นายกฯ เมินเด็กแม้วเผาบ้านทำนายจีดีพีติดลบ 4% ระบุข้อมูลที่ได้รับรายงานยังไม่เห็นสำนักไหนบอกเลวร้ายเท่าคำทำนายของ "โอฬาร" พร้อมสั่งกรมศุลฯ บีโอไอและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขจัดอุปสรรค การส่งออก-ท่องเที่ยว เผยเป็นห่วงหนี้บัตรเครดิตแบงก์ยูโอบี ฝาก รมว.คลังไปตรวจสอบ ด้าน "กอร์ปศักดิ์" เผยตัวเลขตกงานเฉลี่ยละหมื่นต้องเร่งสกัด กังวลร่าง พ.ร.บ.งบเพิ่มเติมปี 52 ไม่ได้รับความร่วมมือจาก ส.ส. ส่งผลเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจเดือน เม.ย.ชะลอ แฉแฉดีเอสไอขวางงานส่งเสริมลงทุนของบีโอไอ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุม ครม.เศรษฐกิจ ว่า ในการประชุมได้มีการพิจารณาการลงทุนในประเทศ ที่เป็นอุปสรรคกับนักลงทุนชาวต่างชาติ สิ่งที่พบคือมีปัญหาเรื่องการปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมศุลกากร ดีเอสไอ บีโอไอ และกระทรวงต่างๆ ซึ่งหลายกรณีมีความเห็นไม่ตรงกัน พัวพันไปถึงปัญหาและอุปสรรคของนักลงทุน และเรื่องคดี จนถึงคดีอาญา จึงมีมติให้ปลัดกระทรวงการคลัง ไปสะสางปัญหาที่ค้างอยู่ ที่สำคัญคือให้หน่วยงานทั้งหลายกำหนดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนโปร่งใส เวลาที่เกิดปัญหาโต้แย้งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎระเบียบหรือข้อตกลงใดๆ ก็ตาม ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบตามกฎหมายเป็นหลัก ถือเป็นความเห็นที่เป็นทางการ แล้วปล่อยให้เป็นกระบวนการทักท้วง อุทธรณ์หรือขอความเป็นธรรมต่อไป ไม่ใช่เหมือนหลายกรณีซึ่งปรากฎว่าหน่วยงานของเราให้ความเห็นของผู้ปฏิบัติไม่ตรงกัน นำไปสู่การฟ้องร้อง ลงโทษหรือร้องเรียนไม่จบสิ้น
"มีกรณีอย่างนี้อยู่พอสมควร เป็นเรื่องสำคัญที่เราพยายามแก้ไข เพราะเป็นปัญหาที่นักลงทุนวิตกกังวล กระทบการประกอบการโดยตรง ถ้าไม่สะสางปัญหานี้จะมีปัญหาความเชื่อมั่น" นายรัฐมนตรีกล่าวและว่า อีกส่วนหนึ่งจากการฟังการรวบรวมข้อมูลเศรษฐกิจและมาตรการต่างๆ สิ่งที่ให้ไปทำเพิ่มเติมคือในแง่ของการส่งออก ท่องเที่ยวให้ทุกหน่วยงานไปเจาะประเด็นมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่เป็นคู่ค้าสำคัญ ซึ่งตรงนั้นจะเป็นมาตรการใหม่ และเงินใหม่ทีร่จะเกิดขึ้นในประเทศต่างๆ หากเราทราบรายละเอียดจะสามารถกำหนดเป้าหมายของการดึงเม็ดเงินเหล่านั้นเข้าสู่ประเทศเราได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องฐานการส่งออก การลงทุน การท่องเที่ยวก็ตาม
นอกจากนี้ ในสัปดาห์นี้ให้เร่งสรุปข้อมูลและมาตรการรองรับ 2 เรื่องคือ 1.ปัญหาเรื่องสินเชื่อว่าได้รับผลจากวิกฤตการเงินและปัญหาการชะลอตัวทางเศรษฐกิจอย่างไร กระทรวงการคลังรับที่จะไปดู นโยบายที่จะค้ำประกันสินเชื่อ หรือมีกลไกให้ความมั่นใจกับสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อ มีความก้าวหน้ามากน้อยแค่ไหน 2.ให้สรุปตัวเลขสถานการณ์แรงงาน เพื่อให้เห็นแนวโน้มที่ชัดเจน ของเดือน พ.ย.-ม.ค. และมาตรการที่ประกันสังคมได้มีการดำเนินการเป็นมติแล้ว เพื่อเตรียมรับมือแล้วมาเชื่อมโยงมาตรการฝึกอบรม และฝึกอาชีพ จนถึงการสร้างงาน
