เกาเหลาเริ่มโผล่ “กรณ์” ประสานงา "กอร์ปศักดิ์" ล่าสุด "โรลแบ็ก 2 พัน" ยังไม่สรุปว่าเป็นเช็คเงินสด เหตุสนใจข้อเสนอแบงก์กรุงไทยให้ใช้บัตรประชาชนแสดงตัวรับเงินสดหน้าสาขา ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายใบเช็ค ประธานหอการค้าฯ หนุนโรลแบ็กพร้อมให้ความร่วมมือลดราคาสินค้า 10% หวังเม็ดเงินหมุนในระบบ 2-3 รอบ ช่วยเพิ่มมูลค่า 2 หมื่นล้าน เป็น 6 หมื่นล้าน ลุ้นการบริโภคภายในฟื้นตัว ขณะที่ "สมคิด" เชื่อมาร์คจะแก้วิกฤตเศรษฐกิจได้ แนะระวังปัญหาภัยสังคมจากการว่างงาน
กรณีที่รัฐบาลมีโครงการช่วยเหลือผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท/เดือน หัวละ 2,000 บาท รวม 9.3 ล้านคน ซึ่งเมื่อวันที่ 12 ก.พ.ที่ผ่านมา นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี อ้างว่าได้สรุปแล้วว่าจะจ่ายเป็นเช็คเงินสดพร้อมมีโปรโมชันใช้เช็คซื้อสินค้าในห้างได้ส่วนลด 10% เพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย ปรากฏว่า นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยเมื่อวานนี้ (13 ก.พ.) ว่า ยังไม่สรุป แต่อยู่ระหว่างพิจารณหลายๆ วิธี ซึ่งวิธีการที่ผู้บริหารธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB เสนอมาน่าสนใจ
"แบงก์กรุงไทยให้ใช้ฐานข้อมูลจากสำนักงานประกันสังคมและเลขที่ประจำตัวประชาชนจากกรมการปกครอง โดยให้ผู้มีสิทธิ์ยืนบัตรประชาชนแสดงตัวเพื่อรับเงินสดที่เคาน์เตอร์สาขาธนาคารกรุงไทยทั่วประเทศ วิธีนี้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ"
นายกรณ์ยอมรับว่า หากมีเทคโนโลยีในการจ่ายเงินที่ง่ายและต้นทุนถูกกว่าการจ่ายเช็คก็จะรับไว้พิจารณา เพื่อลดการรั่วไหลของเงินที่จะจ่ายให้แก่ประชาชนได้มากที่สุด ส่วนแนวคิดการออกเป็นเช็คเงินสด เพื่อนำไปซื้อสินค้าจากร้านค้าและห้างสรรพสินค้า ก็ต้องหารือร่วมกันให้ได้ข้อสรุปอีกครั้งหนึ่ง
"ผมจะนำวิธีการดังกล่าวเสนอกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อไป แต่เรื่องที่สำคัญที่สุดคือเม็ดเงินจะต้องไปสู่มือประชาชนเพื่อให้มีการจับจ่ายใช้สอยจริงและทำให้เกิดการสร้างรอบหมุนของเศรษฐกิจโดยเร็ว” นายกรณ์กล่าวและคาดว่สามารถอัดฉีดเงินออกสู่ระบบได้ในช่วงต้นเดือนเมษายนนี้
สำหรับประเด็นต้นทุนการดำเนินการ นายกอร์ปศักดิ์กล่าวว่า อยู่ที่ประมาณ 40 ล้านบาท รัฐบาลจะเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ขายเช็คให้ประชาชนทั่วไปเล่มละ 300 บาท หนึ่งเล่มมี 20 ใบ เท่ากับตกใบละ 15 บาท (ใน 15 บาทมีค่าอากรของกรมสรรพากร 3 บาท) สำหรับโครงการดังกล่าวหากยกเว้นเฉพาะค่าอากร ค่าใช้จ่ายใบเช็คจะอยู่ที่ 111 ล้านบาท ยกเว้นได้รับส่วนลดจากธนาคาร ค่าใช้จ่ายจะเหลือ 40 ล้านบาท (ผู้มีสิทธิ์รับเงิน 2,000 บาท รวม 9.3 ล้านคน)
นายกฯ เชื่อความเป็นอยู่คนไทยดีขึ้น
