"นิวัฒน์ กาญจนภูมินทร์" ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือที่รู้จักเป็นการทั่วไปว่า "เครดิต บูโร" ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมา เข้าถึงลำบาก ภาพลักษณ์ออกมาในเชิงลบสำหรับประชาชนทั่วไป เพราะไม่เพียงแต่กุมข้อมูลลับ ยังขึ้นชื่อเรื่องการขึ้นบัญชีดำ (แบล็กลิสต์) "นิวัฒน์" แจงข้อสงสัยและข้อเท็จจริง โดยยืนยันว่าลูกหนี้ยังมีอนาคตทางด้านสินเชื่อ ขอกู้ใหม่ได้ รวมถึงความคืบหน้าการพัฒนาระบบสกอริ่งและผลการดำเนินงานบริษัทฯ
-การพัฒนาระบบสกอริ่ง (scoring)
สกอริ่งจะเป็นตัวคาดการณ์โอกาสความน่าเป็นว่าจะเกิดขึ้นเท่าไหร่ ก็คือบอกถึงโอกาสที่จะเกิดขึ้น สมมติว่าคะแนนที่ได้ออกมา 80% ก็จะหมายความว่าลูกค้าที่คะแนนตกอยู่ในนี้มี 100 คน มีลูกค้าที่น่าจะชำระได้ 80 คน ส่วนอีก 20 คน มีความน่าจะเป็นที่เขาจะผิดนัดเกินกว่า 90 วัน ในอีก 1 ปีข้างหน้า ข้อมูลตรงนี้มันจะไม่ได้บอกไปเลยว่าคะแนนตรงนี้เสียแน่ๆ หรือคะแนนตรงนี้ดีแน่ อย่างลูกค้าที่ได้คะแนน 60 ก็ไม่ได้หมายความว่าเข้าเป็นคนที่เสียแน่ๆ มันก็เพียงแต่บอกว่าคะเแนนตรงนี้บอกว่ามี 60 คนที่มีความเป็นไปได้ที่จะชำระแน่ อีก 40 คนอาจจะจ่ายไม่ตรงเวลา สรุปก็คือมีความคืบหน้าไปมากแล้ว
**ที่มา-เบื้องหลังของระบบ
ที่มาก็คือการใช้วิธีทางสถิติมาเข้าไปจับเอาข้อมูลการชำระหนี้ของลูกค้าแต่ละรายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ก็ประมาณ 2 ปีหลังสุดว่ามีประวัติอย่างไร อย่างเช่น มีการผิดนัดหรือไม่ มีบัญชีจำนวนกี่บัญชี แล้วก็เอาพวกนี้มาประมวลได้ออกมาเป็นรูปแบบของคะแนนที่สะท้อนถึงโอกาสที่ลูกค้ารายนั้นๆจะผิดนัดชำระเกินกว่า 90 วันในอีก 12 เดือนข้างหน้าหรือไม่
ส่วนสถาบันการเงินจะเอาพิจารณาว่าจะให้หรือไม่ให้ เขาจะใช้ข้อมูลสกอริ่งไปพิจารณารวมกับข้อมูลอื่น ๆ เช่น รายได้ต่อเดือน หลักประกัน หรืออะไรต่างๆที่ไม่มีในสกอริ่งหรือที่เครดิต บูโรไม่ได้จัดเก็บ อย่างเรื่องของรายได้ พอได้ข้อมูลมาทั้งหมด สถาบันการเงินก็จะนำมาประมวลเพื่อตัดสินใจอีกครั้ง ก็จะเป็นในลักษณะที่ว่า ลูกค้าคนนี้ได้คะแนน 60% เขาจะปล่อยให้หรือไม่ ถ้ามีเงื่อนไขแวดล้อมอื่นอย่างนี้ เช่น มีรายได้ต่อเดือนเท่านี้ ซึ่งการตัดสินใจมันจะขึ้นอยู่กับตัวแปรอื่นๆ ด้วย อย่างกรณีข้อมูลเหมือนๆ กัน ถ้าเป็นสินเชื่อบ้านซึ่งมีหลักประกัน แบงก์อาจจะปล่อยให้ แต่ถ้าเป็นสินเชื่อบัตรเครดิตอาจจะไม่เอาก็ได้ ก็จะเป็นลักษณะประมาณนี้
-มีการร้องเรียนเรื่องความไม่เป็นธรรมม