ทั้งนี้ การเดินทางไปเยือนญี่ปุ่น เพื่อเจรจาความร่วมมือแบบรัฐต่อรัฐโดยเฉพาะการขยายความช่วยเหลือและความร่วมมือทางการเงินให้ญี่ปุ่นขยายเวลาออกไป และการดึงการลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์ เพื่อขยายฐานการลงทุนมาไทยมากขึ้น เพราะการลงทุนระยะยาว แม้จะมีปัญหาเศรษฐกิจรวมถึงการเดินหน้าสร้างความเชื่อมั่นด้านการท่องเที่ยว ส่วนปัญหาภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยนั้น กลางเดือนหน้าจะนัดหารือผู้ประกอบการ เพื่อรับฟังปัญหาและหาแนวทางช่วยเหลือ เมื่อเดินทางไปญี่ปุ่นแล้ว จากนั้นปลายเดือน มี.ค.จะเดินทางไปโรดโชว์ประเทศจีน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นด้านการค้าการลงทุนกับภาคเอกชนจีน
ส่วนกรณีที่ นายโอฬาร ไชยประวัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และ อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยชินวัตร ทำนายไว้ว่าจีดีพีปีนี้จะติดลบถึง 4.05% นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ไม่เชื่อ เนื่องจากดูจากตัวเลขคาดการณ์ของหลายหน่วยงานที่ออกมายังไม่เห็นสัญญาณที่เลวร้ายขนาดนั้น โดยยืนยันว่ารัฐบาลจะพยายามดูแลตัวเลขเศรษฐกิจในปีนี้ให้อยู่ในแดนบวก
มาร์คห่วงหนี้เสีย-แบงก์ยูโอบี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนเข้าสู่วาระการประชุม ครม.เศรษฐกิจ นายอภิสิทธิ์ ได้ปรารภในเชิงหารือกับนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลังและนายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสภาพัฒน์ฯ ว่า "ขณะนี้เท่าที่ทราบธนาคารยูโอบีกำลังมีปัญหา รวมทั้งเรื่องหนี้บัตรเครดิตภาคประชนมีมากจะต้องเร่งแก้ไข "
เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว วานนี้ (4 ม.ค.) นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ต้องพิจารณาประเด็นที่นายกรัฐมนตรีเป็นห่วงก่อนว่าต้องการให้ ธปท.เข้าไปติดตามเรื่องใด ทั้งนี้ ธปท.จะทำการตรวจสอบฐานะการเงินธนาคารพาณิชย์ทุกปี หากพบว่ารายใดมีปัญหา ธปท.ก็จะเข้าไปตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ เช่นเดียวกันหากนายกรัฐมนตรีมีข้อมูล ธปท.ก็จะเข้าไปดำเนินการ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ไม่สามารถเปิดเผยฐานะหรือสถานะหนี้บัตรเครดิตของธนาคารยูโอบีได้
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 3 ม.ค.ที่ผ่านมา ธปท. ได้เรียกธนาคารพาณิชย์ไทย 14 แห่ง หารือร่วมกับ ธปท. ประเด็นสำคัญที่ ธปท.ได้ขอความร่วมมือธนาคารพาณิชย์คือการให้ธนาคารพาณิชย์รายงานข้อมูลหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ที่เชื่อมโยงกับ ธปท.และธนาคารพาณิชย์ให้รวดเร็วขึ้นกว่าเดิม และหากมีสัญญาณลูกหนี้เริ่มเข้าไปอยู่ในกลุ่มเอ็นพีแอล ธนาคารพาณิชย์ควรเร่งปรับปรุงหรือแก้ไขด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ตามสภาพลูกหนี้ให้มีความคล่องตัวมากขึ้น
ด้านนายธนชัย ธนชัยอารีย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มบุคคล ธนกิจ ธนาคารยูโอบี แสดงความแปลกใจที่นายกรัฐมนตรี พูดชื่อธนาคารฯ ขึ้นมา พร้อมยืนยันว่า ยูโอบีมีความแข็งแกร่ง เงินกิองทุนต่อสินทรีพย์เสี่ยงอยู่ที่ 15% ส่วนหนี้บัตรเครดิตและเอ็นพีแอลอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยธนาคารพาณิชย์ หากจะมีปัญหาก็เป็นไปตามการชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโดยรวม
