ASTVผู้จัดการรายวัน - นักลงทุนเข้าซื้อหุ้น BECL ดันราคาบวก 40 สตางค์ หรือ 2.56% หลังอนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อข้อพิพาทบริษัทกับคู่สัญญา ส่งให้บริษัทได้รับส่วนแบ่งรายได้พร้อมดอกเบี้ยจาก กทพ. เป็นเงินกว่า 3,831 ล้านบาท และดอกเบี้ยนับจาก 1 ก.ค. 44 เป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น
ราคาหุ้นบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BECL) วานนี้พบว่ามีแรงซื้อเข้ามาตั้งแต่เปิดตลาด ก่อนปิดตลาดช่วงเช้าที่ ราคา 15.90 บาท เพิ่มขึ้น 0.30 บาทหรือคิดเป็น เพิ่มขึ้น 1.92% มูลค่าซื้อขาย 9.81 ล้านบาท และ แรงซื้อมีเข้ามาต่อเนื่องในช่วงบ่าย ก่อนปิดตลาด ที่ราคา 16 บาท เพิ่มขึ้น 0.40 บาท คิดเป็นเพิ่มขึ้น 2.56% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 28.65 ล้านบาท
นางพเยาว์ มริตตนะพร กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BECL) แจ้งว่าบริษัทได้ก่อสร้างทางพิเศษ ศรีรัชในพื้นที่ส่วนแรกแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2535 ซึ่งตามสัญญากำหนดว่า วันที่มีการก่อสร้างในพื้นที่ส่วนแรกแล้วเสร็จถือว่าเป็นวันเปิดใช้งานของพื้นที่ส่วนแรก และบริษัทฯ มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งรายได้ค่าผ่านทางของทาง ด่วนโครงข่ายในเขตเมืองตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป แต่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้เริ่มแบ่งรายได้ค่าผ่านทางให้บริษัทฯ เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2536 ทําให้บริษัทฯ สูญเสียรายได้ที่ควรได้รับตามสัญญา
บริษัทฯ จึงได้ยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการเรียกร้องให้ กทพ. ทำการชดเชยรายได้ค่าผ่านทางของทางด่วนโครงข่ายในเขตเมืองระหว่างวันที่ 13 พฤศจิกายน 2535 ถึงวันที่ 2 กันยายน 2536 พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญาข้อ 25.6 ให้แก่บริษัทฯ นั้น
โดยเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2551 คณะอนุญาโตตุลาการได้มีคำชี้ขาดข้อพิพาทดังกล่าว โดยให้ กทพ.ชำระเงินส่วนแบ่งรายได้ค่าผ่านทาง ของทางด่วนโครงข่ายในเขตเมืองให้แก่บริษัทฯ สำหรับช่วงเวลาระหว่างวันที่ 13พฤศจิกายน 2535 ถึงวันที่ 2 กันยายน 2536 รวมเป็นเงิน 1,974,638,648 บาท พร้อมทั้งดอกเบี้ยในอัตราที่กำหนดในสัญญาจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2544 เป็นเงิน 1,856,840,006 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 3,831,478,654 บาทและดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2544 เป็นต้นไป จนกว่า กทพ. จะชำระให้บริษัทฯ เสร็จสิ้น
ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติอนุญาโต-ตุลาการ พ.ศ. 2545 บริษัทฯ สามารถยื่นคำร้อง ต่อศาลที่มีเขตอํานาจภายใน 3 ปี นับแต่วันที่อาจ บังคับตามคําชี้ขาดได้เพื่อให้ศาลทําการบังคับ ตามคําชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ในขณะที่ กทพ. อาจขอให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดได้ โดยยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจภายใน 90วันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำชี้ขาด
ราคาหุ้นบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BECL) วานนี้พบว่ามีแรงซื้อเข้ามาตั้งแต่เปิดตลาด ก่อนปิดตลาดช่วงเช้าที่ ราคา 15.90 บาท เพิ่มขึ้น 0.30 บาทหรือคิดเป็น เพิ่มขึ้น 1.92% มูลค่าซื้อขาย 9.81 ล้านบาท และ แรงซื้อมีเข้ามาต่อเนื่องในช่วงบ่าย ก่อนปิดตลาด ที่ราคา 16 บาท เพิ่มขึ้น 0.40 บาท คิดเป็นเพิ่มขึ้น 2.56% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 28.65 ล้านบาท
นางพเยาว์ มริตตนะพร กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BECL) แจ้งว่าบริษัทได้ก่อสร้างทางพิเศษ ศรีรัชในพื้นที่ส่วนแรกแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2535 ซึ่งตามสัญญากำหนดว่า วันที่มีการก่อสร้างในพื้นที่ส่วนแรกแล้วเสร็จถือว่าเป็นวันเปิดใช้งานของพื้นที่ส่วนแรก และบริษัทฯ มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งรายได้ค่าผ่านทางของทาง ด่วนโครงข่ายในเขตเมืองตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป แต่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้เริ่มแบ่งรายได้ค่าผ่านทางให้บริษัทฯ เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2536 ทําให้บริษัทฯ สูญเสียรายได้ที่ควรได้รับตามสัญญา
บริษัทฯ จึงได้ยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการเรียกร้องให้ กทพ. ทำการชดเชยรายได้ค่าผ่านทางของทางด่วนโครงข่ายในเขตเมืองระหว่างวันที่ 13 พฤศจิกายน 2535 ถึงวันที่ 2 กันยายน 2536 พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญาข้อ 25.6 ให้แก่บริษัทฯ นั้น
โดยเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2551 คณะอนุญาโตตุลาการได้มีคำชี้ขาดข้อพิพาทดังกล่าว โดยให้ กทพ.ชำระเงินส่วนแบ่งรายได้ค่าผ่านทาง ของทางด่วนโครงข่ายในเขตเมืองให้แก่บริษัทฯ สำหรับช่วงเวลาระหว่างวันที่ 13พฤศจิกายน 2535 ถึงวันที่ 2 กันยายน 2536 รวมเป็นเงิน 1,974,638,648 บาท พร้อมทั้งดอกเบี้ยในอัตราที่กำหนดในสัญญาจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2544 เป็นเงิน 1,856,840,006 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 3,831,478,654 บาทและดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2544 เป็นต้นไป จนกว่า กทพ. จะชำระให้บริษัทฯ เสร็จสิ้น
ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติอนุญาโต-ตุลาการ พ.ศ. 2545 บริษัทฯ สามารถยื่นคำร้อง ต่อศาลที่มีเขตอํานาจภายใน 3 ปี นับแต่วันที่อาจ บังคับตามคําชี้ขาดได้เพื่อให้ศาลทําการบังคับ ตามคําชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ในขณะที่ กทพ. อาจขอให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดได้ โดยยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจภายใน 90วันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำชี้ขาด