กรมสุขภาพจิต ห่วงพ่อแม่คาดหวังด้านการเรียนจากลูกสูง ส่งให้เรียนพิเศษทั้งวันจนเด็กเกิดความเครียด แนะให้เด็กเข้าใจและยอมรับความรักของพ่อแม่ แต่พ่อแม่ก็ต้องรู้จักสังเกตพฤติกรรมและรู้เท่าทันอารมณ์ของลูก อย่าสร้างความหวังจนกดดัน ยก นศ.ฆ่าตัวตายเป็นอุทธาหรณ์
พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ให้ความเห็นต่อกรณีข่าวนักศึกษาสาวปี 1 เครียดติดเอฟ น้อยใจพ่อแม่ที่ให้ลาออกจนคิดสั้นผูกคอตายว่า ขอแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และไม่อยากโทษใคร เพราะความเครียดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพราะกระแสสังคมรอบด้านที่สร้างแรงกดดัน เช่น การแข่งขัน ภาวะเศรษฐกิจ หรือปัญหาครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้สภาพจิตใจ และอารมณ์ของคนเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่รุนแรง และกระด้างเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากต้องคิด และแก้ปัญหามากมาย
นอกจากนี้ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสุขภาพจิต ยังเปิดเผยต่อว่า ความเครียดกับเด็กไทยยังมีแนวโน้มสูงขึ้น เพราะผลพวงจากกระแสสังคมที่มีแต่การแข่งขัน ผนวกกับแรงกดดันกับตัวเอง ส่วนหนึ่งเกิดพ่อแม่ที่พยายามปลูกฝังวิชาให้ลูกมากเกินไป เรียนพิเศษตั้งแต่เข้ายันเย็น หรือแม้กระทั่งวันหยุด ซึ่งเป็นวันพักผ่อนของลูก ทำให้เด็กบางคนรับไม่ไหว เกิดความเครียดขั้นรุนแรง เช่น ทำร้ายตัวเอง ก้าวร้าว ไม่มีสมาธิในการเรียน เป็นต้น รวมถึงถ่ายทอดความรุนแรงสู่คนอื่น และสังคมต่อไป
“เด็กต้องเข้าใจ และยอมรับในความหวังดีของพ่อแม่ ถ้าเราละเลยความหวังดีของพ่อแม่ ก็เหมือนละเลยความรักของเรา เมื่อรู้สึกว่าไม่ดี ให้เปิดใจ พูดคุยกับพ่อแม่ อย่าทนและรับสภาพด้วยตัวเอง ด้านพ่อแม่เอง ต้องรู้จักจังหวะ และความเหมาะสมในการให้กำลังใจ หรือการพูดคุย ถ้าเข้าไปผิดจังหวะ อาจพลาดจนเกิดความสูญเสียตามมาได้ เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อน พ่อแม่จึงต้องเข้าใจ และใกล้ชิดลูกในช่วงวัยกำลังโตให้มาก” ผอ.ศูนย์พัฒนาสุขภาพจิตกล่าว
อย่างไรก็ตาม ทางที่ดี ผอ.ศูนย์พัฒนาสุขภาพจิตฝากถึงพ่อแม่ ผู้ปกครองไว้ว่า ความเครียด สามารถป้องกันและลดความเสี่ยงได้ เช่น เมื่อลูกหรือบุคคลในครอบครัวเกิดความเครียด พ่อแม่ต้องสร้างเข้าใจ และรู้เท่าทันอารมณ์ ด้วยการสังเกตพฤติกรรมของลูก เช่น เก็บตัวอยู่แต่ในห้อง ไม่คุยกับใคร รวมถึงอ่านใจให้ออกว่า ณ ขณะนั้นลูกกำลังคิดอะไร และมีแนวโน้มว่าจะทำอะไร พ่อแม่ต้องใกล้ชิด แต่ต้องอยู่ในระยะที่เหมาะสม เพราะเด็กอาจระแวง และเกิดความรำคาญได้ รวมถึงความหวังในด้านการเรียน ต้องอย่าสร้างความหวัง จนลูกเกิดความรู้สึกกดดัน เพราะความหวังอาจเปลี่ยนเป็นความผิดหวังได้
