ASTVผู้จัดการรายวัน - แพกเกจกระตุ้นเศรษฐกิจเข้า ครม.วันนี้ มนุษย์เงินเดือน เตรียมเฮ! มีรายได้ประจำไม่ถึง 2 หมื่น "อภิประชานิยม" แจกฟรี 12 เดือนๆ ละ 2 พัน แถมลดเงินสมทบเข้าประกันสังคม "ไพฑูรย์" อ้างคุ้มสุดๆ สกัดตกงานนับล้าน-สปส.ไม่ต้องตามอุ้ม "กรณ์" ยอมรับงบกลางปีงอกอีก 2 หมื่นล้าน รวมเป็น 1.2 แสนล้าน ส่งผลคลังต้องปรับวงเงินก่อหนี้ปี 52 เป็น 6 แสนล้าน หลังขาดดุลงบบานปลาย พร้อมขายพันธบัตรวงเงิน 5 หมื่นล้านปล่อยซอฟท์โลนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี สธ.ไม่ยอมน้อยหน้า ก.แรงงาน ไอเดียกระฉูดเตรียมนำเข้าแพทย์ต่างชาติ ฟื้นเมดิคอลฮับหวังโกยเงินเข้าประเทศ
วันนี้ (13 ม.ค.) คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ ได้แก่ การเพิ่มงบประมาณกลางปี มาตรการช่วยเหลือภาคอสังหาริมทรัพย์ การแก้ปัญหาการว่างงาน ปัญหาภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กหรือเอสเอ็มอี ภาคส่งออกและภาคการท่องเที่ยว รวมไปถึงกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง โดยนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า ตนจะเสนอ ครม.พิจารณาอนุมัติการจัดทำงบประมาณเพิ่มเติมกลางปี 52 อีก 1.2 แสนล้านบาท ซึ่งส่วนเกิน 2 หมื่นล้านบาทที่เพิ่มเติมมาใหม่นั้นเป็นการดำเนินการตาม พ.ร.บ.งบประมาณ ที่ระบุว่า หากจะเสนอจัดทำงบประมาณเพิ่มเติมจะต้องตั้งงบเพื่อชดเชยเงินคงคลังที่มีการใช้ของปีก่อนหน้าไปด้วย
รายละเอียดการใช้เงินงบกลางปีแสนล้านบาทขณะนี้ชัดเจนแล้วทั้งหมด เป็นไปตามเงื่อนไขเดิมที่กำหนดไว้ว่าจะต้องลดภาระให้ประชาชนได้จริง นำเงินกลับเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพและรั่วไหลน้อยที่สุด เช่น การลดภาระผู้ปกครองเรื่องค่าเล่าเรียน เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และมาตรการบรรเทาปัญหาการว่างงาน
นอกจากงบแสนล้านที่จะนำมากระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว รัฐบาลยังมีแผนอื่นเพื่อให้เกิดการกระตุ้นรอบด้าน รวม 5 ด้าน ดังนี้ จะเร่งเบิกจ่ายงบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่ยังมีอยู่ 1.4 แสนล้านบาทโดยเรื่องนี้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง จะเร่งรัดเบิกจ่ายงบลงทุนทั้งภาครัฐและรัฐวิสาหกิจที่มีอยู่ 6 แสนล้านบาท โดยคาดจะเสนอ ครม.เพื่อให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดของแต่ละรัฐวิสาหกิจและส่วนราชการรับทราบรายละเอียดการเบิกจ่ายและเร่งรัดติดตามต่อไป
ส่วนมาตรการภาษีที่จะออกมาจะเน้นลดภาระประชาชน แก้ปัญหาเฉพาะทางให้เศรษฐกิจเดินหน้า โดยสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจรายใหญ่อาจไม่มีมาตรการที่จะออกมาช่วยโดยตรง แต่จะเป็นการฟื้นความเชื่อมั่นเพื่อให้การลงทุนและการบริโภคมากกว่า ซึ่งจะออกมาตรการนี้ได้ภายในสิ้นเดือนนี้ และสุดท้ายจะเน้นบทบาทสถาบันการเงินเฉพาะกิจเพื่อช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและย่อมหรือเอสเอ็มอี ที่มียอดขาย 200-300 ล้านบาทต่อปีหรือกลุ่มที่เดือดร้อนจริง โดยผ่านการค้ำประกันการกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ซึ่งคาดจะมีเงินเข้าสู่ระบบหลายแสนล้านบาท
"รัฐบาลได้เร่งกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านมาตรการทางการคลังแล้ว คาดในการพิจารณามาตรการทางการเงินของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ใกล้ๆ นี้จะมีทิศทางที่สอดคล้องกันไปด้วย" นายกรณ์กล่าวและว่า การเพิ่มทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจคงจะไม่นำมาจากงบกลางปีแสนล้าน เนื่องจากไม่ตรงกับเป้าหมายการใช้เงิน แต่จะหาจากแหล่งอื่นหรือผันจากที่อื่นมาเพิ่มเติมแทน อย่างไรก็ตามตนไม่มีแนวคิดนำเม็ดเงินจากโครงการก่อสร้างโรงงานยาสูบแห่งใหม่จำนวน 1.6 หมื่นล้านบาทมาใช้ดำเนินการแทน
นายทวีศักดิ์ ฟุ้งเกียรติเจริญ กรรมการผู้จัดการ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า บสย.จะเข้าไปค้ำประกันเงินกู้ของธุรกิจร้านอาหาร สปาและกลุ่มท่องเที่ยวซึ่งจะมีเม็ดเงินจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเข้ามาสนับสนุนสินเชื่อดังกล่าวประมาณ 5 หมื่นล้านบาท คาด บสย.จะเข้าไปค้ำประกันได้ 3 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ในการค้ำประกันสินเชื่อดังกล่าว รัฐจะเข้าช่วยเหลือผู้ประกอบการด้วยการรับภาระค่าธรรมเนียมการค้ำประกันของ บสย.จำนวน 1.5% ของวงเงินที่บสย.ค้ำ จากเดิมผู้ประกอบการต้องชำระ 1.75% ก็จะเหลือเพียง 0.25% เท่านั้น
***ลูกจ้างเฮ! รับเดือนละ 2 พัน 12 เดือน
นายไพฑูรย์ แก้วทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงความคืบหน้ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจตามมาตรการเร่งด่วนของรัฐบาล ในเรื่องการแก้ไขปัญหาการว่างงาน ว่า กระทรวงยังมีนโยบายช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานที่มีรายได้น้อย โดยการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้เอาประกันตนกว่า 9.3 ล้านคน รายละ 2 พันบาท โดยจะพิจารณาตามขั้นเงินเดือน และจะจ่ายเฉพาะผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่าเดือนละ 2 หมื่นบาท ซึ่งโครงการนี้มีระยะเวลา 1 ปี โดยโครงการนี้คาดว่าใช้งบประมาณ 1.9 หมื่นล้านบาท จากงบกลางในการกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.2 แสนล้านบาท ขณะนี้เหลือเพียงการขออนุมัติจากคณะกรรมการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) หากเห็นด้วย ตนก็พร้อมที่จะเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป
"เงินที่หายไป 19,000 ล้านบาท หากจะหายไปก็ถือว่าคุ้มค่า เพราะหากปล่อยให้คนตกงาน หากเทียบผู้ประกันตน 9.3 ล้านคนถ้าตกงาน 1 ล้านคน สปส.ต้องจ่ายเงินชดเชยให้คนตกงานครึ่งนึงของเงินเดือน ไม่เกิน 7,500 บาท เป็นเวลา 6 เดือน ถ้าคิด 1 ปี สปส.ต้องจ่ายเงินชดเชยให้ถึง 40,000 ล้านบาท" นายไพฑูรย์กล่าวและอ้างว่า หากไม่มีมาตรการนี้ จะทำให้เกิดการเลิกจ้างถึง 1 ล้านคน
