Basel Capital Accord หรือข้อตกลงในการดำรงเงินกองทุนและบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงินตามมาตรฐานสากลที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีที่มาจาก Bank for International Settlement (BIS) ซึ่งก็เป็นเสมือนธนาคารระดับสากลที่ทำหน้าที่กำกับและดูแลนโยบายการเงินของธนาคารกลางของประเทศต่างๆ BIS ก่อตั้งโดยกลุ่มประเทศ G-10 โดยชื่อ Basel ก็มาจากชื่อเมืองในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ที่เป็นสถานที่ที่คณะกรรมการ Basel Committee ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานที่กำกับดูแลธนาคารพาณิชย์และนักวิชาการด้านการเงินของประเทศ G-10 และประเทศสวิตเซอร์แลนด์และลักเซมเบิร์ก มาประชุมหารือกันปีละ 4 ครั้งเพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหา และกำหนดเกณฑ์และนโยบายที่เสนอให้ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ใช้ในการกำกับดูแลสถาบันการเงินของตน เพื่อให้มีฐานะเข้มแข็ง มีเสถียรภาพ และตรวจสอบความโปร่งใสได้ เดิมทีเกณฑ์ของ Basel ไม่ได้รัดกุมมากนักแต่ก็ได้พัฒนาให้เข้มงวดมากขึ้นทั้งเชิงปริมาณ และคุณภาพ
เนื่องจากสถาบันการเงินเป็นตัวกลางทางการเงินเกี่ยวข้องกับประชาชนผู้ฝากเงินนับล้านในฐานะเป็นลูกหนี้ ในทางตรงข้ามก็เป็นเจ้าหนี้ด้วยในฐานะผู้ปล่อยสินเชื่อให้หน่วยธุรกิจและประชาชน ดังนั้นหากสถาบันการเงินเกิดปัญหาย่อมกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้างมาก ดังนั้นในความเห็นของผู้เขียนเป้าหมายของการกำกับดูแลสถาบันการเงินก็คือต้องการให้สถาบันการเงินดำเนินธุรกิจด้วยความรอบคอบระมัดระวัง ให้มีฐานะการเงินที่มั่นคง ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีระบบบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดี
นอกจากนี้ ในกรณีของประเทศไทยก็ควรส่งเสริมให้สถาบันการเงินไทยมีความสามารถ ในการแข่งขันกันได้กับต่างชาติได้ด้วยหากมีการเปิดเสรีภาคการเงิน โดยทั่วไปการกำกับดูแล สถาบันการเงินมีทั้งในเชิงปริมาณกับคุณภาพ ในเชิงปริมาณก็คือการกำหนดเกณฑ์ที่เป็นตัวเลขชัดเจน เช่น ระดับความเพียงพอของเงินกองทุน (เป็นอัตราส่วนเทียบกับสินทรัพย์เสี่ยง) การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง การจัดชั้นสินทรัพย์และการกันสำรอง การกระจายความเสี่ยงในการให้สินเชื่อแก่สาขาธุรกิจ ส่วนการกำกับในเชิงคุณภาพ ก็เช่น การบริหารจัดการที่ดีมีธรรมาภิบาล และระบบการตรวจสอบและการควบคุมภายในได้มาตรฐาน เป็นต้น
BIS ได้กำหนดหลักเกณฑ์การกำกับเงินกองทุนของสถาบันการเงินขึ้นในปี 1988 (Basel I) ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้นำมาบังคับใช้ในปี 2536 เป็นต้นมา หลักการของ Basel I ได้แก่ กำหนดให้สถาบันการเงินต้องดำรงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงสำหรับความเสี่ยงด้านเครดิตไม่ต่ำกว่าร้อยละ 8 และต่อมาได้เพิ่มเกณฑ์ให้ต้องดำรงเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงด้านตลาดโดยให้ได้มาตรฐานสากลด้วย