เราก็ได้รับฟัง โดยเฉพาะในเรื่องจำนวนการผิดนัดที่ไม่มาก แต่จะมีผลต่อข้อมูลของเขาเป็นระยะเวลาถึง 2 ปี
"ประเด็นที่จะหมายเหตุว่าถ้าผิดนัดเพราะเศรษฐกิจถดถอยหรือตกงาน ก็ทำได้ แต่ผมว่าเหตุผลตรงนี้เป็นเหตุที่ผู้กู้สามารถไปอธิบายกับผู้ให้กู้ได้เองอยู่แล้ว แต่เขาจะฟังหรือเปล่าก็อีกเรื่องหนึ่ง หรือเศรษฐกิจซบ ผิดนัดชำระหนี้นี่ เศรษฐกิจซบก็กระทบไปทั่วอยู่แล้ว ไม่ใช่คนเดียวหรือกลุ่มเดียว ก็จะเป็นหมายเหตุที่ดูไม่ค่อยมีเหตุผล แต่ถ้าเป็นบางอย่างกรณีเกิดสึนามิ ก็กระทบทำให้ผู้ประกอบการส่วนหนึ่งไม่สามารถชำระหนี้ได้ สถาบันการเงินก็พิจารณาแล้วเห็นพ้องกันว่ายอมให้ผิดนัดชำระหนี้ได้ กรณีนี้ เรามีหมายเหตุกำกับไว้อยู่แล้วครับ หรืออย่างกรณีการผ่อนผันของรัฐให้เกษตรกร ก็มีหมายเหตุกำกับไว้ แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะมีหมายเหตุอย่างไร สุดท้ายก็จะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสถาบันการเงิน อันนี้ก็จะแสดงให้เห็นว่าการหมายเหตุนั้น ก็พอมีอยู่บ้าง แต่อาจจะยังไม่มากนัก และเมื่อมีสกอริ่ง ก็จะทำให้เทคแคร์บางอย่างที่เราอาจจะมองข้ามไป เช่น จำนวนหนี้ที่น้อย"
อย่างแรกเลย การมีสกอริ่งจะช่วยให้ผู้ที่มีโอกาสน้อยหรือไม่มีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อ มีโอกาสมากขึ้น เพราะในบางครั้งสถาบันการเงินก็อาจจะดูข้อมูลแค่มีประวัติผิดนัด หรือไม่ผิดนัดเท่านั้น แต่ข้อมูลที่ละเอียดขึ้นตรงนี้ ก็จะทำให้มีโอกาสมากขึ้น ขณะที่ในด้านของสถาบันการเงินก็จะช่วยให้มีข้อมูลในการวิเคราะห์สินเชื่อได้แม่นยำขึ้น ยกตัวอย่างง่ายๆก็คือ อย่างถ้าคนเงินเดือนต่ำกว่า 15,000 บาทนี่ เดี๋ยวนี้แทบจะไม่ได้รับพิจารณาจากสถาบันการเงินอยู่แล้ว แต่ถ้าเขามีสกอริ่งที่ดี ก็อาจจะได้รับพิจารณาได้ อันนี้คือทำให้มีโอกาสในการเข้าถึงสินเชื่อมากขึ้น
ในอนาคต สกอริ่งนอกจากนี้จะเปิดโอกาสให้มากขึ้นแล้ว ก็จะเป็นการแบ่งลูกค้าตามความเสี่ยงไปด้วย จากนั้นก็คงจะโยงมาถึงเรื่องราคาหรือดอกเบี้ยที่เหมาะสมด้วย ซึ่งตรงนี้คงต้องเป็นอีกระยะหลังการใช้สกอริ่ง และเมื่อมีเรื่องราคาเข้ามาเกี่ยว ผลต่อไปก็จะทำให้คนหันมารักษาวินัยทางการเงินกันมากขึ้น เพื่อไม่ให้สกอร์เสีย แล้วเมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น ตรงนี้ก็จะยิ่งเห็นมากขึ้น เพราะจะมีการขอสินเชื่อเพิ่มขึ้น แต่ขณะนี้จากเศรษฐกิจที่ลดลง จะเห็นได้ชัดว่าการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินมีความเข้มงวดและชะลอตัวลง จะเห็นได้จากการเข้ามาเช็คข้อมูลจากเครดิตบูโรก็ลดลงไปด้วย ลดลงไปพอสมควรกว่า 10% ก็สะท้อนให้เห็นว่าการปล่อยสินเชื่อใหม่นั้นน้อยลง
-ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนไหนแล้ว
ตอนนี้กำลังทดสอบตัวโมเดล ซึ่งอันนี้ได้เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคมปีก่อน ตอนนี้ทดสอบโมเดล พอเดือนเมษายนหลังได้โมเดลมาแล้วก็จะมาทดสอบการใช้ตามความเหมาะสมของแต่ละสถาบันการเงิน เพราะสถาบันการเงินแต่ละแห่งมุ่งเน้นที่ลูกค้าคนละกลุ่ม แต่ละโมเดลก็จะเหมาะสมกับแบงก์แต่ละแห่งไป ก็เดือนกรกฎาคมเป็นเป้าหมายการใช้ของเรา แต่จะเอาให้แน่ก็ต้นไตรมาส 3
-คะแนนที่ใช้กับสกอร์จะเป็นรูปแบบไหน
คือเรื่องนี้คะแนนยังไม่ได้ไฟนอล แต่คิดว่าโดยปกติแล้วคนส่วนใหญ่ก็อยู่ที่ 300 -800 กว่าคะแนน เต็มพันคงอยาก ซึ่งระบบตรงนี้ก็เป็นระบบที่ประเทศอื่นๆอย่าง สหรัฐอเมริกาก็ใช้กัน จริงๆมีทางนำเสนอตัวคะแนนนี่อีกหลายอย่าง ก็มีการทำเป็นสัดส่วนแบบเปอร์เซ็น หรือจะแบ่งเป็นช่วงแบบเอ บี ซี ดี อีก็ได้ มันมีประเทศที่ใช้แบบที่ 1 แบบที่ 2 หรือแบบที่ 3 ซึ่งเราก็กำลังศึกษาว่าจะใช้แบบไหน
-น้ำหนักของข้อมูลเครดิตบูโรที่แบงก์ใช้ในการตัดสินใจปล่อยสินเชื่อ
ในส่วนของลูกค้ารายย่อย คิดว่าแบงก์ใช้ประมาณ 60% ถ้าเป็นบริษัท ถ้าเป็นธุรกิจใช้ประมาณ 30-40% เพราะในส่วนธุรกิจนั้นจะต้องใช้ข้อมูลอื่นๆเข้ามาประกอบมากกว่า เช่น ประเภทธุรกิจอยู่ในช่วงขาขึ้น-ขาลง เป็นต้น ทำให้เขาต้องให้น้ำหนักในหลายๆด้าน และให้น้ำหนักในเรื่องของธุรกิจมากกว่าประวัติการชำระหนี้ แต่ถ้าบุคคลจะให้น้ำหนักประวัติการชำระหนี้มากกว่า
ถ้ามีสกอริ่งแล้ว การให้น้ำหนักก็คงจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงมาก เพียงแต่จะมีเครื่องมือมากขึ้น จากที่เดิมมีแต่ข้อมูลตรงนี้ แล้วก็ไปใช้เครื่องมือของเขาเอง ก็จะมีข้อมูลส่วนนี้มากขึ้น แล้วแบงก์ก็จะตัดสินใจได้ดีขึ้น แม่นยำมากขึ้น คือก็จะมีคนผ่านเกณฑ์การพิจารณาขั้นต้นเพิ่มขึ้น แล้วจึงค่อยไปใช้เกณฑ์ของแบงก์ต่อไป จึงทำให้โอกาสที่จะเข้าถึงมีมากขึ้น
-ปีนี้มีแผนดำเนินงานอะไรอีกบ้าง
เราก็มีแผนที่จะรวบรวมตัวเลขเครดิตที่เราทำอยู่ในเชิงสถิติ ถ้าทำออกมาก็น่าจะมีประโยชน์ต่อทั้งสถาบันการเงิน หรือผู้ที่บริหารนโยบาย เป็นสัญญาณที่บอกให้รู้ว่ามันมีหนี้ที่เพิ่มขึ้นจริงเท่าไหร่ สงสัญญาณอย่างไรบ้าง แต่ตัวเลขพวกนี้บางทีก็เป็นเรื่องอ่อนไหว ก็กำลังกำหนดหลักเกณฑ์อยู่ว่าจะนำมาใช้อย่างไร ซึ่งอย่างน้อยที่สุดก็จะเป็นการป้องระวังว่าเศรษฐกิจมันร้อนแรงไป หรือเศรษฐกิจมันชะลอลงแล้ว ก็ต้องระมัดระวัง เป็นตัวที่เรากำลังจะทำ ซึ่งก็คงจะใช้เวลาระยะหนึ่ง แต่น่าจะเป็นในช่วงปีนี้
