“สมัคร” เตือน ครม.ดูร่าง กม.สำคัญ 3 ฉบับของ สนช.ที่ตกเพราะองค์ประชุมไม่ครบเป็นบทเรียน อย่าให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้กับรัฐบาลชุดปัจจุบัน ด้าน “มีชัย” บ่นเสียดาย ร่าง กม.สตง.-ป.ป.ช.-ผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งจะตอบโจทย์ การปราบคอร์รัปชั่นในการปฎิวัติที่ผ่านมาต้องตกไป เพราะผิดพลาดจากการที่ สมาชิกไม่เสียบบัตร ทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถบันทึกข้อมูลผู้เข้าร่วมประชุมได้ จนศาล รธน.มองว่าองค์ประชุมไม่ครบ จี้แก้ไขด่วนไม่เช่นนั้นจะเกิดปัญหาเช่นนี้อีกในอนาคต
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุม ครม.ว่า ที่ประชุมได้หยิบยกกรณีศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญ ที่ร่างโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ ร่างพ.ร.บ. ว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ... ร่างพ.ร.บ.ด้วยการป้องกันและปราบปรามทุจริต ฉบับที่ พ.ศ... และร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ... ให้ตกไป เนื่องจากไม่ถูกต้องในกระบวนการตราพระราชบัญญัติ เพราะในการประชุมพิจารณามีสมาชิก ไม่ครบองค์ประชุมและไม่อาจถือเป็นมติได้ ซึ่งเมื่อตรงพ.ร.บ.โดยไม่ถูกต้องศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่ต้องวินิจฉัยว่าพ.ร.บ.ทั้ง 3 ฉบับมีเนื้อหาขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
นายณัฐวุฒิ กล่าวว่าเรื่องดังกล่าวแม้ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการทำงานของรัฐบาล แต่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญกับกระบวนการปฎิบัติงานตามระบอบประชาธิปไตย ทั้งอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ซึ่งหวังว่าเหตุการณ์เช่นนี้จะไม่เกิดขึ้นในสภาชุดปัจจุบัน เพราะเป็นสภาที่เลือกตั้งมาจากประชาชน
ด้าน นายมีชัย ฤชุพันธ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวว่า ร่างกฎหมาย 3 ฉบับที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตีกลับเพราะการลงมติมีเสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่ง อาจเป็นความบกพร่องในการชี้แจงศาลรัฐธรรมนูญเรื่ององค์ประชุม โดยศาลรัฐธรรมนูญเข้าใจว่า สนช.มีองค์ประชุมไม่ครบโดยดูจากการบันทึกของเครื่อง คอมพิวเตอร์ ซึ่งบันทึกดังกล่าวโดยส่วนตัวได้ทักท้วงตั้งแต่การประชุมสมัยแรกแล้วว่า มีการบันทึกที่ไม่ตรงกับความจริง โดยตัวเลขที่บันทึกผู้เข้ามาประชุมกับผู้เข้าประชุมจริงไม่ตรงกัน เนื่องจากสมาชิกบางคนเข้าประชุมแต่ไม่เสียบบัตร
“ถ้านั่งอยู่ในห้องประชุมแล้วไม่เสียบบัตร คอมพิวเตอร์จะไม่บันทึกไว้ ลอกไปดูสิตลอดทั้งปีนี้จะไม่มีชื่อประธานและรองประธาน เข้าประชุมเลยในเครื่อง คอมพิวเตอร์ เพราะประธานกับรองประธานไม่ได้เสียบบัตร สมาชิกก็เหมือนกันคนไหนที่จะโหวตเท่านั้นเขาถึงเสียบบัตร ดังนั้นตัวเลขจะบอกไม่ได้ว่า มีองค์ประชุมเท่าไหร่ ซึ่งทางสนช.ได้อธิบายไปสั้นๆ ไม่ได้บอกว่าคอมพิวเตอร์เป็นอย่างนั้น ศาลรัฐธรรมนูญจึงพิจารณาว่าองค์ประชุมไม่ครบ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร ก็ต้องจบไปเพราะศาลรัฐธรรมนูญได้ชี้ไว้แบบนั้น ก็เป็นบทเรียน และได้บอกเจ้าหน้าที่ไปแล้วว่า คอมพิวเตอร์ที่จะซื้อใหม่ต้องแก้ปัญหาดังกล่าวด้วย”