ต่อมาในราวปี 2544 คณะกรรมการ Basel Committee ได้กำหนดเกณฑ์ใหม่ คือ Basel II ขึ้นมาทดแทนของเดิม โดยหลักเกณฑ์การกำกับดูแลตาม Basel II แบ่งออกเป็นสามด้าน (3 Pillars) ได้แก่ 1. การดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำ (เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง รวมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 8.5) คือการกำหนดหลักเกณฑ์คำนวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงในด้านเครดิต ด้านปฏิบัติการ และด้านตลาด 2. การกำกับดูแลและสอบทานโดยทางการ หลักการคือกำกับดูแลให้สถาบันการเงินมีระบบบริหารความเสี่ยงที่ดี และมีการดำรงเงินกองทุนรองรับความเสี่ยงที่เหมาะสม ในด้านนี้มีหลักการสี่ข้อ คือ หนึ่ง สถาบันการเงินควรมีกระบวนการประเมินความเพียงพอของเงินกองทุน สอง ผู้กำกับดูแลควรสอบทานกระบวนการ ประเมินความเพียงพอของเงินกองทุน และกลยุทธ์การดำรงเงินกองทุน สาม สถาบันการเงินควรดำรงเงินกองทุนสูงกว่าเกณฑ์การดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำ และสี่ หน่วยงานกำกับดูแลควรเข้าแทรกแซงแต่เนิ่นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เงินกองทุนต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด และด้านที่ 3 การใช้กลไกตลาดในการกำกับดูแล คือแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินความเพียงพอของเงินกองทุน และการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงิน
ข้อสังเกตสำหรับเกณฑ์ Basel II ซึ่งทางการไทยกำลังนำมาใช้ในปี 2552 นี้ ได้ปรับเปลี่ยนแนวทางการคำนวณสินทรัพย์เสี่ยงให้ครอบคลุมประเภทความเสี่ยงมากขึ้น มีการกำหนดการดำรงเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการคำนวณเงินกองทุนสะท้อนความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น เพิ่มทางเลือกในการประเมินความเสี่ยง และให้ความสำคัญต่อการกำกับดูแลของทางการ และการเปิดเผยข้อมูลมากขึ้น
ปัญหาวิกฤตการเงินของโลกที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศมหาอำนาจด้านเศรษฐกิจการเงิน (อยู่ใน G-10 และเป็นกรรมการ Basel ด้วย) เป็นข้อเท็จจริงที่สะท้อนว่าระบบการกำกับดูแลสถาบันการเงินของ Basel II ไม่สามารถดูแลเสถียรภาพของระบบการเงินของแต่ละประเทศและของโลกได้ดังที่คาดหวังกัน โดยเฉพาะประเด็นการใช้ระบบบริหารความเสี่ยงโดยอิงกับข้อมูลที่ได้มาจากกลไกตลาดในการกำกับดูแลสถาบันการเงิน การที่สถาบันการเงินใช้ระบบหรือแบบจำลองบริหารความเสี่ยงที่เหมือนๆ กัน รวมทั้งมีแนวทางปรับตัวคล้ายๆ กัน และการคำนวณราคาสินทรัพย์โดยอิงราคาตลาด (Mark to Market) ในยามที่ราคาตลาดตกต่ำ ทำให้ต้องมีการกันสำรองในสัดส่วนสูงขึ้น ในช่วงที่สถาบันการเงินประสบปัญหาจะเป็นการซ้ำเติมฐานการเงินให้แย่ลงไปอีก
เท่าที่ทราบขณะนี้มีประมาณหนึ่งร้อยประเทศที่จะนำ Basel II มาใช้ แต่ก็มีหลายประเทศที่ชะลอหรือเลื่อนการใช้ Basel II เช่น ประเทศตุรกีได้ประกาศเลิกการนำ Basel II มาใช้อย่างไม่มีกำหนด ส่วนสหรัฐฯ เองก็ประกาศไม่นำมาใช้กับสถาบันการเงินขนาดกลางและเล็ก อินเดียก็ขอเลื่อนการใช้ออกไปจากปี 2550 เป็นกลางปีนี้ นอกจากนี้ประเทศสเปนได้ริเริ่มนำระบบการกันสำรองแบบใหม่ที่เรียกว่า Dynamic Provisioning or Counter-cyclical Provisioning มาใช้เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินของสถาบันการเงิน วิธีการก็คือ ให้มีการกันสำรองในสัดส่วนสูงในช่วงเศรษฐกิจดีและมีความเสี่ยงต่ำ (เพื่อป้องกันการขยายตัวแบบเกินตัว) แต่ให้กันสำรองในสัดส่วนต่ำลงในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ เพื่อบรรเทาผลกระทบ อีกทั้งในช่วงขาลงสถาบันการเงินก็สามารถนำเงินกองทุนที่สำรองไว้ในช่วงดีมาใช้ได้ วิธีการที่สเปนใช้เปรียบเสมือนกลไกรักษาเสถียรภาพโดยอัตโนมัตินั่นเอง ข้อเท็จจริงเหล่านี้เป็นสิ่งสะท้อนว่าคงต้องมีการทบทวนระบบการกำกับดูแลตามกรอบ Basel II ซึ่งเชื่อว่าคณะกรรมการ Basel Committee จะได้นำไปปรับปรุงให้สอดรับกับการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงินได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป
เนื่องจากสถาบันการเงินเป็นตัวกลางทางการเงินเกี่ยวข้องกับประชาชนผู้ฝากเงินนับล้านในฐานะเป็นลูกหนี้ ในทางตรงข้ามก็เป็นเจ้าหนี้ด้วยในฐานะผู้ปล่อยสินเชื่อให้หน่วยธุรกิจและประชาชน ดังนั้นหากสถาบันการเงินเกิดปัญหาย่อมกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้างมาก ดังนั้นในความเห็นของผู้เขียนเป้าหมายของการกำกับดูแลสถาบันการเงินก็คือต้องการให้สถาบันการเงินดำเนินธุรกิจด้วยความรอบคอบระมัดระวัง ให้มีฐานะการเงินที่มั่นคง ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีระบบบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดี
นอกจากนี้ ในกรณีของประเทศไทยก็ควรส่งเสริมให้สถาบันการเงินไทยมีความสามารถ ในการแข่งขันกันได้กับต่างชาติได้ด้วยหากมีการเปิดเสรีภาคการเงิน โดยทั่วไปการกำกับดูแล สถาบันการเงินมีทั้งในเชิงปริมาณกับคุณภาพ ในเชิงปริมาณก็คือการกำหนดเกณฑ์ที่เป็นตัวเลขชัดเจน เช่น ระดับความเพียงพอของเงินกองทุน (เป็นอัตราส่วนเทียบกับสินทรัพย์เสี่ยง) การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง การจัดชั้นสินทรัพย์และการกันสำรอง การกระจายความเสี่ยงในการให้สินเชื่อแก่สาขาธุรกิจ ส่วนการกำกับในเชิงคุณภาพ ก็เช่น การบริหารจัดการที่ดีมีธรรมาภิบาล และระบบการตรวจสอบและการควบคุมภายในได้มาตรฐาน เป็นต้น
BIS ได้กำหนดหลักเกณฑ์การกำกับเงินกองทุนของสถาบันการเงินขึ้นในปี 1988 (Basel I) ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้นำมาบังคับใช้ในปี 2536 เป็นต้นมา หลักการของ Basel I ได้แก่ กำหนดให้สถาบันการเงินต้องดำรงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงสำหรับความเสี่ยงด้านเครดิตไม่ต่ำกว่าร้อยละ 8 และต่อมาได้เพิ่มเกณฑ์ให้ต้องดำรงเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงด้านตลาดโดยให้ได้มาตรฐานสากลด้วย
ต่อมาในราวปี 2544 คณะกรรมการ Basel Committee ได้กำหนดเกณฑ์ใหม่ คือ Basel II ขึ้นมาทดแทนของเดิม โดยหลักเกณฑ์การกำกับดูแลตาม Basel II แบ่งออกเป็นสามด้าน (3 Pillars) ได้แก่ 1. การดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำ (เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง รวมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 8.5) คือการกำหนดหลักเกณฑ์คำนวณเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงในด้านเครดิต ด้านปฏิบัติการ และด้านตลาด 2. การกำกับดูแลและสอบทานโดยทางการ หลักการคือกำกับดูแลให้สถาบันการเงินมีระบบบริหารความเสี่ยงที่ดี และมีการดำรงเงินกองทุนรองรับความเสี่ยงที่เหมาะสม ในด้านนี้มีหลักการสี่ข้อ คือ หนึ่ง สถาบันการเงินควรมีกระบวนการประเมินความเพียงพอของเงินกองทุน