รอยเตอร์ – ยอดขายรถเดือนมกราคมของสหรัฐฯดิ่งลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 27 ปีจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำรุนแรง ซึ่งทำให้จำนวนรถยนต์ที่จำหน่ายกันในสหรัฐฯนั้น ต่ำกว่ายอดขายรถยนต์ในจีนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
ไครสเลอร์และเจนเนอรัล มอเตอร์ส (จีเอ็ม) ที่ต้องพึ่งพาเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐฯเพื่อประคองบริษัทมิให้ล้มละลาย เป็นสองแห่งที่มียอดขายดิ่งลงมากที่สุดในบรรดาผู้เล่นในตลาดสหรัฐฯด้วยกัน โดยไครสเลอร์นั้นยอดขายดิ่งลงไปถึง 55% ในขณะที่จีเอ็มลงไป 49%
ยอดขายรถยนต์ที่ย่ำแย่เป็นสัญญาณแรกที่บ่งชี้ให้เห็นว่าภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯดิ่งลึกเพียงไรในช่วงต้นปี 2009 นี้ เพราะขนาดผู้เล่นรายใหญ่ในอุตสาหกรรมยังประสบภาวะลำบากอย่างสุดแสน
โตโยต้า มอเตอร์ ซึ่งขึ้นมาเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในโลกแทนจีเอ็มในปีนี้ก็เผชิญกับยอดขายในสหรัฐฯเดือนมกราคมซึ่งตกลงไปถึง 34% ส่วนนิสสันมอเตอร์ยอดขายร่วงไปเกือบ 30% ในขณะที่ฮอนด้า มอเตอร์ลงไป 28%
ส่วนยอดขายรวมทั้งอุตสาหกรรมตกไป 37% หรือเมื่อคิดเป็นยอดขายรถทั้งปีจะเท่ากับ 9.57 ล้านคัน นับเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดตั้งแต่ปี 1982 เป็นต้นมา ยิ่งเมื่อเทียบจำนวนประชากรแล้ว สถานการณ์ตอนนี้น่าจะย่ำแย่กว่าปี 1982 เป็นอย่างมาก เพราะจำนวนประชากรของสหรัฐฯเวลานี้เพิ่มขึ้นมากกว่าในปี 1982 ถึงหนึ่งในสาม
“ความจริงก็คืออุตสาหกรรมรถยนต์ของสหรัฐฯอยู่ใจกลางของพายุเศรษฐกิจเลยทีเดียว” บ๊อบ คาร์เตอร์ ผู้จัดการแบรนด์หลักของโตโยต้าในสหรัฐฯกล่าว
ฟอร์ด มอเตอร์ ซึ่งดูเหมือนจะอยู่ในสถานะดีกว่าผู้ผลิตรถยนต์ในสหรัฐฯรายอื่น ๆก็ยังประสบภาวะยอดขายดิ่งลง 40% ซึ่งทำให้นักวิเคราะห์คนหนึ่งชี้ว่าบางทีฟอร์ดอาจจะต้องพิจารณามารับความช่วยเหลือของรัฐเสียใหม่ หลังจากที่ได้ปฏิเสธไปเพราะคิดว่าบริษัทจะสามารถผ่านพ้นสถานการณ์อันเลวร้ายไปได้โดยไม่ต้องพึ่งเงินรัฐบาล
“แม้กระทั่งแรงกระตุ้นที่จะได้มาจากแผนพลิกฟื้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลกำลังจะออกมา แต่เราก็ยังคงเป็นว่าบรรดาผู้บริโภคยังคงระมัดระวังเรื่องการใช้เงินมากขึ้น โดยเฉพาะการซื้อของที่มีราคาแพง” เอฟฟราอิม เลวี นักวิเคราะห์ของค่ายเอสแอนด์พี ชี้
ก่อนหน้านี้จีเอ็มก็ออกมาประกาศลดกำลังการผลิตในช่วงไตรมาสนี้ลงไปถึง 10% และทั้งจีเอ็มกับไครสเลอร์ก็พยายามระบายรถยนต์ในโชว์รูมออกไปให้เร็วที่สุด โดยการให้ส่วนลดเพิ่ม เพื่อที่จะทำให้เริ่มต้นเดินสายพานการผลิตได้อีกครั้ง
“เรากำลังจะเป็นอาหารของสัตว์ร้ายแห่งเศรษฐกิจถดถอย และต้องทำอะไรมากมายเพื่อให้พ้นจากภาวะนี้” หัวหน้าฝ่ายขายของไครสเลอร์ สตีเว่น แลนดี้ กล่าว