"อย่างในตอนนี้ เราก็บอกได้แค่ว่า จากเศรษฐกิจที่ชะลอลง ผลที่เกิดขึ้นก็คือการผิดนัดชำระหนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ไม่สามารถประเมินออกมาได้ว่าเท่าไหร่ กลุ่มไหน เพราะยังไม่ได้จัดทำข้อมูลตรงนี้อย่างละเอียด แต่ถ้ามีการทำข้อมูลตรงนี้ ก็จะบอกได้มากขึ้น และเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดแนวทางในการดูแลเศรษฐกิจ"
-คุณนิวัฒน์มองภาวะเศรษฐกิจตอนนี้อย่างไร
ตอนนี้ปัญหาคือความมั่นใจ คนไม่มีความมั่นใจ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือทุกคนต้องชะลอ ทั้งๆที่ตัวเองอาจจะมีศักยภาพในการลงทุนหรือทำอะไรก็ตาม แต่ด้วยความไม่มั่นใจตรงนี้ก็เลยทำให้เศรษฐกิจเราแย่ลง ก็ขึ้นอยู่กับรัฐว่ามีวิธีการอย่างไรที่เรียกความมั่นใจกลับมา มีวิธีการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างไรให้เกิดความมั่นใจมากขึ้นว่ารัฐเอาอยู่กับปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น หลังจากมีความมั่นใจแล้ว ก็จะเริ่มมีการลงทุนเข้ามา เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้จากเรา เราไม่ได้เกิดซับไพรม์ ไม่มีปัญหาเรื่องพลังงานราคาสูง เราอาจกระทบมากเรื่องส่งออก แล้วมากระทบเศรษฐกิจ รวมถึงการบริโภคลดลง ถ้ากระตุ้นการบริโภคได้ เราก็แค่รอจังหวะให้เศรษฐกิจภายนอกฟื้น โดยเฉพาะคู่ค้าใหญ่ๆ 2-3 ประเทศ ก็จะช่วยเข้ามาอีกทาง ก็จะดีขึ้น
-การพัฒนาระบบสกอริ่ง (scoring)
สกอริ่งจะเป็นตัวคาดการณ์โอกาสความน่าเป็นว่าจะเกิดขึ้นเท่าไหร่ ก็คือบอกถึงโอกาสที่จะเกิดขึ้น สมมติว่าคะแนนที่ได้ออกมา 80% ก็จะหมายความว่าลูกค้าที่คะแนนตกอยู่ในนี้มี 100 คน มีลูกค้าที่น่าจะชำระได้ 80 คน ส่วนอีก 20 คน มีความน่าจะเป็นที่เขาจะผิดนัดเกินกว่า 90 วัน ในอีก 1 ปีข้างหน้า ข้อมูลตรงนี้มันจะไม่ได้บอกไปเลยว่าคะแนนตรงนี้เสียแน่ๆ หรือคะแนนตรงนี้ดีแน่ อย่างลูกค้าที่ได้คะแนน 60 ก็ไม่ได้หมายความว่าเข้าเป็นคนที่เสียแน่ๆ มันก็เพียงแต่บอกว่าคะเแนนตรงนี้บอกว่ามี 60 คนที่มีความเป็นไปได้ที่จะชำระแน่ อีก 40 คนอาจจะจ่ายไม่ตรงเวลา สรุปก็คือมีความคืบหน้าไปมากแล้ว
**ที่มา-เบื้องหลังของระบบ
ที่มาก็คือการใช้วิธีทางสถิติมาเข้าไปจับเอาข้อมูลการชำระหนี้ของลูกค้าแต่ละรายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ก็ประมาณ 2 ปีหลังสุดว่ามีประวัติอย่างไร อย่างเช่น มีการผิดนัดหรือไม่ มีบัญชีจำนวนกี่บัญชี แล้วก็เอาพวกนี้มาประมวลได้ออกมาเป็นรูปแบบของคะแนนที่สะท้อนถึงโอกาสที่ลูกค้ารายนั้นๆจะผิดนัดชำระเกินกว่า 90 วันในอีก 12 เดือนข้างหน้าหรือไม่