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลจะสามารถจ่ายเงิน 2,000 บาท ภายใน 1-2 เดือน และหลังมีเม็ดเงินถึงมือประชาชนก็จะเห็นความแตกต่างถึงความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งขณะนี้ได้มอบหมายให้สำนักงานประกันสังคมหารือกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาข้อสรุปแนวทางและวิธีการจ่ายเงินดังกล่าว โดยยืนยันว่า มาตรการการจ่ายเงินค่าครองชีพครั้งนี้ ได้วิเคราะห์บนพื้นฐานของความเป็นจริงที่รัฐบาลวางเป้าไปที่กลุ่มผู้มีรายได้น้อย ซึ่งหวังว่าเมื่อประชาชนได้รับเงินช่วยค่าครองชีพแล้วจะมีการใช้จ่ายเงินจริง
นอกจากนี้ ในการประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวงเมื่อเช้าวานนี้ (13 ก.พ.) ก็ได้กำชับให้ทุกกระทรวงนำแนวนโยบายของรัฐบาล ทั้งโครงการส่งเสริมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เรียนฟรี 15 ปี หรือเงินช่วยค่าครองชีพผู้มีรายได้น้อย ให้เดินหน้าความพร้อมอย่างเต็มที่ ส่วนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ คาดว่า สิ้นเดือน ก.พ.-กลาง มี.ค. น่าจะมีข้อสรุปถึงยอดการช่วยเหลือ หลังจากนั้นในเดือน เม.ย. คาดว่าจะสามารถจ่ายเงินช่วยเหลือต่อไปได้
" ถามว่ากี่เดือนจากผลของการใช้จ่ายเงิน 2,000 บาทนั้น คิดว่าจะต้องดูตัวเลขที่เข้ามาในกรอบ ซึ่งภายใน 1 – 2 เดือน จะต้องเห็นความแตกต่าง ซึ่งการประเมินจะต้องดูฐานตัวเลขเดิมด้วย เข้าใจว่าตัวเลขไตรมาสสุดท้าย เศรษฐกิจน่าจะติดลบประมาณ3% และเดือนมกราคม เชื่อว่าตัวเลขไม่น่าจะต่างจากนั้นมากนัก ฉะนั้นเมื่อมาตรการนี้ออกไปในไตรมาส 2 ควรจะต้องหยุดยั้งสภาวะ ที่อัตราการขยายตัวมันไหลลงไปอย่างนั้น และค่อยๆ กระเตื้องขึ้นมา ซึ่งตนอยากให้หยุดไหลลงไปเป็นลบมากกว่านี้ และควรจะได้เห็นตัวเลขที่เป็นลบน้อยกว่านี้ในครึ่งปีแรก และครึ่งปีหลังก็จะต้องดันกลับมาให้เป็นในแดนบวก โดยมีมาตรการอื่นๆ เพิ่มเติมเข้ามา"นายกฯกล่าวถึงผลสัมฤทธิ์ของมาตรการ
หอการค้าขานรับโรลแบ็ก 2 พัน
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานสภาหอการค้าไทย กล่าวในงานสัมมนาเสริมพลังสถาบันการค้าไทยกู้ภัยเศรษฐกิจโลก โดยกล่าวถึงมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชนผ่านการจ่ายเงิน 2,000บาท ถือว่าเป็นมาตรการที่จะนำเงินไปถึงมือผู้ที่มีรายได้น้อยได้เร็ว ซึ่งจะผลักดันให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย และสามารถกระตุ้นการบริโภคในประเทศได้ ส่วนกรณีที่รัฐบาลขอความร่วมมือมายังภาคเอกชนเพื่อให้ปรับลดราคาสินค้าลง 10% ให้แก่ประชาชนนั้น ภาคเอกชนก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือ เนื่องจากผู้ประกอบการเองก็ต้องการที่จะขายสินค้าอยู่แล้ว ซึ่งการลดราคาก็น่าจะช่วยกระตุ้นยอดขายให้แก่ผู้ประกอบการได้
"งบประมาณที่รัฐบาลจะจัดสรรให้แก่ประชาชนในรอบนี้จำนวน 9 ล้านคน คาดว่าจะมีวงเงินประมาณ 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งเงินดังกล่าวที่เข้ามาหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ 2-3 รอบจะสามารถเพิ่มมูลค่าได้ถึง 4-6 หมื่นล้านบาท และเชื่อว่าจะทำให้การบริโภคภายในประเทศหนุนเศรษฐกิจให้ดีขึ้น" นายประมนต์กล่าว
"สมคิด" เชื่อมาร์คแก้วิกฤต ศก.ได้
นาย สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษในงานสัมมนาเสริมพลังสถาบันการค้าไทยสู้ภัยเศรษฐกิจโลกว่า ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจที่ประเทศไทยกำลังเผชิญในขณะนี้ไม่ถือว่ารุนแรงเกินกว่ารัฐบาลจะแก้ไขปัญหาได้ เพราะสถานการณ์เศรษฐกิจในปี 2540 นั้นรุนแรงกว่า
