หนึ่งเดือนนิดๆ ผ่านไปเรียบร้อยแล้วของการทำงาน “อภิสิทธิ์ I” ซึ่งได้เกิด “อภิสิทธิ์ II” ไปแล้ว เพียงบริหารงานราชการแผ่นดินหนึ่งเดือนพอดิบพอดี หลังจากที่คุณวิฑูรย์ นามบุตร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ลาออกจากตำแหน่งเสนาบดี จากกรณี “ปลากระป๋องเน่า” ในถุงยังชีพที่มีการแจกจ่ายแก่ประชาชน
กรณีของ “รัฐมนตรีปลากระป๋องเน่า” นี้ ว่าไปแล้ว ไม่ได้อยากซ้ำเติมด้วยการเรียกขานตามสื่อมวลชนที่ได้ตั้งฉายาไปเรียบร้อย ต้องขอกล่าวชื่นชนใน “สปิริต” ทางการเมือง ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้มีการตัดสินวินิจฉัยว่า นายวิฑูรย์ นามบุตร “ผิดจริง!” แต่เนื่องด้วย “กฎเหล็ก 9 ข้อ” ของนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ถือว่า “รัฐมนตรี-นักการเมือง” เป็น “บุคคลสาธารณะ” หรือ “Public Figure” ที่ต้องมี “มาตรฐานสูง” กว่าบุคคลธรรมดาทั่วไป และไม่สำคัญเท่ากับว่า “อย่าทำให้ประชาชนเดือดร้อน!”
ดังนั้น ถ้ายึดตามตัวบทกฎหมายแล้ว นายวิฑูรย์ ยังไม่ได้มีการตัดสินว่าผิด แต่การเมืองมิใช่มีเพียงหลักกฎหมายเพียงอย่างเดียว “มารยาท” ทางการเมืองที่ว่าด้วย “คุณธรรม-จริยธรรม” มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน “ความกดดัน” ทางการเมืองที่คุณมาร์คกำหนดไว้นั้น จึงต้องทำให้คุณวิฑูรย์ นามบุตร ต้องลุกจากเก้าอี้ด้วย “ความระทม รันทดใจ!” และ “เสียดายอย่างสุดซึ้ง!”
ในกรณี “มาตรฐานการเมือง” ที่นายกฯ อภิสิทธิ์ เพียรพยายามรักษาไว้นั้น ต้องยอมรับว่า ทำให้ “สถานภาพ” และ “ความรู้สึก” ของสาธารณชนที่มีต่อคุณมาร์คในฐานะนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณอภิสิทธิ์ พยายามรักษาดุลยภาพของการเป็น “นักการเมืองรุ่นใหม่” และไม่สำคัญเท่ากับ “ความเป็นธรรมาภิบาล” จึงทำให้ “คะแนนนิยม” ของรัฐบาลประชาธิปัตย์ภายใต้ “นายกรัฐมนตรี” และ “หัวหน้าพรรค” สามารถสอบผ่านไปได้!
อย่างไรก็ตาม เพียงระยะเวลาหนึ่งเดือนนิดๆ เท่านั้น เราต้องยอมรับว่า “รัฐบาลอภิสิทธิ์” ต้องฝ่าฟันและเจอมรสุมทางการเมืองและวิกฤตเศรษฐกิจไปพร้อมๆ กัน เรียกว่า “เอาเรื่อง!” พอสมควร ไม่ว่าในกรณีของ “ปลากระป๋องเน่า” เลยเถิดมาจนถึงกรณีของนายบุญจง วงไตรรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กับ “การแจก 200 บาท พร้อมนามบัตร” ตลอดจน 3 รัฐมนตรีที่ยังเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่ด้วยไปร่วมโหวตลงมติผ่านพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายกลางปี พร้อมกับการช่วยเหลือน้องชายหาเสียงของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ จนทำเอารัฐบาลที่บริหารราชการเพียงเดือนเดียว “เกิดอาการวูบ!”