ส่วนสถาบันการเงินจะเอาพิจารณาว่าจะให้หรือไม่ให้ เขาจะใช้ข้อมูลสกอริ่งไปพิจารณารวมกับข้อมูลอื่น ๆ เช่น รายได้ต่อเดือน หลักประกัน หรืออะไรต่างๆที่ไม่มีในสกอริ่งหรือที่เครดิต บูโรไม่ได้จัดเก็บ อย่างเรื่องของรายได้ พอได้ข้อมูลมาทั้งหมด สถาบันการเงินก็จะนำมาประมวลเพื่อตัดสินใจอีกครั้ง ก็จะเป็นในลักษณะที่ว่า ลูกค้าคนนี้ได้คะแนน 60% เขาจะปล่อยให้หรือไม่ ถ้ามีเงื่อนไขแวดล้อมอื่นอย่างนี้ เช่น มีรายได้ต่อเดือนเท่านี้ ซึ่งการตัดสินใจมันจะขึ้นอยู่กับตัวแปรอื่นๆ ด้วย อย่างกรณีข้อมูลเหมือนๆ กัน ถ้าเป็นสินเชื่อบ้านซึ่งมีหลักประกัน แบงก์อาจจะปล่อยให้ แต่ถ้าเป็นสินเชื่อบัตรเครดิตอาจจะไม่เอาก็ได้ ก็จะเป็นลักษณะประมาณนี้
-มีการร้องเรียนเรื่องความไม่เป็นธรรมม
เราก็ได้รับฟัง โดยเฉพาะในเรื่องจำนวนการผิดนัดที่ไม่มาก แต่จะมีผลต่อข้อมูลของเขาเป็นระยะเวลาถึง 2 ปี
"ประเด็นที่จะหมายเหตุว่าถ้าผิดนัดเพราะเศรษฐกิจถดถอยหรือตกงาน ก็ทำได้ แต่ผมว่าเหตุผลตรงนี้เป็นเหตุที่ผู้กู้สามารถไปอธิบายกับผู้ให้กู้ได้เองอยู่แล้ว แต่เขาจะฟังหรือเปล่าก็อีกเรื่องหนึ่ง หรือเศรษฐกิจซบ ผิดนัดชำระหนี้นี่ เศรษฐกิจซบก็กระทบไปทั่วอยู่แล้ว ไม่ใช่คนเดียวหรือกลุ่มเดียว ก็จะเป็นหมายเหตุที่ดูไม่ค่อยมีเหตุผล แต่ถ้าเป็นบางอย่างกรณีเกิดสึนามิ ก็กระทบทำให้ผู้ประกอบการส่วนหนึ่งไม่สามารถชำระหนี้ได้ สถาบันการเงินก็พิจารณาแล้วเห็นพ้องกันว่ายอมให้ผิดนัดชำระหนี้ได้ กรณีนี้ เรามีหมายเหตุกำกับไว้อยู่แล้วครับ หรืออย่างกรณีการผ่อนผันของรัฐให้เกษตรกร ก็มีหมายเหตุกำกับไว้ แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะมีหมายเหตุอย่างไร สุดท้ายก็จะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสถาบันการเงิน อันนี้ก็จะแสดงให้เห็นว่าการหมายเหตุนั้น ก็พอมีอยู่บ้าง แต่อาจจะยังไม่มากนัก และเมื่อมีสกอริ่ง ก็จะทำให้เทคแคร์บางอย่างที่เราอาจจะมองข้ามไป เช่น จำนวนหนี้ที่น้อย"
อย่างแรกเลย การมีสกอริ่งจะช่วยให้ผู้ที่มีโอกาสน้อยหรือไม่มีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อ มีโอกาสมากขึ้น เพราะในบางครั้งสถาบันการเงินก็อาจจะดูข้อมูลแค่มีประวัติผิดนัด หรือไม่ผิดนัดเท่านั้น แต่ข้อมูลที่ละเอียดขึ้นตรงนี้ ก็จะทำให้มีโอกาสมากขึ้น ขณะที่ในด้านของสถาบันการเงินก็จะช่วยให้มีข้อมูลในการวิเคราะห์สินเชื่อได้แม่นยำขึ้น ยกตัวอย่างง่ายๆก็คือ อย่างถ้าคนเงินเดือนต่ำกว่า 15,000 บาทนี่ เดี๋ยวนี้แทบจะไม่ได้รับพิจารณาจากสถาบันการเงินอยู่แล้ว แต่ถ้าเขามีสกอริ่งที่ดี ก็อาจจะได้รับพิจารณาได้ อันนี้คือทำให้มีโอกาสในการเข้าถึงสินเชื่อมากขึ้น
