รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้นถูกวิพากษ์วิจารณ์จากบุคคลในวงการต่างๆ อย่างมาก หากเป็นจากฝ่ายค้านก็ไม่น่าสงสัยหรือแปลกใจแต่ประการใด เพราะถือเป็นหน้าที่อยู่แล้ว
แต่คนอย่างคุณทนง พิทยะ นี่มาแปลก
ไม่รู้นึกคะนองปากอย่างไรกัน ไปขึ้นเวทีการสัมมนาพรรคเพื่อไทยที่เขาใหญ่ ซึ่งก็ไม่สงสัยครับ เพราะแกหายเงียบไปเป่าสากเล่นอยู่เป็นปีเลย
ในการบรรยายให้พวกพรรคเพื่อไทยฟังนั้น คุณทนงกล่าวในตอนหนึ่งว่า เศรษฐกิจไทยนั้นเวลานี้คงแก้ได้ยาก เช่น เรื่องการส่งออกที่ทรุดลงมาก และจีดีพีก็จะติดลงไปอีก 2 ไตรมาส ซึ่งเรื่องนี้มิได้เป็นเรื่องใหม่ รัฐบาลก็บอกมาก่อนแล้ว
ที่แกบอกก็คือประชานิยมของรัฐบาลปัจจุบันมันผิดกาลเทศะนี่แหละ
ซึ่งผิดเวลาอย่างไรก็ต้องดูกันไปก่อน ใช่ว่าจะติกันเพราะรัฐบาลเพิ่งเข้ามาทำงาน
เศรษฐกิจไทยก็รู้ๆ กัน เหมือนเศรษฐกิจเกือบทุกประเทศอยู่ในช่วงขาลงกันทั้งนั้น เราอาจติดลบถึง 15 เปอร์เซ็นต์ หรือ 1 ล้านล้านบาท สภาพคล่องหายไป 5 แสนล้าน ซึ่งเป็นเรื่องปกติในยามนี้
แกบอกว่าจะหยุดเรื่องนี้อย่างไร และทำอย่างไรให้เราไม่เสียหายมากคือให้เราแย่น้อยที่สุด ก็ต้องแสวงหาตลาดใหม่ๆ หาทางลดราคาสินค้าเพื่อให้แข่งขันในการขายออกให้ได้
การท่องเที่ยวเรานั้นจะไปโทษการปิดสนามบินอย่างเดียวมันไม่ถูก ยุโรปหนาวมากมีหิมะ คนเดินทางไม่สะดวก แต่ต่อไปประเทศเราก็จะเหมือนเดิม
คราวนี้มาฟังเหตุผลเรื่องที่ว่าประชานิยมผิดเวลาดู
คือคุณทนง แกเกริ่นว่า ในเศรษฐกิจขาลงนั้นการอัดฉีดด้านนโยบายการคลังมันไม่พอ ผลกระทบเศรษฐกิจมันรุนแรง ประชานิยมแบบสุดขั้ว (ซึ่งคุณทนงไม่บอกว่าที่สุดขั้วนั้นมันยังไง)
แต่บอกว่ามันขาดกลยุทธ์ การแก้ไขต้องเป็นไปแบบองค์รวม
เรื่องกองทุนหมู่บ้านแกบอกว่าอยู่ๆ ไปเติมเงินให้อีกเท่าตัวมันผิดวิสัย ควรสร้างเครือข่ายเหมือนอดีตนายกฯ ทักษิณฝันไว้และเคยอยากให้กองทุนหมู่บ้านพัฒนาไปเป็นธนาคารชุมชน
แต่รัฐบาล ปชป.ทำแค่อัดเงินหรือโยนเงินลงไป โดยคิดว่าส่งเงินไปเร็วๆ จะได้เกิดการกระตุ้นการผลิตในรากหญ้าซึ่งคุณทนงว่ามันยังไม่ได้แก้ที่ระบบจึงไม่ถูกเป้าหมาย
ครับ ผมฟังแล้วเห็นด้วยในบางด้าน แต่มันมีวิธีไหนที่จะกระจายเงินลงสู่การผลิตในชนบท และเพื่อให้มีการกระตุ้นสิ่งที่รัฐบาลทำอาจดูไม่เป็นระบบ หรือทำแบบเฉพาะหน้า แต่มันก็น่าจะช่วยให้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจเดินไปได้ในระยะสั้นๆ ซึ่งจะเชื่อมต่อกลไกในระยะยาวบ้าง