แต่การที่มาตรฐานของคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ว่ากรณีของอดีตรัฐมนตรีฯ วิฑูรย์ นามบุตร นั้นได้ก่อความเสียหายเดือดร้อนแก่ประชาชน จึงต้องรักษามารยาททางการเมือง แสดงสปิริตด้วยการลาออกจากตำแหน่ง จึงสามารถ “ลดอุณหภูมิการเมือง” ลงไปได้มากโขทีเดียว
ส่วนในกรณีของ 5 คนนั้น ยังไม่เข้าข่ายว่า “ละเมิด-กระทำผิด” ต่อกฎหมายเลือกตั้ง และต้องไปพิสูจน์ตามกระบวนการขั้นตอนของทั้ง กกต. กับ ป.ป.ช. ต่อไป จึงยังมีเวลาประวิงและลดดีกรีทางการเมืองลงไปได้ เพียงแค่กรณีของคุณวิฑูรย์ นามบุตร ที่ยอมเสียสละอวัยวะเพื่อรักษาร่างกายไว้ส่วนรวมของรัฐบาลให้อยู่ได้ ก็ถือว่า “มาตรฐานการเมืองใหม่” ได้ถูกดำเนินการแล้ว และไม่สำคัญเท่ากับ “ความชอบธรรม” ที่ประชาชนยังมอบให้กับรัฐบาลอภิสิทธิ์!
ถามว่า “มาตรฐานการเมือง” ที่รัฐบาลบริหารได้เพียงหนึ่งเดือน แต่ต้องประสบกับ “มรสุมทางการเมือง” เสมือนเป็น “การลองของ!” และ “ความขลัง” ของคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ว่าจะสามารถรักษาไว้ได้นานขนาดไหน ทั้งๆ ที่ “ใบเสร็จ” ยังไม่มีเลย ไม่เหมือน “นักธุรกิจการเมือง” ในอดีตที่ประกาศปาวๆๆๆ ว่า “ไม่ต้องมีใบเสร็จหรอก ปรับออกทันทีเลย!” ซึ่งก็ไม่เคยนำมาปฏิบัติแต่อย่างใด จนในที่สุด “ความเสื่อมศรัทธา” ก็เริ่มตั้งแต่บัดนั้น
จึงนับว่า “รัฐบาลอภิสิทธิ์” ในทางการเมืองนั้น “สอบผ่าน” จากทั้งการสำรวจของมหาวิทยาลัยกรุงเทพหรือที่เรียกกันว่า “กรุงเทพโพลล์” กับกลุ่มประชาชนตัวอย่างประมาณพันกว่าคน แต่เป็นการสอบผ่านอย่างเฉียดฉิว แค่เกือบ 6 จากคะแนนเต็ม 10 กับ “เอแบคโพลล์” ที่ผลการสำรวจใกล้เคียงกัน
ในขณะเดียวกัน ถามว่า “สอบผ่าน” ที่มีการสำรวจครั้งนี้ ต่อตัวนายกฯ มาร์ค นั้น เท่ากับเป็นการสำรวจข้อมูล “จริง-ดิบ” จากกลุ่มประชาชนพันกว่าคนในเขตกรุงเทพฯ และเขตปริมณฑล ก็ต้องยอมรับว่า “ไม่ค่อยน่าพอใจ” มากมายนัก ทั้งนี้ น่าจะเป็นการสำรวจและประเมินที่ “ให้กำลังใจ” ในการทำงานต่อไป และไม่สำคัญเท่ากับ “ความไว้วางใจ”
นอกจากนั้น กลุ่มประชาชนตัวอย่างยังต้องการให้รัฐบาลบริหารต่อไป ไม่จำเป็นต้อง “ปรับคณะรัฐมนตรี” ดูเสมือนว่า ประชาชนยังให้โอกาสรัฐบาลทำงานไปอีกจนครบ 3 เดือน แล้วค่อยสำรวจประเมินใหม่
จากผลของการสำรวจในครั้งนี้ ว่าไปแล้ว รัฐบาลโดยเฉพาะ คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อาจจะ “หายใจไม่ทั่วท้อง” แต่ก็ต้องดีใจที่ประชาชนยังมอบกำลังใจและไว้วางใจให้ทำงานต่อไป ประกอบกับยังไม่มีความรู้สึกที่ไม่พอใจ จนอยากขับไล่ให้พ้นๆ ไปโดยเร็ว
ในด้านการแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจนั้น ยังไม่มีผลสำรวจอย่างจริงจังเป็นรูปธรรม แต่จากการรีบเร่งกำหนดและทยอยออก “มาตรการ” ต่างๆ ออกมา โดยเฉพาะ “การกระตุ้นเศรษฐกิจ” นั้น เพื่อกอบกู้และแก้ไข “ปัญหาปากท้อง” และ “ค่าครองชีพ” ตลอดจน “การบริโภค” ของประชาชนนั้น ที่เรียกว่า “เฮลิคอปเตอร์ มันนี่ (Helicopter Money)” อาจจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงลบมากกว่าเชิงบวก แต่ถามว่า “โดนใจ!” ประชาชนระดับรากหญ้า และ “หาเช้ากินค่ำ” หรือไม่ ก็ต้องตอบว่า “โดน!”