ยอดขายรถยนต์ของสหรัฐฯคิดเป็นหนึ่งในห้าของยอดค้าปลีกทั้งประเทศ เมื่อยอดขายรถยนต์ย่ำแย่ก็จะส่งผลให้ภาคค้าปลีกย่ำแย่ลงไปอีก รวมทั้งจะไปกระทบกับภาคการผลิตสินค้าด้วย
ผู้ผลิตรถยนต์ในสหรัฐฯรวมทั้งจีเอ็มด้วย ต่างก็โทษสภาพสินเชื่อตึงตัวว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ยอดขายรถยนต์ตกลงมาตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้ว และยอดขายรถยนต์ที่ตกต่ำลงในเดือนมกราคม ทำให้จีนกลายเป็นประเทศที่มีการซื้อขายรถยนต์มากที่สุดในโลกแทนสหรัฐฯไปแล้ว
“ความจริงคนก็ยังมาซื้อรถยนต์อยู่นะ พวกเขาเข้ามาดูและต้องการซื้อรถแต่ไม่ได้เงินกู้” นักวิเคราะห์ยอดขายของจีเอ็ม ไมค์ ดิจิโอวานนี่กล่าว “เราจำเป็นจะต้องแก้ไขปัญหาในตลาดสินเชื่อให้ได้เพื่อลูกค้าที่ต้องการซื้อรถในตอนนี้”
ในขณะที่บริษัทรถยนต์เกาหลีอย่างฮุนได มอเตอร์ และบริษัทในเครืออย่าง เกีย เป็นสองแห่งเท่านั้นที่มียอดขายเพิ่มขึ้นในเดือนมกราคม โดยยอดขายฮุนไดเพิ่มขึ้น 14% ในขณะที่ยอดขายของเกียเพิ่มขึ้น 3%
สาเหตุที่ยอดของฮุนไดพุ่งขึ้นสวนทางกับบริษัทอื่น ๆก็เพราะออกแคมเปญที่ให้ผู้ซื้ออเมริกันสามารถนำเอารถที่ซื้อไปมาคืนได้ ภายในหนึ่งปีหลังจากซื้อไปแล้ว หากว่าเกิดตกงานขึ้นมา
“เป็นการรณรงค์การขายที่ฉลาดมาก” นักวิเคราะห์ของเอดมันด์ส ชื่อ เจสซี ท็อปรักกล่าว “เพราะตอนนี้ผู้คนยังไม่ค่อยมั่นใจกับอนาคตของตัวเองนัก หากว่าเราให้ประกันเขาเล็ก ๆน้อย ๆเพื่อให้รู้สึกดีว่าซื้อรถแล้วจะไม่ลำบากในอนาคต ลูกค้าก็จะเดินเข้ามาหา”
ไครสเลอร์และเจนเนอรัล มอเตอร์ส (จีเอ็ม) ที่ต้องพึ่งพาเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐฯเพื่อประคองบริษัทมิให้ล้มละลาย เป็นสองแห่งที่มียอดขายดิ่งลงมากที่สุดในบรรดาผู้เล่นในตลาดสหรัฐฯด้วยกัน โดยไครสเลอร์นั้นยอดขายดิ่งลงไปถึง 55% ในขณะที่จีเอ็มลงไป 49%
ยอดขายรถยนต์ที่ย่ำแย่เป็นสัญญาณแรกที่บ่งชี้ให้เห็นว่าภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯดิ่งลึกเพียงไรในช่วงต้นปี 2009 นี้ เพราะขนาดผู้เล่นรายใหญ่ในอุตสาหกรรมยังประสบภาวะลำบากอย่างสุดแสน
โตโยต้า มอเตอร์ ซึ่งขึ้นมาเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในโลกแทนจีเอ็มในปีนี้ก็เผชิญกับยอดขายในสหรัฐฯเดือนมกราคมซึ่งตกลงไปถึง 34% ส่วนนิสสันมอเตอร์ยอดขายร่วงไปเกือบ 30% ในขณะที่ฮอนด้า มอเตอร์ลงไป 28%
ส่วนยอดขายรวมทั้งอุตสาหกรรมตกไป 37% หรือเมื่อคิดเป็นยอดขายรถทั้งปีจะเท่ากับ 9.57 ล้านคัน นับเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดตั้งแต่ปี 1982 เป็นต้นมา ยิ่งเมื่อเทียบจำนวนประชากรแล้ว สถานการณ์ตอนนี้น่าจะย่ำแย่กว่าปี 1982 เป็นอย่างมาก เพราะจำนวนประชากรของสหรัฐฯเวลานี้เพิ่มขึ้นมากกว่าในปี 1982 ถึงหนึ่งในสาม