สำหรับภาคการเงินของเรานั้น เงินคงคลังเราลดต่ำลง และทางกระทรวงการคลังมีแผนกู้เงินจากต่างประเทศอยู่ประมาณ 3 ล้านล้านบาท (ซึ่ง ดร.ทนงไม่ได้อ้างถึง) ถ้ากู้ได้ในจำนวนดังกล่าวผมก็มองว่าจะช่วยพยุงฐานะการเงินคงคลังได้
ภาคเอกชนนั้นไม่ต้องการให้ยุบสภา เพราะรัฐบาลเพิ่งลงตัว ที่พวกเสื้อแดงเรียกร้องให้ยุบสภาก็เป็นการเรียกร้องแบบสติแตก คือต้องการทำลายมากกว่าช่วยประเทศในยามที่การเมืองลงตัว
ถ้าเกิดความรุนแรง ความเชื่อมั่นจากนักลงทุนทั้งในและจากต่างประเทศจะแย่ลงไปอีก เพราะเวลานี้รู้กันว่าความเชื่อมั่นกลับมาอีกแล้ว
“สิ่งที่รัฐบาลต้องทำคือดำเนินตามข้อกฎหมายอย่างเคร่งครัด พวกผู้ชุมนุมควรมีเหตุผลในการชุมนุม” นี่คือความเห็นของนายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่เห็นว่าเราควรใช้กฎหมายและควรใช้หลักการของเหตุและผล
ครับ... ผมเห็นด้วย
ไม่ใช่ยึดหลักมึงมาพาโวยตะบันรากไป
ระยะนี้จะเห็นได้ว่านายกรัฐมนตรีเดินสายไปพบปะกับกลุ่มบุคคล และองค์กรต่างๆ มาก เช่น กับพวกสภาอุตสาหกรรมซึ่งมีการจัดให้พูดพร้อมกับ รมต.คลังนายกรณ์ จาติกวณิช
การเดินสายถือเป็นการสร้างความเข้าใจร่วมกันทั้งยังรับทราบปัญหา และข้อควรนำมาปฏิบัติเพื่อนำมาปรับเป็นนโยบายของรัฐบาลต่อไป
ผมว่ามันเป็นกลยุทธ์ที่ดีสำหรับการทำงานในระยะแรกๆ
ในด้านเงินเฟ้อนั้นเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นครับ แต่มันขยายตัวติดลบ คือมันลดลงประมาณ 0.4 เปอร์เซ็นต์ และเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปี
เหตุมันมาจากราคาสินค้าที่มักขึ้นไปตามราคาน้ำมันและสินค้าเกษตรที่เคยพุ่งเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ ได้เริ่มปรับตัวและปรับฐานไปสู่ราคาตามปกติบ้างแล้วครับ
ปัญหาการเมืองก็ยังมีอยู่ตามปกติ มีพูดกันมากกว่าจะปรับ ครม.ซึ่งผมว่ามันเร็วไป เช่น เรื่องการแจกปลากระป๋องที่พบว่าบูดเน่าก็ต้องดูว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบจะแก้ปัญหาและรับผิดชอบแค่ไหน ตัว รมว.การพัฒนาสังคมฯ คือนายวิฑูรย์ นามบุตร ก็อยู่ในข่ายที่อาจต้องพิจารณาตัวเอง
ผู้ตกเป็นเป้าอีกคนคือ รมต.ต่างประเทศ นายกษิต ภิรมย์ คนนี้เป็นคนมีฝีมือ และไม่มีพฤติกรรมมัวหมอง แถมยังรักษาผลประโยชน์ของชาติด้วย
เหตุที่ตกเป็นเป้าก็เพราะเขาเป็นคนเก่ง และพวกเสื้อแดงเกรงว่าเขาเป็นตัวบวกของรัฐบาล
มันแค่นี้จริงๆ
ครับ... ใจผมอยากรอให้รัฐบาลบริหารไปสัก 3 เดือน แล้วจึงค่อยประเมิน ไม่ใช่ยังไม่ทันลงมือ เอะอะก็จะไม่ไว้วางใจกันแล้ว
อย่างนี้เท่ากับว่า ตั้งขึ้นก็จะโดนโค่นล้มกันง่ายๆ
