“กัมปนาท” นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ เปิดวิสัยทัศน์ปี 52 เน้นลดต้นทุน-เสริมความแข็งแกร่งธุรกิจหลักทรัพย์ หวังเพิ่มศักยภาพการแข่งขันรองรับเปิดเสรี พร้อมเดินหน้าเตรียมเจรจาแบงก์-กรมสรรพากร เพื่อลดค่าธรรมเนียมและภาษี เพิ่มความรู้ความเข้าใจให้ครอบคลุมเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในหลักทรัพย์ทุกสายงาน-เพิ่มแหล่งรายได้แสดงหาโอกาสในการขยายธุรกิจ
นายกัมปนาท โลหเจริญวนิช กรรมการอำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.)ทรีนีตี้ จำกัด และในฐานะนายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) เปิดเผยถึง นโยบายและแผนการดำเนินงานของสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ ในปี 2552 ว่า สมาคมโบรกเกอร์จะมุ่งเน้นสร้างความเข้มแข็งของสมาชิกด้วยการบริหารความเสี่ยงและลดต้นทุนการดำเนินงาน เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงให้แก่บริษัทหลักทรัพย์ โดยจะแบ่งแผนการดำเนินงานออกเป็น 4 ด้าน
โดยแผนงานด้านที่ 1 คือการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันเพื่อรองรับการเปิดเสรีธุรกิจหลักทรัพย์ ด้วยการลดต้นทุนการดำเนินงานของธุรกิจหลักทรัพย์ โดยสมาคมโบรกเกอร์จะได้ดำเนินการในเรื่องต่างๆ เช่น การเจรจากับธนาคารพาณิชย์เกี่ยวกับค่าธรรมเนียมการตัดบัญชีอัตโนมัติ การประสานงานกับกรมสรรพากรเรื่อง E-Statement การติดต่อบริษัทที่ปรึกษากฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรสำหรับค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บแทนตลาดหลักทรัพย์ฯ การผลักดันให้มีการออกกฎระเบียบที่เอื้อต่อการพัฒนาธุรกิจ รวมถึงการแก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจ การพัฒนาบุคลากรของธุรกิจหลักทรัพย์ โดยยังคงจะจัดการอบรมและทดสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน การอบรมทบทวนความรู้ เพื่อการต่อใบอนุญาตการเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และจัดการอบรมทบทวนความรู้ เพื่อการต่อใบอนุญาตการเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน
พร้อมกันนี้ สมาคมจะจัดการฝึกอบรมสัมมนาให้แก่สมาชิก เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจให้ครอบคลุมเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในบริษัทหลักทรัพย์ทุกสายงาน การเพิ่มแหล่งรายได้แสดงหาโอกาสในการขยายธุรกิจ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ อาทิ ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (DW) หรือ TCR หลังจากที่มีการซื้อขายโกลด์ฟิวเจอร์ รวมถึงการปรับปรุงโครงสร้างการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมที่เหมาะสม
งานด้านที่ 2 การดำเนินธุรกิจตามแนวทางการปฏิบัติงานที่ดี เพื่อเพิ่มระดับการบริหารความเสี่ยงของบริษัทหลักทรัพย์ โดยจะจัดการอบรมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับบริษัทหลักทรัพย์เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง โดยจะเชิญวิทยากรจาก บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด และผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ต่างประเทศเพื่อบรรยายถึงวิธีการและประสบการณ์ในเรื่องดังกล่าว การพัฒนามาตรฐานการดำเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์และบุคลากร และข้อความมาตรฐานเกี่ยวกับการโอนลูกค้า และการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักทรัพย์
งานด้านที่ 3 การสร้างพันธมิตรเน้นประโยชน์ร่วมกัน สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเชื่อมโยงและเอื้อประโยชน์ร่วมกัน ดังนี้ คงความสัมพันธ์ที่ดีกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เช่น การประชุมรายไตรมาสกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) การประชุมร่วมกับตลาดหลักทรัพย์ฯ การกระชับสัมพันธ์กับองค์กรที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ในต่างประเทศ บริหารความสัมพันธ์ที่ดีกับสื่อมวลชน โดยจะจัดแถลงข่วในเดือนมีนาคม 2552 และงานด้านสุดท้าย การพัฒนาและยกระดับสมาคม หรือชมรมภายใต้สมาคมขึ้นเป็น SRO
“การดำเนินงานของสมาคมโบรกเกอร์เหมือนกับวนกลับมาที่เดิม ซึ่งก่อนหน้านี้สมาคมโบรกเกอร์ได้มีการผลักดันที่จะลดในกฎเกณฑ์การปฏิบัติต่างๆ ให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ แต่มาในปีนี้จะต้องมีการดำเนินการเหมือนเก่า เช่น การจัดเก็บเทปบันทึกคำสั่งซื้อขายซึ่งจะเก็บ 1 เดือน กว่าที่จะได้นานมาก แต่มาปีนี้จะกลับมาให้เก็บเป็น 3 เดือนเหมือนเดิม ฯลฯ” นายกัมปนาทกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในเรื่องบุคลากร ในส่วนของเจ้าหน้าที่การตลาด (มาร์เกตติ้ง) จากสิ้นปีที่ผ่านมามีจำนวนมาร์เกตติ้งคงเหลืออยู่ประมาณ 6.1 พันราย ลดลงจากปีก่อนที่มีอยู่ถึง 6.4 พันราย ซึ่งหายไปกว่า 300 ราย นับว่าลดลงเป็นจำนวนมาก โดยน่าจะมีสาเหตุหลักจากภาวะตลาดหุ้นที่ซบเซา