นอกจากนี้ ในแผนช่วยเหลือแรงงาน 1 ใน 6 มาตรเร่งด่วนของรัฐบาล โดยเตรียมเสนอแผนต่อบอร์ด สปส. เรื่องการลดจ่ายเงินสมบทเข้ากองทุนประกันสังคมจากเดิมฝ่ายลูกจ้างและนายจ้างต้องจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมฝ่ายละ 5 % ให้ลดลงฝ่ายละ 1.5 % ซึ่งจะเหลือฝ่ายละ 3.5 % เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย โดยรัฐบาลจะจ่ายเงินในส่วนนี้ประมาณ 4.1 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะเรียบร้อยภายในสัปดาห์หน้า
**สปส.ไฟเขียว ก.แรงงานเดินหน้า
นายปั้น วรรณพินิจ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า แนวทางการช่วยเหลือแรงงานผู้ประกันตนเป็นค่าครองชีพในแต่ละเดือน 2,000 บาทนั้น สปส. ได้ทราบเรื่องแล้ว แต่ในส่วนที่จะให้ สปส.พิจารณาเงื่อนไขของผู้ได้รับสิทธิ์นั้นคงเป็นไปไม่ได้ เป็นหน้าที่ของกระทรวงแรงงานที่สามารถอาศัยข้อมูลลูกจ้างจากประกันสังคมมาเป็นพื้นฐานในการพิจารณา
"เรื่องให้เราดูเงื่อนไขคงไม่มี แต่หากจะนำเงินมาให้กระทรวงแรงงานแล้วค่อยนำไปแจกจ่ายให้กับผู้ประกันตน โดยใช้ข้อมูลจากประกันสังคมเป็นพื้นฐาน ซึ่งจะมีทั้งผู้ประกันตนจำนวน 9.3 ล้านคน เลขประจำตัว รวมถึงข้อมูลของผู้ประกันตนที่ได้รับสิทธิสงเคราะห์บุตร นั้นน่าจะอยู่ในแนวทางนี้" นายปั้นกล่าวและว่า ในส่วนการลดเงินสมทบเข้ากองทุนอยู่ระกว่างการระบุสัดส่วนการลดเงินสมทบว่าเป็นกี่เปอร์เซนต์ โดยจะต้องนำเข้าที่ประชุมบอร์ดของคณะกรรมการ สปส.ก่อน ซึ่งอาจจะเป็น 0.5% 1% หรือ 1.5% แนวทางนี้ เป็นการช่วยเหลือในเบื้องต้น เพื่อลดภาระต้นทุนให้กับนายจ้าง ซึ่งเดิมจะต้องจ่ายเงินสมทบเช่นเดียวกับเงินออมให้กับลูกจ้าง แต่เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในขณะนี้การรักษาลูกจ้างให้อยู่ในระบบนับเป็นเรื่องสำคัญ และมีผลกระทบต่อเนื่องโดยตรงมากกว่าการเก็บเงินสะสมตามสัดส่วนดังกล่าว
"แน่นอนว่ามีผลกระทบต่อรายได้การจัดเก็บของ สปส. แต่หากปล่อยให้มีการเลิกจ้างเกิดขึ้นเงินที่จะไหลเข้า สปส.เองก็จะลดลงเหมือนกัน นอกจากนี้ยังมีข้อดีหากไม่มีการเลิกจ้างเราก็ไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยในจำนวนมาก และลูกจ้างยังสามารถนำเงินไปเป็นค่าใช้จ่ายให้กับครอบครัวได้อีกด้วย" นายปั้นกล่าว
ทั้งนี้ สัดส่วนการปรับลดเงินสมทบเข้ากองทุนทางคณะกรรมการจะมีพิจารณาอีกครั้งตามรายละเอียดต่างๆ ในวันที่ 20 มกราคมนี้ และคาดว่าจะต้องใช้เวลาประมาณ 1 เดือนเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนก่อนที่จะประกาศออกมาเป็นกฎกระทรวงฯ และนำไปบังคับใช้ต่อไป ส่วนการประชุมในวันนี้ (13 ม.ค.) จะเป็นการพบปะกันระหว่างคณะกรรมการกับปลัดกระทรวงแรงงานเท่านั้น
***ตั้ง กก.แก้ตกงาน 5 แสน งบ 7 พันล้าน
แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า วันนี้ นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี จะเสนอ แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดมาตรการช่วยเหลือแรงงานตกงานในปี 2552 ตามโครงการฝึกอบรมและพัฒนาอาชีพ จำนวน 5 แสนคน ครอบคลุมทั้งแรงงานเก่าและแรงงานใหม่ ภายใต้ชื่อโครงการ “ส่งแรงงานกลับบ้าน”แต่จะใช้เงินงบประมาณปี 2552จำนวน 7,000 ล้านบาท
ขั้นตอนคือรัฐบาลจะจ้างแรงงานที่ตกงานเป็นเวลา 1 เดือน เพื่อนำมาฝึกอบรมและพัฒนาอาชีพตามที่แรงงานต้องการหรือมีความถนัด จากนั้นก็จะให้แรงงานเลือกว่าตนเองต้องการทำอะไรในภูมิลำเนาของตนเอง ทั้งนี้จะประสานงานกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่มีโครงการ ธ.ก.ส.สานฝันแรงงาน อยู่แล้ว เพื่อปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยพิเศษให้กับแรงงาน
“การฝึกอบรมและพัฒนาอาชีพ คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ในเดือนเมษายนนี้ทันที หลังจากมีการประชุมคณะกรรมการในเร็ว ๆนี้ เพื่อระดมความคิดเห็น จากส่วนราชการประกอบการวิเคราะห์ เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจะขับเคลื่อนได้ราวเดือนเมษายน-พฤษภาคมนี้”
ขณะที่โครงการกองทุนเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน ซึ่งจะใช้งบประมาณปี 2552 อีกจำนวน 6 พันล้านบาท หรือโครงการเอสเอ็มแอลเดิม ซึ่งมีหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่ยังไม่ได้รับงบประมาณอีกกว่า 7 พันหมู่บ้าน โดยหลักเกณฑ์เบื้องต้นจะได้รับเท่าเดิม ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงการปรับปรุงคุณภาพเพื่อใช้งบประมาณยกระดับและนำไปสู่การกระจายงานและปรับปรุง ดังนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการในกองทุนเอสเอ็มแอลเดิม
***เปิดช่องแพทย์ต่างชาติทำงานในไทย
นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า นโยบายศูนย์กลางการแพทย์หรือเมดิคัลฮับ เป็นนโยบาลรัฐบาลที่เป็นช่องทางหนึ่งในการนำรายได้เข้าประเทศ นอกเหนือจากการท่องเที่ยวที่ค่อนข้างซบเซา ซึ่งมาตรการนี้อาจช่วยกระตุ้นการท่อเที่ยวก็เป็นได้ โดยเบื้องต้นได้หารือกับแพทยสภาเพื่อศึกษาระเบียบข้อบังคับให้แพทย์ชาวต่างประเทศสามารถเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้ ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการถ่ายเทแพทย์และพยาบาลของรัฐไปสู่เอกชน อย่างไรก็ตามนโยบายดังกล่าวต้องไม่กระทบสิทธิคนไทยด้วย
นอกจากนี้ มีนโยบายที่จะยกระดับสถานีอนามัยทั่วประเทศ 9,762 แห่ง เป็นโรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพประจำตำบล เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยให้น้อยลง โดยอสม.ทั้งหมดจะต้องเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการสร้างเสริมสุขภาพประชาชน ขณะเดียวกันจะประสานสำนักงานหลักประกันสุขภาพอแห่งชาติ (สปสช.) ในการดึงคลินิกเอกชนเข้าเป็นเครือข่ายบริการสุขภาพของรัฐมากขึ้น เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการรักษาโรคพื้นฐานได้ง่าย
