รอยเตอร์ - แบงก์ ออฟ อเมริกา และ ซิติกรุ๊ป อิงค์ สองธนาคารยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯกำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตแห่งศรัทธาอย่างรุนแรง จนทำให้ราคาหุ้นดิ่งหนัก ในขณะที่นักลงทุนตั้งคำถามว่าทั้งสองแบงก์จะมีเม็ดเงินเพียงพอจะรับมือกับสินทรัพย์เน่าเสีย รวมทั้งเศรษฐกิจโลกที่หดตัวลงอย่างต่อเนื่องหรือไม่
แบงก์ ออฟ อเมริกานั้น ใกล้จะได้รับเงินช่วยเหลือนับหมื่นล้านดอลลาร์จากรัฐบาลสหรัฐฯ ในขณะที่ธนาคารใหญ่แห่งนี้กำลังพยายามจะผสานองค์กรของวาณิชธนกิจ เมอร์ริลลินช์ ที่ธนาคารผนวกเข้ามาเมื่อวันที่ 1 มกราคม เรื่องนี้นับเป็นกระบวนการที่ยากลำบากมากเพราะว่าเมอร์ริลลินช์มีสินทรัพย์ที่มีปัญหาติดมาอยู่หลายพันล้านดอลลาร์ ซึ่งรวมทั้งอสังหาริมทรัพย์ที่ขายไม่ออกไปจนถึงตราสารหนี้ซับไพรม์
แม้ว่าธนาคารหลายแห่งจะได้รับเงินช่วยเหลือนับพันนับหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯจากโครงการกู้ชีพช่วยชีวิตภาคการเงินของรัฐบาลอเมริกันไปแล้ว แต่ผู้เชี่ยวชาญก็กล่าวว่าธนาคารเหล่านี้อาจจะกลับไปมีปัญหาได้อีก
"แม้กระทั่งตอนนี้ธนาคารขนาดใหญ่ในสหรัฐฯก็ยังไม่ปล่อยสินเชื่อให้กับใคร เพราะว่าต้องดิ้นรนเก็บเม็ดเงินเอาไว้กับตัว พวกเขาทำราวกับว่าอยู่ในภาวะมีสภาพคล่องไม่เพียงพอและล้มละลายไปแล้ว ตลาดก็คิดว่าพวกเขาล้มละลายไปแล้วด้วย ตอนนี้สิ่งเดียวที่ธนาคารเป็นกังวลก็คือ กลัวว่ารัฐบาลกลางกำลังจะดูดเอาหุ้นของพวกเขาไป " แดน อัลเพิร์ท จากเวสท์วู้ด แคปิตอลในนิวยอร์กกล่าว
ราคาหุ้นของซิติกรุ๊ปเมื่อวันพุธ(13)มีช่วงหนึ่งดิ่งลงถึง 23% ทำให้ราคาลงไปต่ำกว่า 5 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อหุ้น และนับเป็นราคาต่ำสุดตั้งแต่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลในเดือนพฤศจิกายน เพราะตลาดกำลังวิตกมากขึ้นเรื่อยๆ กับปัญหาว่าซิตี้กรุ๊ปจะฟื้นตัวอย่างไรจากการขาดทุนมหาศาลเช่นนี้
ในวันศุกร์(16)นี้ ก็คาดว่าจะมีข่าวร้ายออกมาอีก เมื่อซิตี้กรุ๊ปจะต้องรายงานผลประกอบการรายไตรมาส ซึ่งนักวิเคราะห์ก็คาดกันว่าจะเห็นการขาดทุนมหาศาลอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ซิติกรุ๊ปก็ยังได้รับการคาดหมายว่า จะแถลงให้รายละเอียดเกี่ยวกับการลดขนาดองค์กรครั้งมโหฬารเพื่อให้บริษัทอยู่รอด
ส่วนเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค ซึ่งตอนนี้ได้กลายเป็นธนาคารใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯโดยวัดจากมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด ก็ประกาศเลื่อนการรายงานผลประกอบการรายไตรมาสเร็วกว่าเดิม 6 วันเหมือนกับซิติกรุ๊ป โดยเจพีมอร์แกนจะรายงานในวันพฤหัสบดี(15)นี้
