่เกิน 4 ล้อ เป็น 20 บาท รถเกิน 4 ล้อแต่ไม่เกิน 10 ล้อเป็น 30 บาท รถเกิน 10 ล้อเป็น 40 บาท และรถที่ใช้ทางพิเศษทั้งสองโครงข่ายจะมีส่วนลด 5 บาทต่อเที่ยว มีผลใช้ตั้งแต่ 1 ก.ย. 2541
ต่อมาประธานคณะกรรมาธิการคมนาคมสภาผู้แทนราษฎร มีหนังสือถึง รมว.มหาดไทยให้ทบทวนการปรับค่าผ่านทางดังกล่าว รมว.มหาดไทยจึงให้ กทพ.พิจารณา แล้วต่อมา รมว.มหาดไทยออกประกาศยกเลิกประกาศกระทรวงมหาดไทยที่ขึ้นค่าผ่านทาง และกำหนดค่าผ่านทางใหม่เป็น ในเขตเมือง รถไม่เกิน 4 ล้ออัตรา 40 บาท รถเกิน 4 ล้อแต่ไม่เกิน 10 ล้ออัตรา 60 บาท รถเกิน 10 ล้ออัตรา 80 บาท ส่วนนอกเขตเมือง รถไม่เกิน 4 ล้ออัตรา 15 บาท รถเกิน 4 ล้อแต่ไม่เกิน 10 ล้ออัตรา 20 บาท รถเกิน 10 ล้ออัตรา 30 บาท และรถที่ใช้ทางพิเศษทั้งสองโครงข่ายจะมีส่วนลด 5 บาท ทำให้บ.ทางด่วนฯ เสนอเรื่อง รมว.มหาดไทยยกเลิกการเก็บค่าผ่านทางตามสัญญาเดิม ต่อคณะผู้พิจารณาตามสัญญาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 เพื่อเรียกค่าชดเชยรายได้ แต่ไม่สามารถตกลงทำความเห็นเป็นเอกฉันท์ได้ จึงเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการชี้ขาดประกาศกระทรวงมหาดไทยยกเลิกเก็บค่าผ่านทางตามสัญญานั้นถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง
ทั้งนี้ กทพ.ระบุว่า การปรับอัตราค่าผ่านทางนั้น สอดคล้องกับสัญญาแล้วขอให้ บ.ทางด่วนฯ คืนเงินค่าผ่านทางที่รับจากผู้ใช้ทางด่วนเกินไปตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. 2541 – 23 ต.ค. 2541 เป็นเงิน 29,240,041 บาท พร้อมดอกเบี้ย 11.75% ต่อปีนับจาก 24 ต.ค. 2541 ขณะที่ บ.ทางด่วนฯ ร้องแย้งว่า การเรียกค่าผ่านทางใหม่ ไม่สอดคล้องกับสัญญา ทำให้บริษัทเสียหาย จึงให้ กทพ.ชำระค่าเสียหายที่คำนวณจากอัตราค่าผ่านทางของรถยนต์แต่ละประเภทเป็นรายวันจากวันที่ 24 ต.ค. 2541 -15 ก.ค. 2543 เป็นเงิน 360,898,617 บาทพร้อมดอกเบี้ยตามสัญญา รวมทั้งค่าเสียหายที่จะเกิดขึ้นเป็นรายวันตั้งแต่วันที่ 16 ก.ค. 2543 เป็นต้นไปจนกว่า กทพ.จะออกประกาศกระทรวงมหาดไทยกลับไปใช้อัตราค่าผ่านทางให้สอดคล้องกับสัญญา
คณะอนุญาโตตุลาการชุดแรกซึ่งมีนายโสภณ รัตนากร อดีตประธานศาลฎีกาเป็นประธานทำคำชี้ขาดเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2542 เห็นว่า ประกาศกระทรวงมหาดไทยที่ยกเลิกการขึ้นค่าผ่านทางและเปลี่ยนแปลงลดอัตราค่าผ่านทางใหม่ชอบแล้วเพราะสอดคล้องกับสัญญาของการขึ้นค่าผ่านทาง แต่ บ.ทางด่วนฯ กลับขอเสนอตั้งคณะอนุญาโตตุลาการชุดที่สองขึ้นพิจารณาใหม่โดยมี นายมีชัย ฤชุพันธ์ อดีตประธานวุฒิสภาเป็นประธาน ปรากฎว่าคณะอนุญาโตตุลาการชุดนี้ซึ่งชี้ขาดเมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 2544 เป็นว่า ประกาศกระทรวงมหาดไทยที่ยกเลิกการขึ้นค่าผ่านทางและเปลี่ยนแปลงลดอัตราค่าผ่านทาง ใหม่นั้นไม่สอดคล้องกับสัญญา บ.ทางด่วนฯ จึงมีสิทธิได้รับชดเชยค่าเสียายตามที่เรียกร้อง และไม่ต้องคืนเงินค่าผ่านทางจำนวน 29,240,041 บาท ให้กับ กทพ.เพราะเป็นส่วนแบ่งโดยชอบตามสัญญา