“สธ.จะสนับสนุนให้โรงพยาบาลในเขตพื้นที่พิเศษ เช่น จังหวัดที่มีประชากรแฝงจากแรงงานต่างชาติจำนวนมากบริหารงานแบบองค์กรมหาชนอย่างรพ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร เพื่อรองรับความแตกต่างของเมือง พร้อมทั้งประสานงานความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)ในการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยจัดสรรทุนการศึกษาให้กับเด็กในตำบล อำเภอและจังหวัด จะช่วยแก้ปัญหาบุคลากรขาดแคลน” นายวิทยากล่าว
ด้านนพ.สมศักดิ์ โลห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า ไม่คัดค้านเรื่องเมดิคอลฮับ เพราะนำรายได้เข้าสู่ประเทศเป็นอย่างมาก ไม่เพียงแต่ระบบการรักษาพยาบาลเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงเม็ดเงินที่การท่องเที่ยวได้รับด้วย เพราะผู้ป่วยที่เข้ามารักษาไม่ได้มาเพียงคนเดียว หรือบางครั้งก็ใช้บริการลักษณะทัวร์สุขภาพ ที่เข้ามาเที่ยวแล้วตรวจสุขภาพด้วย
“อะไรที่เป็นประโยชน์กับประเทศชาติเป็นหลักเราก็เห็นด้วย แต่หากต้องพิจารณาว่าทำแล้วได้อะไร อย่างเช่น การนำแพทย์ต่างชาติเข้ามารักษาคนต่างชาติ แล้วแพทย์ไทยจะได้กลับรักษาคนไทย ซึ่งแท้จริงแล้วไม่ใช่เช่นนั้น เพราะแพทย์ที่รักษาชาวต่างชาติในขณะนี้ไม่ใช่แพทย์ที่อยู่ในโรงพยาบาลชุมชน แต่เป็นล้วนจบมาจากต่างประเทศทั้งสิ้น” นพ.สมศักดิ์ กล่าว
นพ.สมศักดิ์กล่าวด้วยว่า คนไข้ต่างประเทศที่เดินมารักษาในไทยส่วนใหญ่เป็นชาวตะวันออกกลาง ซึ่งต้องการมารักษากับแพทย์ไทย ไม่ได้ต้องการรักษาแพทย์จากประเทศของเขา จึงอยากให้มีการพิจารณาให้ดีว่าต้องการให้แพทย์ต่างประเทศเข้ามารักษาคนต่างชาติเป็นการถาวรนั้น เป็นเรื่องดีหรือเกิดผลกระทบอย่างไรบ้าง เพราะหากมีแพทย์ต่างชาติเข้ามารักษาในไทย ก็ไม่ได้หมายความว่า แพทย์ไทยที่เคยรักษาชาวต่างชาติจะกลับไปอยู่ต่างจังหวัดเพื่อรักษาคนไทยอย่างแน่นอน อาจเป็นการเพิ่มปัญหาการสมองไหลด้วยซ้ำ โดยแพทย์กลุ่มนี้อาจเลือกที่จะไปอยู่ต่างประเทศ เนื่องจากเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอยู่แล้ว
***NGOชี้ไม่ต่างจากรัฐบาลแม้ว
เมื่อเวลา 12.30 น.น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค พร้อมด้วยเครือข่ายผู้ป่วยโรคเรื้อรังรวมกว่า 30 คน ได้เดินทางเข้าพบนายวิทยา และผู้บริหารระดับสูงของสธ.ในโอกาสที่เข้ารับตำแหน่ง รวมถึงให้ข้อมูลด้านสาธารณสุข
น.ส.สารี กล่าวถึงนโยบายเมดิคอลฮับว่า ไม่เห็นด้วย เพราะไม่อยากให้กระทรวงที่ทำหน้าที่ในการรักษาพยาบาลต้องเป็นห่วงเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจ ในขณะที่ปัญหาสุขภาพของคนในประเทศที่มีระดับรุนแรง และยิ่งจะกระทำให้เกิดภาวการณ์ขาดแคลนแพทย์ในชนบทมากยิ่งขึ้น
“ที่ผ่านมามีงานวิจัยของสธ.ที่ชี้ให้เห็นว่าเมดิคัลฮับก่อให้เกิดผลเสีย ทั้งการทำให้สมองไหล โดยทำให้อาจารย์แพทย์ที่สอนนักเรียนแพทย์ลาออกมาอยู่ในโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาพื้นฐานในเรื่องบุคลากรทางการแพทย์ จึงอยากให้นายวิทยาพิจารณาจากข้อมูลต่างให้ดี เพราะหากดำเนินการตามความคิดนั้น ก็ไม่ต่างอะไรกับรัฐบาลทักษิณ” น.ส.สารี กล่าว
ทั้งนี้ ข้อเสนอของฝ่ายวิชาการที่เสนอเรื่องการเก็บภาษีจากโรงพยาบาลเอกชนที่รักษาคนไข้ต่างชาติ เพื่อนำเงินดังกล่าวมาสนับสนุนการผลิตแพทย์เพิ่มนั้น เป็นเรื่องที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหาบุคลากรขาดแคลน รวมถึงการทำอะไรให้ประชาชนมีสุขภาพดี ไม่ใช่นำเรื่องภาระทางเศรษฐกิจมาเกี่ยวข้องด้วย เพราะเมื่อคนมีสุขภาพที่ดี ก็จะทำให้สังคมและเศรษฐกิจก็จะดีขึ้นตามไปด้วย
***คลังปรับวงเงินก่อหนี้เป็น 6 แสนล.
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังจะปรับแผนการก่อหนี้ภาครัฐสำหรับงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2552 เป็น 6 แสนล้านบาท จากเดิมที่ตั้งวงเงินไว้ที่ 4.5 แสนล้านบาท เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายจัดทำงบประมาณกลางปีเพิ่มเติมอีก 1.2 แสนล้านบาท ทำให้ต้องมีการออกพันธบัตรเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณเพิ่มเติม 3.54 แสนล้านบาท
นอกจากนี้ ยังมีการรีไฟแนนซ์เงินกู้วงเงิน 2 แสนล้านบาท และการออกตราสารให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) อีก 5 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตาม ในปีงบประมาณ 2552 กระทรวงการคลังจะเน้นการออกพันธบัตรระยะสั้นอายุ 2-3 ปีเพิ่มมากขึ้น โดยในส่วนของตั๋วเงินคลังจะปรับเพิ่มวงเงินจาก 1.96 แสนล้านบาท เป็น 2.5 แสนล้านบาท ส่วนการออกพันธบัตรออมทรัพย์จะลดจาก 6 หมื่นล้านบาท เหลือ 1 หมื่นล้านบาท
"งบกลางปีที่ตั้งเพิ่ม 1.2 แสนล้านบาท นำมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจจริง 1 แสนล้านบาท อีก 2 หมื่นล้านบาท เป็นการตั้งชดเชยการนำเงินคงคลังมาใช้ ซึ่งการปรับแผนก่อหนี้เพิ่มเป็น 6 แสนล้านบาท มาจากการออกพันธบัตรออมทรัพย์ พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง และตั๋วสัญญาใช้เงิน" นายพงษ์ภาณุกล่าว
ก่อนหน้านี้ สบน.วางแผนพันธบัตรออมทรัพย์ 60,000 ล้านบาท โดยจะออกงวดแรกขายเดือน ม.ค. 2552 จำนวน 10,000 ล้านบาท เป็นการขายให้กับบุคคลทั่วไป โดยไม่จำกัดจำนวนการซื้อขั้นต่ำ โดยจะให้ผลตอบแทนสูงเป็นที่จูงใจผู้ซื้อ ในส่วนนี้อัตราดอกเบี้ยที่ให้จะชดเชยภาษีดอกเบี้ยรับ 15% ให้กับผู้ซื้อ หลังจากนั้น จะทยอยออกพันธบัตรออมทรัพย์ที่เหลือขายให้กับเยาวชน คนชรา และคนที่ฐานรากที่อยู่ต่างจังหวัด โดยแต่ละประเภทจะขายที่วงเงิน 10,000-15,000 ล้านบาท ถือเป็นทางเลือกการลงทุนใหม่ที่คลังต้องการกระจายให้กับประชาชนอย่างหลากหลายมากขึ้น