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่รัฐบาลต้องระวังในขณะนี้ คือปัญหาภัยสังคมที่เกิดจากการว่างงานที่รัฐบาลต้องเข้าไปช่วยรองรับ เพื่อรองรับธุรกิจที่จะเกิดปัญหา ต้องชัดเจนว่า รัฐบาลจะดำเนินอย่างไรไม่ให้ประชาชนเกิดความกลัวจนไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย ขณะที่ภาคเอกชนต้องเลิกกังวลต่อปัญหาเศรษฐกิจ และต้องเข้าไปช่วยรัฐบาลในการแก้ไขปัญหา เนื่องจากภาคเอกชนรู้ดีที่สุด และรัฐบาลไม่สามารถจะแก้ไขปัญหาได้ฝ่ายเดียว
นายสมคิดแนะนำว่า สิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการในขณะนี้คือ การช่วยเหลือภาคส่งออกและการท่องเที่ยวให้ได้อย่างเต็มที่ เพื่อป้องกันปัญหาการว่างงาน ที่จะตามมาเป็นระลอก รวมทั้งเร่งกระตุ้นเพื่อให้เกิดการแข่งขัน และสร้างให้เกิดการค้าการลงทุนทั้งในและนอกประเทศ เร่งให้เกิดการสร้างงานที่นอกเหนือจากการฝึกอบรม สิ่งสำคัญต้องไม่ประมาท
หม่อมอุ๋ยอัดแก้ปัญหาไม่ถูกจุด
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี ให้ความเห็นถึงมาตรการแจกเงิน 2,000 บาทให้ผู้มีรายได้น้อยว่า เป็นการกระตุ้นไม่ถูกจุด เพราะจะช่วยชะลอการปรับตัวลดลงของภาวะเศรษฐกิจเพียง 1 เดือนครึ่ง เหมือนประเทศสหรัฐฯเคยดำเนินการก่อนหน้านี้ หลังจากนั้นเศรษฐกิจก็จะปรับตัวลดลง เพราะประชาชนจะนำเงินไปออมมากกว่าใช้จ่าย ตนเห็นว่า รัฐบาลควรนำงบประมาณ 18,000 ล้านบาท ไปเน้นการสร้างงาน สร้างโรงพยาบาล สร้างโรงเรียน รวมทั้งเสนอให้รัฐบาลดูแลภาคการเกษตรให้มีรายได้เพิ่มขึ้นด้วยมาตรการรับจำนำสินค้าเกษตร นำพืชเกษตรมาผลิตเป็น
พลังงานทดแทน การจัดรูปแบบที่ดิน เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มรายได้.
กรณีที่รัฐบาลมีโครงการช่วยเหลือผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท/เดือน หัวละ 2,000 บาท รวม 9.3 ล้านคน ซึ่งเมื่อวันที่ 12 ก.พ.ที่ผ่านมา นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี อ้างว่าได้สรุปแล้วว่าจะจ่ายเป็นเช็คเงินสดพร้อมมีโปรโมชันใช้เช็คซื้อสินค้าในห้างได้ส่วนลด 10% เพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย ปรากฏว่า นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยเมื่อวานนี้ (13 ก.พ.) ว่า ยังไม่สรุป แต่อยู่ระหว่างพิจารณหลายๆ วิธี ซึ่งวิธีการที่ผู้บริหารธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB เสนอมาน่าสนใจ
"แบงก์กรุงไทยให้ใช้ฐานข้อมูลจากสำนักงานประกันสังคมและเลขที่ประจำตัวประชาชนจากกรมการปกครอง โดยให้ผู้มีสิทธิ์ยืนบัตรประชาชนแสดงตัวเพื่อรับเงินสดที่เคาน์เตอร์สาขาธนาคารกรุงไทยทั่วประเทศ วิธีนี้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ"
นายกรณ์ยอมรับว่า หากมีเทคโนโลยีในการจ่ายเงินที่ง่ายและต้นทุนถูกกว่าการจ่ายเช็คก็จะรับไว้พิจารณา เพื่อลดการรั่วไหลของเงินที่จะจ่ายให้แก่ประชาชนได้มากที่สุด ส่วนแนวคิดการออกเป็นเช็คเงินสด เพื่อนำไปซื้อสินค้าจากร้านค้าและห้างสรรพสินค้า ก็ต้องหารือร่วมกันให้ได้ข้อสรุปอีกครั้งหนึ่ง