เมื่อต้นเดือน ม.ค. นายธนชัยเปิดเผยว่า ธนาคารได้ขยายฐานรายได้ของลูกค้าบัตรเครดิตจากเดิม 1.5 หมื่นบาทต่อเดือน เป็น 2 หมื่นบาทต่อเดือน เพื่อรับมือภาวะวิกฤตเศรษฐกิจและความเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น พร้อมกันนี้จะติดตามพฤติกรรมการใช้จ่ายของลูกค้า และติดตามยอดหนี้เสียและยอดการค้างชำระอย่างเข้มงวด ส่วนการปล่อยสินเชื่อจะมีความระมัดระวังตามภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ โดยคาดว่าปีนี้เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวระหว่าง 0-2.5%
พบคนตกงานเดือนละหมื่นคน
ในที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจยังถกประเด็นการให้เงินช่วยเหลือคนที่เข้าร่วมโครงการฝึกงาน เช่น นักศึกษาจบใหม่ เพื่อป้องกันปัญหาแรงงาน 5,000 บาทต่อคนของกระทรวงแรงงาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการแก้ปัญหาการว่างงานจากงบ ประมาณ 6,900 ล้านบาท แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป ทั้งนี้ ภาครัฐจะเข้าไปดูแลโรงงานที่จะปรับลดคนงาน เพื่อป้องกันให้เกิดปัญหาแรงงานมากขึ้น และจะมีรายละเอียดชัดเจนตรงกลุ่มเป้าหมาย เพื่อไม่ให้ใช้นำเงินไปช่วยเหลือในส่วนที่ไม่มีปัญหาจริง
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลมีความเป็นห่วงปัญหาด้านแรงงาน โดยได้ออกมาตรการหลายด้านมาเพื่อดูแลและลดผลกระทบจากการเลิกจ้าง เนื่องจากล่าสุดพบว่าตัวเลขคนตกงานเพิ่มขึ้นทุกเดือน เฉลี่ยเดือนละ 1 หมื่นคน ดังนั้นรัฐบาลจะต้องใช้เงินงบประมาณเพื่อรองรับไม่ให้คนตกงานมากขึ้น ซึ่งมาตรการที่รัฐบาลใช้ก็เพื่อสร้างดีมานด์ให้เกิดการจับจ่ายและเป็นวิธีการแก้ปัญหาจากระดับล่างขึ้นบน
สำหรับข้อเสนอที่ให้ใช้นโยบายการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้นนั้น รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า อาจขอหารือกับกระทรวงการคลังก่อน แต่เห็นว่าการนำมาตรการภาษีมาใช้จะต้องมีความรอบคอบและระมัดระวัง เพราะมีผลกระทบหลายด้าน เช่น การเสนอให้ลดภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งจะกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลจำนวนมาก และหากเศรษฐกิจโลกไม่นิ่ง การลดภาษีก็อาจจะยิ่งสร้างความเสียหายมากขึ้น
"ส่วนตัวผมไม่เชื่อว่าเศรษฐกิจจะเลวร้ายอย่างที่คุณโอฬารวิเคราะห์ ผมยังมีความมั่นใจเพราะมาตรการรัฐบาลได้ออกไปแล้ว" นายกอร์ปศักดิ์ระบุและเชื่อมั่นว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2552 คงจะไม่ติดลบถึง 4% หากสถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกนิ่ง เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเป็นบวกด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลขอใช้เวลาราว 3 เดือนในการประเมินสถานการณ์ของเศรษฐกิจโลก เพื่อจะพิจารณาว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป และจำเป็นต้องมีมาตรการอื่นๆ เพิ่มเติมหรือไม่ สิ่งสำคัญในขณะนี้คือสภาผู้แทนราษฎร ควรให้ความร่วมมือกับรัฐบาลในการผ่าน ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2552 เพื่อให้มีเม็ดเงินมาใช้ได้ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจได้เร็วขึ้นจาก 1 เมษายน 2552