นายพงษ์ภาณุ กล่าวว่า การปรับเพิ่มวงเงินการก่อหนี้ เพื่อรองรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะนำมาใช้ จะทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะ ณ สิ้นปี 2552 เพิ่มขึ้นเป็น 41% ของอัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ภายใต้สมมติฐานจีดีพีขยายตัว 2% อัตราเงินเฟ้อ 1% ส่วนในปีงบประมาณ 2553 ยังคงมีการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุล แต่คาดว่าหนี้สาธารณะจะปรับลดลงอยู่ในภาวะปกติที่ระดับไม่เกิน 40% ของจีดีพี เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกไปจะทำให้จีดีพีขยายตัวได้มากขึ้น โดยหนี้สาธารณะ ณ สิ้น ต.ค.51 อยู่ที่ 36.92% ของจีดีพี
สำหรับสภาพคล่องในตลาดมีเพียงพอที่จะออกพันธบัตร ซึ่งที่ผ่านมาคลังได้มีการหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) อย่างต่อเนื่องเพื่อให้การออกพันธบัตรแต่ละครั้งช่วยดูดซับสภาพคล่องในระบบ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่ออัตราผลตอบแทนในตลาด ซึ่ง ธปท.จะออกพันธบัตรระยะสั้นอายุ 14 วัน - 3 ปี น้อยลง เพื่อเปิดโอกาสให้กระทรวงการคลังสามารถออกพันธบัตรระยะสั้นได้แทน
***ออกซอฟท์โลนอุ้มธุรกิจท่องเที่ยว
นายพงษ์ภาณุเปิดเผยด้วยว่า คลังจะออกตราสาร วงเงิน 5 หมื่นล้านบาท เพื่อจัดเป็นวงเงินสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน)ให้ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) ปล่อยกู้ต่อให้กับธนาคารพาณิชย์ในลักษณะการซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงิน ทดแทนซอฟต์โลนของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ตราสารที่ออกจะเป็นตราสารระยะสั้น วงเงิน 5 หมื่นล้านบาท เป็นการกู้เงินในประเทศ โดยปัจจุบันตราสารอายุ 2-3 ปี อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 1.95% แต่หากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกในวันที่ 14 ม.ค.2552 ต้นทุนการออกพันธบัตรก็จะลดลงอีก นอกจากนี้ รัฐบาลจะมีการจัดเงินประมาณอุดหนุนดอกเบี้ยในโครงการนี้เพื่อให้ต้นทุนพันธบัตรเหลือแค่ 1% โดยจัดสรรจากงบกลางปีเบื้องต้นวงเงิน 500 ล้านบาท
นายพงษ์ภาณุ กล่าวว่า การปล่อยกู้โครงการดังกล่าวจะเน้นปล่อยให้กับธุรกิจท่องเที่ยว และบริการ โดยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่คิดจากลูกค้าที่ขอสินเชื่อจะอยู่ที่ประมาณ 5.5% คาดว่าเม็ดเงินปล่อยเข้าสู่ระบบได้ในช่วงต้นเดือน มี.ค.นี้
สำหรับหลักเกณฑ์การปล่อยกู้จะไม่ต่างจากแบบเดิมที่ ธปท.เคยปล่อยกู้ซอฟท์โลน แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยที่การกู้เงินของลูกค้าจากธนาคารพาณิชย์จะออกเป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน โดยแบงก์จะอาวัลตั๋วเพื่อขายลดให้เอสเอ็มอีแบงก์วงเงินกู้รายละไม่เกิน 100 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าขณะนี้ความต้องการสินเชื่อในภาคธุรกิจท่องเที่ยวมีมากถึง 7.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งมากกว่าวงเงินที่จัดเตรียมไว้ ขณะเดียวกันซอฟท์โลนครั้งนี้ส่วนหนึ่งจะใช้รองรับการรีไฟแนนซ์ซอฟท์โลนเดิมของ ธปท.ด้วยเป็นวงเงิน 3 หมื่นล้านบาท ดังนั้น จึงเตรียมหารือกับสมาคมธนาคารไทย เพื่อวางแนวทางดำเนินการให้เกิดความเหมาะสมต่อไป
นายพงษ์ภาณุ กล่าวว่า ธนาคารยังได้ร่วมกับกระทรวงแรงงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม ออกโครงการสินเชื่อชะลอการเลิกจ้างงาน วงเงินเบื้องต้น 6 พันล้านบาท โดยกองทุนประกันสังคมจะนำเงิน 6 พันล้านบาท ไป ฝากไว้กับ เอสเอ็มอีแบงก์ เพื่อให้นำไปปล่อยกู้ให้กับสถานประกอบการ ภายใต้เงื่อนไข สถานประกอบการที่ได้รับการอนุมัติเงินกู้ในโครงการดังกล่าว จะต้องไม่เลิกจ้างลูกจ้าง
คาดว่าจะสามารถช่วยเหลือสถานประกอบการได้ประมาณ 1 พันราย และช่วยเหลือลูกจ้างได้ประมาณ 2 หมื่นคน โดยผู้ประกอบการสามารถขอกู้ได้ในวงเงินตั้งแต่ 5 หมื่นบาท ไม่เกิน 100 ล้านบาทต่อราย ในอัตราดอกเบี้ยคงที่ประมาณ 5% ต่อปี ในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี
**มาร์คมั่นใจ 1 เดือนเห็นผลงาน
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงผลงานของรัฐบาลว่า การอนุมัติแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจจะมีมาตรการบางส่วน ซึ่งจะเริ่มเห็นผลได้ตั้งแต่เดือนหน้าเป็นต้นไป ส่วนที่หลายฝ่ายแสดงความเห็นว่ารัฐบาลยังไม่ควรจะเริ่มนโยบายใหม่ อย่างเรื่องเงินสวัสดิการคนชรานั้น จริงๆ แล้วหลักของการ กระตุ้นเศรษฐกิจ มาตรการที่ได้ผลที่สุดคือ มาตรการที่สามารถเอาเงินไปใส่กระเป๋าประชาชนได้เร็วที่สุด แต่เราต้องมาพิจารณาว่าใครบ้างที่ควรจะได้รับตรงนี้ ซึ่งกรณีของคน ทำงานเราจะพิจารณาเฉพาะคนที่มีรายได้น้อย แต่ใสส่วนของกลุ่มผู้สูงอายุในหลักสากลคนกลุ่มนี้คือคนที่มีสิทธิจะได้รับการดูแล ดังนั้นยังยืนยันในมาตรการดังกล่าว และเป็นนโยบายที่ทุกพรรคการเมืองใช้หาเสียงแต่ไม่เคยทำให้เกิดเป็นจริงขึ้นมาได้ ฉะนั้นถึงเวลาที่ต้องเริ่มต้น แต่ในระยะต่อไปจะไม่ใช้เบี้ยยังชีพเป็นกลไกหลัก เราจะพึ่งกลไกสำหรับคนที่อยู่นอกประกันสังคมกับระบบราชการ คือในลักษณะการออมชุมชน คงจะเริ่มต้นได้ในปีงบประมาณ 53
ขณะนี้รายจ่ายยังอยู่ในกรอบเรื่องการขาดดุลและการกู้ยืมไม่ได้กระทบต่อเกณฑ์วินัย ซึ่งทั่วโลกเช่นเดียวกันภาวะเศรษฐกิจอย่างนี้รัฐบาลต้องยอมขาดดุล เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้น จะทำให้รายได้ของรัฐบาลกลับมาเอง
ส่วนมีมาตรการที่จะเก็บภาษีให้ตรงตามเป้านั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วันนี้ได้คำนวนเรื่องการจัดเก็บไม่เข้าเป้า เพื่อมากำหนดยอดวงเงินงบกลางปีที่จะไม่เกิดปัญหากับกรอบทางด้านการเงินการคลัง ฉะนั้นเวลาเราคำนวนเรื่อง การขาดดุลทั้งปี เราจะดูจากการขาดดุลที่รัฐบาลก่อนทำประมาณการไว้ ในช่วงการจัดทำงบประมาณบวกกับเงินที่จัดเก็บได้น้อยกว่าที่ประมาณการไว้ และเอาตรงนั้นมาคำนวนว่าเราสามารถจัดงบเพิ่มเติมได้เท่าไหร่ เราคำนวนไว้แล้ว ว่า เราจัดงบวันนี้ภายใต้สมมุติฐานว่า การจัดเก็บรายได้ ต่ำกว่าเป้าประมาณ 10 กว่าเปอร์เซ็นต์.