"ผมจะนำวิธีการดังกล่าวเสนอกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อไป แต่เรื่องที่สำคัญที่สุดคือเม็ดเงินจะต้องไปสู่มือประชาชนเพื่อให้มีการจับจ่ายใช้สอยจริงและทำให้เกิดการสร้างรอบหมุนของเศรษฐกิจโดยเร็ว” นายกรณ์กล่าวและคาดว่สามารถอัดฉีดเงินออกสู่ระบบได้ในช่วงต้นเดือนเมษายนนี้
สำหรับประเด็นต้นทุนการดำเนินการ นายกอร์ปศักดิ์กล่าวว่า อยู่ที่ประมาณ 40 ล้านบาท รัฐบาลจะเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ขายเช็คให้ประชาชนทั่วไปเล่มละ 300 บาท หนึ่งเล่มมี 20 ใบ เท่ากับตกใบละ 15 บาท (ใน 15 บาทมีค่าอากรของกรมสรรพากร 3 บาท) สำหรับโครงการดังกล่าวหากยกเว้นเฉพาะค่าอากร ค่าใช้จ่ายใบเช็คจะอยู่ที่ 111 ล้านบาท ยกเว้นได้รับส่วนลดจากธนาคาร ค่าใช้จ่ายจะเหลือ 40 ล้านบาท (ผู้มีสิทธิ์รับเงิน 2,000 บาท รวม 9.3 ล้านคน)
นายกฯ เชื่อความเป็นอยู่คนไทยดีขึ้น
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลจะสามารถจ่ายเงิน 2,000 บาท ภายใน 1-2 เดือน และหลังมีเม็ดเงินถึงมือประชาชนก็จะเห็นความแตกต่างถึงความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งขณะนี้ได้มอบหมายให้สำนักงานประกันสังคมหารือกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาข้อสรุปแนวทางและวิธีการจ่ายเงินดังกล่าว โดยยืนยันว่า มาตรการการจ่ายเงินค่าครองชีพครั้งนี้ ได้วิเคราะห์บนพื้นฐานของความเป็นจริงที่รัฐบาลวางเป้าไปที่กลุ่มผู้มีรายได้น้อย ซึ่งหวังว่าเมื่อประชาชนได้รับเงินช่วยค่าครองชีพแล้วจะมีการใช้จ่ายเงินจริง
นอกจากนี้ ในการประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวงเมื่อเช้าวานนี้ (13 ก.พ.) ก็ได้กำชับให้ทุกกระทรวงนำแนวนโยบายของรัฐบาล ทั้งโครงการส่งเสริมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เรียนฟรี 15 ปี หรือเงินช่วยค่าครองชีพผู้มีรายได้น้อย ให้เดินหน้าความพร้อมอย่างเต็มที่ ส่วนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ คาดว่า สิ้นเดือน ก.พ.-กลาง มี.ค. น่าจะมีข้อสรุปถึงยอดการช่วยเหลือ หลังจากนั้นในเดือน เม.ย. คาดว่าจะสามารถจ่ายเงินช่วยเหลือต่อไปได้
" ถามว่ากี่เดือนจากผลของการใช้จ่ายเงิน 2,000 บาทนั้น คิดว่าจะต้องดูตัวเลขที่เข้ามาในกรอบ ซึ่งภายใน 1 – 2 เดือน จะต้องเห็นความแตกต่าง ซึ่งการประเมินจะต้องดูฐานตัวเลขเดิมด้วย เข้าใจว่าตัวเลขไตรมาสสุดท้าย เศรษฐกิจน่าจะติดลบประมาณ3% และเดือนมกราคม เชื่อว่าตัวเลขไม่น่าจะต่างจากนั้นมากนัก ฉะนั้นเมื่อมาตรการนี้ออกไปในไตรมาส 2 ควรจะต้องหยุดยั้งสภาวะ ที่อัตราการขยายตัวมันไหลลงไปอย่างนั้น และค่อยๆ กระเตื้องขึ้นมา ซึ่งตนอยากให้หยุดไหลลงไปเป็นลบมากกว่านี้ และควรจะได้เห็นตัวเลขที่เป็นลบน้อยกว่านี้ในครึ่งปีแรก และครึ่งปีหลังก็จะต้องดันกลับมาให้เป็นในแดนบวก โดยมีมาตรการอื่นๆ เพิ่มเติมเข้ามา"นายกฯกล่าวถึงผลสัมฤทธิ์ของมาตรการ
หอการค้าขานรับโรลแบ็ก 2 พัน