มันง่ายเกินไปกระมัง รัฐบาลสั่วๆ อย่างรัฐบาลที่แล้ว ไม่มีผลงานอะไรเป็นชิ้นเป็นอันยันดันทุรังอยู่ได้
แต่คนอย่างคุณทนง พิทยะ นี่มาแปลก
ไม่รู้นึกคะนองปากอย่างไรกัน ไปขึ้นเวทีการสัมมนาพรรคเพื่อไทยที่เขาใหญ่ ซึ่งก็ไม่สงสัยครับ เพราะแกหายเงียบไปเป่าสากเล่นอยู่เป็นปีเลย
ในการบรรยายให้พวกพรรคเพื่อไทยฟังนั้น คุณทนงกล่าวในตอนหนึ่งว่า เศรษฐกิจไทยนั้นเวลานี้คงแก้ได้ยาก เช่น เรื่องการส่งออกที่ทรุดลงมาก และจีดีพีก็จะติดลงไปอีก 2 ไตรมาส ซึ่งเรื่องนี้มิได้เป็นเรื่องใหม่ รัฐบาลก็บอกมาก่อนแล้ว
ที่แกบอกก็คือประชานิยมของรัฐบาลปัจจุบันมันผิดกาลเทศะนี่แหละ
ซึ่งผิดเวลาอย่างไรก็ต้องดูกันไปก่อน ใช่ว่าจะติกันเพราะรัฐบาลเพิ่งเข้ามาทำงาน
เศรษฐกิจไทยก็รู้ๆ กัน เหมือนเศรษฐกิจเกือบทุกประเทศอยู่ในช่วงขาลงกันทั้งนั้น เราอาจติดลบถึง 15 เปอร์เซ็นต์ หรือ 1 ล้านล้านบาท สภาพคล่องหายไป 5 แสนล้าน ซึ่งเป็นเรื่องปกติในยามนี้
แกบอกว่าจะหยุดเรื่องนี้อย่างไร และทำอย่างไรให้เราไม่เสียหายมากคือให้เราแย่น้อยที่สุด ก็ต้องแสวงหาตลาดใหม่ๆ หาทางลดราคาสินค้าเพื่อให้แข่งขันในการขายออกให้ได้
การท่องเที่ยวเรานั้นจะไปโทษการปิดสนามบินอย่างเดียวมันไม่ถูก ยุโรปหนาวมากมีหิมะ คนเดินทางไม่สะดวก แต่ต่อไปประเทศเราก็จะเหมือนเดิม
คราวนี้มาฟังเหตุผลเรื่องที่ว่าประชานิยมผิดเวลาดู
คือคุณทนง แกเกริ่นว่า ในเศรษฐกิจขาลงนั้นการอัดฉีดด้านนโยบายการคลังมันไม่พอ ผลกระทบเศรษฐกิจมันรุนแรง ประชานิยมแบบสุดขั้ว (ซึ่งคุณทนงไม่บอกว่าที่สุดขั้วนั้นมันยังไง)
แต่บอกว่ามันขาดกลยุทธ์ การแก้ไขต้องเป็นไปแบบองค์รวม
เรื่องกองทุนหมู่บ้านแกบอกว่าอยู่ๆ ไปเติมเงินให้อีกเท่าตัวมันผิดวิสัย ควรสร้างเครือข่ายเหมือนอดีตนายกฯ ทักษิณฝันไว้และเคยอยากให้กองทุนหมู่บ้านพัฒนาไปเป็นธนาคารชุมชน
แต่รัฐบาล ปชป.ทำแค่อัดเงินหรือโยนเงินลงไป โดยคิดว่าส่งเงินไปเร็วๆ จะได้เกิดการกระตุ้นการผลิตในรากหญ้าซึ่งคุณทนงว่ามันยังไม่ได้แก้ที่ระบบจึงไม่ถูกเป้าหมาย
ครับ ผมฟังแล้วเห็นด้วยในบางด้าน แต่มันมีวิธีไหนที่จะกระจายเงินลงสู่การผลิตในชนบท และเพื่อให้มีการกระตุ้นสิ่งที่รัฐบาลทำอาจดูไม่เป็นระบบ หรือทำแบบเฉพาะหน้า แต่มันก็น่าจะช่วยให้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจเดินไปได้ในระยะสั้นๆ ซึ่งจะเชื่อมต่อกลไกในระยะยาวบ้าง
สำหรับภาคการเงินของเรานั้น เงินคงคลังเราลดต่ำลง และทางกระทรวงการคลังมีแผนกู้เงินจากต่างประเทศอยู่ประมาณ 3 ล้านล้านบาท (ซึ่ง ดร.ทนงไม่ได้อ้างถึง) ถ้ากู้ได้ในจำนวนดังกล่าวผมก็มองว่าจะช่วยพยุงฐานะการเงินคงคลังได้