เจมี ดิมอน ซีอีโอของเจพีมอร์แกน กล่าวว่ามีความหวังเพียงลางเลือนที่เจพีมอร์แกนจะพลิกฟื้นกลับมาแข็งแกร่งในระยะอันใกล้นี้
"เรายังไม่ได้ผ่านสถานการณ์อันเลวร้ายไป และสถานการณ์ก็ชวนให้คิดว่าทั้งปี 2009 จะยังคงเลวร้ายลงเรื่อย ๆ" ดิมอนกล่าวในการให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์ "เมื่อพิจารณาจากรายภาคธุรกิจของเรา เราคาดหมายว่าสินเชื่อผู้บริโภคและเครดิตการ์ดน่าจะย่ำแย่ลงไปอัก"
ซิติกรุ๊ปในอดีตเคยเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในโลกมาก่อน แต่ตอนนี้เหลือแค่สถานะธนาคารใหญ่เป็นอันดับสามของสหรัฐฯ และหลายฝ่ายก็คาดว่าขนาดของซิตี้จะเล็กลงไปอีกหนึ่งในสาม เพราะว่าธนาคารจะหันมาเน้นที่กิจการธนาคารเพื่อลูกค้าภาคธุรกิจ, การธนาคารเพื่อการลงทุน(วาณิชธนกิจ), และการธนาคารเพื่อรายย่อย ส่วนแผนกค้าหลักทรัพย์และตราสารจะถูกเฉือนออกไปจนเหลืออยู่ไม่เท่าไร
นอกจากนี้ซิติกรุ๊ปก็ยังจะแยกธุรกิจและสินทรัพย์ที่ไม่ต้องการไปไว้ในโครงสร้างใหม่ที่แยกออกไปต่างหาก เพื่อรอเวลาขายออกไป
กระทรวงการคลังสหรัฐฯอัดฉีดเม็ดเงิน 20,000 ล้านดอลลาร์ในรูปของเงินทุนพิเศษเข้าไปในซิติกรุ๊ป ภายใต้สัญญารัฐบาลจะต้องร่วมรับผลขาดทุนมูลค่า 306,000 ล้านดอลลาร์กับธนาคารด้วย แผนกอบกู้นี้ช่วยให้ซิตี้กรุ๊ปยังไม่ถูกวังวนวิกฤตดูดเข้าไปจนล้มละลายเหมือนเลห์แมนบราเธอร์ส
ในสัปดาห์ที่เลห์แมน บราเธอรส์ล้มละลายนั้น แบงก์ออฟอเมริกาก็ตัดสินใจที่จะซื้อเมอร์ริล ลินช์เข้ามา แต่ธนาคารก็ไม่สามารถจะจัดการกับสินทรัพย์สินเชื่อเคหะที่เน่าเสียแล้วซึ่งติดมากับเมอร์ริลได้ให้ลุล่วงไปได้ จนทำให้ธนาคารซวดเซรุนแรง แหล่งข่าวที่ใกล้ชิดสถานการณ์กล่าวว่าตอนนี้แบงก์ออฟอเมริกาก็ดูเหมือนว่าจะต้องการให้ผู้เสียภาษีมาช่วยรับภาระไปอีกแรงหนึ่ง โดยผ่านเงินช่วยเหลือที่รัฐบาลสหรัฐฯสัญญาว่าจะให้เพิ่มขึ้น หลังจากการควบรวมเมอร์ริลลินช์แล้ว
แบงก์ออฟอเมริกาบอกรัฐบาลในเดือนธันวาคมว่าไม่สามารถที่จะควบรวมเมอร์ริลลินช์ได้เสร็จสมบูรณ์ เพราะการขาดทุนอย่างมหาศาลที่ธนาคารกำลังเผชิญอยู่ และทั้งธนาคารและรัฐบาลก็เดินหน้าหารือกันตั้งแต่นั้นมา
ปัญหาที่ยิ่งนับวันจะเพิ่มมากขึ้นของทั้งสองธนาคาร ทำให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในตัวซีอีโอขึ้นมา มีหลายเสียงวิพากษ์วิจารณ์วิกรัม บัณฑิต ซีอีโอซิตี้กรุ๊ปคนปัจจุบัน ที่เคยสร้างชื่อเสียงมาจากสมัยที่อยู่กับมอร์แกนสแตนลีย์ โดยเวลานี้เห็นกันว่าเขาไม่เข้มแข็งเด็ดขาดพอที่จะจัดการกับปัญหาที่มีขนาด 2 ล้านล้านดอลลาร์ในบัญชีของซิติกรุ๊ปได้