วันนี้ (13 ม.ค.) คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ ได้แก่ การเพิ่มงบประมาณกลางปี มาตรการช่วยเหลือภาคอสังหาริมทรัพย์ การแก้ปัญหาการว่างงาน ปัญหาภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กหรือเอสเอ็มอี ภาคส่งออกและภาคการท่องเที่ยว รวมไปถึงกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง โดยนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า ตนจะเสนอ ครม.พิจารณาอนุมัติการจัดทำงบประมาณเพิ่มเติมกลางปี 52 อีก 1.2 แสนล้านบาท ซึ่งส่วนเกิน 2 หมื่นล้านบาทที่เพิ่มเติมมาใหม่นั้นเป็นการดำเนินการตาม พ.ร.บ.งบประมาณ ที่ระบุว่า หากจะเสนอจัดทำงบประมาณเพิ่มเติมจะต้องตั้งงบเพื่อชดเชยเงินคงคลังที่มีการใช้ของปีก่อนหน้าไปด้วย
รายละเอียดการใช้เงินงบกลางปีแสนล้านบาทขณะนี้ชัดเจนแล้วทั้งหมด เป็นไปตามเงื่อนไขเดิมที่กำหนดไว้ว่าจะต้องลดภาระให้ประชาชนได้จริง นำเงินกลับเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพและรั่วไหลน้อยที่สุด เช่น การลดภาระผู้ปกครองเรื่องค่าเล่าเรียน เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และมาตรการบรรเทาปัญหาการว่างงาน
นอกจากงบแสนล้านที่จะนำมากระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว รัฐบาลยังมีแผนอื่นเพื่อให้เกิดการกระตุ้นรอบด้าน รวม 5 ด้าน ดังนี้ จะเร่งเบิกจ่ายงบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่ยังมีอยู่ 1.4 แสนล้านบาทโดยเรื่องนี้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง จะเร่งรัดเบิกจ่ายงบลงทุนทั้งภาครัฐและรัฐวิสาหกิจที่มีอยู่ 6 แสนล้านบาท โดยคาดจะเสนอ ครม.เพื่อให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดของแต่ละรัฐวิสาหกิจและส่วนราชการรับทราบรายละเอียดการเบิกจ่ายและเร่งรัดติดตามต่อไป
ส่วนมาตรการภาษีที่จะออกมาจะเน้นลดภาระประชาชน แก้ปัญหาเฉพาะทางให้เศรษฐกิจเดินหน้า โดยสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจรายใหญ่อาจไม่มีมาตรการที่จะออกมาช่วยโดยตรง แต่จะเป็นการฟื้นความเชื่อมั่นเพื่อให้การลงทุนและการบริโภคมากกว่า ซึ่งจะออกมาตรการนี้ได้ภายในสิ้นเดือนนี้ และสุดท้ายจะเน้นบทบาทสถาบันการเงินเฉพาะกิจเพื่อช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและย่อมหรือเอสเอ็มอี ที่มียอดขาย 200-300 ล้านบาทต่อปีหรือกลุ่มที่เดือดร้อนจริง โดยผ่านการค้ำประกันการกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ซึ่งคาดจะมีเงินเข้าสู่ระบบหลายแสนล้านบาท
"รัฐบาลได้เร่งกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านมาตรการทางการคลังแล้ว คาดในการพิจารณามาตรการทางการเงินของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ใกล้ๆ นี้จะมีทิศทางที่สอดคล้องกันไปด้วย" นายกรณ์กล่าวและว่า การเพิ่มทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจคงจะไม่นำมาจากงบกลางปีแสนล้าน เนื่องจากไม่ตรงกับเป้าหมายการใช้เงิน แต่จะหาจากแหล่งอื่นหรือผันจากที่อื่นมาเพิ่มเติมแทน อย่างไรก็ตามตนไม่มีแนวคิดนำเม็ดเงินจากโครงการก่อสร้างโรงงานยาสูบแห่งใหม่จำนวน 1.6 หมื่นล้านบาทมาใช้ดำเนินการแทน
นายทวีศักดิ์ ฟุ้งเกียรติเจริญ กรรมการผู้จัดการ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า บสย.จะเข้าไปค้ำประกันเงินกู้ของธุรกิจร้านอาหาร สปาและกลุ่มท่องเที่ยวซึ่งจะมีเม็ดเงินจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเข้ามาสนับสนุนสินเชื่อดังกล่าวประมาณ 5 หมื่นล้านบาท คาด บสย.จะเข้าไปค้ำประกันได้ 3 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ในการค้ำประกันสินเชื่อดังกล่าว รัฐจะเข้าช่วยเหลือผู้ประกอบการด้วยการรับภาระค่าธรรมเนียมการค้ำประกันของ บสย.จำนวน 1.5% ของวงเงินที่บสย.ค้ำ จากเดิมผู้ประกอบการต้องชำระ 1.75% ก็จะเหลือเพียง 0.25% เท่านั้น
***ลูกจ้างเฮ! รับเดือนละ 2 พัน 12 เดือน
นายไพฑูรย์ แก้วทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงความคืบหน้ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจตามมาตรการเร่งด่วนของรัฐบาล ในเรื่องการแก้ไขปัญหาการว่างงาน ว่า กระทรวงยังมีนโยบายช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานที่มีรายได้น้อย โดยการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้เอาประกันตนกว่า 9.3 ล้านคน รายละ 2 พันบาท โดยจะพิจารณาตามขั้นเงินเดือน และจะจ่ายเฉพาะผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่าเดือนละ 2 หมื่นบาท ซึ่งโครงการนี้มีระยะเวลา 1 ปี โดยโครงการนี้คาดว่าใช้งบประมาณ 1.9 หมื่นล้านบาท จากงบกลางในการกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.2 แสนล้านบาท ขณะนี้เหลือเพียงการขออนุมัติจากคณะกรรมการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) หากเห็นด้วย ตนก็พร้อมที่จะเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป
"เงินที่หายไป 19,000 ล้านบาท หากจะหายไปก็ถือว่าคุ้มค่า เพราะหากปล่อยให้คนตกงาน หากเทียบผู้ประกันตน 9.3 ล้านคนถ้าตกงาน 1 ล้านคน สปส.ต้องจ่ายเงินชดเชยให้คนตกงานครึ่งนึงของเงินเดือน ไม่เกิน 7,500 บาท เป็นเวลา 6 เดือน ถ้าคิด 1 ปี สปส.ต้องจ่ายเงินชดเชยให้ถึง 40,000 ล้านบาท" นายไพฑูรย์กล่าวและอ้างว่า หากไม่มีมาตรการนี้ จะทำให้เกิดการเลิกจ้างถึง 1 ล้านคน
นอกจากนี้ ในแผนช่วยเหลือแรงงาน 1 ใน 6 มาตรเร่งด่วนของรัฐบาล โดยเตรียมเสนอแผนต่อบอร์ด สปส. เรื่องการลดจ่ายเงินสมบทเข้ากองทุนประกันสังคมจากเดิมฝ่ายลูกจ้างและนายจ้างต้องจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมฝ่ายละ 5 % ให้ลดลงฝ่ายละ 1.5 % ซึ่งจะเหลือฝ่ายละ 3.5 % เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย โดยรัฐบาลจะจ่ายเงินในส่วนนี้ประมาณ 4.1 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะเรียบร้อยภายในสัปดาห์หน้า
