xs
xsm
sm
md
lg

ตีกลับ 3 กฎหมายปราบโกง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ส่งกลับกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ คือ กฎหมายป.ป.ช.-กฎหมาย สตง. และกฎหมายผู้ตรวจการแผ่นดิน ส่อมีปัญหาขัดรัฐธรรมนูญ "จารุวรรณ"ยันไม่เสียใจ แต่ไม่ถือว่าเป็นความผิดพลาดของ สตง. ขณะที่ "กล้านรงค์" ยันไม่ทำให้งานของ ป.ป.ช.สะดุด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวานนี้ (19 ก.พ.) คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้ประชุมพิจารณาคำร้องที่ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ขอให้พิจารณาวินิจฉัยเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. ... พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ...... มาตรา 141 ซึ่งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญพิจารณา แล้วมีมติ ให้ส่งเรื่องกลับยัง สนช. ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 138 , 139, 140 และ 141

ทั้งนี้ ตามรัฐธรรมนูญมาตราดังกล่าว กำหนดเกี่ยวกับการตรา พ.รบ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่า ให้มีพ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญโดยทั้ง 3 ฉบับ เป็นส่วนหนึ่งใน 9 ฉบับ ที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีการตราขึ้น และให้ผู้ที่มีหน้าที่เสนอ ได้แก่ ครม. ส.ส. และ ส.ว.จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้ง 2 สภา รวมถึงศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา หรือองค์กรอิสระ และให้การพิจารณา พ.ร.บ.ของ ส.ส.และส.ว.ให้กระทำเป็น 3 วาระ เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อให้ทรงลงประปรมาภิไธย กำหนดให้มีการส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รับเรื่อง ซึ่งหากศาลรัธธรรมนูญเห็นว่า ข้อความใดในร่าง พ.ร.บ.ที่ส่งให้วินิจฉัยขัด หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ก็ให้ข้อความนั้นตกไป หรือถ้าหากเห็นว่า ข้อความดังกล่าวเป็นสาระสำคัญ หรือ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญตกไปทั้งฉบับ และให้ส่งร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวกลับคืนสภาผู้แทนฯ และวุฒิสภาพิจารณาแก้ไข เพิ่มเติม เพื่อมิให้ขัด หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ โดยมติในการแก้ไขต้องใช้คะแนนเสียงมากว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา แล้วส่งให้นายกรัฐมนตรี ดำเนินการตาม มาตรา 90, 150 หรือ 151 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการนำร่างกฎหมายขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อให้ทรงลงพระปรมาภิไธย

อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้สื่อข่าวได้พยายามที่จะสอบถามถึงเหตุผลในการส่งกลับร่างพ.ร.บ.ทั้ง 3 ฉบับไปยัง สนช. กับ นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ แต่ไม่สามารถติดต่อได้ และเมื่อติดต่อไปยังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ต่างก็ยืนยันว่า ที่ประชุมได้มอบหมายให้เลขาธิการ เป็นผู้ชี้แจงต่อสื่อมวลชน เนื่องจากมีหลายประเด็น หากต่างคนต่างให้สัมภาษณ์ อาจะคลาดเคลื่อน

คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญ ส่งกลับ กฎหมาย 3 ฉบับ ที่เพิ่มอำนาจให้ สตง. ,ป.ป.ช. และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ว่า ไม่รู้สึกเสียใจ และไม่เป็นไร เพราะเราจะเสนอเรื่องกลับเข้าสภาไป เพื่อให้พิจารณาใหม่ อะไรจะเกิดก็ให้มันเกิด เพราะเราก็ทำงานตามหน้าที่ของเรา หากเราไม่ได้อำนาจเพิ่ม ก็ไม่เป็นไร

"ถึงแม้ว่าเรื่อง กฎหมาย 3 ฉบับ จะตกไป แต่ก็ไม่ใช่ความผิดของสตง. และสนช. เองก็เป็นผู้พิจารณากฎหมาย" คุณหญิงจารุวรรณ กล่าว

นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ ป.ป.ช. กล่าวว่า ในการทำงานของ ป.ป.ช. ก็ถือว่า เรื่องนี้ไม่มีผลต่อระบบมากนัก หรือทำให้การทำงานของ ป.ป.ช.ต้องสะดุด เพราะทุกวันนี้ ป.ป.ช. ก็มีรัฐธรรมนูญปี 50 ใช้ได้อยู่แล้ว ส่วนที่เพิ่มเติมไปนั้น เป็น พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งเขียนเพิ่มเติมในส่วนที่ยังขาดอยู่ เป็นการเขียนให้ชัดเจนในเรื่องการตรวจสอบของผูดำรงตำแหน่งในระดับสูง ซึ่งเมื่อถูกตีกลับ ก็กลับไปที่รัฐสภา จึงเป็นเรื่องที่ประธานสภา จะตัดสินใจดำเนินการอย่างไร ต่อไป

รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาคดีดังกล่าว นั้น นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้มีหนังสือถึงศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อชี้แจงให้ตุลาการรัฐธรรนูญ ทราบว่า วันที่ สนช.ประชุมกันเพื่อเสนอผ่านร่าง กฎหมาย 3 ฉบับนั้น ได้มี สนช.เข้าครบองค์ประชุม ซึ่งการที่มีข่าวว่า สนช.ไม่ครบองค์ประชุมนั้น น่าจะมีความเข้าใจผิด ในเรื่องของการพิมพ์รายชื่อผู้เข้าประชุม
กำลังโหลดความคิดเห็น