ส่วน เคนเนธ ลิวอิส ซีอีโอของแบงก์ออฟอเมริกาที่เคยได้รับการยอมรับนับถือจากการสร้างธนาคารแห่งนี้ให้ขึ้นมาเป็นธนาคารอันดับต้นๆ ของประเทศในเวลาเพียงไม่เท่าไร ตอนนี้นักลงทุนก็เริ่มมองว่าเขาอาจไม่สามารถรับมือกับวิกฤตได้เสียแล้ว
แบงก์ ออฟ อเมริกานั้น ใกล้จะได้รับเงินช่วยเหลือนับหมื่นล้านดอลลาร์จากรัฐบาลสหรัฐฯ ในขณะที่ธนาคารใหญ่แห่งนี้กำลังพยายามจะผสานองค์กรของวาณิชธนกิจ เมอร์ริลลินช์ ที่ธนาคารผนวกเข้ามาเมื่อวันที่ 1 มกราคม เรื่องนี้นับเป็นกระบวนการที่ยากลำบากมากเพราะว่าเมอร์ริลลินช์มีสินทรัพย์ที่มีปัญหาติดมาอยู่หลายพันล้านดอลลาร์ ซึ่งรวมทั้งอสังหาริมทรัพย์ที่ขายไม่ออกไปจนถึงตราสารหนี้ซับไพรม์
แม้ว่าธนาคารหลายแห่งจะได้รับเงินช่วยเหลือนับพันนับหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯจากโครงการกู้ชีพช่วยชีวิตภาคการเงินของรัฐบาลอเมริกันไปแล้ว แต่ผู้เชี่ยวชาญก็กล่าวว่าธนาคารเหล่านี้อาจจะกลับไปมีปัญหาได้อีก
"แม้กระทั่งตอนนี้ธนาคารขนาดใหญ่ในสหรัฐฯก็ยังไม่ปล่อยสินเชื่อให้กับใคร เพราะว่าต้องดิ้นรนเก็บเม็ดเงินเอาไว้กับตัว พวกเขาทำราวกับว่าอยู่ในภาวะมีสภาพคล่องไม่เพียงพอและล้มละลายไปแล้ว ตลาดก็คิดว่าพวกเขาล้มละลายไปแล้วด้วย ตอนนี้สิ่งเดียวที่ธนาคารเป็นกังวลก็คือ กลัวว่ารัฐบาลกลางกำลังจะดูดเอาหุ้นของพวกเขาไป " แดน อัลเพิร์ท จากเวสท์วู้ด แคปิตอลในนิวยอร์กกล่าว
ราคาหุ้นของซิติกรุ๊ปเมื่อวันพุธ(13)มีช่วงหนึ่งดิ่งลงถึง 23% ทำให้ราคาลงไปต่ำกว่า 5 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อหุ้น และนับเป็นราคาต่ำสุดตั้งแต่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลในเดือนพฤศจิกายน เพราะตลาดกำลังวิตกมากขึ้นเรื่อยๆ กับปัญหาว่าซิตี้กรุ๊ปจะฟื้นตัวอย่างไรจากการขาดทุนมหาศาลเช่นนี้
ในวันศุกร์(16)นี้ ก็คาดว่าจะมีข่าวร้ายออกมาอีก เมื่อซิตี้กรุ๊ปจะต้องรายงานผลประกอบการรายไตรมาส ซึ่งนักวิเคราะห์ก็คาดกันว่าจะเห็นการขาดทุนมหาศาลอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ซิติกรุ๊ปก็ยังได้รับการคาดหมายว่า จะแถลงให้รายละเอียดเกี่ยวกับการลดขนาดองค์กรครั้งมโหฬารเพื่อให้บริษัทอยู่รอด
ส่วนเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค ซึ่งตอนนี้ได้กลายเป็นธนาคารใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯโดยวัดจากมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด ก็ประกาศเลื่อนการรายงานผลประกอบการรายไตรมาสเร็วกว่าเดิม 6 วันเหมือนกับซิติกรุ๊ป โดยเจพีมอร์แกนจะรายงานในวันพฤหัสบดี(15)นี้
เจมี ดิมอน ซีอีโอของเจพีมอร์แกน กล่าวว่ามีความหวังเพียงลางเลือนที่เจพีมอร์แกนจะพลิกฟื้นกลับมาแข็งแกร่งในระยะอันใกล้นี้
