รอยเตอร์ – กระทรวงการคลังสหรัฐฯ เร่งระดมเม็ดเงินโดยออกตั๋วเงินคลังระยะสั้นมาขาย เพื่อนำไปให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ใช้ช่วยเหลือพวกสถาบันการเงินใกล้ล้มครืน ซึ่งทางการอเมริกันกระโดดเข้าไปแบกเอาไว้หลายต่อหลายแห่งในระยะไม่นานมานี้
กระทรวงการคลังประกาศว่าได้ขายตั๋วเงินคลังมูลค่า 40,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นตราสารหนี้ที่เพิ่งออกใหม่เมื่อวันพุธ (17) โดยเป็นไปตามการร้องขอของธนาคารกลางสหรัฐฯ เพื่อนำเงินมาใช้ในโครงการ “ช่วยเหลือสถาบันการเงินให้บริหารงบดุลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น” ทั้งนี้ตามคำอธิบายของเจ้าหน้าที่กระทรวงรายหนึ่ง
การประกาศ “แผนงานระดมด้านการเงินเพิ่มเติม” ครั้งใหม่ของกระทรวงการคลังสหรัฐฯคราวนี้ มีขึ้นหลังจากเฟดได้ประกาศให้เงินกู้มูลค่า 85,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อดึงให้อเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป (เอไอจี)ขึ้นมาจากปากหลุม โดยแลกเปลี่ยนกับหุ้นราว 80% ของบริษัท
อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์หลายคนแสดงความกังวลว่า การระดมเม็ดเงินโดยการออกตราสารหนี้ชนิดตั๋วเงินคลังระยะสั้นเช่นนี้ ย่อมจะต้องทำให้หนี้สาธารณะของรัฐบาลสหรัฐฯเพิ่มสูงขึ้น
“เท่าที่ผ่านมาก็เห็นได้ชัดว่าธนาคารกลางได้ใช้เงินและยังจะใช้เงินจำนวนมหาศาลซึ่งมีภาระผูกพัน เพื่อเข้าไปประคองภาคการเงิน” ซุง วอน โซห์น ศาสตราจารย์เศรษฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐแคลิฟอร์เนียที่แชนเนล ไอส์แลนด์กล่าว “สภาพเช่นนี้เท่ากับทำให้เฟดจำเป็นต้องหันไปปั๊มเม็ดเงินให้ได้เป็นจำนวนมาก”
มาตรการอัดฉีดเม็ดเงินรอบใหม่นี้ ยังถือเป็นหนึ่งในความเคลื่อนไหวเพื่อกู้วิกฤติแบงก์และสถาบันการเงิน ที่กระทรวงการคลังและเฟดเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนมีนาคมโดยการเทเม็ดเงินเข้าไปต่อชีวิตของแบงก์และสถาบันการเงินที่กำลังจะล้มละลายจากวิกฤตที่นานวันก็ยิ่งรุนแรงมากยิ่งขึ้น
หลายฝ่ายวิจารณ์ว่ามาตรการที่ใช้เม็ดเงินประคองสถาบันการเงินเหล่านั้น จะทำให้เงินทองของผู้เสียภาษีของประเทศ ตกอยู่ภายใต้ความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น
เมื่อคำนวณคร่าว ๆนับแต่เกิดวิกฤตเป็นต้นมา ทางการสหรัฐฯได้ใช้เม็ดเงินไปแล้วถึง 900,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อสกัดกั้นภาคการเงินมิให้ดิ่งเหวไปมากกว่านี้ โดยยอดรวมที่กล่าวนี้ รวมถึงคำมั่นของกระทรวงการคลังในเดือนนี้ที่บอกว่าจะอัดฉีดเงินเข้าสู่แฟนนี เมและเฟรดดี แมค ราว 200,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อหล่อเลี้ยงธุรกิจของสถาบันสินเชื่อที่อยู่อาศัยยักษ์ใหญ่ทั้ง 2 แห่งนี้ หลังจากที่ประกาศโอนกิจการเข้ามาเป็นของรัฐแล้ว
