รอยเตอร์ – แผนการกู้ชีพภาคการเงินของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้รับมูลค่าตอบแทนการลงทุนของตนเป็นอัตราต่ำที่สุด จากการเข้าไปซื้อหุ้นของซิตี้กรุ๊ปและอเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป (เอไอจี) ซึ่งเป็น 2 สถาบันการเงินที่ยังรอดชีวิตอยู่ที่ประสบปัญหาหนักหน่วงสุด ทั้งนี้ตามรายงานฉบับใหม่ของคณะกรรมการกำกับตรวจสอบของรัฐสภาที่นำออกเผยแพร่เมื่อวานนี้(6)
รายงานของ “คณะกรรมการกำกับตรวจสอบแห่งรัฐสภา” เปิดเผยว่ากระทรวงการคลังจ่ายค่าหุ้น 2 บริษัทนั้นเกินกว่าราคาตลาดไปประมาณ 78,000 ล้านดอลลาร์ ในกระบวนการอัดฉีดเงินทุนแลกกับหุ้นเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งอยู่ภายใต้แผนการกู้ชีวิตภาคการเงินของกระทรวงการคลัง ที่ใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า “โครงการบรรเทาสินทรัพย์ที่มีปัญหา”(ทาร์ป)
เมื่อมองในภาพรวม โครงการนี้จ่ายเงินไปแล้ว 254,000 ล้านดอลลาร์ สำหรับหุ้นและวอแรนท์ซึ่งมีมูลค่าเพียง 176,000 ล้านดอลลาร์
บทสรุปของรายงานดังกล่าวนี้ ได้รับการเปิดเผยเป็นครั้งแรกเมื่อวันพฤหัสบดี(5) ในระหว่างการให้ปากคำต่อวุฒิสภาสหรัฐฯ ของ อลิซาเบธ วอร์เรน ประธานของคณะกรรมการฯ
รายงานฉบับนี้นอกจากจะมีตัวเลขแล้ว ก็ยังให้รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการดำเนินงาน อีกทั้งสรุปว่ารัฐบาลสหรัฐฯได้รับสินทรัพย์ที่มีมูลค่าน้อยกว่าที่บรรดานักลงทุนเอกชนได้รับ ในการซื้อขายหุ้นครั้งใหญ่ ๆล่าสุดในภาคการเงินของสหรัฐฯ
รายงานชี้ให้เห็นว่ากระทรวงการคลังได้รับประโยชน์น้อยที่สุดในการลงทุนรอบสองในเอไอจี ที่มีมูลค่าถึง 40,000 ล้านดอลลาร์ และในการทำสัญญากับซิตี้กรุ๊ปมูลค่า 20,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งสัญญาเข้าซื้อหุ้นทั้งสองเขียนขึ้นเป็นพิเศษเพื่อช่วยเหลือสองสถาบันการเงินดังกล่าว
รายงานระบุว่าเงิน 100 ดอลลาร์ที่ลงทุนไปในบริษัททั้งสอง กระทรวงการคลังนั้นได้หลักทรัพย์ที่มีมูลค่าเพียง 41 ดอลลาร์เท่านั้นมาถือไว้
สำหรับการลงทุนก่อนหน้านี้ในสถาบันการเงิน 8 แห่งนั้น รายงานบอกว่าอยู่ในสภาพดีกว่า เพราะทุก ๆ 100 ดอลลาร์ที่ลงทุนไป กระทรวงการคลังได้หลักทรัพย์มูลค่า 78 ดอลลาร์มาถือเอาไว้ ซึ่งก็รวมทั้งการลงทุน 25,000 ล้านดอลลาร์ในซิตี้กรุ๊ปรอบแรก, การอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่แบงก์ ออฟ อเมริกา, เจพีมอร์แกนเชส, มอร์แกน สแตนลีย์, โกลด์แมน แซคส์, พีเอ็นซีไฟแนนเชี่ยลและ ยูเอส แบนคอร์ป
“การอุดหนุน” ของรัฐบาล (ซึ่งก็คือมูลค่าส่วนต่างระหว่างเม็ดเงินที่ลงทุนไปกับมูลค่าที่ได้คืนมา) สถาบันการเงินที่ได้รับมากที่สุดก็คือ เอไอจี ที่ 63% และที่ได้น้อยที่สุดก็คือ ยูเอส แบนคอร์ป
ทางคณะกรรมการกำกับตรวจสอบแห่งรัฐสภา ได้ว่าจ้างบริษัทประเมินของภาคเอกชน คือ ดัฟฟ์ แอนด์ เฟลด์ส มาประเมินมูลค่าการลงทุนของรัฐบาลโดยเทียบกับมูลค่าของหุ้นบุริมสิทธิ์และวอร์แรนท์ที่ได้รับมา ปรากฎว่ากลายเป็นงานที่ยากลำบากมาก เพราะว่าหุ้นเหล่านี้มิได้ขายในตลาดหุ้นจึงไม่มีมูลค่าตลาดให้เปรียบเทียบ