นายกัมปนาท โลหเจริญวนิช กรรมการอำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.)ทรีนีตี้ จำกัด และในฐานะนายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) เปิดเผยถึง นโยบายและแผนการดำเนินงานของสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ ในปี 2552 ว่า สมาคมโบรกเกอร์จะมุ่งเน้นสร้างความเข้มแข็งของสมาชิกด้วยการบริหารความเสี่ยงและลดต้นทุนการดำเนินงาน เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงให้แก่บริษัทหลักทรัพย์ โดยจะแบ่งแผนการดำเนินงานออกเป็น 4 ด้าน
โดยแผนงานด้านที่ 1 คือการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันเพื่อรองรับการเปิดเสรีธุรกิจหลักทรัพย์ ด้วยการลดต้นทุนการดำเนินงานของธุรกิจหลักทรัพย์ โดยสมาคมโบรกเกอร์จะได้ดำเนินการในเรื่องต่างๆ เช่น การเจรจากับธนาคารพาณิชย์เกี่ยวกับค่าธรรมเนียมการตัดบัญชีอัตโนมัติ การประสานงานกับกรมสรรพากรเรื่อง E-Statement การติดต่อบริษัทที่ปรึกษากฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรสำหรับค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บแทนตลาดหลักทรัพย์ฯ การผลักดันให้มีการออกกฎระเบียบที่เอื้อต่อการพัฒนาธุรกิจ รวมถึงการแก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจ การพัฒนาบุคลากรของธุรกิจหลักทรัพย์ โดยยังคงจะจัดการอบรมและทดสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน การอบรมทบทวนความรู้ เพื่อการต่อใบอนุญาตการเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และจัดการอบรมทบทวนความรู้ เพื่อการต่อใบอนุญาตการเป็นผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน
พร้อมกันนี้ สมาคมจะจัดการฝึกอบรมสัมมนาให้แก่สมาชิก เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจให้ครอบคลุมเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในบริษัทหลักทรัพย์ทุกสายงาน การเพิ่มแหล่งรายได้แสดงหาโอกาสในการขยายธุรกิจ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ อาทิ ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (DW) หรือ TCR หลังจากที่มีการซื้อขายโกลด์ฟิวเจอร์ รวมถึงการปรับปรุงโครงสร้างการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมที่เหมาะสม
งานด้านที่ 2 การดำเนินธุรกิจตามแนวทางการปฏิบัติงานที่ดี เพื่อเพิ่มระดับการบริหารความเสี่ยงของบริษัทหลักทรัพย์ โดยจะจัดการอบรมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับบริษัทหลักทรัพย์เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง โดยจะเชิญวิทยากรจาก บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด และผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ต่างประเทศเพื่อบรรยายถึงวิธีการและประสบการณ์ในเรื่องดังกล่าว การพัฒนามาตรฐานการดำเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์และบุคลากร และข้อความมาตรฐานเกี่ยวกับการโอนลูกค้า และการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักทรัพย์
งานด้านที่ 3 การสร้างพันธมิตรเน้นประโยชน์ร่วมกัน สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเชื่อมโยงและเอื้อประโยชน์ร่วมกัน ดังนี้ คงความสัมพันธ์ที่ดีกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เช่น การประชุมรายไตรมาสกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) การประชุมร่วมกับตลาดหลักทรัพย์ฯ การกระชับสัมพันธ์กับองค์กรที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ในต่างประเทศ บริหารความสัมพันธ์ที่ดีกับสื่อมวลชน โดยจะจัดแถลงข่วในเดือนมีนาคม 2552 และงานด้านสุดท้าย การพัฒนาและยกระดับสมาคม หรือชมรมภายใต้สมาคมขึ้นเป็น SRO
“การดำเนินงานของสมาคมโบรกเกอร์เหมือนกับวนกลับมาที่เดิม ซึ่งก่อนหน้านี้สมาคมโบรกเกอร์ได้มีการผลักดันที่จะลดในกฎเกณฑ์การปฏิบัติต่างๆ ให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ แต่มาในปีนี้จะต้องมีการดำเนินการเหมือนเก่า เช่น การจัดเก็บเทปบันทึกคำสั่งซื้อขายซึ่งจะเก็บ 1 เดือน กว่าที่จะได้นานมาก แต่มาปีนี้จะกลับมาให้เก็บเป็น 3 เดือนเหมือนเดิม ฯลฯ” นายกัมปนาทกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในเรื่องบุคลากร ในส่วนของเจ้าหน้าที่การตลาด (มาร์เกตติ้ง) จากสิ้นปีที่ผ่านมามีจำนวนมาร์เกตติ้งคงเหลืออยู่ประมาณ 6.1 พันราย ลดลงจากปีก่อนที่มีอยู่ถึง 6.4 พันราย ซึ่งหายไปกว่า 300 ราย นับว่าลดลงเป็นจำนวนมาก โดยน่าจะมีสาเหตุหลักจากภาวะตลาดหุ้นที่ซบเซา