ศาลฎีกาพิเคราะห์แล้วเห็นว่า การที่ บ.ทางด่วนฯ นำข้อพิพาทไปร้องแย้งต่อคณะอนุญาโตตุลาการชุดสองที่มีนายมีชัย เป็นประธานจนมีคำชี้ขาดซ้ำ เป็นการนำข้อพิพาทที่ได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดแล้วโดยอนุญาโตตุลาการชุดแรกที่มีนายโสภณ เป็นประธานซึ่งคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการชุดแรกมีผลผูกพันต่อคู่กรณีอยู่ การร้องตั้งอนุญาโตตุลาการซ้ำจึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเป็นการทำลายหลักการสำคัญของ พรบ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 23 วรรคหนึ่งที่บัญญัติว่า ให้คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการหรือผู้ชี้ขาดเป็นที่สุด และผูกพันคู่กรณีโดยสิ้นเชิง และย่อมส่งผลทำให้กระบวนการระงับข้อพิพาทโดยระบบอนุญาโตตุลาการไร้ประสิทธิผลไปโดยปริยาย เพราะหากคู่กรณีไม่ยอมรับผลต่อการเป็นที่สุดของอนุญาโตตุลาการชุดแรกแล้ว โดยใช้สิทธิร้องซ้ำอีก ก็จะทำให้มีการดำเนินการซ้ำซากต่อไปไม่มีวันจบสิ้น ซึ่งไม่ใช่เจตนารมณ์ที่แท้จริงของกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ
ดังนั้นการที่อนุญาโตตุลาการชุดสองได้รับคำเสนอข้อพิพาทของ บ.ทางด่วนฯ ไว้พิจารณาแล้วมีคำชี้ขาดใหม่ จึงเป็นคำชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เมื่อปรากฏว่า บ.ทางด่วนฯ ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ให้มีคำพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการชุดสองเมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 2545 อันเป็นเวลาภายหลังที่ พรบ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มีผลใช้บังคับแล้ว กรณีจึงต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่ให้อำนาจศาลจะทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดนั้นได้ และศาลฎีกาเห็นว่า ปัญหาเรื่องการนำข้อพิพาทที่อนุญาโตตุลาการชุดแรกไปร้องซ้ำต่ออนุญาโตตุลาการชุดใหม่พิจารณา ซึ่งเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังเช่นที่ว่าแล้วย่อมถือว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการชุดสอง ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ที่ศาลมีอำนาจและสมควรจะทำคำสั่งปฏิเสธการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
ดังนั้นที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้มีคำพิพากษาให้ กทพ.ปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการให้จ่ายเงินชดเชยค่าเสียหายให้แก่ บ.ทางด่วนฯ 360,898,617 บาท โดย บ.ทางด่วนฯ ไม่ต้องจ่ายเงินส่วนเกิน 29,240,041 บาทให้กับ กทพ.นั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของ กทพ.ฟังขึ้น และเมื่อผลการวินิจฉัยคดีเป็นดังนี้แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของ กทพ.ในประเด็นอื่นอีก พิพากษากลับให้ยกคำร้องของ บ.ทางด่วนฯ และให้ บ.ทางด่วนฯ ชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมศาลแทน กทพ. พร้อมค่าทนายความ 100,000 บาท