ขณะเดียวกัน การรายงานของสื่อมวลชน ต้องรายงาน และนำเสนอ บนพื้นฐานของความรู้ ไม่ใช่ชี้โพรงให้กระรอก จนเป็นกระแส และเกิดการลอกเลียนแบบ แต่ทั้งนี้ต้องให้แนวทาง และทางเลือกที่เป็นประโยชน์สำหรับพ่อแม่ และเด็ก
พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ให้ความเห็นต่อกรณีข่าวนักศึกษาสาวปี 1 เครียดติดเอฟ น้อยใจพ่อแม่ที่ให้ลาออกจนคิดสั้นผูกคอตายว่า ขอแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และไม่อยากโทษใคร เพราะความเครียดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพราะกระแสสังคมรอบด้านที่สร้างแรงกดดัน เช่น การแข่งขัน ภาวะเศรษฐกิจ หรือปัญหาครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้สภาพจิตใจ และอารมณ์ของคนเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่รุนแรง และกระด้างเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากต้องคิด และแก้ปัญหามากมาย
นอกจากนี้ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสุขภาพจิต ยังเปิดเผยต่อว่า ความเครียดกับเด็กไทยยังมีแนวโน้มสูงขึ้น เพราะผลพวงจากกระแสสังคมที่มีแต่การแข่งขัน ผนวกกับแรงกดดันกับตัวเอง ส่วนหนึ่งเกิดพ่อแม่ที่พยายามปลูกฝังวิชาให้ลูกมากเกินไป เรียนพิเศษตั้งแต่เข้ายันเย็น หรือแม้กระทั่งวันหยุด ซึ่งเป็นวันพักผ่อนของลูก ทำให้เด็กบางคนรับไม่ไหว เกิดความเครียดขั้นรุนแรง เช่น ทำร้ายตัวเอง ก้าวร้าว ไม่มีสมาธิในการเรียน เป็นต้น รวมถึงถ่ายทอดความรุนแรงสู่คนอื่น และสังคมต่อไป
“เด็กต้องเข้าใจ และยอมรับในความหวังดีของพ่อแม่ ถ้าเราละเลยความหวังดีของพ่อแม่ ก็เหมือนละเลยความรักของเรา เมื่อรู้สึกว่าไม่ดี ให้เปิดใจ พูดคุยกับพ่อแม่ อย่าทนและรับสภาพด้วยตัวเอง ด้านพ่อแม่เอง ต้องรู้จักจังหวะ และความเหมาะสมในการให้กำลังใจ หรือการพูดคุย ถ้าเข้าไปผิดจังหวะ อาจพลาดจนเกิดความสูญเสียตามมาได้ เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อน พ่อแม่จึงต้องเข้าใจ และใกล้ชิดลูกในช่วงวัยกำลังโตให้มาก” ผอ.ศูนย์พัฒนาสุขภาพจิตกล่าว
อย่างไรก็ตาม ทางที่ดี ผอ.ศูนย์พัฒนาสุขภาพจิตฝากถึงพ่อแม่ ผู้ปกครองไว้ว่า ความเครียด สามารถป้องกันและลดความเสี่ยงได้ เช่น เมื่อลูกหรือบุคคลในครอบครัวเกิดความเครียด พ่อแม่ต้องสร้างเข้าใจ และรู้เท่าทันอารมณ์ ด้วยการสังเกตพฤติกรรมของลูก เช่น เก็บตัวอยู่แต่ในห้อง ไม่คุยกับใคร รวมถึงอ่านใจให้ออกว่า ณ ขณะนั้นลูกกำลังคิดอะไร และมีแนวโน้มว่าจะทำอะไร พ่อแม่ต้องใกล้ชิด แต่ต้องอยู่ในระยะที่เหมาะสม เพราะเด็กอาจระแวง และเกิดความรำคาญได้ รวมถึงความหวังในด้านการเรียน ต้องอย่าสร้างความหวัง จนลูกเกิดความรู้สึกกดดัน เพราะความหวังอาจเปลี่ยนเป็นความผิดหวังได้
ขณะเดียวกัน การรายงานของสื่อมวลชน ต้องรายงาน และนำเสนอ บนพื้นฐานของความรู้ ไม่ใช่ชี้โพรงให้กระรอก จนเป็นกระแส และเกิดการลอกเลียนแบบ แต่ทั้งนี้ต้องให้แนวทาง และทางเลือกที่เป็นประโยชน์สำหรับพ่อแม่ และเด็ก