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานสภาหอการค้าไทย กล่าวในงานสัมมนาเสริมพลังสถาบันการค้าไทยกู้ภัยเศรษฐกิจโลก โดยกล่าวถึงมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชนผ่านการจ่ายเงิน 2,000บาท ถือว่าเป็นมาตรการที่จะนำเงินไปถึงมือผู้ที่มีรายได้น้อยได้เร็ว ซึ่งจะผลักดันให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย และสามารถกระตุ้นการบริโภคในประเทศได้ ส่วนกรณีที่รัฐบาลขอความร่วมมือมายังภาคเอกชนเพื่อให้ปรับลดราคาสินค้าลง 10% ให้แก่ประชาชนนั้น ภาคเอกชนก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือ เนื่องจากผู้ประกอบการเองก็ต้องการที่จะขายสินค้าอยู่แล้ว ซึ่งการลดราคาก็น่าจะช่วยกระตุ้นยอดขายให้แก่ผู้ประกอบการได้
"งบประมาณที่รัฐบาลจะจัดสรรให้แก่ประชาชนในรอบนี้จำนวน 9 ล้านคน คาดว่าจะมีวงเงินประมาณ 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งเงินดังกล่าวที่เข้ามาหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ 2-3 รอบจะสามารถเพิ่มมูลค่าได้ถึง 4-6 หมื่นล้านบาท และเชื่อว่าจะทำให้การบริโภคภายในประเทศหนุนเศรษฐกิจให้ดีขึ้น" นายประมนต์กล่าว
"สมคิด" เชื่อมาร์คแก้วิกฤต ศก.ได้
นาย สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษในงานสัมมนาเสริมพลังสถาบันการค้าไทยสู้ภัยเศรษฐกิจโลกว่า ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจที่ประเทศไทยกำลังเผชิญในขณะนี้ไม่ถือว่ารุนแรงเกินกว่ารัฐบาลจะแก้ไขปัญหาได้ เพราะสถานการณ์เศรษฐกิจในปี 2540 นั้นรุนแรงกว่า
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่รัฐบาลต้องระวังในขณะนี้ คือปัญหาภัยสังคมที่เกิดจากการว่างงานที่รัฐบาลต้องเข้าไปช่วยรองรับ เพื่อรองรับธุรกิจที่จะเกิดปัญหา ต้องชัดเจนว่า รัฐบาลจะดำเนินอย่างไรไม่ให้ประชาชนเกิดความกลัวจนไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย ขณะที่ภาคเอกชนต้องเลิกกังวลต่อปัญหาเศรษฐกิจ และต้องเข้าไปช่วยรัฐบาลในการแก้ไขปัญหา เนื่องจากภาคเอกชนรู้ดีที่สุด และรัฐบาลไม่สามารถจะแก้ไขปัญหาได้ฝ่ายเดียว
นายสมคิดแนะนำว่า สิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการในขณะนี้คือ การช่วยเหลือภาคส่งออกและการท่องเที่ยวให้ได้อย่างเต็มที่ เพื่อป้องกันปัญหาการว่างงาน ที่จะตามมาเป็นระลอก รวมทั้งเร่งกระตุ้นเพื่อให้เกิดการแข่งขัน และสร้างให้เกิดการค้าการลงทุนทั้งในและนอกประเทศ เร่งให้เกิดการสร้างงานที่นอกเหนือจากการฝึกอบรม สิ่งสำคัญต้องไม่ประมาท
หม่อมอุ๋ยอัดแก้ปัญหาไม่ถูกจุด
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี ให้ความเห็นถึงมาตรการแจกเงิน 2,000 บาทให้ผู้มีรายได้น้อยว่า เป็นการกระตุ้นไม่ถูกจุด เพราะจะช่วยชะลอการปรับตัวลดลงของภาวะเศรษฐกิจเพียง 1 เดือนครึ่ง เหมือนประเทศสหรัฐฯเคยดำเนินการก่อนหน้านี้ หลังจากนั้นเศรษฐกิจก็จะปรับตัวลดลง เพราะประชาชนจะนำเงินไปออมมากกว่าใช้จ่าย ตนเห็นว่า รัฐบาลควรนำงบประมาณ 18,000 ล้านบาท ไปเน้นการสร้างงาน สร้างโรงพยาบาล สร้างโรงเรียน รวมทั้งเสนอให้รัฐบาลดูแลภาคการเกษตรให้มีรายได้เพิ่มขึ้นด้วยมาตรการรับจำนำสินค้าเกษตร นำพืชเกษตรมาผลิตเป็น
พลังงานทดแทน การจัดรูปแบบที่ดิน เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มรายได้.