**สปส.ไฟเขียว ก.แรงงานเดินหน้า
นายปั้น วรรณพินิจ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า แนวทางการช่วยเหลือแรงงานผู้ประกันตนเป็นค่าครองชีพในแต่ละเดือน 2,000 บาทนั้น สปส. ได้ทราบเรื่องแล้ว แต่ในส่วนที่จะให้ สปส.พิจารณาเงื่อนไขของผู้ได้รับสิทธิ์นั้นคงเป็นไปไม่ได้ เป็นหน้าที่ของกระทรวงแรงงานที่สามารถอาศัยข้อมูลลูกจ้างจากประกันสังคมมาเป็นพื้นฐานในการพิจารณา
"เรื่องให้เราดูเงื่อนไขคงไม่มี แต่หากจะนำเงินมาให้กระทรวงแรงงานแล้วค่อยนำไปแจกจ่ายให้กับผู้ประกันตน โดยใช้ข้อมูลจากประกันสังคมเป็นพื้นฐาน ซึ่งจะมีทั้งผู้ประกันตนจำนวน 9.3 ล้านคน เลขประจำตัว รวมถึงข้อมูลของผู้ประกันตนที่ได้รับสิทธิสงเคราะห์บุตร นั้นน่าจะอยู่ในแนวทางนี้" นายปั้นกล่าวและว่า ในส่วนการลดเงินสมทบเข้ากองทุนอยู่ระกว่างการระบุสัดส่วนการลดเงินสมทบว่าเป็นกี่เปอร์เซนต์ โดยจะต้องนำเข้าที่ประชุมบอร์ดของคณะกรรมการ สปส.ก่อน ซึ่งอาจจะเป็น 0.5% 1% หรือ 1.5% แนวทางนี้ เป็นการช่วยเหลือในเบื้องต้น เพื่อลดภาระต้นทุนให้กับนายจ้าง ซึ่งเดิมจะต้องจ่ายเงินสมทบเช่นเดียวกับเงินออมให้กับลูกจ้าง แต่เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในขณะนี้การรักษาลูกจ้างให้อยู่ในระบบนับเป็นเรื่องสำคัญ และมีผลกระทบต่อเนื่องโดยตรงมากกว่าการเก็บเงินสะสมตามสัดส่วนดังกล่าว
"แน่นอนว่ามีผลกระทบต่อรายได้การจัดเก็บของ สปส. แต่หากปล่อยให้มีการเลิกจ้างเกิดขึ้นเงินที่จะไหลเข้า สปส.เองก็จะลดลงเหมือนกัน นอกจากนี้ยังมีข้อดีหากไม่มีการเลิกจ้างเราก็ไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยในจำนวนมาก และลูกจ้างยังสามารถนำเงินไปเป็นค่าใช้จ่ายให้กับครอบครัวได้อีกด้วย" นายปั้นกล่าว
ทั้งนี้ สัดส่วนการปรับลดเงินสมทบเข้ากองทุนทางคณะกรรมการจะมีพิจารณาอีกครั้งตามรายละเอียดต่างๆ ในวันที่ 20 มกราคมนี้ และคาดว่าจะต้องใช้เวลาประมาณ 1 เดือนเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนก่อนที่จะประกาศออกมาเป็นกฎกระทรวงฯ และนำไปบังคับใช้ต่อไป ส่วนการประชุมในวันนี้ (13 ม.ค.) จะเป็นการพบปะกันระหว่างคณะกรรมการกับปลัดกระทรวงแรงงานเท่านั้น
***ตั้ง กก.แก้ตกงาน 5 แสน งบ 7 พันล้าน
แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า วันนี้ นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี จะเสนอ แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดมาตรการช่วยเหลือแรงงานตกงานในปี 2552 ตามโครงการฝึกอบรมและพัฒนาอาชีพ จำนวน 5 แสนคน ครอบคลุมทั้งแรงงานเก่าและแรงงานใหม่ ภายใต้ชื่อโครงการ “ส่งแรงงานกลับบ้าน”แต่จะใช้เงินงบประมาณปี 2552จำนวน 7,000 ล้านบาท
ขั้นตอนคือรัฐบาลจะจ้างแรงงานที่ตกงานเป็นเวลา 1 เดือน เพื่อนำมาฝึกอบรมและพัฒนาอาชีพตามที่แรงงานต้องการหรือมีความถนัด จากนั้นก็จะให้แรงงานเลือกว่าตนเองต้องการทำอะไรในภูมิลำเนาของตนเอง ทั้งนี้จะประสานงานกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่มีโครงการ ธ.ก.ส.สานฝันแรงงาน อยู่แล้ว เพื่อปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยพิเศษให้กับแรงงาน
“การฝึกอบรมและพัฒนาอาชีพ คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ในเดือนเมษายนนี้ทันที หลังจากมีการประชุมคณะกรรมการในเร็ว ๆนี้ เพื่อระดมความคิดเห็น จากส่วนราชการประกอบการวิเคราะห์ เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจะขับเคลื่อนได้ราวเดือนเมษายน-พฤษภาคมนี้”
ขณะที่โครงการกองทุนเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน ซึ่งจะใช้งบประมาณปี 2552 อีกจำนวน 6 พันล้านบาท หรือโครงการเอสเอ็มแอลเดิม ซึ่งมีหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่ยังไม่ได้รับงบประมาณอีกกว่า 7 พันหมู่บ้าน โดยหลักเกณฑ์เบื้องต้นจะได้รับเท่าเดิม ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงการปรับปรุงคุณภาพเพื่อใช้งบประมาณยกระดับและนำไปสู่การกระจายงานและปรับปรุง ดังนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการในกองทุนเอสเอ็มแอลเดิม
***เปิดช่องแพทย์ต่างชาติทำงานในไทย
นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า นโยบายศูนย์กลางการแพทย์หรือเมดิคัลฮับ เป็นนโยบาลรัฐบาลที่เป็นช่องทางหนึ่งในการนำรายได้เข้าประเทศ นอกเหนือจากการท่องเที่ยวที่ค่อนข้างซบเซา ซึ่งมาตรการนี้อาจช่วยกระตุ้นการท่อเที่ยวก็เป็นได้ โดยเบื้องต้นได้หารือกับแพทยสภาเพื่อศึกษาระเบียบข้อบังคับให้แพทย์ชาวต่างประเทศสามารถเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้ ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการถ่ายเทแพทย์และพยาบาลของรัฐไปสู่เอกชน อย่างไรก็ตามนโยบายดังกล่าวต้องไม่กระทบสิทธิคนไทยด้วย
นอกจากนี้ มีนโยบายที่จะยกระดับสถานีอนามัยทั่วประเทศ 9,762 แห่ง เป็นโรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพประจำตำบล เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยให้น้อยลง โดยอสม.ทั้งหมดจะต้องเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการสร้างเสริมสุขภาพประชาชน ขณะเดียวกันจะประสานสำนักงานหลักประกันสุขภาพอแห่งชาติ (สปสช.) ในการดึงคลินิกเอกชนเข้าเป็นเครือข่ายบริการสุขภาพของรัฐมากขึ้น เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการรักษาโรคพื้นฐานได้ง่าย
“สธ.จะสนับสนุนให้โรงพยาบาลในเขตพื้นที่พิเศษ เช่น จังหวัดที่มีประชากรแฝงจากแรงงานต่างชาติจำนวนมากบริหารงานแบบองค์กรมหาชนอย่างรพ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร เพื่อรองรับความแตกต่างของเมือง พร้อมทั้งประสานงานความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)ในการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยจัดสรรทุนการศึกษาให้กับเด็กในตำบล อำเภอและจังหวัด จะช่วยแก้ปัญหาบุคลากรขาดแคลน” นายวิทยากล่าว