"รัฐบาลต้องทำงานแข่งกับเวลา ทุกชั่วโมง เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องการให้เม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ เสียงตอบรับพร้อมรับฟัง แต่วันนี้จะให้ปรับทันทีคงไม่ได้ เราต้องนิ่งในการทำงาน"
ส่วนโครงการเมกะโปรเจกต์นั้น นายกอร์ปศักดิ์ กล่าวว่า รัฐบาลจะดำเนินการควบคู่ไปด้วย แต่ต้องเข้าใจว่าโครงการดังกล่าวไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ทันที เพราะโครงการใหญ่บางครั้งไม่ได้สร้างรายได้ให้คนในประเทศ แต่เป็นการสร้างรายได้ให้กับต่างชาติมากกว่า ถ้ารัฐบาลจะอัดฉีดเงินให้หมุนเวียนในระบบอย่างได้ผล จะต้องกระจายเม็ดเงินให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ทันที โดยเฉพาะการดำเนินโครงการขนาดเล็กตามชนบท เช่น การสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็ก หรือแม้แต่โครงการถนนปลอดฝุ่น เชื่อว่าจะช่วยสร้างงานให้กับคนในพื้นที่ ซึ่งจะเห็นผลเร็วและชัดเจนกว่า
เย้ยเป็น ส.ส.ตั้งแต่แม้วยังเป็นวุ้น
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ระบุว่า ประเทศไทยกำลังฝากเศรษฐกิจให้เด็กสองคนแก้ไข มองอย่างไร นายกอร์ปศักดิ์ กล่าวว่า หลายคนรวมทั้งตนก็เป็นผู้แทนมาตั้งแต่ปี 2529 เห็น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เดินหิ้วกระเป๋าเดินไปเดินมาในสภาเหมือนกัน ดังนั้นจะมาบอกว่าพวกเราเป็นมือใหม่คงไม่ใช่ ส่วนคำปรามาสที่บอกว่าเป็นเด็ก 2 คน ที่ทำงานไม่เป็นก็ไม่เป็นไร เรามีหน้าที่ทำงานอย่างเดียว ผลงานจะเป็นเครื่องพิสูจน์ เราเพิ่งทำงานเพียง 5 สัปดาห์เท่านั้น
แฉดีเอสไอขวางงานบีโอไอ
ด้านนายพุทธิพงษ์ ปุณกัณต์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจมีการหยิบยกประเด็นของยางรถยนต์ที่เป็นอุปสรรคของนักลงทุนที่ต้องถูกดำเนินคดี เนื่องจากก่อนหน้านี้ ตามกรอบของบีโอไอ ได้รับการยกเว้นภาษี แต่ปรากฎว่าหน่วยงานอื่นเช่น กรมสอบสวนคดีพิเศษ กลับตีความว่าเป็นวัถุอันตราย กลายเป็นปัญหานโยบายของแต่ละหน่วยงานสวนทางกัน ปัญหาจึงตกมาอยู่ที่นักลงทุน เมื่อขึ้นโรงขึ้นศาลก็มูลค่าการปรับเป็นจำนวนมาก เอกชนก็ขออุทธรณ์อยู่ในขณะนี้
รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า อีกประเด็นคือบรรดาข้อตกลงที่รัฐบาลทำกับต่างประเทศ เช่น กรอบการค้าเสรี ไทย ออสเตรเลีย เมื่อมีการเปิดการค้าเสรีแล้ว แต่แนวปฏิบัติจริงกลับพบว่าหน่วยงานไม่ได้ปรับตัว เช่นการนำเข้า ที่กรมศุลกากรกลับไม่ได้ทำตามกรอบ ตีความไปคนละทิศละทาง อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีได้ขอให้กระทรวงยุติธรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง และบีโอไอ ไปศึกษาในเรื่องเหล่านี้ให้ตรงกัน ภายในเวลา 1 เดือนและนำกลับเข้าที่ประชุมอีกครั้ง
นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจได้พิจารณร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ พ.ศ.... โดยให้มีการตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งและบริการของประเทศ (กบส.) เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการกำหนดนโยบายและขับเคลื่อนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งภาคเอกชน เช่น สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สมาคมธนาคารไทย เป็นกรรมการ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุม ครม.เศรษฐกิจ ว่า ในการประชุมได้มีการพิจารณาการลงทุนในประเทศ ที่เป็นอุปสรรคกับนักลงทุนชาวต่างชาติ สิ่งที่พบคือมีปัญหาเรื่องการปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมศุลกากร ดีเอสไอ บีโอไอ และกระทรวงต่างๆ ซึ่งหลายกรณีมีความเห็นไม่ตรงกัน พัวพันไปถึงปัญหาและอุปสรรคของนักลงทุน และเรื่องคดี จนถึงคดีอาญา จึงมีมติให้ปลัดกระทรวงการคลัง ไปสะสางปัญหาที่ค้างอยู่ ที่สำคัญคือให้หน่วยงานทั้งหลายกำหนดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนโปร่งใส เวลาที่เกิดปัญหาโต้แย้งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎระเบียบหรือข้อตกลงใดๆ ก็ตาม ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบตามกฎหมายเป็นหลัก ถือเป็นความเห็นที่เป็นทางการ แล้วปล่อยให้เป็นกระบวนการทักท้วง อุทธรณ์หรือขอความเป็นธรรมต่อไป ไม่ใช่เหมือนหลายกรณีซึ่งปรากฎว่าหน่วยงานของเราให้ความเห็นของผู้ปฏิบัติไม่ตรงกัน นำไปสู่การฟ้องร้อง ลงโทษหรือร้องเรียนไม่จบสิ้น
"มีกรณีอย่างนี้อยู่พอสมควร เป็นเรื่องสำคัญที่เราพยายามแก้ไข เพราะเป็นปัญหาที่นักลงทุนวิตกกังวล กระทบการประกอบการโดยตรง ถ้าไม่สะสางปัญหานี้จะมีปัญหาความเชื่อมั่น" นายรัฐมนตรีกล่าวและว่า อีกส่วนหนึ่งจากการฟังการรวบรวมข้อมูลเศรษฐกิจและมาตรการต่างๆ สิ่งที่ให้ไปทำเพิ่มเติมคือในแง่ของการส่งออก ท่องเที่ยวให้ทุกหน่วยงานไปเจาะประเด็นมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่เป็นคู่ค้าสำคัญ ซึ่งตรงนั้นจะเป็นมาตรการใหม่ และเงินใหม่ทีร่จะเกิดขึ้นในประเทศต่างๆ หากเราทราบรายละเอียดจะสามารถกำหนดเป้าหมายของการดึงเม็ดเงินเหล่านั้นเข้าสู่ประเทศเราได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องฐานการส่งออก การลงทุน การท่องเที่ยวก็ตาม
นอกจากนี้ ในสัปดาห์นี้ให้เร่งสรุปข้อมูลและมาตรการรองรับ 2 เรื่องคือ 1.ปัญหาเรื่องสินเชื่อว่าได้รับผลจากวิกฤตการเงินและปัญหาการชะลอตัวทางเศรษฐกิจอย่างไร กระทรวงการคลังรับที่จะไปดู นโยบายที่จะค้ำประกันสินเชื่อ หรือมีกลไกให้ความมั่นใจกับสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อ มีความก้าวหน้ามากน้อยแค่ไหน 2.ให้สรุปตัวเลขสถานการณ์แรงงาน เพื่อให้เห็นแนวโน้มที่ชัดเจน ของเดือน พ.ย.-ม.ค. และมาตรการที่ประกันสังคมได้มีการดำเนินการเป็นมติแล้ว เพื่อเตรียมรับมือแล้วมาเชื่อมโยงมาตรการฝึกอบรม และฝึกอาชีพ จนถึงการสร้างงาน
ทั้งนี้ การเดินทางไปเยือนญี่ปุ่น เพื่อเจรจาความร่วมมือแบบรัฐต่อรัฐโดยเฉพาะการขยายความช่วยเหลือและความร่วมมือทางการเงินให้ญี่ปุ่นขยายเวลาออกไป และการดึงการลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์ เพื่อขยายฐานการลงทุนมาไทยมากขึ้น เพราะการลงทุนระยะยาว แม้จะมีปัญหาเศรษฐกิจรวมถึงการเดินหน้าสร้างความเชื่อมั่นด้านการท่องเที่ยว ส่วนปัญหาภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยนั้น กลางเดือนหน้าจะนัดหารือผู้ประกอบการ เพื่อรับฟังปัญหาและหาแนวทางช่วยเหลือ เมื่อเดินทางไปญี่ปุ่นแล้ว จากนั้นปลายเดือน มี.ค.จะเดินทางไปโรดโชว์ประเทศจีน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นด้านการค้าการลงทุนกับภาคเอกชนจีน