ดังนั้นดัฟฟ์ แอนด์ เฟลฟ์สจึงใช้การอิงราคากับราคาตลาดของหุ้นบริษัทซึ่งที่มีโครงสร้างคล้ายกันตามการประกาศของการลงทุนของทาร์ป รวมทั้งพิจารณาปัจจัยว่าการช่วยเหลือของรัฐบาลที่มีต่อสถาบันเหล่านี้ ได้เปลี่ยนมุมมองนักลงทุนต่อหุ้นเหล่านี้อย่างไรบ้าง
จากนั้นก็นำมาเปรียบเทียบสัญญาซื้อขายซึ่งทำโดยภาคเอกชน อย่างเช่น การเข้าซื้อหุ้นโกลด์แมน แซคส์ของเบิร์กไชร์ แฮธาเวย์ในเดือนกันยายน ซึ่งได้รับมูลค่าตอบแทนคืนมา 110 ดอลลาร์ต่อการลงทุนตามราคาตลาดทุก ๆ 100 ดอลลาร์
หรือการเข้าซื้อหุ้นบาร์เคลย์ส ของ กาตาร์ โฮลดิ้ง และ อาบูดาบี มูลค่า 10,220 ล้านดอลลาร์ในเดือนตุลาคมก็ให้ผลตอบแทนถึง 123 ดอลลาร์ต่อการลงทุนทุก ๆ 100 ดอลลาร์
รายงานยังได้ชี้อีกว่าการลงทุนของมิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียลมูลค่า 9,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในมอร์แกน สแตนลีย์เมื่อเดือนตุลาคมก็ยังให้ผลตอบแทน 102 ดอลลาร์ต่อการลงทุน 100 ดอลลาร์ ในขณะที่กระทรวงการคลังสหรัฐได้ผลตอบแทนเพียง 58 ดอลลาร์จากการลงทุนในมอร์แกนสแตนลีย์ในช่วงเดียวกัน
รายงานระบุว่าสาเหตุหนึ่งนั้นมาจากกระทรวงการคลังใช้ระบบเอกสารที่มีมาตรฐานเหมือนกัน ซึ่งจะช่วยให้กระทรวงเข้าช่วยเหลือธนาคารเหล่านั้นได้อย่างรวดเร็ว แต่มันก็หมายความว่าเอกสารดังกล่าวมิได้บ่งบอกถึงคุณภาพอันแตกต่างกันของความน่าเชื่อถือของสินทรัพย์ในแต่ละสถาบัน
รายงานก็ยังได้ชี้ด้วยว่าเนื่องจากกระทรวงการคลังตัดสินใจซื้อหุ้นในธนาคารที่แข็งแกร่งภายใต้เงื่อนไขเดียวกับธนาคารที่อ่อนแอ แต่ว่าธนาคารที่แข็งแกร่งก็จะเงินอุดหนุนน้อยกว่าที่อ่อนแอมาก จึงทำให้ผลตอบแทนรวมที่ออกมาต่ำกว่ามูลค่าที่ลงทุนไปเยอะ
รายงานของ “คณะกรรมการกำกับตรวจสอบแห่งรัฐสภา” เปิดเผยว่ากระทรวงการคลังจ่ายค่าหุ้น 2 บริษัทนั้นเกินกว่าราคาตลาดไปประมาณ 78,000 ล้านดอลลาร์ ในกระบวนการอัดฉีดเงินทุนแลกกับหุ้นเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งอยู่ภายใต้แผนการกู้ชีวิตภาคการเงินของกระทรวงการคลัง ที่ใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า “โครงการบรรเทาสินทรัพย์ที่มีปัญหา”(ทาร์ป)
เมื่อมองในภาพรวม โครงการนี้จ่ายเงินไปแล้ว 254,000 ล้านดอลลาร์ สำหรับหุ้นและวอแรนท์ซึ่งมีมูลค่าเพียง 176,000 ล้านดอลลาร์
บทสรุปของรายงานดังกล่าวนี้ ได้รับการเปิดเผยเป็นครั้งแรกเมื่อวันพฤหัสบดี(5) ในระหว่างการให้ปากคำต่อวุฒิสภาสหรัฐฯ ของ อลิซาเบธ วอร์เรน ประธานของคณะกรรมการฯ
รายงานฉบับนี้นอกจากจะมีตัวเลขแล้ว ก็ยังให้รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการดำเนินงาน อีกทั้งสรุปว่ารัฐบาลสหรัฐฯได้รับสินทรัพย์ที่มีมูลค่าน้อยกว่าที่บรรดานักลงทุนเอกชนได้รับ ในการซื้อขายหุ้นครั้งใหญ่ ๆล่าสุดในภาคการเงินของสหรัฐฯ
รายงานชี้ให้เห็นว่ากระทรวงการคลังได้รับประโยชน์น้อยที่สุดในการลงทุนรอบสองในเอไอจี ที่มีมูลค่าถึง 40,000 ล้านดอลลาร์ และในการทำสัญญากับซิตี้กรุ๊ปมูลค่า 20,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งสัญญาเข้าซื้อหุ้นทั้งสองเขียนขึ้นเป็นพิเศษเพื่อช่วยเหลือสองสถาบันการเงินดังกล่าว
