รอยเตอร์ – รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ ทิโมธี ไกธ์เนอร์ ประกาศเมื่อวันอังคาร(10) แผนการฟื้นฟูภาคการเงินการธนาคารครั้งใหม่ โดยจะใช้เม็ดเงินถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์ ในการแก้ไขปัญหาสินทรัพย์เน่าเสีย รวมทั้งฟื้นฟูสภาพคล่องของตลาดสินเชื่อให้กลับมาดังเดิม อย่างไรก็ดี ปรากฏว่าตลาดหุ้นกลับดำดิ่ง ด้วยความกลัวที่ว่ามาตรการดังกล่าวจะไม่มีประสิทธิภาพพอ
นักลงทุนทั่วโลกต่างก็รอฟังแนวทางฟื้นฟูภาคการเงินการธนาคารอเมริกันของไกธ์เนอร์ โดยหวังว่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯที่ยังคงอยู่ในภาวะไม่เคลื่อนไหวแล้ว จะได้รับการแก้ไข และระบบการเงินของสหรัฐฯจะกลับมามั่นคงดังเดิม แต่เมื่อได้ฟังสิ่งที่ขุนคลังผู้นี้ประกาศ พวกเขาต่างแสดงความผิดหวัง โดยเฉพาะในเรื่องที่ไกธ์เนอร์ยังให้รายละเอียดของแผนการนี้น้อยมาก
ดัชนีดาวโจนส์ปิดวันอังคาร โดยพุ่งติดลบกว่า 380 จุดหรือ 4.6% ซึ่งเป็นการร่วงลงต่อวันหนักหน่วงที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคมปีที่แล้วเป็นต้นมา ในขณะที่ราคาพันธบัตรสหรัฐฯพุ่งขึ้นเพราะนักลงทุนหันไปถือครองพันธบัตรเพื่อประกันความเสี่ยง ส่วนเคบีดับบลิว อินเดกซ์ ที่เป็นดัชนีสำหรับหุ้นธนาคาร ก็ร่วงลงไปถึง 14%
ภาวะเช่นนี้นับว่าน่าหนักใจ โดยที่ตัวไกธ์เนอร์เองกล่าวเตือนไว้ว่า การที่สาธารณชนไม่เชื่อมั่นก่อนหน้าที่จะลงมือปฏิบัติ ยิ่งทำให้มันยากยิ่งขึ้นที่จะหยุดยั้งสถานการณ์ที่ร้ายแรงขึ้นทุกที เพราะภาวะสินเชื่อตึงตัวที่ดำเนินเนิ่นนานขึ้นเรื่อย ๆ จะทำให้ธนาคารอ่อนแอลง และการถดถอยทางเศรษฐกิจก็จะย่ำแย่ลงไปอีก
ไกธ์เนอร์ซึ่งเมื่อวันอังคาร ทั้งจัดการแถลงข่าว, ให้สัมภาษณ์ทางทีวีหลายช่อง, รวมทั้งไปให้ปากคำต่อคณะกรรมาธิการในรัฐสภา พยายามอธิบายในแนวทางที่ว่า คณะรัฐบาลโอบามาจะทำอย่างไรกํบเงินราว 350,000 ล้านดอลลาร์ ที่เหลือในโครงการฟื้นฟูและบรรเทาสินทรัพย์เน่าเสียที่อนุมัติในสมัยประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช
ทว่าหลายฝ่ายกล่าวว่า ไกธ์เนอร์พยายามหลีกเลี่ยงที่จะตอบว่ารัฐบาลนี้อาจจะต้องขอเงินจากรัฐสภาเพิ่มอีกหรือไม่ เพื่อไปเยียวยาภาคการธนาคาร, ฟื้นฟูสินเชื่อและต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แต่เวลาเดียวกันเขาก็ไม่ปฏิเสธเรื่องนี้อย่างเด็ดขาด