เพียงแต่ว่า “งบประมาณกลางปี” ที่กำหนดกรอบและผ่านที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรไปนั้น กว่าจะแปรบัญญัติและเบิกจ่ายได้ ก็ต้องใช้เวลาอย่างน้อยนานถึง 2 เดือน เพราะฉะนั้น “เม็ดเงินโปรย” นั้น กว่าประชาชนจะสัมผัสได้ต้องปลายเดือนมีนาคมหรือไม่ก็ต้นเดือนเมษายน
แต่ผลในทาง “จิตวิทยา” ว่ารัฐบาลได้ออกมาตรการช่วยเหลือนั้น ถือว่า “สอบผ่าน” เช่นเดียวกัน เพียงแต่ว่า การวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็น “การลอกเลียนแบบนโยบายประชานิยม” จากรัฐบาล “ไทยรักไทย-พลังประชาชน-เพื่อไทย” นั้น ขอเสนอแนะว่า “อย่าไปแคร์!” เนื่องด้วย สังคมยุคใหม่ “นโยบายประชานิยม” มีความสำคัญอย่างมาก
ตลอดระยะเวลาหนึ่งเดือนนิดๆ ของ “รัฐบาลโอบามาร์ค” ทั้งทางด้านการเมืองกับเศรษฐกิจภายในประเทศ “สอบผ่าน” แต่อาจจะไม่มากนัก ทั้งนี้ ก็ยังดีกว่า “สอบตก!” ซึ่งจะมีผลในเชิงจิตวิทยามาก
การ “เดินสาย-โรดโชว์” ของนายกฯ อภิสิทธิ์ ทั้งที่การประชุม World Economic Forum เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ กับการเดินทางไปพบปะรัฐบาลและภาคเอกชนที่ญี่ปุ่น เพื่อเรียก “ความเชื่อมั่น-ศรัทธา” ให้กลับฟื้นมาโดยพุ่งเป้าไปที่ “การลงทุน-การค้าการขาย-การท่องเที่ยว” ก็ต้องนับว่า “ประสบความสำเร็จ” ในระดับหนึ่ง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ความรู้” บวกกับ “การเจรจาต่อรอง” พร้อมทั้ง “ภาษา-สำนวน-ลีลา” ของคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้าขั้นระดับชั้นแนวหน้า ไม่น้อยหน้าใครบนเวทีโลกอยู่แล้ว “ความสำเร็จ” กับเป้าหมายของการเดินสายนั้น ถือว่า “งานเข้า!”
อย่างไรก็ตาม จากปัญหา “วิกฤตเศรษฐกิจโลก” ที่เราไม่สามารถควบคุมอะไรได้เลยนั้น จะเป็น “อุปสรรค-ปัญหา” ที่จะก่อให้เกิดการลงทุนกับประเทศไทยได้น้อย ทั้งนี้ การทำงานของรัฐบาลอภิสิทธิ์ด้วย “หลักธรรมาภิบาล” ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นศรัทธานั้น นับว่าสำคัญเป็นอันดับต้นๆ
“ประสิทธิผล” ที่สามารถคาดการณ์ได้นั้น น่าจะเป็นเพียง “ภาพลักษณ์” ในเชิงจิตวิทยาในขั้นพื้นฐาน แต่ที่สำคัญคือ “การเจรจาต่อรอง-ข้อเสนอ” ในการอำนวยผลประโยชน์แก่นักลงทุน นักท่องเที่ยว จะต้องเป็นปัจจัยและเหตุผลสำคัญในการเพิ่มรายได้ให้แก่ประเทศ โดยเฉพาะ “อุตสาหกรรมการส่งออก” และ “อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว”
การประสานประโยชน์ของ “รัฐบาลผสม” ในเชิงงบประมาณ การสนับสนุนนโยบายโครงการมาตรการต่างๆ ต้อง “ได้ประโยชน์ร่วม” อย่างเป็นธรรมและมุ่งผลประโยชน์ประเทศชาติ
ดังนั้น เพียงหนึ่งเดือนของรัฐบาลอภิสิทธิ์ อาจ “สอบผ่าน” แต่ถ้าอีก 1 เดือน ยังไม่มีผลงานเชิงรูปธรรม และประสานประโยชน์แก่พรรคร่วมรัฐบาลไม่ได้...มีโอกาส “สอบตก!”
