นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวถึง กรณีตุลาการรัฐธรรมนูญส่งกลับร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ.... ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่...) พ.ศ..... และร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ...มาให้ สนช.พิจารณาใหม่ ว่า เรื่องนี้อาจเป็นความบกพร่องในการชี้แจงเรื่ององค์ประชุมให้ศาลรัฐธรรมนูญทราบ
นายมีชัย กล่าวว่า ศาลรัฐธรรมนูญเข้าใจว่า สนช. มีองค์ประชุมไม่ครบ โดยดูจากการบันทึกของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งส่วนตัวได้ทักท้วงตั้งแต่การประชุมสมัยแรกแล้วว่า มีการบันทึกที่ไม่ตรงกับความจริง โดยตัวเลขที่บันทึกว่าผู้เข้ามาประชุม แต่ความจริงแล้วไม่ใช่แบบนั้น เพราะเป็นตัวเลขของผู้ที่เสียบบัตร ถ้านั่งอยู่ในห้องประชุมแล้วไม่เสียบบัตร เลขตรงนี้จะไม่ขึ้นบันทึกไว้
อย่างไรก็ตาม นายมีชัย ไม่ยืนยันว่า ในความเป็นจริง มี สนช.อยู่ครบองค์ประชุมหรือไม่ เพราะหลายคนเดินไปเดินมา จนกว่าจะมีใครสงสัย ก็จะมีการยกมือนับองค์ประชุม ซึ่งครบบ้างไม่ครบบ้าง
ทั้งนี้ กฎหมายที่ถูกส่งกลับมาทั้งหมด จะตกไปทั้งหมดหรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า เสียเปล่าไปเลย น่าเสียดาย และไม่สามารถชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ เพราะเราไม่ทราบสงสัยในจุดใด ถ้าศาลรัฐธรรมนูญบอกว่าสงสัยเรื่องนี้ คิดว่า สนช.จะชี้แจงได้ และว่าที่ต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณากฎหมายทั้ง 3 ฉบับนี้ เนื่องจากเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐธรรมนูญบังคับว่าต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา ส่วนกฎหมายทั้ง 3 ฉบับ จะมีการสานต่อหรือไม่ ขึ้นอยู่กับรัฐบาล
นายมีชัย ยอมรับว่า เป็นเรื่องยากที่จะหวังให้ฝ่ายการเมืองมาผลักดันกฎหมายทั้ง 3 ฉบับ เพราะเป็นกฎหมายที่เพิ่มอำนาจให้องค์กรอิสระในการตรวจสอบฝ่ายการเมือง และถ้ามีการพิจารณาใหม่จริง ๆ ต้องใช้เวลาประมาณ 1 ปี ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่แย่มาก ที่กฎหมายทั้ง 3 ฉบับไม่ผ่านการเห็นชอบจากศาลรัฐธรรมนูญแบบนี้
อย่างไรก็ตาม เมื่อเป็นเช่นนี้แสดงว่าคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จะตั้งขึ้นใหม่ ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เกิดขึ้นหรือไม่นั้น นายมีชัย กล่าวว่า อาจเป็นไปได้ว่า ป.ป.ท. จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม คงไม่กระทบต่อเรื่องการทำคดีที่เกี่ยวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพราะคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สามารถใช้กฎหมายเดิมในการตรวจสอบได้
นายมีชัย กล่าวว่า ศาลรัฐธรรมนูญเข้าใจว่า สนช. มีองค์ประชุมไม่ครบ โดยดูจากการบันทึกของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งส่วนตัวได้ทักท้วงตั้งแต่การประชุมสมัยแรกแล้วว่า มีการบันทึกที่ไม่ตรงกับความจริง โดยตัวเลขที่บันทึกว่าผู้เข้ามาประชุม แต่ความจริงแล้วไม่ใช่แบบนั้น เพราะเป็นตัวเลขของผู้ที่เสียบบัตร ถ้านั่งอยู่ในห้องประชุมแล้วไม่เสียบบัตร เลขตรงนี้จะไม่ขึ้นบันทึกไว้
อย่างไรก็ตาม นายมีชัย ไม่ยืนยันว่า ในความเป็นจริง มี สนช.อยู่ครบองค์ประชุมหรือไม่ เพราะหลายคนเดินไปเดินมา จนกว่าจะมีใครสงสัย ก็จะมีการยกมือนับองค์ประชุม ซึ่งครบบ้างไม่ครบบ้าง
ทั้งนี้ กฎหมายที่ถูกส่งกลับมาทั้งหมด จะตกไปทั้งหมดหรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า เสียเปล่าไปเลย น่าเสียดาย และไม่สามารถชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ เพราะเราไม่ทราบสงสัยในจุดใด ถ้าศาลรัฐธรรมนูญบอกว่าสงสัยเรื่องนี้ คิดว่า สนช.จะชี้แจงได้ และว่าที่ต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณากฎหมายทั้ง 3 ฉบับนี้ เนื่องจากเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐธรรมนูญบังคับว่าต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา ส่วนกฎหมายทั้ง 3 ฉบับ จะมีการสานต่อหรือไม่ ขึ้นอยู่กับรัฐบาล
นายมีชัย ยอมรับว่า เป็นเรื่องยากที่จะหวังให้ฝ่ายการเมืองมาผลักดันกฎหมายทั้ง 3 ฉบับ เพราะเป็นกฎหมายที่เพิ่มอำนาจให้องค์กรอิสระในการตรวจสอบฝ่ายการเมือง และถ้ามีการพิจารณาใหม่จริง ๆ ต้องใช้เวลาประมาณ 1 ปี ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่แย่มาก ที่กฎหมายทั้ง 3 ฉบับไม่ผ่านการเห็นชอบจากศาลรัฐธรรมนูญแบบนี้
อย่างไรก็ตาม เมื่อเป็นเช่นนี้แสดงว่าคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จะตั้งขึ้นใหม่ ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เกิดขึ้นหรือไม่นั้น นายมีชัย กล่าวว่า อาจเป็นไปได้ว่า ป.ป.ท. จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม คงไม่กระทบต่อเรื่องการทำคดีที่เกี่ยวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพราะคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สามารถใช้กฎหมายเดิมในการตรวจสอบได้