รอยเตอร์ - ซิตี้กรุ๊ป อิงค์ บรรลุข้อตกลงส่ง สมิธ บาร์นีย์ ซึ่งเป็นบริษัทโบรกเกอร์ในเครือของตนเข้าควบรวมกิจการกับกิจการด้านบริหารความมั่งคั่งของมอร์แกน สแตนลีย์ เมื่อวันอังคาร(13)ที่ผ่านมา โดยเป็นที่คาดหมายกันด้วยว่า อดีตธนาคารใหญ่ที่สุดในโลกแห่งนี้ยังจะเดินหน้าขายสินทรัพย์ครั้งใหญ่ด้วยเพิ่มเงินทุน ตลอดจนทำการแยกสินทรัพย์ที่มีปัญหาออกจากโครงสร้างหลักของแบงก์
คาดกันว่า ซิตี้กรุ๊ป ซึ่งครั้งหนึ่งเคยมีฐานะเป็นธนาคารใหญ่ที่สุดในโลก จะประกาศอย่างเป็นทางการในวันที่ 22 มกราคมนี้ ถึงแผนการรื้อทิ้งโมเดลทำธุรกิจแบบสร้าง "ซูเปอร์มาร์เก็ตทางการเงิน" ของอดีตซีอีโอ แซนฟอร์ด "แซนดี้" เวลล์ ทว่าบัดนี้ประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนปัจจุบัน วิกรัม บัณฑิต บอกว่าไม่ปลื้ม นอกจากนั้นแล้ว ในวันนั้น ซิตี้กรุ๊ปก็น่าจะแถลงผลประกอบการไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้ว ซึ่งคาดหมายกันว่าจะมีตัวเลขขาดทุนมหาศาลแน่นอน
แหล่งข่าวที่คุ้นเคยกับแผนการเปลี่ยนแปลงใหญ่คราวนี้เปิดเผยว่า ซิตี้กรุ๊ปกำลังมีแผนจะปรับโครงสร้างใหม่โดยใช้ระบบแยกสินทรัพย์ที่ดีออกจากสินทรัพย์ที่มีปัญหา หรือที่เรียกกันว่าโครงสร้างแบบ "กู๊ดแบงก์, แบดแบงก์" ปรับลดขนาดกิจการให้เล็กลงเหมือนในอดีตยุคก่อนยกระดับเป็น "ซูเปอร์มาร์เก็ตทางการเงิน"
แหล่งข่าวซึ่งขอสงวนนามรายนี้กล่าวว่า แผนการใหม่จะมุ่งเน้นธุรกิจหลัก คือ การธนาคารเพื่อภาคบรรษัท, การธนาคารเพื่อการลงทุน (วาณิชธนกิจ), และและการธนาคารเพื่อรายย่อย ส่วนธุรกิจค้าหลักทรัพย์จะลดขนาดให้เล็กลง แล้วจะโยกย้ายธุรกิจและสินทรัพย์ซึ่งไม่พึงประสงค์ เช่นตราสารหนี้อันซับซ้อน ออกไปอยู่อีกโครงสร้างหนึ่งต่างหากออกไป
สำหรับสินทรัพย์ที่มีปัญหา หรือ "แบด แบงก์" ของซิตี้กรุ๊ป คาดกันจะมีมูลค่าประมาณ 600,000 ล้านดอลลาร์ หรือเกือบ 1 ใน 3 ของมูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมดของบริษัท ซึ่งจะพยายามทยอยขายออกไปทั้งหมดหรือแปรรูปเป็นอย่างอื่นในอนาคต
สินทรัพย์ที่คาดว่าจะขายได้เบื้องต้นคือบริษัทลูกที่ชื่อ พรีเมริกา ซึ่งขายทั้งกรมธรรม์ประกันชีวิต กองทุนรวม และผลิตภัณฑ์ทางการเงินรูปแบบอื่น ๆ
ไมค์ ฮอลแลนด์ นักบริหารเงินของ ฮอลแลนด์ แอนด์ โค ในนครนิวยอร์กกล่าวว่า ยุทธศาสตร์การแยกสินทรัพย์เสียออกจากสินทรัพย์ดี เคยประสบความสำเร็จมาแล้วในอดีต ตัวอย่างเช่น กรณีของ พวกกิจการเซฟวิงก์ แอนด์ โลน ในช่วงทศวรรษ 1980
ทางด้านซิตี้กรุ๊ปเองปฏิเสธที่จะให้ความเห็นใด ๆ เกี่ยวกับรายงานข่าวเรื่องนี้