ส่วนกรณีที่ นายโอฬาร ไชยประวัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และ อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยชินวัตร ทำนายไว้ว่าจีดีพีปีนี้จะติดลบถึง 4.05% นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ไม่เชื่อ เนื่องจากดูจากตัวเลขคาดการณ์ของหลายหน่วยงานที่ออกมายังไม่เห็นสัญญาณที่เลวร้ายขนาดนั้น โดยยืนยันว่ารัฐบาลจะพยายามดูแลตัวเลขเศรษฐกิจในปีนี้ให้อยู่ในแดนบวก
มาร์คห่วงหนี้เสีย-แบงก์ยูโอบี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนเข้าสู่วาระการประชุม ครม.เศรษฐกิจ นายอภิสิทธิ์ ได้ปรารภในเชิงหารือกับนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลังและนายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสภาพัฒน์ฯ ว่า "ขณะนี้เท่าที่ทราบธนาคารยูโอบีกำลังมีปัญหา รวมทั้งเรื่องหนี้บัตรเครดิตภาคประชนมีมากจะต้องเร่งแก้ไข "
เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว วานนี้ (4 ม.ค.) นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ต้องพิจารณาประเด็นที่นายกรัฐมนตรีเป็นห่วงก่อนว่าต้องการให้ ธปท.เข้าไปติดตามเรื่องใด ทั้งนี้ ธปท.จะทำการตรวจสอบฐานะการเงินธนาคารพาณิชย์ทุกปี หากพบว่ารายใดมีปัญหา ธปท.ก็จะเข้าไปตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ เช่นเดียวกันหากนายกรัฐมนตรีมีข้อมูล ธปท.ก็จะเข้าไปดำเนินการ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ไม่สามารถเปิดเผยฐานะหรือสถานะหนี้บัตรเครดิตของธนาคารยูโอบีได้
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 3 ม.ค.ที่ผ่านมา ธปท. ได้เรียกธนาคารพาณิชย์ไทย 14 แห่ง หารือร่วมกับ ธปท. ประเด็นสำคัญที่ ธปท.ได้ขอความร่วมมือธนาคารพาณิชย์คือการให้ธนาคารพาณิชย์รายงานข้อมูลหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ที่เชื่อมโยงกับ ธปท.และธนาคารพาณิชย์ให้รวดเร็วขึ้นกว่าเดิม และหากมีสัญญาณลูกหนี้เริ่มเข้าไปอยู่ในกลุ่มเอ็นพีแอล ธนาคารพาณิชย์ควรเร่งปรับปรุงหรือแก้ไขด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ตามสภาพลูกหนี้ให้มีความคล่องตัวมากขึ้น
ด้านนายธนชัย ธนชัยอารีย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มบุคคล ธนกิจ ธนาคารยูโอบี แสดงความแปลกใจที่นายกรัฐมนตรี พูดชื่อธนาคารฯ ขึ้นมา พร้อมยืนยันว่า ยูโอบีมีความแข็งแกร่ง เงินกิองทุนต่อสินทรีพย์เสี่ยงอยู่ที่ 15% ส่วนหนี้บัตรเครดิตและเอ็นพีแอลอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยธนาคารพาณิชย์ หากจะมีปัญหาก็เป็นไปตามการชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโดยรวม
เมื่อต้นเดือน ม.ค. นายธนชัยเปิดเผยว่า ธนาคารได้ขยายฐานรายได้ของลูกค้าบัตรเครดิตจากเดิม 1.5 หมื่นบาทต่อเดือน เป็น 2 หมื่นบาทต่อเดือน เพื่อรับมือภาวะวิกฤตเศรษฐกิจและความเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น พร้อมกันนี้จะติดตามพฤติกรรมการใช้จ่ายของลูกค้า และติดตามยอดหนี้เสียและยอดการค้างชำระอย่างเข้มงวด ส่วนการปล่อยสินเชื่อจะมีความระมัดระวังตามภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ โดยคาดว่าปีนี้เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวระหว่าง 0-2.5%
พบคนตกงานเดือนละหมื่นคน
ในที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจยังถกประเด็นการให้เงินช่วยเหลือคนที่เข้าร่วมโครงการฝึกงาน เช่น นักศึกษาจบใหม่ เพื่อป้องกันปัญหาแรงงาน 5,000 บาทต่อคนของกระทรวงแรงงาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการแก้ปัญหาการว่างงานจากงบ ประมาณ 6,900 ล้านบาท แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป ทั้งนี้ ภาครัฐจะเข้าไปดูแลโรงงานที่จะปรับลดคนงาน เพื่อป้องกันให้เกิดปัญหาแรงงานมากขึ้น และจะมีรายละเอียดชัดเจนตรงกลุ่มเป้าหมาย เพื่อไม่ให้ใช้นำเงินไปช่วยเหลือในส่วนที่ไม่มีปัญหาจริง
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลมีความเป็นห่วงปัญหาด้านแรงงาน โดยได้ออกมาตรการหลายด้านมาเพื่อดูแลและลดผลกระทบจากการเลิกจ้าง เนื่องจากล่าสุดพบว่าตัวเลขคนตกงานเพิ่มขึ้นทุกเดือน เฉลี่ยเดือนละ 1 หมื่นคน ดังนั้นรัฐบาลจะต้องใช้เงินงบประมาณเพื่อรองรับไม่ให้คนตกงานมากขึ้น ซึ่งมาตรการที่รัฐบาลใช้ก็เพื่อสร้างดีมานด์ให้เกิดการจับจ่ายและเป็นวิธีการแก้ปัญหาจากระดับล่างขึ้นบน
สำหรับข้อเสนอที่ให้ใช้นโยบายการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้นนั้น รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า อาจขอหารือกับกระทรวงการคลังก่อน แต่เห็นว่าการนำมาตรการภาษีมาใช้จะต้องมีความรอบคอบและระมัดระวัง เพราะมีผลกระทบหลายด้าน เช่น การเสนอให้ลดภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งจะกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลจำนวนมาก และหากเศรษฐกิจโลกไม่นิ่ง การลดภาษีก็อาจจะยิ่งสร้างความเสียหายมากขึ้น
"ส่วนตัวผมไม่เชื่อว่าเศรษฐกิจจะเลวร้ายอย่างที่คุณโอฬารวิเคราะห์ ผมยังมีความมั่นใจเพราะมาตรการรัฐบาลได้ออกไปแล้ว" นายกอร์ปศักดิ์ระบุและเชื่อมั่นว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2552 คงจะไม่ติดลบถึง 4% หากสถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกนิ่ง เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเป็นบวกด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลขอใช้เวลาราว 3 เดือนในการประเมินสถานการณ์ของเศรษฐกิจโลก เพื่อจะพิจารณาว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป และจำเป็นต้องมีมาตรการอื่นๆ เพิ่มเติมหรือไม่ สิ่งสำคัญในขณะนี้คือสภาผู้แทนราษฎร ควรให้ความร่วมมือกับรัฐบาลในการผ่าน ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2552 เพื่อให้มีเม็ดเงินมาใช้ได้ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจได้เร็วขึ้นจาก 1 เมษายน 2552