วิกฤตที่ยังคงเกิดขึ้นเป็นระลอกไม่หยุดหย่อนเช่นนี้ ส่งผลต่อตลาดเงินตลาดทุนทั้งหมด โดยทำให้ธนาคารไม่กล้าให้เงินกู้กับลูกค้าอย่างแต่ก่อน และบีบให้บริษัทหลายแห่งต้องเพิ่มทุน และหากว่าจำเป็นก็ต้องขายสินทรัพย์ออกไปที่มีอยู่ออกไปเพื่อหาเม็ดเงินมาหล่อเลี้ยงบริษัท
นอกจากนี้ทางการสหรัฐฯก็ยังยอมรับด้วยว่า ตอนนี้ตลาดการเงินกำลังเข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างครั้งใหม่ อันสืบเนื่องมาจากวิกฤตที่ทำให้บริษัทหลายแห่งล้มหายตายจากไป หรือผู้ที่เคยเป็นผู้นำตลาดก็มีขนาดเล็กลงหรือถูกรายอื่นควบรวมเข้าไป ซึ่งเป็นหน้าที่ของบรรดาหน่วยงานกำกับดูแลทั้งหลาย ที่จะต้องเข้าไปกำกับและบรรเทามิให้เกิดผลกระทบหนักหน่วงสาหัสจากการปรับโครงสร้างดังกล่าว อันเป็นกระบวนการยากลำบากและเจ็บปวดรวดร้าว
กระทรวงการคลังกล่าวว่าโครงการอัดฉีดเม็ดเงินครั้งนี้เกิดขึ้นตามคำร้องขอของธนาคารกลางโดยเฉพาะ และตั้งใจจะดำเนินการเพียงชั่วคราวเท่านั้น ทว่ากระทรวงก็ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าจะกินเวลานานแค่ไหน
“การระดมทุนตามโครงการนี้จะประกอบด้วยการออกตั๋วเงินคลังเป็นชุด ซึ่งแยกออกจากการกู้ยืมเงินสาธารณะที่กระทรวงการคลังทำอยู่เป็นปกติแล้ว และการขายตั๋วเงินคลังนี้จะนำเงินไปใช้ในแผนงานของธนาคารกลางสหรัฐฯ” กระทรวงแถลง
นักวิเคราะห์ชี้ว่าการออกตั๋วเงินคลังครั้งนี้ นับเป็นการใช้โอกาสที่นักลงทุนจำนวนมากกำลังเคว้งคว้าง เพราะหาตราสารที่น่าเชื่อถือสำหรับเอาเม็ดเงินไปลงไม่ได้ และพวกเขาก็คงเต็มใจที่จะซื้อตราสารหนี้ระยะสั้นที่รับประกันโดยรัฐบาลสหรัฐฯเพื่อพักเงินเอาไว้ ในยามที่ตลาดอยู่ในสภาพปั่นป่วนอย่างรุนแรง
“ตอนนี้มีความต้องการตราสารระยะสั้น และต้องเป็นหลักทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงอย่างมาก ซึ่งตั๋วเงินคลังมีคุณสมบัติดังกล่าวอย่างครบถ้วน และเป็นช่วงพอดีกับสถานการณ์ในตลาด” ไมเคิล มอราน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของไดวะ ซีเคียวริตี้ อเมริกาที่ตั้งอยู่ในนิวยอร์คกล่าว
อย่างไรก็ตาม เริ่มมีความกังวลขึ้นมาว่าสถานการณ์เงินของเฟดกำลังเกิดปัญหาขึ้นมาหรือเปล่า ถึงต้องมาขอให้กระทรวงการคลังระดมทุนเงินไปใช้กู้วิกฤตเช่นนี้ เจ้าหน้าที่คนหนึ่งของกระทรวงการคลังตอบคำถามนี้ว่า “เฟดมีเครื่องมือการเงินหลายประการที่สามารถใช้ได้ แต่เราแค่ต้องการจะทำให้แน่ใจว่าเฟดใช้เครื่องมือที่ดีที่สุด และนี่เป็นหนทางหนึ่งที่พวกเขาสามารถเอาเงินไปใช้ก็ได้ ก็แค่นั้นเอง”