ในอนาคต สกอริ่งนอกจากนี้จะเปิดโอกาสให้มากขึ้นแล้ว ก็จะเป็นการแบ่งลูกค้าตามความเสี่ยงไปด้วย จากนั้นก็คงจะโยงมาถึงเรื่องราคาหรือดอกเบี้ยที่เหมาะสมด้วย ซึ่งตรงนี้คงต้องเป็นอีกระยะหลังการใช้สกอริ่ง และเมื่อมีเรื่องราคาเข้ามาเกี่ยว ผลต่อไปก็จะทำให้คนหันมารักษาวินัยทางการเงินกันมากขึ้น เพื่อไม่ให้สกอร์เสีย แล้วเมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น ตรงนี้ก็จะยิ่งเห็นมากขึ้น เพราะจะมีการขอสินเชื่อเพิ่มขึ้น แต่ขณะนี้จากเศรษฐกิจที่ลดลง จะเห็นได้ชัดว่าการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินมีความเข้มงวดและชะลอตัวลง จะเห็นได้จากการเข้ามาเช็คข้อมูลจากเครดิตบูโรก็ลดลงไปด้วย ลดลงไปพอสมควรกว่า 10% ก็สะท้อนให้เห็นว่าการปล่อยสินเชื่อใหม่นั้นน้อยลง
-ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนไหนแล้ว
ตอนนี้กำลังทดสอบตัวโมเดล ซึ่งอันนี้ได้เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคมปีก่อน ตอนนี้ทดสอบโมเดล พอเดือนเมษายนหลังได้โมเดลมาแล้วก็จะมาทดสอบการใช้ตามความเหมาะสมของแต่ละสถาบันการเงิน เพราะสถาบันการเงินแต่ละแห่งมุ่งเน้นที่ลูกค้าคนละกลุ่ม แต่ละโมเดลก็จะเหมาะสมกับแบงก์แต่ละแห่งไป ก็เดือนกรกฎาคมเป็นเป้าหมายการใช้ของเรา แต่จะเอาให้แน่ก็ต้นไตรมาส 3
-คะแนนที่ใช้กับสกอร์จะเป็นรูปแบบไหน
คือเรื่องนี้คะแนนยังไม่ได้ไฟนอล แต่คิดว่าโดยปกติแล้วคนส่วนใหญ่ก็อยู่ที่ 300 -800 กว่าคะแนน เต็มพันคงอยาก ซึ่งระบบตรงนี้ก็เป็นระบบที่ประเทศอื่นๆอย่าง สหรัฐอเมริกาก็ใช้กัน จริงๆมีทางนำเสนอตัวคะแนนนี่อีกหลายอย่าง ก็มีการทำเป็นสัดส่วนแบบเปอร์เซ็น หรือจะแบ่งเป็นช่วงแบบเอ บี ซี ดี อีก็ได้ มันมีประเทศที่ใช้แบบที่ 1 แบบที่ 2 หรือแบบที่ 3 ซึ่งเราก็กำลังศึกษาว่าจะใช้แบบไหน
-น้ำหนักของข้อมูลเครดิตบูโรที่แบงก์ใช้ในการตัดสินใจปล่อยสินเชื่อ
ในส่วนของลูกค้ารายย่อย คิดว่าแบงก์ใช้ประมาณ 60% ถ้าเป็นบริษัท ถ้าเป็นธุรกิจใช้ประมาณ 30-40% เพราะในส่วนธุรกิจนั้นจะต้องใช้ข้อมูลอื่นๆเข้ามาประกอบมากกว่า เช่น ประเภทธุรกิจอยู่ในช่วงขาขึ้น-ขาลง เป็นต้น ทำให้เขาต้องให้น้ำหนักในหลายๆด้าน และให้น้ำหนักในเรื่องของธุรกิจมากกว่าประวัติการชำระหนี้ แต่ถ้าบุคคลจะให้น้ำหนักประวัติการชำระหนี้มากกว่า