“ความจริงก็คืออุตสาหกรรมรถยนต์ของสหรัฐฯอยู่ใจกลางของพายุเศรษฐกิจเลยทีเดียว” บ๊อบ คาร์เตอร์ ผู้จัดการแบรนด์หลักของโตโยต้าในสหรัฐฯกล่าว
ฟอร์ด มอเตอร์ ซึ่งดูเหมือนจะอยู่ในสถานะดีกว่าผู้ผลิตรถยนต์ในสหรัฐฯรายอื่น ๆก็ยังประสบภาวะยอดขายดิ่งลง 40% ซึ่งทำให้นักวิเคราะห์คนหนึ่งชี้ว่าบางทีฟอร์ดอาจจะต้องพิจารณามารับความช่วยเหลือของรัฐเสียใหม่ หลังจากที่ได้ปฏิเสธไปเพราะคิดว่าบริษัทจะสามารถผ่านพ้นสถานการณ์อันเลวร้ายไปได้โดยไม่ต้องพึ่งเงินรัฐบาล
“แม้กระทั่งแรงกระตุ้นที่จะได้มาจากแผนพลิกฟื้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลกำลังจะออกมา แต่เราก็ยังคงเป็นว่าบรรดาผู้บริโภคยังคงระมัดระวังเรื่องการใช้เงินมากขึ้น โดยเฉพาะการซื้อของที่มีราคาแพง” เอฟฟราอิม เลวี นักวิเคราะห์ของค่ายเอสแอนด์พี ชี้
ก่อนหน้านี้จีเอ็มก็ออกมาประกาศลดกำลังการผลิตในช่วงไตรมาสนี้ลงไปถึง 10% และทั้งจีเอ็มกับไครสเลอร์ก็พยายามระบายรถยนต์ในโชว์รูมออกไปให้เร็วที่สุด โดยการให้ส่วนลดเพิ่ม เพื่อที่จะทำให้เริ่มต้นเดินสายพานการผลิตได้อีกครั้ง
“เรากำลังจะเป็นอาหารของสัตว์ร้ายแห่งเศรษฐกิจถดถอย และต้องทำอะไรมากมายเพื่อให้พ้นจากภาวะนี้” หัวหน้าฝ่ายขายของไครสเลอร์ สตีเว่น แลนดี้ กล่าว
ยอดขายรถยนต์ของสหรัฐฯคิดเป็นหนึ่งในห้าของยอดค้าปลีกทั้งประเทศ เมื่อยอดขายรถยนต์ย่ำแย่ก็จะส่งผลให้ภาคค้าปลีกย่ำแย่ลงไปอีก รวมทั้งจะไปกระทบกับภาคการผลิตสินค้าด้วย
ผู้ผลิตรถยนต์ในสหรัฐฯรวมทั้งจีเอ็มด้วย ต่างก็โทษสภาพสินเชื่อตึงตัวว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ยอดขายรถยนต์ตกลงมาตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้ว และยอดขายรถยนต์ที่ตกต่ำลงในเดือนมกราคม ทำให้จีนกลายเป็นประเทศที่มีการซื้อขายรถยนต์มากที่สุดในโลกแทนสหรัฐฯไปแล้ว
“ความจริงคนก็ยังมาซื้อรถยนต์อยู่นะ พวกเขาเข้ามาดูและต้องการซื้อรถแต่ไม่ได้เงินกู้” นักวิเคราะห์ยอดขายของจีเอ็ม ไมค์ ดิจิโอวานนี่กล่าว “เราจำเป็นจะต้องแก้ไขปัญหาในตลาดสินเชื่อให้ได้เพื่อลูกค้าที่ต้องการซื้อรถในตอนนี้”
ในขณะที่บริษัทรถยนต์เกาหลีอย่างฮุนได มอเตอร์ และบริษัทในเครืออย่าง เกีย เป็นสองแห่งเท่านั้นที่มียอดขายเพิ่มขึ้นในเดือนมกราคม โดยยอดขายฮุนไดเพิ่มขึ้น 14% ในขณะที่ยอดขายของเกียเพิ่มขึ้น 3%
สาเหตุที่ยอดของฮุนไดพุ่งขึ้นสวนทางกับบริษัทอื่น ๆก็เพราะออกแคมเปญที่ให้ผู้ซื้ออเมริกันสามารถนำเอารถที่ซื้อไปมาคืนได้ ภายในหนึ่งปีหลังจากซื้อไปแล้ว หากว่าเกิดตกงานขึ้นมา
“เป็นการรณรงค์การขายที่ฉลาดมาก” นักวิเคราะห์ของเอดมันด์ส ชื่อ เจสซี ท็อปรักกล่าว “เพราะตอนนี้ผู้คนยังไม่ค่อยมั่นใจกับอนาคตของตัวเองนัก หากว่าเราให้ประกันเขาเล็ก ๆน้อย ๆเพื่อให้รู้สึกดีว่าซื้อรถแล้วจะไม่ลำบากในอนาคต ลูกค้าก็จะเดินเข้ามาหา”