รายงานระบุว่าเงิน 100 ดอลลาร์ที่ลงทุนไปในบริษัททั้งสอง กระทรวงการคลังนั้นได้หลักทรัพย์ที่มีมูลค่าเพียง 41 ดอลลาร์เท่านั้นมาถือไว้
สำหรับการลงทุนก่อนหน้านี้ในสถาบันการเงิน 8 แห่งนั้น รายงานบอกว่าอยู่ในสภาพดีกว่า เพราะทุก ๆ 100 ดอลลาร์ที่ลงทุนไป กระทรวงการคลังได้หลักทรัพย์มูลค่า 78 ดอลลาร์มาถือเอาไว้ ซึ่งก็รวมทั้งการลงทุน 25,000 ล้านดอลลาร์ในซิตี้กรุ๊ปรอบแรก, การอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่แบงก์ ออฟ อเมริกา, เจพีมอร์แกนเชส, มอร์แกน สแตนลีย์, โกลด์แมน แซคส์, พีเอ็นซีไฟแนนเชี่ยลและ ยูเอส แบนคอร์ป
“การอุดหนุน” ของรัฐบาล (ซึ่งก็คือมูลค่าส่วนต่างระหว่างเม็ดเงินที่ลงทุนไปกับมูลค่าที่ได้คืนมา) สถาบันการเงินที่ได้รับมากที่สุดก็คือ เอไอจี ที่ 63% และที่ได้น้อยที่สุดก็คือ ยูเอส แบนคอร์ป
ทางคณะกรรมการกำกับตรวจสอบแห่งรัฐสภา ได้ว่าจ้างบริษัทประเมินของภาคเอกชน คือ ดัฟฟ์ แอนด์ เฟลด์ส มาประเมินมูลค่าการลงทุนของรัฐบาลโดยเทียบกับมูลค่าของหุ้นบุริมสิทธิ์และวอร์แรนท์ที่ได้รับมา ปรากฎว่ากลายเป็นงานที่ยากลำบากมาก เพราะว่าหุ้นเหล่านี้มิได้ขายในตลาดหุ้นจึงไม่มีมูลค่าตลาดให้เปรียบเทียบ
ดังนั้นดัฟฟ์ แอนด์ เฟลฟ์สจึงใช้การอิงราคากับราคาตลาดของหุ้นบริษัทซึ่งที่มีโครงสร้างคล้ายกันตามการประกาศของการลงทุนของทาร์ป รวมทั้งพิจารณาปัจจัยว่าการช่วยเหลือของรัฐบาลที่มีต่อสถาบันเหล่านี้ ได้เปลี่ยนมุมมองนักลงทุนต่อหุ้นเหล่านี้อย่างไรบ้าง
จากนั้นก็นำมาเปรียบเทียบสัญญาซื้อขายซึ่งทำโดยภาคเอกชน อย่างเช่น การเข้าซื้อหุ้นโกลด์แมน แซคส์ของเบิร์กไชร์ แฮธาเวย์ในเดือนกันยายน ซึ่งได้รับมูลค่าตอบแทนคืนมา 110 ดอลลาร์ต่อการลงทุนตามราคาตลาดทุก ๆ 100 ดอลลาร์
หรือการเข้าซื้อหุ้นบาร์เคลย์ส ของ กาตาร์ โฮลดิ้ง และ อาบูดาบี มูลค่า 10,220 ล้านดอลลาร์ในเดือนตุลาคมก็ให้ผลตอบแทนถึง 123 ดอลลาร์ต่อการลงทุนทุก ๆ 100 ดอลลาร์
รายงานยังได้ชี้อีกว่าการลงทุนของมิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียลมูลค่า 9,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในมอร์แกน สแตนลีย์เมื่อเดือนตุลาคมก็ยังให้ผลตอบแทน 102 ดอลลาร์ต่อการลงทุน 100 ดอลลาร์ ในขณะที่กระทรวงการคลังสหรัฐได้ผลตอบแทนเพียง 58 ดอลลาร์จากการลงทุนในมอร์แกนสแตนลีย์ในช่วงเดียวกัน
รายงานระบุว่าสาเหตุหนึ่งนั้นมาจากกระทรวงการคลังใช้ระบบเอกสารที่มีมาตรฐานเหมือนกัน ซึ่งจะช่วยให้กระทรวงเข้าช่วยเหลือธนาคารเหล่านั้นได้อย่างรวดเร็ว แต่มันก็หมายความว่าเอกสารดังกล่าวมิได้บ่งบอกถึงคุณภาพอันแตกต่างกันของความน่าเชื่อถือของสินทรัพย์ในแต่ละสถาบัน
รายงานก็ยังได้ชี้ด้วยว่าเนื่องจากกระทรวงการคลังตัดสินใจซื้อหุ้นในธนาคารที่แข็งแกร่งภายใต้เงื่อนไขเดียวกับธนาคารที่อ่อนแอ แต่ว่าธนาคารที่แข็งแกร่งก็จะเงินอุดหนุนน้อยกว่าที่อ่อนแอมาก จึงทำให้ผลตอบแทนรวมที่ออกมาต่ำกว่ามูลค่าที่ลงทุนไปเยอะ