ภาคเอกชนนั้นไม่ต้องการให้ยุบสภา เพราะรัฐบาลเพิ่งลงตัว ที่พวกเสื้อแดงเรียกร้องให้ยุบสภาก็เป็นการเรียกร้องแบบสติแตก คือต้องการทำลายมากกว่าช่วยประเทศในยามที่การเมืองลงตัว
ถ้าเกิดความรุนแรง ความเชื่อมั่นจากนักลงทุนทั้งในและจากต่างประเทศจะแย่ลงไปอีก เพราะเวลานี้รู้กันว่าความเชื่อมั่นกลับมาอีกแล้ว
“สิ่งที่รัฐบาลต้องทำคือดำเนินตามข้อกฎหมายอย่างเคร่งครัด พวกผู้ชุมนุมควรมีเหตุผลในการชุมนุม” นี่คือความเห็นของนายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่เห็นว่าเราควรใช้กฎหมายและควรใช้หลักการของเหตุและผล
ครับ... ผมเห็นด้วย
ไม่ใช่ยึดหลักมึงมาพาโวยตะบันรากไป
ระยะนี้จะเห็นได้ว่านายกรัฐมนตรีเดินสายไปพบปะกับกลุ่มบุคคล และองค์กรต่างๆ มาก เช่น กับพวกสภาอุตสาหกรรมซึ่งมีการจัดให้พูดพร้อมกับ รมต.คลังนายกรณ์ จาติกวณิช
การเดินสายถือเป็นการสร้างความเข้าใจร่วมกันทั้งยังรับทราบปัญหา และข้อควรนำมาปฏิบัติเพื่อนำมาปรับเป็นนโยบายของรัฐบาลต่อไป
ผมว่ามันเป็นกลยุทธ์ที่ดีสำหรับการทำงานในระยะแรกๆ
ในด้านเงินเฟ้อนั้นเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นครับ แต่มันขยายตัวติดลบ คือมันลดลงประมาณ 0.4 เปอร์เซ็นต์ และเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปี
เหตุมันมาจากราคาสินค้าที่มักขึ้นไปตามราคาน้ำมันและสินค้าเกษตรที่เคยพุ่งเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ ได้เริ่มปรับตัวและปรับฐานไปสู่ราคาตามปกติบ้างแล้วครับ
ปัญหาการเมืองก็ยังมีอยู่ตามปกติ มีพูดกันมากกว่าจะปรับ ครม.ซึ่งผมว่ามันเร็วไป เช่น เรื่องการแจกปลากระป๋องที่พบว่าบูดเน่าก็ต้องดูว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบจะแก้ปัญหาและรับผิดชอบแค่ไหน ตัว รมว.การพัฒนาสังคมฯ คือนายวิฑูรย์ นามบุตร ก็อยู่ในข่ายที่อาจต้องพิจารณาตัวเอง
ผู้ตกเป็นเป้าอีกคนคือ รมต.ต่างประเทศ นายกษิต ภิรมย์ คนนี้เป็นคนมีฝีมือ และไม่มีพฤติกรรมมัวหมอง แถมยังรักษาผลประโยชน์ของชาติด้วย
เหตุที่ตกเป็นเป้าก็เพราะเขาเป็นคนเก่ง และพวกเสื้อแดงเกรงว่าเขาเป็นตัวบวกของรัฐบาล
มันแค่นี้จริงๆ
ครับ... ใจผมอยากรอให้รัฐบาลบริหารไปสัก 3 เดือน แล้วจึงค่อยประเมิน ไม่ใช่ยังไม่ทันลงมือ เอะอะก็จะไม่ไว้วางใจกันแล้ว
อย่างนี้เท่ากับว่า ตั้งขึ้นก็จะโดนโค่นล้มกันง่ายๆ
มันง่ายเกินไปกระมัง รัฐบาลสั่วๆ อย่างรัฐบาลที่แล้ว ไม่มีผลงานอะไรเป็นชิ้นเป็นอันยันดันทุรังอยู่ได้