"เรายังไม่ได้ผ่านสถานการณ์อันเลวร้ายไป และสถานการณ์ก็ชวนให้คิดว่าทั้งปี 2009 จะยังคงเลวร้ายลงเรื่อย ๆ" ดิมอนกล่าวในการให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์ "เมื่อพิจารณาจากรายภาคธุรกิจของเรา เราคาดหมายว่าสินเชื่อผู้บริโภคและเครดิตการ์ดน่าจะย่ำแย่ลงไปอัก"
ซิติกรุ๊ปในอดีตเคยเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในโลกมาก่อน แต่ตอนนี้เหลือแค่สถานะธนาคารใหญ่เป็นอันดับสามของสหรัฐฯ และหลายฝ่ายก็คาดว่าขนาดของซิตี้จะเล็กลงไปอีกหนึ่งในสาม เพราะว่าธนาคารจะหันมาเน้นที่กิจการธนาคารเพื่อลูกค้าภาคธุรกิจ, การธนาคารเพื่อการลงทุน(วาณิชธนกิจ), และการธนาคารเพื่อรายย่อย ส่วนแผนกค้าหลักทรัพย์และตราสารจะถูกเฉือนออกไปจนเหลืออยู่ไม่เท่าไร
นอกจากนี้ซิติกรุ๊ปก็ยังจะแยกธุรกิจและสินทรัพย์ที่ไม่ต้องการไปไว้ในโครงสร้างใหม่ที่แยกออกไปต่างหาก เพื่อรอเวลาขายออกไป
กระทรวงการคลังสหรัฐฯอัดฉีดเม็ดเงิน 20,000 ล้านดอลลาร์ในรูปของเงินทุนพิเศษเข้าไปในซิติกรุ๊ป ภายใต้สัญญารัฐบาลจะต้องร่วมรับผลขาดทุนมูลค่า 306,000 ล้านดอลลาร์กับธนาคารด้วย แผนกอบกู้นี้ช่วยให้ซิตี้กรุ๊ปยังไม่ถูกวังวนวิกฤตดูดเข้าไปจนล้มละลายเหมือนเลห์แมนบราเธอร์ส
ในสัปดาห์ที่เลห์แมน บราเธอรส์ล้มละลายนั้น แบงก์ออฟอเมริกาก็ตัดสินใจที่จะซื้อเมอร์ริล ลินช์เข้ามา แต่ธนาคารก็ไม่สามารถจะจัดการกับสินทรัพย์สินเชื่อเคหะที่เน่าเสียแล้วซึ่งติดมากับเมอร์ริลได้ให้ลุล่วงไปได้ จนทำให้ธนาคารซวดเซรุนแรง แหล่งข่าวที่ใกล้ชิดสถานการณ์กล่าวว่าตอนนี้แบงก์ออฟอเมริกาก็ดูเหมือนว่าจะต้องการให้ผู้เสียภาษีมาช่วยรับภาระไปอีกแรงหนึ่ง โดยผ่านเงินช่วยเหลือที่รัฐบาลสหรัฐฯสัญญาว่าจะให้เพิ่มขึ้น หลังจากการควบรวมเมอร์ริลลินช์แล้ว
แบงก์ออฟอเมริกาบอกรัฐบาลในเดือนธันวาคมว่าไม่สามารถที่จะควบรวมเมอร์ริลลินช์ได้เสร็จสมบูรณ์ เพราะการขาดทุนอย่างมหาศาลที่ธนาคารกำลังเผชิญอยู่ และทั้งธนาคารและรัฐบาลก็เดินหน้าหารือกันตั้งแต่นั้นมา
ปัญหาที่ยิ่งนับวันจะเพิ่มมากขึ้นของทั้งสองธนาคาร ทำให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในตัวซีอีโอขึ้นมา มีหลายเสียงวิพากษ์วิจารณ์วิกรัม บัณฑิต ซีอีโอซิตี้กรุ๊ปคนปัจจุบัน ที่เคยสร้างชื่อเสียงมาจากสมัยที่อยู่กับมอร์แกนสแตนลีย์ โดยเวลานี้เห็นกันว่าเขาไม่เข้มแข็งเด็ดขาดพอที่จะจัดการกับปัญหาที่มีขนาด 2 ล้านล้านดอลลาร์ในบัญชีของซิติกรุ๊ปได้
ส่วน เคนเนธ ลิวอิส ซีอีโอของแบงก์ออฟอเมริกาที่เคยได้รับการยอมรับนับถือจากการสร้างธนาคารแห่งนี้ให้ขึ้นมาเป็นธนาคารอันดับต้นๆ ของประเทศในเวลาเพียงไม่เท่าไร ตอนนี้นักลงทุนก็เริ่มมองว่าเขาอาจไม่สามารถรับมือกับวิกฤตได้เสียแล้ว