ในวันอังคารเช่นกัน เบน เบอร์นันกี ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ได้ไปแสดงปาฐกถาที่กรุงลอนดอนว่า รัฐบาลสหรัฐฯอาจพิจารณาดำเนินมาตรการให้ความช่วยเหลือภาคเอกชนด้วยการ ซื้อสินทรัพย์มีปัญหา ให้การค้ำประกัน หรือตั้งองค์กรบริหารสินทรัพย์มีปัญหา (แบด แบงก์) ขึ้น เพื่อซื้อสินทรัพย์มีปัญหาจากภาคเอกชนโดยการจ่ายเป็นเงินสดและหุ้น
เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ซิตี้กรุ๊ปเคยได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐฯมาแล้ว 25,000 ล้านดอลลาร์ และได้รับความช่วยเหลือเพิ่มอีกเป็นมูลค่า 20,000 ล้านดอลลาร์ในเดือนพฤศจิกายน โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนการกู้ชีพภาคการเงิน 700,000 ล้านดอลลาร์
สำหรับการควบรวมกิจการระหว่าง สมิธ บาร์นีย์ ของซิตี้กรุ๊ป กับมอร์แกน สแตนลีย์ จะทำให้บริษัทใหม่ที่ใช้ชื่อว่า มอร์แกน สแตนลีย์ สมิธ บาร์นีย์ กลายเป็นบริษัทโบรกเกอร์รายใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ มีตัวแทนค้าหลักทรัพย์กว่า 20,000 คน มูลค่าสินทรัพย์ของลูกค้ารวมกัน 1.7 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งหมายความว่าจะมีจำนวนตัวแทนค้าหลักทรัพย์มากกว่า แบงก์ ออฟ อเมริกา คอร์ป ที่ครองอันดับ 1 หลังซื้อกิจการของเมอร์ริล ลินช์ เมื่อวันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา
ในการควบรวมกิจการครั้งนี้ มอร์แกน สแตนลีย์ จะจ่ายเงินสดให้แก่ซิตี้กรุ๊ป 2,700 ล้านดอลลาร์ เป็นค่าหุ้น 51 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทใหม่ และจะค่อย ๆ ทยอยจ่ายจนครบ 100 เปอร์เซ็นต์ภายในระยะเวลา 5 ปี
แซนฟอร์ด เวลล์ เป็นผู้ก่อตั้งซิตี้กรุ๊ปขึ้นในปี 1998 หลังจาก เทรเวลเลอร์ส กรุ๊ป อิงค์ ของเขาตัดสินใจซื้อกิจการ ซิตี้คอร์ป ตามแผนยุทธศาสตร์ที่จะให้บริการธนาคารครบวงจรทั้งแก่ลูกค้าที่เป็นบุคคลธรรมดาและองค์กรธุรกิจ
อย่างไรก็ตาม นักวิจารณ์หลายคนกล่าวว่า เวลฃ?ไม่ได้ลงทุนเพียงพอในการพัฒนาเทคโนโลยีและระบบโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการให้บริการแก่ลูกค้าในสาขาที่มีอยู่ในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ทำให้ขนาดธุรกิจที่ใหญ่โตของซิตี้กรุ๊ปไม่ได้ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าตามที่คาดหวังไว้