ด้านนพ.สมศักดิ์ โลห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า ไม่คัดค้านเรื่องเมดิคอลฮับ เพราะนำรายได้เข้าสู่ประเทศเป็นอย่างมาก ไม่เพียงแต่ระบบการรักษาพยาบาลเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงเม็ดเงินที่การท่องเที่ยวได้รับด้วย เพราะผู้ป่วยที่เข้ามารักษาไม่ได้มาเพียงคนเดียว หรือบางครั้งก็ใช้บริการลักษณะทัวร์สุขภาพ ที่เข้ามาเที่ยวแล้วตรวจสุขภาพด้วย
“อะไรที่เป็นประโยชน์กับประเทศชาติเป็นหลักเราก็เห็นด้วย แต่หากต้องพิจารณาว่าทำแล้วได้อะไร อย่างเช่น การนำแพทย์ต่างชาติเข้ามารักษาคนต่างชาติ แล้วแพทย์ไทยจะได้กลับรักษาคนไทย ซึ่งแท้จริงแล้วไม่ใช่เช่นนั้น เพราะแพทย์ที่รักษาชาวต่างชาติในขณะนี้ไม่ใช่แพทย์ที่อยู่ในโรงพยาบาลชุมชน แต่เป็นล้วนจบมาจากต่างประเทศทั้งสิ้น” นพ.สมศักดิ์ กล่าว
นพ.สมศักดิ์กล่าวด้วยว่า คนไข้ต่างประเทศที่เดินมารักษาในไทยส่วนใหญ่เป็นชาวตะวันออกกลาง ซึ่งต้องการมารักษากับแพทย์ไทย ไม่ได้ต้องการรักษาแพทย์จากประเทศของเขา จึงอยากให้มีการพิจารณาให้ดีว่าต้องการให้แพทย์ต่างประเทศเข้ามารักษาคนต่างชาติเป็นการถาวรนั้น เป็นเรื่องดีหรือเกิดผลกระทบอย่างไรบ้าง เพราะหากมีแพทย์ต่างชาติเข้ามารักษาในไทย ก็ไม่ได้หมายความว่า แพทย์ไทยที่เคยรักษาชาวต่างชาติจะกลับไปอยู่ต่างจังหวัดเพื่อรักษาคนไทยอย่างแน่นอน อาจเป็นการเพิ่มปัญหาการสมองไหลด้วยซ้ำ โดยแพทย์กลุ่มนี้อาจเลือกที่จะไปอยู่ต่างประเทศ เนื่องจากเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอยู่แล้ว
***NGOชี้ไม่ต่างจากรัฐบาลแม้ว
เมื่อเวลา 12.30 น.น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค พร้อมด้วยเครือข่ายผู้ป่วยโรคเรื้อรังรวมกว่า 30 คน ได้เดินทางเข้าพบนายวิทยา และผู้บริหารระดับสูงของสธ.ในโอกาสที่เข้ารับตำแหน่ง รวมถึงให้ข้อมูลด้านสาธารณสุข
น.ส.สารี กล่าวถึงนโยบายเมดิคอลฮับว่า ไม่เห็นด้วย เพราะไม่อยากให้กระทรวงที่ทำหน้าที่ในการรักษาพยาบาลต้องเป็นห่วงเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจ ในขณะที่ปัญหาสุขภาพของคนในประเทศที่มีระดับรุนแรง และยิ่งจะกระทำให้เกิดภาวการณ์ขาดแคลนแพทย์ในชนบทมากยิ่งขึ้น
“ที่ผ่านมามีงานวิจัยของสธ.ที่ชี้ให้เห็นว่าเมดิคัลฮับก่อให้เกิดผลเสีย ทั้งการทำให้สมองไหล โดยทำให้อาจารย์แพทย์ที่สอนนักเรียนแพทย์ลาออกมาอยู่ในโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาพื้นฐานในเรื่องบุคลากรทางการแพทย์ จึงอยากให้นายวิทยาพิจารณาจากข้อมูลต่างให้ดี เพราะหากดำเนินการตามความคิดนั้น ก็ไม่ต่างอะไรกับรัฐบาลทักษิณ” น.ส.สารี กล่าว
ทั้งนี้ ข้อเสนอของฝ่ายวิชาการที่เสนอเรื่องการเก็บภาษีจากโรงพยาบาลเอกชนที่รักษาคนไข้ต่างชาติ เพื่อนำเงินดังกล่าวมาสนับสนุนการผลิตแพทย์เพิ่มนั้น เป็นเรื่องที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหาบุคลากรขาดแคลน รวมถึงการทำอะไรให้ประชาชนมีสุขภาพดี ไม่ใช่นำเรื่องภาระทางเศรษฐกิจมาเกี่ยวข้องด้วย เพราะเมื่อคนมีสุขภาพที่ดี ก็จะทำให้สังคมและเศรษฐกิจก็จะดีขึ้นตามไปด้วย
***คลังปรับวงเงินก่อหนี้เป็น 6 แสนล.
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังจะปรับแผนการก่อหนี้ภาครัฐสำหรับงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2552 เป็น 6 แสนล้านบาท จากเดิมที่ตั้งวงเงินไว้ที่ 4.5 แสนล้านบาท เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายจัดทำงบประมาณกลางปีเพิ่มเติมอีก 1.2 แสนล้านบาท ทำให้ต้องมีการออกพันธบัตรเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณเพิ่มเติม 3.54 แสนล้านบาท
นอกจากนี้ ยังมีการรีไฟแนนซ์เงินกู้วงเงิน 2 แสนล้านบาท และการออกตราสารให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) อีก 5 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตาม ในปีงบประมาณ 2552 กระทรวงการคลังจะเน้นการออกพันธบัตรระยะสั้นอายุ 2-3 ปีเพิ่มมากขึ้น โดยในส่วนของตั๋วเงินคลังจะปรับเพิ่มวงเงินจาก 1.96 แสนล้านบาท เป็น 2.5 แสนล้านบาท ส่วนการออกพันธบัตรออมทรัพย์จะลดจาก 6 หมื่นล้านบาท เหลือ 1 หมื่นล้านบาท
"งบกลางปีที่ตั้งเพิ่ม 1.2 แสนล้านบาท นำมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจจริง 1 แสนล้านบาท อีก 2 หมื่นล้านบาท เป็นการตั้งชดเชยการนำเงินคงคลังมาใช้ ซึ่งการปรับแผนก่อหนี้เพิ่มเป็น 6 แสนล้านบาท มาจากการออกพันธบัตรออมทรัพย์ พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง และตั๋วสัญญาใช้เงิน" นายพงษ์ภาณุกล่าว
ก่อนหน้านี้ สบน.วางแผนพันธบัตรออมทรัพย์ 60,000 ล้านบาท โดยจะออกงวดแรกขายเดือน ม.ค. 2552 จำนวน 10,000 ล้านบาท เป็นการขายให้กับบุคคลทั่วไป โดยไม่จำกัดจำนวนการซื้อขั้นต่ำ โดยจะให้ผลตอบแทนสูงเป็นที่จูงใจผู้ซื้อ ในส่วนนี้อัตราดอกเบี้ยที่ให้จะชดเชยภาษีดอกเบี้ยรับ 15% ให้กับผู้ซื้อ หลังจากนั้น จะทยอยออกพันธบัตรออมทรัพย์ที่เหลือขายให้กับเยาวชน คนชรา และคนที่ฐานรากที่อยู่ต่างจังหวัด โดยแต่ละประเภทจะขายที่วงเงิน 10,000-15,000 ล้านบาท ถือเป็นทางเลือกการลงทุนใหม่ที่คลังต้องการกระจายให้กับประชาชนอย่างหลากหลายมากขึ้น
นายพงษ์ภาณุ กล่าวว่า การปรับเพิ่มวงเงินการก่อหนี้ เพื่อรองรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะนำมาใช้ จะทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะ ณ สิ้นปี 2552 เพิ่มขึ้นเป็น 41% ของอัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ภายใต้สมมติฐานจีดีพีขยายตัว 2% อัตราเงินเฟ้อ 1% ส่วนในปีงบประมาณ 2553 ยังคงมีการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุล แต่คาดว่าหนี้สาธารณะจะปรับลดลงอยู่ในภาวะปกติที่ระดับไม่เกิน 40% ของจีดีพี เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกไปจะทำให้จีดีพีขยายตัวได้มากขึ้น โดยหนี้สาธารณะ ณ สิ้น ต.ค.51 อยู่ที่ 36.92% ของจีดีพี