ผู้สื่อข่าวถามว่า แปลว่ากฎหมายที่ร่างกันมาซึ่งมีความสำคัญและตอบโจทย์ การปฏิวัติเรื่องการปราบปรามคอร์รัปชั่น ต้องเสียเปล่าใช่หรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า เสียเปล่าไปเลย น่าเสียดาย และไม่สามารถชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้เพราะเราไม่ทราบว่าตอนนั้นเขาสงสัยอะไร ถ้าศาลรัฐธรรมนูญบอกว่าสงสัยเรื่องนี้ก็คิดว่า ทางสนช.จะชี้แจงได้ อย่างไรก็ตามทางสภาได้ชี้แจงไปตามปกติ ทั้งนี้การที่ต้องให้ ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณากฎหมาย3ฉบับนี้เป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐธรรมนูญบังคับว่าต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีการวางมาตรการไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวอีกหรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า อาจจะต้องไปแก้คอมพิวเตอร์ซึ่งได้บอกไปนานแล้วแต่เจ้าหน้าที่ บอกว่าแก้ไม่ได้เพราะได้วางระบบไว้แล้ว อีกทั้งต้องแก้โดยการให้สมาชิกที่เข้าประชุมเสียบบัตรทุกคนด้วย อย่างไรก็ตามการเสียบบัตรทิ้งไว้ก็กลัวว่าจะมีการเสียบแทนกันได้ ทั้งนี้กฎหมายทั้ง 3 ฉบับจะมีการสานต่อหรือไม่ก็ต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาล
“เสียดายกฎหมายทั้ง 3 ฉบับมาก เพราะเป็นกฎหมายที่สำคัญที่ทุกฝ่าย ต่างทุ่มเทศึกษาเพื่อแก้วางแนวทางในการแก้ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น แต่ก็ไม่มีทาง แก้ไขหรือคัดค้านมติของศาลรัฐธรรรมนูญได้ เพราะศาลรัฐธรรมนูญได้ลงมติไปแล้ว ผมเองทราบเรื่องหลังมีการลงมติไปแล้ว ทำให้แก้ไขอะไรไม่ได้ และจะหวังให้ ฝ่ายการเมืองผลักดันกฎหมายทั้ง 3 ฉบับนี้คงเป็นเรื่องยาก เพราะเป็นกฎหมาย ที่เพิ่มอำนาจให้องค์กรอิสระในการตรวจสอบฝ่ายการเมือง และถ้ามีการพิจารณาใหม่ จริงๆ ก็ต้องใช้เวลาประมาณ 1 ปี ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่แย่มากที่กฎหมายทั้ง 3 ฉบับไม่ผ่านการเห็นชอบจากศาลรัฐธรรมนูญแบบนี้”
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากเป็นเช่นนี้แสดงว่าสำนักงานป้องกันและปราบปราม การทุจริตในภาครัฐ(ป.ป.ท.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จะตั้งขึ้นใหม่ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยป.ป.ช. ไม่สามารถเกิดขึ้นได้หรือแท้งแล้วใช่หรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า อาจเป็นไปได้ว่า ป.ป.ท.จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตามคงไม่กระทบ ต่อเรื่องการทำคดีที่เกี่ยวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพราะป.ป.ช.สามารถใช้กฎหมายเดิมในการตรวจสอบได้
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุม ครม.ว่า ที่ประชุมได้หยิบยกกรณีศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญ ที่ร่างโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ ร่างพ.ร.บ. ว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ... ร่างพ.ร.บ.ด้วยการป้องกันและปราบปรามทุจริต ฉบับที่ พ.ศ... และร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ... ให้ตกไป เนื่องจากไม่ถูกต้องในกระบวนการตราพระราชบัญญัติ เพราะในการประชุมพิจารณามีสมาชิก ไม่ครบองค์ประชุมและไม่อาจถือเป็นมติได้ ซึ่งเมื่อตรงพ.ร.บ.โดยไม่ถูกต้องศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่ต้องวินิจฉัยว่าพ.ร.บ.ทั้ง 3 ฉบับมีเนื้อหาขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
นายณัฐวุฒิ กล่าวว่าเรื่องดังกล่าวแม้ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการทำงานของรัฐบาล แต่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญกับกระบวนการปฎิบัติงานตามระบอบประชาธิปไตย ทั้งอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ซึ่งหวังว่าเหตุการณ์เช่นนี้จะไม่เกิดขึ้นในสภาชุดปัจจุบัน เพราะเป็นสภาที่เลือกตั้งมาจากประชาชน