กรณีของ “รัฐมนตรีปลากระป๋องเน่า” นี้ ว่าไปแล้ว ไม่ได้อยากซ้ำเติมด้วยการเรียกขานตามสื่อมวลชนที่ได้ตั้งฉายาไปเรียบร้อย ต้องขอกล่าวชื่นชนใน “สปิริต” ทางการเมือง ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้มีการตัดสินวินิจฉัยว่า นายวิฑูรย์ นามบุตร “ผิดจริง!” แต่เนื่องด้วย “กฎเหล็ก 9 ข้อ” ของนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ถือว่า “รัฐมนตรี-นักการเมือง” เป็น “บุคคลสาธารณะ” หรือ “Public Figure” ที่ต้องมี “มาตรฐานสูง” กว่าบุคคลธรรมดาทั่วไป และไม่สำคัญเท่ากับว่า “อย่าทำให้ประชาชนเดือดร้อน!”
ดังนั้น ถ้ายึดตามตัวบทกฎหมายแล้ว นายวิฑูรย์ ยังไม่ได้มีการตัดสินว่าผิด แต่การเมืองมิใช่มีเพียงหลักกฎหมายเพียงอย่างเดียว “มารยาท” ทางการเมืองที่ว่าด้วย “คุณธรรม-จริยธรรม” มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน “ความกดดัน” ทางการเมืองที่คุณมาร์คกำหนดไว้นั้น จึงต้องทำให้คุณวิฑูรย์ นามบุตร ต้องลุกจากเก้าอี้ด้วย “ความระทม รันทดใจ!” และ “เสียดายอย่างสุดซึ้ง!”
ในกรณี “มาตรฐานการเมือง” ที่นายกฯ อภิสิทธิ์ เพียรพยายามรักษาไว้นั้น ต้องยอมรับว่า ทำให้ “สถานภาพ” และ “ความรู้สึก” ของสาธารณชนที่มีต่อคุณมาร์คในฐานะนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณอภิสิทธิ์ พยายามรักษาดุลยภาพของการเป็น “นักการเมืองรุ่นใหม่” และไม่สำคัญเท่ากับ “ความเป็นธรรมาภิบาล” จึงทำให้ “คะแนนนิยม” ของรัฐบาลประชาธิปัตย์ภายใต้ “นายกรัฐมนตรี” และ “หัวหน้าพรรค” สามารถสอบผ่านไปได้!
อย่างไรก็ตาม เพียงระยะเวลาหนึ่งเดือนนิดๆ เท่านั้น เราต้องยอมรับว่า “รัฐบาลอภิสิทธิ์” ต้องฝ่าฟันและเจอมรสุมทางการเมืองและวิกฤตเศรษฐกิจไปพร้อมๆ กัน เรียกว่า “เอาเรื่อง!” พอสมควร ไม่ว่าในกรณีของ “ปลากระป๋องเน่า” เลยเถิดมาจนถึงกรณีของนายบุญจง วงไตรรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กับ “การแจก 200 บาท พร้อมนามบัตร” ตลอดจน 3 รัฐมนตรีที่ยังเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่ด้วยไปร่วมโหวตลงมติผ่านพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายกลางปี พร้อมกับการช่วยเหลือน้องชายหาเสียงของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ จนทำเอารัฐบาลที่บริหารราชการเพียงเดือนเดียว “เกิดอาการวูบ!”
แต่การที่มาตรฐานของคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ว่ากรณีของอดีตรัฐมนตรีฯ วิฑูรย์ นามบุตร นั้นได้ก่อความเสียหายเดือดร้อนแก่ประชาชน จึงต้องรักษามารยาททางการเมือง แสดงสปิริตด้วยการลาออกจากตำแหน่ง จึงสามารถ “ลดอุณหภูมิการเมือง” ลงไปได้มากโขทีเดียว
ส่วนในกรณีของ 5 คนนั้น ยังไม่เข้าข่ายว่า “ละเมิด-กระทำผิด” ต่อกฎหมายเลือกตั้ง และต้องไปพิสูจน์ตามกระบวนการขั้นตอนของทั้ง กกต. กับ ป.ป.ช. ต่อไป จึงยังมีเวลาประวิงและลดดีกรีทางการเมืองลงไปได้ เพียงแค่กรณีของคุณวิฑูรย์ นามบุตร ที่ยอมเสียสละอวัยวะเพื่อรักษาร่างกายไว้ส่วนรวมของรัฐบาลให้อยู่ได้ ก็ถือว่า “มาตรฐานการเมืองใหม่” ได้ถูกดำเนินการแล้ว และไม่สำคัญเท่ากับ “ความชอบธรรม” ที่ประชาชนยังมอบให้กับรัฐบาลอภิสิทธิ์!