สาระหลักของแผนฟื้นฟูภาคการเงิน ที่ได้รับการตั้งชื่อใหม่ว่า “แผนสร้างเสถียรภาพทางการเงิน” ก็คือการตั้งกองทุนเพื่อรับซื้อหนี้เสียจากธนาคารทั้งหลาย โดยกองทุนนี้จะระดมเงินจากทั้งรัฐและเอกชน และจะมีหน่วยงานกำกับดูแลหลากหลายเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น บรรษัทประกันเงินฝากของรัฐบาลกลาง และธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)
เงินกองทุนเบื้องต้นจะมาจากภาครัฐซึ่งในตอนแรกจะเท่ากับ 500,000 ล้านดอลลาร์ และอาจจะกลายเป็น 1 ล้านล้านดอลลาร์ได้ในภายหลัง เพื่อย้ายสินทรัพย์เน่าเสียออกจากภาคการเงินที่อ่อนแอเต็มที
ไกธ์เนอร์แถลงที่กระทรวงการคลังด้วยว่า ยังจะมีการนำเม็ดเงินจำนวน 50,000 ล้านดอลลาร์จากกองทุนช่วยเหลือของรัฐบาลกลาง ไปใช้เพื่อแก้ไขปัญหาเจ้าของบ้านถูกบังคับขายบ้านที่ติดจำนองอยู่ รวมทั้งบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากวิกฤตตลาดบ้านครั้งรุนแรงที่มีต่อเศรษฐกิจทั้งระบบ
นอกจากนี้ ก็จะยังมีการขยายโปรแกรมของเฟดที่จะอัดฉีดเม็ดเงินเพื่อขยายสินเชื่อบัตรเครดิต, เงินกู้เพื่อการศึกษา, เงินกู้ซื้อรถและเงินกู้สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก ๆต่าง ๆ
โปรแกรมนี้สามารถที่จะขยายเม็ดเงินเพิ่มจากปัจจุบัน 200,000 ล้านดอลลาร์ขึ้นไปเป็น 1 ล้านล้านดอลลารได้ โดยที่เงินจากกระทรวงคลังก็เพิ่มจาก 20,000 ล้านมาเป็น 100,000 ล้าน และอาจจะขยายโปรแกรมนี้ไปครอบคลุมสินทรัพย์ที่อิงอยู่ที่สินเชื่อที่อยู่อาศัยด้วย
กระทรวงการคลังยังจะเดินหน้าอัดฉีดเม็ดเงินเข้าไปในธนาคารต่อไปเหมือนในสมัยรัฐบาลประธานาธิบดีบุช แต่ไกธ์เนอร์บอกว่าจะต้องมีเงื่อนไขเพิ่มเติมเพื่อให้แน่ใจได้ว่า เงินกู้ที่ให้ธนาคารไป ทางธนาคารจะนำเอาไปให้กู้ต่อ และบรรดาผู้บริหารแบงก์ทั้งหลายจะไม่ได้รับผลพวงในรูปของค่าตอบแทนที่สูงขึ้น
ทั้งนี้รัฐบาลจะได้รับสิ่งตอบแทนจากแบงก์เหล่านี้ในรูปของหุ้นบุริมสิทธิ์ ซึ่งสามารถจะเปลี่ยนเป็นหุ้นธรรมดาและซื้อขายได้ต่อไป
ไกธ์เนอร์ยังได้กล่าวด้วยว่าการฟื้นฟูสภาพคล่องของสินเชื่อเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก เพื่อเป็นเงื่อนไขทำให้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 800,000 ล้านดอลลาร์ที่เน้นที่การลดภาษีและเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐ มีประสิทธิผลในการดึงให้เศรษฐกิจฟื้นตัว
ทั้งนี้ ไม่นานหลังจากที่ไกธ์เนอร์จะประกาศแผนฟื้นฟูภาคการเงิน วุฒิสภาของสหรัฐฯก็ได้ลงมติด้วยคะแนน 61 ต่อ 37 ผ่านแผนกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 838,000 ล้านดอลลาร์ออกมาแล้ว จากนั้น พวกผู้นำของทั้งสองสภาทั้งจากเดโมแครตและรีพับลิกัน ก็เดินหน้าเจรจาต่อรองกัน เพื่อรวมร่างกฎหมายแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจของทั้ง 2 สภา ที่ยังมีข้อความแตกต่างกันในบางสวน ให้กลายเป็นฉบับเดียวกัน