ด้าน นายมีชัย ฤชุพันธ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวว่า ร่างกฎหมาย 3 ฉบับที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตีกลับเพราะการลงมติมีเสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่ง อาจเป็นความบกพร่องในการชี้แจงศาลรัฐธรรมนูญเรื่ององค์ประชุม โดยศาลรัฐธรรมนูญเข้าใจว่า สนช.มีองค์ประชุมไม่ครบโดยดูจากการบันทึกของเครื่อง คอมพิวเตอร์ ซึ่งบันทึกดังกล่าวโดยส่วนตัวได้ทักท้วงตั้งแต่การประชุมสมัยแรกแล้วว่า มีการบันทึกที่ไม่ตรงกับความจริง โดยตัวเลขที่บันทึกผู้เข้ามาประชุมกับผู้เข้าประชุมจริงไม่ตรงกัน เนื่องจากสมาชิกบางคนเข้าประชุมแต่ไม่เสียบบัตร
“ถ้านั่งอยู่ในห้องประชุมแล้วไม่เสียบบัตร คอมพิวเตอร์จะไม่บันทึกไว้ ลอกไปดูสิตลอดทั้งปีนี้จะไม่มีชื่อประธานและรองประธาน เข้าประชุมเลยในเครื่อง คอมพิวเตอร์ เพราะประธานกับรองประธานไม่ได้เสียบบัตร สมาชิกก็เหมือนกันคนไหนที่จะโหวตเท่านั้นเขาถึงเสียบบัตร ดังนั้นตัวเลขจะบอกไม่ได้ว่า มีองค์ประชุมเท่าไหร่ ซึ่งทางสนช.ได้อธิบายไปสั้นๆ ไม่ได้บอกว่าคอมพิวเตอร์เป็นอย่างนั้น ศาลรัฐธรรมนูญจึงพิจารณาว่าองค์ประชุมไม่ครบ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร ก็ต้องจบไปเพราะศาลรัฐธรรมนูญได้ชี้ไว้แบบนั้น ก็เป็นบทเรียน และได้บอกเจ้าหน้าที่ไปแล้วว่า คอมพิวเตอร์ที่จะซื้อใหม่ต้องแก้ปัญหาดังกล่าวด้วย”
ผู้สื่อข่าวถามว่า แปลว่ากฎหมายที่ร่างกันมาซึ่งมีความสำคัญและตอบโจทย์ การปฏิวัติเรื่องการปราบปรามคอร์รัปชั่น ต้องเสียเปล่าใช่หรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า เสียเปล่าไปเลย น่าเสียดาย และไม่สามารถชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้เพราะเราไม่ทราบว่าตอนนั้นเขาสงสัยอะไร ถ้าศาลรัฐธรรมนูญบอกว่าสงสัยเรื่องนี้ก็คิดว่า ทางสนช.จะชี้แจงได้ อย่างไรก็ตามทางสภาได้ชี้แจงไปตามปกติ ทั้งนี้การที่ต้องให้ ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณากฎหมาย3ฉบับนี้เป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐธรรมนูญบังคับว่าต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีการวางมาตรการไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวอีกหรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า อาจจะต้องไปแก้คอมพิวเตอร์ซึ่งได้บอกไปนานแล้วแต่เจ้าหน้าที่ บอกว่าแก้ไม่ได้เพราะได้วางระบบไว้แล้ว อีกทั้งต้องแก้โดยการให้สมาชิกที่เข้าประชุมเสียบบัตรทุกคนด้วย อย่างไรก็ตามการเสียบบัตรทิ้งไว้ก็กลัวว่าจะมีการเสียบแทนกันได้ ทั้งนี้กฎหมายทั้ง 3 ฉบับจะมีการสานต่อหรือไม่ก็ต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาล
“เสียดายกฎหมายทั้ง 3 ฉบับมาก เพราะเป็นกฎหมายที่สำคัญที่ทุกฝ่าย ต่างทุ่มเทศึกษาเพื่อแก้วางแนวทางในการแก้ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น แต่ก็ไม่มีทาง แก้ไขหรือคัดค้านมติของศาลรัฐธรรรมนูญได้ เพราะศาลรัฐธรรมนูญได้ลงมติไปแล้ว ผมเองทราบเรื่องหลังมีการลงมติไปแล้ว ทำให้แก้ไขอะไรไม่ได้ และจะหวังให้ ฝ่ายการเมืองผลักดันกฎหมายทั้ง 3 ฉบับนี้คงเป็นเรื่องยาก เพราะเป็นกฎหมาย ที่เพิ่มอำนาจให้องค์กรอิสระในการตรวจสอบฝ่ายการเมือง และถ้ามีการพิจารณาใหม่ จริงๆ ก็ต้องใช้เวลาประมาณ 1 ปี ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่แย่มากที่กฎหมายทั้ง 3 ฉบับไม่ผ่านการเห็นชอบจากศาลรัฐธรรมนูญแบบนี้”
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากเป็นเช่นนี้แสดงว่าสำนักงานป้องกันและปราบปราม การทุจริตในภาครัฐ(ป.ป.ท.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จะตั้งขึ้นใหม่ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยป.ป.ช. ไม่สามารถเกิดขึ้นได้หรือแท้งแล้วใช่หรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า อาจเป็นไปได้ว่า ป.ป.ท.จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตามคงไม่กระทบ ต่อเรื่องการทำคดีที่เกี่ยวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพราะป.ป.ช.สามารถใช้กฎหมายเดิมในการตรวจสอบได้