ซิตี้กรุ๊ปประสบปัญหาขาดทุนมหาศาลหลัง ชาร์ล พรินซ์ เข้าดำรงตำแหน่งซีอีโอสืบต่อจาก แซนฟอร์ด เวลล์ และตัดสินใจเข้าไปลงทุนในธุรกิจตราสารหนี้ โดยเฉพาะตราสารหนี้โครงสร้างซับซ้อนในตลาดสินเชื่อซับไพรม์ ซึ่งเป็นชนวนเหตุของวิกฤตการณ์ทางการเงินที่แผ่ขยายออกไปทั่วโลกเมื่อปลายปีที่แล้ว
คาดกันว่า ซิตี้กรุ๊ป ซึ่งครั้งหนึ่งเคยมีฐานะเป็นธนาคารใหญ่ที่สุดในโลก จะประกาศอย่างเป็นทางการในวันที่ 22 มกราคมนี้ ถึงแผนการรื้อทิ้งโมเดลทำธุรกิจแบบสร้าง "ซูเปอร์มาร์เก็ตทางการเงิน" ของอดีตซีอีโอ แซนฟอร์ด "แซนดี้" เวลล์ ทว่าบัดนี้ประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนปัจจุบัน วิกรัม บัณฑิต บอกว่าไม่ปลื้ม นอกจากนั้นแล้ว ในวันนั้น ซิตี้กรุ๊ปก็น่าจะแถลงผลประกอบการไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้ว ซึ่งคาดหมายกันว่าจะมีตัวเลขขาดทุนมหาศาลแน่นอน
แหล่งข่าวที่คุ้นเคยกับแผนการเปลี่ยนแปลงใหญ่คราวนี้เปิดเผยว่า ซิตี้กรุ๊ปกำลังมีแผนจะปรับโครงสร้างใหม่โดยใช้ระบบแยกสินทรัพย์ที่ดีออกจากสินทรัพย์ที่มีปัญหา หรือที่เรียกกันว่าโครงสร้างแบบ "กู๊ดแบงก์, แบดแบงก์" ปรับลดขนาดกิจการให้เล็กลงเหมือนในอดีตยุคก่อนยกระดับเป็น "ซูเปอร์มาร์เก็ตทางการเงิน"
แหล่งข่าวซึ่งขอสงวนนามรายนี้กล่าวว่า แผนการใหม่จะมุ่งเน้นธุรกิจหลัก คือ การธนาคารเพื่อภาคบรรษัท, การธนาคารเพื่อการลงทุน (วาณิชธนกิจ), และและการธนาคารเพื่อรายย่อย ส่วนธุรกิจค้าหลักทรัพย์จะลดขนาดให้เล็กลง แล้วจะโยกย้ายธุรกิจและสินทรัพย์ซึ่งไม่พึงประสงค์ เช่นตราสารหนี้อันซับซ้อน ออกไปอยู่อีกโครงสร้างหนึ่งต่างหากออกไป
สำหรับสินทรัพย์ที่มีปัญหา หรือ "แบด แบงก์" ของซิตี้กรุ๊ป คาดกันจะมีมูลค่าประมาณ 600,000 ล้านดอลลาร์ หรือเกือบ 1 ใน 3 ของมูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมดของบริษัท ซึ่งจะพยายามทยอยขายออกไปทั้งหมดหรือแปรรูปเป็นอย่างอื่นในอนาคต
สินทรัพย์ที่คาดว่าจะขายได้เบื้องต้นคือบริษัทลูกที่ชื่อ พรีเมริกา ซึ่งขายทั้งกรมธรรม์ประกันชีวิต กองทุนรวม และผลิตภัณฑ์ทางการเงินรูปแบบอื่น ๆ
ไมค์ ฮอลแลนด์ นักบริหารเงินของ ฮอลแลนด์ แอนด์ โค ในนครนิวยอร์กกล่าวว่า ยุทธศาสตร์การแยกสินทรัพย์เสียออกจากสินทรัพย์ดี เคยประสบความสำเร็จมาแล้วในอดีต ตัวอย่างเช่น กรณีของ พวกกิจการเซฟวิงก์ แอนด์ โลน ในช่วงทศวรรษ 1980
ทางด้านซิตี้กรุ๊ปเองปฏิเสธที่จะให้ความเห็นใด ๆ เกี่ยวกับรายงานข่าวเรื่องนี้