นักลงทุนทั่วโลกต่างก็รอฟังแนวทางฟื้นฟูภาคการเงินการธนาคารอเมริกันของไกธ์เนอร์ โดยหวังว่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯที่ยังคงอยู่ในภาวะไม่เคลื่อนไหวแล้ว จะได้รับการแก้ไข และระบบการเงินของสหรัฐฯจะกลับมามั่นคงดังเดิม แต่เมื่อได้ฟังสิ่งที่ขุนคลังผู้นี้ประกาศ พวกเขาต่างแสดงความผิดหวัง โดยเฉพาะในเรื่องที่ไกธ์เนอร์ยังให้รายละเอียดของแผนการนี้น้อยมาก
ดัชนีดาวโจนส์ปิดวันอังคาร โดยพุ่งติดลบกว่า 380 จุดหรือ 4.6% ซึ่งเป็นการร่วงลงต่อวันหนักหน่วงที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคมปีที่แล้วเป็นต้นมา ในขณะที่ราคาพันธบัตรสหรัฐฯพุ่งขึ้นเพราะนักลงทุนหันไปถือครองพันธบัตรเพื่อประกันความเสี่ยง ส่วนเคบีดับบลิว อินเดกซ์ ที่เป็นดัชนีสำหรับหุ้นธนาคาร ก็ร่วงลงไปถึง 14%
ภาวะเช่นนี้นับว่าน่าหนักใจ โดยที่ตัวไกธ์เนอร์เองกล่าวเตือนไว้ว่า การที่สาธารณชนไม่เชื่อมั่นก่อนหน้าที่จะลงมือปฏิบัติ ยิ่งทำให้มันยากยิ่งขึ้นที่จะหยุดยั้งสถานการณ์ที่ร้ายแรงขึ้นทุกที เพราะภาวะสินเชื่อตึงตัวที่ดำเนินเนิ่นนานขึ้นเรื่อย ๆ จะทำให้ธนาคารอ่อนแอลง และการถดถอยทางเศรษฐกิจก็จะย่ำแย่ลงไปอีก
ไกธ์เนอร์ซึ่งเมื่อวันอังคาร ทั้งจัดการแถลงข่าว, ให้สัมภาษณ์ทางทีวีหลายช่อง, รวมทั้งไปให้ปากคำต่อคณะกรรมาธิการในรัฐสภา พยายามอธิบายในแนวทางที่ว่า คณะรัฐบาลโอบามาจะทำอย่างไรกํบเงินราว 350,000 ล้านดอลลาร์ ที่เหลือในโครงการฟื้นฟูและบรรเทาสินทรัพย์เน่าเสียที่อนุมัติในสมัยประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช
ทว่าหลายฝ่ายกล่าวว่า ไกธ์เนอร์พยายามหลีกเลี่ยงที่จะตอบว่ารัฐบาลนี้อาจจะต้องขอเงินจากรัฐสภาเพิ่มอีกหรือไม่ เพื่อไปเยียวยาภาคการธนาคาร, ฟื้นฟูสินเชื่อและต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แต่เวลาเดียวกันเขาก็ไม่ปฏิเสธเรื่องนี้อย่างเด็ดขาด
สาระหลักของแผนฟื้นฟูภาคการเงิน ที่ได้รับการตั้งชื่อใหม่ว่า “แผนสร้างเสถียรภาพทางการเงิน” ก็คือการตั้งกองทุนเพื่อรับซื้อหนี้เสียจากธนาคารทั้งหลาย โดยกองทุนนี้จะระดมเงินจากทั้งรัฐและเอกชน และจะมีหน่วยงานกำกับดูแลหลากหลายเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น บรรษัทประกันเงินฝากของรัฐบาลกลาง และธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)