"รัฐบาลต้องทำงานแข่งกับเวลา ทุกชั่วโมง เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องการให้เม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ เสียงตอบรับพร้อมรับฟัง แต่วันนี้จะให้ปรับทันทีคงไม่ได้ เราต้องนิ่งในการทำงาน"
ส่วนโครงการเมกะโปรเจกต์นั้น นายกอร์ปศักดิ์ กล่าวว่า รัฐบาลจะดำเนินการควบคู่ไปด้วย แต่ต้องเข้าใจว่าโครงการดังกล่าวไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ทันที เพราะโครงการใหญ่บางครั้งไม่ได้สร้างรายได้ให้คนในประเทศ แต่เป็นการสร้างรายได้ให้กับต่างชาติมากกว่า ถ้ารัฐบาลจะอัดฉีดเงินให้หมุนเวียนในระบบอย่างได้ผล จะต้องกระจายเม็ดเงินให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ทันที โดยเฉพาะการดำเนินโครงการขนาดเล็กตามชนบท เช่น การสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็ก หรือแม้แต่โครงการถนนปลอดฝุ่น เชื่อว่าจะช่วยสร้างงานให้กับคนในพื้นที่ ซึ่งจะเห็นผลเร็วและชัดเจนกว่า
เย้ยเป็น ส.ส.ตั้งแต่แม้วยังเป็นวุ้น
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ระบุว่า ประเทศไทยกำลังฝากเศรษฐกิจให้เด็กสองคนแก้ไข มองอย่างไร นายกอร์ปศักดิ์ กล่าวว่า หลายคนรวมทั้งตนก็เป็นผู้แทนมาตั้งแต่ปี 2529 เห็น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เดินหิ้วกระเป๋าเดินไปเดินมาในสภาเหมือนกัน ดังนั้นจะมาบอกว่าพวกเราเป็นมือใหม่คงไม่ใช่ ส่วนคำปรามาสที่บอกว่าเป็นเด็ก 2 คน ที่ทำงานไม่เป็นก็ไม่เป็นไร เรามีหน้าที่ทำงานอย่างเดียว ผลงานจะเป็นเครื่องพิสูจน์ เราเพิ่งทำงานเพียง 5 สัปดาห์เท่านั้น
แฉดีเอสไอขวางงานบีโอไอ
ด้านนายพุทธิพงษ์ ปุณกัณต์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจมีการหยิบยกประเด็นของยางรถยนต์ที่เป็นอุปสรรคของนักลงทุนที่ต้องถูกดำเนินคดี เนื่องจากก่อนหน้านี้ ตามกรอบของบีโอไอ ได้รับการยกเว้นภาษี แต่ปรากฎว่าหน่วยงานอื่นเช่น กรมสอบสวนคดีพิเศษ กลับตีความว่าเป็นวัถุอันตราย กลายเป็นปัญหานโยบายของแต่ละหน่วยงานสวนทางกัน ปัญหาจึงตกมาอยู่ที่นักลงทุน เมื่อขึ้นโรงขึ้นศาลก็มูลค่าการปรับเป็นจำนวนมาก เอกชนก็ขออุทธรณ์อยู่ในขณะนี้
รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า อีกประเด็นคือบรรดาข้อตกลงที่รัฐบาลทำกับต่างประเทศ เช่น กรอบการค้าเสรี ไทย ออสเตรเลีย เมื่อมีการเปิดการค้าเสรีแล้ว แต่แนวปฏิบัติจริงกลับพบว่าหน่วยงานไม่ได้ปรับตัว เช่นการนำเข้า ที่กรมศุลกากรกลับไม่ได้ทำตามกรอบ ตีความไปคนละทิศละทาง อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีได้ขอให้กระทรวงยุติธรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง และบีโอไอ ไปศึกษาในเรื่องเหล่านี้ให้ตรงกัน ภายในเวลา 1 เดือนและนำกลับเข้าที่ประชุมอีกครั้ง
นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจได้พิจารณร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ พ.ศ.... โดยให้มีการตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งและบริการของประเทศ (กบส.) เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการกำหนดนโยบายและขับเคลื่อนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งภาคเอกชน เช่น สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สมาคมธนาคารไทย เป็นกรรมการ