ในวันอังคารเช่นกัน เบน เบอร์นันกี ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ได้ไปแสดงปาฐกถาที่กรุงลอนดอนว่า รัฐบาลสหรัฐฯอาจพิจารณาดำเนินมาตรการให้ความช่วยเหลือภาคเอกชนด้วยการ ซื้อสินทรัพย์มีปัญหา ให้การค้ำประกัน หรือตั้งองค์กรบริหารสินทรัพย์มีปัญหา (แบด แบงก์) ขึ้น เพื่อซื้อสินทรัพย์มีปัญหาจากภาคเอกชนโดยการจ่ายเป็นเงินสดและหุ้น
เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ซิตี้กรุ๊ปเคยได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐฯมาแล้ว 25,000 ล้านดอลลาร์ และได้รับความช่วยเหลือเพิ่มอีกเป็นมูลค่า 20,000 ล้านดอลลาร์ในเดือนพฤศจิกายน โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนการกู้ชีพภาคการเงิน 700,000 ล้านดอลลาร์
สำหรับการควบรวมกิจการระหว่าง สมิธ บาร์นีย์ ของซิตี้กรุ๊ป กับมอร์แกน สแตนลีย์ จะทำให้บริษัทใหม่ที่ใช้ชื่อว่า มอร์แกน สแตนลีย์ สมิธ บาร์นีย์ กลายเป็นบริษัทโบรกเกอร์รายใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ มีตัวแทนค้าหลักทรัพย์กว่า 20,000 คน มูลค่าสินทรัพย์ของลูกค้ารวมกัน 1.7 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งหมายความว่าจะมีจำนวนตัวแทนค้าหลักทรัพย์มากกว่า แบงก์ ออฟ อเมริกา คอร์ป ที่ครองอันดับ 1 หลังซื้อกิจการของเมอร์ริล ลินช์ เมื่อวันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา
ในการควบรวมกิจการครั้งนี้ มอร์แกน สแตนลีย์ จะจ่ายเงินสดให้แก่ซิตี้กรุ๊ป 2,700 ล้านดอลลาร์ เป็นค่าหุ้น 51 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทใหม่ และจะค่อย ๆ ทยอยจ่ายจนครบ 100 เปอร์เซ็นต์ภายในระยะเวลา 5 ปี
แซนฟอร์ด เวลล์ เป็นผู้ก่อตั้งซิตี้กรุ๊ปขึ้นในปี 1998 หลังจาก เทรเวลเลอร์ส กรุ๊ป อิงค์ ของเขาตัดสินใจซื้อกิจการ ซิตี้คอร์ป ตามแผนยุทธศาสตร์ที่จะให้บริการธนาคารครบวงจรทั้งแก่ลูกค้าที่เป็นบุคคลธรรมดาและองค์กรธุรกิจ
อย่างไรก็ตาม นักวิจารณ์หลายคนกล่าวว่า เวลฃ?ไม่ได้ลงทุนเพียงพอในการพัฒนาเทคโนโลยีและระบบโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการให้บริการแก่ลูกค้าในสาขาที่มีอยู่ในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ทำให้ขนาดธุรกิจที่ใหญ่โตของซิตี้กรุ๊ปไม่ได้ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าตามที่คาดหวังไว้
ซิตี้กรุ๊ปประสบปัญหาขาดทุนมหาศาลหลัง ชาร์ล พรินซ์ เข้าดำรงตำแหน่งซีอีโอสืบต่อจาก แซนฟอร์ด เวลล์ และตัดสินใจเข้าไปลงทุนในธุรกิจตราสารหนี้ โดยเฉพาะตราสารหนี้โครงสร้างซับซ้อนในตลาดสินเชื่อซับไพรม์ ซึ่งเป็นชนวนเหตุของวิกฤตการณ์ทางการเงินที่แผ่ขยายออกไปทั่วโลกเมื่อปลายปีที่แล้ว