เงินกองทุนเบื้องต้นจะมาจากภาครัฐซึ่งในตอนแรกจะเท่ากับ 500,000 ล้านดอลลาร์ และอาจจะกลายเป็น 1 ล้านล้านดอลลาร์ได้ในภายหลัง เพื่อย้ายสินทรัพย์เน่าเสียออกจากภาคการเงินที่อ่อนแอเต็มที
ไกธ์เนอร์แถลงที่กระทรวงการคลังด้วยว่า ยังจะมีการนำเม็ดเงินจำนวน 50,000 ล้านดอลลาร์จากกองทุนช่วยเหลือของรัฐบาลกลาง ไปใช้เพื่อแก้ไขปัญหาเจ้าของบ้านถูกบังคับขายบ้านที่ติดจำนองอยู่ รวมทั้งบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากวิกฤตตลาดบ้านครั้งรุนแรงที่มีต่อเศรษฐกิจทั้งระบบ
นอกจากนี้ ก็จะยังมีการขยายโปรแกรมของเฟดที่จะอัดฉีดเม็ดเงินเพื่อขยายสินเชื่อบัตรเครดิต, เงินกู้เพื่อการศึกษา, เงินกู้ซื้อรถและเงินกู้สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก ๆต่าง ๆ
โปรแกรมนี้สามารถที่จะขยายเม็ดเงินเพิ่มจากปัจจุบัน 200,000 ล้านดอลลาร์ขึ้นไปเป็น 1 ล้านล้านดอลลารได้ โดยที่เงินจากกระทรวงคลังก็เพิ่มจาก 20,000 ล้านมาเป็น 100,000 ล้าน และอาจจะขยายโปรแกรมนี้ไปครอบคลุมสินทรัพย์ที่อิงอยู่ที่สินเชื่อที่อยู่อาศัยด้วย
กระทรวงการคลังยังจะเดินหน้าอัดฉีดเม็ดเงินเข้าไปในธนาคารต่อไปเหมือนในสมัยรัฐบาลประธานาธิบดีบุช แต่ไกธ์เนอร์บอกว่าจะต้องมีเงื่อนไขเพิ่มเติมเพื่อให้แน่ใจได้ว่า เงินกู้ที่ให้ธนาคารไป ทางธนาคารจะนำเอาไปให้กู้ต่อ และบรรดาผู้บริหารแบงก์ทั้งหลายจะไม่ได้รับผลพวงในรูปของค่าตอบแทนที่สูงขึ้น
ทั้งนี้รัฐบาลจะได้รับสิ่งตอบแทนจากแบงก์เหล่านี้ในรูปของหุ้นบุริมสิทธิ์ ซึ่งสามารถจะเปลี่ยนเป็นหุ้นธรรมดาและซื้อขายได้ต่อไป
ไกธ์เนอร์ยังได้กล่าวด้วยว่าการฟื้นฟูสภาพคล่องของสินเชื่อเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก เพื่อเป็นเงื่อนไขทำให้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 800,000 ล้านดอลลาร์ที่เน้นที่การลดภาษีและเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐ มีประสิทธิผลในการดึงให้เศรษฐกิจฟื้นตัว
ทั้งนี้ ไม่นานหลังจากที่ไกธ์เนอร์จะประกาศแผนฟื้นฟูภาคการเงิน วุฒิสภาของสหรัฐฯก็ได้ลงมติด้วยคะแนน 61 ต่อ 37 ผ่านแผนกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 838,000 ล้านดอลลาร์ออกมาแล้ว จากนั้น พวกผู้นำของทั้งสองสภาทั้งจากเดโมแครตและรีพับลิกัน ก็เดินหน้าเจรจาต่อรองกัน เพื่อรวมร่างกฎหมายแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจของทั้ง 2 สภา ที่ยังมีข้อความแตกต่างกันในบางสวน ให้กลายเป็นฉบับเดียวกัน