สำหรับสภาพคล่องในตลาดมีเพียงพอที่จะออกพันธบัตร ซึ่งที่ผ่านมาคลังได้มีการหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) อย่างต่อเนื่องเพื่อให้การออกพันธบัตรแต่ละครั้งช่วยดูดซับสภาพคล่องในระบบ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่ออัตราผลตอบแทนในตลาด ซึ่ง ธปท.จะออกพันธบัตรระยะสั้นอายุ 14 วัน - 3 ปี น้อยลง เพื่อเปิดโอกาสให้กระทรวงการคลังสามารถออกพันธบัตรระยะสั้นได้แทน
***ออกซอฟท์โลนอุ้มธุรกิจท่องเที่ยว
นายพงษ์ภาณุเปิดเผยด้วยว่า คลังจะออกตราสาร วงเงิน 5 หมื่นล้านบาท เพื่อจัดเป็นวงเงินสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน)ให้ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) ปล่อยกู้ต่อให้กับธนาคารพาณิชย์ในลักษณะการซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงิน ทดแทนซอฟต์โลนของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ตราสารที่ออกจะเป็นตราสารระยะสั้น วงเงิน 5 หมื่นล้านบาท เป็นการกู้เงินในประเทศ โดยปัจจุบันตราสารอายุ 2-3 ปี อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 1.95% แต่หากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกในวันที่ 14 ม.ค.2552 ต้นทุนการออกพันธบัตรก็จะลดลงอีก นอกจากนี้ รัฐบาลจะมีการจัดเงินประมาณอุดหนุนดอกเบี้ยในโครงการนี้เพื่อให้ต้นทุนพันธบัตรเหลือแค่ 1% โดยจัดสรรจากงบกลางปีเบื้องต้นวงเงิน 500 ล้านบาท
นายพงษ์ภาณุ กล่าวว่า การปล่อยกู้โครงการดังกล่าวจะเน้นปล่อยให้กับธุรกิจท่องเที่ยว และบริการ โดยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่คิดจากลูกค้าที่ขอสินเชื่อจะอยู่ที่ประมาณ 5.5% คาดว่าเม็ดเงินปล่อยเข้าสู่ระบบได้ในช่วงต้นเดือน มี.ค.นี้
สำหรับหลักเกณฑ์การปล่อยกู้จะไม่ต่างจากแบบเดิมที่ ธปท.เคยปล่อยกู้ซอฟท์โลน แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยที่การกู้เงินของลูกค้าจากธนาคารพาณิชย์จะออกเป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน โดยแบงก์จะอาวัลตั๋วเพื่อขายลดให้เอสเอ็มอีแบงก์วงเงินกู้รายละไม่เกิน 100 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าขณะนี้ความต้องการสินเชื่อในภาคธุรกิจท่องเที่ยวมีมากถึง 7.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งมากกว่าวงเงินที่จัดเตรียมไว้ ขณะเดียวกันซอฟท์โลนครั้งนี้ส่วนหนึ่งจะใช้รองรับการรีไฟแนนซ์ซอฟท์โลนเดิมของ ธปท.ด้วยเป็นวงเงิน 3 หมื่นล้านบาท ดังนั้น จึงเตรียมหารือกับสมาคมธนาคารไทย เพื่อวางแนวทางดำเนินการให้เกิดความเหมาะสมต่อไป
นายพงษ์ภาณุ กล่าวว่า ธนาคารยังได้ร่วมกับกระทรวงแรงงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม ออกโครงการสินเชื่อชะลอการเลิกจ้างงาน วงเงินเบื้องต้น 6 พันล้านบาท โดยกองทุนประกันสังคมจะนำเงิน 6 พันล้านบาท ไป ฝากไว้กับ เอสเอ็มอีแบงก์ เพื่อให้นำไปปล่อยกู้ให้กับสถานประกอบการ ภายใต้เงื่อนไข สถานประกอบการที่ได้รับการอนุมัติเงินกู้ในโครงการดังกล่าว จะต้องไม่เลิกจ้างลูกจ้าง
คาดว่าจะสามารถช่วยเหลือสถานประกอบการได้ประมาณ 1 พันราย และช่วยเหลือลูกจ้างได้ประมาณ 2 หมื่นคน โดยผู้ประกอบการสามารถขอกู้ได้ในวงเงินตั้งแต่ 5 หมื่นบาท ไม่เกิน 100 ล้านบาทต่อราย ในอัตราดอกเบี้ยคงที่ประมาณ 5% ต่อปี ในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี
**มาร์คมั่นใจ 1 เดือนเห็นผลงาน
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงผลงานของรัฐบาลว่า การอนุมัติแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจจะมีมาตรการบางส่วน ซึ่งจะเริ่มเห็นผลได้ตั้งแต่เดือนหน้าเป็นต้นไป ส่วนที่หลายฝ่ายแสดงความเห็นว่ารัฐบาลยังไม่ควรจะเริ่มนโยบายใหม่ อย่างเรื่องเงินสวัสดิการคนชรานั้น จริงๆ แล้วหลักของการ กระตุ้นเศรษฐกิจ มาตรการที่ได้ผลที่สุดคือ มาตรการที่สามารถเอาเงินไปใส่กระเป๋าประชาชนได้เร็วที่สุด แต่เราต้องมาพิจารณาว่าใครบ้างที่ควรจะได้รับตรงนี้ ซึ่งกรณีของคน ทำงานเราจะพิจารณาเฉพาะคนที่มีรายได้น้อย แต่ใสส่วนของกลุ่มผู้สูงอายุในหลักสากลคนกลุ่มนี้คือคนที่มีสิทธิจะได้รับการดูแล ดังนั้นยังยืนยันในมาตรการดังกล่าว และเป็นนโยบายที่ทุกพรรคการเมืองใช้หาเสียงแต่ไม่เคยทำให้เกิดเป็นจริงขึ้นมาได้ ฉะนั้นถึงเวลาที่ต้องเริ่มต้น แต่ในระยะต่อไปจะไม่ใช้เบี้ยยังชีพเป็นกลไกหลัก เราจะพึ่งกลไกสำหรับคนที่อยู่นอกประกันสังคมกับระบบราชการ คือในลักษณะการออมชุมชน คงจะเริ่มต้นได้ในปีงบประมาณ 53
ขณะนี้รายจ่ายยังอยู่ในกรอบเรื่องการขาดดุลและการกู้ยืมไม่ได้กระทบต่อเกณฑ์วินัย ซึ่งทั่วโลกเช่นเดียวกันภาวะเศรษฐกิจอย่างนี้รัฐบาลต้องยอมขาดดุล เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้น จะทำให้รายได้ของรัฐบาลกลับมาเอง
ส่วนมีมาตรการที่จะเก็บภาษีให้ตรงตามเป้านั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วันนี้ได้คำนวนเรื่องการจัดเก็บไม่เข้าเป้า เพื่อมากำหนดยอดวงเงินงบกลางปีที่จะไม่เกิดปัญหากับกรอบทางด้านการเงินการคลัง ฉะนั้นเวลาเราคำนวนเรื่อง การขาดดุลทั้งปี เราจะดูจากการขาดดุลที่รัฐบาลก่อนทำประมาณการไว้ ในช่วงการจัดทำงบประมาณบวกกับเงินที่จัดเก็บได้น้อยกว่าที่ประมาณการไว้ และเอาตรงนั้นมาคำนวนว่าเราสามารถจัดงบเพิ่มเติมได้เท่าไหร่ เราคำนวนไว้แล้ว ว่า เราจัดงบวันนี้ภายใต้สมมุติฐานว่า การจัดเก็บรายได้ ต่ำกว่าเป้าประมาณ 10 กว่าเปอร์เซ็นต์.