กระทรวงการคลังประกาศว่าได้ขายตั๋วเงินคลังมูลค่า 40,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นตราสารหนี้ที่เพิ่งออกใหม่เมื่อวันพุธ (17) โดยเป็นไปตามการร้องขอของธนาคารกลางสหรัฐฯ เพื่อนำเงินมาใช้ในโครงการ “ช่วยเหลือสถาบันการเงินให้บริหารงบดุลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น” ทั้งนี้ตามคำอธิบายของเจ้าหน้าที่กระทรวงรายหนึ่ง
การประกาศ “แผนงานระดมด้านการเงินเพิ่มเติม” ครั้งใหม่ของกระทรวงการคลังสหรัฐฯคราวนี้ มีขึ้นหลังจากเฟดได้ประกาศให้เงินกู้มูลค่า 85,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อดึงให้อเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป (เอไอจี)ขึ้นมาจากปากหลุม โดยแลกเปลี่ยนกับหุ้นราว 80% ของบริษัท
อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์หลายคนแสดงความกังวลว่า การระดมเม็ดเงินโดยการออกตราสารหนี้ชนิดตั๋วเงินคลังระยะสั้นเช่นนี้ ย่อมจะต้องทำให้หนี้สาธารณะของรัฐบาลสหรัฐฯเพิ่มสูงขึ้น
“เท่าที่ผ่านมาก็เห็นได้ชัดว่าธนาคารกลางได้ใช้เงินและยังจะใช้เงินจำนวนมหาศาลซึ่งมีภาระผูกพัน เพื่อเข้าไปประคองภาคการเงิน” ซุง วอน โซห์น ศาสตราจารย์เศรษฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐแคลิฟอร์เนียที่แชนเนล ไอส์แลนด์กล่าว “สภาพเช่นนี้เท่ากับทำให้เฟดจำเป็นต้องหันไปปั๊มเม็ดเงินให้ได้เป็นจำนวนมาก”
มาตรการอัดฉีดเม็ดเงินรอบใหม่นี้ ยังถือเป็นหนึ่งในความเคลื่อนไหวเพื่อกู้วิกฤติแบงก์และสถาบันการเงิน ที่กระทรวงการคลังและเฟดเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนมีนาคมโดยการเทเม็ดเงินเข้าไปต่อชีวิตของแบงก์และสถาบันการเงินที่กำลังจะล้มละลายจากวิกฤตที่นานวันก็ยิ่งรุนแรงมากยิ่งขึ้น
หลายฝ่ายวิจารณ์ว่ามาตรการที่ใช้เม็ดเงินประคองสถาบันการเงินเหล่านั้น จะทำให้เงินทองของผู้เสียภาษีของประเทศ ตกอยู่ภายใต้ความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น
เมื่อคำนวณคร่าว ๆนับแต่เกิดวิกฤตเป็นต้นมา ทางการสหรัฐฯได้ใช้เม็ดเงินไปแล้วถึง 900,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อสกัดกั้นภาคการเงินมิให้ดิ่งเหวไปมากกว่านี้ โดยยอดรวมที่กล่าวนี้ รวมถึงคำมั่นของกระทรวงการคลังในเดือนนี้ที่บอกว่าจะอัดฉีดเงินเข้าสู่แฟนนี เมและเฟรดดี แมค ราว 200,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อหล่อเลี้ยงธุรกิจของสถาบันสินเชื่อที่อยู่อาศัยยักษ์ใหญ่ทั้ง 2 แห่งนี้ หลังจากที่ประกาศโอนกิจการเข้ามาเป็นของรัฐแล้ว