ถ้ามีสกอริ่งแล้ว การให้น้ำหนักก็คงจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงมาก เพียงแต่จะมีเครื่องมือมากขึ้น จากที่เดิมมีแต่ข้อมูลตรงนี้ แล้วก็ไปใช้เครื่องมือของเขาเอง ก็จะมีข้อมูลส่วนนี้มากขึ้น แล้วแบงก์ก็จะตัดสินใจได้ดีขึ้น แม่นยำมากขึ้น คือก็จะมีคนผ่านเกณฑ์การพิจารณาขั้นต้นเพิ่มขึ้น แล้วจึงค่อยไปใช้เกณฑ์ของแบงก์ต่อไป จึงทำให้โอกาสที่จะเข้าถึงมีมากขึ้น
-ปีนี้มีแผนดำเนินงานอะไรอีกบ้าง
เราก็มีแผนที่จะรวบรวมตัวเลขเครดิตที่เราทำอยู่ในเชิงสถิติ ถ้าทำออกมาก็น่าจะมีประโยชน์ต่อทั้งสถาบันการเงิน หรือผู้ที่บริหารนโยบาย เป็นสัญญาณที่บอกให้รู้ว่ามันมีหนี้ที่เพิ่มขึ้นจริงเท่าไหร่ สงสัญญาณอย่างไรบ้าง แต่ตัวเลขพวกนี้บางทีก็เป็นเรื่องอ่อนไหว ก็กำลังกำหนดหลักเกณฑ์อยู่ว่าจะนำมาใช้อย่างไร ซึ่งอย่างน้อยที่สุดก็จะเป็นการป้องระวังว่าเศรษฐกิจมันร้อนแรงไป หรือเศรษฐกิจมันชะลอลงแล้ว ก็ต้องระมัดระวัง เป็นตัวที่เรากำลังจะทำ ซึ่งก็คงจะใช้เวลาระยะหนึ่ง แต่น่าจะเป็นในช่วงปีนี้
"อย่างในตอนนี้ เราก็บอกได้แค่ว่า จากเศรษฐกิจที่ชะลอลง ผลที่เกิดขึ้นก็คือการผิดนัดชำระหนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ไม่สามารถประเมินออกมาได้ว่าเท่าไหร่ กลุ่มไหน เพราะยังไม่ได้จัดทำข้อมูลตรงนี้อย่างละเอียด แต่ถ้ามีการทำข้อมูลตรงนี้ ก็จะบอกได้มากขึ้น และเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดแนวทางในการดูแลเศรษฐกิจ"
-คุณนิวัฒน์มองภาวะเศรษฐกิจตอนนี้อย่างไร
ตอนนี้ปัญหาคือความมั่นใจ คนไม่มีความมั่นใจ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือทุกคนต้องชะลอ ทั้งๆที่ตัวเองอาจจะมีศักยภาพในการลงทุนหรือทำอะไรก็ตาม แต่ด้วยความไม่มั่นใจตรงนี้ก็เลยทำให้เศรษฐกิจเราแย่ลง ก็ขึ้นอยู่กับรัฐว่ามีวิธีการอย่างไรที่เรียกความมั่นใจกลับมา มีวิธีการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างไรให้เกิดความมั่นใจมากขึ้นว่ารัฐเอาอยู่กับปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น หลังจากมีความมั่นใจแล้ว ก็จะเริ่มมีการลงทุนเข้ามา เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้จากเรา เราไม่ได้เกิดซับไพรม์ ไม่มีปัญหาเรื่องพลังงานราคาสูง เราอาจกระทบมากเรื่องส่งออก แล้วมากระทบเศรษฐกิจ รวมถึงการบริโภคลดลง ถ้ากระตุ้นการบริโภคได้ เราก็แค่รอจังหวะให้เศรษฐกิจภายนอกฟื้น โดยเฉพาะคู่ค้าใหญ่ๆ 2-3 ประเทศ ก็จะช่วยเข้ามาอีกทาง ก็จะดีขึ้น