ถามว่า “มาตรฐานการเมือง” ที่รัฐบาลบริหารได้เพียงหนึ่งเดือน แต่ต้องประสบกับ “มรสุมทางการเมือง” เสมือนเป็น “การลองของ!” และ “ความขลัง” ของคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ว่าจะสามารถรักษาไว้ได้นานขนาดไหน ทั้งๆ ที่ “ใบเสร็จ” ยังไม่มีเลย ไม่เหมือน “นักธุรกิจการเมือง” ในอดีตที่ประกาศปาวๆๆๆ ว่า “ไม่ต้องมีใบเสร็จหรอก ปรับออกทันทีเลย!” ซึ่งก็ไม่เคยนำมาปฏิบัติแต่อย่างใด จนในที่สุด “ความเสื่อมศรัทธา” ก็เริ่มตั้งแต่บัดนั้น
จึงนับว่า “รัฐบาลอภิสิทธิ์” ในทางการเมืองนั้น “สอบผ่าน” จากทั้งการสำรวจของมหาวิทยาลัยกรุงเทพหรือที่เรียกกันว่า “กรุงเทพโพลล์” กับกลุ่มประชาชนตัวอย่างประมาณพันกว่าคน แต่เป็นการสอบผ่านอย่างเฉียดฉิว แค่เกือบ 6 จากคะแนนเต็ม 10 กับ “เอแบคโพลล์” ที่ผลการสำรวจใกล้เคียงกัน
ในขณะเดียวกัน ถามว่า “สอบผ่าน” ที่มีการสำรวจครั้งนี้ ต่อตัวนายกฯ มาร์ค นั้น เท่ากับเป็นการสำรวจข้อมูล “จริง-ดิบ” จากกลุ่มประชาชนพันกว่าคนในเขตกรุงเทพฯ และเขตปริมณฑล ก็ต้องยอมรับว่า “ไม่ค่อยน่าพอใจ” มากมายนัก ทั้งนี้ น่าจะเป็นการสำรวจและประเมินที่ “ให้กำลังใจ” ในการทำงานต่อไป และไม่สำคัญเท่ากับ “ความไว้วางใจ”
นอกจากนั้น กลุ่มประชาชนตัวอย่างยังต้องการให้รัฐบาลบริหารต่อไป ไม่จำเป็นต้อง “ปรับคณะรัฐมนตรี” ดูเสมือนว่า ประชาชนยังให้โอกาสรัฐบาลทำงานไปอีกจนครบ 3 เดือน แล้วค่อยสำรวจประเมินใหม่
จากผลของการสำรวจในครั้งนี้ ว่าไปแล้ว รัฐบาลโดยเฉพาะ คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อาจจะ “หายใจไม่ทั่วท้อง” แต่ก็ต้องดีใจที่ประชาชนยังมอบกำลังใจและไว้วางใจให้ทำงานต่อไป ประกอบกับยังไม่มีความรู้สึกที่ไม่พอใจ จนอยากขับไล่ให้พ้นๆ ไปโดยเร็ว
ในด้านการแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจนั้น ยังไม่มีผลสำรวจอย่างจริงจังเป็นรูปธรรม แต่จากการรีบเร่งกำหนดและทยอยออก “มาตรการ” ต่างๆ ออกมา โดยเฉพาะ “การกระตุ้นเศรษฐกิจ” นั้น เพื่อกอบกู้และแก้ไข “ปัญหาปากท้อง” และ “ค่าครองชีพ” ตลอดจน “การบริโภค” ของประชาชนนั้น ที่เรียกว่า “เฮลิคอปเตอร์ มันนี่ (Helicopter Money)” อาจจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงลบมากกว่าเชิงบวก แต่ถามว่า “โดนใจ!” ประชาชนระดับรากหญ้า และ “หาเช้ากินค่ำ” หรือไม่ ก็ต้องตอบว่า “โดน!”