วิกฤตที่ยังคงเกิดขึ้นเป็นระลอกไม่หยุดหย่อนเช่นนี้ ส่งผลต่อตลาดเงินตลาดทุนทั้งหมด โดยทำให้ธนาคารไม่กล้าให้เงินกู้กับลูกค้าอย่างแต่ก่อน และบีบให้บริษัทหลายแห่งต้องเพิ่มทุน และหากว่าจำเป็นก็ต้องขายสินทรัพย์ออกไปที่มีอยู่ออกไปเพื่อหาเม็ดเงินมาหล่อเลี้ยงบริษัท
นอกจากนี้ทางการสหรัฐฯก็ยังยอมรับด้วยว่า ตอนนี้ตลาดการเงินกำลังเข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างครั้งใหม่ อันสืบเนื่องมาจากวิกฤตที่ทำให้บริษัทหลายแห่งล้มหายตายจากไป หรือผู้ที่เคยเป็นผู้นำตลาดก็มีขนาดเล็กลงหรือถูกรายอื่นควบรวมเข้าไป ซึ่งเป็นหน้าที่ของบรรดาหน่วยงานกำกับดูแลทั้งหลาย ที่จะต้องเข้าไปกำกับและบรรเทามิให้เกิดผลกระทบหนักหน่วงสาหัสจากการปรับโครงสร้างดังกล่าว อันเป็นกระบวนการยากลำบากและเจ็บปวดรวดร้าว
กระทรวงการคลังกล่าวว่าโครงการอัดฉีดเม็ดเงินครั้งนี้เกิดขึ้นตามคำร้องขอของธนาคารกลางโดยเฉพาะ และตั้งใจจะดำเนินการเพียงชั่วคราวเท่านั้น ทว่ากระทรวงก็ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าจะกินเวลานานแค่ไหน
“การระดมทุนตามโครงการนี้จะประกอบด้วยการออกตั๋วเงินคลังเป็นชุด ซึ่งแยกออกจากการกู้ยืมเงินสาธารณะที่กระทรวงการคลังทำอยู่เป็นปกติแล้ว และการขายตั๋วเงินคลังนี้จะนำเงินไปใช้ในแผนงานของธนาคารกลางสหรัฐฯ” กระทรวงแถลง
นักวิเคราะห์ชี้ว่าการออกตั๋วเงินคลังครั้งนี้ นับเป็นการใช้โอกาสที่นักลงทุนจำนวนมากกำลังเคว้งคว้าง เพราะหาตราสารที่น่าเชื่อถือสำหรับเอาเม็ดเงินไปลงไม่ได้ และพวกเขาก็คงเต็มใจที่จะซื้อตราสารหนี้ระยะสั้นที่รับประกันโดยรัฐบาลสหรัฐฯเพื่อพักเงินเอาไว้ ในยามที่ตลาดอยู่ในสภาพปั่นป่วนอย่างรุนแรง
“ตอนนี้มีความต้องการตราสารระยะสั้น และต้องเป็นหลักทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงอย่างมาก ซึ่งตั๋วเงินคลังมีคุณสมบัติดังกล่าวอย่างครบถ้วน และเป็นช่วงพอดีกับสถานการณ์ในตลาด” ไมเคิล มอราน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของไดวะ ซีเคียวริตี้ อเมริกาที่ตั้งอยู่ในนิวยอร์คกล่าว
อย่างไรก็ตาม เริ่มมีความกังวลขึ้นมาว่าสถานการณ์เงินของเฟดกำลังเกิดปัญหาขึ้นมาหรือเปล่า ถึงต้องมาขอให้กระทรวงการคลังระดมทุนเงินไปใช้กู้วิกฤตเช่นนี้ เจ้าหน้าที่คนหนึ่งของกระทรวงการคลังตอบคำถามนี้ว่า “เฟดมีเครื่องมือการเงินหลายประการที่สามารถใช้ได้ แต่เราแค่ต้องการจะทำให้แน่ใจว่าเฟดใช้เครื่องมือที่ดีที่สุด และนี่เป็นหนทางหนึ่งที่พวกเขาสามารถเอาเงินไปใช้ก็ได้ ก็แค่นั้นเอง”