แผนการกู้ชีพภาคการเงินของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้รับมูลค่าตอบแทนการลงทุนของตนเป็นอัตราต่ำที่สุด จากการเข้าไปซื้อหุ้นของซิตี้กรุ๊ปและอเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป (เอไอจี) ซึ่งเป็น 2 สถาบันการเงินที่ยังรอดชีวิตอยู่ที่ประสบปัญหาหนักหน่วงสุด ทั้งนี้ตามรายงานฉบับใหม่ของคณะกรรมการกำกับตรวจสอบของรัฐสภาที่นำออกเผยแพร่เมื่อวันศุกร์(6)
รายงานของ "คณะกรรมการกำกับตรวจสอบแห่งรัฐสภา" เปิดเผยว่ากระทรวงการคลังจ่ายค่าหุ้น 2 บริษัทนั้นเกินกว่าราคาตลาดไปประมาณ 78,000 ล้านดอลลาร์ ในกระบวนการอัดฉีดเงินทุนแลกกับหุ้นเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งอยู่ภายใต้แผนการกู้ชีวิตภาคการเงินของกระทรวงการคลัง ที่ใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า "โครงการบรรเทาสินทรัพย์ที่มีปัญหา"(ทาร์ป)
เมื่อมองในภาพรวม โครงการนี้จ่ายเงินไปแล้ว 254,000 ล้านดอลลาร์ สำหรับหุ้นและวอแรนท์ซึ่งมีมูลค่าเพียง 176,000 ล้านดอลลาร์
บทสรุปของรายงานดังกล่าวนี้ ได้รับการเปิดเผยเป็นครั้งแรกเมื่อวันพฤหัสบดี(5) ในระหว่างการให้ปากคำต่อวุฒิสภาสหรัฐฯ ของ อลิซาเบธ วอร์เรน ประธานของคณะกรรมการฯ
รายงานฉบับนี้นอกจากจะมีตัวเลขแล้ว ก็ยังให้รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการดำเนินงาน อีกทั้งสรุปว่ารัฐบาลสหรัฐฯได้รับสินทรัพย์ที่มีมูลค่าน้อยกว่าที่บรรดานักลงทุนเอกชนได้รับ ในการซื้อขายหุ้นครั้งใหญ่ ๆล่าสุดในภาคการเงินของสหรัฐฯ
รายงานชี้ให้เห็นว่ากระทรวงการคลังได้รับประโยชน์น้อยที่สุดในการลงทุนรอบสองในเอไอจี ที่มีมูลค่าถึง 40,000 ล้านดอลลาร์ และในการทำสัญญากับซิตี้กรุ๊ปมูลค่า 20,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งสัญญาเข้าซื้อหุ้นทั้งสองเขียนขึ้นเป็นพิเศษเพื่อช่วยเหลือสองสถาบันการเงินดังกล่าว
รายงานระบุว่าเงิน 100 ดอลลาร์ที่ลงทุนไปในบริษัททั้งสอง กระทรวงการคลังนั้นได้หลักทรัพย์ที่มีมูลค่าเพียง 41 ดอลลาร์เท่านั้นมาถือไว้
รายงานของ "คณะกรรมการกำกับตรวจสอบแห่งรัฐสภา" เปิดเผยว่ากระทรวงการคลังจ่ายค่าหุ้น 2 บริษัทนั้นเกินกว่าราคาตลาดไปประมาณ 78,000 ล้านดอลลาร์ ในกระบวนการอัดฉีดเงินทุนแลกกับหุ้นเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งอยู่ภายใต้แผนการกู้ชีวิตภาคการเงินของกระทรวงการคลัง ที่ใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า "โครงการบรรเทาสินทรัพย์ที่มีปัญหา"(ทาร์ป)
เมื่อมองในภาพรวม โครงการนี้จ่ายเงินไปแล้ว 254,000 ล้านดอลลาร์ สำหรับหุ้นและวอแรนท์ซึ่งมีมูลค่าเพียง 176,000 ล้านดอลลาร์
บทสรุปของรายงานดังกล่าวนี้ ได้รับการเปิดเผยเป็นครั้งแรกเมื่อวันพฤหัสบดี(5) ในระหว่างการให้ปากคำต่อวุฒิสภาสหรัฐฯ ของ อลิซาเบธ วอร์เรน ประธานของคณะกรรมการฯ
รายงานฉบับนี้นอกจากจะมีตัวเลขแล้ว ก็ยังให้รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการดำเนินงาน อีกทั้งสรุปว่ารัฐบาลสหรัฐฯได้รับสินทรัพย์ที่มีมูลค่าน้อยกว่าที่บรรดานักลงทุนเอกชนได้รับ ในการซื้อขายหุ้นครั้งใหญ่ ๆล่าสุดในภาคการเงินของสหรัฐฯ
รายงานชี้ให้เห็นว่ากระทรวงการคลังได้รับประโยชน์น้อยที่สุดในการลงทุนรอบสองในเอไอจี ที่มีมูลค่าถึง 40,000 ล้านดอลลาร์ และในการทำสัญญากับซิตี้กรุ๊ปมูลค่า 20,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งสัญญาเข้าซื้อหุ้นทั้งสองเขียนขึ้นเป็นพิเศษเพื่อช่วยเหลือสองสถาบันการเงินดังกล่าว
รายงานระบุว่าเงิน 100 ดอลลาร์ที่ลงทุนไปในบริษัททั้งสอง กระทรวงการคลังนั้นได้หลักทรัพย์ที่มีมูลค่าเพียง 41 ดอลลาร์เท่านั้นมาถือไว้