เพียงแต่ว่า “งบประมาณกลางปี” ที่กำหนดกรอบและผ่านที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรไปนั้น กว่าจะแปรบัญญัติและเบิกจ่ายได้ ก็ต้องใช้เวลาอย่างน้อยนานถึง 2 เดือน เพราะฉะนั้น “เม็ดเงินโปรย” นั้น กว่าประชาชนจะสัมผัสได้ต้องปลายเดือนมีนาคมหรือไม่ก็ต้นเดือนเมษายน
แต่ผลในทาง “จิตวิทยา” ว่ารัฐบาลได้ออกมาตรการช่วยเหลือนั้น ถือว่า “สอบผ่าน” เช่นเดียวกัน เพียงแต่ว่า การวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็น “การลอกเลียนแบบนโยบายประชานิยม” จากรัฐบาล “ไทยรักไทย-พลังประชาชน-เพื่อไทย” นั้น ขอเสนอแนะว่า “อย่าไปแคร์!” เนื่องด้วย สังคมยุคใหม่ “นโยบายประชานิยม” มีความสำคัญอย่างมาก
ตลอดระยะเวลาหนึ่งเดือนนิดๆ ของ “รัฐบาลโอบามาร์ค” ทั้งทางด้านการเมืองกับเศรษฐกิจภายในประเทศ “สอบผ่าน” แต่อาจจะไม่มากนัก ทั้งนี้ ก็ยังดีกว่า “สอบตก!” ซึ่งจะมีผลในเชิงจิตวิทยามาก
การ “เดินสาย-โรดโชว์” ของนายกฯ อภิสิทธิ์ ทั้งที่การประชุม World Economic Forum เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ กับการเดินทางไปพบปะรัฐบาลและภาคเอกชนที่ญี่ปุ่น เพื่อเรียก “ความเชื่อมั่น-ศรัทธา” ให้กลับฟื้นมาโดยพุ่งเป้าไปที่ “การลงทุน-การค้าการขาย-การท่องเที่ยว” ก็ต้องนับว่า “ประสบความสำเร็จ” ในระดับหนึ่ง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ความรู้” บวกกับ “การเจรจาต่อรอง” พร้อมทั้ง “ภาษา-สำนวน-ลีลา” ของคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้าขั้นระดับชั้นแนวหน้า ไม่น้อยหน้าใครบนเวทีโลกอยู่แล้ว “ความสำเร็จ” กับเป้าหมายของการเดินสายนั้น ถือว่า “งานเข้า!”
อย่างไรก็ตาม จากปัญหา “วิกฤตเศรษฐกิจโลก” ที่เราไม่สามารถควบคุมอะไรได้เลยนั้น จะเป็น “อุปสรรค-ปัญหา” ที่จะก่อให้เกิดการลงทุนกับประเทศไทยได้น้อย ทั้งนี้ การทำงานของรัฐบาลอภิสิทธิ์ด้วย “หลักธรรมาภิบาล” ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นศรัทธานั้น นับว่าสำคัญเป็นอันดับต้นๆ
“ประสิทธิผล” ที่สามารถคาดการณ์ได้นั้น น่าจะเป็นเพียง “ภาพลักษณ์” ในเชิงจิตวิทยาในขั้นพื้นฐาน แต่ที่สำคัญคือ “การเจรจาต่อรอง-ข้อเสนอ” ในการอำนวยผลประโยชน์แก่นักลงทุน นักท่องเที่ยว จะต้องเป็นปัจจัยและเหตุผลสำคัญในการเพิ่มรายได้ให้แก่ประเทศ โดยเฉพาะ “อุตสาหกรรมการส่งออก” และ “อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว”
การประสานประโยชน์ของ “รัฐบาลผสม” ในเชิงงบประมาณ การสนับสนุนนโยบายโครงการมาตรการต่างๆ ต้อง “ได้ประโยชน์ร่วม” อย่างเป็นธรรมและมุ่งผลประโยชน์ประเทศชาติ
ดังนั้น เพียงหนึ่งเดือนของรัฐบาลอภิสิทธิ์ อาจ “สอบผ่าน” แต่ถ้าอีก 1 เดือน ยังไม่มีผลงานเชิงรูปธรรม และประสานประโยชน์แก่พรรคร่วมรัฐบาลไม่ได้...มีโอกาส “สอบตก!”