นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวตอนหนึ่งในรายการ เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์ ซึ่งออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ NBT กรมประชาสัมพันะ ถึงการขึ้นเงินเดือนให้กำนันผู้ใหญ่บ้านว่า เรื่องนี้มีการมาดูกันอยู่ เนื่องจากรัฐบาลก่อนนี้มีการพูดถึงเรื่องนี้ แต่ยังไม่ได้มีมติ ครม. ออกมา และปัญหาอันหนึ่งคือ เนื่องจากไม่ได้เตรียมงบประมาณไว้ หากจะบอกว่านายกรัฐมนตรีมีงบกลาง (งบประมาณประจำสำนักนายนกรัฐมนตรี)
ทุกคนมาขอใหญ่เลยว่านายกฯ มีงบกลาง ตรงนี้งบกลางตามกฎหมายงบประมาณเขาจัดเตรียมไว้ 45,000 ล้าน (งบรายจ่ายปกติปี 2552) ผมเข้ามาเดือนธันวาคม 2552 ปรากฏว่าที่ใช้ไปแล้วหรือที่ถูกผูกมัดเอาไว้แล้วว่าต้องใช้นี้หมดไปแล้ว ประมาณ 30,000 ล้าน ผมเหลืออยู่ 15,000 ล้านโดยประมาณ ตอนนี้ประมาณ 14,000 / 13,000 ล้านบาท นายอภิสิทธิ์แฉ
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่าตนคาดว่าภัยแล้งปีนี้จะรุนแรงกว่าทุกปี และตอนนี้ก็ได้ขอให้ทางกระทรวงมหาดไทยกับกระทรวงเกษตรฯ เร่งไปสำรวจล่วงหน้าเลย ในเรื่องของภัยแล้ง เพราะฉะนั้นเงินตรงนี้ต้องใช้จ่ายด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากเหลือเวลาบริหารงบประมาณปกติปี 2552 อีกกว่าครึ่งปีหรือเหลือ 8 เดือนที่จะต้องใช้เงินตัวนี้
แต่ในหลักการนี้(เงินเดือนกำนันผู้ใหญ่บ้าน) ส่วนหนึ่งจะมีมาตรการ ช่วยเหลือค่าครองชีพผู้มีรายได้น้อยในส่วนขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) คนละ 2,000 บาท แต่อีกส่วนหนึ่งได้หารือกันแล้วว่าการปรับค่าตอบแทนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และเจ้าหน้าที่ในกลุ่มนี้ทั้งหมด คงทำในปีงบประมาณรายจ่ายปี 2553 และกำลังไปดูตัวเลขว่าจะให้ได้เท่าไรอย่างไร ตามกำลังของงบประมาณที่จำกัด
รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านั้น ในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการนำเรื่องการปรับขึ้นเงินเดือนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มาเป็นนโยบาย และสมัย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เป็นรมว.มหาดไทยครั้งนั้น ร.ต.อ.เฉลิม ก็เป็นผู้กำหนด นโยบาย นอกจากนั้นยังมีกรณีของการยืนเรื่องเสนอให้ กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน ดำรงตำแหน่งอยู่ได้โดยไม่จำกัดวาระ ซึ่งปกติจะอยู่ได้สูงสุดเพียง 8 ปีเท่านั้น เนื่องจากการเพิ่มเงินค่าตอบแทนให้กับกำนันผู้ใหญ่บ้านครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2549
ขณะเดียวกัน สมัยพล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ เป็นรมว.มหาดไทย ได้ทำหนังสือถึงเลขาธิการนายกรัฐมนตรี แต่ได้ถอนเรื่องออกจากคณะรัฐมนตรี เพื่อให้นำเรื่องการปรับเพิ่มอัตราเงินค่าตอบแทนตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ เข้าสู่การประชุม ครม. โดยกำหนดอัตราเงินเดือนเพิ่มขึ้น 100 % ในทุกตำแหน่ง อาทิ กำนัน ปัจจุบันอัตราค่าตอบแทนต่อเดือน 5,000 บาท เพิ่มเป็น 10,000 บาท ผู้ใหญ่บ้าน 4,000 บาท เพิ่มเป็น 8,000 บาท แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ 2,500 บาท เพิ่มเป็น 5,000 บาท โดยงบประมาณที่ใช้ขึ้นเงินเดือนกำนันผู้ใหญ่บ้านครั้งนี้ ต้องใช้เงินสูงถึง 10,234,380,000 บาทต่อปี
โดยมีเหตุผลการขึ้นเงินตอบแทน ว่า เนื่องจากกำนัน-ผู้ใหญ่บ้านเป็นกลไกสำคัญของรัฐบาลในการสนองนโยบายระดับตำบล หมู่บ้าน ที่ต้องบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้ราษฎรตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุด แต่มีค่าตอบแทนและสวัสดิการน้อยมาก จึงควรปรับปรุงอัตราค่าตอบแทนให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม ซึ่งถูกมองว่าเป็นการดึงคะแนนนิยมจากกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน ให้เป็นฐานเสียงรองรับการเลือกตั้งที่อาจเกิดขึ้นในเร็วๆนี้
รายงานข่าวแจ้งว่า ขณะที่มีผู้ออกมาคัดค้านจำนวนมาก โดยบ้างก็เห็นว่า การเพิ่มเงินค่าตอบแทนให้กำนัน เงินเดือน 1 หมื่นบาท ถือว่า มากกว่าคนจบปริญญาโทแล้วเข้ารับราชการ และยิ่งไปกว่านั้น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จะอยู่จนเกษียณอายุราชการ 60 ปี และยังได้อยู่ยาว ไม่ต้องดิ้นรน 4 ปีมาลงเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง ซึ่งเมื่อตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้านว่างลง ทั้งๆ ที่เงินเดือนใหม่ยังไม่ได้ปรับ ก็จะมีคนไปลงสมัครรอ โดยเฉพาะ นักการเมืองท้องถิ่น ทั้ง อบจ. และ อบต.เป็นต้น
ทุกคนมาขอใหญ่เลยว่านายกฯ มีงบกลาง ตรงนี้งบกลางตามกฎหมายงบประมาณเขาจัดเตรียมไว้ 45,000 ล้าน (งบรายจ่ายปกติปี 2552) ผมเข้ามาเดือนธันวาคม 2552 ปรากฏว่าที่ใช้ไปแล้วหรือที่ถูกผูกมัดเอาไว้แล้วว่าต้องใช้นี้หมดไปแล้ว ประมาณ 30,000 ล้าน ผมเหลืออยู่ 15,000 ล้านโดยประมาณ ตอนนี้ประมาณ 14,000 / 13,000 ล้านบาท นายอภิสิทธิ์แฉ
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่าตนคาดว่าภัยแล้งปีนี้จะรุนแรงกว่าทุกปี และตอนนี้ก็ได้ขอให้ทางกระทรวงมหาดไทยกับกระทรวงเกษตรฯ เร่งไปสำรวจล่วงหน้าเลย ในเรื่องของภัยแล้ง เพราะฉะนั้นเงินตรงนี้ต้องใช้จ่ายด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากเหลือเวลาบริหารงบประมาณปกติปี 2552 อีกกว่าครึ่งปีหรือเหลือ 8 เดือนที่จะต้องใช้เงินตัวนี้
แต่ในหลักการนี้(เงินเดือนกำนันผู้ใหญ่บ้าน) ส่วนหนึ่งจะมีมาตรการ ช่วยเหลือค่าครองชีพผู้มีรายได้น้อยในส่วนขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) คนละ 2,000 บาท แต่อีกส่วนหนึ่งได้หารือกันแล้วว่าการปรับค่าตอบแทนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และเจ้าหน้าที่ในกลุ่มนี้ทั้งหมด คงทำในปีงบประมาณรายจ่ายปี 2553 และกำลังไปดูตัวเลขว่าจะให้ได้เท่าไรอย่างไร ตามกำลังของงบประมาณที่จำกัด
รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านั้น ในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการนำเรื่องการปรับขึ้นเงินเดือนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มาเป็นนโยบาย และสมัย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เป็นรมว.มหาดไทยครั้งนั้น ร.ต.อ.เฉลิม ก็เป็นผู้กำหนด นโยบาย นอกจากนั้นยังมีกรณีของการยืนเรื่องเสนอให้ กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน ดำรงตำแหน่งอยู่ได้โดยไม่จำกัดวาระ ซึ่งปกติจะอยู่ได้สูงสุดเพียง 8 ปีเท่านั้น เนื่องจากการเพิ่มเงินค่าตอบแทนให้กับกำนันผู้ใหญ่บ้านครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2549
ขณะเดียวกัน สมัยพล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ เป็นรมว.มหาดไทย ได้ทำหนังสือถึงเลขาธิการนายกรัฐมนตรี แต่ได้ถอนเรื่องออกจากคณะรัฐมนตรี เพื่อให้นำเรื่องการปรับเพิ่มอัตราเงินค่าตอบแทนตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ เข้าสู่การประชุม ครม. โดยกำหนดอัตราเงินเดือนเพิ่มขึ้น 100 % ในทุกตำแหน่ง อาทิ กำนัน ปัจจุบันอัตราค่าตอบแทนต่อเดือน 5,000 บาท เพิ่มเป็น 10,000 บาท ผู้ใหญ่บ้าน 4,000 บาท เพิ่มเป็น 8,000 บาท แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ 2,500 บาท เพิ่มเป็น 5,000 บาท โดยงบประมาณที่ใช้ขึ้นเงินเดือนกำนันผู้ใหญ่บ้านครั้งนี้ ต้องใช้เงินสูงถึง 10,234,380,000 บาทต่อปี
โดยมีเหตุผลการขึ้นเงินตอบแทน ว่า เนื่องจากกำนัน-ผู้ใหญ่บ้านเป็นกลไกสำคัญของรัฐบาลในการสนองนโยบายระดับตำบล หมู่บ้าน ที่ต้องบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้ราษฎรตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุด แต่มีค่าตอบแทนและสวัสดิการน้อยมาก จึงควรปรับปรุงอัตราค่าตอบแทนให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม ซึ่งถูกมองว่าเป็นการดึงคะแนนนิยมจากกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน ให้เป็นฐานเสียงรองรับการเลือกตั้งที่อาจเกิดขึ้นในเร็วๆนี้
รายงานข่าวแจ้งว่า ขณะที่มีผู้ออกมาคัดค้านจำนวนมาก โดยบ้างก็เห็นว่า การเพิ่มเงินค่าตอบแทนให้กำนัน เงินเดือน 1 หมื่นบาท ถือว่า มากกว่าคนจบปริญญาโทแล้วเข้ารับราชการ และยิ่งไปกว่านั้น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จะอยู่จนเกษียณอายุราชการ 60 ปี และยังได้อยู่ยาว ไม่ต้องดิ้นรน 4 ปีมาลงเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง ซึ่งเมื่อตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้านว่างลง ทั้งๆ ที่เงินเดือนใหม่ยังไม่ได้ปรับ ก็จะมีคนไปลงสมัครรอ โดยเฉพาะ นักการเมืองท้องถิ่น ทั้ง อบจ. และ อบต.เป็นต้น