"หมอประเวศ" เผย 10 วิธีปฏิรูปประเทศไทย ฝ่าวิกฤติความขัดแย้ง ชี้ใช้อำนาจไม่ช่วยแก้ปัญหา ต้องแก้ด้วยพลังความรู้ ดึงมหาวิทยาลัยตั้งสถาบันวิจัยนโยบายสาธารณะ สร้างงานวิจัยแก้ไขปัญหา ขณะที่ "มาร์ก"สั่งสภาพัฒน์เขียนแผน11 เป็นภาษาชาวบ้าน ชี้ให้ยึดมั่นความซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ
วานนี้ (13 ก.พ.) ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ แผนงานสร้างเสริมการเรียนรู้กับสถาบันอุดมศึกษาไทย เพื่อการพัฒนานโยบายสาธารณที่ดี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดการสัมมนาเรื่อง "มหาวิทยาลัยกับจิตนาการใหม่ เพื่อการพัฒนานโยบายสาธารณะที่ดี" โดย นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส กล่าวว่า ประเทศกำลังเผชิญวิกฤติการณ์ชาติ ซึ่งเป็นวิกฤติจากทุกด้าน ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม ซึ่งมีความซับซ้อน และถือเป็นวิกฤติคลื่นลูกที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะไม่สามารถรู้ว่า ใครเป็นศัตรู จึงไม่สามารถกำหนดยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาได้อย่างชัดเจน ขณะที่กลไกของภาครัฐก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ โดยเฉพาะการใช้อำนาจแก้ไขปัญหา ซึ่งตนเคยเตือน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในสมัยที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ว่า ใช้อำนาจแก้ไขปัญหาไม่ได้ ไม่เช่นนั้นอำนาจจะตีกลับ แต่ต้องใช้ปัญญา ซึ่งมหาวิทยาลัย ถือเป็นกลไกที่สำคัญในการแก้ไขปัญหา เพราะเป็นแหล่งขุมกำลังความรู้ที่มีอยู่มากที่สุด
นพ.ประเวศ กล่าวว่า สาเหตุที่มหาวิทยาลัยยังไม่มีพลังทางปัญญา เพราะแบ่งความรู้ออกเป็นคณะ และภาควิชา ทำให้ความรู้ถูกกระจายแบบแยกส่วน จึงต้องมองภาพรวมเชิงระบบเพื่อให้เกิดพลังทางปัญญา และสามารถเน้นหนักในเรื่องที่สำคัญของการแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด
ดังนั้นแต่ละมหาวิทยาลัยจึงควรตั้งสถาบันวิจัยนโยบายสาธารณะ เพื่อมองภาพรวมทั้งระบบ และการรักษาดุลยภาพทางสังคม ควรประกอบด้วย ส่วนฐานคือ ชุมชนท้องถิ่นต้องเข้มแข็ง ตัวเจดีย์คือองค์กรต่างๆ และส่วนยอดคือ ความเป็นธรรมทางสังคม ซึ่งความเป็นธรรมถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในสังคม เพราะถ้าไม่มีความเป็นธรรม ก็จะเกิดความขัดแย้งในสังคม
"การปฏิรูปประเทศไทยเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติของประเทศในขณะนี้ควรทำใน 10 ด้าน ที่สำคัญคือ 1. การสร้างจิตสำนึกใหม่ 2. การสร้างสัมมาชีพเต็มพื้นที่ หรือการกระจายรายได้ให้ครอบคลุม 3. การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น 4. การสร้างระบบการศึกษาที่พาชาติออกจากวิกฤติ 5. การสร้างธรรมาภิบาลด้านการเมือง การปกครอง และระบบบยุติธรรม 6. การสร้างระบบสวัสดิการสังคม 7. การสร้างความสมดุลของสิ่งแวดล้อม และพลังงาน 8. การสร้างระบบสุขภาพเพื่อคนทั้งมวล 9. การสร้างการวิจัยยุทธศาสตร์ชาติ และ 10. การสร้างระบบการสื่อสารที่สร้างสรรค์"นพ.ประเวศกล่าว
ใช้ภาษาชาวบ้านเขียนแผน11
ในวันเดียวกันนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในระหว่างร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนา 59 ปีของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ว่า ได้มอบหมายให้สภาพัฒน์ปรับปรุงการจัดทำแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ให้ฉีกแนวไปจากเดิม โดยจับกระแสหลักของโลก กระเปลี่ยนแปลงของระบอบประชาธิปไตย มาจัดทำเป็นแผนเพื่อให้รัฐบาลตัดสินใจได้ถูกต้อง โดยเป็นผู้กุมหางเสือของประเทศให้ได้ ไม่ว่าคลื่นลมหรือกระแสน้ำจะพัดพาไปอย่างไรก็ตาม ขณะเดียวกันต้องเปลี่ยนวิธีการเขียนแผนพัฒนาฯใหม่ โดยใช้ภาษาง่ายๆ ที่ประชาชนอาจแล้วเข้าใจได้และสามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมได้ เพราะที่ผ่านมาการเขียนแผนพัฒนาฯ ยืดยาวและเข้าใจยาก
ทั้งนี้ สภาพัฒน์ ต้องคงไว้ซึ่งการเป็นนักวิชาการ ยึดมั่นในระบบธรรมาภิบาล ซื่อตรง ซื่อสัตย์ ต่อวิชาชีพ แม้ว่าการทำงานจะมีแรงกดดันจากหลายฝ่าย จากทั้งรัฐบาล หรือจากองค์กรอิสระ เช่นสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป.) หรือสภาพัฒนาการเมือง โดยเฉพาะรัฐบาลที่เป็นผู้กำหนดนโยบายและต้องรับผิดชอบต่อนโยบายนั้น ๆ ดังนั้นจะปิดหูปิดตาแล้วเดินตามนโยบายของรัฐบาลไม่ได้ แม้ว่าในบางยุคของการเมือง จะมีเรื่องอื่นที่เป็นวาระซ่อนเร้นอยู่ในนโยบายนั้นก็ตาม โดยสภาพัฒน์ต้องเป็นหน่วยงานที่สามารถชี้นำในระยะกลางและระยะยาวได้ เพราะถือเป็นคลังสมองของประเทศ
“สภาพัฒน์ต้องหาจุดสมดุลให้ได้ว่า จะทำงานให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลได้อย่างไร ท่ามกลางความเข้มแข็งของระบอบประชาธิปไตยที่ได้รับฉันทานุมัติในเชิงนโยบายจากประชาชนว่าต้องการอะไร”
ด้านนายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสภาพัฒน์ กล่าวว่า สภาพัฒน์มั่นใจว่าได้ทำหน้าที่ในทางวิชาการอย่างดีที่สุดอยู่แล้ว และกล้าที่จะรับฟัง กล้านำความคิดเห็นของฝ่ายการเมืองมาปรับปรุง ไม่ใช่ว่าฝ่ายการเมืองเสนอความคิดเห็นแล้วจะดำเนินการตามทุกเรื่อง อย่างไรก็ตามการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นครั้งนี้สภาพัฒน์จะนำมาปรับปรุงให้การทำงานของสภาพัฒน์เป็นคลังสมองที่สมบูรณ์ต่อไป
วานนี้ (13 ก.พ.) ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ แผนงานสร้างเสริมการเรียนรู้กับสถาบันอุดมศึกษาไทย เพื่อการพัฒนานโยบายสาธารณที่ดี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดการสัมมนาเรื่อง "มหาวิทยาลัยกับจิตนาการใหม่ เพื่อการพัฒนานโยบายสาธารณะที่ดี" โดย นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส กล่าวว่า ประเทศกำลังเผชิญวิกฤติการณ์ชาติ ซึ่งเป็นวิกฤติจากทุกด้าน ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม ซึ่งมีความซับซ้อน และถือเป็นวิกฤติคลื่นลูกที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะไม่สามารถรู้ว่า ใครเป็นศัตรู จึงไม่สามารถกำหนดยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาได้อย่างชัดเจน ขณะที่กลไกของภาครัฐก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ โดยเฉพาะการใช้อำนาจแก้ไขปัญหา ซึ่งตนเคยเตือน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในสมัยที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ว่า ใช้อำนาจแก้ไขปัญหาไม่ได้ ไม่เช่นนั้นอำนาจจะตีกลับ แต่ต้องใช้ปัญญา ซึ่งมหาวิทยาลัย ถือเป็นกลไกที่สำคัญในการแก้ไขปัญหา เพราะเป็นแหล่งขุมกำลังความรู้ที่มีอยู่มากที่สุด
นพ.ประเวศ กล่าวว่า สาเหตุที่มหาวิทยาลัยยังไม่มีพลังทางปัญญา เพราะแบ่งความรู้ออกเป็นคณะ และภาควิชา ทำให้ความรู้ถูกกระจายแบบแยกส่วน จึงต้องมองภาพรวมเชิงระบบเพื่อให้เกิดพลังทางปัญญา และสามารถเน้นหนักในเรื่องที่สำคัญของการแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด
ดังนั้นแต่ละมหาวิทยาลัยจึงควรตั้งสถาบันวิจัยนโยบายสาธารณะ เพื่อมองภาพรวมทั้งระบบ และการรักษาดุลยภาพทางสังคม ควรประกอบด้วย ส่วนฐานคือ ชุมชนท้องถิ่นต้องเข้มแข็ง ตัวเจดีย์คือองค์กรต่างๆ และส่วนยอดคือ ความเป็นธรรมทางสังคม ซึ่งความเป็นธรรมถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในสังคม เพราะถ้าไม่มีความเป็นธรรม ก็จะเกิดความขัดแย้งในสังคม
"การปฏิรูปประเทศไทยเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติของประเทศในขณะนี้ควรทำใน 10 ด้าน ที่สำคัญคือ 1. การสร้างจิตสำนึกใหม่ 2. การสร้างสัมมาชีพเต็มพื้นที่ หรือการกระจายรายได้ให้ครอบคลุม 3. การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น 4. การสร้างระบบการศึกษาที่พาชาติออกจากวิกฤติ 5. การสร้างธรรมาภิบาลด้านการเมือง การปกครอง และระบบบยุติธรรม 6. การสร้างระบบสวัสดิการสังคม 7. การสร้างความสมดุลของสิ่งแวดล้อม และพลังงาน 8. การสร้างระบบสุขภาพเพื่อคนทั้งมวล 9. การสร้างการวิจัยยุทธศาสตร์ชาติ และ 10. การสร้างระบบการสื่อสารที่สร้างสรรค์"นพ.ประเวศกล่าว
ใช้ภาษาชาวบ้านเขียนแผน11
ในวันเดียวกันนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในระหว่างร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนา 59 ปีของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ว่า ได้มอบหมายให้สภาพัฒน์ปรับปรุงการจัดทำแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ให้ฉีกแนวไปจากเดิม โดยจับกระแสหลักของโลก กระเปลี่ยนแปลงของระบอบประชาธิปไตย มาจัดทำเป็นแผนเพื่อให้รัฐบาลตัดสินใจได้ถูกต้อง โดยเป็นผู้กุมหางเสือของประเทศให้ได้ ไม่ว่าคลื่นลมหรือกระแสน้ำจะพัดพาไปอย่างไรก็ตาม ขณะเดียวกันต้องเปลี่ยนวิธีการเขียนแผนพัฒนาฯใหม่ โดยใช้ภาษาง่ายๆ ที่ประชาชนอาจแล้วเข้าใจได้และสามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมได้ เพราะที่ผ่านมาการเขียนแผนพัฒนาฯ ยืดยาวและเข้าใจยาก
ทั้งนี้ สภาพัฒน์ ต้องคงไว้ซึ่งการเป็นนักวิชาการ ยึดมั่นในระบบธรรมาภิบาล ซื่อตรง ซื่อสัตย์ ต่อวิชาชีพ แม้ว่าการทำงานจะมีแรงกดดันจากหลายฝ่าย จากทั้งรัฐบาล หรือจากองค์กรอิสระ เช่นสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป.) หรือสภาพัฒนาการเมือง โดยเฉพาะรัฐบาลที่เป็นผู้กำหนดนโยบายและต้องรับผิดชอบต่อนโยบายนั้น ๆ ดังนั้นจะปิดหูปิดตาแล้วเดินตามนโยบายของรัฐบาลไม่ได้ แม้ว่าในบางยุคของการเมือง จะมีเรื่องอื่นที่เป็นวาระซ่อนเร้นอยู่ในนโยบายนั้นก็ตาม โดยสภาพัฒน์ต้องเป็นหน่วยงานที่สามารถชี้นำในระยะกลางและระยะยาวได้ เพราะถือเป็นคลังสมองของประเทศ
“สภาพัฒน์ต้องหาจุดสมดุลให้ได้ว่า จะทำงานให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลได้อย่างไร ท่ามกลางความเข้มแข็งของระบอบประชาธิปไตยที่ได้รับฉันทานุมัติในเชิงนโยบายจากประชาชนว่าต้องการอะไร”
ด้านนายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสภาพัฒน์ กล่าวว่า สภาพัฒน์มั่นใจว่าได้ทำหน้าที่ในทางวิชาการอย่างดีที่สุดอยู่แล้ว และกล้าที่จะรับฟัง กล้านำความคิดเห็นของฝ่ายการเมืองมาปรับปรุง ไม่ใช่ว่าฝ่ายการเมืองเสนอความคิดเห็นแล้วจะดำเนินการตามทุกเรื่อง อย่างไรก็ตามการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นครั้งนี้สภาพัฒน์จะนำมาปรับปรุงให้การทำงานของสภาพัฒน์เป็นคลังสมองที่สมบูรณ์ต่อไป