สอง ผู้กำกับดูแลควรสอบทานกระบวนการ ประเมินความเพียงพอของเงินกองทุน และกลยุทธ์การดำรงเงินกองทุน สาม สถาบันการเงินควรดำรงเงินกองทุนสูงกว่าเกณฑ์การดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำ และสี่ หน่วยงานกำกับดูแลควรเข้าแทรกแซงแต่เนิ่นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เงินกองทุนต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด และด้านที่ 3 การใช้กลไกตลาดในการกำกับดูแล คือแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินความเพียงพอของเงินกองทุน และการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงิน
ข้อสังเกตสำหรับเกณฑ์ Basel II ซึ่งทางการไทยกำลังนำมาใช้ในปี 2552 นี้ ได้ปรับเปลี่ยนแนวทางการคำนวณสินทรัพย์เสี่ยงให้ครอบคลุมประเภทความเสี่ยงมากขึ้น มีการกำหนดการดำรงเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการคำนวณเงินกองทุนสะท้อนความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น เพิ่มทางเลือกในการประเมินความเสี่ยง และให้ความสำคัญต่อการกำกับดูแลของทางการ และการเปิดเผยข้อมูลมากขึ้น
ปัญหาวิกฤตการเงินของโลกที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศมหาอำนาจด้านเศรษฐกิจการเงิน (อยู่ใน G-10 และเป็นกรรมการ Basel ด้วย) เป็นข้อเท็จจริงที่สะท้อนว่าระบบการกำกับดูแลสถาบันการเงินของ Basel II ไม่สามารถดูแลเสถียรภาพของระบบการเงินของแต่ละประเทศและของโลกได้ดังที่คาดหวังกัน โดยเฉพาะประเด็นการใช้ระบบบริหารความเสี่ยงโดยอิงกับข้อมูลที่ได้มาจากกลไกตลาดในการกำกับดูแลสถาบันการเงิน การที่สถาบันการเงินใช้ระบบหรือแบบจำลองบริหารความเสี่ยงที่เหมือนๆ กัน รวมทั้งมีแนวทางปรับตัวคล้ายๆ กัน และการคำนวณราคาสินทรัพย์โดยอิงราคาตลาด (Mark to Market) ในยามที่ราคาตลาดตกต่ำ ทำให้ต้องมีการกันสำรองในสัดส่วนสูงขึ้น ในช่วงที่สถาบันการเงินประสบปัญหาจะเป็นการซ้ำเติมฐานการเงินให้แย่ลงไปอีก
เท่าที่ทราบขณะนี้มีประมาณหนึ่งร้อยประเทศที่จะนำ Basel II มาใช้ แต่ก็มีหลายประเทศที่ชะลอหรือเลื่อนการใช้ Basel II เช่น ประเทศตุรกีได้ประกาศเลิกการนำ Basel II มาใช้อย่างไม่มีกำหนด ส่วนสหรัฐฯ เองก็ประกาศไม่นำมาใช้กับสถาบันการเงินขนาดกลางและเล็ก อินเดียก็ขอเลื่อนการใช้ออกไปจากปี 2550 เป็นกลางปีนี้ นอกจากนี้ประเทศสเปนได้ริเริ่มนำระบบการกันสำรองแบบใหม่ที่เรียกว่า Dynamic Provisioning or Counter-cyclical Provisioning มาใช้เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินของสถาบันการเงิน วิธีการก็คือ ให้มีการกันสำรองในสัดส่วนสูงในช่วงเศรษฐกิจดีและมีความเสี่ยงต่ำ (เพื่อป้องกันการขยายตัวแบบเกินตัว) แต่ให้กันสำรองในสัดส่วนต่ำลงในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ เพื่อบรรเทาผลกระทบ อีกทั้งในช่วงขาลงสถาบันการเงินก็สามารถนำเงินกองทุนที่สำรองไว้ในช่วงดีมาใช้ได้ วิธีการที่สเปนใช้เปรียบเสมือนกลไกรักษาเสถียรภาพโดยอัตโนมัตินั่นเอง ข้อเท็จจริงเหล่านี้เป็นสิ่งสะท้อนว่าคงต้องมีการทบทวนระบบการกำกับดูแลตามกรอบ Basel II ซึ่งเชื่อว่าคณะกรรมการ Basel Committee จะได้นำไปปรับปรุงให้สอดรับกับการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงินได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป